การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 1
สวัสดีครับพี่ๆชาว thaivi ผมได้เห็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับข่าวที่จะมีกลุ่มทุนใหญ่จะเข้ามา take over กิจการของtta ผมอยากถามพี่ๆชาว thaivi ช่วยวิเคราะห์ครับว่า ถ้ามีการ take over กิจการจริงๆขึ้นมาแล้ว จะส่งผลดีกับตัวธุรกิจอย่างไรบ้างครับ แล้วหุ้นตัวนี้พอที่จะเป็นหุ้น vi ได้หรือปล่าวครับ คือประมาณว่าธุรกิจของเค้าจะมีอนาคตที่สดใสบ้างรึปล่าวครับ ขอบคุณสำหรับทุกๆคำตอบครับ
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 2
ส่วนนี้เป็นข่าวน่ะ tta น่ะครับ http://www.ryt9.com/s/iq05/1157540 http://www.ryt9.com/s/iq05/1157615
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 3
ผมว่า มันน่าจับตาดูเหมือนกันว่า ถ้ามีกลุ่มใหม่มาจริง ๆ เค้าจะทำอย่างไรกับบริษัทนี้ต่อไป
- Simply
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 5
ผมอ่านดูแล้วไม่ค่อยชอบวิธีที่ใช้เลย มันทะแม่งๆ ตั้งแต่ยื่นกระดาษใบเดียวแล้วแจ้งสิทธิ์ว่าให้ออก น่าจะมีหนังสือมอบสิทธิ์จากบุคคลที่ถือหุ้นทั้งหมดว่าให้คนนี้ใช้สิทธิ์แทน เท่าที่ผมเคยอ่านมาปกติ ถ้ามีการเข้ามาเป็นประธานบริษัทใหม่จริง ก็ต้องมีการลาออกของประธานกรรมการบริษัทคนเดิม...จริงๆใช้คำว่าปลด จะปลดได้ก็ต้องประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด แล้วหยั่งเสียงกัน จากนั้นมีการแต่งตั้งเลือกใหม่. ตลกดีบีบให้ออกกันนอกรอบก่อน แถมยังคุยว่าจะมีโครงการปั้นให้เป็นบริษัทอย่างเบิร์กไชน์ .....อาจจะเป็นเรื่องจริงก็ได้ รอดูกันก่อนากนั้น 10 พ.ค. 54 นายวิจิตร นายวีระ พร้อมกับ นายบี เตชะอุบล และ นายไมเคิล เฟอร์นานเดส มาพบบริษัท และมีนำกระดาษหนึ่งแผ่นว่ามีรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศที่ร่วมกันถือหุ้นบริษัท 30% โดยนายบี แจ้งว่าไม่อยากให้มีข่าวว่ามีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ เผยแพร่สู่สาธารณะ พร้อมกับล็อบบี้ให้กรรมการของบริษัท 3 คนลาออก ให้นายวิจิตรมาเป็นประธาน และนายไมเคิล เป็นกรรมการผู้จัดการ
และเสนอความเห็นอีกครั้งว่า ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ TTA เป็นธุรกิจ Investment company ธุรกิจที่ไม่น่าสนใจให้ขายออก และให้ดำเนินธุรกิจคล้ายกับบริษัท Berkshine Hathway Inc. ซึ่งหลังจากนั้นตนเองจึงได้ตัดสินใจปิดสมุดทะเบียนหุ้น ในขณะที่นายบีโทรมาเร่งเรื่องดังกล่าว
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 6
ประธานกลต.รับจ๊อบ!
นำทีมดีลเมกเกอร์TTA
:แฉเกมเทกโอเวอร์ปรปักษ์ “บี เตชะอุบล”รับไม่มีหุ้น
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2011
TTA เปิดตัวเดินเกมเทกโอเวอร์ฉาวโฉ่ “วีระ มานะคงตรีชีพ-บี เตชะอุบล” และ “วิจิตร สุพินิจ” ประธาน ก.ล.ต. ทำแสบที่สวมบทดีลเมกเกอร์เสียเอง ฟาก “จันทรจุฑา” อัดกลับ เอาแต่พูดรวบหุ้นได้ 30% แต่ไม่เคยมีหลักฐาน และโครงสร้างผู้ถือหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง “บี เตชะอุบล” รับไม่มีหุ้น ปัดให้สัมภาษณ์ดีลฉาว
ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีกระแสการเทกโอเวอร์บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA โดย ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีนายวีระ มานะคงตรีชีพ เป็นผู้เริ่มทำการติดต่อเป็นครั้งแรก
“วันที่ 3 พ.ค. นายวีระได้โทรหาผมและบอกว่าเป็นตัวแทนของวิจิตร สุพินิจ (ประธานกรรมการ ก.ล.ต.) เพื่อขอนัดทานข้าว ขณะนั้นผมกำลังอยู่ที่ต่างประเทศ จนวันที่ 9 พ.ค. ผมได้กลับมาและได้ทานข้าวกับนายวีระ และนายวิจิตร ที่โฟร์ซีซั่น พร้อมแจ้งว่าขณะนี้ได้มีการรวบรวมกลุ่มผู้ถือหุ้นมาได้แล้วถึง 30%” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
โดย ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวอีกว่า ฝ่ายนั้นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงบริษัท อาทิ การลดสัดส่วนธุรกิจที่ไม่ทำกำไร การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ ด้วยการให้นายอัศวิน คงสิริ ประธานกรรมการลาออก และให้นายวิจิตร รับหน้าที่ตำแหน่งแทน รวมถึงให้มีการเปลี่ยนตำแหน่งซีอีโออีกด้วย
“สิ่งที่เขาได้แจ้งมา ผมจึงกล่าวขอหารือกับทางคณะกรรมการบริษัทเสียก่อน และขอแสดงหลักฐานยืนยันว่าทางฝ่ายนั้นได้ถือหุ้นอยู่ 30% จริงหรือไม่” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
จากนั้นวันที่ 10 พฤษภาคม เวลา 17.00 น. นายวีระ นายวิจิตร นายบี เตชะอุบล และนายไมเคิล เฟอร์นันเดซ ได้ร่วมจัดประชุมกันที่บริษัทชั้น 7 พร้อมโชว์กระดาษ 1 แผ่น มีการระบุรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวน 30% โดยนายบี กล่าวอีกว่า ต้องการให้กรรมการลาออกจำนวน 3 คน และเปลี่ยนแปลงให้ TTA เป็นลักษณะ investment company พร้อมลดสัดส่วนการถือหุ้นบางธุรกิจ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ม.ล.จันทรจุฑา ตัดสินใจปิดสมุดทะเบียนเพื่อตรวจสอบรายชื่อการถือหุ้น
“ผ่านไปจนถึงวันที่ 16 พ.ค. เวลา 5 โมงเย็นที่โรงแรมคอนราด ทางคุณบีได้นัดพบกับผมและมีคุณฐิติมา ฝ่ายการเงิน โดยกล่าวว่า ขณะนี้ได้คอนโทรลหุ้นแล้ว 30% ขอให้นายอัศวิน คงศิริ นายศักดิ์ เอื้อชูเกียรติ นายสตีเฟ่น วูดรุฟ ฟอร์ดแฮมลาออก หากไม่ออกจะมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้ลดสัดส่วนธุรกิจไม่ทำกำไร พร้อมยื่นข้อเสนอให้สินทรัพย์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ TTA และต้องการได้ข้อสรุปโดยเร็ว แต่นับจากนั้นผมก็ไม่เคยได้รับการติดต่อกลับ” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
ถัดมาวันที่ 18 พฤษภาคม ม.ล.จันทรจุฑากล่าวว่า วันนี้ได้รับรายชื่อผู้ถือหุ้นงวดปิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปรากฏว่า เมื่อนำไปเทียบกับช่วงของเดือนมีนาคม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น สิ่งที่บริษัทได้ดำเนินการทำอยู่ในขณะนี้ คือ การตรวจสอบข้อเท็จจริงและปิดสมุดทะเบียนเพื่อเทียบรายชื่อ และในปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นต่างชาติอยู่ประมาณ 10% และของไทยเอ็นวีดีอาร์ 4%
“ผมขอสรุปว่า เราและคณะทีมงานเป็นทีมมืออาชีพ หากผู้ถือหุ้นเข้าเสนออะไรมา เราก็พร้อมพิจารณาหากสิ่งนั้นเป็นประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย แต่ในวันนี้ยังไม่มีอะไรที่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่เคยคอนเฟิร์ม ไม่เคยมีเอกสารอะไรเลย” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
โดยผู้สื่อข่าวได้สอบถามต่อว่า มีแนวคิดที่จะเข้าซื้อหุ้นเพื่อป้องกันการเทกโอเวอร์หรือไม่ ทาง ม.ล.จันทรจุฑาได้กล่าวว่า ไม่ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ แต่จากนี้ไปยังคงพร้อมที่จับตาดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมมุ่งหน้าบริหารธุรกิจให้ดี เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ส่วนประเด็นที่มีคนจากทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือกระแสการยื่นเอกสารเปิดประชุมวิสามัญ ทางบริษัทจะดำเนินการตามที่กฎหมายระบุไว้ นอกจากนี้ ม.ล.จันทรจุฑา ยังยืนยันว่า ไม่มีแผนที่ออกหุ้นเพิ่มทุนหรือออกวอร์แรนต์
นายบี เตชะอุบล ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูก ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวถึงการแถลงข่าววันนี้ ได้กล่าวผ่าน “รอยเตอร์” ว่า โดยส่วนตัวแล้ว นับตั้งแต่เข้ามาเป็นนักลงทุน และนักธุรกิจยังไม่เคยเข้าไปซื้อหุ้น TTA เลย อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ ม.ล.จันทรจุฑา ลำดับเหตุการณ์ให้สื่อมวลชนฟังหรือไม่ นายบี กล่าวแต่เพียงสั้นๆ ว่า "ขอไม่ comment ตอนนี้ยังพูดถึงเรื่องนี้ไม่ได้"
ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวถึงประเด็นผลการดำเนินงานของบริษัทที่ปรับตัวลดลงและมีผลขาดทุน ม.ล.จันทรจุฑา ชี้แจงว่า เป็นผลมาจากภาวะอุตสาหกรรมเดินเรือที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงธุรกิจใหม่ที่เข้าไปลงทุนอย่างบริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) หรือ UMS อยู่ในระหว่างการปรับรูปแบบธุรกิจ ดังนั้น ภาพรวมทั้งปีจะมีรายได้ปรับตัวลดลงประมาณ 20% จากปีก่อนที่ได้ 19,110 ล้านบาท
“ที่ผ่านมาหากเราไม่ตัดสินใจกระจายรูปแบบธุรกิจและยึดอยู่แต่การเดินเรือ ผมเชื่อเลยว่าในวันนี้จะมีผลขาดทุนมากกว่าที่เห็นอีก ส่วน UMS ขณะนี้เราอยู่ในระหว่างการปรับเคลียร์สต๊อกถ่านหินให้มีความเหมาะสม” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
อย่างไรก็ตามภาพรวมทุกอย่างจะมีทิศทางดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยเฉพาะธุรกิจถ่านหิน ซึ่งในปัจจุบันบริษัทมีโครงสร้างรายได้หลักอยู่ 3 ธุรกิจ ได้แก่ ขนส่ง พลังงาน สาธารณูปโภค และพยายามบริหารสัดส่วนรายได้ให้มีความสมดุลกัน ส่วนจุดคุ้มทุนกับธุรกิจใหม่ที่ได้ลงทุนไปตลอด 2 ปี ขณะนี้ บางส่วนได้ถึงจุดคุ้มทุนแล้ว ส่วน UMS จะใช้เวลา 5 ปี
ที่มา : http://www.kaohoon.com/daily/index.php? ... e&id=10999
นำทีมดีลเมกเกอร์TTA
:แฉเกมเทกโอเวอร์ปรปักษ์ “บี เตชะอุบล”รับไม่มีหุ้น
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2011
TTA เปิดตัวเดินเกมเทกโอเวอร์ฉาวโฉ่ “วีระ มานะคงตรีชีพ-บี เตชะอุบล” และ “วิจิตร สุพินิจ” ประธาน ก.ล.ต. ทำแสบที่สวมบทดีลเมกเกอร์เสียเอง ฟาก “จันทรจุฑา” อัดกลับ เอาแต่พูดรวบหุ้นได้ 30% แต่ไม่เคยมีหลักฐาน และโครงสร้างผู้ถือหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง “บี เตชะอุบล” รับไม่มีหุ้น ปัดให้สัมภาษณ์ดีลฉาว
ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีกระแสการเทกโอเวอร์บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA โดย ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีนายวีระ มานะคงตรีชีพ เป็นผู้เริ่มทำการติดต่อเป็นครั้งแรก
“วันที่ 3 พ.ค. นายวีระได้โทรหาผมและบอกว่าเป็นตัวแทนของวิจิตร สุพินิจ (ประธานกรรมการ ก.ล.ต.) เพื่อขอนัดทานข้าว ขณะนั้นผมกำลังอยู่ที่ต่างประเทศ จนวันที่ 9 พ.ค. ผมได้กลับมาและได้ทานข้าวกับนายวีระ และนายวิจิตร ที่โฟร์ซีซั่น พร้อมแจ้งว่าขณะนี้ได้มีการรวบรวมกลุ่มผู้ถือหุ้นมาได้แล้วถึง 30%” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
โดย ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวอีกว่า ฝ่ายนั้นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงบริษัท อาทิ การลดสัดส่วนธุรกิจที่ไม่ทำกำไร การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ ด้วยการให้นายอัศวิน คงสิริ ประธานกรรมการลาออก และให้นายวิจิตร รับหน้าที่ตำแหน่งแทน รวมถึงให้มีการเปลี่ยนตำแหน่งซีอีโออีกด้วย
“สิ่งที่เขาได้แจ้งมา ผมจึงกล่าวขอหารือกับทางคณะกรรมการบริษัทเสียก่อน และขอแสดงหลักฐานยืนยันว่าทางฝ่ายนั้นได้ถือหุ้นอยู่ 30% จริงหรือไม่” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
จากนั้นวันที่ 10 พฤษภาคม เวลา 17.00 น. นายวีระ นายวิจิตร นายบี เตชะอุบล และนายไมเคิล เฟอร์นันเดซ ได้ร่วมจัดประชุมกันที่บริษัทชั้น 7 พร้อมโชว์กระดาษ 1 แผ่น มีการระบุรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวน 30% โดยนายบี กล่าวอีกว่า ต้องการให้กรรมการลาออกจำนวน 3 คน และเปลี่ยนแปลงให้ TTA เป็นลักษณะ investment company พร้อมลดสัดส่วนการถือหุ้นบางธุรกิจ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ม.ล.จันทรจุฑา ตัดสินใจปิดสมุดทะเบียนเพื่อตรวจสอบรายชื่อการถือหุ้น
“ผ่านไปจนถึงวันที่ 16 พ.ค. เวลา 5 โมงเย็นที่โรงแรมคอนราด ทางคุณบีได้นัดพบกับผมและมีคุณฐิติมา ฝ่ายการเงิน โดยกล่าวว่า ขณะนี้ได้คอนโทรลหุ้นแล้ว 30% ขอให้นายอัศวิน คงศิริ นายศักดิ์ เอื้อชูเกียรติ นายสตีเฟ่น วูดรุฟ ฟอร์ดแฮมลาออก หากไม่ออกจะมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้ลดสัดส่วนธุรกิจไม่ทำกำไร พร้อมยื่นข้อเสนอให้สินทรัพย์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ TTA และต้องการได้ข้อสรุปโดยเร็ว แต่นับจากนั้นผมก็ไม่เคยได้รับการติดต่อกลับ” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
ถัดมาวันที่ 18 พฤษภาคม ม.ล.จันทรจุฑากล่าวว่า วันนี้ได้รับรายชื่อผู้ถือหุ้นงวดปิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปรากฏว่า เมื่อนำไปเทียบกับช่วงของเดือนมีนาคม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น สิ่งที่บริษัทได้ดำเนินการทำอยู่ในขณะนี้ คือ การตรวจสอบข้อเท็จจริงและปิดสมุดทะเบียนเพื่อเทียบรายชื่อ และในปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นต่างชาติอยู่ประมาณ 10% และของไทยเอ็นวีดีอาร์ 4%
“ผมขอสรุปว่า เราและคณะทีมงานเป็นทีมมืออาชีพ หากผู้ถือหุ้นเข้าเสนออะไรมา เราก็พร้อมพิจารณาหากสิ่งนั้นเป็นประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย แต่ในวันนี้ยังไม่มีอะไรที่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่เคยคอนเฟิร์ม ไม่เคยมีเอกสารอะไรเลย” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
โดยผู้สื่อข่าวได้สอบถามต่อว่า มีแนวคิดที่จะเข้าซื้อหุ้นเพื่อป้องกันการเทกโอเวอร์หรือไม่ ทาง ม.ล.จันทรจุฑาได้กล่าวว่า ไม่ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ แต่จากนี้ไปยังคงพร้อมที่จับตาดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมมุ่งหน้าบริหารธุรกิจให้ดี เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ส่วนประเด็นที่มีคนจากทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือกระแสการยื่นเอกสารเปิดประชุมวิสามัญ ทางบริษัทจะดำเนินการตามที่กฎหมายระบุไว้ นอกจากนี้ ม.ล.จันทรจุฑา ยังยืนยันว่า ไม่มีแผนที่ออกหุ้นเพิ่มทุนหรือออกวอร์แรนต์
