การที่ลดภาษี (ตามนโยบายของรัฐ)
จาก30เหลือ23ในปีหน้า
และปีต่อไปเหลือ20 ของ บมจ.
การขอคืนเครดิตภาษีของนักลงทุน
จะได้น้อยลง
แต่ บมจ จะกำไรเพิ่มขึ้นประมาณไหน
มาแชร์กันว่าจะมีผลบวกลบประมาณไหน
การลดภาษี
-
- Verified User
- โพสต์: 2232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดภาษี
โพสต์ที่ 2
ส่วนตัวผมคิดว่าต้องดูนโยบายอื่นๆประกอบด้วยครับ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับต้นทุน(นโยบายค่าแรง300เป็นต้น) ซึ่งอุตสาหกรรมไหนที่ใช้แรงงานะป็นหลัก แต่ไม่สามารถผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มได้ให้ผู้บริโภค นั่นหมายความว่ากำไรคงลดลง และถ้าขึ้น300บาททันที อาจจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญเพราะปรับตัวไม่ทันครับ ซึ่งลดภาษีคงจะไม่ช่วยอะไรเท่าไรนัก และถ้าเลือกได้(ในฐานะที่ผมเองเป็นผู้ประกอบการซึ่งโดนเต็มๆกับนโยบายค่าแรง) ส่วนตัวผมขอจ่ายภาษีเท่าเดิมดีกว่าครับ แต่ขอให้ค่อยๆทยอยปรับค่าแรงแทน
ทีนี้ในอีกด้านหนึ่งก้อจะมีกลุ่มที่น่าจะไดัประโยชน์คือพวก service sector ทั้งหลายครับ เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ต้นทุนแทบไม่กระทบ แต่จ่ายภาษีน้อยลง นั่นหมายถึงกำไรสุทธิมากขึ้น เป็นต้นครับ
ทีนี้ในอีกด้านหนึ่งก้อจะมีกลุ่มที่น่าจะไดัประโยชน์คือพวก service sector ทั้งหลายครับ เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ต้นทุนแทบไม่กระทบ แต่จ่ายภาษีน้อยลง นั่นหมายถึงกำไรสุทธิมากขึ้น เป็นต้นครับ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลดภาษี
โพสต์ที่ 3
ในมุมมองมหภาค
การลดภาษีเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง
ซึ่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ อาจจะมีส่วนที่เสียไปได้ในบ้างส่วน
นโยบายนี้ เป็นการเพิ่มตัว C และ I โดยตรง
ทำให้ GDP เพิ่มขึ้น
ปริมาณเงินในมือของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการเงินเพิ่มขึ้น (M เพิ่มขึ้น)
ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยทางอ้อมให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่
ต้องดูว่า การปรับตัวนั้นกินเวลาแค่ไหน
อีกเรื่องที่ต้องดูคือ เงินมันหมุนไปกี่รอบแล้วสร้างเงินในระบบได้เท่าไร
เช่นจำนวนเงินที่หมุนคือ 1 ล้านบาท หมุนได้สามรอบก็สามารถสร้างเงินในระบบได้ 3 ล้านบาท
จุดนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจครับ
แต่ปัญหาคือ ในมือรัฐบาลยอมขาดดุลวันนี้เพื่อกระตุ้นให้โต แล้ววันหน้าต้องใช้คืน ทำอย่างไง
รัฐบาลเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงผลกำไร รายได้มาจาก ภาษี ,ออกพันธบัตรเป็นหลัก (ไม่นับสั่งให้ธปท พิมพ์ธนบัตรออกมา มีเหตุการณ์นี้เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นมายึดเท่านั้นที่พิมพ์ออกมา)
แล้วคนในปัจจุบันเสวยสุขแต่ในอนาคตต้องใช้คืนหนี้ก้อนนี้ มันใช้คืนอย่างไงล่ะ ต้องขึ้นภาษีตัวใดตัวหนึ่ง ปรับโครงสร้างภาษี ในอนาคต
การลดภาษีเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง
ซึ่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ อาจจะมีส่วนที่เสียไปได้ในบ้างส่วน
นโยบายนี้ เป็นการเพิ่มตัว C และ I โดยตรง
ทำให้ GDP เพิ่มขึ้น
ปริมาณเงินในมือของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการเงินเพิ่มขึ้น (M เพิ่มขึ้น)
ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยทางอ้อมให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่
ต้องดูว่า การปรับตัวนั้นกินเวลาแค่ไหน
อีกเรื่องที่ต้องดูคือ เงินมันหมุนไปกี่รอบแล้วสร้างเงินในระบบได้เท่าไร
เช่นจำนวนเงินที่หมุนคือ 1 ล้านบาท หมุนได้สามรอบก็สามารถสร้างเงินในระบบได้ 3 ล้านบาท
จุดนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจครับ
แต่ปัญหาคือ ในมือรัฐบาลยอมขาดดุลวันนี้เพื่อกระตุ้นให้โต แล้ววันหน้าต้องใช้คืน ทำอย่างไง
รัฐบาลเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงผลกำไร รายได้มาจาก ภาษี ,ออกพันธบัตรเป็นหลัก (ไม่นับสั่งให้ธปท พิมพ์ธนบัตรออกมา มีเหตุการณ์นี้เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นมายึดเท่านั้นที่พิมพ์ออกมา)
แล้วคนในปัจจุบันเสวยสุขแต่ในอนาคตต้องใช้คืนหนี้ก้อนนี้ มันใช้คืนอย่างไงล่ะ ต้องขึ้นภาษีตัวใดตัวหนึ่ง ปรับโครงสร้างภาษี ในอนาคต