การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 333
- ผู้ติดตาม: 0
การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 1
เรียนพี่ VI และผู้รู้ทั้งหลายครับ จากประสบการณ์ของพี่ๆ ส่วนใหญ่ถ้าบริษัทมีการลดพาร์ขึ้นจะมีผลกระทบกับราคาหุ้นทางด้านบัญชี หรือทางด้านจิตวิทยาในการลงทุนอย่างไรได้บ้างครับ ผมเคยเจอ Case เพิ่มทุน เกิดการ ไดลูท เป็นเพราะเราไม่รู้ในส่วนนี้ ไม่อยากให้ซ้ำรอยเดิมครับ พี่ช่วยแนะนำด้วยครับ เท่าที่ค้นหาใน web มีบอกแต่ว่าทำให้ช่วยลดขาดทุนสะสมทิ้งไป ซึ่งน่าจะเป็นผลทางจิตวิทยา คนส่วนใหญ่ หรือ VI ถ้าเห็นพื้นฐานบริษัทดี ควรจะซื้อเพิ่ม หรือรอให้ราคาลด แล้วเข้าไปซื้อครับ
อยากทราบวิธีประมาณการ มูลค่าที่เปลี่ยนไปนะคับ
ขอบคุณล่วงหน้าทุกคำตอบครับ
อยากทราบวิธีประมาณการ มูลค่าที่เปลี่ยนไปนะคับ
ขอบคุณล่วงหน้าทุกคำตอบครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 2
ตอนแรกกะจะพิมพ์เองจากที่ผมเข้าใจ แต่เอามาให้อ่านดีกว่าครับ เพราะมันมีหลายกรณีเหมือนกัน
http://www.avaccount.com/wb/show.php?No=3012
สรุปก็คืออยู่ที่วัตถุประสงค์ของการลดทุนครับ
1)ล้างขาดทุนสะสม
2)ลดทุนเอาเงินคืนผู้ถือหุ้น
http://www.avaccount.com/wb/show.php?No=3012
สรุปก็คืออยู่ที่วัตถุประสงค์ของการลดทุนครับ
1)ล้างขาดทุนสะสม
2)ลดทุนเอาเงินคืนผู้ถือหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 3
อ่านคำถามดูอีกที่ไม่ได้เกี่ยวกับการลดทุนโดยตรง แต่กรณีลดพาร์เป็นวิธีหนึ่งในการลดทุนเพื่อตัดขาดทุนสะสม การลดทุนมีหลายชื่อตามวัตถุประสงค์
1) ถ้าลดพาร์แล้วไม่ทำให้ทุนจดทะเบียนลดก็จะมีหุ้นเพิ่มครับ (แตกพาร์)
2) ถ้าลดพาร์แล้วทำให้ทุนจดทะเบียนลดลงด้วยจะทำให้จำนวนหุ้นเท่าเดิม (ลดทุนล้างขาดทุนสะสม)
1) ถ้าลดพาร์แล้วไม่ทำให้ทุนจดทะเบียนลดก็จะมีหุ้นเพิ่มครับ (แตกพาร์)
2) ถ้าลดพาร์แล้วทำให้ทุนจดทะเบียนลดลงด้วยจะทำให้จำนวนหุ้นเท่าเดิม (ลดทุนล้างขาดทุนสะสม)
-
- Verified User
- โพสต์: 333
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณมากคับคุณ guhungry สำหรับคำตอบและ link ที่ส่งมาให้อ่านคับ
กรณีบริษัทที่ศึกษาอยู่ เป็นการลดพาร์
แต่จำนวนทุนจดทะเบียนเท่าเดิม แสดงว่ามีหุ้นเพิ่มใช่มั้ยคับ
สมมุติ ผมมีหุ้นอยู่ 1,000 หุ้น ราคาพาร์ 4 บาท และผมมีต้นทุนราคาหุ้นละ 5 บาท เป็น เงินทุน= 5,000 บาท
บริษัทประกาศลดพาร์จากเดิมราคาพาร์ละ 4 บาท เป็นเหลือ พาร์ละ 1 บาท
ที่สงสัยอยากจะถามต่อว่า จำนวนหุ้นที่เราถืออยู่จะยังเป็น 1,000 หุ้นเท่าเดิม
ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
แต่ทุนหรือมูลค่าหุ้น
จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนยังงัยได้บ้างครับ และด้วยเหตุผลอะไรได้บ้างครับ
ขอบคุณทุกคำตอบนะคับ
กรณีบริษัทที่ศึกษาอยู่ เป็นการลดพาร์
แต่จำนวนทุนจดทะเบียนเท่าเดิม แสดงว่ามีหุ้นเพิ่มใช่มั้ยคับ
สมมุติ ผมมีหุ้นอยู่ 1,000 หุ้น ราคาพาร์ 4 บาท และผมมีต้นทุนราคาหุ้นละ 5 บาท เป็น เงินทุน= 5,000 บาท
บริษัทประกาศลดพาร์จากเดิมราคาพาร์ละ 4 บาท เป็นเหลือ พาร์ละ 1 บาท
ที่สงสัยอยากจะถามต่อว่า จำนวนหุ้นที่เราถืออยู่จะยังเป็น 1,000 หุ้นเท่าเดิม
ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
แต่ทุนหรือมูลค่าหุ้น
จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนยังงัยได้บ้างครับ และด้วยเหตุผลอะไรได้บ้างครับ
ขอบคุณทุกคำตอบนะคับ
-
- Verified User
- โพสต์: 567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 5