นายบี เตชะอุบล ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูก ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวถึงการแถลงข่าววันนี้ ได้กล่าวผ่าน “รอยเตอร์” ว่า โดยส่วนตัวแล้ว นับตั้งแต่เข้ามาเป็นนักลงทุน และนักธุรกิจยังไม่เคยเข้าไปซื้อหุ้น TTA เลย อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ ม.ล.จันทรจุฑา ลำดับเหตุการณ์ให้สื่อมวลชนฟังหรือไม่ นายบี กล่าวแต่เพียงสั้นๆ ว่า "ขอไม่ comment ตอนนี้ยังพูดถึงเรื่องนี้ไม่ได้"
ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวถึงประเด็นผลการดำเนินงานของบริษัทที่ปรับตัวลดลงและมีผลขาดทุน ม.ล.จันทรจุฑา ชี้แจงว่า เป็นผลมาจากภาวะอุตสาหกรรมเดินเรือที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงธุรกิจใหม่ที่เข้าไปลงทุนอย่างบริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) หรือ UMS อยู่ในระหว่างการปรับรูปแบบธุรกิจ ดังนั้น ภาพรวมทั้งปีจะมีรายได้ปรับตัวลดลงประมาณ 20% จากปีก่อนที่ได้ 19,110 ล้านบาท
“ที่ผ่านมาหากเราไม่ตัดสินใจกระจายรูปแบบธุรกิจและยึดอยู่แต่การเดินเรือ ผมเชื่อเลยว่าในวันนี้จะมีผลขาดทุนมากกว่าที่เห็นอีก ส่วน UMS ขณะนี้เราอยู่ในระหว่างการปรับเคลียร์สต๊อกถ่านหินให้มีความเหมาะสม” ม.ล.จันทรจุฑา กล่าว
อย่างไรก็ตามภาพรวมทุกอย่างจะมีทิศทางดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยเฉพาะธุรกิจถ่านหิน ซึ่งในปัจจุบันบริษัทมีโครงสร้างรายได้หลักอยู่ 3 ธุรกิจ ได้แก่ ขนส่ง พลังงาน สาธารณูปโภค และพยายามบริหารสัดส่วนรายได้ให้มีความสมดุลกัน ส่วนจุดคุ้มทุนกับธุรกิจใหม่ที่ได้ลงทุนไปตลอด 2 ปี ขณะนี้ บางส่วนได้ถึงจุดคุ้มทุนแล้ว ส่วน UMS จะใช้เวลา 5 ปี
ที่มา : http://www.kaohoon.com/daily/index.php? ... e&id=10999
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- ^^
- Verified User
- โพสต์: 519
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 8
ผมก็เหมือนกัน ชอบดูประวัติ บริษัท คนที่เกี่ยวข้องด้วย
วีระ มานะตรีคงชีพ - gotomanager.com - นิตยสารผู้จัดการ 360°ตำรวจสอบสวนกลาง บุกรวบตัว "วีระ มานะคงตรีชีพ" อดีตผู้บริหารบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ซิทก้า จำกัด (มหาชน) ฐานแสวงหาประโยชน์จาก บริษัทโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ...
www.gotomanager.com/resources/default.aspx?id=4649
วีระ มานะตรีคงชีพ - gotomanager.com - นิตยสารผู้จัดการ 360°ตำรวจสอบสวนกลาง บุกรวบตัว "วีระ มานะคงตรีชีพ" อดีตผู้บริหารบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ซิทก้า จำกัด (มหาชน) ฐานแสวงหาประโยชน์จาก บริษัทโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ...
www.gotomanager.com/resources/default.aspx?id=4649
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 9
ครั้งแรกที่ผมได้ข่าว
ได้มาจากญาติที่มีเพื่อนเป็นผู้บริหารหนังสือพิมพ์ธุรกิจ
เป็นข่าวที่ทำให้ผมเข้าใจว่าเป็นอินไซต์(น้อยคนที่จะได้ข่าวนี้)
เป็นการเทคโอเวอร์โดยปรปักษ์
เกมแบบนี้ ไม่ต้องคิดซื้อให้เร็วและมากที่สุด
ผมตั้งใจว่าผมลุยแน่ๆ แม้จะไม่มีตัง
ไม่เป็นไรซื้อไปก่อน แล้วขายหุ้นบางตัวออก
แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวบางอย่างผมคิดว่าไม่เอาดีกว่า
จนวันนี้ผมมาอ่านกระทู้นี้
ผมก็ฉุกคิดขึ้นว่าเป็นไปได้ไม๊
นี่คือการสร้าง STORY ว่าจะมีการเทคโอเวอร์โดยปรปักษ์
ส่วนผลที่จะเกิดนั้น ก็ลองจินตนาการดู
ส่วนตัวละครทั้ง 3 นั้น ก็ต้องตรวจประวัติว่าเป็นคนอย่างไร
มีโอกาสมากน้อยเพียงไรในการเขียนสคริปเรื่องแบบนี้
ได้มาจากญาติที่มีเพื่อนเป็นผู้บริหารหนังสือพิมพ์ธุรกิจ
เป็นข่าวที่ทำให้ผมเข้าใจว่าเป็นอินไซต์(น้อยคนที่จะได้ข่าวนี้)
เป็นการเทคโอเวอร์โดยปรปักษ์
เกมแบบนี้ ไม่ต้องคิดซื้อให้เร็วและมากที่สุด
ผมตั้งใจว่าผมลุยแน่ๆ แม้จะไม่มีตัง
ไม่เป็นไรซื้อไปก่อน แล้วขายหุ้นบางตัวออก
แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวบางอย่างผมคิดว่าไม่เอาดีกว่า
จนวันนี้ผมมาอ่านกระทู้นี้
ผมก็ฉุกคิดขึ้นว่าเป็นไปได้ไม๊
นี่คือการสร้าง STORY ว่าจะมีการเทคโอเวอร์โดยปรปักษ์
ส่วนผลที่จะเกิดนั้น ก็ลองจินตนาการดู
ส่วนตัวละครทั้ง 3 นั้น ก็ต้องตรวจประวัติว่าเป็นคนอย่างไร
มีโอกาสมากน้อยเพียงไรในการเขียนสคริปเรื่องแบบนี้
Blueplanet
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 10
blueplanet เขียน:ครั้งแรกที่ผมได้ข่าว
ได้มาจากญาติที่มีเพื่อนเป็นผู้บริหารหนังสือพิมพ์ธุรกิจ
เป็นข่าวที่ทำให้ผมเข้าใจว่าเป็นอินไซต์(น้อยคนที่จะได้ข่าวนี้)
เป็นการเทคโอเวอร์โดยปรปักษ์
เกมแบบนี้ ไม่ต้องคิดซื้อให้เร็วและมากที่สุด
ผมตั้งใจว่าผมลุยแน่ๆ แม้จะไม่มีตัง
ไม่เป็นไรซื้อไปก่อน แล้วขายหุ้นบางตัวออก
แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวบางอย่างผมคิดว่าไม่เอาดีกว่า
จนวันนี้ผมมาอ่านกระทู้นี้
ผมก็ฉุกคิดขึ้นว่าเป็นไปได้ไม๊
นี่คือการสร้าง STORY ว่าจะมีการเทคโอเวอร์โดยปรปักษ์
ส่วนผลที่จะเกิดนั้น ก็ลองจินตนาการดู
ส่วนตัวละครทั้ง 3 นั้น ก็ต้องตรวจประวัติว่าเป็นคนอย่างไร
มีโอกาสมากน้อยเพียงไรในการเขียนสคริปเรื่องแบบนี้
ผมอ่านแล้วก้อยังไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ งง ช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจมากกว่านี้ได้ไหมครับ ผมยังอ่อนประสบการณ์มากจิงๆคับ ว่าตกลงแล้วเค้าสร้างเรื่องขึ้นมาหลอกเราว่านามสกุลี้จะเข้ามาเทกโอเวอร์แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ ใช่ไหมครับแล้วอย่างงั้นใครกันที่จะเข้ามาทำอะไรกันแน่กับtta ขอบคุณครับ
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 11
ข่าวล่าสุด จาก โพสต์ทูเดย์
"บี"จ่อเปิดประชุมหุ้นTTA
29 พฤษภาคม 2554 เวลา 12:41 น. |เปิดอ่าน 289 | ความคิดเห็น 0
กลุ่มบี เตชะอุบล รวบรวมหุ้น 10% เตรียมเปิดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ตลาดหลักทรัพย์เตือนมอบฉันทะ
แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ถือหุ้น บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) เปิดเผยว่า นายบี เตชะอุบล และนายวิจิตร สุพินิจ ประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้น TTA แต่เข้าไปเป็นตัวกลาง เพื่อช่วยเหลือกลุ่มทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในหุ้น TTA และประสบปัญหาขาดทุน
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่จะเดินเรื่องต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้หรือไม่ ซึ่งล่าสุดมีข่าวว่าสามารถรวบรวมหุ้นได้ขั้นต่ำ 10% เพื่อเปิดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้แล้ว และยื่นหนังสือขอเปิดประชุมไปที่คณะกรรมการ TTA คาดว่านับจากวันยื่นหนังสือสามารถขอเปิดประชุมได้ภายใน 15 วัน
“บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทุกบริษัทย่อมตกเป็นเป้าถูกโจมตี หรือแม้กระทั่งถูกเทกโอเวอร์ ถ้าบริหารงานไม่ดี ผิดพลาด ใช้เงินฟุ่มเฟือย ผู้ถือหุ้นมีสิทธิที่จะตอบโต้” แหล่งข่าวเปิดเผย
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลัก ทรัพย์ กล่าวว่า กรณี TTA ที่เกิดขึ้นกระทบต่อความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทยโดยรวม ที่มีกลุ่มบุคคลใช้พฤติกรรมกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) และการซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร
ดังนั้น ทางตลาดหลักทรัพย์จะรวบรวมข้อมูล และประสานงานกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อตรวจสอบเรื่องนี้เต็มที่และให้มีความชัดเจนโดยเร็ว
“ตลาดจะรวบรวมข้อมูลผู้ถือหุ้น และข้อมูลการซื้อขายหุ้นของผู้เกี่ยวข้อง จัดส่งให้ ก.ล.ต.ใช้ประกอบการ พิจารณา โดยเฉพาะการจัดประชุมผู้ถือหุ้น หากจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้”
อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้ถือหุ้นของ TTA ทำความเข้าใจและใช้ความระมัดระวังในการมอบฉันทะแก่บุคคลใดๆ เพราะในการประชุมผู้ถือหุ้นอาจมีการเสนอวาระอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น และไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ผู้ถือ หุ้นได้มอบอำนาจให้
ด้านสำนักงาน ก.ล.ต. ออกแถลงการณ์เรื่อง TTA โดยนาย|ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อข่าวดังกล่าว โดยขณะนี้กำลังตรวจสอบข้อมูลการถือหุ้นของ TTA และจะต้องให้ผู้ที่มีชื่อตามที่ถูกกล่าวอ้างชี้แจงเรื่องการถือหุ้น เนื่องจากหากถือหุ้นหรือประกาศว่าจะเข้าถือหุ้น 25% ขึ้นไป และมีความตั้งใจกระทำการร่วมกันในอำนาจควบคุมกิจการของ TTA บุคคลเหล่านั้นมีหน้าที่ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทุกราย และมีหน้าที่รายงานการถือหุ้นตามมาตรา 247 และมาตรา 246 ตามลำดับ
สำหรับกรณีเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมเกี่ยวกับกรณีของนายวิจิตรนั้น ก.ล.ต.จะพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยขอยืนยันว่า จะไม่มีการเลือกปฏิบัติ หากพบการกระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์
"บี"จ่อเปิดประชุมหุ้นTTA
29 พฤษภาคม 2554 เวลา 12:41 น. |เปิดอ่าน 289 | ความคิดเห็น 0
กลุ่มบี เตชะอุบล รวบรวมหุ้น 10% เตรียมเปิดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ตลาดหลักทรัพย์เตือนมอบฉันทะ
แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ถือหุ้น บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) เปิดเผยว่า นายบี เตชะอุบล และนายวิจิตร สุพินิจ ประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้น TTA แต่เข้าไปเป็นตัวกลาง เพื่อช่วยเหลือกลุ่มทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในหุ้น TTA และประสบปัญหาขาดทุน
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่จะเดินเรื่องต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้หรือไม่ ซึ่งล่าสุดมีข่าวว่าสามารถรวบรวมหุ้นได้ขั้นต่ำ 10% เพื่อเปิดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้แล้ว และยื่นหนังสือขอเปิดประชุมไปที่คณะกรรมการ TTA คาดว่านับจากวันยื่นหนังสือสามารถขอเปิดประชุมได้ภายใน 15 วัน
“บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทุกบริษัทย่อมตกเป็นเป้าถูกโจมตี หรือแม้กระทั่งถูกเทกโอเวอร์ ถ้าบริหารงานไม่ดี ผิดพลาด ใช้เงินฟุ่มเฟือย ผู้ถือหุ้นมีสิทธิที่จะตอบโต้” แหล่งข่าวเปิดเผย
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการตลาดหลัก ทรัพย์ กล่าวว่า กรณี TTA ที่เกิดขึ้นกระทบต่อความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทยโดยรวม ที่มีกลุ่มบุคคลใช้พฤติกรรมกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) และการซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร
ดังนั้น ทางตลาดหลักทรัพย์จะรวบรวมข้อมูล และประสานงานกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อตรวจสอบเรื่องนี้เต็มที่และให้มีความชัดเจนโดยเร็ว
“ตลาดจะรวบรวมข้อมูลผู้ถือหุ้น และข้อมูลการซื้อขายหุ้นของผู้เกี่ยวข้อง จัดส่งให้ ก.ล.ต.ใช้ประกอบการ พิจารณา โดยเฉพาะการจัดประชุมผู้ถือหุ้น หากจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้”
อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้ถือหุ้นของ TTA ทำความเข้าใจและใช้ความระมัดระวังในการมอบฉันทะแก่บุคคลใดๆ เพราะในการประชุมผู้ถือหุ้นอาจมีการเสนอวาระอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น และไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ผู้ถือ หุ้นได้มอบอำนาจให้
ด้านสำนักงาน ก.ล.ต. ออกแถลงการณ์เรื่อง TTA โดยนาย|ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อข่าวดังกล่าว โดยขณะนี้กำลังตรวจสอบข้อมูลการถือหุ้นของ TTA และจะต้องให้ผู้ที่มีชื่อตามที่ถูกกล่าวอ้างชี้แจงเรื่องการถือหุ้น เนื่องจากหากถือหุ้นหรือประกาศว่าจะเข้าถือหุ้น 25% ขึ้นไป และมีความตั้งใจกระทำการร่วมกันในอำนาจควบคุมกิจการของ TTA บุคคลเหล่านั้นมีหน้าที่ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทุกราย และมีหน้าที่รายงานการถือหุ้นตามมาตรา 247 และมาตรา 246 ตามลำดับ
สำหรับกรณีเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมเกี่ยวกับกรณีของนายวิจิตรนั้น ก.ล.ต.จะพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยขอยืนยันว่า จะไม่มีการเลือกปฏิบัติ หากพบการกระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 12
แหล่งข่าวจากกลุ่มผู้ถือหุ้น บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) เปิดเผยว่า นายบี เตชะอุบล และนายวิจิตร สุพินิจ ประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้น TTA แต่เข้าไปเป็นตัวกลาง เพื่อช่วยเหลือกลุ่มทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในหุ้น TTA และประสบปัญหาขาดทุน
แสดงว่า กลุ่มเตชะอุบล ไม่ได้จะเข้ามาtakeoverตามข่าวที่ออกสื่อน่ะสิครับ แล้วอย่างงั้นเป็นใครกัน
แสดงว่า กลุ่มเตชะอุบล ไม่ได้จะเข้ามาtakeoverตามข่าวที่ออกสื่อน่ะสิครับ แล้วอย่างงั้นเป็นใครกัน
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 13
ja adopt business model kong berkshire... why TTA...
