เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เราจะคิดreplacement cost จากหุ้น ยังไงเหรอครับ มันคิดได้ด้วยเหรอครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

- อืม ถ้าเล่าไม่รู้จะเล่ายังไงได้ละเอียดนะครับ ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีหุ้น turn around เท่าไหร่นะครับไม่เหมือน 5-6 ปีก่อน หลักๆ มันมีตัวกรองหลายๆ อย่าง เช่น p/bv p/e สมัย 5-6 ก่อน หุ้น p/e 3-5 เท่าแล้วธุรกิจไม่ขี้เหร่นั้นมีเป็นกระจาดเหมือนกันครับ ตัวกรองอีกตัวที่ได้ผลกว่า bv ก็คือ price / replacement cost ครับ โดยเฉพาะใช้กับหุ้น commodity เพราะถ้าหุ้น trade ต่ำกว่าการสร้าง capacity ใหม่ทั้งบริษัท มักจะเป็นเป้าหมายการถูก take over หรือการที่ราคาหุ้นต่ำกว่า replacement มากๆ ธุรกิจนั้นจะไม่มีการขยาย supply เลยเพราะหุ้นเหล่านั้นจะไม่สามารถเพิ่มทุนได้ เมือ supply ไม่เพิ่ม พอ demand ฟื้น ราคาผลิตภัณฑ์ขึ้นแรง กำไรและราคาหุ้นจะฟื้นตัวแรงมาก ตัวอย่างก็จะเห็นในพวกปิโตรฯ เรือ โรงกลั่น

คือผมอ่านเจอจากกระทู้hongvalueอ่ะครับ

http://hongvalue.wordpress.com/2009/09/ ... greenbull/
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมว่าเหตุการณ์ปัจจุบัน case study คือ TTA เข้าข่ายเรื่องนี้พอดีหลายจุดที่คุณ ih พูดถึงนะครับ
เพราะ Replacement cost คือพูดถึง "การประเมินมูลค่า ถ้าต้องเปลี่ยนหรือซ่อม/สร้าง Asset"


ข่าวเล่าลือก็คือกลัวกันว่ากลุ่มที่เข้าาใหม่ จะมา take over เพื่อนำของไปขาย ไม่ต้องดำเนินธุรกิจต่อ แต่ได้ของถูก TTA ที่ราคาตอนนี้อยู่ตำแหน่งตกท้องช้างในกราฟของ cycle
(เพียงแต่ที่ใครๆ รับรู้กันทั่ว ไม่ใช่ P/replacement cost แต่ปรากฎต่อ public คือเราเห็นในหน้าตัวเลข Financial Highlight ของ set.or.th คือตัวเลขยอดนิยมเห็นกันอยู่คือ P ต่ำกว่าราคา BV ...สุดคุ้ม)

คิดreplacement cost จากหุ้น จึงควรจะหมายถึง คิด replacement cost สำหรับ asset ของกิจการ อย่างกรณีนี้ ก็คือกองเรือ

เดาล้วนๆ นะครับ...ประเมินจากความหมาย
แต่มั่นใจว่าเดาถูก
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Ii'8N เขียน:ผมว่าเหตุการณ์ปัจจุบัน case study คือ TTA เข้าข่ายเรื่องนี้พอดีหลายจุดที่คุณ ih พูดถึงนะครับ
เพราะ Replacement cost คือพูดถึง "การประเมินมูลค่า ถ้าต้องเปลี่ยนหรือซ่อม/สร้าง Asset"


ข่าวเล่าลือก็คือกลัวกันว่ากลุ่มที่เข้าาใหม่ จะมา take over เพื่อนำของไปขาย ไม่ต้องดำเนินธุรกิจต่อ แต่ได้ของถูก TTA ที่ราคาตอนนี้อยู่ตำแหน่งตกท้องช้างในกราฟของ cycle
(เพียงแต่ที่ใครๆ รับรู้กันทั่ว ไม่ใช่ P/replacement cost แต่ปรากฎต่อ public คือเราเห็นในหน้าตัวเลข Financial Highlight ของ set.or.th คือตัวเลขยอดนิยมเห็นกันอยู่คือ P ต่ำกว่าราคา BV ...สุดคุ้ม)

คิดreplacement cost จากหุ้น จึงควรจะหมายถึง คิด replacement cost สำหรับ asset ของกิจการ อย่างกรณีนี้ ก็คือกองเรือ

เดาล้วนๆ นะครับ...ประเมินจากความหมาย
แต่มั่นใจว่าเดาถูก


เหมือนกับว่า replacement cost มันไม่คิดง่ายๆ เหมือนพวกev FCF pe แสดงว่าเราคงต้องใช้บริการให้โบรกเกอร์คิดให้ใช่มั้ยครับ เพราะผมก็ยังหาสูตรในการคำนวณไม่เจอเลย
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมว่าต้องอาศัยความรู้เฉพาะด้าน ของธุรกิจนั้นๆ

อย่าง กองเรือ โรงกลั่น โรงแยกก๊าซ แต่ละธุรกิจประเมินต่างกันมาก
replacement cost ของ asset ส่วนที่เป็น บ้าน อาคาร อาจประเมินง่ายคนในวงการ real estate ก็ทำได้ทั่วไป เพราะเราเห็นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน ว่ามันประกอบด้วยอะไรบ้าง ราคาที่เป็นส่วนประกอบ เราก็เห็นได้ในท้องตลาด ไม่ได้ทำงานซับซ้อน

แต่ถ้าเป็นด้านอื่น ส่วนมีเครื่องยนต์กลไกเทคโนโลยี ถ้า่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจนั้นๆ ต่อให้จ้าง broker ทำ ก็ต้องไปเก็บข้อมูล หรือจ้างคนในวงการนั้นๆ มาเป็นทีมงานชั่วคราว อย่างน้อยได้ค่ราใกล้เคียงความเป็นจริง มิฉะนั้นอาจได้ตัวเลขที่ลอยมาจากอากาศ




นี่พูดจากประสบการณ์จริง ผมทำงานอยู่ในบริษัทแห่งหนึ่งที่มีบริษัทย่อยที่ได้สัมปทานจากรัฐแต่ละประเทศค่อยๆ ซื้อสินทรัพย์เพื่อมาให้บริการทุกระยะ ราว 17-18 ปี กระจายไปทั่วประเทศ strategic partner จ้างชาวต่างชาติมาประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทย่อยที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะอุตสาหกรรม ใน 2 ประเทศ
แต่พี่ท่านนั่งรถดู 2-3 วัน แล้วตีค่าออกมา ผมไม่ได้หวังถึงกับว่าเขาจะตีตัวเลขออกมาเป็นทศนิยมกี่ตำแหน่ง แต่ที่กังขาคือว่ายังไม่ได้เก็บข้อมูลหรือถามสักคำ ว่ามีอะไรซื้อมาปีไหน เท่าไหร่ ส่วนไหนมูลค่าเท่าไหร่ ส่วนไหนกำลังโละทิ้ง มูลค่าไม่เหลือ
...ผมถึงบอกว่า " มิฉะนั้นอาจได้ตัวเลขที่ลอยมาจากอากาศ"

ทำให้ผมรู้ว่า พวกที่เรามองเห็นชื่อบริษัทดังๆ มีหน้าตาคนทำงานต่างชาติ ห่อหุ้มอยู่ บางทีก็ทำงานสุกเอาเผากิน แต่งตัวเลขขึ้นมาลอยๆ เราอย่าไปเชื่อโดยง่าย
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากนะครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
KriangL
Verified User
โพสต์: 1475
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ต้องลองค้นหาข่าวครับว่าเวลาเขาก่อสร้างโรงงานแบบเดียวกันต้องลงทุนเท่าไหร่ก็จะพอได้ตัวเลขคร่าวๆครับ
viim
Verified User
โพสต์: 551
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

และที่สำคัญอีกก็คือ พวก intangible assets เป็นอะไรที่สร้างขึ้นมาไม่ได้ง่ายๆ เช่น skilled workers, good will, brand, etc. ซึ่งมันตีราคายากเหมือนกันนะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

คุณ cyber-shot และเพื่อนๆ ครับ....มี case จริงในกระแสแล้วครับ
น่าไปหามาศึกษานะครับ ว่าเขาตีราคามายังไง


http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... st#p900939


ปรัชญา
Post subject: Re: สรุปข่าวหุ้น หนังสือพิมพ์รายวัน - รายงานการซื้อขายหลักทรPosted: Wed Aug 31, 2011 7:50 am
Verified Member


Joined: Fri Mar 14, 2003 10:37 pm
Posts: 11155

0

สรุปข่าว หนังสือพิมพ์ทันหุ้น



31 ส.ค.--ทันหุ้น


เอ็กซอนเดินเกมขาย 'ESSO' ถอดสูตรราคาซื้อ 12.30 บาท
จับตา Exxon Mobil เดินเกมขายหุ้น ESSO ในไทยหลังขายเอสโซ่ มาเลย์ บวกกลุ่ม PTT แสดง
ความสนใจซื้อกิจการ โรงกลั่น หวังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ TOP เหตุโรงงานอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เซียนหุ้น
ถอดสูตรราคาขายตาม Replacement Cost ขั้นต่ำที่ 8,000 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ได้ราคาขาย ESSO ที่
12.30 บาทต่อหุ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เป็นไปได้ ว่ามีตัวเลขประมาณการว่า replacement cost โรงกลั่นเฉลี่ยทั่วไปขนาดนี้ อายุเท่านี้ หน่วยเป็น USD/Barrel แล้วเอามาคูณกับกำลังการผลิต (Capacity) ของโรงกลั่น
ก็จะตีมูลค้่าได้

ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าของ EGAT ก็ USD/kWatt
ถ้าเป็นโรงโม่หินแถาสระบุรี ก็ USD/Metric Tonne เป็นต้น



เตรียมการกันมาก่อนหน้านี้แล้ว
http://www.suthichaiyoon.com/detail/9825

ไทยออยล์เล็งใช้5หมื่นล้านฮุบ'เอสโซ่'65%
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554AAAขนาดตัวอักษร| |

