ขอทราบนิยามหรือความหมายของคำว่า SUPER STOCK ค่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอทราบนิยามหรือความหมายของคำว่า SUPER STOCK ค่ะ
โพสต์ที่ 2
http://www.thaivi.com/2010/01/110/
In Search of Super Stock
Posted on January 31, 2010 by ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor 30 มกราคม 53
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Value Investor ในเมืองไทยส่วนใหญ่นั้นนับถือและยกย่อง วอเร็น บัฟเฟตต์ แต่น้อยคนที่จะทำตามวิธีการลงทุนของเขาที่เน้นการลงทุนในหุ้นของกิจการที่ดีสุดยอดในราคาที่ยุติธรรมหรือที่เรียกกันว่า Super Stock เหตุผลคงเป็นว่า ข้อแรก Value Investor ในตลาดหุ้นไทยนั้นค่อนข้างจะเน้นในเรื่องของ “ราคา” ซึ่งเป็นพื้นฐานดั้งเดิมของการลงทุนแบบ Value Investment ที่เสนอโดย เบน เกรแฮม ในขณะที่ “คุณภาพ” ของกิจการนั้น นักลงทุนคิดว่าเป็น “ตัวประกอบ” พูดง่าย ๆ ถ้าราคาหุ้น “ไม่ผ่าน” ก็ไม่ต้องดูว่าคุณภาพเป็นอย่างไร ข้อสอง เหตุที่นักลงทุนไม่ชอบลงทุนในหุ้น Super Stock นั้น เพราะไม่รู้ว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยม ถ้าจะว่าไป หลายคนก็ยังสงสัยว่าในเมืองไทยนั้นมีหุ้นที่เรียกได้ว่าเป็น Super Stock แบบในสหรัฐอเมริกาจริง ๆ หรือเปล่า และสุดท้ายก็คือ Value Investor อาจจะคิดว่า การหาหุ้นถูกซื้อแล้วขายทำกำไรเมื่อราคาหุ้นขึ้นแล้วก็เปลี่ยนไปหาหุ้นถูกตัวใหม่น่าจะสร้างผลตอบแทนดีกว่าการซื้อหุ้น Super Stock แล้วถือยาวแบบ บัฟเฟตต์
ผมคงไม่ถกเถียงว่าการลงแนวไหนจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากัน แต่จะพยายามตอบคำถามว่าจะมองหาหุ้นที่เรียกว่า Super Stock อย่างไร และต่อไปนี้คือคุณสมบัติที่ Super Stock มักจะเป็นหรือมีอยู่
ข้อแรก Super Stock จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า Durable Competitive Advantage (DCA) หรือการได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน และความได้เปรียบนี้เป็นเรื่องของโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก โดยแหล่งของความได้เปรียบใหญ่ ๆ อยู่ที่เรื่องของชื่อยี่ห้อที่โดดเด่น และเรื่องของต้นทุนสินค้าที่ต่ำกว่าเนื่องจากกิจการมีขนาดที่เหมาะสมหรือมีขนาดที่ใหญ่กว่าคู่แข่งมากโดยที่คู่แข่งไม่สามารถหรือไม่ประสงค์ที่จะเพิ่มขนาดของกิจการเพื่อให้มีต้นทุนเท่าเทียมได้ เรื่องของ DCA นี้ บ่อยครั้ง นักลงทุนอาจจะวิเคราะห์ผิด เอา “ความได้เปรียบชั่วคราว” มาเป็นความได้เปรียบที่ “ยั่งยืน”
ข้อสอง หุ้นสุดยอดนั้น จะต้องอยู่ในช่วงของ Virtuous Circle หรือ “วงจรแห่งความรุ่งเรือง” นั่นก็คือ ในกระบวนการเติบโตของบริษัทนั้น ทำให้บริษัทได้เปรียบคู่แข่งมากขึ้นไปอีก เช่นต้นทุนลดลงไปอีก ในเวลาเดียวกัน สินค้าและบริการกลับดีขึ้นและช่วยเร่งการเติบโตของยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้น เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
ข้อสาม Super Stock นั้นจะต้องมีศักยภาพสูงมาก นั่นคือ ตลาดของสินค้าหรือบริการจะต้องใหญ่มาก และบริษัทอยู่ในสถานะที่จะ “ยึดครอง” ตลาดนั้นได้ พูดง่าย ๆ เราสามารถมองคร่าว ๆ ได้ว่าในอนาคตระยะยาว บริษัทน่าจะสามารถมียอดขายได้ค่อนข้างสูงกว่าปัจจุบันมาก และยอดขายนั้นจะทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้นเป็นทวีคูณ
