ผมแปลกใจธรรมดากำไรไตรมาสสองมักจะไม่ดีเท่าไร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

ผมแปลกใจธรรมดากำไรไตรมาสสองมักจะไม่ดีเท่าไร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

แหล่งข่าว จากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าในการประชุมครม.วันนี้ (13 ม.ค.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรฯ ได้เสนอให้ ครม.พิจารณาโครงการแปลงสวนยางเป็นทุน ตั้งแต่ปี 2547-2553 โดยขอใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,910.68 ล้านบาท ของเกษตรกรตามเป้าหมายในพื้นที่ 17 จังหวัด จำนวน 529,985 ราย คิดเป็นพื้นที่สวนยาง 6,947,931 ไร่

โดยแบ่งเป็นเกษตรกร 43,225 ราย ที่มีพื้นที่ปลูกยางพาราในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าที่ ครม.มีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ 1,002,100 ไร่ และเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ 486,760 ราย ที่ต้นยางพารามีอายุกว่า 15 ปี พื้นที่ 5,945,831 ไร่ โดยเกษตรกรผู้ปลูกสวนยางข้างต้น สามารถเข้าถึงแหล่งทุนเงินได้ นอกจากนั้น ยังเพิ่มปริมาณไม้ยางแปรรูปจากปัจจุบันปีละ 6.91 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 15.67 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2553

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ รายงานว่า การแปลงไม้ยางของเกษตรกร ที่อยู่ในเขตป่าสงวนและของเจ้าของสวนยางสงเคราะห์เป็นทุน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับไม้ยางและอุตสาหกรรมไม้ยาง โดยมีวิธีการดำเนินงานกับเกษตรกรใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 โครงการสวนยางเอื้ออาทร เป็นโครงการที่เกษตรกรซึ่งปลูกยางในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าที่ ครม. มีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยองค์การสวนยาง (อสย.) เป็นผู้ขอเข้าทำประโยชน์ และนำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรที่ปลูกยางพารา ไม่เกินรายละ 30 ไร่ ระยะเวลาร่วมโครงการ 25 ปี

ทั้งนี้ เกษตรกรจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการปฏิบัติที่ ก.เกษตรและสหกรณ์กำหนด และอสย. จะเป็นผู้นำไม้ยางพาราและน้ำยางออกจากป่า โดยจะมีการจัดระบบสงเคราะห์สวนยางทั้งหมดให้แก่เกษตรกร และรับซื้อไม้ยางจากเกษตรกรราคาตลาด ในราคาไม่ต่ำกว่าไร่ละ 30,000 บาท เมื่อสวนยางมีไม้ยางที่ได้คุณภาพ ตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด

กลุ่มที่ 2 จะเป็นเจ้าของสวนสงเคราะห์ ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้จะสมัครเข้าร่วมโครงการกับ อสย. โดยกระทรวงเกษตรฯได้รายงานอีกว่า ได้มีการกำหนดมาตรฐานการออกเอกสารสิทธิ การประมูลมูลค่าไม้ยาง การเข้าถึงแหล่งทุน ของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการแปลงสวนยางเป็นทุน โดยกรมวิชาการเกษตรจะร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้กำหนดมาตรฐานกลางคุณภาพไม้ยาง และราคาไม้ยาง

สำหรับการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกร ได้กำหนดให้ สกย. สำรวจและรังวัดสวนยางและให้กรมวิชาการเกษตรจดทะเบียนออกเอกสารสิทธิในนาม "การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)" ให้แก่ เกษตรกรกลุ่มที่ 1 โดยมีเอกสารสิทธิ 2 ประเภทคือ กยท. 1 เป็นเอกสารสิทธิรับรองสิทธิสวนยาง และ กยท. 2 เป็นเอกสารรับรองมูลค่าไม้ยาง ส่วนเกษตรกรกลุ่มที่ 2 จะได้รับ กยท. 2 ซึ่งเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มสามารถนำเอกสารสิทธิดังกล่าวไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้