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 475
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 14
วันที่ 30 พฤษภาคม 2554 01:00
TTAจาก 'ผู้ล่า' เป็นผู้ 'ถูกล่า' เกมเสี่ยง 'เตชะอุบล Family'
วิธีการเข้าเทคโอเวอร์ TTA ของ 'เตชะอุบล Family' ถ้ายึดโมเดล 'บล.แอ๊ดคินซัน-บมจ.ดราก้อนวัน' นับเป็นความเสี่ยงที่ 'ได้' อาจไม่คุ้ม 'เสีย'
ยังไม่ทันหงายไพ่ "เผด็จศึก" แค่แง้มหน้าไพ่ วิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ ก.ล.ต.คนปัจจุบัน อดีตประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วัย 70 ปี ก็เอาเกียรติยศชื่อเสียงที่สร้างมาทั้งชีวิตมาวาง "เดิมพัน" กับเกมที่ "ได้" ไม่คุ้ม "เสีย"
วีระ มานะคงตรีชีพ อดีตซีอีโอ บงล.ซิทก้า 1 ใน 56 ไฟแนนซ์ที่ถูกแบงก์ชาติสั่งปิดกิจการ เป็นผู้บริหารหนุ่มที่มีความสามารถสูงน่ายกย่องคนหนึ่ง แต่ชีวิตในอดีตเคยผิดพลาดกู้ยืมเงินโดยรับซื้อลดตั๋วแลกเงิน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ และให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทในเครือโดยไม่วิเคราะห์ฐานะทางการเงินและไม่มีการเรียกหลักประกัน เป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายเป็นเงิน 415.70 ล้านบาท เหตุเกิดระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2538
วันนี้ วีระ มีอายุครบ 54 ปียังมีเวลาสร้างบารมีอีกยาวไกล ที่ผ่านมาก็ผันตัวเองมาเป็นคอลัมนิสต์ นสพ.ไทยโพสต์ "คอลัมน์กระจกหักมุม" กำลังสร้างชื่อเสียงเตรียมกลับมาอย่างเต็มภาคภูมิ แต่เขาก็พลาดอีกครั้งเดินเกมทะเล่อทะล่าหวังหักด้ามพร้าด้วยเข่า เป็นการเดินเกมที่ "ได้" ไม่คุ้ม "เสีย"
บี เตชะอุบล บุตรชายคนโต "เสี่ยไมค์" สดาวุธ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร บล.คันทรี่ กรุ๊ป เป็นผู้บริหารหนุ่มที่เก่งและอนาคตไกล บีถูกพ่อตั้งความหวังให้กลับมาสร้างอาณาจักรหมื่นล้าน "คันทรี่ กรุ๊ป" ที่เคยล้มไปเมื่อครั้งวิกฤติปี 2540 เด็กหนุ่มคนนี้จึงมีความทะเยอทะยานและเก็บเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไว้ในใจตลอดเวลา รอวันเวลาที่จะกลับมาสร้างความภาคภูมิใจให้กับครอบครัวในฐานะ "ลูกชายคนโต"
บี พลาดที่เข้าไปพัวพันกับหุ้น IEC ที่หวังสร้างความร่ำรวยให้อย่างรวดเร็ว เขาถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษพบหลักฐานที่เชื่อได้ว่าเมื่อปี 2549 บีซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือเบียดบังเอาทรัพย์สินของ IEC ไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่น โดยให้ IEC ทำสัญญาขอใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งน่าเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับบี เป็นเหตุให้ IEC ต้องชำระเงินให้แก่บริษัทดังกล่าว 60.5 ล้านบาท โดยที่ IEC ไม่ได้รับประโยชน์
ผลพวงจากคดีทำให้บี ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) กรรมการบริหาร และกรรมการ บล.คันทรี่ กรุ๊ป ทุกตำแหน่งมีผลตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2553 กลายเป็น "ส้มหล่น" ของ ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ นอกจากนี้ยังทำให้เกมเทคโอเวอร์ บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) ที่เตชะอุบล Family ต้องการเข้าไป "ฮุบ" (แบบไม่เป็นมิตร) ก็ไม่เป็นไปตามแผน สรุปว่าก็เป็นการเดินเกมที่ "ได้" ไม่คุ้ม "เสีย"
บทสรุปที่ใครหลายคนอาจจะ "ลืม" ไปก็คือ วัฒนธรรมแบบ "พี่ไทย" ต่างจากฝรั่งอย่างสิ้นเชิงเรามีความโอบอ้อมอารีช่วยเหลือผู้ที่ "ถูกรังแก" และมองผู้ที่รังแกคนอื่นเป็น "มาร" ถ้าผู้ถูกรังแกนั้นพิสูจน์ให้คนในสังคมประจักษ์ได้ว่า เขาเป็น "คนดี" หรือ "บริษัทที่ดีของสังคม"
ทำไม! การเทคโอเวอร์ "มติชน" แบบไม่เป็นมิตรถึงไม่สำเร็จ ทำไม! เครือเนชั่น ถึงรอดพ้นเงื้อมมือนายทุนที่ต้องการเข้ามาแทรกแซงทั้งที่ถือหุ้นน้อยกว่ากันเยอะ นั่นเพราะวัฒนธรรมแบบ "พี่ไทย" ต่างจากฝรั่งอย่างสิ้นเชิง
เกมที่ เตชะอุบล Family จะเข้ามาเผด็จศึก บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) หรือ บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) เหมือนที่เคยเผด็จศึก บล.แอ๊ดคินซัน (ASL) (ปัจจุบันคือ บล.คันทรี่ กรุ๊ป) ที่ช่วงหนึ่งเคยอยู่ภายใต้อิทธิพล สอง วัชรศรีโรจน์ และกลุ่มคิ้วคชา หรือเผด็จศึก บมจ.ดราก้อนวัน (D1) (ปัจจุบันคือ บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์) ของ จเรรัฐ ปิงคลาศัย จึง "ไม่หมู" อย่างที่คิด
"หม่อมไอซ์" ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) ผู้บริหารหนุ่มที่ดูตรงไปตรงมา เหมือนไม่มีพิษสง เป็นผู้บริหารมืออาชีพไม่มาข้องแวะหาประโยชน์จากหุ้น TTA เปิดแถลงข่าวด่วน! บ่ายโมงวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 "แฉเกม" ของฝ่ายตรงข้ามที่จ้องเข้ามา "ฮุบ" แบบไม่เป็นมิตร เกมนี้จึง "พลิก" ในชั่วข้ามคืน โดยที่ไม่ต้องเตรียมเงิน "พันล้าน" ไปแย่งซื้อหุ้น TTA ในตลาดหุ้น แถมยังมี "ผู้หลักผู้ใหญ่" หลายคนที่เห็นอกเห็นใจ
ความ "ชนะ" ที่ได้มาโดยการโต้แย้งเบียดเบียน แม้จะได้มาก็คือ "ความว่างเปล่า" เฉกเช่น "คนฉลาด" บางครั้งก็ผิดพลาดเพราะ "ความฉลาด" ของตัวเอง ผู้ที่รู้จัก "พอ" จะไม่ "ยุ่งยาก" เพราะผลประโยชน์ ผู้ที่สะสม "ศีลธรรม" ไม่มีวัน "ตกอับ"
เปิดเผย "ตัวละคร" อาคันตุกะยาม "รัตติกาล"
กระดาษแผ่นเดียวของ "อาคันตุกะ" ยาม "รัตติกาล" อ้างว่าเข้าเก็บหุ้น TTA ได้แล้ว 30% ถือมาต่อรองกับ "หม่อมไอซ์" ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต เพื่อขอเปลี่ยนตัว อัศวิน คงสิริ ประธานกรรมการ TTA พร้อมแจ้งว่าไม่ต้องการให้ข่าวเปิดเผยต่อสาธารณะ (สื่อมวลชน) และอยากให้บริษัทเปลี่ยนเป็นบริษัทเพื่อการลงทุน (Investment Company) คล้ายกับ Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์
นอกจากนี้ยังล็อบบี้ให้ ม.ล.จันทรจุฑา ไปกดดันคณะกรรมการบริษัทให้ลาออก 3 คน ประกอบด้วย อัศวิน คงศิริ, ศักดิ์ เอื้อชูเกียรติ และ สตีเฟ่น วูดรุฟ ฟอร์ หากไม่ลาออกกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมการทั้งหมด และให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจเดินเรือ โดยอ้างว่าทางกลุ่มนี้สามารถหาสินทรัพย์มาขายให้ TTA เพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทได้ในอนาคต
วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ม.ล.จันทรจุฑา ได้รับโทรศัพท์จาก วีระ มานะคงตรีชีพ อ้างว่าเป็นตัวแทนของ วิจิตร สุพินิจ ขอเข้าพบ ขณะนั้น ม.ล.จันทรจุฑา อยู่ที่ประเทศอังกฤษจึงขอรับนัดเป็นวันที่ 9 พฤษภาคม 2554
วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ม.ล.จันทรจุฑา เดินทางไปพบกับ วีระ มานะคงตรีชีพ และ วิจิตร สุพินิจ ที่ โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ได้รับแจ้งว่าได้มีกลุ่มนักลงทุนรวบรวมหุ้น TTA ได้ 30% ต้องการให้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท เสนอให้ วิจิตร สุพินิจ เป็นแทน อัศวิน คงศิริ และขอเปลี่ยนตำแหน่ง "ซีอีโอ" ซึ่ง ม.ล.จันทรจุฑาแจ้งว่าต้องไปหารือกันในบอร์ดก่อน พร้อมขอหลักฐานการถือหุ้นดังกล่าว
วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 วิจิตร สุพินิจ, บี เตชะอุบล และ ไมเคิล เฟอร์นันเดซ เดินทางมาที่บริษัท พร้อมกับรายชื่อผู้ถือหุ้น 1 แผ่น แจ้งกับ ม.ล.จันทรจุฑา ว่าไม่ต้องการให้ข่าวกับสาธารณชน พยายามล็อบบี้ให้ อัศวิน คงศิริ ลาออกและเปลี่ยน "ซีอีโอ" เป็น ไมเคิล เฟอร์นันเดซ ขณะเดียวกัน บี เตชะอุบล อยากให้บริษัทเปลี่ยนเป็นบริษัทเพื่อการลงทุนคล้ายกับ Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ พร้อมเร่งให้รีบตัดสินใจโดยเร็ว
วันที่ 16 พฤษภาคม 2554 ได้มีการพูดคุยครั้งสุดท้ายที่ โรงแรมคอนราด ม.ล.จันทรจุฑา ไปพร้อมกับ ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน บี เตชะอุบล แจ้งย้ำว่าได้ครอบครองหุ้น 30% แล้ว คราวนี้ให้ อัศวิน คงศิริ, ศักดิ์ เอื้อชูเกียรติ และ สตีเฟ่น วูดรุฟ ฟอร์ ลาออก หากไม่ลาออกกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมการทั้งหมด บี เตชะอุบล ยังขอให้ลดสัดส่วนธุรกิจเดินเรือ โดยอ้างว่าสามารถหาสินทรัพย์ที่จะเพิ่มมูลค่าหุ้นให้กับบริษัทได้ ยกตัวอย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่าเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้รวดเร็ว
หุ้น TTA ผิดสังเกตตั้งแต่เดือน "มีนาคม-เมษายน"
ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กล่าวว่า พบข้อสังเกตวอลุ่มซื้อขายหุ้น TTA ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายนเริ่มเพิ่มขึ้นพร้อมกับราคาที่ปรับสูงขึ้น อาจจะดูไม่ผิดปกติแต่ไม่สมเหตุผลเพราะราคาหุ้น TTA จะเคลื่อนไหวไปทางเดียวกับดัชนี BDI ซึ่งไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบันหุ้น TTA มีผู้ถือหุ้นต่างชาติรวมกัน 10% และอีก 4.3% ถือในนามบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด
“เป็นไปได้ว่าบริษัทเราไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่และมีเงินสดเยอะทำให้มีคนสนใจ แต่ตัวผมไม่คิดที่จะไล่ซื้อหุ้น (แข่ง) แน่นอน”
หม่อมไอซ์ ยืนยันว่า กรรมการและผู้บริการบริษัทมีความเป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์ ถ้าผู้ถือหุ้นกลุ่มใดต้องการเสนอความคิดเห็นเราก็จะรับฟังภายใต้กฎเกณฑ์และอย่างรอบคอบเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นทุกคน ส่วนผลการดำเนินงานที่ถดถอยมา "สองปี" เป็นเพราะดัชนีค่าระวางเรือ (BDI) ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับผลประกอบการตกลงอย่างหนักจากวิกฤติเศรษฐกิจ จังหวะที่ดัชนี BDI ขึ้นไปอยู่บนจุดสูงสุดเมื่อปี 2551-2552 บริษัทจึงเริ่มวางแผนกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นๆ
ส่วนของธุรกิจพลังงานได้เข้าไปถือหุ้นใน บมจ.ยูนิคไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) อาจจะเห็นว่าผลประกอบการไม่ดีนัก เนื่องจากเก็บสต็อกถ่านหินมากเกินไป ตอนนี้กำลังเร่งแก้ไขให้มีการระบายสินค้าออกมาเร็วขึ้นเพื่อสร้างกระแสเงินสดได้ดีขึ้น ส่วนตัวเชื่อว่าธุรกิจถ่านหินในอีก 3-5 ปีข้างหน้า "ยังดีมาก" ธุรกิจที่ยังไปได้ดีคือ ธุรกิจปุ๋ยและท่าเรือที่เวียดนาม ผ่านบริษัท Boconco และ EMC Gestion ครึ่งปีแรกสามารถขายปุ๋ยไปได้ 97,000 ตัน และกำลังมีแผนขยายแวร์เฮ้าส์บริเวณท่าเรือเพิ่มเติม
นอกจากนี้ยังลงทุนร่วมกับ SKI Construction Group พัฒนาเหมืองถ่านหินพื้นที่ 75,000 ไร่ในฟิลิปปินส์ จากการสำรวจพบว่ามีปริมาณถ่านหินสำรอง 13.7 ล้านตัน เดือนที่แล้วเริ่มขุดขึ้นมาขายได้แล้ว 10,000 ตัน ได้ทำสัญญาขายกับบริษัท Glencore ผู้จัดจำหน่ายสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลกแล้ว ล่าสุดก็เพิ่งเข้าไปลงทุนเหมืองที่อินโดนีเซียเพิ่มเติมขนาดพื้นที่กว่า 200,000 ไร่ ได้สำรวจพื้นที่ไปแล้ว 20% พบถ่านหินสำรองแล้ว 100 ล้านตัน
สำหรับธุรกิจของ บมจ.เมอร์เมด มารีนไทม์ จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ยอมรับว่าผลงาน “ไม่น่าพอใจ” เพราะธุรกิจขุดเจาะน้ำมันทั่วโลกหยุดชะงักกรณีบริษัทบีพีทำน้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก ทำให้ไม่มีงานเข้า อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นแนวโน้มงานที่เริ่มเข้ามามากขึ้นบ้างแล้ว