ข้อสี่ การเติบโตของบริษัทที่ผ่านมานั้นน่าประทับใจเป็นเลขสองหลัก คือมากกว่า 10% เกือบทุกปี โดยที่ยอดขายไม่เคยลดลงเลยแม้ในยามที่เศรษฐกิจซบเซาหรือเกิดวิกฤติ เช่นเดียวกัน กำไรของบริษัทก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราใกล้เคียงกับยอดขายหรือดีกว่า
ข้อห้า บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานดีมาก กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงในหลักเกิน 15-20% ต่อปี โดยที่ไม่ได้ก่อหนี้กับสถาบันการเงินมากนัก หนี้ที่มีอยู่สามารถชดใช้ได้ด้วยกำไรจากการดำเนินงานไม่เกิน 5 ปี
ข้อหก บริษัทมี Cash From Operation หรือเงินสดที่ได้จากการทำธุรกิจดีมาก และเมื่อบริษัทจะขยายงานก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากนักเทียบกับยอดขายหรือกำไรที่จะได้รับจากการลงทุนใหม่นั้น
ข้อเจ็ด ผู้บริหารมักจะ “เก่ง” และได้รับการกล่าวขวัญถึงมาก พนักงานของบริษัทมักจะ “ดี” และมี “ความสุข” เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นทั่ว ๆ ไป
ข้อแปด หุ้น Super Stock นั้น มักจะไม่เคยมีราคา “ถูก” ยกเว้นในบางช่วงบางตอนที่บริษัทอาจประสบปัญหาบางอย่างที่ร้ายแรงหรือในช่วงที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ ค่า PE ของ Super Stock ในระดับ 20 เท่า นั้นเป็นเรื่องธรรมดาและไม่ถือว่าแพงเมื่อเทียบกับศักยภาพของกิจการในอนาคต และนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้ Value Investor จำนวนมากหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นสุดยอด เพราะเขาเคยชินกับการลงทุนในหุ้นที่มี PE ไม่เกิน 10 เท่า
ทั้งหมดนั้นก็เป็นคุณสมบัติหลัก ๆ ของ Super Stock แน่นอนใน Super Stock เองก็มี“ดีกรี” ที่ไม่เท่ากัน บางบริษัทอาจจะดีกว่าอีกบริษัทหนึ่ง และที่ชัดเจนก็คือ บริษัทในประเทศไทยนั้นไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบได้กับ Super Stock ในอเมริกาซึ่งมีศักยภาพคลุมไปทั้งโลก อย่างไรก็ตาม มูลค่าของกิจการหรือ Market Cap. ของบริษัทในอเมริกาก็ใหญ่จนเทียบไม่ได้กับบริษัทไทย ดังนั้น เวลาพูดถึง Super Stock ในตลาดหุ้นไทยเราก็ต้องเข้าใจว่าเป็นบริษัทระดับไหน
Value Investor หลายคนอาจจะไม่สนใจที่จะลงทุนในหุ้น Super Stock แต่การเรียนรู้เรื่องของ “คุณสมบัติ” ของบริษัทนั้นก็เป็นประโยชน์ไม่น้อยในการที่จะช่วยเป็น “ตัวประกอบ” ในการเลือกหุ้นลงทุน นั่นก็คือ หลังจากพบหุ้นที่ “ราคาถูก” เข้าเกณฑ์ที่จะซื้อแล้ว ก็ควรดูถึงคุณสมบัติว่าบริษัทน่าจะอยู่ในระดับไหน ถ้าทำได้แบบนี้ ราคาก็จะไม่ใช่เงื่อนไขเดียวที่จะซื้อ สิ่งที่ถูกต้องมากกว่าอาจจะเป็นว่า ไม่ได้ซื้อหุ้นที่ราคาถูกที่สุด แต่เป็นราคาถูกมากเมื่อเทียบกับคุณสมบัติของบริษัท
In Search of Super Stock
Posted on January 31, 2010 by ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor 30 มกราคม 53