ส่วนการประเมินมูลค่าไม้ยาง จะเปิดให้เอกชนที่มีใบอนุญาตเข้ามาประเมิน โดยหลังจากเกษตรกรมีเอกสารสิทธิ และได้รับการประเมินมูลค่าไม้ยางแล้ว อสย. จะจัดระบบและนำไม้ยางทั้งหมดของโครงการเข้าขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยจะทำหน้าที่เป็นเคลียริ่ง เฮ้าส์ ให้กับสถาบันการเงินที่จัดทุนให้แก่เกษตรกร

สำหรับระยะเวลาดำเนินโครงการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะเร่งด่วน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2553 โดยในปี 2547 ต้องออกเอกสารสิทธิให้แล้วเสร็จ และเริ่มจัดระบบการสงเคราะห์ปีละ 140,000 ไร่ ตั้งแต่ปี 2547-2553 และระยะเวลาปกติ สำหรับสวนยางสงเคราะห์ตั้งแต่ 2547 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า การดำเนินโครงการดังกล่าว จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,910.68 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณให้กับกรมวิชาการเกษตร เพื่อออกเอกสารสิทธิสำรวจรังวัด และออกเอกสารรับรอง ไร่ละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 347.40 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปี เงินค่าประมูลค่าไม้ยาง 1,563.28 ล้านบาท ซึ่งเงินในส่วนนี้เกษตรกรจะเป็นผู้จ่าย โดยเกษตรกรที่อยู่ในโครงการสวนยางเอื้ออาทร จะมีการหักเงินจาก Cess 1 ล้านไร่ จำนวน 225.47 ล้านบาท และเจ้าของสวนยางสงเคราะห์จ่ายเอง 5.9 ล้านไร่ จำนวน 1,337.81 ล้านบาท

ทั้งนี้ คาดว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการใน 17 จังหวัดจำนวน 529,985 ราย พื้นที่ปลูกยาง 6,947,931 ไร่ สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ คิดเป็นเงินทุน 207,000 ล้านบาท อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยาง จากปัจจุบัน 28,716 ล้านบาท เป็น 76,380 ล้านบาท ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้น 47,664 ล้านบาท รวมผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะเข้าถึงแหล่งทุน และเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางทั้งระบบคิดเป็นเงิน 254,664 ล้านบาท
แก้ไขล่าสุดโดย hot เมื่อ ศุกร์ พ.ค. 21, 2004 3:08 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

รายงานการผลิตยางในภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ปัญหาการผลิตยางแท่ง STR 20 ในประเทศไทย คือ มีต้นทุนสูง เป็นผลมาจาก ต้องสูญเสียเวลาและพลังงาน ในการจำกัด สิ่งสกปรกที่ติดมากับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่ ได้แก่ ยางก้อนที่มีการผลิตไม่ได้คุณภาพ มีสิ่งสกปรกปนอยู่มาก นอกจากนี้ เกษตรกรที่ผลิตยางก้อนยังขายยางก้อนได้ราคาต่ำ จึงได้ศึกษา วิธีการผลิต ยางก้อนที่เหมาะสม เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางแท่ง และหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางก้อน ที่เป็นจริงหลังจากผึ่งยางก้อนไว้ ในระยะเวลาต่าง ๆ กัน เพื่อให้การประเมินราคายางก้อน ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

