Wednesday, 27 April 2011
The Dark Side of Over-trading
Robert Kirby ผู้ก่อตั้ง Capital Guardian Trust เล่าให้ฟังว่า ในช่วงปี 1950 เขาเคยดูแลพอร์ตให้กับชายคนหนึ่งเป็นเวลาประมาณสิบปี ด้วยความที่ลูกค้ารายนี้ต้องการให้ลงทุนในแบบอนุรักษ์ เขาจึงเพียงแต่เลือกหุ้นตามบทวิเคราะห์ของบริษัท ซื้อและขายตามคำแนะนำของบทวิเคราะห์เหล่านั้น ลูกค้ายังได้ขอให้เขาเปิดบัญชีในนามของภรรยาอีกด้วย
สิบปีต่อมา ชายคนนี้ก็เสียชีวิตลงกะทันหัน ภรรยาของเขาได้โทรมาบอก Kirby ว่า เธอต้องการนำหุ้นจากพอร์ตในชื่อของสามี มารวมเข้ากับพอร์ตในชื่อของเธอ ที่ Kirby บริหารอยู่
Kirby ต้องพบกับความประหลาดใจอย่างมากเมื่อพบว่า เมื่อสิบปีก่อน ชายผู้นี้ได้เปิดพอร์ตอีกพอร์ตหนึ่งไว้ที่อื่น โดยซื้อหุ้นจำนวนหนึ่งตามที่บทวิเคราะห์ของบริษัทที่ Kirby ได้แนะนำให้เขาตัวละประมาณ $5000 แล้วชายผู้นี้ก็ไม่เคยซื้อหรือขายหุ้นเหล่านั้นอีกเลยจนเสียชีวิต แต่พอร์ตดังกล่าว กลับให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพอร์ตที่ Kirby บริหารให้ในชื่อของภรรยาอย่างมาก
เมื่อตรวจดูในรายละเอียด Kirby พบว่า ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมของพอร์ต เกิดจากหุ้นเพียงแค่ไม่กี่ตัวเท่านั้นคือ หุ้นหนึ่งตัวที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง $800,00o ได้แก่ หุ้น Xerox และหุ้นอีกสองสามตัว ที่มูลค่าเพิ่มขึ้นเกิน $100,000 เหรียญ ในขณะที่ หุ้นส่วนใหญ่ในพอร์ตกลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่มากนักและยังมีหุ้นบางตัวที่มีมูลค่าตกต่ำเหลือเพียงแค่ $2000 อีกด้วย แต่รวมกันแล้วพอร์ตก็ยังทำผลตอบแทนได้สูงกว่าพอร์ตที่ Kirby บริหารมาก
กรณีศึกษาของ Kirby เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ผมจึงนำมาเล่าสู่กันฟัง บทเรียนจากเรื่องนี้นั้นไม่ได้บอกให้เราพยายามหาหุ้นหลายๆ เด้งอย่าง Xerox ให้เจอ เพราะนั่นเป็นเรื่องที่ยากมาก พอร์ตของชายผู้นี้เพียงแต่ซื้อหุ้นเอาไว้หลายตัว แล้วบังเอิญหุ้นตัวหนึ่งกลายเป็นหุ้นหลายเด้งในอีกหลายปีต่อมาเท่านั้น แต่ข้อคิดที่สำคัญของกรณีศึกษานี้คือ บ่อยครั้งเรามักเชื่อว่าการซื้อๆ ขายๆ หุ้นนั้นจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนของพอร์ตให้สูงได้ แต่ที่จริงแล้ว มันอาจช่วยได้น้อยกว่าที่คิด หรือในทางตรงกันข้าม มันอาจทำให้ผลตอบแทนของพอร์ตลดลง นักลงทุนหลายท่านคงเคยเจอสถานการณ์ที่ เราได้ขายหุ้นบางตัวที่เราเชื่อว่า มันมีราคาปรับตัวขึ้นมากเกินไป จึงควรขายทิ้งเพื่อรักษากำไรไว้ แต่กลับพบว่า หุ้นเหล่านั้นกลับมีราคาเพิ่มขึ้นอีกอย่างมากมายหลังจากนั้น อยู่บ่อยๆ ทำให้พลาดโอกาสได้อย่างน่าเสียดาย
นี่ไม่ได้หมายความว่า นักลงทุนไม่ควรจะขายหุ้นเลย แต่เราควรลองทบทวนดูว่า การซื้อขายหุ้นบ่อยๆ ของเรานั้น ส่วนใหญ่แล้วก่อให้เกิดประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน บ่อยครั้งที่การซื้อและขายของเรานั้นเกิดมาจากการใช้ความรู้สึกมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของข้อมูล คนทั่วไปมีแนวโน้มที่จะซืื้อและขายหุ้นบ่อยกว่าที่ควรจะเป็นและทำให้ผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะได้ คำแนะนำของกูรูที่บอกว่าให้ Let the profits run นั้นเป็นสิ่งที่นักลงทุนน้อยคนนักจะบังคับตัวเองให้กระทำได้ เพราะว่ามันฝืน Psychology ของเราอย่างมาก