รูปอื่นๆ : รูปภาพ
บอร์ดไทยออยล์ลงมติวาระลับตั้ง "เดอะควอนท์กรุ๊ป" ที่ปรึกษาการเงิน ทำดิวดิลิเจนซ์ เทคโอเวอร์ โรงกลั่นเอสโซ่ โดยการซื้อหุ้น 65% จาก Exxon Mobil คาดใช้เงิน 5 หมื่นล้านบาท ขีดเส้น 3 เดือนได้ข้อสรุป ระบุหากซื้อสำเร็จ ไทยออยล์ขึ้นแท่นโรงกลั่นใหญ่สุดในประเทศขนาด 5.4 แสนบาร์เรลต่อวัน ชี้ผลดีเพียบทั้งลดต้นทุน เพิ่มอำนาจต่อรองในตลาด เผยไตรมาสแรกกำไรกว่า 7 พันล้านบาท
แหล่งข่าวจากบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทไทยออยล์ วาระลับพิเศษ พิจารณาการซื้อกิจการบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยการเสนอซื้อหุ้นในส่วนที่ Exxon Mobil International Holdings ถืออยู่จำนวน 65% ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้เข้าทำการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน (Due Diligenc) และแต่งตั้ง บริษัท เดอะ ควอนท์ กรุ๊ป จำกัด เป็นที่ปรึกษาการเงิน

ส่วนราคาที่เสนอซื้อนั้น จะต้องมีการต่อรองกันระหว่างบริษัทไทยออยล์ และ Exxon Mobil International Holdings เนื่องจาก Exxon Mobil International Holdings เสนอราคาเบื้องต้น 2-3 เท่าของราคาตลาดนั้น เป็นการคิดตามมูลค่าทรัพย์สินของบริษัทเอสโซ่ จะได้ราคาที่ 2-3 เท่าของราคาตลาด แต่เชื่อว่าราคาตลาดจะต่ำกว่านี้

ตามแผนธุรกิจเมื่อไทยออยล์ สามารถซื้อหุ้นเอสโซ่ได้แล้ว ไทยออยล์ก็จะถือหุ้นในเอสโซ่จำนวน 65% แต่จะยังไม่มีการควบรวมกิจการ และอาจจะใช้ชื่อเอสโซ่ไปอีกระยะหนึ่ง เช่นเดียวกับกรณีที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซื้อร้านค้าปลีกจิฟฟี่ ในสถานีบริการน้ำมัน Jet ในอดีต

นอกจากนี้ ไทยออยล์จะขอยกเว้นการทำคำเสนอซื้อจากนักลงทุนเป็นการทั่วไป (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

"กรณีนี้เราเข้าไปติดต่อเขา (Exxon Mobil International Holdings) เพราะเราเห็นช่องมานานแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ที่ ปตท.ได้ซื้อโรงกลั่นน้ำมันจากเชลล์ เพราะนโยบายใหม่ของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก เริ่มเบนเข็มจากธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ไปสู่ธุรกิจขุดเจาะน้ำมัน ที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า" แหล่งข่าวกลับ

แหล่งข่าวยอมรับว่าอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ Exxon Mobil International Holdings ถอนตัวจากธุรกิจโรงกลั่นในประเทศ เนื่องจากการแข่งขันที่สูง และโครงสร้างการตลาดถูกครอบครองโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เป็นเจ้าตลาดในขณะนี้ ทำให้มีผลต่อค่าการตลาดที่ไม่เป็นอิสระ ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

คาดใช้เงินเฉียด 5 หมื่นล้านบาท

สำหรับมูลค่าการลงทุนเบื้องต้นในการซื้อหุ้นเอสโซ่ส่วนของ Exxon Mobil International Holdings ที่ถืออยู่ 2,264 ล้านหุ้น หรือ 65.43% นั้น ราคายังไม่เป็นที่ตกลงกัน แต่คาดว่าจะมากกว่า 2 เท่าตัวของราคาตลาด งบประมาณที่ใช้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทวาระพิเศษดังกล่าว ได้อนุมัติวงเงินงบลงทุนไว้แล้ว โดยแหล่งเงินจะมาจากเงินสดที่ไทยออยล์ถืออยู่ส่วนหนึ่ง และเงินกู้อีกส่วนหนึ่ง

"เรายังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เงินเท่าไร ขึ้นอยู่กับผลของการทำดิว ดิลิเจนซ์ และคงต้องมีการต่อรองเพิ่มเติม แต่เชื่อว่าราคานั้นคงใกล้เคียง 2 เท่าของราคาตลาด" แหล่งข่าวกล่าว

ราคาหุ้นบริษัทเอสโซ่ ปิดตลาดเมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ 11 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท หรือ 3.77% มูลค่าการซื้อขาย 113 ล้านบาท ขณะที่ราคาปิดต่อมูลค่าทางบัญชี อยู่ที่ 1.53 เท่า และมีมูลค่าตลาดเท่ากับ 38,069 ล้านบาท ผลประกอบการงวดปี 2553 สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2553 มีรายได้ 1.79 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้จำนวน 1.63 แสนล้านบาท และมีกำไรสุทธิจำนวน 1.653 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 4.449 พันล้านบาท

"ราคาหุ้นเอสโซ่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นปีนี้ที่อยู่ที่ 7-8 บาท มาเคลื่อนไหวที่ 11 บาทนั้น เป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและค่าการกลั่นที่ดีขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว

5.4 แสนบาร์เรล-อำนาจต่อรองล้น

ปัจจุบันไทยออยล์ มีกำลังการผลิต 3.7 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนกำลังการผลิตของเอสโซ่อยู่ที่ 1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน โรงกลั่นน้ำมันของไทยออยล์ ได้มาตรฐานยูโร 4 ขณะที่โรงกลั่นของเอสโซ่ ยังไม่ได้ ซึ่งหากต้องปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้มาตรฐานเดียวกัน จะต้องใช้เงินลงทุนอีกประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3 พันล้านบาท แต่น้ำมันที่เอสโซ่กลั่นได้ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันเบนซินที่จำหน่ายได้ราคาดี

การเข้าไปถือหุ้นของไทยออยล์ในเอสโซ่ จะทำให้กำลังการกลั่นของ 2 แห่งรวมกันเป็น 5.4 แสนบาร์เรลต่อวัน ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นขนาดที่สามารถแข่งขันกับโรงกลั่นขนาดใหญ่ในภูมิภาค โดยเฉพาะอินเดีย ที่มีโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ให้ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางประเภทจะใช้รวมกันได้ ลดความซ้ำซ้อน เช่น การขนส่งที่สามารถสั่งน้ำมันเข้ามาล็อตใหญ่ และขนโดยเรือลำเดียวที่จะช่วยประหยัดต้นทุนค่าขนส่งได้มาก

นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองในตลาดซื้อขายน้ำมัน ที่ซื้อมากย่อมได้รับส่วนลดมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มขีดแข่งขันในเวทีการค้าระดับภูมิภาค

"อินเดียเขามี 1 ล้านบาร์เรล วันนี้ เขาใหญ่กว่าเรา ค่าการกลั่นเขาดีกว่าเรา เขาเห็นว่าคุ้มค่าหากจะยอมเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้น เพื่อส่งน้ำมันมาขายในเกาหลี จีน และญี่ปุ่น นอกเหนือไปจากตลาดหลักที่ยุโรป แต่เมื่อไทยออยล์มีขนาดใหญ่ขึ้น ลดต้นทุนได้ใกล้เคียงกับคู่แข่งสำคัญ แน่นอนว่า เราก็จะไปยึดตลาด เกาหลี จีน และญี่ปุ่น ที่เรามีความได้เปรียบในแง่ของเส้นทางขนส่งแทน"

โครงสร้างธุรกิจใกล้เคียงกัน

ปัจจุบันโครงสร้างผลิตภัณฑ์ของไทยออยล์และเอสโซ่ มีความใกล้เคียงกัน โดยเอสโซ่ มีส่วนธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน ที่มีรายได้ประมาณ 90% ของรายได้ ส่วนธุรกิจปิโตรเคมี มีรายได้ 10% ขณะที่ไทยออยล์ มีรายได้จากธุรกิจกลั่นน้ำมันเป็นหลัก และยังมีรายได้จากธุรกิจกลั่นน้ำมันหล่อลื่น ธุรกิจปิโตรเคมี ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจขนส่งน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และอื่นๆ

บริษัทเอสโซ่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งและมีภูมิลำเนาอยู่ในไทย จัดตั้งในปี 2508 แต่บริษัทและบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องประกอบธุรกิจในไทยมาเป็นระยะเวลา 116 ปี บริษัทเอสโซ่ ได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทเอกชนจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2539 และหุ้นสามัญของบริษัทได้เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. 2551

โครงสร้างผู้ถือหุ้นสำคัญได้แก่ บริษัท Exxon Mobil International Holdings Inc ถือหุ้น 2,264 ล้านหุ้น หรือ 65.43% กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ถือจำนวน 126.875 ล้านหุ้น หรือ 3.67% กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ถือ 126.875 ล้านหุ้น หรือ 3.67% บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ถือ 57.172 ล้านหุ้น หรือ 1.65% Somers (U.K.) Limited ถือจำนวน 37.792 ล้านหุ้น หรือ 1.09% และ State Street Bank And Trust Company For Australia ถือ 36.014 ล้านหุ้น หรือ 1.04%

ล้มแผนโรงกลั่นสงขลา

ก่อนหน้านี้ ไทยออยล์มีแนวคิดจะไปสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1 ล้านบาร์เรล ที่จังหวัดสงขลา และสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สตูล โดยใช้แลนด์บริดจ์เป็นตัวเชื่อม ลดการขนส่ง แต่โครงการนี้ก็พับไป เนื่องจากการลงทุนที่สูง และคาดว่าจะได้รับการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

"ว่าไปแล้วการพับแผนลงทุนโรงกลั่นที่สงขลาก็ดี เพราะโรงกลั่นใหม่ 1 โรงต้องใช้เวลาสร้าง 3 ปี ที่เราไม่ได้รีเทิร์นกลับมาเลย แต่การซื้อโรงกลั่นที่มีอยู่แล้วนั้น เราสามารถบันทึกรายได้เข้ามาทันที" แหล่งข่าวกล่าว

