นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
- แงซาย
- Verified User
- โพสต์: 847
- ผู้ติดตาม: 0
นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 1
หลักทรัพย์ของประเทศไทยถึง +48 จุด ในวันจันทร์ที่ผ่านมานั้น คงสร้างความประหลาดใจให้แก่ทุกท่านไม่มากก็น้อย ต้องยอมรับว่าแม้สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นบ้านเราปรับตัวอยู่ใน “แดนลบ” เป็นแรมเดือนจะมาจากปัญหาหนี้ในยุโรป แต่สาเหตุสำคัญของการ rebound เมื่อวันจันทร์นั้นกลับมาจากปัจจัยในประเทศหลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงนั่นเอง และไม่ว่าจะเป็นพรรคใดได้รับเสียงข้างมาก ผมเชื่อว่าตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้นครับ .....แต่การปรับขึ้นถึงเกือบ 50 จุดนั้น ผมคิดว่ามาจาก “Populism” หรือ “นโยบายประชานิยม” ของพรรคเพื่อไทยที่มีผลทางจิตวิทยา (ในระยะสั้น) นั่นเอง
ไม่น่าแปลกใจเลยที่พรรคเพื่อไทยจะได้รับคะแนนโหวตจากประชากรนอกเขต กทม.อย่างท่วมท้นเพราะนโยบายประชานิยมที่มุ่งเน้นในการเพิ่มรายได้ขั้นต่ำและราคาผลิตผลการเกษตรนั้นตอบโจทย์ประชากรกลุ่ม “รากหญ้า” อย่างชัดเจน .....แต่ท่านทราบหรือไม่ครับว่า การตอบรับในตลาดดอกเบี้ยนั้นกลับมีทิศทางตรงข้ามกับในตลาดหุ้น กล่าวคืออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) โดยเฉพาะช่วงอายุยาวกว่า 5 ปี ได้ปรับขึ้นค่อนข้างรุนแรง 25-40bps ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.
นโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้ (แบบฉับพลันผ่านการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) และการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ (รายได้เพิ่ม + ภาษีที่ลดลง = disposable หรือ discretionary income ที่เพิ่มขึ้น) ย่อมก่อให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกร เทรดเดอร์ และผู้จัดการกองทุนใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ การเร่งตัวของเงินเฟ้อ และการขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้น ในรูปแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ค่าแรงขั้นต่ำมีความสัมพันธ์สูงมากต่อ (positive correlation) ต่ออัตราเงินเฟ้อในบ้านเรา (เนื่องจากมี velocity of money หลายเท่า) ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ผู้ประกอบการเนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ margin ลดลง หากปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับเพิ่มราคาขายของสินค้าตนและอาจนำไปสู่ปัญหาที่เรียกว่า “Second-round effect” (ผลกระทบที่ตามมา) ได้
ยังจำกันได้หรือไม่ครับว่า 3 ปีที่แล้ว ทั่วโลกเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากราคา Commodities โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปแตะ $142/barrel ในปี 2008 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของประเทศไทย ได้ปรับสูงขึ้นจากระดับ 1.1% ในเดือนสิงหาคม 2007 ไปเป็น 8.9% ในเดือนมิถุนายน 2008 ปัญหาเงินเฟ้อย่อมสร้างความกังวลให้แก่ธนาคารกลางอย่างแน่นอน อัตราเงินเฟ้อเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่มีความสำคัญที่สุดค่าหนึ่งต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินที่กระทำโดยธนาคารกลางของทุกๆ ประเทศ การที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในบ้าน เรียกว่า “First-round effect on inflation” คือเป็นการกระทบโดยตรงสู่ผู้บริโภค ส่วนสาเหตุที่ธนาคารกลางของทุกๆ ประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อเพราะไม่ต้องการให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Second-round effect” และ “Price/Wage Spiral” ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาระยะยาวที่ยากต่อการแก้ไข ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Second-round effect คือ ผลจากการที่อัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำมัน) สูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องขึ้นราคาสินค้า (Pass-through)
Price/Wage Spiral คือผลจากการที่ราคาสินค้าได้ปรับขึ้นอย่างมากจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อราคาสินค้าทุกประเภท และหากผู้บริโภคมีการคาดการณ์ว่า การปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าดังกล่าว มิได้เป็นภาวะชั่วคราว (Long-term inflation expectation) ผู้บริโภคกลุ่มนั้น ในฐานะลูกจ้างบริษัท จะเริ่มทำการต่อรองกับนายจ้าง เพื่อขอขึ้นเงินเดือน/ค่าจ้าง และที่สำคัญ อัตราค่าจ้างที่เรียกร้องนั้นเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ณ เวลานั้นๆ เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาระภาษีที่เกิดขึ้นด้วย ....... ยังไม่จบครับ ........ เมื่อผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการเงินเดือน/ค่าจ้างที่สูงขึ้น ผู้ผลิตจึงต้องปรับราคาสินค้าขึ้นด้วย เพื่อให้สามารถดำรง Gross margin ได้ในระดับเดิม ...... กล่าวคือ “เงินเดือนไล่ตามราคา (ที่สูงขึ้นจาก First-round effect)” และ “ราคาไล่ตามเงินเดือน (ที่เพิ่งได้รับการปรับให้สูงขึ้น)” ....... วนเป็น loop (Spiral) เช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ปรากฏการณ์ทั้งสองนี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่จะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อกลายเป็นปัญหาระยะยาวแล้ว ยังทำให้ธนาคารกลางไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ (Credibility) ในความพยายามแก้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อ หลายครั้งที่ประเด็นเงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวดังเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (กรณี Supply shock จากราคาน้ำมันและ commodities) ครั้งนั้นดอกเบี้ยระยะยาว (10 ปี) ปรับขึ้นแรงตามเงินเฟ้อและปรับลดลงอย่างเร็วเมื่อเงินเฟ้อปรับตัวลง .....แต่สำหรับกรณีที่เงินเฟ้อเกิดจากนโยบายประชานิยมนั้น รัฐจำต้องดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณมากขึ้นอีกถึง 2-3 แสนล้านบาทใน 2-3 ปีข้างหน้า (ในปีงบประมาณ 2555 ประมาณการการขาดดุลอยู่ที่ -350,000 ล้านบาท) นั้น ทำให้รัฐต้องออกพันธบัตรในจำนวนมาก และย่อมส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว (ช่วงอายุ 5-15 ปี) เป็นเวลานานอย่างแน่นอน หากอัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง หรืออยู่ในระดับที่สูงเป็นเวลานาน จะทำให้ความจูงใจในตลาดหุ้นต่ำลงอย่างแน่นอน เราคงต้องจับตาดูกันต่อไปครับว่า นโยบายต่างๆ จะออกมาในรูปใดและส่งผลต่อการขาดดุลของรัฐ (และปริมาณพันธบัตรที่ต้องระดมเพิ่ม) มากเพียงใด
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
ไม่น่าแปลกใจเลยที่พรรคเพื่อไทยจะได้รับคะแนนโหวตจากประชากรนอกเขต กทม.อย่างท่วมท้นเพราะนโยบายประชานิยมที่มุ่งเน้นในการเพิ่มรายได้ขั้นต่ำและราคาผลิตผลการเกษตรนั้นตอบโจทย์ประชากรกลุ่ม “รากหญ้า” อย่างชัดเจน .....แต่ท่านทราบหรือไม่ครับว่า การตอบรับในตลาดดอกเบี้ยนั้นกลับมีทิศทางตรงข้ามกับในตลาดหุ้น กล่าวคืออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) โดยเฉพาะช่วงอายุยาวกว่า 5 ปี ได้ปรับขึ้นค่อนข้างรุนแรง 25-40bps ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.
นโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้ (แบบฉับพลันผ่านการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) และการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ (รายได้เพิ่ม + ภาษีที่ลดลง = disposable หรือ discretionary income ที่เพิ่มขึ้น) ย่อมก่อให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกร เทรดเดอร์ และผู้จัดการกองทุนใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ การเร่งตัวของเงินเฟ้อ และการขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้น ในรูปแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ค่าแรงขั้นต่ำมีความสัมพันธ์สูงมากต่อ (positive correlation) ต่ออัตราเงินเฟ้อในบ้านเรา (เนื่องจากมี velocity of money หลายเท่า) ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ผู้ประกอบการเนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ margin ลดลง หากปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับเพิ่มราคาขายของสินค้าตนและอาจนำไปสู่ปัญหาที่เรียกว่า “Second-round effect” (ผลกระทบที่ตามมา) ได้
ยังจำกันได้หรือไม่ครับว่า 3 ปีที่แล้ว ทั่วโลกเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากราคา Commodities โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปแตะ $142/barrel ในปี 2008 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของประเทศไทย ได้ปรับสูงขึ้นจากระดับ 1.1% ในเดือนสิงหาคม 2007 ไปเป็น 8.9% ในเดือนมิถุนายน 2008 ปัญหาเงินเฟ้อย่อมสร้างความกังวลให้แก่ธนาคารกลางอย่างแน่นอน อัตราเงินเฟ้อเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่มีความสำคัญที่สุดค่าหนึ่งต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินที่กระทำโดยธนาคารกลางของทุกๆ ประเทศ การที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในบ้าน เรียกว่า “First-round effect on inflation” คือเป็นการกระทบโดยตรงสู่ผู้บริโภค ส่วนสาเหตุที่ธนาคารกลางของทุกๆ ประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อเพราะไม่ต้องการให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Second-round effect” และ “Price/Wage Spiral” ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาระยะยาวที่ยากต่อการแก้ไข ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Second-round effect คือ ผลจากการที่อัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำมัน) สูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องขึ้นราคาสินค้า (Pass-through)
Price/Wage Spiral คือผลจากการที่ราคาสินค้าได้ปรับขึ้นอย่างมากจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อราคาสินค้าทุกประเภท และหากผู้บริโภคมีการคาดการณ์ว่า การปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าดังกล่าว มิได้เป็นภาวะชั่วคราว (Long-term inflation expectation) ผู้บริโภคกลุ่มนั้น ในฐานะลูกจ้างบริษัท จะเริ่มทำการต่อรองกับนายจ้าง เพื่อขอขึ้นเงินเดือน/ค่าจ้าง และที่สำคัญ อัตราค่าจ้างที่เรียกร้องนั้นเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ณ เวลานั้นๆ เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาระภาษีที่เกิดขึ้นด้วย ....... ยังไม่จบครับ ........ เมื่อผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการเงินเดือน/ค่าจ้างที่สูงขึ้น ผู้ผลิตจึงต้องปรับราคาสินค้าขึ้นด้วย เพื่อให้สามารถดำรง Gross margin ได้ในระดับเดิม ...... กล่าวคือ “เงินเดือนไล่ตามราคา (ที่สูงขึ้นจาก First-round effect)” และ “ราคาไล่ตามเงินเดือน (ที่เพิ่งได้รับการปรับให้สูงขึ้น)” ....... วนเป็น loop (Spiral) เช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ปรากฏการณ์ทั้งสองนี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่จะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อกลายเป็นปัญหาระยะยาวแล้ว ยังทำให้ธนาคารกลางไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ (Credibility) ในความพยายามแก้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อ หลายครั้งที่ประเด็นเงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวดังเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (กรณี Supply shock จากราคาน้ำมันและ commodities) ครั้งนั้นดอกเบี้ยระยะยาว (10 ปี) ปรับขึ้นแรงตามเงินเฟ้อและปรับลดลงอย่างเร็วเมื่อเงินเฟ้อปรับตัวลง .....แต่สำหรับกรณีที่เงินเฟ้อเกิดจากนโยบายประชานิยมนั้น รัฐจำต้องดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณมากขึ้นอีกถึง 2-3 แสนล้านบาทใน 2-3 ปีข้างหน้า (ในปีงบประมาณ 2555 ประมาณการการขาดดุลอยู่ที่ -350,000 ล้านบาท) นั้น ทำให้รัฐต้องออกพันธบัตรในจำนวนมาก และย่อมส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว (ช่วงอายุ 5-15 ปี) เป็นเวลานานอย่างแน่นอน หากอัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง หรืออยู่ในระดับที่สูงเป็นเวลานาน จะทำให้ความจูงใจในตลาดหุ้นต่ำลงอย่างแน่นอน เราคงต้องจับตาดูกันต่อไปครับว่า นโยบายต่างๆ จะออกมาในรูปใดและส่งผลต่อการขาดดุลของรัฐ (และปริมาณพันธบัตรที่ต้องระดมเพิ่ม) มากเพียงใด