ไฮไลต์สำคัญในเดือนมิถุนายนนี้ ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวว่า จะนำบริษัท Asia Offshore Drilling เข้าตลาดหุ้นนอร์เวย์ หลังเข้าตลาดหุ้นเมอร์เมดจะถือหุ้นเหลือ 30% ส่วนธุรกิจดั้งเดิมคือ "เดินเรือ" ปัจจุบันมีจำนวนเรือทั้งหมด 24 ลำ ถึงตอนนี้ยังไม่คิดที่จะลงทุนซื้อเรือมือสองเพิ่มเนื่องจากยังไม่น่าจะคืนทุนได้ในเร็วๆ นี้
"สรุปว่าทุกธุรกิจที่ TTA เข้าไปลงทุนมองเป็นการลงทุนระยะยาวมากกว่า 5 ปีขึ้นไปน่าจะถึงจุดคุ้มทุนทั้งหมด เป็นไปได้ว่าในอนาคตสัดส่วนรายได้จาก 3 ธุรกิจหลักคือ เดินเรือ, พลังงาน และสาธารณูปโภคพื้นฐานจะอยู่ระดับเดียวกันเป็นการกระจายรายได้และความเสี่ยงที่ดี...ตอนนี้เราขอมุ่งมั่นกับการดูแลธุรกิจใหม่ให้ดีก่อน ยังไม่คิดที่จะซื้อกิจการใดๆ มาเพิ่มอีก"
สำหรับแนวโน้มผลประกอบการปีนี้ ม.ล.จันทรจุฑา แสดงอาการ "หนักใจ" กับดัชนีค่าระวางเรือที่ยังไม่น่าจะฟื้นตัว คาดว่าในปี 2555 จะมีกองเรือใหม่เข้ามาอีก 32% ทำให้สถานการณ์จนถึงกลางปี 2556 ดัชนีค่าระวางเรือยังไม่น่าฟื้นจนกว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ส่วนธุรกิจอื่นๆ จะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้
"คาดว่ารายได้รวมปีนี้น่าจะลดลง 20% คาดว่าดัชนี BDI เฉลี่ยทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 10,800 เหรียญสหรัฐฯต่อวันลดลง 17% จากปีที่แล้ว"
TTAจาก 'ผู้ล่า' เป็นผู้ 'ถูกล่า' เกมเสี่ยง 'เตชะอุบล Family'
วิธีการเข้าเทคโอเวอร์ TTA ของ 'เตชะอุบล Family' ถ้ายึดโมเดล 'บล.แอ๊ดคินซัน-บมจ.ดราก้อนวัน' นับเป็นความเสี่ยงที่ 'ได้' อาจไม่คุ้ม 'เสีย'
ยังไม่ทันหงายไพ่ "เผด็จศึก" แค่แง้มหน้าไพ่ วิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ ก.ล.ต.คนปัจจุบัน อดีตประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วัย 70 ปี ก็เอาเกียรติยศชื่อเสียงที่สร้างมาทั้งชีวิตมาวาง "เดิมพัน" กับเกมที่ "ได้" ไม่คุ้ม "เสีย"
วีระ มานะคงตรีชีพ อดีตซีอีโอ บงล.ซิทก้า 1 ใน 56 ไฟแนนซ์ที่ถูกแบงก์ชาติสั่งปิดกิจการ เป็นผู้บริหารหนุ่มที่มีความสามารถสูงน่ายกย่องคนหนึ่ง แต่ชีวิตในอดีตเคยผิดพลาดกู้ยืมเงินโดยรับซื้อลดตั๋วแลกเงิน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ และให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทในเครือโดยไม่วิเคราะห์ฐานะทางการเงินและไม่มีการเรียกหลักประกัน เป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายเป็นเงิน 415.70 ล้านบาท เหตุเกิดระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2538
วันนี้ วีระ มีอายุครบ 54 ปียังมีเวลาสร้างบารมีอีกยาวไกล ที่ผ่านมาก็ผันตัวเองมาเป็นคอลัมนิสต์ นสพ.ไทยโพสต์ "คอลัมน์กระจกหักมุม" กำลังสร้างชื่อเสียงเตรียมกลับมาอย่างเต็มภาคภูมิ แต่เขาก็พลาดอีกครั้งเดินเกมทะเล่อทะล่าหวังหักด้ามพร้าด้วยเข่า เป็นการเดินเกมที่ "ได้" ไม่คุ้ม "เสีย"
บี เตชะอุบล บุตรชายคนโต "เสี่ยไมค์" สดาวุธ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร บล.คันทรี่ กรุ๊ป เป็นผู้บริหารหนุ่มที่เก่งและอนาคตไกล บีถูกพ่อตั้งความหวังให้กลับมาสร้างอาณาจักรหมื่นล้าน "คันทรี่ กรุ๊ป" ที่เคยล้มไปเมื่อครั้งวิกฤติปี 2540 เด็กหนุ่มคนนี้จึงมีความทะเยอทะยานและเก็บเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไว้ในใจตลอดเวลา รอวันเวลาที่จะกลับมาสร้างความภาคภูมิใจให้กับครอบครัวในฐานะ "ลูกชายคนโต"
บี พลาดที่เข้าไปพัวพันกับหุ้น IEC ที่หวังสร้างความร่ำรวยให้อย่างรวดเร็ว เขาถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษพบหลักฐานที่เชื่อได้ว่าเมื่อปี 2549 บีซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือเบียดบังเอาทรัพย์สินของ IEC ไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่น โดยให้ IEC ทำสัญญาขอใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งน่าเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับบี เป็นเหตุให้ IEC ต้องชำระเงินให้แก่บริษัทดังกล่าว 60.5 ล้านบาท โดยที่ IEC ไม่ได้รับประโยชน์
ผลพวงจากคดีทำให้บี ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) กรรมการบริหาร และกรรมการ บล.คันทรี่ กรุ๊ป ทุกตำแหน่งมีผลตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2553 กลายเป็น "ส้มหล่น" ของ ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ นอกจากนี้ยังทำให้เกมเทคโอเวอร์ บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) ที่เตชะอุบล Family ต้องการเข้าไป "ฮุบ" (แบบไม่เป็นมิตร) ก็ไม่เป็นไปตามแผน สรุปว่าก็เป็นการเดินเกมที่ "ได้" ไม่คุ้ม "เสีย"
บทสรุปที่ใครหลายคนอาจจะ "ลืม" ไปก็คือ วัฒนธรรมแบบ "พี่ไทย" ต่างจากฝรั่งอย่างสิ้นเชิงเรามีความโอบอ้อมอารีช่วยเหลือผู้ที่ "ถูกรังแก" และมองผู้ที่รังแกคนอื่นเป็น "มาร" ถ้าผู้ถูกรังแกนั้นพิสูจน์ให้คนในสังคมประจักษ์ได้ว่า เขาเป็น "คนดี" หรือ "บริษัทที่ดีของสังคม"
ทำไม! การเทคโอเวอร์ "มติชน" แบบไม่เป็นมิตรถึงไม่สำเร็จ ทำไม! เครือเนชั่น ถึงรอดพ้นเงื้อมมือนายทุนที่ต้องการเข้ามาแทรกแซงทั้งที่ถือหุ้นน้อยกว่ากันเยอะ นั่นเพราะวัฒนธรรมแบบ "พี่ไทย" ต่างจากฝรั่งอย่างสิ้นเชิง
เกมที่ เตชะอุบล Family จะเข้ามาเผด็จศึก บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) หรือ บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) เหมือนที่เคยเผด็จศึก บล.แอ๊ดคินซัน (ASL) (ปัจจุบันคือ บล.คันทรี่ กรุ๊ป) ที่ช่วงหนึ่งเคยอยู่ภายใต้อิทธิพล สอง วัชรศรีโรจน์ และกลุ่มคิ้วคชา หรือเผด็จศึก บมจ.ดราก้อนวัน (D1) (ปัจจุบันคือ บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์) ของ จเรรัฐ ปิงคลาศัย จึง "ไม่หมู" อย่างที่คิด
"หม่อมไอซ์" ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) ผู้บริหารหนุ่มที่ดูตรงไปตรงมา เหมือนไม่มีพิษสง เป็นผู้บริหารมืออาชีพไม่มาข้องแวะหาประโยชน์จากหุ้น TTA เปิดแถลงข่าวด่วน! บ่ายโมงวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 "แฉเกม" ของฝ่ายตรงข้ามที่จ้องเข้ามา "ฮุบ" แบบไม่เป็นมิตร เกมนี้จึง "พลิก" ในชั่วข้ามคืน โดยที่ไม่ต้องเตรียมเงิน "พันล้าน" ไปแย่งซื้อหุ้น TTA ในตลาดหุ้น แถมยังมี "ผู้หลักผู้ใหญ่" หลายคนที่เห็นอกเห็นใจ
ความ "ชนะ" ที่ได้มาโดยการโต้แย้งเบียดเบียน แม้จะได้มาก็คือ "ความว่างเปล่า" เฉกเช่น "คนฉลาด" บางครั้งก็ผิดพลาดเพราะ "ความฉลาด" ของตัวเอง ผู้ที่รู้จัก "พอ" จะไม่ "ยุ่งยาก" เพราะผลประโยชน์ ผู้ที่สะสม "ศีลธรรม" ไม่มีวัน "ตกอับ"
เปิดเผย "ตัวละคร" อาคันตุกะยาม "รัตติกาล"
กระดาษแผ่นเดียวของ "อาคันตุกะ" ยาม "รัตติกาล" อ้างว่าเข้าเก็บหุ้น TTA ได้แล้ว 30% ถือมาต่อรองกับ "หม่อมไอซ์" ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต เพื่อขอเปลี่ยนตัว อัศวิน คงสิริ ประธานกรรมการ TTA พร้อมแจ้งว่าไม่ต้องการให้ข่าวเปิดเผยต่อสาธารณะ (สื่อมวลชน) และอยากให้บริษัทเปลี่ยนเป็นบริษัทเพื่อการลงทุน (Investment Company) คล้ายกับ Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์
นอกจากนี้ยังล็อบบี้ให้ ม.ล.จันทรจุฑา ไปกดดันคณะกรรมการบริษัทให้ลาออก 3 คน ประกอบด้วย อัศวิน คงศิริ, ศักดิ์ เอื้อชูเกียรติ และ สตีเฟ่น วูดรุฟ ฟอร์ หากไม่ลาออกกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมการทั้งหมด และให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจเดินเรือ โดยอ้างว่าทางกลุ่มนี้สามารถหาสินทรัพย์มาขายให้ TTA เพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทได้ในอนาคต
วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ม.ล.จันทรจุฑา ได้รับโทรศัพท์จาก วีระ มานะคงตรีชีพ อ้างว่าเป็นตัวแทนของ วิจิตร สุพินิจ ขอเข้าพบ ขณะนั้น ม.ล.จันทรจุฑา อยู่ที่ประเทศอังกฤษจึงขอรับนัดเป็นวันที่ 9 พฤษภาคม 2554
วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ม.ล.จันทรจุฑา เดินทางไปพบกับ วีระ มานะคงตรีชีพ และ วิจิตร สุพินิจ ที่ โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ได้รับแจ้งว่าได้มีกลุ่มนักลงทุนรวบรวมหุ้น TTA ได้ 30% ต้องการให้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท เสนอให้ วิจิตร สุพินิจ เป็นแทน อัศวิน คงศิริ และขอเปลี่ยนตำแหน่ง "ซีอีโอ" ซึ่ง ม.ล.จันทรจุฑาแจ้งว่าต้องไปหารือกันในบอร์ดก่อน พร้อมขอหลักฐานการถือหุ้นดังกล่าว
วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 วิจิตร สุพินิจ, บี เตชะอุบล และ ไมเคิล เฟอร์นันเดซ เดินทางมาที่บริษัท พร้อมกับรายชื่อผู้ถือหุ้น 1 แผ่น แจ้งกับ ม.ล.จันทรจุฑา ว่าไม่ต้องการให้ข่าวกับสาธารณชน พยายามล็อบบี้ให้ อัศวิน คงศิริ ลาออกและเปลี่ยน "ซีอีโอ" เป็น ไมเคิล เฟอร์นันเดซ ขณะเดียวกัน บี เตชะอุบล อยากให้บริษัทเปลี่ยนเป็นบริษัทเพื่อการลงทุนคล้ายกับ Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ พร้อมเร่งให้รีบตัดสินใจโดยเร็ว
วันที่ 16 พฤษภาคม 2554 ได้มีการพูดคุยครั้งสุดท้ายที่ โรงแรมคอนราด ม.ล.จันทรจุฑา ไปพร้อมกับ ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน บี เตชะอุบล แจ้งย้ำว่าได้ครอบครองหุ้น 30% แล้ว คราวนี้ให้ อัศวิน คงศิริ, ศักดิ์ เอื้อชูเกียรติ และ สตีเฟ่น วูดรุฟ ฟอร์ ลาออก หากไม่ลาออกกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมการทั้งหมด บี เตชะอุบล ยังขอให้ลดสัดส่วนธุรกิจเดินเรือ โดยอ้างว่าสามารถหาสินทรัพย์ที่จะเพิ่มมูลค่าหุ้นให้กับบริษัทได้ ยกตัวอย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่าเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้รวดเร็ว
หุ้น TTA ผิดสังเกตตั้งแต่เดือน "มีนาคม-เมษายน"
ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กล่าวว่า พบข้อสังเกตวอลุ่มซื้อขายหุ้น TTA ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายนเริ่มเพิ่มขึ้นพร้อมกับราคาที่ปรับสูงขึ้น อาจจะดูไม่ผิดปกติแต่ไม่สมเหตุผลเพราะราคาหุ้น TTA จะเคลื่อนไหวไปทางเดียวกับดัชนี BDI ซึ่งไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบันหุ้น TTA มีผู้ถือหุ้นต่างชาติรวมกัน 10% และอีก 4.3% ถือในนามบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด
“เป็นไปได้ว่าบริษัทเราไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่และมีเงินสดเยอะทำให้มีคนสนใจ แต่ตัวผมไม่คิดที่จะไล่ซื้อหุ้น (แข่ง) แน่นอน”
หม่อมไอซ์ ยืนยันว่า กรรมการและผู้บริการบริษัทมีความเป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์ ถ้าผู้ถือหุ้นกลุ่มใดต้องการเสนอความคิดเห็นเราก็จะรับฟังภายใต้กฎเกณฑ์และอย่างรอบคอบเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นทุกคน ส่วนผลการดำเนินงานที่ถดถอยมา "สองปี" เป็นเพราะดัชนีค่าระวางเรือ (BDI) ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับผลประกอบการตกลงอย่างหนักจากวิกฤติเศรษฐกิจ จังหวะที่ดัชนี BDI ขึ้นไปอยู่บนจุดสูงสุดเมื่อปี 2551-2552 บริษัทจึงเริ่มวางแผนกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นๆ
ส่วนของธุรกิจพลังงานได้เข้าไปถือหุ้นใน บมจ.ยูนิคไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) อาจจะเห็นว่าผลประกอบการไม่ดีนัก เนื่องจากเก็บสต็อกถ่านหินมากเกินไป ตอนนี้กำลังเร่งแก้ไขให้มีการระบายสินค้าออกมาเร็วขึ้นเพื่อสร้างกระแสเงินสดได้ดีขึ้น ส่วนตัวเชื่อว่าธุรกิจถ่านหินในอีก 3-5 ปีข้างหน้า "ยังดีมาก" ธุรกิจที่ยังไปได้ดีคือ ธุรกิจปุ๋ยและท่าเรือที่เวียดนาม ผ่านบริษัท Boconco และ EMC Gestion ครึ่งปีแรกสามารถขายปุ๋ยไปได้ 97,000 ตัน และกำลังมีแผนขยายแวร์เฮ้าส์บริเวณท่าเรือเพิ่มเติม
นอกจากนี้ยังลงทุนร่วมกับ SKI Construction Group พัฒนาเหมืองถ่านหินพื้นที่ 75,000 ไร่ในฟิลิปปินส์ จากการสำรวจพบว่ามีปริมาณถ่านหินสำรอง 13.7 ล้านตัน เดือนที่แล้วเริ่มขุดขึ้นมาขายได้แล้ว 10,000 ตัน ได้ทำสัญญาขายกับบริษัท Glencore ผู้จัดจำหน่ายสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลกแล้ว ล่าสุดก็เพิ่งเข้าไปลงทุนเหมืองที่อินโดนีเซียเพิ่มเติมขนาดพื้นที่กว่า 200,000 ไร่ ได้สำรวจพื้นที่ไปแล้ว 20% พบถ่านหินสำรองแล้ว 100 ล้านตัน
สำหรับธุรกิจของ บมจ.เมอร์เมด มารีนไทม์ จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ยอมรับว่าผลงาน “ไม่น่าพอใจ” เพราะธุรกิจขุดเจาะน้ำมันทั่วโลกหยุดชะงักกรณีบริษัทบีพีทำน้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก ทำให้ไม่มีงานเข้า อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นแนวโน้มงานที่เริ่มเข้ามามากขึ้นบ้างแล้ว
ไฮไลต์สำคัญในเดือนมิถุนายนนี้ ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวว่า จะนำบริษัท Asia Offshore Drilling เข้าตลาดหุ้นนอร์เวย์ หลังเข้าตลาดหุ้นเมอร์เมดจะถือหุ้นเหลือ 30% ส่วนธุรกิจดั้งเดิมคือ "เดินเรือ" ปัจจุบันมีจำนวนเรือทั้งหมด 24 ลำ ถึงตอนนี้ยังไม่คิดที่จะลงทุนซื้อเรือมือสองเพิ่มเนื่องจากยังไม่น่าจะคืนทุนได้ในเร็วๆ นี้
"สรุปว่าทุกธุรกิจที่ TTA เข้าไปลงทุนมองเป็นการลงทุนระยะยาวมากกว่า 5 ปีขึ้นไปน่าจะถึงจุดคุ้มทุนทั้งหมด เป็นไปได้ว่าในอนาคตสัดส่วนรายได้จาก 3 ธุรกิจหลักคือ เดินเรือ, พลังงาน และสาธารณูปโภคพื้นฐานจะอยู่ระดับเดียวกันเป็นการกระจายรายได้และความเสี่ยงที่ดี...ตอนนี้เราขอมุ่งมั่นกับการดูแลธุรกิจใหม่ให้ดีก่อน ยังไม่คิดที่จะซื้อกิจการใดๆ มาเพิ่มอีก"
สำหรับแนวโน้มผลประกอบการปีนี้ ม.ล.จันทรจุฑา แสดงอาการ "หนักใจ" กับดัชนีค่าระวางเรือที่ยังไม่น่าจะฟื้นตัว คาดว่าในปี 2555 จะมีกองเรือใหม่เข้ามาอีก 32% ทำให้สถานการณ์จนถึงกลางปี 2556 ดัชนีค่าระวางเรือยังไม่น่าฟื้นจนกว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ส่วนธุรกิจอื่นๆ จะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้
"คาดว่ารายได้รวมปีนี้น่าจะลดลง 20% คาดว่าดัชนี BDI เฉลี่ยทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 10,800 เหรียญสหรัฐฯต่อวันลดลง 17% จากปีที่แล้ว"
HOPE FAITH LOVE
- kakathi
- Verified User
- โพสต์: 186
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 15
เปิดเบื้องลึก!กลุ่มทุนใหม่ฮุบกิจการทีทีเอ
วันที่ 30 พฤษภาคม 2554 08:47 โดย : อภิญญา มั่นช้อย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ซีอีโอ "ทีทีเอ" เปิดใจ "กรุงเทพธุรกิจ" แฉเบื้องลึกศึกเทคโอเวอร์ ถ่านหินขุมทรัพย์ใหญ่ 2 ปี ครองรายได้ 50%
ต้องยอมรับว่า การออกมาเปิดโปงกระบวนการจ้องเทคโอเวอร์กิจการของ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ (TTA) ของ ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็นร้อนที่กำลังถูกจับตามองจากสังคม
โดยเฉพาะการพาดพิงถึง วิจิตร สุพินิจ ประธานคณะกรรมการ กำกับหลักกทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) ว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่มาร่วมเจรจากับกลุ่ม บี เตชะอุบล และ วีระ มานะคงตรีชีพ ซึ่งแต่ละชื่อล้วนแต่เป็นผู้ที่คร่ำหวอดในตลาดทุน โดยเฉพาะ วิจิตร นั้นถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งของวงการตลาดทุนก็ว่าได้
ม.ล.จันทรจุฑา ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า การออกตัวของเราในครั้งนี้ไม่ได้แรง แต่มันคือข้อเท็จจริงที่นำมาเล่าให้สื่อมวลชนฟัง เพราะว่าก่อนหน้าที่จะตัดสินใจออกมาแถลงข่าวนั้น มีกระแสข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเทคโอเวอร์กิจการทีทีเอ ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่บริษัทก็ไม่ได้ดำเนินการอะไร แต่หลังจากที่มีสื่อมวลชน ผู้ถือหุ้น ที่ติดต่อเข้ามาเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ก็เลยตัดสินใจแถลงข่าว
เขาบอกว่า สิ่งที่เขาได้ตัดสินใจออกไปนั้น ได้ผ่านการหารืออย่างรอบคอบทั้งคณะกรรมการของบริษัท ฝ่ายกฎหมาย แม้กระทั่งที่ปรึกษาการเงิน ซึ่งการตัดสินใจทั้งหมดก็ผ่านการกลั่นกรองอย่างรอบคอบแล้ว พร้อมทั้งบอกด้วยว่า ที่ผ่านมาไม่ได้ตั้งใจที่จะเก็บตัว ทุกคนในบริษัททราบดีว่าผมมุ่งมั่นทำธุรกิจอย่างเดียว เดินทางตลอด ไม่ได้ปิดตัวอะไร พยายามวางรากฐานธุรกิจให้แข็งแกร่ง บริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพ
"ผมบริหารอย่างมืออาชีพ และผมก็มีหุ้นทีทีเอ เพียง 4 ล้านหุ้น ไม่ใช่ 4% ตามที่เป็นข่าว ผมมุ่งมั่นที่จะวางรากฐานบริษัท และหากกลุ่มทุนใหม่จะเข้ามาจริงก็พร้อมที่จะรับฟังความเห็น"
อย่างไรก็ตาม การที่บริษัท ทีทีเอ ไม่ได้มีเจ้าภาพหลักหรือผู้ถือหุ้นหลัก ก็น่าจะเป้าที่จะถูกการเทคโอเวอร์กิจการได้ เพราะด้วยพื้นฐานของทีทีเอนั้น ถือว่าเป็นขุมทรัพย์ที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคตได้ หรือแม้กระทั่งหากกลุ่มทุนที่เข้ามาแล้วไม่ต้องการทำธุรกิจ แค่ขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่ก็มีกำไร
แม้ว่าเขาจะไม่ระบุโดยตรงว่าสาเหตุหลักของความพยายามเข้ามาเทคโอเวอร์คือ อะไร แต่การอธิบายถึงทิศทางและขุมทรัพย์ของบริษัทที่จะออกดอกออกผลในระยะอันใกล้ นี้ คือ "ปม" จูงใจ ให้คนบางกลุ่มจ้องเข้ามาเทคโอเวอร์ โดยเฉพาะธุรกิจ "ถ่านหิน" ที่มีแนวโน้มขยายปีกใหญ่โตและสร้างรายได้อย่างงดงามให้แก่บริษัท ทั้งเหมืองในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
ธุรกิจเดินเรือขาลงเร่งตัดขาย
ม.ล.จันทรจุฑา ได้สังเคราะห์ธุรกิจทั้งหมดของทีทีเอ แต่ละกลุ่มธุรกิจให้ฟังว่า ในส่วนของธุรกิจเดินเรือนั้นเดิมทีถือเป็นรายได้หลักกว่า 95%ของรายได้รวม และที่ผ่านมาก็สร้างกำไรให้กับบริษัทค่อนข้างมากโดยเฉพาะในช่วงปี 2550-2551 ค่าระวางเรือพุ่งสูงมากถึง 24,000 ดอลลาร์ต่อวันเดินเรือ ดัชนีค่าระวางเรือ หรือ Baltic Dey Index (BDI) ขึ้นสูงถึง 1,200 จุด ปี 2551 กำไรของบริษัทมากถึง 8.7 พันล้านบาท และก็หล่นฮวบลงมาในปี 2552 กำไรเหลือแค่ 1,814 ล้านบาท และล่าสุดปี 2553 กำไรได้ลดฮวบลงมาอยู่ที่ 795 ล้านบาท ซึ่งเขาเห็นสัญญาณการชะลอตัวอย่างรุนแรงของธุรกิจเดินเรือตั้งแต่ปี 2551
"ตอนที่ ทีทีเอ มีกำไรมากๆ หากเราตัดสินใจลงทุนซื้อเรือเพิ่มช่วงนั้น บอกได้เลยว่า ทีทีเอ จะขาดทุนมากๆ ซึ่งเราก็อยู่แล้ว เรามองมาตลอดตั้งแต่ปี 2550 จึงเป็นที่มาของการลงทุนในธุรกิจอื่นเพิ่มเติมเพื่อลดความผันผวนของบริษัท เพียงแต่สิ่งที่บริษัทวางรากฐานไว้ยังไม่ได้ออกผลในช่วงนี้ แต่จะเริ่มดีในอีก 12 เดือนข้างหน้า"
การลดความผันผวนของธุรกิจเดินเรือ เริ่มจากการตัดขายเรือ 7 ลำ ซึ่งจะทยอยส่งมอบภายใน 2-3 เดือนจากปัจจุบัน ทีทีเอ มีเรือ 23 ลำ และเรือที่ขายส่วนใหญ่จะเป็นเรือเล็กที่มีอายุการใช้งานนานมาก โดยเงินที่ได้จากการขายเรือในครั้งนี้ประมาณ 35 ล้านดอลลาร์ แต่ว่าเราก็ไม่บุ่มบ่ามที่จะซื้อเรือใหม่เพิ่ม เพราะมองว่าวัฏจักรของธุรกิจเดินเรือจะยังซบเซาต่อเนื่องอีก 1-2 ปี ดังนั้นบริษัทก็ไม่จำเป็นที่จะรีบร้อนลงทุน รอจังหวะที่เหมาะสมจะดีกว่า
2 ปีถ่านหินธุรกิจหลักบริษัท
ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการสยายปีกไปสู่ธุรกิจถ่านหิน ซึ่งเขามั่นใจว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าจะกลายเป็นธุรกิจหลักของทีทีเอ มีสัดส่วนรายได้มากกว่า 50% จากปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของทีทีเอ มาจากธุรกิจเดินเรือ 38.17% ธุรกิจพลังงาน 27.28% และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ประมาณ 34%
เขายังได้ประเมินแนวโน้มของธุรกิจถ่านหินว่า ยังสดใส ความต้องการใช้ในตลาดโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บริษัทตัดสินใจร่วมทุนกับพันธมิตรลงทุนในบริษัท เมอร์ตันกรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาสินทรัพย์ที่เป็นถ่านหินที่ประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา และเพิ่งจะเริ่มผลิตได้ในเดือนที่ผ่านมา 1 หมื่นตันต่อเดือน ซึ่งก็สามารถขายได้หมดในราคาเฉลี่ย 105 ดอลลาร์ต่อตัน และคาดว่ากำลังผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 หมื่นตันต่อเดือน เพราะในอนาคตบริษัทกำลังจะลงทุนเพิ่มอีก 10 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในอนาคตทีทีเอก็จะถือหุ้นประมาณ 30%
สำหรับเหมืองถ่านหินที่ฟิลิปปินส์นั้น มีพื้นที่สัมปทานประมาณ 7.5 หมื่นไร่ เหมืองแรกมีสำรองถ่านหินประมาณ 3-4 ล้านตัน และเหมืองที่ 2 คาดว่าจะมีสำรองประมาณ 5-6 ล้านตัน และถ่านหินที่ผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นถ่านหินคุณภาพสูง และขณะนี้ก็มีลูกค้าเซ็นสัญญารับซื้อถ่านหินทั้งหมดที่ผลิตจากเหมืองดัง กล่าว
ถัดมาก็ตัดสินใจเทคโอเวอร์กิจการบริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส หรือ UMS และช่วงนี้ก็อยู่ระหว่างการปรับยุทธศาสตร์เพื่อความแข็งแกร่งในอนาคต ล่าสุดก็ลงทุนในเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซีย โดย ทีทีเอ ถึงหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 28% ซึ่งเหมืองดังกล่าวมีพื้นที่สัมปทานมากกว่าเหมืองในฟิลิปปินส์ถึง 3 เท่า และจากการเริ่มดำเนินการสำรวจแค่ 20% ก็พบว่า มีสำรองประมาณ 100 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าภายใน 2 ปี จะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ประมาณปีละ 1 ล้านตัน
นั่นคือ ภาพขุมทรัพย์ที่จะสร้างรายได้ให้แก่ ทีทีเอ ได้อย่างมหาศาลในอนาคต ซึ่งการตัดสินใจเบนเข็มหลักมาที่ธุรกิจถ่านหิน แม่ทัพใหญ่อย่าง ม.ล. จันทรจุฑา ไม่ได้มองแค่แนวโน้มของธุรกิจถ่านหินเท่านั้น แต่ส่วนหนึ่งก็จะเข้ามาเสริมธุรกิจเดินเรือ ซึ่งในอดีตเคยเป็นรายได้หลักของทีทีเอ เพราะจากฐานลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งทางเรือของทีทีเอนั้น มีกลุ่มถ่านหินมากถึง 20.8% ของสินค้าที่มาใช้บริการ
ลุยธุรกิจปุ๋ย-โลจิสติกส์ ในเวียดนาม
ไม่เพียงแต่เท่านั้น การลงทุนในธุรกิจปุ๋ยโดยถือหุ้น 100% ในบริษัท บาคองโค ที่ประเทศเวียดนาม ที่ ทีทีเอ ได้ลงทุนไป 10 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดก็คืนทุนหมดแล้ว และจากนี้ไปก็จะสร้างผลตอบแทนต่อเนื่อง โดย ม.ล.จันทรจุฑา ยอมรับว่า เป้าหมายหลักของบริษัทไม่ใช่ธุรกิจปุ๋ย แต่เป้าหมายอยู่ที่การทำธุรกิจโลจิสติกส์มากกว่า เนื่องจากโลเคชันของบริษัทดังกล่าวติดกับท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดใน เวียดนาม เป้าหมายของบริษัทอยู่ที่ท่าเรือมากกว่า ส่วนธุรกิจปุ๋ยนั้นก็ขายเงินสด เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน อนาคตธุรกิจในเวียดนามจะเติบโตสูงมาก
"ก่อนลงทุนทุกครั้งเราติดอย่างรอบคอบ และมองอนาคต 3-5 ปี ไม่ใช่แค่ 3 เดือน ธุรกิจแต่ละโตมีอัตราการเติมโตทั้งหมด แต่ต้องใช้เวลา"
เดินหน้าเรือขุดเจาะ