wwwman เขียน:ขอบคุณมากคับคุณ guhungry สำหรับคำตอบและ link ที่ส่งมาให้อ่านคับ
กรณีบริษัทที่ศึกษาอยู่ เป็นการลดพาร์
แต่จำนวนทุนจดทะเบียนเท่าเดิม แสดงว่ามีหุ้นเพิ่มใช่มั้ยคับ
สมมุติ ผมมีหุ้นอยู่ 1,000 หุ้น ราคาพาร์ 4 บาท และผมมีต้นทุนราคาหุ้นละ 5 บาท เป็น เงินทุน= 5,000 บาท
บริษัทประกาศลดพาร์จากเดิมราคาพาร์ละ 4 บาท เป็นเหลือ พาร์ละ 1 บาท
ที่สงสัยอยากจะถามต่อว่า จำนวนหุ้นที่เราถืออยู่จะยังเป็น 1,000 หุ้นเท่าเดิม
ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
แต่ทุนหรือมูลค่าหุ้น
จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนยังงัยได้บ้างครับ และด้วยเหตุผลอะไรได้บ้างครับ
ขอบคุณทุกคำตอบนะคับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ทุนจดทะเบียน = ราคาพาร์ * จำนวนหุ้น
ถ้าเป็นแตกพาร์ หรือรวมพาร์ จำนวนหุ้นก็จะเพิ่มลดตามสมการด้านบนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 6
จำนวนหุ้นที่เรามีจะเพิ่มขึ้นครับ ถ้าทุกอย่างยังเหมือนเดิมก่อนแตกพาร์ market cap ของหุ้นก็ควรเท่าเดิม ครับ
ดังนั้นในกรณีที่สมมุติมา
หุ้นที่คุณมีจะเพิ่มขึ้น 4 เท่าครับ และราคาบนกระดารก็จะลดลง 4 เท่าเช่นกัน ดังนั้นมูลค่าของหุ้นในพอร์ทคุณก็จะเท่าเดิมครับ
อย่าสับสนระหว่างมูลค่าตลาด กับทุนจดทะเบียนนะครับ
ทุนจดทะเบียนคงที่เสมอ (นอกจากมีการลดทุน เพิ่มทุน) แต่ราคาตลาดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาครับ
ดังนั้นในกรณีที่สมมุติมา
หุ้นที่คุณมีจะเพิ่มขึ้น 4 เท่าครับ และราคาบนกระดารก็จะลดลง 4 เท่าเช่นกัน ดังนั้นมูลค่าของหุ้นในพอร์ทคุณก็จะเท่าเดิมครับ
อย่าสับสนระหว่างมูลค่าตลาด กับทุนจดทะเบียนนะครับ
ทุนจดทะเบียนคงที่เสมอ (นอกจากมีการลดทุน เพิ่มทุน) แต่ราคาตลาดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 333
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณมากคับคุณ guhungry
ผมจะพยายามถามตามที่เข้าใจและที่อธิบายมานะคับ
ยกตัวอย่างต่อตามคำอธิบายนะคับ
ถ้าผมไม่ซื้อขายหุ้นก่อนและหลังลดพาร์เลย
ดังน้ัน จำนวนหุ้นผมจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าคือจาก 1,000 เป็น 4,000 หุ้น
โดยมูลค่าหุ้นอาจเปลี่ยนไปตามราคาตลาดตามที่คุณ guhungry
บอกมานะคับ
สมมติ หลังลดพาร์ราคาเปลี่ยนเป็นหุ้นละ 1 บาท ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่เราถือไว้จะ = 4,000 บาท
แต่ ถ้าหลังลดพาร์ราคาเปลี่ยนเป็นหุ้นละ 1.5 บาท ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่เราถือไว้จะ = 6,000 บาท
ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ ถ้าเป็นแบบนี้โดยทั่วไปนักลงทุนถ้าต้องการซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อเป็นเจ้าของกิจการที่เราสนใจ
ควรจะซื้อก่อนลดพาร์หรือหลังลดพาร์ดีครับ มีวิธีการคำนวณมั้ยคับว่าแบบไหนจะมี MOS มากกว่ากันครับ
ขอบคุณคำตอบและประสบการณ์ของทุกคนที่ช่วยตอบนะคับ
ผมจะพยายามถามตามที่เข้าใจและที่อธิบายมานะคับ
ยกตัวอย่างต่อตามคำอธิบายนะคับ
ถ้าผมไม่ซื้อขายหุ้นก่อนและหลังลดพาร์เลย
ดังน้ัน จำนวนหุ้นผมจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าคือจาก 1,000 เป็น 4,000 หุ้น
โดยมูลค่าหุ้นอาจเปลี่ยนไปตามราคาตลาดตามที่คุณ guhungry
บอกมานะคับ
สมมติ หลังลดพาร์ราคาเปลี่ยนเป็นหุ้นละ 1 บาท ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่เราถือไว้จะ = 4,000 บาท
แต่ ถ้าหลังลดพาร์ราคาเปลี่ยนเป็นหุ้นละ 1.5 บาท ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่เราถือไว้จะ = 6,000 บาท
ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ ถ้าเป็นแบบนี้โดยทั่วไปนักลงทุนถ้าต้องการซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อเป็นเจ้าของกิจการที่เราสนใจ
ควรจะซื้อก่อนลดพาร์หรือหลังลดพาร์ดีครับ มีวิธีการคำนวณมั้ยคับว่าแบบไหนจะมี MOS มากกว่ากันครับ
ขอบคุณคำตอบและประสบการณ์ของทุกคนที่ช่วยตอบนะคับ
-
- Verified User
- โพสต์: 567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 10
โดยทั่วไปแล้วการแตกพาร์ และรวมพาร์ไม่ได้ทำให้พื้นฐานกิจการเปลี่ยนแม้แต่น้อยครับ แต่มีความเชื่อว่าการแตกพาร์ทำให้ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้น (เพิ่มสภาพคล่อง)
ดังนั้นก่อนและหลังแตกพาร์ราคาก็ไม่ควรต่างกันมากครับ
การแตกพาร์ไม่ได้ทำให้สัดส่วนความเป็นเจ้าของบริษัทเปลี่ยนไปครับ ดังนั้นมูลค่าหุ้นก็ควรจะเท่าเดิม (ราคาหุ้นในตลาด * จำนวนหุ้น)
ดังนั้นก่อนและหลังแตกพาร์ราคาก็ไม่ควรต่างกันมากครับ
การแตกพาร์ไม่ได้ทำให้สัดส่วนความเป็นเจ้าของบริษัทเปลี่ยนไปครับ ดังนั้นมูลค่าหุ้นก็ควรจะเท่าเดิม (ราคาหุ้นในตลาด * จำนวนหุ้น)
-
- Verified User
- โพสต์: 217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 11
เข้าใจว่าถามเรื่องการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมใช่มั๊ยครับ
ผมขอเพิ่มความเห็นที่ไม่เกี่ยวกับหัวข้อหน่อยละกันครับ เกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาลกับการลดทุน อยากให้มองหลายด้านด้วยไม่ใช่มองในแง่ผู้ถือหุ้นอย่างเดียว
การลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมนั้นดีต่อผู้ถือหุ้นแน่นอน แต่โดยส่วนตัวแล้วเกี่ยวเนื่องกับธรรมาภบาลผู้บริหารด้วย
ถ้าบริษัทประกาศลดทุนอย่างแรกที่ผมจะดูเลยคือว่ามีเจ้าหนี้หรือเปล่า ถ้ามีเจ้าหนี้ผมจะถือว่าผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาล ไม่ควรไปยุ่งด้วยเด็ดขาด ทราบมั๊ยครับว่าเพราะอะไร
ผมขอเพิ่มความเห็นที่ไม่เกี่ยวกับหัวข้อหน่อยละกันครับ เกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาลกับการลดทุน อยากให้มองหลายด้านด้วยไม่ใช่มองในแง่ผู้ถือหุ้นอย่างเดียว
การลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมนั้นดีต่อผู้ถือหุ้นแน่นอน แต่โดยส่วนตัวแล้วเกี่ยวเนื่องกับธรรมาภบาลผู้บริหารด้วย
ถ้าบริษัทประกาศลดทุนอย่างแรกที่ผมจะดูเลยคือว่ามีเจ้าหนี้หรือเปล่า ถ้ามีเจ้าหนี้ผมจะถือว่าผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาล ไม่ควรไปยุ่งด้วยเด็ดขาด ทราบมั๊ยครับว่าเพราะอะไร
Connecting the dots
-
- Verified User
- โพสต์: 217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 12
สำหรับผมมองว่าบริษัทจะดำเนินอยู่ได้เพราะเงินจากผู้ถือหุ้นและเงินจากเจ้าหนี้
ตามหลักปฎิบัติกันคือถ้าบริษัทมีเงินควรจ่ายเจ้าหนี้ก่อนแล้วค่อยจ่ายผู้ถือหุ้น
การลดทุน ถ้าบริษัทยังมีหนี้อยู่เป้นการเอาเปรียบเจ้าหนี้ โดยผ่องถ่ายเงินที่ควรจะจ่ายเจ้าหนี้มาจ่ายให้ผู้ถือหุ้น
ปกติในสัญญากู้ยืมเงินจะมีเงื่อนไขป้องกันการลดทุนอยู่แล้วครับ แต่หากผู้บริหารบริษัทยังทำได้แสดงว่า Tricky มาก
กับเจ้าหนี้ที่เคี่ยวมากๆยังทำได้ แล้วรายย่อยอย่างเราๆที่เข้าไม่ถึงข้อมูลบริษัทจะเหลือเหรอครับ
สังเกตได้ว่าบริษัทที่ทำการลดทุนส่วนใหญ่ จะมีชื่อเน่าๆในตลาดทั้งนั้นนะครับ แต่ผมไม่ได้เหมาหมดนะครับว่าบริษัทที่ลดทุนทั้งหมดไม่ดีไม่น่าลงทุน คงต้องมาศึกษาเป็นกรณีๆไปครับ
ตามหลักปฎิบัติกันคือถ้าบริษัทมีเงินควรจ่ายเจ้าหนี้ก่อนแล้วค่อยจ่ายผู้ถือหุ้น
