ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
sammas
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมโง๋ๆนะครับ

ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจเรื่อง DCF นะครับ พยายามตามอ่านในนี้แล้วหลายๆกระทู้แต่ไม่พบในสิ่งที่ผมสงสัยเลยอยากจะรบกวนถามทุกๆคนดังนี้ครับ

1) จากหนังสือ "วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวเอง" ของคุณสุมาอี้
หลังจากที่เราได้ Discounted PV ของบริษัทแล้วคุณสุมาอี้ นำเลขนั้นมาหักหนี้ก่อน
จึงนำไปหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด ถึงจะได้มูลค่าออกมา


2) ผมพยายามอ่านดูจากเวปฝรั่งๆต่างที่เค้าพยายามสอน DCF ตามเวปต่างๆ
หลังจากที่ได้ Discounted PV แล้ว เค้านำมาหารหุ้นทั้งหมดเลย

ทำไมมันต่างกันล่ะครับ FCF ที่นำมาคิดใน Model เป็นคนละค่ารึเปล่าครับ ช่วยให้ความรู้ด้วยครับ

สัมมา
ภาพประจำตัวสมาชิก
murder_doll
Verified User
โพสต์: 1608
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้

โพสต์ที่ 2

โพสต์

มูลค่าของกิจการมาจาก ทุนบวกหนี้สิน
การประเมินราคาหุ้นคือการประเมินส่วนของทุน
จึงหักหนี้สินออกก่อนครับ

เอ่อ จำไม่ค่อยได้ถ้าผิดรอท่านอื่นมายืนยันละกันครับ :oops:
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
viim
Verified User
โพสต์: 551
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเห็นว่าเวลาคุณสุมาอี้เขาวิเคราะห์หา FCF นั้นเขาทำการปรับงบดุลเสียใหม่ ออกเป็น ทรัพย์สินดำเนินงาน (ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ) กับ ทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน ส่วนหนี้สินก็จะเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยและหนี้สินดำเนินงาน (เจ้าหนี้การค้า) สำหรับหนี้ที่มีดอกเบี้ย แยกออกมาต่างหาก และในฝั่งซ้ายของ B/S ก็แยกเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดออกมาก่อน หลังจากคำนวณหา DCF เสร็จแล้วมันก็หมายถึงกระแสเงินสดที่กิจการจะสามารถทำได้ทั้งหมดไปตลอดอย่างต่อเนื่อง ค่าที่ได้ต้องเอามาบวกเงินสดและลบหนี้ที่มีดอกเบี้ยออกไปแล้วค่อยนำมาหารจำนวนหุ้นทั้งหมดก็จะเป็นมูลค่าต่อหุ้น หรือถ้าจะไม่นำมาหารก็ดูเทียบค่านี้กับ Market cap ของหุ้นเลยก็ได้
sammas
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้

โพสต์ที่ 4

โพสต์

viim เขียน:เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเห็นว่าเวลาคุณสุมาอี้เขาวิเคราะห์หา FCF นั้นเขาทำการปรับงบดุลเสียใหม่ ออกเป็น ทรัพย์สินดำเนินงาน (ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ) กับ ทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน ส่วนหนี้สินก็จะเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยและหนี้สินดำเนินงาน (เจ้าหนี้การค้า) สำหรับหนี้ที่มีดอกเบี้ย แยกออกมาต่างหาก และในฝั่งซ้ายของ B/S ก็แยกเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดออกมาก่อน หลังจากคำนวณหา DCF เสร็จแล้วมันก็หมายถึงกระแสเงินสดที่กิจการจะสามารถทำได้ทั้งหมดไปตลอดอย่างต่อเนื่อง ค่าที่ได้ต้องเอามาบวกเงินสดและลบหนี้ที่มีดอกเบี้ยออกไปแล้วค่อยนำมาหารจำนวนหุ้นทั้งหมดก็จะเป็นมูลค่าต่อหุ้น หรือถ้าจะไม่นำมาหารก็ดูเทียบค่านี้กับ Market cap ของหุ้นเลยก็ได้
ขอบคุณมากๆครับพี่ viim (ถือว่าเป็นพี่ทางความรู้นะครับ),

1. ผมพูดจากใจจริงว่าผมยังงงมากๆครับ ถ้าเกิดเราทำไปธรรมดาแบบที่พี่บอกคือ "เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน"
เราจะไม่ต้องไปบวกเงินสดและลบหนี้เหรอครับ

2. อย่างงี้แสดงว่าคำว่า FCF เนี่ยมันแล้วแต่ว่าเราจะใช้ตัวอะไรเหรอครับเป็นเกณฑ์ไม่ได้มีกฏตายตัวว่าเราเริ่มตัว FCF ก่อน prorate ไปข้างหน้ายังไง เพราะเหมือนกับว่า เราเริ่มด้วยตัวใดก็ได้ แต่ด้วยพื้นฐานที่เข้าใจเราต้องบวกกับหรือไม่ก็หักออกตามสมมติฐานขึ้นต้น

ขอบคุณมากๆครับที่ให้ความกระจ่าง
pop007
Verified User
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้