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Value Investor ในเมืองไทยส่วนใหญ่นั้นนับถือและยกย่อง วอเร็น บัฟเฟตต์ แต่น้อยคนที่จะทำตามวิธีการลงทุนของเขาที่เน้นการลงทุนในหุ้นของกิจการที่ดีสุดยอดในราคาที่ยุติธรรมหรือที่เรียกกันว่า Super Stock เหตุผลคงเป็นว่า ข้อแรก Value Investor ในตลาดหุ้นไทยนั้นค่อนข้างจะเน้นในเรื่องของ “ราคา” ซึ่งเป็นพื้นฐานดั้งเดิมของการลงทุนแบบ Value Investment ที่เสนอโดย เบน เกรแฮม ในขณะที่ “คุณภาพ” ของกิจการนั้น นักลงทุนคิดว่าเป็น “ตัวประกอบ” พูดง่าย ๆ ถ้าราคาหุ้น “ไม่ผ่าน” ก็ไม่ต้องดูว่าคุณภาพเป็นอย่างไร ข้อสอง เหตุที่นักลงทุนไม่ชอบลงทุนในหุ้น Super Stock นั้น เพราะไม่รู้ว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยม ถ้าจะว่าไป หลายคนก็ยังสงสัยว่าในเมืองไทยนั้นมีหุ้นที่เรียกได้ว่าเป็น Super Stock แบบในสหรัฐอเมริกาจริง ๆ หรือเปล่า และสุดท้ายก็คือ Value Investor อาจจะคิดว่า การหาหุ้นถูกซื้อแล้วขายทำกำไรเมื่อราคาหุ้นขึ้นแล้วก็เปลี่ยนไปหาหุ้นถูกตัวใหม่น่าจะสร้างผลตอบแทนดีกว่าการซื้อหุ้น Super Stock แล้วถือยาวแบบ บัฟเฟตต์
ผมคงไม่ถกเถียงว่าการลงแนวไหนจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากัน แต่จะพยายามตอบคำถามว่าจะมองหาหุ้นที่เรียกว่า Super Stock อย่างไร และต่อไปนี้คือคุณสมบัติที่ Super Stock มักจะเป็นหรือมีอยู่
ข้อแรก Super Stock จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า Durable Competitive Advantage (DCA) หรือการได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน และความได้เปรียบนี้เป็นเรื่องของโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก โดยแหล่งของความได้เปรียบใหญ่ ๆ อยู่ที่เรื่องของชื่อยี่ห้อที่โดดเด่น และเรื่องของต้นทุนสินค้าที่ต่ำกว่าเนื่องจากกิจการมีขนาดที่เหมาะสมหรือมีขนาดที่ใหญ่กว่าคู่แข่งมากโดยที่คู่แข่งไม่สามารถหรือไม่ประสงค์ที่จะเพิ่มขนาดของกิจการเพื่อให้มีต้นทุนเท่าเทียมได้ เรื่องของ DCA นี้ บ่อยครั้ง นักลงทุนอาจจะวิเคราะห์ผิด เอา “ความได้เปรียบชั่วคราว” มาเป็นความได้เปรียบที่ “ยั่งยืน”
ข้อสอง หุ้นสุดยอดนั้น จะต้องอยู่ในช่วงของ Virtuous Circle หรือ “วงจรแห่งความรุ่งเรือง” นั่นก็คือ ในกระบวนการเติบโตของบริษัทนั้น ทำให้บริษัทได้เปรียบคู่แข่งมากขึ้นไปอีก เช่นต้นทุนลดลงไปอีก ในเวลาเดียวกัน สินค้าและบริการกลับดีขึ้นและช่วยเร่งการเติบโตของยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้น เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
ข้อสาม Super Stock นั้นจะต้องมีศักยภาพสูงมาก นั่นคือ ตลาดของสินค้าหรือบริการจะต้องใหญ่มาก และบริษัทอยู่ในสถานะที่จะ “ยึดครอง” ตลาดนั้นได้ พูดง่าย ๆ เราสามารถมองคร่าว ๆ ได้ว่าในอนาคตระยะยาว บริษัทน่าจะสามารถมียอดขายได้ค่อนข้างสูงกว่าปัจจุบันมาก และยอดขายนั้นจะทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้นเป็นทวีคูณ
ข้อสี่ การเติบโตของบริษัทที่ผ่านมานั้นน่าประทับใจเป็นเลขสองหลัก คือมากกว่า 10% เกือบทุกปี โดยที่ยอดขายไม่เคยลดลงเลยแม้ในยามที่เศรษฐกิจซบเซาหรือเกิดวิกฤติ เช่นเดียวกัน กำไรของบริษัทก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอัตราใกล้เคียงกับยอดขายหรือดีกว่า
ข้อห้า บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานดีมาก กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงในหลักเกิน 15-20% ต่อปี โดยที่ไม่ได้ก่อหนี้กับสถาบันการเงินมากนัก หนี้ที่มีอยู่สามารถชดใช้ได้ด้วยกำไรจากการดำเนินงานไม่เกิน 5 ปี
ข้อหก บริษัทมี Cash From Operation หรือเงินสดที่ได้จากการทำธุรกิจดีมาก และเมื่อบริษัทจะขยายงานก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากนักเทียบกับยอดขายหรือกำไรที่จะได้รับจากการลงทุนใหม่นั้น