การลดทุน ถ้าบริษัทยังมีหนี้อยู่เป้นการเอาเปรียบเจ้าหนี้ โดยผ่องถ่ายเงินที่ควรจะจ่ายเจ้าหนี้มาจ่ายให้ผู้ถือหุ้น
ปกติในสัญญากู้ยืมเงินจะมีเงื่อนไขป้องกันการลดทุนอยู่แล้วครับ แต่หากผู้บริหารบริษัทยังทำได้แสดงว่า Tricky มาก
กับเจ้าหนี้ที่เคี่ยวมากๆยังทำได้ แล้วรายย่อยอย่างเราๆที่เข้าไม่ถึงข้อมูลบริษัทจะเหลือเหรอครับ
สังเกตได้ว่าบริษัทที่ทำการลดทุนส่วนใหญ่ จะมีชื่อเน่าๆในตลาดทั้งนั้นนะครับ แต่ผมไม่ได้เหมาหมดนะครับว่าบริษัทที่ลดทุนทั้งหมดไม่ดีไม่น่าลงทุน คงต้องมาศึกษาเป็นกรณีๆไปครับ
Connecting the dots
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 13
ผมไม่ได้เข้าใจเหมือนคุณ samathi นะครับSamathi เขียน:สำหรับผมมองว่าบริษัทจะดำเนินอยู่ได้เพราะเงินจากผู้ถือหุ้นและเงินจากเจ้าหนี้
ตามหลักปฎิบัติกันคือถ้าบริษัทมีเงินควรจ่ายเจ้าหนี้ก่อนแล้วค่อยจ่ายผู้ถือหุ้น
การลดทุน ถ้าบริษัทยังมีหนี้อยู่เป้นการเอาเปรียบเจ้าหนี้ โดยผ่องถ่ายเงินที่ควรจะจ่ายเจ้าหนี้มาจ่ายให้ผู้ถือหุ้น
ปกติในสัญญากู้ยืมเงินจะมีเงื่อนไขป้องกันการลดทุนอยู่แล้วครับ แต่หากผู้บริหารบริษัทยังทำได้แสดงว่า Tricky มาก
กับเจ้าหนี้ที่เคี่ยวมากๆยังทำได้ แล้วรายย่อยอย่างเราๆที่เข้าไม่ถึงข้อมูลบริษัทจะเหลือเหรอครับ
สังเกตได้ว่าบริษัทที่ทำการลดทุนส่วนใหญ่ จะมีชื่อเน่าๆในตลาดทั้งนั้นนะครับ แต่ผมไม่ได้เหมาหมดนะครับว่าบริษัทที่ลดทุนทั้งหมดไม่ดีไม่น่าลงทุน คงต้องมาศึกษาเป็นกรณีๆไปครับ
ในแง่สิทธิ์การเรียกร้องจากบริษัท เจ้าหนี้มีสิทธิ์เรียกร้องในทรัพย์สินของบริษัทเหนือผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว การลดทุนไม่ได้ลดทอนสิทธิ์เรียกร้องในทรัพย์สินของบริษัทที่จะเรียกร้องได้แต่อย่างไร และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการแต่อย่างไร
กรณีที่คุณว่าบริษัทเน่า ๆ นั้น ถ้าเน่าจริงก็ไม่มีประโยชน์ในการลดทุน แต่หากว่าเดิมเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการไม่ดี คือ ขาดทุน มีรายการขาดทุนสะสม ปรากฎว่าธุรกิจมีผลประกอบการดีขึ้น ปีนี้เริ่มมีกำไร ประสงค์จะจ่ายปันผล ก็จะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากบริษัทมีรายการขาดทุนสะสม (ตามกฎเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์) ดังนั้นหากบริษัทประสงค์จะจ่ายปันผล ก่อนอื่นบริษัทต้องทำให้ขาดสุนสะสม เป็นกำไรสะสมก่อน หรืออาจล้างขาดทุนสะสมให้หมดก่อนโดยการลดทุน จึงจะสามารถจ่ายปันผลจากกำไรได้ สรุป คือ เป็นเพียงเทคนิคทางบัญชีให้จ่ายปันผลได้
ส่วนกรณีแตกพาร์ วัตถุประสงค์หลัก เพื่อเพิ่มสภาพในการซื้อขายมากกว่า เพื่อให้ราคาหุ้นต่อหน่วยลดลง การซื้อ-ขายขั้นต่ำ 1 board lot (100 หุ้น) จะได้ใช้เงินน้อยลง
-
- Verified User
- โพสต์: 333
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณ คุณ guhungry คุณ Samathi และคุณ กาละมังที่ช่วยแสดงความคิดเห็นนะคับ
สำหรับบริษัททีดูอยู่ ไม่มีขาดทุนสะสม และคิดว่าบริษัทเปลี่ยนแปลงมูลค่าพาร์ลดลง 4 เท่า
น่าจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายมากขึ้นครับ
แต่อยากทราบวิธีประเมินว่า MOS ก่อนหรือหลังลดพาร์จะมากกว่ากันนะคับ
สามารถใช้หลักการหรือหลักคิดใดได้บ้างครับ
สำหรับบริษัททีดูอยู่ ไม่มีขาดทุนสะสม และคิดว่าบริษัทเปลี่ยนแปลงมูลค่าพาร์ลดลง 4 เท่า
น่าจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายมากขึ้นครับ
แต่อยากทราบวิธีประเมินว่า MOS ก่อนหรือหลังลดพาร์จะมากกว่ากันนะคับ
สามารถใช้หลักการหรือหลักคิดใดได้บ้างครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 15