สเต็ป 2 ศึกษารวมกิจการ

แหล่งข่าว กล่าวว่า หากการซื้อหุ้นเอสโซ่สำเร็จ จะมีการรวมกิจการระหว่างกันหรือไม่ ยังเป็นประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง จะต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ และผลกระทบที่ตามมาอย่างละเอียด ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

"การรวมกิจการเป็น step 2 เหมือนกรณีที่ ปตท.เข้าไปซื้อโรงกลั่นระยองในอดีต ก่อนที่จะนำมารวมกับบริษัทอะโรเมติกส์ ประเทศไทย เป็นบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น และสุดท้าย นำมารวมกับบริษัท ปตท.เคมิคอล"

เผยไตรมาสแรกกำไร 7 พันล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าสำหรับผลประกอบการของบริษัทไทยออยล์ ในไตรมาสแรกปี 2554 ปรากฏว่ามีกำไรสุทธิประมาณ 7 พันล้านบาท โดยกำไรประมาณ 3 พันล้านบาท มาจากกำไรจากสต็อกน้ำมัน ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขยับเพิ่มขึ้นจากระดับ 80 ดอลลาร์ เป็น 100 กว่าดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ค่าการกลั่นปรับตัวดีขึ้น

"ค่าการกลั่นรวมทุกผลิตภัณฑ์ในไตรมาสแรกของเราอยู่ที่ประมาณ 10 กว่าดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นนั้น ทำให้ค่าการกลั่นเดือน เม.ย.เดือนเดียวเพิ่มขึ้นเป็น 12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เรายังไม่สามารถบอกได้ว่าค่าการกลั่น หรือกำไรทั้งปีจะดีตลอดหรือไม่ เพราะขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดด้วย"

ไทยออยล์ประกาศผลการดำเนินงานงวดปี 2553 มีรายได้สุทธิ 3.24 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้จำนวน 2.87 แสนล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิ 8.998 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 1.21 หมื่นล้านบาท
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณมากนะครับ สรุปการหาreplacement cost เราก็ต้องหาข้อมูลจากข่าวบริษัท หรือ 56-1 หรือสอบถามผู้บริหารนี้เอง คล้ายๆกับDCF เลย รู้สึกว่ามันจะยังยากไปสำหรับซะละครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Ii'8N เขียน:เป็นไปได้ ว่ามีตัวเลขประมาณการว่า replacement cost โรงกลั่นเฉลี่ยทั่วไปขนาดนี้ อายุเท่านี้ หน่วยเป็น USD/Barrel แล้วเอามาคูณกับกำลังการผลิต (Capacity) ของโรงกลั่น
ก็จะตีมูลค้่าได้

ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าของ EGAT ก็ USD/kWatt
ถ้าเป็นโรงโม่หินแถาสระบุรี ก็ USD/Metric Tonne เป็นต้น



เตรียมการกันมาก่อนหน้านี้แล้ว
http://www.suthichaiyoon.com/detail/9825

ไทยออยล์เล็งใช้5หมื่นล้านฮุบ'เอสโซ่'65%
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554AAAขนาดตัวอักษร| |

รูปอื่นๆ : รูปภาพ
บอร์ดไทยออยล์ลงมติวาระลับตั้ง "เดอะควอนท์กรุ๊ป" ที่ปรึกษาการเงิน ทำดิวดิลิเจนซ์ เทคโอเวอร์ โรงกลั่นเอสโซ่ โดยการซื้อหุ้น 65% จาก Exxon Mobil คาดใช้เงิน 5 หมื่นล้านบาท ขีดเส้น 3 เดือนได้ข้อสรุป ระบุหากซื้อสำเร็จ ไทยออยล์ขึ้นแท่นโรงกลั่นใหญ่สุดในประเทศขนาด 5.4 แสนบาร์เรลต่อวัน ชี้ผลดีเพียบทั้งลดต้นทุน เพิ่มอำนาจต่อรองในตลาด เผยไตรมาสแรกกำไรกว่า 7 พันล้านบาท
แหล่งข่าวจากบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทไทยออยล์ วาระลับพิเศษ พิจารณาการซื้อกิจการบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยการเสนอซื้อหุ้นในส่วนที่ Exxon Mobil International Holdings ถืออยู่จำนวน 65% ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้เข้าทำการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน (Due Diligenc) และแต่งตั้ง บริษัท เดอะ ควอนท์ กรุ๊ป จำกัด เป็นที่ปรึกษาการเงิน

ส่วนราคาที่เสนอซื้อนั้น จะต้องมีการต่อรองกันระหว่างบริษัทไทยออยล์ และ Exxon Mobil International Holdings เนื่องจาก Exxon Mobil International Holdings เสนอราคาเบื้องต้น 2-3 เท่าของราคาตลาดนั้น เป็นการคิดตามมูลค่าทรัพย์สินของบริษัทเอสโซ่ จะได้ราคาที่ 2-3 เท่าของราคาตลาด แต่เชื่อว่าราคาตลาดจะต่ำกว่านี้

ตามแผนธุรกิจเมื่อไทยออยล์ สามารถซื้อหุ้นเอสโซ่ได้แล้ว ไทยออยล์ก็จะถือหุ้นในเอสโซ่จำนวน 65% แต่จะยังไม่มีการควบรวมกิจการ และอาจจะใช้ชื่อเอสโซ่ไปอีกระยะหนึ่ง เช่นเดียวกับกรณีที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซื้อร้านค้าปลีกจิฟฟี่ ในสถานีบริการน้ำมัน Jet ในอดีต

นอกจากนี้ ไทยออยล์จะขอยกเว้นการทำคำเสนอซื้อจากนักลงทุนเป็นการทั่วไป (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

"กรณีนี้เราเข้าไปติดต่อเขา (Exxon Mobil International Holdings) เพราะเราเห็นช่องมานานแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ที่ ปตท.ได้ซื้อโรงกลั่นน้ำมันจากเชลล์ เพราะนโยบายใหม่ของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก เริ่มเบนเข็มจากธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ไปสู่ธุรกิจขุดเจาะน้ำมัน ที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า" แหล่งข่าวกลับ

แหล่งข่าวยอมรับว่าอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ Exxon Mobil International Holdings ถอนตัวจากธุรกิจโรงกลั่นในประเทศ เนื่องจากการแข่งขันที่สูง และโครงสร้างการตลาดถูกครอบครองโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เป็นเจ้าตลาดในขณะนี้ ทำให้มีผลต่อค่าการตลาดที่ไม่เป็นอิสระ ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

คาดใช้เงินเฉียด 5 หมื่นล้านบาท

สำหรับมูลค่าการลงทุนเบื้องต้นในการซื้อหุ้นเอสโซ่ส่วนของ Exxon Mobil International Holdings ที่ถืออยู่ 2,264 ล้านหุ้น หรือ 65.43% นั้น ราคายังไม่เป็นที่ตกลงกัน แต่คาดว่าจะมากกว่า 2 เท่าตัวของราคาตลาด งบประมาณที่ใช้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทวาระพิเศษดังกล่าว ได้อนุมัติวงเงินงบลงทุนไว้แล้ว โดยแหล่งเงินจะมาจากเงินสดที่ไทยออยล์ถืออยู่ส่วนหนึ่ง และเงินกู้อีกส่วนหนึ่ง

"เรายังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เงินเท่าไร ขึ้นอยู่กับผลของการทำดิว ดิลิเจนซ์ และคงต้องมีการต่อรองเพิ่มเติม แต่เชื่อว่าราคานั้นคงใกล้เคียง 2 เท่าของราคาตลาด" แหล่งข่าวกล่าว

ราคาหุ้นบริษัทเอสโซ่ ปิดตลาดเมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ 11 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท หรือ 3.77% มูลค่าการซื้อขาย 113 ล้านบาท ขณะที่ราคาปิดต่อมูลค่าทางบัญชี อยู่ที่ 1.53 เท่า และมีมูลค่าตลาดเท่ากับ 38,069 ล้านบาท ผลประกอบการงวดปี 2553 สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2553 มีรายได้ 1.79 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้จำนวน 1.63 แสนล้านบาท และมีกำไรสุทธิจำนวน 1.653 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 4.449 พันล้านบาท

"ราคาหุ้นเอสโซ่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นปีนี้ที่อยู่ที่ 7-8 บาท มาเคลื่อนไหวที่ 11 บาทนั้น เป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและค่าการกลั่นที่ดีขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว

5.4 แสนบาร์เรล-อำนาจต่อรองล้น

ปัจจุบันไทยออยล์ มีกำลังการผลิต 3.7 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนกำลังการผลิตของเอสโซ่อยู่ที่ 1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน โรงกลั่นน้ำมันของไทยออยล์ ได้มาตรฐานยูโร 4 ขณะที่โรงกลั่นของเอสโซ่ ยังไม่ได้ ซึ่งหากต้องปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้มาตรฐานเดียวกัน จะต้องใช้เงินลงทุนอีกประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3 พันล้านบาท แต่น้ำมันที่เอสโซ่กลั่นได้ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันเบนซินที่จำหน่ายได้ราคาดี

การเข้าไปถือหุ้นของไทยออยล์ในเอสโซ่ จะทำให้กำลังการกลั่นของ 2 แห่งรวมกันเป็น 5.4 แสนบาร์เรลต่อวัน ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นขนาดที่สามารถแข่งขันกับโรงกลั่นขนาดใหญ่ในภูมิภาค โดยเฉพาะอินเดีย ที่มีโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ให้ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางประเภทจะใช้รวมกันได้ ลดความซ้ำซ้อน เช่น การขนส่งที่สามารถสั่งน้ำมันเข้ามาล็อตใหญ่ และขนโดยเรือลำเดียวที่จะช่วยประหยัดต้นทุนค่าขนส่งได้มาก

นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองในตลาดซื้อขายน้ำมัน ที่ซื้อมากย่อมได้รับส่วนลดมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มขีดแข่งขันในเวทีการค้าระดับภูมิภาค