ข้อเจ็ด ผู้บริหารมักจะ “เก่ง” และได้รับการกล่าวขวัญถึงมาก พนักงานของบริษัทมักจะ “ดี” และมี “ความสุข” เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นทั่ว ๆ ไป
ข้อแปด หุ้น Super Stock นั้น มักจะไม่เคยมีราคา “ถูก” ยกเว้นในบางช่วงบางตอนที่บริษัทอาจประสบปัญหาบางอย่างที่ร้ายแรงหรือในช่วงที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ ค่า PE ของ Super Stock ในระดับ 20 เท่า นั้นเป็นเรื่องธรรมดาและไม่ถือว่าแพงเมื่อเทียบกับศักยภาพของกิจการในอนาคต และนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้ Value Investor จำนวนมากหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นสุดยอด เพราะเขาเคยชินกับการลงทุนในหุ้นที่มี PE ไม่เกิน 10 เท่า
ทั้งหมดนั้นก็เป็นคุณสมบัติหลัก ๆ ของ Super Stock แน่นอนใน Super Stock เองก็มี“ดีกรี” ที่ไม่เท่ากัน บางบริษัทอาจจะดีกว่าอีกบริษัทหนึ่ง และที่ชัดเจนก็คือ บริษัทในประเทศไทยนั้นไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบได้กับ Super Stock ในอเมริกาซึ่งมีศักยภาพคลุมไปทั้งโลก อย่างไรก็ตาม มูลค่าของกิจการหรือ Market Cap. ของบริษัทในอเมริกาก็ใหญ่จนเทียบไม่ได้กับบริษัทไทย ดังนั้น เวลาพูดถึง Super Stock ในตลาดหุ้นไทยเราก็ต้องเข้าใจว่าเป็นบริษัทระดับไหน
Value Investor หลายคนอาจจะไม่สนใจที่จะลงทุนในหุ้น Super Stock แต่การเรียนรู้เรื่องของ “คุณสมบัติ” ของบริษัทนั้นก็เป็นประโยชน์ไม่น้อยในการที่จะช่วยเป็น “ตัวประกอบ” ในการเลือกหุ้นลงทุน นั่นก็คือ หลังจากพบหุ้นที่ “ราคาถูก” เข้าเกณฑ์ที่จะซื้อแล้ว ก็ควรดูถึงคุณสมบัติว่าบริษัทน่าจะอยู่ในระดับไหน ถ้าทำได้แบบนี้ ราคาก็จะไม่ใช่เงื่อนไขเดียวที่จะซื้อ สิ่งที่ถูกต้องมากกว่าอาจจะเป็นว่า ไม่ได้ซื้อหุ้นที่ราคาถูกที่สุด แต่เป็นราคาถูกมากเมื่อเทียบกับคุณสมบัติของบริษัท
In search of super stocks
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอทราบนิยามหรือความหมายของคำว่า SUPER STOCK ค่ะ
โพสต์ที่ 3
superstock ก็ต้องดูครับ ว่า super stock เพียวๆ หรือ เป็น super company
มีแค่ 3 อย่าง
ดีสุดคือ เป็นทั้ง super company และ super stock![Very Happy :D](./images/smilies/icon_biggrin.gif)
มีแค่ 3 อย่าง
ดีสุดคือ เป็นทั้ง super company และ super stock
![Very Happy :D](./images/smilies/icon_biggrin.gif)
value trap
![รูปภาพ](https://2.bp.blogspot.com/_1V7wnZxPqok/RvyhV-RMaOI/AAAAAAAAG7c/04z3d2da2Ec/s400/cartoon+stock+market+rescue.gif)
![รูปภาพ](https://2.bp.blogspot.com/_1V7wnZxPqok/RvyhV-RMaOI/AAAAAAAAG7c/04z3d2da2Ec/s400/cartoon+stock+market+rescue.gif)
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอทราบนิยามหรือความหมายของคำว่า SUPER STOCK ค่ะ
โพสต์ที่ 5
jingvet60 เขียน:CPALL ชัดๆ แต่ไม่มีหุ้นครับ
นอกจากตัวนี้ แล้วพอจะมีตัวอื่น ที่ใกล้เคียงอีกไหมครับ
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอทราบนิยามหรือความหมายของคำว่า SUPER STOCK ค่ะ
โพสต์ที่ 6
TNDTมั้งครับ
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอทราบนิยามหรือความหมายของคำว่า SUPER STOCK ค่ะ
โพสต์ที่ 8
มันคืออะไรหรือครับchowbe76 เขียน:TNDTมั้งครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