ตอบคุณกาละมัง ครับ เจ้าหนี้ยังมีสิทธิ์เรียกร้องสินทรัพย์อยู่ก่อนผู้ถือหุ้นหากบริษัทล้มละลายถูกต้องครับ แต่มองในแง่เงินสดระหว่างทางพอบริษัทเริ่มมีกำไรควรจะนำไปใช้เจ้าหนี้ก่อนแต่ดันรีบลดทุนเพื่อจ่ายปันผลครับ
ยกตัวอย่างนะครับ
ปีที่ 1
บริษัทมีหนี้ 1000 ล้านขาดทุนสะสมพันล้าน
ปีที่ 2 ปีถัดมามีกำไรร้อยล้าน
2.1 กรณีไม่ลดทุน
กำไรร้อยล้านกลับไปเจ้าหนี้
2.2 กรณีลดทุน
สมมุติปันผลห้าสิบล้าน อีกห้าสิบล้านจ่ายเจ้าหนี้
ปีที่ 3
บริษัทล้มละลายเอาสินทรัพย์มาแบ่งกันเจ้าหนี้กับผู้ถือหุ้น
เจ้าหนี้ได้เงินกลับคืนจากกรณี 2.1 และ 2.2 ไม่เท่ากันนะครับ เป็นการผ่องถ่ายเงินจากเจ้าหนี้มาผู้ถือหุ้นนั่นเอง ถามว่ามองในแง่ผู้ถือหุ้นดีมั๊ย ต้องตอบว่าดีครับ แต่มองในแง่ธรรมาภิบาลผู้บริหารผมว่าไม่ผ่านนะ แต่ไม่ใช่ว่าการลดทุนทุกกรณีไม่ดีนะต้องดูเป็นเคสๆไป กรณีการลดทุนที่ดีอย่างคุณกาละมังบอกก็มีเหมือนกัน
ยกตัวอย่างนะครับ
ปีที่ 1
บริษัทมีหนี้ 1000 ล้านขาดทุนสะสมพันล้าน
ปีที่ 2 ปีถัดมามีกำไรร้อยล้าน
2.1 กรณีไม่ลดทุน
กำไรร้อยล้านกลับไปเจ้าหนี้
2.2 กรณีลดทุน
สมมุติปันผลห้าสิบล้าน อีกห้าสิบล้านจ่ายเจ้าหนี้
ปีที่ 3
บริษัทล้มละลายเอาสินทรัพย์มาแบ่งกันเจ้าหนี้กับผู้ถือหุ้น
เจ้าหนี้ได้เงินกลับคืนจากกรณี 2.1 และ 2.2 ไม่เท่ากันนะครับ เป็นการผ่องถ่ายเงินจากเจ้าหนี้มาผู้ถือหุ้นนั่นเอง ถามว่ามองในแง่ผู้ถือหุ้นดีมั๊ย ต้องตอบว่าดีครับ แต่มองในแง่ธรรมาภิบาลผู้บริหารผมว่าไม่ผ่านนะ แต่ไม่ใช่ว่าการลดทุนทุกกรณีไม่ดีนะต้องดูเป็นเคสๆไป กรณีการลดทุนที่ดีอย่างคุณกาละมังบอกก็มีเหมือนกัน
Connecting the dots
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 16
โครงสร้างทางการเงิน คือ สัดส่วนหนี้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับแนวทางบริหารเงินของบริษัท
ส่วนกำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับผลประกอบการ
บริษัทที่มีรายการขาดทุนสะสม อาจมีหนี้มากหรือน้อยหรือไม่มี ก็ได้นะครับ แต่ส่วนใหญ่มักมีหนี้ค้างอยู่
จริงครับ ถ้าจ่ายปันผล ย่อมทำให้มีเงินสดที่เจ้าหนี้จะสามารถเรียกร้องได้น้อยลง
ดังนั้นส่วนใหญ่ บริษัทจะพิจารณาจ่ายปันผล ก็ต่อเมื่อเห็นว่าเขาสามารถ service debt ได้โดยไม่มีปัญหา และเห็นว่ามีสภาพคล่องทางการเงินดี (cash inflow ดี) และหากไม่มีเงื่อนไขจากเจ้าหนี้ห้ามไว้
ส่วนกำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับผลประกอบการ
บริษัทที่มีรายการขาดทุนสะสม อาจมีหนี้มากหรือน้อยหรือไม่มี ก็ได้นะครับ แต่ส่วนใหญ่มักมีหนี้ค้างอยู่
จริงครับ ถ้าจ่ายปันผล ย่อมทำให้มีเงินสดที่เจ้าหนี้จะสามารถเรียกร้องได้น้อยลง
ดังนั้นส่วนใหญ่ บริษัทจะพิจารณาจ่ายปันผล ก็ต่อเมื่อเห็นว่าเขาสามารถ service debt ได้โดยไม่มีปัญหา และเห็นว่ามีสภาพคล่องทางการเงินดี (cash inflow ดี) และหากไม่มีเงื่อนไขจากเจ้าหนี้ห้ามไว้
- ^^
- Verified User
- โพสต์: 519
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 17
หุ้นเพิ่มทุนและลดทุน
คัดมาจาก http://www.bangkokbizweek.com/ วันศุกร์ที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2549
Money Game : วิสิฐ องค์พิพัฒนกุล
นักลงทุนคงจะมีความคุ้นเคยกับการเพิ่มทุนและลดทุนของหุ้นที่เราถืออยู่ ความยากที่นักลงทุนพบอยู่เสมอคือ จะตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือไม่ และการเพิ่มทุนและลดทุนของหุ้นตัวที่เราถืออยู่มีความหมายทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Benefit) อย่างไร?