โดยการทดลองเบื้องต้น เพื่อหาอัตรากรดที่เหมาะสมที่ทำยางสมบูรณ์ พบว่า การใช้กรดอัตราต่ำ 0.4% ของเนื้อยาง ทั้งในกรดฟอร์มิคและซัลฟูริค ทำให้ยางจับตัวได้อย่างสมบูรณ์ และควรใช้ความเข้มข้น 2% เพื่อเกษตรกรใช้ได้ อย่างสะดวกและถูกต้องแม่นยำ ส่วนขนาดก้อนยาง ที่จับตัวได้อย่างสมบูรณ์ ในถ้วยรองรับน้ำยางไม่ควรเกิน 300 cc. ผลผลิตยางต่อครั้ง กรีดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 200 - 300 cc. ซึ่งเมื่อนำ ชนิดของกรด 2 ชนิด มาใช้ในการทดลอง จับตัวของยางก้อน คือ กรดฟอร์มิค และขนาดยางก้อน 4 ขนาด โดยให้จับตัวในถ้วยรองรับน้ำยาง 3 ขนาด คือ 100, 200, และ 300 cc. และจับตัวในตะกงขนาดยางก้อน 300 cc.

เมื่อระยะเวลาในการผึ่งยางเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์ความชื้นในก้อนยางลดลง โดยในวันแรกของการผึ่งก้อน ทำให้เปอร์เซ็นต์ ความชื้นในก้อนยาง ลดลงสูงสุด คือ เปอร์เซ็นต์ความชื้น ของยางก้อน ที่ทำให้จับตัวในถ้วยรองรับ
น้ำยางทั้ง 3 ขนาด ลดลง 12 - 16 % และหลังผึ่งยางก้อน 7 วันขึ้นไป ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้น ลดน้อยมาก จนไม่แตกต่าง
ทางสถิติ หรือมีค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางคงที่นั่นเอง ส่วนเปอร์เซ็นต์ความชื้น ยางก้อนที่ทำให้จับตัวในตะกง ลดลง 12 % ในวันแรกของผึ่งยางก้อนและเปอร์เซ็นต์เนื้อยางคงที่หลังผึ่งยางนาน 9 วันขึ้นไป ซึ่งเป็นผลมาจาก บริเวณผิวของยางก้อนแห้งและเคลือบยางก้อน ทำให้ความชื้นที่มีอยู่เหลืออยู่ในยางก้อนไม่สามารถระเหยออกไปได้อีก เมื่อนำยางก้อนที่ผึ่งไว้ตามระยะเวลาต่าง ๆ ไปทำการประเมินราคา พบว่า การประเมินราคาของบริษัทผู้ผลิตยางแท่ง ใช้หลักการประเมินราคายางก้อนจากเปอร์เซ็นต์เนื้อยางด้วยสายตา ซึ่งราคาประเมินของยางก้อนที่ผึ่งไว้นาน 1-7 วัน ต่ำกว่าราคายางก้อนที่ควรจะได้จริง 0.50 - 1.00 บาท/กก. แต่ยางก้อนที่ผึ่งไว้นานเกิน 7 วันขึ้นไป ราคาประเมินยางก้อน ของบริษัทผลิตยางแท่ง ใกล้เคียงกับราคายางก้อน ที่ควรจะได้จริง ส่วนการประเมินราคาของพ่อค้ารับซื้อยาง พบว่า ราคายางก้อน ที่ประเมินต่ำกว่าราคา ควรที่จะได้จริง ประมาณ 5-6 บาท/กก. แต่ยางที่ไม่ได้ทำการผึ่งเลย คือ ขายในวันนั้น ทันที่ หลังจากทำเสร็จได้ราคาสูงกว่าราคาที่ควรได้

แต่ความเป็นจริงแล้ว เกษตรกร ไม่สามารถนำยางก้อน หลังจากทำเสร็จสิ้นไปขายได้ทันที อาจนำไปขายในวันรุ่งขึ้น เป็นอย่างเร็วที่สุด ซึ่งความชื้นยางก้อน ก็จะลดลงไปอย่างรวดเร็ว เช่นกัน ดังนั้น ถ้ามีการผลิตยางก้อน เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางแท่งอย่างจริงจัง ควรใช้กรด ช่วยในการจับตัวของยางในอัตรา 0.4% ของน้ำยาง โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 2%