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
Free your life , Fly your love
-
- Verified User
- โพสต์: 170
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 5
พี่คับ ผมเห็นรัฐบาลไปลดภาษีของนิติบุคคลให้แทนอ่ะครับ margin อาจขึ้นลงแล้วแต่บริษัทก็ได้นะครับแงซาย เขียน:
นโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้ (แบบฉับพลันผ่านการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) และการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ (รายได้เพิ่ม + ภาษีที่ลดลง = disposable หรือ discretionary income ที่เพิ่มขึ้น) ย่อมก่อให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกร เทรดเดอร์ และผู้จัดการกองทุนใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ การเร่งตัวของเงินเฟ้อ และการขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้น ในรูปแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ค่าแรงขั้นต่ำมีความสัมพันธ์สูงมากต่อ (positive correlation) ต่ออัตราเงินเฟ้อในบ้านเรา (เนื่องจากมี velocity of money หลายเท่า) ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ผู้ประกอบการเนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ margin ลดลง หากปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับเพิ่มราคาขายของสินค้าตนและอาจนำไปสู่ปัญหาที่เรียกว่า “Second-round effect” (ผลกระทบที่ตามมา) ได้
- แงซาย
- Verified User
- โพสต์: 847
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 6
1. การลดภาษีนิติบุคคลจาก 30 % เหลือ 23 % จะcover ค่าใช้จ่ายเรื่องค่าแรงขั้นตํ่าที่จะปรับขึ้นเป็น 300 บาทต่อวันหรือไม่ ขึ้นกับว่านิติบุคคลนั้นจ่ายค่าแรงให้พนักงานทั้งหมดหรือส่วนใหญ่อย่างไร ..............Arpieaw เขียน:พี่คับ ผมเห็นรัฐบาลไปลดภาษีของนิติบุคคลให้แทนอ่ะครับ margin อาจขึ้นลงแล้วแต่บริษัทก็ได้นะครับแงซาย เขียน:
นโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้ (แบบฉับพลันผ่านการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) และการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ (รายได้เพิ่ม + ภาษีที่ลดลง = disposable หรือ discretionary income ที่เพิ่มขึ้น) ย่อมก่อให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกร เทรดเดอร์ และผู้จัดการกองทุนใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ การเร่งตัวของเงินเฟ้อ และการขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้น ในรูปแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ค่าแรงขั้นต่ำมีความสัมพันธ์สูงมากต่อ (positive correlation) ต่ออัตราเงินเฟ้อในบ้านเรา (เนื่องจากมี velocity of money หลายเท่า) ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ผู้ประกอบการเนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ margin ลดลง หากปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับเพิ่มราคาขายของสินค้าตนและอาจนำไปสู่ปัญหาที่เรียกว่า “Second-round effect” (ผลกระทบที่ตามมา) ได้
ถ้าพนักงานทั้งหมดหรือส่วนใหญ่เดิมก็ได้รับการจ่ายมากกว่า 300 บาทต่อวันอยู่ก่อนแล้วก็คงไม่กระทบหรือกระทบน้อย........
แต่ถ้าพนักงานทั้งหมดหรือส่วนใหญ่เดิมก็ได้รับการจ่ายเท่ากับค่าแรงขั้นตํ่าต่อวันอยู่ก่อน คงกระทบมาก ...........
เดิมค่าแรงขั้นตํ่า ตํ่าสุดที่จังหวัดพะเยา ที่ 159 บาท/วัน สูงสุดที่จังหวัดภูเก็ต ที่ 221 บาท/วัน ส่วนกรุงเทพ นครปฐม นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร
รายละเอียดดูที่นี่ครับ .............
http://www.labour.go.th/news/file/minimumWage.pdf
นั่นคือค่าแรงขั้นตํ่าปรับขึ้นตั้งแต่ 35.74% ในจังหวัดภูเก็ต จนถึงสูงสุด 88.68%ในจังหวัดพะเยา .............
SME น่าจะกระทบหนักกว่า กิจการใหญ่ๆ ...............
2. นิติบุคคลจํานวนไม่น้อยทีเดียวในเมืองไทยที่มีการจัดทําบัญชี 2 บัญชี อันหนึ่งกําไรน้อยๆหรือขาดทุนไว้ยื่นตัวเลขกับสรรพากร อีกอันของจริง อย่างที่พวกเราน่าจะทราบๆกันอยู่ ซึ่งการลดภาษีนิติบุคคลลงมาก็แทบไม่ได้มีผลกับเขาอยู่แล้ว แต่ต้นทุนค่าแรงสูงขึ้น ..............