หุ้นเพิ่มทุนอาจมีหลายลักษณะ เช่น อาจจะเป็นการออกหุ้นใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในลักษณะ Right issues ซึ่งการออกหุ้นลักษณะนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทนั้นไม่ต้องการลดส่วนการถือหุ้นลง หรือถ้ามีการออก หุ้นเพิ่มทุนชนิดเฉพาะเจาะจง (Private Placement) แม้ราคาเพิ่มทุนอาจจะต่ำกว่าราคาปัจจุบัน จะต้องดูว่านักลงทุนที่ซื้อหุ้นบริษัทนั้นเป็น Strategic partner หรือเป็นผู้ถือหุ้นเดิม นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มทุนอีกวิธีคือ การขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่แก่สาธารณชนทั่วไป หรือที่เราเรียกว่า Public Offering (PO)
สำหรับกรณีหุ้นถูกลดทุน อาจจะเป็นลดจำนวนหุ้นลง โดยการลดทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว (Paid-up Capital) ซึ่งมักจะเป็นหุ้นที่ไม่มีกำไรสะสมเหลืออยู่ (Retained Earnings) แต่จะมีขาดทุนสะสม (Retained Loss) เป็นจำนวนมากจนกระทั่งถ้าบริษัทต้องการจ่ายเงินปันผล หรือมีหุ้นส่วนใหม่เข้ามา (Strategic Partner) จะต้องเอาส่วนขาดทุนสะสมมาหักกับทุนจดทะเบียนแทน คือผู้ถือหุ้นเดิมต้องรับส่วนสูญเสียไปก่อน
ผมขออนุญาตให้ข้อสังเกตว่า กลยุทธ์การเลือกหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นลดทุนประเภทใดที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น มีดังนี้
ข้อที่หนึ่ง ถ้าการเพิ่มทุนแล้วไม่เกิดการลดลงของกำไรต่อหุ้น แต่กลับเพิ่มกำไรต่อหุ้น ปรากฏการณ์นี้ในภาษาการเงินเราเรียกว่า Anti-dilution ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี เช่น
กรณี ก. นำเงินเพิ่มทุนไปใช้ในการคืนหนี้ จนทำให้รายจ่ายดอกเบี้ยลดลง มากกว่าจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมักจะเกิดในภาวะดอกเบี้ยสูงมาก หรือ
กรณี ข. นำเงินเพิ่มทุนไปซื้อโครงการใหม่ หรือบริษัทใหม่ และบริษัทใหม่ที่ถูกซื้อนั้นสามารถทำกำไรให้บริษัทแม่ได้ทันที และกำไรที่ได้มากกว่าจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น คือ กำไรต่อหุ้นของจำนวนหุ้นใหม่ทั้งหมด มากกว่ากำไรต่อหุ้นเดิม หรือ
กรณี ค. ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets) ของบริษัทหลังการเพิ่มทุน และหลังจากซื้อกิจการบริษัทอื่นแล้วสูงกว่าอันเดิมมากๆ
ตัวอย่างต่างๆ เหล่านี้ การเพิ่มทุนจะเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้น
ข้อที่สอง ถ้าการเพิ่มทุนแล้วและไปซื้อกิจการเพิ่มแล้ว บริษัทใหม่ไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการในบริษัทที่ซื้อ หรือ เงินปันผลจากบริษัทใหม่ไม่คุ้มกับดอกเบี้ยที่ได้จากการลงทุนอื่น ในเชิงเปรียบเทียบ การเพิ่มทุนจะไม่เป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้น เช่น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์บ้านเราไปซื้อกิจการในต่างประเทศ และไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมการบริหารงานในบริษัทต่างประเทศนั้นได้ สุดท้าย บริษัทในบ้านเรานั้นต้องขายคืนให้กับเจ้าถิ่นไป หุ้นเพิ่มทุนในลักษณะนี้ก็ไม่น่าซื้อ
ข้อที่สาม โดยปกติสถาบันการเงินจะเติบโตจากกำไรสะสมของตนเอง การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินจะมีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปทำการตั้งสำรองหนี้สูญ เพราะฉะนั้น การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินอาจจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก
ข้อที่สี่ Market Capitalization (มูลค่าการตลาด) ของหุ้นภายหลังการเพิ่มทุน โตเป็นจำนวน 8-10 เท่าของยอดขาย หมายความว่า ยอดขายอาจจะโตไม่ทันกับขนาดมูลค่าการตลาด ในที่สุดแล้ว หุ้นนั้นจะราคาตกอย่างรวดเร็ว หุ้นเพิ่มทุนในลักษณะนี้ควรหลีกเลี่ยง
คัดมาจาก http://www.bangkokbizweek.com/ วันศุกร์ที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2549
Money Game : วิสิฐ องค์พิพัฒนกุล
นักลงทุนคงจะมีความคุ้นเคยกับการเพิ่มทุนและลดทุนของหุ้นที่เราถืออยู่ ความยากที่นักลงทุนพบอยู่เสมอคือ จะตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือไม่ และการเพิ่มทุนและลดทุนของหุ้นตัวที่เราถืออยู่มีความหมายทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Benefit) อย่างไร?