การซื้อขายก็ควรมี การรวมกลุ่มกัน ของเกษตรกร เพื่อให้ได้ยางก้อน ที่มีปริมาณเพียงพอ ที่ส่งขายโรงงาน ผลิตยางก้อนโดยตรง และสามารถควบคุมคุณภาพยางก้อน ให้สม่ำเสมอ ตลอดจน ควรมีการรณรงค์ให้เกษตรกร มีทัศนคติในการผลิตยางก้อน ที่มีคุณภาพดี ซึ่งทำให้ขายยางก้อน ในราคาที่ยุติธรรม ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ในเรื่องของ ชนิดกรดที่ใช้ ในการจับตัวของยางก้อนพบว่า การทำให้ยางจับตัว ของกรดฟอร์มิค ทำให้น้ำที่เหลืออยู่ ในยางก้อน น้อยกว่าการใช้กรดซัลฟูริค และเมื่อระยะเวลาในการผึ่งยางมากขึ้น เปอร์เซ็นต์ความชื้นของยางก้อน ที่ทำให้จับตัวด้วยกรดซัลฟูริค ระเหยออกไปได้เร็วกว่า ยางก้อนที่ทำให้จับตัวด้วยกรดฟอร์มิค แต่หลังผึ่งยางเกิน 5 วันขึ้นไป การใช้กรดทั้ง 2 ชนิด ไม่ทำให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยาง แตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งเมื่อพิจารณา ราคากรดทั้ง 2 ชนิด กรดซัลฟูริค มีราคาต่ำกว่าราคากรดฟอร์มิคมาก แต่เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพยางก้อน ที่ผลิตด้วยกรดซัลฟูริค น่าจะมีปริมาณซัลเฟอร์ ตกค้างมากกว่ายางก้อนที่ผลิตด้วยกรดฟอร์มิค ซึ่งนำไปผลิตเป็น ยางแท่ง และผลิตภัณฑ์ยาง จะทำให ้เกิดความเสียหาย ต่อขบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางต่อไปได้
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

อืม

โพสต์ที่ 3

โพสต์

การปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นท้องที่ใหม่ การผลิตยางอยู่ในระยะเริ่มต้น ในปี 2540-2541 ผลิตได้ประมาณ 7,317 ตัน
ตั้งแต่เริ่มโครงการปลูกยาง หลายฝ่ายมีความเห็นว่า การแปรรูปยาง จะเป็นปัญหาสำคัญเพราะการทำยางแผ่น ของชาวสวนยาง จำเป็นต้องใช้
น้ำสะอาด ในปริมาณมาก แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นท้องที่แห้งแล้ง
ขาดน้ำในฤดูแล้ง

จากความวิตกกังวลดังกล่าวจึงตั้ง ข้อสังเกตุกันว่า การผลิตยางใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรจะต้องหลากหลาย ตามความสะดวก
และความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละแห่ง

จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษาสภาพการแปรรูปยางที่เป็นเอกลักษณะของรูปแบบยาง
ที่ชาวสวนผลิตออกขาย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อหาทางพัฒนาให้ชาวสวนมีการแปรรูปแบบ
เหมาะสมและมีรายได้สูงขึ้น

การศึกษาโครงการพัฒนาให้ ชาวสวนมีการแปรรูปยาง ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำท้องที่ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ โรงทำยางและโรงอบยาง ที่รัฐบาลจัดหาให้กลุ่มชาวสวนผ่าน
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง รูปแบบของยาง ชั้นยางที่ชาวสวนสมาชิกกลุ่มผลิตได้ และชาวสวนยาง
กระจัดกระจายผลิตได้ระดับความสำเร็จของโครงการโรงงานแปรรูปของเอกชน และการศึกษาสภาพท้องที่ในลักษณะ
ของการกระจัดกระจายการขนส่งและสภาพน้ำกิน น้ำใช้ โดยการรวมกลุ่มทำยางของชาวสวน