การปรับยุทธศาสตร์ของ ทีทีเอ ไม่ใช่แค่การรุกคืบในธุรกิจใหม่ๆ ที่มีอนาคตเท่านั้น ในส่วนของธุรกิจเดิมนอกเหนือจากธุรกิจเดินเรือ ก็มีการปรับกลยุทธ์ โดยในเฉพาะในส่วนของบริษัทย่อยคือเมอร์เมด ที่มีบริษัทย่อยทำธุรกิจ 2 ประเภท คือ ธุรกิจบริการเรือขุดเจาะ และวิศวกรรมใต้น้ำ ซึ่งผลประกอบการในปี 53 ยังติดลบ และก็มีแนวโน้มท่าจะติดลบถึงปีนี้ เนื่องจากความต้องการใช้บริการนอกชายฝั่งลดลงอย่างมาก หลังจากที่เกิดเหตุการณ์สารรั่วไหลในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งคาดว่าในปีหน้าทุกอย่างน่าคลี่คลายและผลประกอบการพลิกบวกได้
เขาอธิบายต่อว่าจากเหตุการณ์ที่อ่าวเม็กซิโก ทำให้บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หันมาใช้บริการเรือใหม่ ซึ่งบริษัทก็เห็นเทรนด์นี้ จึงลงทุนในบริษัทเรือขุดเจาะใหม่ผ่านบริษัท AOD ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นอร์เวย์ในเดือนมิ.ย. นี้ ดังนั้นในอนาคตเมอร์เมดจะยุบรวมธุรกิจเรือขุดเจาะมาอยู่ที่ AOD เหลือ เพียงธุรกิจวิศวกรรมใต้น้ำ
"เรามั่นใจว่าสิ่งที่ทำทุกอย่าง จะเริ่มเห็นผล และการที่บริษัทถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศถึง 2 ก็เป็นสิ่งสะท้อนถึงความน่าเชื่อของบริษัท และทุกอย่างที่ลงทุนก็มองรอบด้าน หากนักลงทุนรายใหม่ตั้งใจจะเข้ามาลงทุนและทำให้บริษัทดีขึ้นเราพร้อม แต่หากตั้งใจมาทำอย่างอื่นก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะสิ่งที่เราทำทั้งหมดตอนนี้ก็เพื่อให้บริษัทที่มีอายุยาวนาน 107 ปีอยู่ได้ พนักงาน 2,700 คน อยู่ได้"
ธุรกิจของ ทีทีเอ ที่กล่าวมาในตอนต้นทั้งหมด น่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า เหตุใดจึงเป็นเป้าหมายของกลุ่มทุนที่จะเข้ามาเทคโอเวอร์ เพราะนอกจากพื้นฐานที่แข็งแกร่งแล้ว ต้องยอมรับว่าทีทีเอ มีจุดด้อยที่จะเป็นเป้าการถูกเทคโอเวอร์ก็คือ การไม่มีเจ้าภาพหลัก ในการคอนโทรลหุ้น และหากโครงสร้างผู้ถือหุ้นยังเป็นแบบกระจายอย่างนี้ ม.ล.จันทรจุฑา ในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร ก็ต้องทำใจเตรียมรับมือกับการเป็นเป้าของการถูกเทคโอเวอร์ต่อไป
สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2554 มีดังนี้ ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง คือ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวน 27,723,629 หุ้น หรือคิดเป็น 4% อันดับสอง STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY จำนวน 18,066,882 หุ้น หรือ 2.55% อันดับสาม HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD จำนวน 11,375,368 หุ้น หรือ คิดเป็น 1.61%
ขณะที่อันดับสี่ น.ท.อภิวัฒน์ ชาญชัยมงคล จำนวน 11 ล้านหุ้น หรือ 1.55% อันดับห้า STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON ถืออยู่ 8,126,400 หุ้น หรือ 1.15% อันดับหก นายประทีป ตั้งมติธรรม จำนวน 7,593,400 หุ้น หรือ 1.07% อันดับเจ็ด NORTRUST NOMINEES LIMITED-MELBOURNE BRANCH FUTURE FUND CLIEN จำนวน 7,031,771 หุ้น หรือ 0.99% โดยตั้งแต่อันดับ 8-17 จะถือเฉลี่ย 3-5 ล้านหุ้น หรือประมาณ 0.5-0.7%
สำหรับราคาหุ้น ทีทีเอ เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา ปิดที่ระดับ 22 บาท
วันที่ 30 พฤษภาคม 2554 08:47 โดย : อภิญญา มั่นช้อย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ซีอีโอ "ทีทีเอ" เปิดใจ "กรุงเทพธุรกิจ" แฉเบื้องลึกศึกเทคโอเวอร์ ถ่านหินขุมทรัพย์ใหญ่ 2 ปี ครองรายได้ 50%
ต้องยอมรับว่า การออกมาเปิดโปงกระบวนการจ้องเทคโอเวอร์กิจการของ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ (TTA) ของ ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็นร้อนที่กำลังถูกจับตามองจากสังคม
โดยเฉพาะการพาดพิงถึง วิจิตร สุพินิจ ประธานคณะกรรมการ กำกับหลักกทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) ว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่มาร่วมเจรจากับกลุ่ม บี เตชะอุบล และ วีระ มานะคงตรีชีพ ซึ่งแต่ละชื่อล้วนแต่เป็นผู้ที่คร่ำหวอดในตลาดทุน โดยเฉพาะ วิจิตร นั้นถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งของวงการตลาดทุนก็ว่าได้
ม.ล.จันทรจุฑา ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า การออกตัวของเราในครั้งนี้ไม่ได้แรง แต่มันคือข้อเท็จจริงที่นำมาเล่าให้สื่อมวลชนฟัง เพราะว่าก่อนหน้าที่จะตัดสินใจออกมาแถลงข่าวนั้น มีกระแสข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเทคโอเวอร์กิจการทีทีเอ ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่บริษัทก็ไม่ได้ดำเนินการอะไร แต่หลังจากที่มีสื่อมวลชน ผู้ถือหุ้น ที่ติดต่อเข้ามาเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ก็เลยตัดสินใจแถลงข่าว
เขาบอกว่า สิ่งที่เขาได้ตัดสินใจออกไปนั้น ได้ผ่านการหารืออย่างรอบคอบทั้งคณะกรรมการของบริษัท ฝ่ายกฎหมาย แม้กระทั่งที่ปรึกษาการเงิน ซึ่งการตัดสินใจทั้งหมดก็ผ่านการกลั่นกรองอย่างรอบคอบแล้ว พร้อมทั้งบอกด้วยว่า ที่ผ่านมาไม่ได้ตั้งใจที่จะเก็บตัว ทุกคนในบริษัททราบดีว่าผมมุ่งมั่นทำธุรกิจอย่างเดียว เดินทางตลอด ไม่ได้ปิดตัวอะไร พยายามวางรากฐานธุรกิจให้แข็งแกร่ง บริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพ
"ผมบริหารอย่างมืออาชีพ และผมก็มีหุ้นทีทีเอ เพียง 4 ล้านหุ้น ไม่ใช่ 4% ตามที่เป็นข่าว ผมมุ่งมั่นที่จะวางรากฐานบริษัท และหากกลุ่มทุนใหม่จะเข้ามาจริงก็พร้อมที่จะรับฟังความเห็น"
อย่างไรก็ตาม การที่บริษัท ทีทีเอ ไม่ได้มีเจ้าภาพหลักหรือผู้ถือหุ้นหลัก ก็น่าจะเป้าที่จะถูกการเทคโอเวอร์กิจการได้ เพราะด้วยพื้นฐานของทีทีเอนั้น ถือว่าเป็นขุมทรัพย์ที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคตได้ หรือแม้กระทั่งหากกลุ่มทุนที่เข้ามาแล้วไม่ต้องการทำธุรกิจ แค่ขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่ก็มีกำไร
แม้ว่าเขาจะไม่ระบุโดยตรงว่าสาเหตุหลักของความพยายามเข้ามาเทคโอเวอร์คือ อะไร แต่การอธิบายถึงทิศทางและขุมทรัพย์ของบริษัทที่จะออกดอกออกผลในระยะอันใกล้ นี้ คือ "ปม" จูงใจ ให้คนบางกลุ่มจ้องเข้ามาเทคโอเวอร์ โดยเฉพาะธุรกิจ "ถ่านหิน" ที่มีแนวโน้มขยายปีกใหญ่โตและสร้างรายได้อย่างงดงามให้แก่บริษัท ทั้งเหมืองในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
ธุรกิจเดินเรือขาลงเร่งตัดขาย
ม.ล.จันทรจุฑา ได้สังเคราะห์ธุรกิจทั้งหมดของทีทีเอ แต่ละกลุ่มธุรกิจให้ฟังว่า ในส่วนของธุรกิจเดินเรือนั้นเดิมทีถือเป็นรายได้หลักกว่า 95%ของรายได้รวม และที่ผ่านมาก็สร้างกำไรให้กับบริษัทค่อนข้างมากโดยเฉพาะในช่วงปี 2550-2551 ค่าระวางเรือพุ่งสูงมากถึง 24,000 ดอลลาร์ต่อวันเดินเรือ ดัชนีค่าระวางเรือ หรือ Baltic Dey Index (BDI) ขึ้นสูงถึง 1,200 จุด ปี 2551 กำไรของบริษัทมากถึง 8.7 พันล้านบาท และก็หล่นฮวบลงมาในปี 2552 กำไรเหลือแค่ 1,814 ล้านบาท และล่าสุดปี 2553 กำไรได้ลดฮวบลงมาอยู่ที่ 795 ล้านบาท ซึ่งเขาเห็นสัญญาณการชะลอตัวอย่างรุนแรงของธุรกิจเดินเรือตั้งแต่ปี 2551
"ตอนที่ ทีทีเอ มีกำไรมากๆ หากเราตัดสินใจลงทุนซื้อเรือเพิ่มช่วงนั้น บอกได้เลยว่า ทีทีเอ จะขาดทุนมากๆ ซึ่งเราก็อยู่แล้ว เรามองมาตลอดตั้งแต่ปี 2550 จึงเป็นที่มาของการลงทุนในธุรกิจอื่นเพิ่มเติมเพื่อลดความผันผวนของบริษัท เพียงแต่สิ่งที่บริษัทวางรากฐานไว้ยังไม่ได้ออกผลในช่วงนี้ แต่จะเริ่มดีในอีก 12 เดือนข้างหน้า"
การลดความผันผวนของธุรกิจเดินเรือ เริ่มจากการตัดขายเรือ 7 ลำ ซึ่งจะทยอยส่งมอบภายใน 2-3 เดือนจากปัจจุบัน ทีทีเอ มีเรือ 23 ลำ และเรือที่ขายส่วนใหญ่จะเป็นเรือเล็กที่มีอายุการใช้งานนานมาก โดยเงินที่ได้จากการขายเรือในครั้งนี้ประมาณ 35 ล้านดอลลาร์ แต่ว่าเราก็ไม่บุ่มบ่ามที่จะซื้อเรือใหม่เพิ่ม เพราะมองว่าวัฏจักรของธุรกิจเดินเรือจะยังซบเซาต่อเนื่องอีก 1-2 ปี ดังนั้นบริษัทก็ไม่จำเป็นที่จะรีบร้อนลงทุน รอจังหวะที่เหมาะสมจะดีกว่า
2 ปีถ่านหินธุรกิจหลักบริษัท
ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการสยายปีกไปสู่ธุรกิจถ่านหิน ซึ่งเขามั่นใจว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าจะกลายเป็นธุรกิจหลักของทีทีเอ มีสัดส่วนรายได้มากกว่า 50% จากปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของทีทีเอ มาจากธุรกิจเดินเรือ 38.17% ธุรกิจพลังงาน 27.28% และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ประมาณ 34%
เขายังได้ประเมินแนวโน้มของธุรกิจถ่านหินว่า ยังสดใส ความต้องการใช้ในตลาดโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บริษัทตัดสินใจร่วมทุนกับพันธมิตรลงทุนในบริษัท เมอร์ตันกรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาสินทรัพย์ที่เป็นถ่านหินที่ประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา และเพิ่งจะเริ่มผลิตได้ในเดือนที่ผ่านมา 1 หมื่นตันต่อเดือน ซึ่งก็สามารถขายได้หมดในราคาเฉลี่ย 105 ดอลลาร์ต่อตัน และคาดว่ากำลังผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 หมื่นตันต่อเดือน เพราะในอนาคตบริษัทกำลังจะลงทุนเพิ่มอีก 10 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในอนาคตทีทีเอก็จะถือหุ้นประมาณ 30%
สำหรับเหมืองถ่านหินที่ฟิลิปปินส์นั้น มีพื้นที่สัมปทานประมาณ 7.5 หมื่นไร่ เหมืองแรกมีสำรองถ่านหินประมาณ 3-4 ล้านตัน และเหมืองที่ 2 คาดว่าจะมีสำรองประมาณ 5-6 ล้านตัน และถ่านหินที่ผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นถ่านหินคุณภาพสูง และขณะนี้ก็มีลูกค้าเซ็นสัญญารับซื้อถ่านหินทั้งหมดที่ผลิตจากเหมืองดัง กล่าว
ถัดมาก็ตัดสินใจเทคโอเวอร์กิจการบริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส หรือ UMS และช่วงนี้ก็อยู่ระหว่างการปรับยุทธศาสตร์เพื่อความแข็งแกร่งในอนาคต ล่าสุดก็ลงทุนในเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซีย โดย ทีทีเอ ถึงหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 28% ซึ่งเหมืองดังกล่าวมีพื้นที่สัมปทานมากกว่าเหมืองในฟิลิปปินส์ถึง 3 เท่า และจากการเริ่มดำเนินการสำรวจแค่ 20% ก็พบว่า มีสำรองประมาณ 100 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าภายใน 2 ปี จะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ประมาณปีละ 1 ล้านตัน
นั่นคือ ภาพขุมทรัพย์ที่จะสร้างรายได้ให้แก่ ทีทีเอ ได้อย่างมหาศาลในอนาคต ซึ่งการตัดสินใจเบนเข็มหลักมาที่ธุรกิจถ่านหิน แม่ทัพใหญ่อย่าง ม.ล. จันทรจุฑา ไม่ได้มองแค่แนวโน้มของธุรกิจถ่านหินเท่านั้น แต่ส่วนหนึ่งก็จะเข้ามาเสริมธุรกิจเดินเรือ ซึ่งในอดีตเคยเป็นรายได้หลักของทีทีเอ เพราะจากฐานลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งทางเรือของทีทีเอนั้น มีกลุ่มถ่านหินมากถึง 20.8% ของสินค้าที่มาใช้บริการ
ลุยธุรกิจปุ๋ย-โลจิสติกส์ ในเวียดนาม
ไม่เพียงแต่เท่านั้น การลงทุนในธุรกิจปุ๋ยโดยถือหุ้น 100% ในบริษัท บาคองโค ที่ประเทศเวียดนาม ที่ ทีทีเอ ได้ลงทุนไป 10 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดก็คืนทุนหมดแล้ว และจากนี้ไปก็จะสร้างผลตอบแทนต่อเนื่อง โดย ม.ล.จันทรจุฑา ยอมรับว่า เป้าหมายหลักของบริษัทไม่ใช่ธุรกิจปุ๋ย แต่เป้าหมายอยู่ที่การทำธุรกิจโลจิสติกส์มากกว่า เนื่องจากโลเคชันของบริษัทดังกล่าวติดกับท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดใน เวียดนาม เป้าหมายของบริษัทอยู่ที่ท่าเรือมากกว่า ส่วนธุรกิจปุ๋ยนั้นก็ขายเงินสด เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน อนาคตธุรกิจในเวียดนามจะเติบโตสูงมาก