หุ้นเพิ่มทุนอาจมีหลายลักษณะ เช่น อาจจะเป็นการออกหุ้นใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในลักษณะ Right issues ซึ่งการออกหุ้นลักษณะนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทนั้นไม่ต้องการลดส่วนการถือหุ้นลง หรือถ้ามีการออก หุ้นเพิ่มทุนชนิดเฉพาะเจาะจง (Private Placement) แม้ราคาเพิ่มทุนอาจจะต่ำกว่าราคาปัจจุบัน จะต้องดูว่านักลงทุนที่ซื้อหุ้นบริษัทนั้นเป็น Strategic partner หรือเป็นผู้ถือหุ้นเดิม นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มทุนอีกวิธีคือ การขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่แก่สาธารณชนทั่วไป หรือที่เราเรียกว่า Public Offering (PO)
สำหรับกรณีหุ้นถูกลดทุน อาจจะเป็นลดจำนวนหุ้นลง โดยการลดทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว (Paid-up Capital) ซึ่งมักจะเป็นหุ้นที่ไม่มีกำไรสะสมเหลืออยู่ (Retained Earnings) แต่จะมีขาดทุนสะสม (Retained Loss) เป็นจำนวนมากจนกระทั่งถ้าบริษัทต้องการจ่ายเงินปันผล หรือมีหุ้นส่วนใหม่เข้ามา (Strategic Partner) จะต้องเอาส่วนขาดทุนสะสมมาหักกับทุนจดทะเบียนแทน คือผู้ถือหุ้นเดิมต้องรับส่วนสูญเสียไปก่อน
ผมขออนุญาตให้ข้อสังเกตว่า กลยุทธ์การเลือกหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นลดทุนประเภทใดที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น มีดังนี้
ข้อที่หนึ่ง ถ้าการเพิ่มทุนแล้วไม่เกิดการลดลงของกำไรต่อหุ้น แต่กลับเพิ่มกำไรต่อหุ้น ปรากฏการณ์นี้ในภาษาการเงินเราเรียกว่า Anti-dilution ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี เช่น
กรณี ก. นำเงินเพิ่มทุนไปใช้ในการคืนหนี้ จนทำให้รายจ่ายดอกเบี้ยลดลง มากกว่าจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมักจะเกิดในภาวะดอกเบี้ยสูงมาก หรือ
กรณี ข. นำเงินเพิ่มทุนไปซื้อโครงการใหม่ หรือบริษัทใหม่ และบริษัทใหม่ที่ถูกซื้อนั้นสามารถทำกำไรให้บริษัทแม่ได้ทันที และกำไรที่ได้มากกว่าจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น คือ กำไรต่อหุ้นของจำนวนหุ้นใหม่ทั้งหมด มากกว่ากำไรต่อหุ้นเดิม หรือ
กรณี ค. ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets) ของบริษัทหลังการเพิ่มทุน และหลังจากซื้อกิจการบริษัทอื่นแล้วสูงกว่าอันเดิมมากๆ
ตัวอย่างต่างๆ เหล่านี้ การเพิ่มทุนจะเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้น
ข้อที่สอง ถ้าการเพิ่มทุนแล้วและไปซื้อกิจการเพิ่มแล้ว บริษัทใหม่ไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการในบริษัทที่ซื้อ หรือ เงินปันผลจากบริษัทใหม่ไม่คุ้มกับดอกเบี้ยที่ได้จากการลงทุนอื่น ในเชิงเปรียบเทียบ การเพิ่มทุนจะไม่เป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้น เช่น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์บ้านเราไปซื้อกิจการในต่างประเทศ และไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมการบริหารงานในบริษัทต่างประเทศนั้นได้ สุดท้าย บริษัทในบ้านเรานั้นต้องขายคืนให้กับเจ้าถิ่นไป หุ้นเพิ่มทุนในลักษณะนี้ก็ไม่น่าซื้อ
ข้อที่สาม โดยปกติสถาบันการเงินจะเติบโตจากกำไรสะสมของตนเอง การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินจะมีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปทำการตั้งสำรองหนี้สูญ เพราะฉะนั้น การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินอาจจะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก
ข้อที่สี่ Market Capitalization (มูลค่าการตลาด) ของหุ้นภายหลังการเพิ่มทุน โตเป็นจำนวน 8-10 เท่าของยอดขาย หมายความว่า ยอดขายอาจจะโตไม่ทันกับขนาดมูลค่าการตลาด ในที่สุดแล้ว หุ้นนั้นจะราคาตกอย่างรวดเร็ว หุ้นเพิ่มทุนในลักษณะนี้ควรหลีกเลี่ยง