"อินเดียเขามี 1 ล้านบาร์เรล วันนี้ เขาใหญ่กว่าเรา ค่าการกลั่นเขาดีกว่าเรา เขาเห็นว่าคุ้มค่าหากจะยอมเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้น เพื่อส่งน้ำมันมาขายในเกาหลี จีน และญี่ปุ่น นอกเหนือไปจากตลาดหลักที่ยุโรป แต่เมื่อไทยออยล์มีขนาดใหญ่ขึ้น ลดต้นทุนได้ใกล้เคียงกับคู่แข่งสำคัญ แน่นอนว่า เราก็จะไปยึดตลาด เกาหลี จีน และญี่ปุ่น ที่เรามีความได้เปรียบในแง่ของเส้นทางขนส่งแทน"

โครงสร้างธุรกิจใกล้เคียงกัน

ปัจจุบันโครงสร้างผลิตภัณฑ์ของไทยออยล์และเอสโซ่ มีความใกล้เคียงกัน โดยเอสโซ่ มีส่วนธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน ที่มีรายได้ประมาณ 90% ของรายได้ ส่วนธุรกิจปิโตรเคมี มีรายได้ 10% ขณะที่ไทยออยล์ มีรายได้จากธุรกิจกลั่นน้ำมันเป็นหลัก และยังมีรายได้จากธุรกิจกลั่นน้ำมันหล่อลื่น ธุรกิจปิโตรเคมี ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจขนส่งน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และอื่นๆ

บริษัทเอสโซ่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งและมีภูมิลำเนาอยู่ในไทย จัดตั้งในปี 2508 แต่บริษัทและบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องประกอบธุรกิจในไทยมาเป็นระยะเวลา 116 ปี บริษัทเอสโซ่ ได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทเอกชนจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2539 และหุ้นสามัญของบริษัทได้เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. 2551

โครงสร้างผู้ถือหุ้นสำคัญได้แก่ บริษัท Exxon Mobil International Holdings Inc ถือหุ้น 2,264 ล้านหุ้น หรือ 65.43% กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ถือจำนวน 126.875 ล้านหุ้น หรือ 3.67% กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ถือ 126.875 ล้านหุ้น หรือ 3.67% บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ถือ 57.172 ล้านหุ้น หรือ 1.65% Somers (U.K.) Limited ถือจำนวน 37.792 ล้านหุ้น หรือ 1.09% และ State Street Bank And Trust Company For Australia ถือ 36.014 ล้านหุ้น หรือ 1.04%

ล้มแผนโรงกลั่นสงขลา

ก่อนหน้านี้ ไทยออยล์มีแนวคิดจะไปสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1 ล้านบาร์เรล ที่จังหวัดสงขลา และสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สตูล โดยใช้แลนด์บริดจ์เป็นตัวเชื่อม ลดการขนส่ง แต่โครงการนี้ก็พับไป เนื่องจากการลงทุนที่สูง และคาดว่าจะได้รับการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

"ว่าไปแล้วการพับแผนลงทุนโรงกลั่นที่สงขลาก็ดี เพราะโรงกลั่นใหม่ 1 โรงต้องใช้เวลาสร้าง 3 ปี ที่เราไม่ได้รีเทิร์นกลับมาเลย แต่การซื้อโรงกลั่นที่มีอยู่แล้วนั้น เราสามารถบันทึกรายได้เข้ามาทันที" แหล่งข่าวกล่าว

สเต็ป 2 ศึกษารวมกิจการ

แหล่งข่าว กล่าวว่า หากการซื้อหุ้นเอสโซ่สำเร็จ จะมีการรวมกิจการระหว่างกันหรือไม่ ยังเป็นประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง จะต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ และผลกระทบที่ตามมาอย่างละเอียด ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

"การรวมกิจการเป็น step 2 เหมือนกรณีที่ ปตท.เข้าไปซื้อโรงกลั่นระยองในอดีต ก่อนที่จะนำมารวมกับบริษัทอะโรเมติกส์ ประเทศไทย เป็นบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น และสุดท้าย นำมารวมกับบริษัท ปตท.เคมิคอล"

เผยไตรมาสแรกกำไร 7 พันล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าสำหรับผลประกอบการของบริษัทไทยออยล์ ในไตรมาสแรกปี 2554 ปรากฏว่ามีกำไรสุทธิประมาณ 7 พันล้านบาท โดยกำไรประมาณ 3 พันล้านบาท มาจากกำไรจากสต็อกน้ำมัน ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขยับเพิ่มขึ้นจากระดับ 80 ดอลลาร์ เป็น 100 กว่าดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ค่าการกลั่นปรับตัวดีขึ้น

"ค่าการกลั่นรวมทุกผลิตภัณฑ์ในไตรมาสแรกของเราอยู่ที่ประมาณ 10 กว่าดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นนั้น ทำให้ค่าการกลั่นเดือน เม.ย.เดือนเดียวเพิ่มขึ้นเป็น 12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เรายังไม่สามารถบอกได้ว่าค่าการกลั่น หรือกำไรทั้งปีจะดีตลอดหรือไม่ เพราะขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดด้วย"

ไทยออยล์ประกาศผลการดำเนินงานงวดปี 2553 มีรายได้สุทธิ 3.24 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้จำนวน 2.87 แสนล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิ 8.998 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 1.21 หมื่นล้านบาท
ลองกลับมาอ่าน อีกรอบ แสดงว่า การคิดreplacement cost ขั้นแรกเลย คือเราต้องประเมิน มูลค่า การลงทุนของธุรกิจ ในcore bussiness ของเขา หากเราจะลงทุนอย่างนั้น แบบของเขา เราจะต้องใช้เงินทุนเท่าไร


ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าของ EGAT ก็ USD/kWatt
ถ้าเป็นโรงโม่หินแถาสระบุรี ก็ USD/Metric Tonne เป็นต้น ผมว่ากรณีนี้อาจจะถามนักลงทุนสัมพันธ์ไปตรงๆเลยก็ได้ว่า โรงไฟฟ้า หรือโรงโมหิน ผลิตได้กี่ kwatt หรือ metric มีกี่โรงงาน ผลิตได้วันและกี่ หน่วย ไปเลยน่าจะง่ายกว่า เสร็จแล้วค่อยเอามูลค่า replacement cost มาเทียบกับราคาหุ้น แล้วฐานลูกค้านี้ต้องคิดด้วยมั้ยครับ เพราะบริษัทแต่ละแห่งเขาจะมีฐานลูกค้าประจำของเขาอยู่อ่ะครับ หรือว่าไม่ต้องคิด ถือว่าฐานลูกค้า กับกิจการในธุรกิจรองลงมาหรือ อื่น เป็นตัวได้ฟรี ประเมินเฉพาะมูลค่าการลงทุนของcore bussiness พอ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เพิ่งเห็นว่ามีวิธีการคิด replacement cost ของทรัพย์สินทางปัญญาด้วย
มาจากหนังสือของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ("ทรัพย์สินทางปัญญาน่ารู้ และวิธีการประเมินมูลค่า")

[หนังสือเล่มนี้พูดถึงการประเมินมูลค่านวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เป็นสิทธิบัตร ความลับทางการค้า (อย่างสูตรโค้กเป๊บซี่ กรรมวิธี การทำตลาด) รวมไปถึงพวก brand ต่างๆ จับต้องไม่ได้ทั้งนั้น น่าสนใจเลยหยิบมาจากร้านหนังสือจุฬา ยังอ่านไม่จบเลย ]
Intellectual Property vaulation - Cost approach (1) copy.GIF
Intellectual Property vaulation - Cost approach (2) copy.GIF
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

cyber-shot เขียน:
Ii'8N เขียน:เป็นไปได้ ว่ามีตัวเลขประมาณการว่า replacement cost โรงกลั่นเฉลี่ยทั่วไปขนาดนี้ อายุเท่านี้ หน่วยเป็น USD/Barrel แล้วเอามาคูณกับกำลังการผลิต (Capacity) ของโรงกลั่น
ก็จะตีมูลค้่าได้

ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าของ EGAT ก็ USD/kWatt
ถ้าเป็นโรงโม่หินแถาสระบุรี ก็ USD/Metric Tonne เป็นต้น



เตรียมการกันมาก่อนหน้านี้แล้ว
http://www.suthichaiyoon.com/detail/9825

ไทยออยล์เล็งใช้5หมื่นล้านฮุบ'เอสโซ่'65%
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554AAAขนาดตัวอักษร| |

รูปอื่นๆ : รูปภาพ
บอร์ดไทยออยล์ลงมติวาระลับตั้ง "เดอะควอนท์กรุ๊ป" ที่ปรึกษาการเงิน ทำดิวดิลิเจนซ์ เทคโอเวอร์ โรงกลั่นเอสโซ่ โดยการซื้อหุ้น 65% จาก Exxon Mobil คาดใช้เงิน 5 หมื่นล้านบาท ขีดเส้น 3 เดือนได้ข้อสรุป ระบุหากซื้อสำเร็จ ไทยออยล์ขึ้นแท่นโรงกลั่นใหญ่สุดในประเทศขนาด 5.4 แสนบาร์เรลต่อวัน ชี้ผลดีเพียบทั้งลดต้นทุน เพิ่มอำนาจต่อรองในตลาด เผยไตรมาสแรกกำไรกว่า 7 พันล้านบาท
แหล่งข่าวจากบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทไทยออยล์ วาระลับพิเศษ พิจารณาการซื้อกิจการบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยการเสนอซื้อหุ้นในส่วนที่ Exxon Mobil International Holdings ถืออยู่จำนวน 65% ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้เข้าทำการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน (Due Diligenc) และแต่งตั้ง บริษัท เดอะ ควอนท์ กรุ๊ป จำกัด เป็นที่ปรึกษาการเงิน

ส่วนราคาที่เสนอซื้อนั้น จะต้องมีการต่อรองกันระหว่างบริษัทไทยออยล์ และ Exxon Mobil International Holdings เนื่องจาก Exxon Mobil International Holdings เสนอราคาเบื้องต้น 2-3 เท่าของราคาตลาดนั้น เป็นการคิดตามมูลค่าทรัพย์สินของบริษัทเอสโซ่ จะได้ราคาที่ 2-3 เท่าของราคาตลาด แต่เชื่อว่าราคาตลาดจะต่ำกว่านี้