"ก่อนลงทุนทุกครั้งเราติดอย่างรอบคอบ และมองอนาคต 3-5 ปี ไม่ใช่แค่ 3 เดือน ธุรกิจแต่ละโตมีอัตราการเติมโตทั้งหมด แต่ต้องใช้เวลา"
เดินหน้าเรือขุดเจาะ
การปรับยุทธศาสตร์ของ ทีทีเอ ไม่ใช่แค่การรุกคืบในธุรกิจใหม่ๆ ที่มีอนาคตเท่านั้น ในส่วนของธุรกิจเดิมนอกเหนือจากธุรกิจเดินเรือ ก็มีการปรับกลยุทธ์ โดยในเฉพาะในส่วนของบริษัทย่อยคือเมอร์เมด ที่มีบริษัทย่อยทำธุรกิจ 2 ประเภท คือ ธุรกิจบริการเรือขุดเจาะ และวิศวกรรมใต้น้ำ ซึ่งผลประกอบการในปี 53 ยังติดลบ และก็มีแนวโน้มท่าจะติดลบถึงปีนี้ เนื่องจากความต้องการใช้บริการนอกชายฝั่งลดลงอย่างมาก หลังจากที่เกิดเหตุการณ์สารรั่วไหลในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งคาดว่าในปีหน้าทุกอย่างน่าคลี่คลายและผลประกอบการพลิกบวกได้
เขาอธิบายต่อว่าจากเหตุการณ์ที่อ่าวเม็กซิโก ทำให้บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หันมาใช้บริการเรือใหม่ ซึ่งบริษัทก็เห็นเทรนด์นี้ จึงลงทุนในบริษัทเรือขุดเจาะใหม่ผ่านบริษัท AOD ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นอร์เวย์ในเดือนมิ.ย. นี้ ดังนั้นในอนาคตเมอร์เมดจะยุบรวมธุรกิจเรือขุดเจาะมาอยู่ที่ AOD เหลือ เพียงธุรกิจวิศวกรรมใต้น้ำ
"เรามั่นใจว่าสิ่งที่ทำทุกอย่าง จะเริ่มเห็นผล และการที่บริษัทถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศถึง 2 ก็เป็นสิ่งสะท้อนถึงความน่าเชื่อของบริษัท และทุกอย่างที่ลงทุนก็มองรอบด้าน หากนักลงทุนรายใหม่ตั้งใจจะเข้ามาลงทุนและทำให้บริษัทดีขึ้นเราพร้อม แต่หากตั้งใจมาทำอย่างอื่นก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะสิ่งที่เราทำทั้งหมดตอนนี้ก็เพื่อให้บริษัทที่มีอายุยาวนาน 107 ปีอยู่ได้ พนักงาน 2,700 คน อยู่ได้"
ธุรกิจของ ทีทีเอ ที่กล่าวมาในตอนต้นทั้งหมด น่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า เหตุใดจึงเป็นเป้าหมายของกลุ่มทุนที่จะเข้ามาเทคโอเวอร์ เพราะนอกจากพื้นฐานที่แข็งแกร่งแล้ว ต้องยอมรับว่าทีทีเอ มีจุดด้อยที่จะเป็นเป้าการถูกเทคโอเวอร์ก็คือ การไม่มีเจ้าภาพหลัก ในการคอนโทรลหุ้น และหากโครงสร้างผู้ถือหุ้นยังเป็นแบบกระจายอย่างนี้ ม.ล.จันทรจุฑา ในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร ก็ต้องทำใจเตรียมรับมือกับการเป็นเป้าของการถูกเทคโอเวอร์ต่อไป
สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2554 มีดังนี้ ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง คือ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวน 27,723,629 หุ้น หรือคิดเป็น 4% อันดับสอง STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY จำนวน 18,066,882 หุ้น หรือ 2.55% อันดับสาม HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD จำนวน 11,375,368 หุ้น หรือ คิดเป็น 1.61%
ขณะที่อันดับสี่ น.ท.อภิวัฒน์ ชาญชัยมงคล จำนวน 11 ล้านหุ้น หรือ 1.55% อันดับห้า STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON ถืออยู่ 8,126,400 หุ้น หรือ 1.15% อันดับหก นายประทีป ตั้งมติธรรม จำนวน 7,593,400 หุ้น หรือ 1.07% อันดับเจ็ด NORTRUST NOMINEES LIMITED-MELBOURNE BRANCH FUTURE FUND CLIEN จำนวน 7,031,771 หุ้น หรือ 0.99% โดยตั้งแต่อันดับ 8-17 จะถือเฉลี่ย 3-5 ล้านหุ้น หรือประมาณ 0.5-0.7%
สำหรับราคาหุ้น ทีทีเอ เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา ปิดที่ระดับ 22 บาท
" "
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 16
ตอนนี้มีผู้ยื่นเรื่องเปิดประชุมวิสามัญแล้ว
อยากถามว่า
1. จะออก W ต้องใช้เสียงเท่าไหร่
2. จะให้บริษัทเปลี่ยนรอบบัญชี้ใช้เสียงเท่าไหร่
อยากถามว่า
1. จะออก W ต้องใช้เสียงเท่าไหร่
2. จะให้บริษัทเปลี่ยนรอบบัญชี้ใช้เสียงเท่าไหร่
-
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 17
ทำเรือ แล้วจะมาทำถ่าน งง อีกเหน่อยคงอยู่ในหมวดพลังงาน เหมือน PTT
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 18
ดูแล้วงงงง. ว่าตกลงจะซื้อจริงหรือป่าว แต่งานนี้ได้โปรโมทบริษัทกันเต็มที่
- todto
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 201
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 19
เห็นด้วยครับ ได้โปรโมทเต็มๆ ที่จริงถ้าเทคแล้วขายเรือทิ้งหมดแล้วทำเป็นแบบเบริค์ชายของปู่วอร์เร็น ก็สงสารพนักงานนะครับGreen เขียน:ดูแล้วงงงง. ว่าตกลงจะซื้อจริงหรือป่าว แต่งานนี้ได้โปรโมทบริษัทกันเต็มที่
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 21
อืมม ถ้าฝ่ายนึง รวมพวกได้ 30% อีกฝ่ายก็ต้องพยายาม รวมพวกให้มากยิ่งกว่า ตอนนี้ คงมีรายย่อยๆ ที่ยังไม่เลือกข้างอีกเพียบ ผู้ถือหุ้นเป็น หมื่นๆ คนแบบนี้ เยอะดีจัง เวลาออกเสียงคงต้องแบบ หย่อนหีบเลือกตั้ง
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 22
"บี เตชะอุบล"แถลงด่วน 10.00น.ชี้แจงกรณี TTA [ ทันหุ้น, 02 มิถุนายน 2011 ]
รายงานข่าว เปิดเผยว่า นายบี เตชะอุบล ซึ่งถูกระบุชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าไปเป็นเจรจากับผู้บริหาร บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์(TTA)เพื่อเรียกร้องขอให้มีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นนั้น จะเปิดแถลงข่าวด่วนเพื่อชี้แจงกรณีดังกล่าวในเวลา 10.00 น.วันนี้
รายงานข่าว เปิดเผยว่า นายบี เตชะอุบล ซึ่งถูกระบุชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าไปเป็นเจรจากับผู้บริหาร บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์(TTA)เพื่อเรียกร้องขอให้มีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นนั้น จะเปิดแถลงข่าวด่วนเพื่อชี้แจงกรณีดังกล่าวในเวลา 10.00 น.วันนี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 24
Update/ 'บี' ลั่น ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับ TTA ระบุผถห.รายย่อย-กองทุน ฯให้เป็นคนกลาง ขณะที่ วิจิตร ปฎิเสธรับตำแหน่งประธานบริษัท
'บี' ลั่น ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับ TTA ระบุผถห.รายย่อย-กองทุน ฯให้เป็นคนกลางขณะ
ที่ วิจิตร ปฎิเสธรับตำแหน่งประธานบริษัท ขณะที่ชี้บริษัทมีความบิดเบือน -บริหารงานขาดทุนต่อ
เนื่อง
นายบี เตชะอุบล กล่าวแถลงข่าวในกรณีการเทคโอเวอร์ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์
ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ว่าการยื่นหนังสือเพื่อให้มีการเปิดประชุมวิสามัญของผู้ถือหุ้นราย
ย่อยของ TTA เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ไม่ใช่การเทคโอเวอร์กิจการอย่างแน่นอน
แต่เป็นเพียงการรวมตัวกันของผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ไม่พอใจผลประกอบการกลับไม่
สามารถตรวจสอบและทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานจากผู้บริหารของทาง TTA ได้ ซึ่งโดย
ส่วนตัวไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องดังกล่าว แต่มีบทบาทในการเป็นตัวแทนจัดให้มีการพบปะ ให้ผู้
ถือหุ้นและผู้บริหาร TTA ได้พูดคุยและหารือกันเพื่อสร้างความเข้าใจและหาแนวทางที่จะทำให้
TTA เติบโตต่อไปได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็น
และมีการเคลื่อนหากพบปัญหาหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของผู้บริหาร
ทั้งนี้ทางกองทุนแอตลาส โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทการลงทุนรวมทั้งผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวน
หนึ่งไม่สบายใจและไม่พอใจกับผลประกอบการ รวมถึงราคาหุ้น TTA และความกังวลเกี่ยวกับการ
ขยายธุรกิจไปต่างประเทศหลายโครงการซึ่งไม่ใช่ธุรกิจหลัก แต่ไม่สามารถติดต่อกับฝ่ายบริหาร
ของ TTA ได้ จึงได้ติดต่อให้นายวิจิตร สุพินิจ นายวีระ มานะคงตรีชีพ และตัวเอง เป็นตัวแทนจัด
ให้มีการพบปะหารือกัน โดยในการหารือรอบที่ผ่านมาทางกองทุนดังกล่าวได้เสนอให้นายวิจิตร
เข้ามารับตำแหน่งประธานบริษัท TTA แทนนายอัศวิน คงสิริ แต่ทางนายวิจิตรได้ปฏิเสธตำแหน่ง
ดังกล่าว เนื่องจากอยู่ระหว่างการเป็นประธานกรรมการ ก.ล.ต. จึงไม่สามารถรับหน้าที่ดังกล่าว
ได้ ซึ่งมีหน้าที่เพียงนัดเจรจากับทางผู้บริหาร TTA เท่านั้น
'มีนักลงทุนรายย่อยต่างประเทศติดต่อมา รวมทั้งกองทุนต่างประเทศด้วยต้องการพูด
คุยกับผู้บริหาร TTA แต่นัดไม่ได้ เขามีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้ช่วยหา
ทางให้หน่อย ทางผมก็เลยปรึกษาผู้ใหญ่คือคุณวีระก็แนะนำให้ไปหาประธาน ก.ล.ต.ให้นัดให้
เพราะหน้าที่ของ ก.ล.ต.คือดูแลผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว แต่ไม่เข้าใจทำไมผู้บริหาร TTA ต้องทำแบบนี้
ท่านวิจิตรนัดเราเข้าไปพบ ซึ่งทางกองทุนก็เป็นคนเสนอให้คุณวิจิตรรับตำแหน่ง แต่เขาก็ปฏิเสธ
เพราะบอกว่ากำลังนั่งเป็นประธาน ก.ล.ต.อยู่ นี่คือสิ่งที่ผู้บริหาร TTA ไม่ได้พูดให้ทุกคนฟัง เป็น
การเปลี่ยนประเด็นในสิ่งที่ทุกคนควรทราบ' นายบี กล่าว
ทั้งนี้ นายบีได้เรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมตัวกันมางานประชุมวิสามัญที่จะเกิดขึ้น
เพื่อสร้างความชัดเจน ซึ่งโดยส่วนตัวได้ซื้อหุ้น TTA แล้วจำนวน 100 หุ้น เพื่อเข้าไปฟังการ
ประชุมดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ นายบีและผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องที่กรรมการผู้จัดการใหญ่
และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA ออกมาระบุว่า ตัวเองและครอบครัวถือหุ้นอยู่ไม่ถึง 4 ล้านหุ้น
จากทุนจดทะเบียนทั้งสิ้นรวม 708 ล้านหุ้น ซึ่งหมายถึง TTA ไม่ใช่บริษัทของครอบครัว
แต่เป็นของผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวน 22,000 ราย ที่มีสิทธิอันชอบธรรมในการตรวจ
สอบการบริหารงานของบริษัทฯ และสังเกตว่าภายในระยะเวลา 6 ปีที่ผู้บริหารดังกล่าวเข้ามาบริ
หารงาน มาร์เก็ตแคป ลดลงจาก 3 หมื่นล้านบาท เป็น 1.5 หมื่นล้านบาท ในขณะที่กำไรของ
บริษัทฯ ลดลง 70% ในช่วงปี 2552-2553 ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อย
นอกจากนี้ยังปรากฎว่าในช่วงระยะเวลาเดียวกันเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูงทั้ง 8
ราย เพิ่มขึ้น 2 เท่า จาก 35 ล้านบาทเป็น 72 ล้านบาท ขณะที่เงินเดือนของคณะกรรมการ
บริษัทฯ และระดับผู้จัดการมีมูลค่าสูงถึง 131 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นอยากทราบว่าผู้
บริหารกำลังดำเนินการอะไร
'สิ่งที่เขาแถลงมีความบิดเบือนและคุณวิจิตรก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ผมรู้จักคนที่เข้ามา
คุยที่เป็นรายย่อยเข้ามาติดต่อ แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับหุ้นตัวนี้ ผมคิดว่าผู้บริหารดิ้นรนไม่ให้มี
การประชุม แต่จริงๆ ผู้บริหาร TTA ต้องกังวลว่ามีคนจำนวนมากมาร้องขอความเป็นธรรมและมา
รวมตัวกันในเรื่องนี้' นายบี กล่าว
สำหรับสาเหตุที่ไม่มีการเข้าไปปรึกษาหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก
ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยตรง แต่เป็นการเข้าไปหารือกับนายวิจิตร โดยตรงนั้น
เนื่องจากมองว่าหากเป็นการเข้าไปคุยกับทาง ก.ล.ต. ควรจะเป็นเรื่องที่มีการร้องเรียนเกิดขึ้น
แล้ว แต่ในกรณีนี้ยังไม่มีการร้องเรียน เพียงแค่ต้องการหารือกับผู้บริหารของทาง TTA เท่านั้น จึง
ไม่ได้ส่งเรื่องเข้าไปทาง ก.ล.ต.