Free your life , Fly your love
- thalucoz
- Verified User
- โพสต์: 658
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 7
รบกวนถามพี่ แงซาย อีกหน่อยครับ (พอดีผมไม่ค่อยเข้าใจ เนื่องจากศึกษาเศรษฐศาสตร์มาน้อยครับ )
เกี่ยวกับการออก Bond ของรัฐนี่ถ้ารัฐขาดดุลมาก ๆ เงินก็จะไม่พอก็เลยต้องออก Bond ซึ่งตอนนี้ถ้าจะให้ขายได้หมด ดอกเบี้ยที่กำลังเป็นขาขึ้น ต้นทุนดอกเบี้ยของรัฐจะต้องมากพอที่จะจูงใจให้ คนมาซื้อ (แน่นอนว่าต้องมากกว่าฝากประจำมาก ๆ แน่นอน) ทีนี้จากจุดนี้ คนทั่วไปพอเห็นอัตราดอกเบี้ยที่ได้ในสภาพ ที่ความเสี่ยงแทบจะเป็น 0 สูงขึ้นมากขนาดนี้ ก็จะเริ่มขายสินทรัพย์เสี่ยงออกไป แล้วเข้าซื้อ Bond แทนหรือเปล่าครับ
ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็จะไปกระทบกับ ตลาดหุ้น ทันทีไม่ว่าหุ้นที่มีอยู่ จะมีพื้นฐานดีแค่ไหน แต่จะลงตามภาวะตลาดที่คนส่วนใหญ่ Swich ไปลงใน Bond แทนอย่างนั้นหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ ที่ช่วยชี้แนะครับ
เกี่ยวกับการออก Bond ของรัฐนี่ถ้ารัฐขาดดุลมาก ๆ เงินก็จะไม่พอก็เลยต้องออก Bond ซึ่งตอนนี้ถ้าจะให้ขายได้หมด ดอกเบี้ยที่กำลังเป็นขาขึ้น ต้นทุนดอกเบี้ยของรัฐจะต้องมากพอที่จะจูงใจให้ คนมาซื้อ (แน่นอนว่าต้องมากกว่าฝากประจำมาก ๆ แน่นอน) ทีนี้จากจุดนี้ คนทั่วไปพอเห็นอัตราดอกเบี้ยที่ได้ในสภาพ ที่ความเสี่ยงแทบจะเป็น 0 สูงขึ้นมากขนาดนี้ ก็จะเริ่มขายสินทรัพย์เสี่ยงออกไป แล้วเข้าซื้อ Bond แทนหรือเปล่าครับ
ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็จะไปกระทบกับ ตลาดหุ้น ทันทีไม่ว่าหุ้นที่มีอยู่ จะมีพื้นฐานดีแค่ไหน แต่จะลงตามภาวะตลาดที่คนส่วนใหญ่ Swich ไปลงใน Bond แทนอย่างนั้นหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ ที่ช่วยชี้แนะครับ
FREEDOM ---------- HOLD MY HAND
- Packy_Kittiworawut
- Verified User
- โพสต์: 242
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 8
แรงงานไทยไม่ค่อยขยันทำงานเลย โดนประชานิยมมอมเมา เห็นทีต้องได้จ้างต่างด้าวแล้วกระมัง
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 9
สมัยนี้ต่างด้าว พม่า ก็เยอะครับ หลายๆโรงงาน ร้านค้า หรือผู้รับเหมาก็ใช้ พม่าครับ ฝีมือก็ไม่แพ้คนไทยแถมบางคนยังขยันกว่าด้วยครับ เพราะเค้าอยู่ไทยนี่ได้เยอะเมื่อกับอยู่บ้านเค้าครับแล้วไม่เรื่องมาก เพราะเค้าคิดว่ามาขุดทองครับPacky_Kittiworawut เขียน:แรงงานไทยไม่ค่อยขยันทำงานเลย โดนประชานิยมมอมเมา เห็นทีต้องได้จ้างต่างด้าวแล้วกระมัง
- แงซาย
- Verified User
- โพสต์: 847
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 10
ตอนนี้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตทํางานก็ 9 แสนกว่าคนแล้ว ยังไม่รวมที่ยังไม่มาขึ้นทะเบียนอีกไม่รู้เท่าไหร่ครับ ..............Packy_Kittiworawut เขียน:เห็นทีต้องได้จ้างต่างด้าวแล้วกระมัง
Free your life , Fly your love
-
- Verified User
- โพสต์: 170
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 11
ใช่เลยพี่เหมือนที่เพื่อนผมที่มีสำนักงานบัญชีเล่าให้ฟังเลยว่า นิติบุคคลนอกตลาดต้องการโชกำไรน้อยบนงบซึ่งตรงข้ามกับในตลาดแงซาย เขียน: 2. นิติบุคคลจํานวนไม่น้อยทีเดียวในเมืองไทยที่มีการจัดทําบัญชี 2 บัญชี อันหนึ่งกําไรน้อยๆหรือขาดทุนไว้ยื่นตัวเลขกับสรรพากร อีกอันของจริง อย่างที่พวกเราน่าจะทราบๆกันอยู่ ซึ่งการลดภาษีนิติบุคคลลงมาก็แทบไม่ได้มีผลกับเขาอยู่แล้ว แต่ต้นทุนค่าแรงสูงขึ้น ..............
- getkung
- Verified User
- โพสต์: 286
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 12
ผมก็เข้าใจอย่างงั้นเหมือนกันครับ แล้วพวกเราเข้าใจถูกหรือเปล่าเนี่ย 555thalucoz เขียน:รบกวนถามพี่ แงซาย อีกหน่อยครับ (พอดีผมไม่ค่อยเข้าใจ เนื่องจากศึกษาเศรษฐศาสตร์มาน้อยครับ )
เกี่ยวกับการออก Bond ของรัฐนี่ถ้ารัฐขาดดุลมาก ๆ เงินก็จะไม่พอก็เลยต้องออก Bond ซึ่งตอนนี้ถ้าจะให้ขายได้หมด ดอกเบี้ยที่กำลังเป็นขาขึ้น ต้นทุนดอกเบี้ยของรัฐจะต้องมากพอที่จะจูงใจให้ คนมาซื้อ (แน่นอนว่าต้องมากกว่าฝากประจำมาก ๆ แน่นอน) ทีนี้จากจุดนี้ คนทั่วไปพอเห็นอัตราดอกเบี้ยที่ได้ในสภาพ ที่ความเสี่ยงแทบจะเป็น 0 สูงขึ้นมากขนาดนี้ ก็จะเริ่มขายสินทรัพย์เสี่ยงออกไป แล้วเข้าซื้อ Bond แทนหรือเปล่าครับ
ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็จะไปกระทบกับ ตลาดหุ้น ทันทีไม่ว่าหุ้นที่มีอยู่ จะมีพื้นฐานดีแค่ไหน แต่จะลงตามภาวะตลาดที่คนส่วนใหญ่ Swich ไปลงใน Bond แทนอย่างนั้นหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ ที่ช่วยชี้แนะครับ
รบกวนขอคำอธิบายกราฟเพิ่มเติมได้ไหมครับ ที่ผมเข้าใจนี่คือ yeild ของ bond ระยะยาวมี%ที่สูงกว่าระยะสั้น หรือจะบอกว่าระยะสั้นกับระยะยาวมันเข้าใกล้กัน งงครับ 555 แต่ไม่เข้าใจว่าบอกอะไรได้ครับ