โพสต์ที่ 5

โพสต์

Model ของคุณสุมาอี้ จะใช้ FCF to Firm
ส่วนที่คุณไปเปิดดูตามเว็บผมเข้าใจว่าเขาใช้ FCF to equity
สองตัวนี้ำไม่เหมือนกัน แต่มูลค่าหุ้นสุดท้ายถ้าทำอย่างถูกต้องจะออกมาเท่ากัน
ผมอธิบายไม่เก่งก็เลยให้ Key word สั้นๆ ไปดูความหมายเองก่อนนะครับ
viim
Verified User
โพสต์: 551
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้

โพสต์ที่ 6

โพสต์

sammas เขียน:
viim เขียน:เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเห็นว่าเวลาคุณสุมาอี้เขาวิเคราะห์หา FCF นั้นเขาทำการปรับงบดุลเสียใหม่ ออกเป็น ทรัพย์สินดำเนินงาน (ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ) กับ ทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน ส่วนหนี้สินก็จะเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยและหนี้สินดำเนินงาน (เจ้าหนี้การค้า) สำหรับหนี้ที่มีดอกเบี้ย แยกออกมาต่างหาก และในฝั่งซ้ายของ B/S ก็แยกเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดออกมาก่อน หลังจากคำนวณหา DCF เสร็จแล้วมันก็หมายถึงกระแสเงินสดที่กิจการจะสามารถทำได้ทั้งหมดไปตลอดอย่างต่อเนื่อง ค่าที่ได้ต้องเอามาบวกเงินสดและลบหนี้ที่มีดอกเบี้ยออกไปแล้วค่อยนำมาหารจำนวนหุ้นทั้งหมดก็จะเป็นมูลค่าต่อหุ้น หรือถ้าจะไม่นำมาหารก็ดูเทียบค่านี้กับ Market cap ของหุ้นเลยก็ได้
ขอบคุณมากๆครับพี่ viim (ถือว่าเป็นพี่ทางความรู้นะครับ),

1. ผมพูดจากใจจริงว่าผมยังงงมากๆครับ ถ้าเกิดเราทำไปธรรมดาแบบที่พี่บอกคือ "เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน"
เราจะไม่ต้องไปบวกเงินสดและลบหนี้เหรอครับ

ถ้าดูจากสูตรและทำความเข้าใจสูตรจะเข้าใจขึ้นครับ
FCF = Normalized EBIT (1-T) + DA - CAPEX - deltaWC
เมื่อ Normalized EBIT = กำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษี ที่เกิดจากการดำเนินงานปกติของบริษัท กำไรพิเศษถ้ามีตัดออกก่อน
T = tax rate เช่น 30% ก็ป้อน 0.3
DA = ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย อยู่ในงบกระแสเงินสด
CAPEX = เงินลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ไม่เกี่ยวกับลงทุนอย่างอื่น เช่น ลงทุนซื้อหุ้นบริษัทอื่น
deltaWC = เงินทุนหมุนเวียนปีปัจจุบัน - เงินทุนหมุนเวียนปีก่อนหน้า

เงินสดที่มีในงบดุล ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงาน แต่เป็นสินทรัพย์ที่บริษัทมี ดังนั้นในการคำนวณเพื่อหาเงินที่เหลือจริงๆ (FCF) จาการดำเนินงานในแต่ละปีก็จะไม่เกี่ยวกับ cash ในงบดุล จึงต้องแยกออกไปก่อน แต่มันเป็น wealth ของบริษัท ณ เวลานั้น สำหรับ หนี้สินนั้นส่วนที่มีดอกเบี้ยมันไม่ใช่หนี้สินดำเนินงาน หนี้สินดำเนินงานหมายถึงเจ้าหนี้การค้่า ตั๋วเงินค้างจ่าย เป็นต้น แต่หนี้ที่มีดอกเบี้ยคือภาระผูกผันที่บริษัทมีจะต้องหักออกก่อนจึงจะได้มูลค่าสุทธิของกิจการ อย่างไรก็ตามข้อด้อยของ DCF ก็มีมากมาย เราไม่สามารถคำนวณค่าได้อย่างถูกต้อง เพราะมี input มากมายที่เราต้องเดา (ถึงแม้จะมีหลักการก็เถอะ) เช่น อัตราการเติบโต จำนวนปีที่เติบโต เงินลงทุนจริงๆ การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนในอนาคต เป็นต้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่คำนวณได้จะเป็นการประมาณคร่าวๆเท่านั้น

2. อย่างงี้แสดงว่าคำว่า FCF เนี่ยมันแล้วแต่ว่าเราจะใช้ตัวอะไรเหรอครับเป็นเกณฑ์ไม่ได้มีกฏตายตัวว่าเราเริ่มตัว FCF ก่อน prorate ไปข้างหน้ายังไง เพราะเหมือนกับว่า เราเริ่มด้วยตัวใดก็ได้ แต่ด้วยพื้นฐานที่เข้าใจเราต้องบวกกับหรือไม่ก็หักออกตามสมมติฐานขึ้นต้น

ขอบคุณมากๆครับที่ให้ความกระจ่าง
sammas
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับพี่ pop007 และ พี่viim
ผมเองคงต้องขอไปย่อยสิ่งที่พี่ๆแนะนำสักนิดนะครับ สมองช้า
ถ้ามีปัญหาผมจะขอปรึกษาอีกที ขอบคุณมากๆครับ
โพสต์โพสต์