สรุปการศึกษา

ตั้งแต่มีการเปิดกรีดยางและแปรรูปยางประมาณ 6-7 ปี ที่ผ่านมาพบว่าชาวสวน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทั่วไปเริ่มต้นด้วย การทำยาง แผ่นดิบขาย มาโดย
ตลอด ทั้งนี้ เพราะในระยะเริ่มแรก สวนเปิดกรีดมีน้อยกระจัดกระจาย พ่อค้ารับซื้อ
มีน้อย จึงเป็นความจำเป็น สำหรับชาวสวนที่จะต้องทำเป็นแผ่น เพราะสามารถเก็บไว้
รอขายได้เป็นเวลานานวัน สำหรับการรมควันยางนั้น มีเพียงสมาชิกนิคมสร้างตนเอง
ที่อำเภอประสาท จังหวัดบุรีรัมย์ แห่งเดียวที่มีการรมควันยางขาย ชาวสวนใน
แหล่งอื่น ๆ ทำยางแผ่นดิบกันหมด

เมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้จัดกลุ่มทำยางแผ่นแหล่งกลาง และโรงอบยางขึ้น จำนวน 62 โรง
ซึ่งแต่ละโรงทำยางจะมีตะกงจักรรีดยาง บ่อน้ำ สำหรับสมาชิกจำนวน
ประมาณ 30 คนและมีโรงอบยางขนาดความจุ 500 แผ่น โรงทำยางแผ่นแหล่งกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสอนให้ชาวสวนรู้จัก
วิธีทำยางแผ่นชั้นดี ถูกต้องตามมาตรฐาน

ปรากฏว่า โดยภาพรวมชาวสวนยางสามารถทำยางแผ่นดิบได้คุณภาพ 1 ร้อยละ 17 คุณภาพ 2 ร้อยละ 25
คุณภาพ 3 ร้อยละ 51 และ คุณภาพ 4 ร้อยละ 7 ของยางแผ่นที่ผลิตได้ทั้งหมด จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอุบลราชธานี
ทำยางแผ่นดิบได้คุณภาพ 1 และ 2 ได้มากที่สุด กลุ่มทำยางแหล่งกลางจำนวน 62 โรงดังกล่าว ครอบคลุมสมาชิก
ได้ประมาณ 1,800 คน หรือประมาณร้อยละ 45 ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่อีกประมาณร้อยละ 55 หรือประมาณ 2,200 คน
อยู่กันอย่างกระจัดกระจายเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะสร้างโรงทำยางแหล่งกลางได้ สำหรับโรงอบยางที่ควบคู่อยู่กับ
โรงทำยางนั้น จุยางแผ่นได้เพียง 500 แผ่น และเป็นการใช้อบยางให้ความชื้นเหลือน้อยที่สุด
มิได้อบจนแห้งสนิท รูปแบบของยางยังไม่เปลี่ยนแปลงไป จากยางแผ่นดิบไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าพื้นที่กรีด
และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่ง ในอนาคตคาดว่าจะมีผู้ประกอบการหลายรายสนใจที่จะตั้ง โรงงานผลิตน้ำยางข้น
มากกว่าที่จะตั้งโรงงานผลิตยางแท่ง
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

จำนวนที่ผลิตในภาคตะวันออก

โพสต์ที่ 4

โพสต์

คุณภาพยางแผ่นที่ชาวสวนยางภาคตะวันออกเฉียงเหนือผลิตได้
สกย. เปอร์เซ็นต์คุณภาพชั้นยางแผ่นดิบ แผ่นรมควัน รวม
1 2 3 4 % % ตัน
1. บุรีรัมย์ 56 18 11 3 12 100 1,192
(นครราชสีมา)
2.สุรินทร์ 13 36 47 4 - 100 1,449
(รวมศรีสะเกษ)
3.อุบลราชธานี 32 26 35 7 - 100 291
(รวมยโสธรและอำนาจเจริญ)
4.ขอนแก่น 5 20 48 27 - 100 296
5.อุดรธานี 15 29 46 10 - 100 1,640
6.หนองคาย 1 14 77 8 - 100 2,449
เฉลี่ย 17 23 51 7 2 100 7,317
ล็อคหัวข้อ