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 18
ไม่เข้าใจเรื่องลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมน่ะครับ
จากที่ว่า ทุนจดทะเบียน = ราคาพาร์ * จำนวนหุ้น
คือจากที่อ่านความเห็นของพี่ๆ ผมเข้าใจว่า ถ้าจะลดทุน บริษัท จะทำได้ 2 วิธี คือ
ลดราคาพาร์ หรือ ลดจำนวนหุ้นลง เพื่อให้ทุนจดทะเบียนลดลงใช่หรือเปล่าครับ
กรณีแรก ถ้าลดราคาพาร์ จะมีผลอย่างไรต่อราคาหุ้นบนกระดานไหมครับ
กรณีที่สอง ถ้าลดจำนวนหุ้น อย่างนี้ หมายความว่าหุ้นที่ผมถืออยู่จะมีจำนวนลดลงตามสัดส่วนที่บริษัทประกาศลดจำนวนลงใช่ไหมครับ
จากที่ว่า ทุนจดทะเบียน = ราคาพาร์ * จำนวนหุ้น
คือจากที่อ่านความเห็นของพี่ๆ ผมเข้าใจว่า ถ้าจะลดทุน บริษัท จะทำได้ 2 วิธี คือ
ลดราคาพาร์ หรือ ลดจำนวนหุ้นลง เพื่อให้ทุนจดทะเบียนลดลงใช่หรือเปล่าครับ
กรณีแรก ถ้าลดราคาพาร์ จะมีผลอย่างไรต่อราคาหุ้นบนกระดานไหมครับ
กรณีที่สอง ถ้าลดจำนวนหุ้น อย่างนี้ หมายความว่าหุ้นที่ผมถืออยู่จะมีจำนวนลดลงตามสัดส่วนที่บริษัทประกาศลดจำนวนลงใช่ไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 19
หลังจากลดทุนแล้ว
1.หากเป็นการลดเพื่อคืนทุน ตรงนี้จะเอาบริษัท จะจ่ายเรา=ราคาพาร์*จำนวนหุ้นที่ลดไป ใช่ไหมครับ
2.หากเป็นการลดเพื่อล้างขาดทุนสะสม บริษัทจะเอา ราคาพาร์*จำนวนหุ้น ไปหักจำนวนเงินที่ขาดทุนอยู่ใช่ไหมครับ
หากเป็นตามทั้งสองข้อ ผมยังไม่เห็นว่า จะมีผลดีต่อเราเลยนะครับ กรณีบริษัทเขาลดทุน เพราะ
หากเป็นข้อหนึ่ง เราก็เสียเงินส่วนต่างตรงที่ เราไม่ได้ซื้อในราคาพาร์
หากเป็นข้อสอง เราก็เสียเงินเพื่อไปรับผิดชอบส่วนที่บริษัทขาดทุน (แม้ว่าเพื่อจะมาปัญผลทีหลัง แต่ผมคิดว่าไม่น่าจะเท่ากับที่เราเสียไปจ่ายให้ค่าขาดทุนสะสม)
ไม่ทราบว่าทั้งหมดนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ
1.หากเป็นการลดเพื่อคืนทุน ตรงนี้จะเอาบริษัท จะจ่ายเรา=ราคาพาร์*จำนวนหุ้นที่ลดไป ใช่ไหมครับ
2.หากเป็นการลดเพื่อล้างขาดทุนสะสม บริษัทจะเอา ราคาพาร์*จำนวนหุ้น ไปหักจำนวนเงินที่ขาดทุนอยู่ใช่ไหมครับ
หากเป็นตามทั้งสองข้อ ผมยังไม่เห็นว่า จะมีผลดีต่อเราเลยนะครับ กรณีบริษัทเขาลดทุน เพราะ
หากเป็นข้อหนึ่ง เราก็เสียเงินส่วนต่างตรงที่ เราไม่ได้ซื้อในราคาพาร์
หากเป็นข้อสอง เราก็เสียเงินเพื่อไปรับผิดชอบส่วนที่บริษัทขาดทุน (แม้ว่าเพื่อจะมาปัญผลทีหลัง แต่ผมคิดว่าไม่น่าจะเท่ากับที่เราเสียไปจ่ายให้ค่าขาดทุนสะสม)
ไม่ทราบว่าทั้งหมดนี้ผมเข้าใจถูกไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดพาร์กับผลกระทบราคาหุ้น
โพสต์ที่ 20
ไม่ควรจะมีครับ เพราะพื้นฐานก็ยังเหมือนเดิมทุกอย่างไม่ได้ดีหรือเลวขึ้นเลย ผลทางจิตวิทยาอาจมีได้ครับjittapat เขียน:กรณีแรก ถ้าลดราคาพาร์ จะมีผลอย่างไรต่อราคาหุ้นบนกระดานไหมครับ
โดยปกติจะต้องมีหุ้นซื้อคืนครับ ถึงจะตัดเป็นจำนวนหุ้นได้ แต่ถ้าบริษัทตัดขาดทุนสะสมผมว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว คงไม่มีหุ้นซื้อคืนในบริษัทครับjittapat เขียน:กรณีที่สอง ถ้าลดจำนวนหุ้น อย่างนี้ หมายความว่าหุ้นที่ผมถืออยู่จะมีจำนวนลดลงตามสัดส่วนที่บริษัทประกาศลดจำนวนลงใช่ไหมครับ
ดังนั้นถ้าตัดขาดทุนสะสมเท่าที่ผมเห็นก็มีแต่ลดพาร์ครับ
ใช่ครับ คืนได้เท่าทุนจดทะเบียนของหุ้น เป็นเงินเท่าไหร่ก็เอามาหารกันjittapat เขียน:1.หากเป็นการลดเพื่อคืนทุน ตรงนี้จะเอาบริษัท จะจ่ายเรา=ราคาพาร์*จำนวนหุ้นที่ลดไป ใช่ไหมครับ
ใช่ครับ แต่เป็น ราคาพาร์(ที่หายไป)*จำนวนหุ้น = ขาดทุนสะสมjittapat เขียน:2.หากเป็นการลดเพื่อล้างขาดทุนสะสม บริษัทจะเอา ราคาพาร์*จำนวนหุ้น ไปหักจำนวนเงินที่ขาดทุนอยู่ใช่ไหมครับ