ปล. รูปแรกมันไม่ขึ้นครับ
ซักวันหนึ่ง port จะโต๊ port จะโต
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 13
Yield Curve เป็น Upward Sloping เป็นลักษณะปกติครับ
แต่ในแต่ละช่วงมันบอกตัวที่ซ่อนอยู่ใน Yield Curve คือ Forward Rate คือ การคาดเดาอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
โดยให้หลักการของ discount rate มาคิด
เช่น พันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ดอกเบี้ย 3.56% ต่อปี
พันธบัตรอายุ 4 เดือนดอกเบี้ย3.07% ต่อปี (0.25)
แล้วหาดอกเบี้ย ของพันธบัตราอายุ 4 เดือนถึง 12 เดือนเท่าไร
เอา เงินก้อนเท่ากันคือ 100 บาท คิดไป 1 ปีข้างหน้าได้ 103.56 บาท
เท่ากับ เงินก้อนเดียวกัน ฝากที่อายุ 4 เดือนที่อัตราดอกเบี้ย 3.07% แล้ว rollover อีก 8 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยที่ x% ต่อปี แก้ไขสมการออกมจะได้ อัตราดอกเบี้ยที่คาดหวังในอนาคตครับ
คิดแบบนี้ในแต่ละช่วงแล้วจะเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยที่คาดหวังในแต่ละช่วงเป็นอย่างไง
ส่วนเรื่องประชานิยมนั้น ผมต้องบอกได้ว่า ทำให้ได้ตามลมปากที่บอกไว้ล่ะกัน
ถ้าไม่ตามลมปากที่บอก เดี๋ยวได้เป็นเรื่องอีกแน่นอน เพราะประชาชนคาดหวังไว้สูงในเรื่องเหล่านั้น
ถ้าทำไม่ได้ เป็นเรื่องแน่นอน หลอกกันได้ไงเรื่องพวกนี้ เพราะมีทฤษฏีเกี่ยวกับการคาดหวังในอนาคตรองรับไว้อยู่
ว่าถ้าคนรู้ว่าในอนาคตมีรายได้มากขึ้น เขาก็บริโภคในเวลานี้มากขึ้น ข้าวของก็ขึ้นก่อนเวลาที่ค่าแรงขึ้น
ต้องถามต่อว่า การที่รัฐบาลใช้วิธีขาดดุลงบประมาณวันนี้ แล้ววันหน้าเรามีต้นทุนในการที่ต้องชดใช้ (โดยเก็บภาษีเพิ่มเท่าไร) อันนี้เป็นเรื่องที่นักการเมืองไม่ได้บอกไว้ว่าเท่าไร คนที่ทำเรื่องนี้ก็ไม่ได้ลงรายละเอียดด้วยว่า มีการขึ้นภาษีเท่าไรในอนาคตที่ทำให้งบประมาณสมดุลและเกินดุลในอนาคต โดยมี สมมุติฐานคืออะไรบ้าง ราคาน้ำมัน ความผันผวนของศก คู่ค้าต่างๆ เป็นต้นไม่ได้มีการกล่าวถึงเลย จุดเหล่านี้ต้องมี ? ใหญ่เอาไว้ล่ะครับ ว่าคนทำสามารถตอบได้หรือไม่ว่า คุณทำบนสมมุติฐานอะไร แล้วมันน่าเชื่อถือที่ทำได้เท่าไร
แต่ในแต่ละช่วงมันบอกตัวที่ซ่อนอยู่ใน Yield Curve คือ Forward Rate คือ การคาดเดาอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
โดยให้หลักการของ discount rate มาคิด
เช่น พันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ดอกเบี้ย 3.56% ต่อปี
พันธบัตรอายุ 4 เดือนดอกเบี้ย3.07% ต่อปี (0.25)
แล้วหาดอกเบี้ย ของพันธบัตราอายุ 4 เดือนถึง 12 เดือนเท่าไร
เอา เงินก้อนเท่ากันคือ 100 บาท คิดไป 1 ปีข้างหน้าได้ 103.56 บาท
เท่ากับ เงินก้อนเดียวกัน ฝากที่อายุ 4 เดือนที่อัตราดอกเบี้ย 3.07% แล้ว rollover อีก 8 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยที่ x% ต่อปี แก้ไขสมการออกมจะได้ อัตราดอกเบี้ยที่คาดหวังในอนาคตครับ
คิดแบบนี้ในแต่ละช่วงแล้วจะเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยที่คาดหวังในแต่ละช่วงเป็นอย่างไง
ส่วนเรื่องประชานิยมนั้น ผมต้องบอกได้ว่า ทำให้ได้ตามลมปากที่บอกไว้ล่ะกัน
ถ้าไม่ตามลมปากที่บอก เดี๋ยวได้เป็นเรื่องอีกแน่นอน เพราะประชาชนคาดหวังไว้สูงในเรื่องเหล่านั้น
ถ้าทำไม่ได้ เป็นเรื่องแน่นอน หลอกกันได้ไงเรื่องพวกนี้ เพราะมีทฤษฏีเกี่ยวกับการคาดหวังในอนาคตรองรับไว้อยู่
ว่าถ้าคนรู้ว่าในอนาคตมีรายได้มากขึ้น เขาก็บริโภคในเวลานี้มากขึ้น ข้าวของก็ขึ้นก่อนเวลาที่ค่าแรงขึ้น
ต้องถามต่อว่า การที่รัฐบาลใช้วิธีขาดดุลงบประมาณวันนี้ แล้ววันหน้าเรามีต้นทุนในการที่ต้องชดใช้ (โดยเก็บภาษีเพิ่มเท่าไร) อันนี้เป็นเรื่องที่นักการเมืองไม่ได้บอกไว้ว่าเท่าไร คนที่ทำเรื่องนี้ก็ไม่ได้ลงรายละเอียดด้วยว่า มีการขึ้นภาษีเท่าไรในอนาคตที่ทำให้งบประมาณสมดุลและเกินดุลในอนาคต โดยมี สมมุติฐานคืออะไรบ้าง ราคาน้ำมัน ความผันผวนของศก คู่ค้าต่างๆ เป็นต้นไม่ได้มีการกล่าวถึงเลย จุดเหล่านี้ต้องมี ? ใหญ่เอาไว้ล่ะครับ ว่าคนทำสามารถตอบได้หรือไม่ว่า คุณทำบนสมมุติฐานอะไร แล้วมันน่าเชื่อถือที่ทำได้เท่าไร
- getkung
- Verified User
- โพสต์: 286
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณครับ แล้วอัตราดอกเบี้ยที่คาดหวังนี้สามารถบอกอะไรเราได้บ้างครับ รบกวนด้วยmiracle เขียน:Yield Curve เป็น Upward Sloping เป็นลักษณะปกติครับ
แต่ในแต่ละช่วงมันบอกตัวที่ซ่อนอยู่ใน Yield Curve คือ Forward Rate คือ การคาดเดาอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
โดยให้หลักการของ discount rate มาคิด
เช่น พันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ดอกเบี้ย 3.56% ต่อปี
พันธบัตรอายุ 4 เดือนดอกเบี้ย3.07% ต่อปี (0.25)
แล้วหาดอกเบี้ย ของพันธบัตราอายุ 4 เดือนถึง 12 เดือนเท่าไร
เอา เงินก้อนเท่ากันคือ 100 บาท คิดไป 1 ปีข้างหน้าได้ 103.56 บาท
เท่ากับ เงินก้อนเดียวกัน ฝากที่อายุ 4 เดือนที่อัตราดอกเบี้ย 3.07% แล้ว rollover อีก 8 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยที่ x% ต่อปี แก้ไขสมการออกมจะได้ อัตราดอกเบี้ยที่คาดหวังในอนาคตครับ
คิดแบบนี้ในแต่ละช่วงแล้วจะเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยที่คาดหวังในแต่ละช่วงเป็นอย่างไง
ซักวันหนึ่ง port จะโต๊ port จะโต
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 16
ตามที่ผมเข้าใจนะครับ
เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ส่งผลให้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะสูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาว กรณีนี้ yield curve ทอดลง เพราะว่าคนจะมาซื้อพันธบัตรระยะยาวกันหมด ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรระยะยาวเลยลดลง ซึ่งทำให้ yield curve ลดลง ส่วนพันธบัตรระยะสั้นคนไม่ค่อยต้องการ ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น yield curve เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ yield curve ระยะสั้นและระยะยาวใกล้เคียงกัน
แต่เมื่อเวลาใด ถึงจุดๆหนึ่ง คนเริ่มมองว่าเศรษฐกิจดี yield curve จะเริ่มพุ่งขึ้น เนื่องจากคนขายพันธบัตรระยะยาว แล้วมาซื้อพันธบัตรระยะสั้นแทน อาจจะมาซื้อหุ้นด้วย สภาพคล่องมาก หุ้นขึ้นกระจาย แต่ว่าดอกเบี้ยต้องต่ำอยู่นะ ห้ามขยับขึ้น
คงไม่งงนะครับ
เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ส่งผลให้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะสูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาว กรณีนี้ yield curve ทอดลง เพราะว่าคนจะมาซื้อพันธบัตรระยะยาวกันหมด ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรระยะยาวเลยลดลง ซึ่งทำให้ yield curve ลดลง ส่วนพันธบัตรระยะสั้นคนไม่ค่อยต้องการ ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น yield curve เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ yield curve ระยะสั้นและระยะยาวใกล้เคียงกัน
แต่เมื่อเวลาใด ถึงจุดๆหนึ่ง คนเริ่มมองว่าเศรษฐกิจดี yield curve จะเริ่มพุ่งขึ้น เนื่องจากคนขายพันธบัตรระยะยาว แล้วมาซื้อพันธบัตรระยะสั้นแทน อาจจะมาซื้อหุ้นด้วย สภาพคล่องมาก หุ้นขึ้นกระจาย แต่ว่าดอกเบี้ยต้องต่ำอยู่นะ ห้ามขยับขึ้น
คงไม่งงนะครับ
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 17
คลังมึน!ดอกเบี้ยระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว
08/07/2011
คลังมึน!ดอกเบี้ยบ้านเราชักเพี้ยน ระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว ต่างชาติโยกเงินเข้าลงทุนเพียบ จี้ธปท.ดูแล ถามต่อขึ้นดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อได้ผลจริงหรือ
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณทางเทคนิคที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงกว่าดอกเบี้ยระยะยาว มีผลทำให้เกิดการโยกเงินลงทุนจากตราสารหนี้ระยะยาวไประยะสั้นมากขึ้น โดยที่สภาพคล่องในระบบไม่มีปัญหา และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องมีการออกตราสารระยะสั้นเพื่อบริหารจัดการตลาดเงินมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นความผิดปกติของระบบเศรษฐกิจ
"ตอนนี้ต่างชาติเข้ามาลงทุนระยะสั้นมากขึ้น เพราะดอกเบี้ยระยะสั้นแพงกว่าดอกเบี้ยระยะยาว ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจไม่ปกติ แต่ระบบเศรษฐกิจปกติ ดอกเบี้ยระยะยาวต้องสูงขึ้นระยะสั้น ตอนนี้ดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นเร็วมากแซงดอกเบี้ยระยะยาวที่นิ่งๆ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาทำให้เงินไหลไปลงทุนระยะสั้นมากขึ้น"นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
ทั้งนี้ การที่ ธปท.ต้องการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ โดยที่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นการสร้างภาระต้นทุนที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการและประชาชนระดับล่าง แต่ธปท.ยังไม่สามารถชี้ให้เห็นผลดี-ผลเสียที่เกิดขึ้นในการขึ้นดอกเบี้ยได้ชัดเจน
ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวอีกว่า การใช้ดอกเบี้ยควบคุมเงินเฟ้อได้ผลจริงหรือ เพราะ 40%ของเงินเฟ้อมาจากปัจจัยของราคาอาหาร ที่เหลือมาจากน้ำมัน หากขึ้นดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อ ต้นทุนสูงขึ้น แต่ราคาอาหารและพลังงานไมได้ลดลง
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
http://www.smethailandclub.com/web/news/inside/id/2741
08/07/2011
คลังมึน!ดอกเบี้ยบ้านเราชักเพี้ยน ระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว ต่างชาติโยกเงินเข้าลงทุนเพียบ จี้ธปท.ดูแล ถามต่อขึ้นดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อได้ผลจริงหรือ
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณทางเทคนิคที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงกว่าดอกเบี้ยระยะยาว มีผลทำให้เกิดการโยกเงินลงทุนจากตราสารหนี้ระยะยาวไประยะสั้นมากขึ้น โดยที่สภาพคล่องในระบบไม่มีปัญหา และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องมีการออกตราสารระยะสั้นเพื่อบริหารจัดการตลาดเงินมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นความผิดปกติของระบบเศรษฐกิจ
"ตอนนี้ต่างชาติเข้ามาลงทุนระยะสั้นมากขึ้น เพราะดอกเบี้ยระยะสั้นแพงกว่าดอกเบี้ยระยะยาว ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจไม่ปกติ แต่ระบบเศรษฐกิจปกติ ดอกเบี้ยระยะยาวต้องสูงขึ้นระยะสั้น ตอนนี้ดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นเร็วมากแซงดอกเบี้ยระยะยาวที่นิ่งๆ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาทำให้เงินไหลไปลงทุนระยะสั้นมากขึ้น"นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
ทั้งนี้ การที่ ธปท.ต้องการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ โดยที่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นการสร้างภาระต้นทุนที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการและประชาชนระดับล่าง แต่ธปท.ยังไม่สามารถชี้ให้เห็นผลดี-ผลเสียที่เกิดขึ้นในการขึ้นดอกเบี้ยได้ชัดเจน
ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวอีกว่า การใช้ดอกเบี้ยควบคุมเงินเฟ้อได้ผลจริงหรือ เพราะ 40%ของเงินเฟ้อมาจากปัจจัยของราคาอาหาร ที่เหลือมาจากน้ำมัน หากขึ้นดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อ ต้นทุนสูงขึ้น แต่ราคาอาหารและพลังงานไมได้ลดลง
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
http://www.smethailandclub.com/web/news/inside/id/2741
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
โพสต์ที่ 18
update ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนครับกรกฎาคม 3, 2011 ที่ 01:38
เนื่องจากผมมีโอกาศได้ไปสัมนาและอบรมข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง คิดว่าน่าจะมีมากพอจะเขียนบทความแล้วครับ จึงขอแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ
ต้องบอกก่อนว่าข้อมูลพวกนี้ผมเอามาจากโบรก trinity ก็ต้องให้เครดิตเขาไว้ว่าเป็นโบรกที่เก่งมาก
ภาพนี้ update ถึง 27 มิถุนายน 2554 นะครับ
เผื่ออีกหน่อยใครมาอ่านก็ขอให้รู้ว่า update ถึงวันที่เท่าไหร่ ในอนาคตภาพในหุ้นก็จะเปลี่ยนไปเนื่องจากอัตราปันผลไม่เหมือนเดิมและสัดส่วนฝรั่งถือครองก็ไม่เหมือนเดิมนะครับ
ภาพนี้จะเป็นแกนนอนแกนตั้ง
แกนตั้งที่อยู่เหนือเส้นจะเป็นกลุ่มที่เรียกว่า overown หรือถือครองมากกว่าในอดีต ยิ่งสูงก็ยิ่งถือครองมาก โดยนับว่าถือครองมากคือมองในมุมของ ถือครอง + กี่ standard deviation เมื่อเทียบกับในอดีต
ส่วนแกนซ้ายไปแกนขวาเป็น % ที่โบรก trinity คาดปันผล หุ้นที่มีการทำไฮไลท์สีเหลือง เป็นหุ้นที่อยู่ในโซนฝรั่งถือน้อยและปันผลเยอะ ก็คือ underown+high yield หุ้นพวกนี้ดูแล้วจะปลอดภัยกว่าโซนอื่น เพราะว่าถ้าเซทไม่ดีฝรั่งขายต่อหุ้นพวกนี้ฝรั่งก็ถือน้อยกว่าในทางกลับกันถ้าเซทไม่ไปไหนก็ได้ปันผลเยอะด้วย
ผมไม่ขอออกความเห็นเกี่ยวกับหุ้นในโซนนี้เดี่ยวเข้าข่ายชี้นำทางการลงทุน
ภาพนี้เป็นสัญญาณการดูตลาด bull market รอบใหญ่ๆที่แทบไม่เคยให้สัญญาณผิดพลาด เป็นภาพที่เก่าแล้วนะครับ ไม่ใช่ภาพปัจจุบัน ผมไม่ได้จะบอกว่าตลาดจะ bull หลังจากนี้ ผมเพียงแต่นำทฤษฏี fundflow มาเล่าให้ฟังเฉยๆ
ตลาด bond ทฤษฏีมีอยู่ว่า
ถ้าคนมองว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี คนจะทำอย่างไรครับ
คนก็ไม่อยากเล่นหุ้นก่อนล่ะ อย่างน้อย เงินไม่เข้าหุ้น จะไปเข้าอะไรดีครับ เข้า bond ที่นี้ถามต่อเศรษฐกิจไม่ดี คนจะคิดว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไงครับ
ก็ควรจะลดถูกไหม
เวลาเราซื้อพันธบัตรถ้าเรามองว่าเศรษฐกิจแย่เราจะซื้อพันธบัตรระยะยาวเนื่องจากมันล็อกผลตอบแทนไว้นานกว่า ถ้าเราซื้อพันธบัตรระยะสั้นเวลาดอกเบี้ยลงเมื่อพันธบัตรหมดอายุเราจะได้ดอกน้อยลง
ถ้าคนไปซื้อพันธบัตรระยะยาวเยอะๆ จะทำให้ราคาพันธบัตรสูงขึ้นและ yield ต่ำลงและทำให้ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีกับสองปี มีส่วนต่างน้อยลง
นั้นคือเหตุผลว่าทำไมเวลา yeild curve ลดลงตลาดหุ้นมักจะไม่ out perform