มีงานวิจัย /images/emoticons/mozilla_laughing.gifalbar Inc. of Boston) ที่ค้นพบว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ที่ซื้อกองทุนรวม จะได้ผลตอบแทนส่วนตัวต่ำกว่าผลตอบแทนของกองทุนรวมที่ตนเลือกซื้อ อันเนื่องมาจาก นักลงทุนมักพยายามจับจังหวะซื้อและขายกองทุนเพื่อทำกำไรให้มากขึ้น แทนจะที่ซื้อกองทุนแล้วทิ้งไว้เฉยๆ นั่นเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่บ่งชี้ว่าการพยายามซื้อๆ ขายๆ เพื่อทำกำไรของนักลงทุนส่วนใหญ่นั้นทำให้ผลตอบแทนของนักลงทุนลดลงมากกว่าจะเพิ่มขึ้น
บทความของ คุณ สุมาอี้ The Dark Side of Over-trading
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
บทความของ คุณ สุมาอี้ The Dark Side of Over-trading
โพสต์ที่ 1
บทความของ คุณ สุมาอี้
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทความของ คุณ สุมาอี้ The Dark Side of Over-trading
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับพี่jo7393 สำหรับบทความดีๆ...
...จริงอย่างพี่นรินทร์ บอกครับ Let profit run ยากกว่า Cut loss มาก มันฝืนจิตใจของเรา ถ้าเรายังเป็น"มนุษย์ปุถุชนด้านการลงทุน" แต่ถ้าเราสามารถฝึกจนเป็น "VIแบบBuffett" ก็เปรียบเสมือนเราได้ "นิพพานทางการลงทุน" โดยไม่ต้องสนใจกับการเวียนว่ายตายเกิดของราคา
แต่ผมก็ยังอีกไกลครับตอนนี้ยังเป็นปถุชนในชีวิตจริงและทางการลงทุนอย่างเต็มขั้นที่มาหาความรู้ในเเนวทางการลงทุนของสำนักต่างๆมากขึ้น ไม่ว่าเป็น VI, VS, Technical หรือเเม้แต่ค่ายไร้กระบวนยุทธ์เเต่เลือกทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับการลงทุนของตัวเองมากที่สุดแบบ Temple boxing school
...จริงอย่างพี่นรินทร์ บอกครับ Let profit run ยากกว่า Cut loss มาก มันฝืนจิตใจของเรา ถ้าเรายังเป็น"มนุษย์ปุถุชนด้านการลงทุน" แต่ถ้าเราสามารถฝึกจนเป็น "VIแบบBuffett" ก็เปรียบเสมือนเราได้ "นิพพานทางการลงทุน" โดยไม่ต้องสนใจกับการเวียนว่ายตายเกิดของราคา
แต่ผมก็ยังอีกไกลครับตอนนี้ยังเป็นปถุชนในชีวิตจริงและทางการลงทุนอย่างเต็มขั้นที่มาหาความรู้ในเเนวทางการลงทุนของสำนักต่างๆมากขึ้น ไม่ว่าเป็น VI, VS, Technical หรือเเม้แต่ค่ายไร้กระบวนยุทธ์เเต่เลือกทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับการลงทุนของตัวเองมากที่สุดแบบ Temple boxing school
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทความของ คุณ สุมาอี้ The Dark Side of Over-trading
โพสต์ที่ 3
Lets' profit run ยากกว่า cut loss เหรอครับ ผมเพิ่งทราบ
อย่างไรก็ดี ผมเอาลิงค์ที่มาบทความมาแปะไว้ให้ครับ
http://dekisugi.net/archives/11913
อย่างไรก็ดี ผมเอาลิงค์ที่มาบทความมาแปะไว้ให้ครับ
http://dekisugi.net/archives/11913
Go within, be at peace.