ตามแผนธุรกิจเมื่อไทยออยล์ สามารถซื้อหุ้นเอสโซ่ได้แล้ว ไทยออยล์ก็จะถือหุ้นในเอสโซ่จำนวน 65% แต่จะยังไม่มีการควบรวมกิจการ และอาจจะใช้ชื่อเอสโซ่ไปอีกระยะหนึ่ง เช่นเดียวกับกรณีที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซื้อร้านค้าปลีกจิฟฟี่ ในสถานีบริการน้ำมัน Jet ในอดีต

นอกจากนี้ ไทยออยล์จะขอยกเว้นการทำคำเสนอซื้อจากนักลงทุนเป็นการทั่วไป (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

"กรณีนี้เราเข้าไปติดต่อเขา (Exxon Mobil International Holdings) เพราะเราเห็นช่องมานานแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ที่ ปตท.ได้ซื้อโรงกลั่นน้ำมันจากเชลล์ เพราะนโยบายใหม่ของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก เริ่มเบนเข็มจากธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ไปสู่ธุรกิจขุดเจาะน้ำมัน ที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า" แหล่งข่าวกลับ

แหล่งข่าวยอมรับว่าอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ Exxon Mobil International Holdings ถอนตัวจากธุรกิจโรงกลั่นในประเทศ เนื่องจากการแข่งขันที่สูง และโครงสร้างการตลาดถูกครอบครองโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เป็นเจ้าตลาดในขณะนี้ ทำให้มีผลต่อค่าการตลาดที่ไม่เป็นอิสระ ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

คาดใช้เงินเฉียด 5 หมื่นล้านบาท

สำหรับมูลค่าการลงทุนเบื้องต้นในการซื้อหุ้นเอสโซ่ส่วนของ Exxon Mobil International Holdings ที่ถืออยู่ 2,264 ล้านหุ้น หรือ 65.43% นั้น ราคายังไม่เป็นที่ตกลงกัน แต่คาดว่าจะมากกว่า 2 เท่าตัวของราคาตลาด งบประมาณที่ใช้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทวาระพิเศษดังกล่าว ได้อนุมัติวงเงินงบลงทุนไว้แล้ว โดยแหล่งเงินจะมาจากเงินสดที่ไทยออยล์ถืออยู่ส่วนหนึ่ง และเงินกู้อีกส่วนหนึ่ง

"เรายังบอกไม่ได้ว่าจะใช้เงินเท่าไร ขึ้นอยู่กับผลของการทำดิว ดิลิเจนซ์ และคงต้องมีการต่อรองเพิ่มเติม แต่เชื่อว่าราคานั้นคงใกล้เคียง 2 เท่าของราคาตลาด" แหล่งข่าวกล่าว

ราคาหุ้นบริษัทเอสโซ่ ปิดตลาดเมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ 11 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท หรือ 3.77% มูลค่าการซื้อขาย 113 ล้านบาท ขณะที่ราคาปิดต่อมูลค่าทางบัญชี อยู่ที่ 1.53 เท่า และมีมูลค่าตลาดเท่ากับ 38,069 ล้านบาท ผลประกอบการงวดปี 2553 สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2553 มีรายได้ 1.79 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้จำนวน 1.63 แสนล้านบาท และมีกำไรสุทธิจำนวน 1.653 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 4.449 พันล้านบาท

"ราคาหุ้นเอสโซ่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นปีนี้ที่อยู่ที่ 7-8 บาท มาเคลื่อนไหวที่ 11 บาทนั้น เป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและค่าการกลั่นที่ดีขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว

5.4 แสนบาร์เรล-อำนาจต่อรองล้น

ปัจจุบันไทยออยล์ มีกำลังการผลิต 3.7 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนกำลังการผลิตของเอสโซ่อยู่ที่ 1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน โรงกลั่นน้ำมันของไทยออยล์ ได้มาตรฐานยูโร 4 ขณะที่โรงกลั่นของเอสโซ่ ยังไม่ได้ ซึ่งหากต้องปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้มาตรฐานเดียวกัน จะต้องใช้เงินลงทุนอีกประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3 พันล้านบาท แต่น้ำมันที่เอสโซ่กลั่นได้ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันเบนซินที่จำหน่ายได้ราคาดี

การเข้าไปถือหุ้นของไทยออยล์ในเอสโซ่ จะทำให้กำลังการกลั่นของ 2 แห่งรวมกันเป็น 5.4 แสนบาร์เรลต่อวัน ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นขนาดที่สามารถแข่งขันกับโรงกลั่นขนาดใหญ่ในภูมิภาค โดยเฉพาะอินเดีย ที่มีโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ให้ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางประเภทจะใช้รวมกันได้ ลดความซ้ำซ้อน เช่น การขนส่งที่สามารถสั่งน้ำมันเข้ามาล็อตใหญ่ และขนโดยเรือลำเดียวที่จะช่วยประหยัดต้นทุนค่าขนส่งได้มาก

นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองในตลาดซื้อขายน้ำมัน ที่ซื้อมากย่อมได้รับส่วนลดมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มขีดแข่งขันในเวทีการค้าระดับภูมิภาค

"อินเดียเขามี 1 ล้านบาร์เรล วันนี้ เขาใหญ่กว่าเรา ค่าการกลั่นเขาดีกว่าเรา เขาเห็นว่าคุ้มค่าหากจะยอมเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้น เพื่อส่งน้ำมันมาขายในเกาหลี จีน และญี่ปุ่น นอกเหนือไปจากตลาดหลักที่ยุโรป แต่เมื่อไทยออยล์มีขนาดใหญ่ขึ้น ลดต้นทุนได้ใกล้เคียงกับคู่แข่งสำคัญ แน่นอนว่า เราก็จะไปยึดตลาด เกาหลี จีน และญี่ปุ่น ที่เรามีความได้เปรียบในแง่ของเส้นทางขนส่งแทน"

โครงสร้างธุรกิจใกล้เคียงกัน

ปัจจุบันโครงสร้างผลิตภัณฑ์ของไทยออยล์และเอสโซ่ มีความใกล้เคียงกัน โดยเอสโซ่ มีส่วนธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายน้ำมัน ที่มีรายได้ประมาณ 90% ของรายได้ ส่วนธุรกิจปิโตรเคมี มีรายได้ 10% ขณะที่ไทยออยล์ มีรายได้จากธุรกิจกลั่นน้ำมันเป็นหลัก และยังมีรายได้จากธุรกิจกลั่นน้ำมันหล่อลื่น ธุรกิจปิโตรเคมี ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจขนส่งน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และอื่นๆ

บริษัทเอสโซ่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งและมีภูมิลำเนาอยู่ในไทย จัดตั้งในปี 2508 แต่บริษัทและบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องประกอบธุรกิจในไทยมาเป็นระยะเวลา 116 ปี บริษัทเอสโซ่ ได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทเอกชนจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2539 และหุ้นสามัญของบริษัทได้เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. 2551

โครงสร้างผู้ถือหุ้นสำคัญได้แก่ บริษัท Exxon Mobil International Holdings Inc ถือหุ้น 2,264 ล้านหุ้น หรือ 65.43% กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ถือจำนวน 126.875 ล้านหุ้น หรือ 3.67% กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ถือ 126.875 ล้านหุ้น หรือ 3.67% บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ถือ 57.172 ล้านหุ้น หรือ 1.65% Somers (U.K.) Limited ถือจำนวน 37.792 ล้านหุ้น หรือ 1.09% และ State Street Bank And Trust Company For Australia ถือ 36.014 ล้านหุ้น หรือ 1.04%

ล้มแผนโรงกลั่นสงขลา

ก่อนหน้านี้ ไทยออยล์มีแนวคิดจะไปสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1 ล้านบาร์เรล ที่จังหวัดสงขลา และสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สตูล โดยใช้แลนด์บริดจ์เป็นตัวเชื่อม ลดการขนส่ง แต่โครงการนี้ก็พับไป เนื่องจากการลงทุนที่สูง และคาดว่าจะได้รับการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

"ว่าไปแล้วการพับแผนลงทุนโรงกลั่นที่สงขลาก็ดี เพราะโรงกลั่นใหม่ 1 โรงต้องใช้เวลาสร้าง 3 ปี ที่เราไม่ได้รีเทิร์นกลับมาเลย แต่การซื้อโรงกลั่นที่มีอยู่แล้วนั้น เราสามารถบันทึกรายได้เข้ามาทันที" แหล่งข่าวกล่าว

สเต็ป 2 ศึกษารวมกิจการ

แหล่งข่าว กล่าวว่า หากการซื้อหุ้นเอสโซ่สำเร็จ จะมีการรวมกิจการระหว่างกันหรือไม่ ยังเป็นประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง จะต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ และผลกระทบที่ตามมาอย่างละเอียด ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

"การรวมกิจการเป็น step 2 เหมือนกรณีที่ ปตท.เข้าไปซื้อโรงกลั่นระยองในอดีต ก่อนที่จะนำมารวมกับบริษัทอะโรเมติกส์ ประเทศไทย เป็นบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น และสุดท้าย นำมารวมกับบริษัท ปตท.เคมิคอล"

เผยไตรมาสแรกกำไร 7 พันล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าสำหรับผลประกอบการของบริษัทไทยออยล์ ในไตรมาสแรกปี 2554 ปรากฏว่ามีกำไรสุทธิประมาณ 7 พันล้านบาท โดยกำไรประมาณ 3 พันล้านบาท มาจากกำไรจากสต็อกน้ำมัน ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขยับเพิ่มขึ้นจากระดับ 80 ดอลลาร์ เป็น 100 กว่าดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ค่าการกลั่นปรับตัวดีขึ้น

"ค่าการกลั่นรวมทุกผลิตภัณฑ์ในไตรมาสแรกของเราอยู่ที่ประมาณ 10 กว่าดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นนั้น ทำให้ค่าการกลั่นเดือน เม.ย.เดือนเดียวเพิ่มขึ้นเป็น 12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เรายังไม่สามารถบอกได้ว่าค่าการกลั่น หรือกำไรทั้งปีจะดีตลอดหรือไม่ เพราะขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดด้วย"

ไทยออยล์ประกาศผลการดำเนินงานงวดปี 2553 มีรายได้สุทธิ 3.24 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้จำนวน 2.87 แสนล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิ 8.998 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 1.21 หมื่นล้านบาท
ลองกลับมาอ่าน อีกรอบ แสดงว่า การคิดreplacement cost ขั้นแรกเลย คือเราต้องประเมิน มูลค่า การลงทุนของธุรกิจ ในcore bussiness ของเขา หากเราจะลงทุนอย่างนั้น แบบของเขา เราจะต้องใช้เงินทุนเท่าไร


ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าของ EGAT ก็ USD/kWatt
ถ้าเป็นโรงโม่หินแถาสระบุรี ก็ USD/Metric Tonne เป็นต้น ผมว่ากรณีนี้อาจจะถามนักลงทุนสัมพันธ์ไปตรงๆเลยก็ได้ว่า โรงไฟฟ้า หรือโรงโมหิน ผลิตได้กี่ kwatt หรือ metric มีกี่โรงงาน ผลิตได้วันและกี่ หน่วย ไปเลยน่าจะง่ายกว่า เสร็จแล้วค่อยเอามูลค่า replacement cost มาเทียบกับราคาหุ้น แล้วฐานลูกค้านี้ต้องคิดด้วยมั้ยครับ เพราะบริษัทแต่ละแห่งเขาจะมีฐานลูกค้าประจำของเขาอยู่อ่ะครับ หรือว่าไม่ต้องคิด ถือว่าฐานลูกค้า กับกิจการในธุรกิจรองลงมาหรือ อื่น เป็นตัวได้ฟรี ประเมินเฉพาะมูลค่าการลงทุนของcore bussiness พอ

ผมว่า การคิดฐานลูกค้ามันเป็นอีกเทคนิค นั่นคืิอ เรากำลังใช้วิธี cash flow (DCF รึเปล่าก็แล้วแต่)
เพราะพอเราได้รู้ฐานลูกค้าแค่จำนวน ยังไำม่มีความหมายอะไรจริง แค่ตื่นตาตื่นใจเท่านั้น
เราก็จะเอาไปคิดต่อ ว่าลูกค้า่ที่มีอยู่นี้จะทำกระแสเงินสดให้เราได้เท่าไหร่ แล้วเรามีโอกาสสร้างฐานลูกค้าเพิ่มอีกหรือไม่ เป็นการคิดที่ปลายทางกลับด้าน

ส่วน Cost เป็นการคิดที่ต้นทาง ว่าสร้างโรงงานหรือสร้างเครื่องจักร ให้รองรับลูกค้าหรือรองรับสินค้าแต่ละขนาด ใช้ต้นทุนเท่าไหร่ ถ้าสร้างทดแทนใช้ต้นทุนเท่าไหร่


ถ้าเปรียบเทียบใกล้ตัวกิจการที่เกี่ยวกับเราในชีวิตประจำวันจะมองออกง่าย .... สมมติคุณ cyber-shot อยาก take over เครือข่ายหนึ่งในสามมือถือเอกชนของไทย
ถ้าเราคิด income หรือ cash flow approach เราก็ต้องคำนวณลูกค้าปัจจุบันของกิจการที่เราเล็งจะเข้าซื้อ ว่ามีอยู่ว่้ามีกี่สิบล้านราย เฉลี่ยทำรายได้สักเท่าไหร่ และศักยภาพที่จะเติบโตของฐานลูกค้า ว่าหาลูกค้าใหม่ได้เฉลี่ยขนาดไหนแต่ในมุมกลับต้องอัตราการเปลี่ยนใจของลูกค้า ที่หนีไปใช้บริการคู่แข่ง ไปด้วยพร้อมๆ กัน ว่าเป้นกี่ % ต่อเดือน
ในวงการนี้ จะเป็น ARPU หรือรายได้เฉลี่ยต่อลูกค้าต่อคนต่อเดือน Average Revenue Per Unit หรือ per subscriber
สมมติ ARPU อยู่ที่ 3 บาท/คน/เดือน ถ้ามีลูกค้า 30 ล้านราย ก็จะทำรายได้เฉลี่ยเดือนละ 90 ล้านบาทเป็นต้น

ทางปฏิบัติต้องไปแยกอีก ว่าลูกค้า prepaid (เติมเงิน) หรืิอ post paid (รายเดือน) เพราะตัวเลขเฉลี่ยต่างกันมาก
และถ้าเจาะลึก โปรฯ ทั้งหลาย จะได้ ARPU ต่างกัน แต่ข้อมูลนั่นคงเปิดเผยเฉพาะการบริหารภายใน ถ้านักลงทุนทั่วไป เอาแค่คร่าวๆ แยก prepaid หรืิอ post paid ก็ไหวแล้ว ยกเว้นถ้าเป็นนัก take over ประเภทซื้อเปอร์เซ็นต์ใหญ่ คงเจาะถึงขนาดนั้น


แต่ถ้าเราคิด valuation แบบ cost approach เราก็ต้องไปคำนวณราคาอุปกรณ์เครือข่ายที่เป็นเสา+สถานี และชุมสาย
อุปกรณ์ให้บริการเสริม เราก็อาจคิดคร่าวๆ เป็น cost per subscriber
รวมถึงมูลค่าทางการตลาดอย่างการ brand และ sub-brand ที่มี cost ในการสร้างเป้นตัวเลขที่สูงอยู่กว่าจะสำเร็จและแต่ก็สร้างและคิดมูลค่าได้สูงอยู่เหมือนกัน



ในทางปฏิบัติ พอจะเอาจริง ผมคิดว่าต้องใช้ร่วมกันหลายวิธี เพราะเวลาประเมินไม่ใช่ดูแค่ปัจจุบัน อย่างที่ยกตัวอย่างของใกล้ตัวใช้ทุกวัน จะซื้อและสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมไปต้องดูอนาคตด้วยว่าคนไทยจะใช้มือถือเพิ่มอีกเท่าไหร่ เราจะชิงส่วนแบ่งทางการตลาดมาได้เท่าไหร่ ขนาดสมมติว่าเป็นกิจการผูกขาดรายเดียวในตลาดยังต้องดูว่าตลาดอิ่มตัวหรือยัง แล้วมีนวัตกรรมใหม่ๆ อะไร มาทำให้เพิ่มกระแสเงินสด เช่น 3G/4G เป็นต้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

Ii'8N เขียน:ผมว่าเหตุการณ์ปัจจุบัน case study คือ TTA เข้าข่ายเรื่องนี้พอดีหลายจุดที่คุณ ih พูดถึงนะครับ
เพราะ Replacement cost คือพูดถึง "การประเมินมูลค่า ถ้าต้องเปลี่ยนหรือซ่อม/สร้าง Asset"


ข่าวเล่าลือก็คือกลัวกันว่ากลุ่มที่เข้าาใหม่ จะมา take over เพื่อนำของไปขาย ไม่ต้องดำเนินธุรกิจต่อ แต่ได้ของถูก TTA ที่ราคาตอนนี้อยู่ตำแหน่งตกท้องช้างในกราฟของ cycle
(เพียงแต่ที่ใครๆ รับรู้กันทั่ว ไม่ใช่ P/replacement cost แต่ปรากฎต่อ public คือเราเห็นในหน้าตัวเลข Financial Highlight ของ set.or.th คือตัวเลขยอดนิยมเห็นกันอยู่คือ P ต่ำกว่าราคา BV ...สุดคุ้ม)

คิดreplacement cost จากหุ้น จึงควรจะหมายถึง คิด replacement cost สำหรับ asset ของกิจการ อย่างกรณีนี้ ก็คือกองเรือ

เดาล้วนๆ นะครับ...ประเมินจากความหมาย
แต่มั่นใจว่าเดาถูก



http://bit.ly/yug5lV


การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 01:00
มหากาพย์ 'โทรีเซนไทย'จาก 'ไทเก้น' สู่มือ 'เสี่ยเนสกาแฟ'

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รูปภาพ

หลังตระกูล 'มหากิจศิริ' ทุ่มทุนกว่า 2,000 ล้านบาท ยึดกุมหุ้นใหญ่ และยึดเก้าอี้กรรมการบริษัท 5 ตัวในทีทีเอ มีหรือที่ 'เสี่ยประยุทธ' จะอยู่เฉย!!!

ประวัติของบริษัทเดินเรือยักษ์ใหญ่ บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) ไม่ต่างไปจากมหากาพย์ ที่คลุกเคล้าไปด้วยผลประโยชน์และการหักเหลี่ยมแย่งชิงกันทางธุรกิจ ประหนึ่งความไม่แน่นอนของมหาสมุทรที่มีภัยธรรมชาติและโจรสลัดเป็นเพื่อนร่วมทาง

ทีทีเอก่อตั้งเมื่อปี 2526 โดย "กลุ่มไทเก้น" นักเดินเรือชาวนอร์เวย์ เข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2538 ในยุคแรกๆ นั้นมี "แต้อี่เล้า" เสฐียร เตชะไพบูลย์ หรือ ชิกเสี่ย เป็นกรรมการและร่วมถือหุ้น โดยมี อาร์เน่ ไทเก้น กับบุตรชาย 2 คนคือ โฟรเด้ ไทเก้น และ โอเลย์ ไทเก้น กุมอำนาจการบริหาร และมี ม.ร.ว.จันทรแรมศิริโชค จันทรทัต อดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน นั่งเป็นประธานกรรมการมาตั้งแต่ปี 2537 (ปัจจุบันเสียชีวิต)

วัฏจักรธุรกิจเดินเรือลุ่มๆ ดอนๆ มานานนับสิบปีจนกระทั่งปี 2546 ธุรกิจนี้กลับมา "รุ่งเรือง" ได้ทีตระกูลไทเก้นเห็นโอกาส "ถอนสมอ" ก็เริ่มขายหุ้น TTA ได้เงินไปร่วม 2,000 ล้านบาท และเดินหน้าขายหุ้นออกตลอดปี 2537 ได้เงินไปอีกกว่า 3,000 ล้านบาท รวมๆ แล้วกลุ่มไทเก้นขายหุ้น TTA เอาเงินออกไป 5,000-6,000 ล้านบาท จาก "ผู้ถือหุ้นใหญ่" กลายเป็นผู้ถือหุ้น "รายย่อย" แล้วเอาเงินไปเก็งกำไรหุ้น RAIMON, GRAND, MALEE และ TIPCO อย่างสนุกมือ

พอเข้าปี 2548 อาร์เน่ ไทเก้น ผู้ก่อตั้งบริษัทในวัย 68 ปี จึงขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เช่นเดียวกับ โฟรเด้ ไทเก้น และ โอเลย์ ไทเก้น ซึ่งขอลดบทบาทตัวเอง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ม.ร.ว.จันทรแรมศิริโชค ก็ไปดึงบุตรชาย "หม่อมไอซ์" ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต วัย 39 ปี ดีกรีปริญญาโท MBA มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คลีย์ อดีตผู้บริหารกลุ่มบริษัท มอร์แกน สแตนเลย์ (สิงคโปร์) เข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่

เส้นทางของหม่อมไอซ์ ในทีทีเอช่วงที่พ่อยังมีชีวิตอยู่แม้จะผ่านอุปสรรคเรื่องวัฏจักรธุรกิจเดินเรือขึ้นๆลงๆ ก็ไม่มีปัญหาจนกระทั่ง ม.ร.ว.จันทรแรม ศิริโชค เสียชีวิต และหุ้น TTA ไม่มี "เจ้ามือ" ดูแล ช่วงเดือนพฤษภาคม 2554 บี เตชะอุบล บุตรชายคนโต "เสี่ยไมค์" สดาวุธ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร บล.คันทรี่ กรุ๊ป เปิดเกมร่วมกับ วิจิตร สุพินิจ อดีตประธานกรรมการ ก.ล.ต. และ วีระ มานะคงตรีชีพ อดีตผู้บริหาร บงล.ซิทก้า 1 ใน 56 ไฟแนนซ์ที่ถูกแบงก์ชาติ สั่งปิดกิจการไปขอพบหม่อมไอซ์ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้มีกลุ่มนักลงทุนรวบรวมหุ้น TTA ได้แล้ว 30% ขอเปลี่ยนตัว อัศวิน คงสิริ ประธานกรรมการทีทีเอ และอยากให้บริษัทเปลี่ยนเป็นบริษัทเพื่อการลงทุน (Investment Company) คล้ายกับ Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์

จุดอ่อนของทีทีเอ ที่ทำให้หม่อมไอซ์ เสียภูมิคุ้มกัน เพราะวัฏจักรธุรกิจเดินเรืออยู่ในช่วง "ขาลง" ขณะที่เงินลงทุนในธุรกิจใหม่ยังไม่ให้ผลตอบแทนที่ดี ระหว่างที่ บี เตชะอุบล "ล่าถอย" ด้วยกระแสสังคมกดดัน ได้มีตาอยู่ "เสี่ยเนสกาแฟ" ประยุทธ มหากิจศิริ หรือ เสี่ยเป้า ที่ขายหุ้น "ไทยน๊อคซ์" ให้ "โพสโค" จากเกาหลีใต้ กำเงินสดๆ 10,278 ล้านบาท (4,671.96 ล้านหุ้นๆ ละ 2.20 บาท)

เอาเงินสดกว่า 2,000 ล้านบาท ไปไล่เก็บหุ้น TTA ในตลาดหลักทรัพย์ เก็บหุ้นผ่านลูกชาย "กึ้ง" เฉลิมชัย มหากิจศิริ จำนวน 100.26 ล้านหุ้น สัดส่วน 14.16% และลูกสาวคนเล็ก "ณา" อุษณา มหากิจศิริ จำนวน 27.41 ล้านหุ้น สัดส่วน 3.87% รวมกันสองพี่น้อง (กึ้ง-ณา) ถือหุ้น TTA จำนวน 127.68 ล้านหุ้น สัดส่วน 18.03% มูลค่าตลาดล่าสุด 2,680 ล้านบาท กลายเป็นผู้ถือหุ้น "อันดับหนึ่ง" ของบริษัท

โดยล่าสุด "เสี่ยเป้า" ส่งคนของตัวเองเข้าไปเป็นกรรมการใน TTA จำนวน 5 คน ประกอบด้วย เฉลิมชัย มหากิจศิริ, Mr.Chia Wan Huat Joseph, อุษณา มหากิจศิริ, Mr.Ghanim Saad M Alsaad Al-kuwari และ สันติ บางอ้อ และผลักดัน ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เข้าเป็นกรรมการในฐานะ "พันธมิตร" ได้อีกคน แถมยับยั้งการออกหุ้นเพิ่มทุน PP จำนวน 50 ล้านหุ้น ไม่ให้ออก ESOP ให้พนักงาน และรีดเงินปันผลได้อีกหุ้นละ 0.50 บาท ทั้งๆ ที่ ทั้งปี 2554 ทีทีเอมีกำไรสุทธิต่อหุ้นเพียง 0.20 บาท นับเป็น "ชัยชนะ" อย่างใหญ่หลวง

โดยมีคนวิเคราะห์ต่อแล้วว่าในอนาคตทีทีเออาจถูกกดดันให้ต้องขายกิจการ "เหมืองถ่านหิน" ในประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ให้กับ "กลุ่ม ปตท." ก็เป็นได้

เบื้องหลังของมหากาพย์เผด็จศึกทีทีเอในครั้งนี้ เทิร์นนิ่งพ้อยท์อยู่ในวันประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 "พ่อ-ลูก" มีการ "เตี๊ยม" กันมาอย่างดี "กึ้ง" เลือกนั่งแถวหน้าข้างๆ "ณา" น้องสาว โดยกึ้งมี "บอดี้การ์ด" ส่วนตัวที่เป็น "อดีตนักแสดงสมทบ" คอยคุ้มกันทุกย่างก้าว

สำหรับ "เสี่ยเป้า" ทำหน้าที่ "ผู้กำกับ" ไม่มีหุ้น TTA แม้หุ้นเดียว แต่ถือใบมอบฉันทะจาก จิรนันท์ ณ ระนอง จำนวน 1,300 หุ้น ลำดับที่ 0919 มานั่ง "คุมเกม" อยู่กลางห้องประชุม เลือกนั่งข้างๆ "นักข่าว" โดยถือไอโฟน 2 เครื่องคอย "สั่งการ" (บอกบท) ลูกชายตลอดเวลาในฐานะ "เจ้าของหุ้นตัวจริง"

ตลอดระยะเวลาการประชุม "ไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง" เสี่ยเป้ายกหูโทรศัพท์หา "กึ้ง" กับ "ณา" อย่างต่อเนื่องหากพบว่าการประชุมเริ่ม "ออกนอกเกม" ที่เตี๊ยมกันมา พร้อมให้กำลังใจโดยได้ยินประโยคซ้ำๆ ว่า "ยิ้มหน่อยลูก, ทำดีแล้ว, พ่อดีใจด้วย"

นอกจากนี้ เสี่ยเป้า ยังยกหูถึง ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ภายหลังที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการพิเศษ โดยพูดกับ "บิ๊กเสริฐ" ว่า “ดีใจด้วยนะท่านคะแนนเสียงเกิน 90% เราจะมาสร้างสรรค์บริษัทนี้ (TTA) ด้วยกัน” โดยมี "สื่อ" นั่งฟังบทสนทนาอยู่ข้างๆ

ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นจะเริ่มขึ้น ประยุทธ มหากิจศิริ บอกกับผู้สื่อข่าวว่า "การลงทุนครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับผม เขา (กึ้ง) คิดเองจัดการเอง สายเลือดนักธุรกิจมันแรงเหมือนพ่อ ผมบอกเขาแค่ว่า คิดดูดีๆ แล้วกัน เหตุผลที่ไม่เข้าไปยุ่ง เพราะอยากให้เขาภาคภูมิใจในตัวเอง ต้องพิสูจน์ให้ทุกคนรู้ว่าเรามีศักยภาพ ไม่ใช่ติดอยู่ในร่มของพ่อและแม่อย่างเดียว"

แต่พฤติกรรมที่เห็น "พ่อ" เป็นทั้ง ผู้สร้าง, ผู้กำกับ และ ผู้เขียนบท ส่วนลูกทั้ง 2 คน (กึ้ง-ณา) เป็นแค่ "นักแสดงประกอบ" โดยทิ้งบท "พระเอกตัวจริง" ให้กับ "เสี่ยเป้า" ผู้ซึ่งสมควรได้รับรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมในเกมวันนั้น!!!







http://www.set.or.th/set/companyhighlig ... country=TH
บัญชีทางการเงินที่สำคัญ
งวดงบการเงิน ไตรมาส1/55
ณ วันที่ 31/12/2554
สินทรัพย์รวม 47,730.58 (หน่วย: ล้านบาท)

ค่าสถิติสำคัญ ณ วันที่ 17/02/2555
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 14,301.69 (หน่วย: ล้านบาท)
P/BV (เท่า) 0.57




Note ของงบล่าสุด

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ

10.1) รายการเคลื่อนไหวของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในระหว่างงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 มีดังต่อไปนี้

...
ราคาตามบัญชีสิ้นงวด - สุทธิ 26,624,162

งบการเงินรวม

• รายการเพิ่มขึ้นที่สำคัญในระหว่างงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 คือ ก) การจ่ายเงินค่างวดสำหรับเรือเดินทะเลที่สร้างใหม่
ข) การจ่ายเงินสำหรับการซ่อมเรือครั้งใหม่ของเรือเดินทะเลและเรือขุดเจาะและ ค) การจ่ายเงินสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเรือสนับสนุนและ
เรือขุดเจาะ

• การจำหน่ายและตัดจำหน่ายที่สำคัญในระหว่างงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นการตัดจำหน่ายต้นทุนทางการเงินที่ได้เคยบันทึกเป็นต้นทุนของสินทรัพย์

• การด้อยค่าที่รับรู้ในงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เกิดจากการด้อยค่าของเครื่องยนต์หลักที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง
เพื่อสะท้อนถึงมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ

10.2) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ใช้เป็นหลักประกันวงเงินกู้ต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้

• เรือเดินทะเลจำนวน 2 ลำ ได้ถูกจำนองไว้กับสถาบันการเงินหลายแห่งเพื่อค้ำประกันเงินกู้ต่าง ๆ โดยมีมูลค่าการจำนองทั้งหมด 396 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (30 กันยายน พ.ศ. 2554 : 396 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

• เรือเดินทะเลจำนวน 5 ลำ ของบริษัทย่อย ได้ถูกจำนองไว้กับสถาบันการเงินหลายแห่งเพื่อค้ำประกันเงินกู้ต่างๆ โดยมีมูลค่าการจำนองทั้งหมด 89.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (30 กันยายน พ.ศ. 2554 : 93.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

• เรือวิศวกรรมโยธาใต้น้ำ 1 ลำ เรือขุดเจาะน้ำมัน 1 ลำ และเครื่องตรวจสอบใต้น้ำซึ่งเคลื่อนที่ได้ด้วยระบบรีโมทคอนโทรล (ROV) 3 เครื่อง ได้ถูกจำนองไว้กับธนาคารหลายแห่งเพื่อค้ำประกันเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร วงเงินกู้ และวงเงินอัตราแลกเปลี่ยนต่าง ๆ โดยมีมูลค่าการจำนองทั้งหมด 1,353.0 ล้านบาท และ 65.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (30 กันยายน พ.ศ. 2554 : 1,353.0 ล้านบาท และ 117.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

• เรือถ่านหิน 12 ลำของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ถูกจำนองไว้กับธนาคารแห่งหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะยาว โดยมีมูลค่าการจำนองรวม 125.0 ล้านบาท (30 กันยายน พ.ศ. 2554 : 125.0 ล้านบาท)

• ที่ดินและอาคารบางส่วนของกลุ่มบริษัทได้ถูกจำนองไว้กับธนาคารหลายแห่งเพื่อค้ำประกันวงเงินกู้ วงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและหนังสือค้ำประกัน โดยมีมูลค่าการจำนองรวม 925.0 ล้านบาท (30 กันยายน พ.ศ. 2554 : 925.0 ล้านบาท)





8. เงินลงทุนในบริษัทร่วม

เงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 ประกอบด้วยเงินลงทุนในบริษัทดังต่อไปนี้

ประเทศที่ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือ
ชื่อของบริษัทร่วม ประเภทกิจการ จดทะเบียน 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 30 กันยายน พ.ศ. 2554

งบการเงินเฉพาะบริษัท
กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน
- บริษัท กัลฟ์ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด* ตัวแทนเรือ ประเทศไทย - 51.0

งบการเงินรวม
กลุ่มขนส่ง
- PT Usaha Putra Bersama (ถือหุ้นโดย PT Perusahaan ขนส่งทางบก ประเทศอินโดนีเซีย - 25.6
Pelayaran Equinox)
- Sharjah Ports Services LLC
(ถือหุ้นโดย Thoresen Shipping FZE) บริหารท่าเรือเกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้า ประเทศ
สหรัฐอาหรับเอมิเรต 49.0 49.0
- Petrolift Inc.* (ถือหุ้นโดย Soleado Holdings Pte. Ltd.) ให้บริการขนส่งทางเรือ ประเทศฟิลิปปินส์ - 40.0
- บริษัท เฟิร์นเล่ย์ (ประเทศไทย) จำกัด นายหน้าเช่าเหมาเรือ ประเทศไทย 49.0 49.0
ซึ่งมีบริษัทย่อย ดังนี้
- PT. Fearnleys Indonesia ” ประเทศอินโดนีเซีย
- Fearnleys Shipbroking Private Limited ” ประเทศอินเดีย
- Fearnleys Dry Cargo (Singapore) Pte. Ltd. ” ประเทศสิงคโปร์
- บริษัท ไอเอสเอส โทรีเซน เอเยนต์ซีส์ จำกัด ตัวแทนเรือ ประเทศไทย 49.0 49.0

กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน
- Baria Serece (ถือหุ้นโดย Soleado Holdings Pte. Ltd.) ให้บริการท่าเรือ ประเทศเวียดนาม 20.0 20.0
ขนถ่ายสินค้า
กลุ่มพลังงาน
- Asia Offshore Drilling Limited ให้บริการขุดเจาะแก่ ประเทศเบอร์มิวด้า 33.8 33.8
(ถือหุ้นโดย บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน)) ธุรกิจปิโตรเคมี
ซึ่งมีบริษัทย่อย ดังนี้
- Asia Offshore Rig 1 Limited ” ”
- Asia Offshore Rig 2 Limited ” ”
- Asia Offshore Rig 3 Limited ” ”
- Asia Offshore Drilling Pte. Ltd. ” ประเทศสิงคโปร์
- Merton Group (Cyprus) Ltd. เหมืองถ่านหิน ประเทศฟิลิปปินส์ 24.3 24.3
(ถือหุ้นโดย Soleado Holdings Pte. Ltd.)
- Qing Mei Pte. Ltd.* ” ประเทศสิงคโปร์ - 33.3
(ถือหุ้นโดย Soleado Holdings Pte. Ltd.)

8 เงินลงทุนในบริษัทร่วม (ต่อ)

รายการเคลื่อนไหวในเงินลงทุนในบริษัทร่วมในระหว่างงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 มีดังต่อไปนี้

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
พันบาท พันบาท

ยอดคงเหลือต้นงวด 3,675,470 53,581
การเปลี่ยนแปลงประเภทเงินลงทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมเป็น
เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า (หมายเหตุ 9) (1,105,376) (11,213)
การจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทร่วม (589) -
เงินปันผลรับ (9,914) -
ส่วนแบ่งกำไรในบริษัทร่วม 17,699 -
ยอดคงเหลือสิ้นงวด 2,577,290 42,368

ในระหว่างงวด กลุ่มบริษัทเปลี่ยนแปลงการจัดประเภทเงินลงทุนในบริษัท กัลฟ์ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด Petrolift Inc. และ
Qing Mei Pte. Ltd. ใหม่จากเงินลงทุนในบริษัทร่วมเป็นเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า เนื่องจากกลุ่มบริษัทมีอำนาจควบคุมร่วมในบริษัทดังกล่าว

9 เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า

รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการร่วมค้ามีดังต่อไปนี้
ประเทศที่ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือ
ชื่อของกิจการร่วมค้า ประเภทกิจการ จดทะเบียน 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 30 กันยายน พ.ศ. 2554

งบการเงินเฉพาะบริษัท

กลุ่มขนส่ง
- Thoresen (Indochina) S.A. ตัวแทนเรือ ประเทศปานามา 50.0 50.0
ซึ่งมีบริษัทย่อยดังนี้
- Thoresen - Vinama Agencies Co., Ltd. ตัวแทนเรือ ประเทศเวียดนาม
และบริการที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน
- บริษัท กัฟท์ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) ตัวแทนเรือ ประเทศไทย 51.0 -
จำกัด*

งบการเงินรวม

กลุ่มขนส่ง
- Petrolift Inc.*
(ถือหุ้นโดย Seleado Holding Ptd. Ltd.) ให้บริการขนส่งทางเรือ ประเทศฟิลิปปินส์ 40.0 -

กลุ่มพลังงาน
- SKI Energy Resources Inc. เหมืองถ่านหิน ประเทศฟิลิปปินส์ 40.0 -
(ถือหุ้นโดย Soleado Holdings Pte. Ltd.)
- Qing Mei Pte. Ltd.* ” ประเทศฟิลิปปินส์ 33.3 -
(ถือหุ้นโดย Soleado Holdings Pte. Ltd.)

* บริษัท กัลฟ์ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด Petrolift Inc. และ Qing Mei Pte. Ltd. ถูกจัดประเภทใหม่เป็นกิจการร่วมค้า เนื่องจาก
บริษัทมีอำนาจควบคุมร่วมในบริษัทดังกล่าว บริษัทใช้วิธีส่วนได้เสียในการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวในงบการเงินรวม

9 เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า (ต่อ)

รายการเคลื่อนไหวในเงินลงทุนในกิจการร่วมค้าในระหว่างงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 มีดังต่อไปนี้

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
พันบาท พันบาท

ยอดคงเหลือต้นงวด 63,893 8,771
เงินลงทุนเพิ่ม 779,902 -
การเปลี่ยนแปลงประเภทเงินลงทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม
เป็นเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า (หมายเหตุ 8) 1,105,376 11,213
ส่วนแบ่งกำไรในกิจการร่วมค้า 15,959 -
ยอดคงเหลือสิ้นงวด 1,965,130 19,984




เกี่ยวกับข่าวล่าร้อนๆ ผมจับแพะชนแกะให้ดู common sense เกี่ยวกับราคาซื้อขายกับของที่ได้ โดยไม่ต้องใช้ความรู้อะไรมาก
ใช่รึเปล่านิ? :B
หลับตาลืมพวกหนี้ไปชั่วคราวก่อน มองคร่าวๆ ซื้อของที่มีตัวตน 26,624,162 ในราคา 14,301.69 :shock:

มีบริษัทย่อยที่บอกว่า "อาจจะ" ถูกบีบให้ขายก่อน ดูเหมือนเป็นของแถม แต่ก็คงเพราะ "สภาพคล่อง (คอ) :ep:" เกิดคำถามน้อยกว่าสินทรัพย์หลัก
เงินลงทุนในบริษัทร่วม 2,577,290
เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า 1,965,130

หน่วยพันบาท
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะคิดreplacement cost ยังไงเหรอครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เพิ่มนิด
Ii'8N เขียน:
หลับตาลืมพวกหนี้ไปชั่วคราวก่อน มองคร่าวๆ ซื้อของที่มีตัวตน 26,624,162 (พันบาท) ในราคา 14,301.69 (ล้านบาท) :shock:
คือ 26,624,162 : 14,301,690
โพสต์โพสต์