แต่ในทางกลับกัน big bull market ทุกรอบที่ผ่านมา ลักษณะของ yield curve จะต่ำมากก่อนแล้วพุ่งขึ้น ซึ่งแสดงถึงมุมมองของนักลงทุนทีดีขึ้นของเศรษฐกิจ เนื่องจากว่า ถ้าคนมองเศรษฐกิจดีคนที่จะซื้อพันธบัตรจะซื้อระยะสั้นมากกว่าระยะยาว เพราะว่าถ้าดอกเบี้ยขาขึ้นมูลค่าของพันธบัตรระยะยาวย่อมลดลงมากกว่า และเวลาขายคนก็จะขายพันธบัตรระยะยาวออกมาเยอะกว่าเนื่องจากเศรษฐกิจดีทำไมจะต้องเอาเงินกองไว้ในพันธบัตรนานๆด้วยมันเสียโอกาศ
อีกเส้นนึงคืออัตราดอกเบี้ย fed fund rate เราจะเห็นได้ว่าเมื่อดอกเบี้ยถึงจุดต่ำสุดแล้ว yield curve เป็นขาขึ้นและยืนอยู่ในระดับสูง มักจะเกิด super bull market ซึ่งทุกรอบทำให้คนกลายเป็นมหาเศรษฐีได้เลย มีหุ้นหลายตัวที่ขึ้นเป็น 10-30 เท่าในช่วง super bull market เหล่านั้น
การที่ดอกเบี้ยต่ำมากและ yield curve เป็นขาขึ้นเป็นการครบองค์ประชุมผู้สภาพคล่องทะลักและมุมมองของเศรษฐกิจก็ดีแล้วหุ้นจะไม่ขึ้นได้อย่างไร
คนที่จะอยู่ในตลาดอีกนานควรจะศึกษาเรื่องพวกนี้ไว้บ้าง เพราะเมื่อสัญญาณ super bull market เกิดขึ้นรอบหน้าคุณก็จะกลายเป็นเศรษฐีใหม่คนนึง
http://hongvalue.wordpress.com/2011/07/ ... /#comments
เนื่องจากผมมีโอกาศได้ไปสัมนาและอบรมข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง คิดว่าน่าจะมีมากพอจะเขียนบทความแล้วครับ จึงขอแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ
ต้องบอกก่อนว่าข้อมูลพวกนี้ผมเอามาจากโบรก trinity ก็ต้องให้เครดิตเขาไว้ว่าเป็นโบรกที่เก่งมาก
ภาพนี้ update ถึง 27 มิถุนายน 2554 นะครับ
เผื่ออีกหน่อยใครมาอ่านก็ขอให้รู้ว่า update ถึงวันที่เท่าไหร่ ในอนาคตภาพในหุ้นก็จะเปลี่ยนไปเนื่องจากอัตราปันผลไม่เหมือนเดิมและสัดส่วนฝรั่งถือครองก็ไม่เหมือนเดิมนะครับ
ภาพนี้จะเป็นแกนนอนแกนตั้ง
แกนตั้งที่อยู่เหนือเส้นจะเป็นกลุ่มที่เรียกว่า overown หรือถือครองมากกว่าในอดีต ยิ่งสูงก็ยิ่งถือครองมาก โดยนับว่าถือครองมากคือมองในมุมของ ถือครอง + กี่ standard deviation เมื่อเทียบกับในอดีต
ส่วนแกนซ้ายไปแกนขวาเป็น % ที่โบรก trinity คาดปันผล หุ้นที่มีการทำไฮไลท์สีเหลือง เป็นหุ้นที่อยู่ในโซนฝรั่งถือน้อยและปันผลเยอะ ก็คือ underown+high yield หุ้นพวกนี้ดูแล้วจะปลอดภัยกว่าโซนอื่น เพราะว่าถ้าเซทไม่ดีฝรั่งขายต่อหุ้นพวกนี้ฝรั่งก็ถือน้อยกว่าในทางกลับกันถ้าเซทไม่ไปไหนก็ได้ปันผลเยอะด้วย
ผมไม่ขอออกความเห็นเกี่ยวกับหุ้นในโซนนี้เดี่ยวเข้าข่ายชี้นำทางการลงทุน
ภาพนี้เป็นสัญญาณการดูตลาด bull market รอบใหญ่ๆที่แทบไม่เคยให้สัญญาณผิดพลาด เป็นภาพที่เก่าแล้วนะครับ ไม่ใช่ภาพปัจจุบัน ผมไม่ได้จะบอกว่าตลาดจะ bull หลังจากนี้ ผมเพียงแต่นำทฤษฏี fundflow มาเล่าให้ฟังเฉยๆ
ตลาด bond ทฤษฏีมีอยู่ว่า
ถ้าคนมองว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี คนจะทำอย่างไรครับ
คนก็ไม่อยากเล่นหุ้นก่อนล่ะ อย่างน้อย เงินไม่เข้าหุ้น จะไปเข้าอะไรดีครับ เข้า bond ที่นี้ถามต่อเศรษฐกิจไม่ดี คนจะคิดว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไงครับ
ก็ควรจะลดถูกไหม
เวลาเราซื้อพันธบัตรถ้าเรามองว่าเศรษฐกิจแย่เราจะซื้อพันธบัตรระยะยาวเนื่องจากมันล็อกผลตอบแทนไว้นานกว่า ถ้าเราซื้อพันธบัตรระยะสั้นเวลาดอกเบี้ยลงเมื่อพันธบัตรหมดอายุเราจะได้ดอกน้อยลง
ถ้าคนไปซื้อพันธบัตรระยะยาวเยอะๆ จะทำให้ราคาพันธบัตรสูงขึ้นและ yield ต่ำลงและทำให้ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีกับสองปี มีส่วนต่างน้อยลง
นั้นคือเหตุผลว่าทำไมเวลา yeild curve ลดลงตลาดหุ้นมักจะไม่ out perform
แต่ในทางกลับกัน big bull market ทุกรอบที่ผ่านมา ลักษณะของ yield curve จะต่ำมากก่อนแล้วพุ่งขึ้น ซึ่งแสดงถึงมุมมองของนักลงทุนทีดีขึ้นของเศรษฐกิจ เนื่องจากว่า ถ้าคนมองเศรษฐกิจดีคนที่จะซื้อพันธบัตรจะซื้อระยะสั้นมากกว่าระยะยาว เพราะว่าถ้าดอกเบี้ยขาขึ้นมูลค่าของพันธบัตรระยะยาวย่อมลดลงมากกว่า และเวลาขายคนก็จะขายพันธบัตรระยะยาวออกมาเยอะกว่าเนื่องจากเศรษฐกิจดีทำไมจะต้องเอาเงินกองไว้ในพันธบัตรนานๆด้วยมันเสียโอกาศ
อีกเส้นนึงคืออัตราดอกเบี้ย fed fund rate เราจะเห็นได้ว่าเมื่อดอกเบี้ยถึงจุดต่ำสุดแล้ว yield curve เป็นขาขึ้นและยืนอยู่ในระดับสูง มักจะเกิด super bull market ซึ่งทุกรอบทำให้คนกลายเป็นมหาเศรษฐีได้เลย มีหุ้นหลายตัวที่ขึ้นเป็น 10-30 เท่าในช่วง super bull market เหล่านั้น
การที่ดอกเบี้ยต่ำมากและ yield curve เป็นขาขึ้นเป็นการครบองค์ประชุมผู้สภาพคล่องทะลักและมุมมองของเศรษฐกิจก็ดีแล้วหุ้นจะไม่ขึ้นได้อย่างไร
คนที่จะอยู่ในตลาดอีกนานควรจะศึกษาเรื่องพวกนี้ไว้บ้าง เพราะเมื่อสัญญาณ super bull market เกิดขึ้นรอบหน้าคุณก็จะกลายเป็นเศรษฐีใหม่คนนึง
http://hongvalue.wordpress.com/2011/07/ ... /#comments