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทความของ คุณ สุมาอี้ The Dark Side of Over-trading
โพสต์ที่ 4
sarawut_p เขียน:Lets' profit run ยากกว่า cut loss เหรอครับ ผมเพิ่งทราบ
อย่างไรก็ดี ผมเอาลิงค์ที่มาบทความมาแปะไว้ให้ครับ
http://dekisugi.net/archives/11913
ขอบคุณมากครับสำหรับLinkผมAdd ไว้ในBookmarkแล้วครับsarawut_p เขียน:Lets' profit run ยากกว่า cut loss เหรอครับ ผมเพิ่งทราบ
อย่างไรก็ดี ผมเอาลิงค์ที่มาบทความมาแปะไว้ให้ครับ
http://dekisugi.net/archives/11913
กับความเห็นเรื่อง
"Lets' profit run ยากกว่า cut loss" เป็น"ความเห็นของผมเอง" ที่คิดต่อจากข้อเขียนอันนี้ ความหมายของผมคือในความรู้สึกของสภาพจิตใจของผมซึ่งยังไม่ใช่ VI ยังเป็นมวยวัด
ผมมีการเล่นเก็งกำไร เล่นตามGraph หรือบางทีก็เเพ้ความกดดันของ Mr. Market พอกำไรขึ้นไปราว>10% หรือตัวเลขสีเขียวๆในหุ้นตัวนั้นๆขึ้นเป็นหลักหมื่น ทั้งๆที่บริษัทนั้นยังมีโอกาสเต็บโต ของยังขายได้ จิตใจผมจะสั่นอดใจไม่ได้ที่จะขาย และหลายครั้งกลายเป็น "ขายหมู" นั่นจึงหมายถึงความยากในการรอให้หุ้น Let's profit run จนเต็มมูลค่าจึงค่อยขาย....
ส่วนการ Cut Loss ง่ายกว่าสำหรับผมเพราะ ความกลัว, Portยังไม่ใหญ่และเล่นหุ้นไม่เกิน5ตัวในPort จึงต้องLimit loss ไว้ชัดเจนที่ 10% ต่อให้พื้นฐานของหุ้นดีเเค่ไหนก็ตามเพราะผมไม่สามารถทนมองดูราคาหุ้นตกถึง50%ได้ (ฺBuffettเคยพูดประมาณว่าถ้าทนเห็นราคาหุ้นตกถึง50%ไม่ได้ให้ออกจากตลาด...แต่ผมยังหน้าด้านไม่ยอมออกจากตลาด ) ทำให้การตัดสินใจ Cut Loss ของผมไม่ยาก
จึงเป็นที่มาของความเห็นที่ว่า "Lets' profit run ยากกว่า cut loss"
แต่ก็ยอมรับว่าถ้าลงทุนเเบบ VIสำนักBuffett เลือกหุ้นเหมือนเลือกภรรยาเเละกอดไว้เเน่นจนกว่าพื้นฐานจะเปลี่ยน...
เราก็จะตัดอารมณ์ที่เกิดจากการขึ้นลงของราคาหุ้นได้มันจึงเหมือนเป็น "นิพพานทางการลงทุน" ไม่มีอารมณ์โกรธหรือกลัว
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทความของ คุณ สุมาอี้ The Dark Side of Over-trading
โพสต์ที่ 5
ใช้สำนวนพิมพ์สนุกดีครับ ขอบคุณครับทั้งสาระและบันเทิงtorpongpak เขียน:sarawut_p เขียน:Lets' profit run ยากกว่า cut loss เหรอครับ ผมเพิ่งทราบ
อย่างไรก็ดี ผมเอาลิงค์ที่มาบทความมาแปะไว้ให้ครับ
http://dekisugi.net/archives/11913ขอบคุณมากครับสำหรับLinkผมAdd ไว้ในBookmarkแล้วครับsarawut_p เขียน:Lets' profit run ยากกว่า cut loss เหรอครับ ผมเพิ่งทราบ
อย่างไรก็ดี ผมเอาลิงค์ที่มาบทความมาแปะไว้ให้ครับ
http://dekisugi.net/archives/11913
กับความเห็นเรื่อง
"Lets' profit run ยากกว่า cut loss" เป็น"ความเห็นของผมเอง" ที่คิดต่อจากข้อเขียนอันนี้ ความหมายของผมคือในความรู้สึกของสภาพจิตใจของผมซึ่งยังไม่ใช่ VI ยังเป็นมวยวัด
ผมมีการเล่นเก็งกำไร เล่นตามGraph หรือบางทีก็เเพ้ความกดดันของ Mr. Market พอกำไรขึ้นไปราว>10% หรือตัวเลขสีเขียวๆในหุ้นตัวนั้นๆขึ้นเป็นหลักหมื่น ทั้งๆที่บริษัทนั้นยังมีโอกาสเต็บโต ของยังขายได้ จิตใจผมจะสั่นอดใจไม่ได้ที่จะขาย และหลายครั้งกลายเป็น "ขายหมู" นั่นจึงหมายถึงความยากในการรอให้หุ้น Let's profit run จนเต็มมูลค่าจึงค่อยขาย....