รายงาน โดย ดลนภา บัญชรหัตถกิจ
เรียบเรียง โดย อาภรณ์ สุภาพ
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 02/06/11 เวลา 12:18:16
'บี' ลั่น ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับ TTA ระบุผถห.รายย่อย-กองทุน ฯให้เป็นคนกลางขณะ
ที่ วิจิตร ปฎิเสธรับตำแหน่งประธานบริษัท ขณะที่ชี้บริษัทมีความบิดเบือน -บริหารงานขาดทุนต่อ
เนื่อง
นายบี เตชะอุบล กล่าวแถลงข่าวในกรณีการเทคโอเวอร์ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์
ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ว่าการยื่นหนังสือเพื่อให้มีการเปิดประชุมวิสามัญของผู้ถือหุ้นราย
ย่อยของ TTA เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ไม่ใช่การเทคโอเวอร์กิจการอย่างแน่นอน
แต่เป็นเพียงการรวมตัวกันของผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ไม่พอใจผลประกอบการกลับไม่
สามารถตรวจสอบและทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานจากผู้บริหารของทาง TTA ได้ ซึ่งโดย
ส่วนตัวไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องดังกล่าว แต่มีบทบาทในการเป็นตัวแทนจัดให้มีการพบปะ ให้ผู้
ถือหุ้นและผู้บริหาร TTA ได้พูดคุยและหารือกันเพื่อสร้างความเข้าใจและหาแนวทางที่จะทำให้
TTA เติบโตต่อไปได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะแสดงความคิดเห็น
และมีการเคลื่อนหากพบปัญหาหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของผู้บริหาร
ทั้งนี้ทางกองทุนแอตลาส โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทการลงทุนรวมทั้งผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวน
หนึ่งไม่สบายใจและไม่พอใจกับผลประกอบการ รวมถึงราคาหุ้น TTA และความกังวลเกี่ยวกับการ
ขยายธุรกิจไปต่างประเทศหลายโครงการซึ่งไม่ใช่ธุรกิจหลัก แต่ไม่สามารถติดต่อกับฝ่ายบริหาร
ของ TTA ได้ จึงได้ติดต่อให้นายวิจิตร สุพินิจ นายวีระ มานะคงตรีชีพ และตัวเอง เป็นตัวแทนจัด
ให้มีการพบปะหารือกัน โดยในการหารือรอบที่ผ่านมาทางกองทุนดังกล่าวได้เสนอให้นายวิจิตร
เข้ามารับตำแหน่งประธานบริษัท TTA แทนนายอัศวิน คงสิริ แต่ทางนายวิจิตรได้ปฏิเสธตำแหน่ง
ดังกล่าว เนื่องจากอยู่ระหว่างการเป็นประธานกรรมการ ก.ล.ต. จึงไม่สามารถรับหน้าที่ดังกล่าว
ได้ ซึ่งมีหน้าที่เพียงนัดเจรจากับทางผู้บริหาร TTA เท่านั้น
'มีนักลงทุนรายย่อยต่างประเทศติดต่อมา รวมทั้งกองทุนต่างประเทศด้วยต้องการพูด
คุยกับผู้บริหาร TTA แต่นัดไม่ได้ เขามีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้ช่วยหา
ทางให้หน่อย ทางผมก็เลยปรึกษาผู้ใหญ่คือคุณวีระก็แนะนำให้ไปหาประธาน ก.ล.ต.ให้นัดให้
เพราะหน้าที่ของ ก.ล.ต.คือดูแลผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว แต่ไม่เข้าใจทำไมผู้บริหาร TTA ต้องทำแบบนี้
ท่านวิจิตรนัดเราเข้าไปพบ ซึ่งทางกองทุนก็เป็นคนเสนอให้คุณวิจิตรรับตำแหน่ง แต่เขาก็ปฏิเสธ
เพราะบอกว่ากำลังนั่งเป็นประธาน ก.ล.ต.อยู่ นี่คือสิ่งที่ผู้บริหาร TTA ไม่ได้พูดให้ทุกคนฟัง เป็น
การเปลี่ยนประเด็นในสิ่งที่ทุกคนควรทราบ' นายบี กล่าว
ทั้งนี้ นายบีได้เรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมตัวกันมางานประชุมวิสามัญที่จะเกิดขึ้น
เพื่อสร้างความชัดเจน ซึ่งโดยส่วนตัวได้ซื้อหุ้น TTA แล้วจำนวน 100 หุ้น เพื่อเข้าไปฟังการ
ประชุมดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ นายบีและผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องที่กรรมการผู้จัดการใหญ่
และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA ออกมาระบุว่า ตัวเองและครอบครัวถือหุ้นอยู่ไม่ถึง 4 ล้านหุ้น
จากทุนจดทะเบียนทั้งสิ้นรวม 708 ล้านหุ้น ซึ่งหมายถึง TTA ไม่ใช่บริษัทของครอบครัว
แต่เป็นของผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวน 22,000 ราย ที่มีสิทธิอันชอบธรรมในการตรวจ
สอบการบริหารงานของบริษัทฯ และสังเกตว่าภายในระยะเวลา 6 ปีที่ผู้บริหารดังกล่าวเข้ามาบริ
หารงาน มาร์เก็ตแคป ลดลงจาก 3 หมื่นล้านบาท เป็น 1.5 หมื่นล้านบาท ในขณะที่กำไรของ
บริษัทฯ ลดลง 70% ในช่วงปี 2552-2553 ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อย
นอกจากนี้ยังปรากฎว่าในช่วงระยะเวลาเดียวกันเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูงทั้ง 8
ราย เพิ่มขึ้น 2 เท่า จาก 35 ล้านบาทเป็น 72 ล้านบาท ขณะที่เงินเดือนของคณะกรรมการ
บริษัทฯ และระดับผู้จัดการมีมูลค่าสูงถึง 131 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นอยากทราบว่าผู้
บริหารกำลังดำเนินการอะไร
'สิ่งที่เขาแถลงมีความบิดเบือนและคุณวิจิตรก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ผมรู้จักคนที่เข้ามา
คุยที่เป็นรายย่อยเข้ามาติดต่อ แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับหุ้นตัวนี้ ผมคิดว่าผู้บริหารดิ้นรนไม่ให้มี
การประชุม แต่จริงๆ ผู้บริหาร TTA ต้องกังวลว่ามีคนจำนวนมากมาร้องขอความเป็นธรรมและมา
รวมตัวกันในเรื่องนี้' นายบี กล่าว
สำหรับสาเหตุที่ไม่มีการเข้าไปปรึกษาหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก
ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยตรง แต่เป็นการเข้าไปหารือกับนายวิจิตร โดยตรงนั้น
เนื่องจากมองว่าหากเป็นการเข้าไปคุยกับทาง ก.ล.ต. ควรจะเป็นเรื่องที่มีการร้องเรียนเกิดขึ้น
แล้ว แต่ในกรณีนี้ยังไม่มีการร้องเรียน เพียงแค่ต้องการหารือกับผู้บริหารของทาง TTA เท่านั้น จึง
ไม่ได้ส่งเรื่องเข้าไปทาง ก.ล.ต.
รายงาน โดย ดลนภา บัญชรหัตถกิจ
เรียบเรียง โดย อาภรณ์ สุภาพ
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 02/06/11 เวลา 12:18:16
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 25
วิจิตร สุพินิจ ลาออกประธาน ก.ล.ต. [ 02 มิถุนายน 2011 ]
มรสุม TTA-พนักงานก.ล.ต.แต่งดำประท้วง กดดัน "วิจิตร สุพินิจ" ประธานกรรมการ ก.ล.ต. ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งแล้ว!!
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ส่งเอสเอ็มเอสให้พนักงานและผู้บริหาร สำนักงาน ก.ล.ต.ทุกคนโดยระบุว่า นายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ ก.ล.ต.ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารและพนักงาน ก.ล.ต.ที่แต่งชุดดำยังไม่ยอมสลายตัวจากการชุมนุนประท้วง เนื่องจากต้องการรอดูผลการประชุมคณะกรรมการก.ล.ต.ก่อนว่าจะตัดสินใจอย่างไรบ้าง
มรสุม TTA-พนักงานก.ล.ต.แต่งดำประท้วง กดดัน "วิจิตร สุพินิจ" ประธานกรรมการ ก.ล.ต. ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งแล้ว!!
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ส่งเอสเอ็มเอสให้พนักงานและผู้บริหาร สำนักงาน ก.ล.ต.ทุกคนโดยระบุว่า นายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ ก.ล.ต.ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารและพนักงาน ก.ล.ต.ที่แต่งชุดดำยังไม่ยอมสลายตัวจากการชุมนุนประท้วง เนื่องจากต้องการรอดูผลการประชุมคณะกรรมการก.ล.ต.ก่อนว่าจะตัดสินใจอย่างไรบ้าง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 26
ควรจะไล่ออก
เมืองไทย ตำแหน่งยิ่งสูงยิ่งเห็นแก่ตัวและโลภมาก
หรือว่าระบบของเมืองไทยจะคัดคนโกง ให้มีตำแหน่งใหญ่โต
เมืองไทย ตำแหน่งยิ่งสูงยิ่งเห็นแก่ตัวและโลภมาก
หรือว่าระบบของเมืองไทยจะคัดคนโกง ให้มีตำแหน่งใหญ่โต
Blueplanet
-
- Verified User
- โพสต์: 1266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 28
คุณวิจิตร ยังไงก็ต้องพ้นจากตำแหน่งตามวาระเนื่องจากอายุครบ 70 ปี ในวันที่ 13 ก.ค. นี้อยู่แล้ว เจอ พ.น.ง แต่งดำประท้วง เลยไขก๊อกออกก่อน 1 เดือน ..
เรื่อง TTA สองฝ่าย พูดคนละที กลายเป็นคนละเรื่อง อย่างหนึ่งที่เรียนรู้ได้ก็คือ การที่ไม่มี ผถห รายใหญ่ บางทีก็เป็นปัญหาได้เหมือนกัน
เรื่อง TTA สองฝ่าย พูดคนละที กลายเป็นคนละเรื่อง อย่างหนึ่งที่เรียนรู้ได้ก็คือ การที่ไม่มี ผถห รายใหญ่ บางทีก็เป็นปัญหาได้เหมือนกัน
ความรู้คู่เปรียบด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ TTA ?
โพสต์ที่ 30
TTAแถลงด่วน!แจงข้อมูลบริษัทถูกบิดเบือน [ นสพ.ทันหุ้น, 10 มิถุนายน 2011, เวลา 12.41 น. ]
ผู้บริหาร TTA เตรียมแถลงข่าวด่วน! ในช่วงบ่ายของวันนี้ แจงข้อมูลบริษัทถูกบิดเบือน
รายงานข่าวเปิดเผยว่า บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (TTA) เตรียมแถลงข่าวด่วนในช่วง 13.00 น. ที่ห้องประชุมบริษัท ชั้น 5 อาคารอรกานต์ ถนนชิดลม กรุงเทพมหานคร เพื่อรับฟังการชี้แจงเรื่อง "ความเข้าใจผิดกรณีการบิดเบือนข้อมูลของบริษัทฯ"โดยมี ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต ประธานและ กรรมการผู้จัดการผู้จัดการใหญ่ และ นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มการเงินและบัญชี เป็นผู้แถลง
ผู้บริหาร TTA เตรียมแถลงข่าวด่วน! ในช่วงบ่ายของวันนี้ แจงข้อมูลบริษัทถูกบิดเบือน
รายงานข่าวเปิดเผยว่า บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (TTA) เตรียมแถลงข่าวด่วนในช่วง 13.00 น. ที่ห้องประชุมบริษัท ชั้น 5 อาคารอรกานต์ ถนนชิดลม กรุงเทพมหานคร เพื่อรับฟังการชี้แจงเรื่อง "ความเข้าใจผิดกรณีการบิดเบือนข้อมูลของบริษัทฯ"โดยมี ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต ประธานและ กรรมการผู้จัดการผู้จัดการใหญ่ และ นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มการเงินและบัญชี เป็นผู้แถลง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."