ส่วนการ Cut Loss ง่ายกว่าสำหรับผมเพราะ ความกลัว, Portยังไม่ใหญ่และเล่นหุ้นไม่เกิน5ตัวในPort จึงต้องLimit loss ไว้ชัดเจนที่ 10% ต่อให้พื้นฐานของหุ้นดีเเค่ไหนก็ตามเพราะผมไม่สามารถทนมองดูราคาหุ้นตกถึง50%ได้ (ฺBuffettเคยพูดประมาณว่าถ้าทนเห็นราคาหุ้นตกถึง50%ไม่ได้ให้ออกจากตลาด...แต่ผมยังหน้าด้านไม่ยอมออกจากตลาด ) ทำให้การตัดสินใจ Cut Loss ของผมไม่ยาก
จึงเป็นที่มาของความเห็นที่ว่า "Lets' profit run ยากกว่า cut loss"
แต่ก็ยอมรับว่าถ้าลงทุนเเบบ VIสำนักBuffett เลือกหุ้นเหมือนเลือกภรรยาเเละกอดไว้เเน่นจนกว่าพื้นฐานจะเปลี่ยน...
เราก็จะตัดอารมณ์ที่เกิดจากการขึ้นลงของราคาหุ้นได้มันจึงเหมือนเป็น "นิพพานทางการลงทุน" ไม่มีอารมณ์โกรธหรือกลัว
Go within, be at peace.
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทความของ คุณ สุมาอี้ The Dark Side of Over-trading
โพสต์ที่ 6
personal note : letting profit run กับ hope that profit will continue running ต่างกันมากนะครับ
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทความของ คุณ สุมาอี้ The Dark Side of Over-trading
โพสต์ที่ 7
ตัวแปรที่ต่างกันอย่างหนึ่งของตลาดต่างประเทศกับของไทยคือ ต่างประเทศค่าคอมสูงกว่า และมีภาษีจาก capital gain ด้วยครับ
แต่ผมเห็นด้วยว่าการซื้อขายบ่อยเกินไป ไม่ค่อยดีต่อผลตอบแทน
แต่ผมเห็นด้วยว่าการซื้อขายบ่อยเกินไป ไม่ค่อยดีต่อผลตอบแทน
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
-
- Verified User
- โพสต์: 2938
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทความของ คุณ สุมาอี้ The Dark Side of Over-trading
โพสต์ที่ 8
bland bcp becl cpf-w1 cpl d-mark doi dtm gold itd jasmin jcc kki krp nmg pranda raimon s&p scan smk ssi tipco
นี่เป็นหุ้นเมื่อผมเคยซื้อไว้ปี45 ถ้าเกิดว่าไม่มีการเทรดเกิดขึ้นบ่อยๆ ดูๆไปน่าจะยังเป็นโจ๊กอยู่
แต่ละประสบการณ์ บทสรุปมันก็ออกมาที่แตกต่างกัน
หาแนวทางตัวเองให้เจอ เข้าใจอะไรมากขึ้น แล้วค่อยมากำหนดกลยุทธ คงจะดีไม่น้อย
นี่เป็นหุ้นเมื่อผมเคยซื้อไว้ปี45 ถ้าเกิดว่าไม่มีการเทรดเกิดขึ้นบ่อยๆ ดูๆไปน่าจะยังเป็นโจ๊กอยู่
แต่ละประสบการณ์ บทสรุปมันก็ออกมาที่แตกต่างกัน
หาแนวทางตัวเองให้เจอ เข้าใจอะไรมากขึ้น แล้วค่อยมากำหนดกลยุทธ คงจะดีไม่น้อย
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง