วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียนธุรกิจ

พอดีผมซื้อหนังสือเรื่องฉลาดรู้ทางการเงินซื่งแปลและเรียบเรียงจาก หนังสือ Financial Intelligence พิมพ์ ED 3rd เมื่อกค 53 นี้
มีอยู่บทหนึ่งในหนังสือที่น่าสนใจ จึงสรุปออกมาตามความเข้าใจและนำมาเผยแพร่ครับ
เป็นเรื่องของวงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียนธุรกิจ

วงจรการหมุนเวียนของเงินสด
   = ช่วงระยะเวลาสินค้าคงคลัง + ช่วงระยะเวลาลูกหนี้ ช่วงระยะเวลาเจ้าหนี้การค้า          (หน่วยเป็น วัน)
   = หลักการ
      ช่วงระยะเวลารอคอยที่จะได้รับเงินคือ ช่วงเวลาสินค้าคงคลัง + ช่วงเวลาลูกหนี้ คือหนึ่งรอบของวัฎจักร
      ส่วน ช่วงระยะเวลาที่จะต้องจ่ายเงินคือ ช่วงเวลาเจ้าหนี้การค้า
      ดังนั้นผลต่างของทั้งสองช่วงเวลา หรือ วงจรการหมุนเวียนของเงินสดนี้ จะเป็นตัวบอกว่าบริษัทต้องขาดเงินสดไปเป็นเวลากี่วัน
      อีกนัยหนึ่งผลที่ได้บอกว่าบริษัทสามารถนำเงินสดกลับคืนมาได้เร็วแค่ไหนนับจากเวลาที่บริษัทจ่ายเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า
      จนกระทั่งเวลาที่บริษัทเก็บเงินสดจากลูกหนี้การค้าได้

วงจรหมุนเวียนเงินสดยังเป็นข้อมูลให้คุณสามารถคำนวณได้ว่าจะต้องมีเงินสดเท่าใดที่ต้องจัดหามาสำหรับดำเนินธุรกิจโดย

เงินทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินการ (ล้านบาท)
   = ยอดขายต่อวัน (ล้านบาทต่อวัน) x วงจรหมุนเวียนของเงินสด (วัน)
   = อีกความหมาย นี่คือยอดเงินขึ้นต่ำที่กิจการนี้ต้องการเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินกิจการในช่วงที่ไม่มีเงินเข้า
      เพื่อให้ได้ยอดขายตามที่ต้องการ

ตัวอย่างกับ DRT แล้วกัน งบสิ้นปี2009
ยอดขาย = 2774.56
ลูกหนี้การค้า = 356.66
สินค้าคงคลัง = 424.77
ต้นทุนขาย = 1868.83
เจ้าหนี้การค้า = 182.22

ระยะเวลาเก็บสต็อกสินค้าเฉลี่ย
= 365 x สินค้าคงเหลือ / ยอดขาย = (365 x 424.77) / 2774.56 = 55.88 วัน

ระยะเวลาการเก็บหนี้จากลูกหนี้เฉลี่ย
= 365 x ลูกหนี้การค้า / ยอดขาย = (365 x 356.66) / 2774.56 = 46.92 วัน

ระยะเวลาเครดิตการจ่ายหนี้
= 365 x เจ้าหนี้การค้า / ต้นทุนขาย = (365 x 182.22) / 1868.83 = 35.59 วัน

ยอดขายต่อวัน
= ยอดขาย / 365 = 2774.56 / 365 = 7.6 ล้านบาท

ดังนั้น
วงจรการหมุนเวียนของเงินสด = 55.88 + 46.92 - 35.59 = 67.21 วัน
และ
เงินทุนหมุนเวียนที่จำเป็นสำหรับดำเนินการ = 67.21 x 7.6 = 510.80  ล้านบาท
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

หนังสือแนะนำต่อแค่ว่า ถ้าต้องการลดเงินทุนหมุนเวียนก็อาจจะทำได้โดยลดจำนวนวันของ วงจรการหมุนเวียนของเงินสด  ดัง 3 วิธีต่อไปนี้
      ลดระยะเวลาของการเก็บสินค้าคงคลัง (เก็บสต็อกให้น้อยลง)
      เก็บหนี้จากลูกหนี้ให้เร็วขึ้น
      และสุดท้าย จ่ายหนี้ให้เจ้าหนี้การค้าช้าๆ(อันนี้ไม่ดีนะ เสียชื่อบริษัท)

ทีนี้ผมสงสัยต่อว่า ตัวเลขเงินทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินการนี้ จะเอามาใช้ประโยชน์ต่ออย่างไรได้บ้างครับ เช่นว่า เงินก้อนนี้ควรมากกว่า เงินทุนหมุนเวียน (สินทรัพย์หมุนเวียน ลบ หนี้สินหมุนเวียน)หรือ แค่มากกว่า สินทรัพย์หมุนเวียนก็พอ จึงจะดีกับบริษัท วานผู้รู้ช่วยเฉลยหรือช่วยคิดวิจารณ์ให้ด้วยครับเพราะในหนังสือมันไม่มีต่อแล้วมันจบบทแค่นี้
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
viหัดคลาน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 229
ผู้ติดตาม: 0

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับ แล้ว่บทอื่นๆมีอะไรที่น่าสนใจอีกไหมครับ ที่เกี่ยวกับตลาดหุ้น ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
Yaiba123
Verified User
โพสต์: 423
ผู้ติดตาม: 0

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จากที่ผมพยายามอ่านอย่างช้าๆและพยายามทำความเข้าใจ เลยพบว่า วงจรนี้ หากเราดูแค่จำนวนวันหรือผลลัพธ์สุดท้าย อาจจะแย่ได้ เพราะว่า หากเราลองเปลี่ยนตัวเลขให้จำนวนเงินลูกหนี้การค้ามากขึ้นเป็น556.66 และลดสินค้าคงคลังเป็น 224.77แทน จะเห็นว่า ระยะเวลาเก็บหนี้จากลูกหนี้ เพิ่มขึ้นเป็น 73.23วัน และระยะเวลาเก็บสต็อกสินค้าเหลือแค่ประมาณ 29.57วัน ซึ่งหากดูที่ผลลัพธ์ วงจรเงินหมุนเวียนที่ต้องใช้ ก็ยังเท่าเดิมคือ 67.21ทีนี้ผมเลยเกิดคำถามในใจ ระหว่างบริษัท DRT ที่เก็บหนี้จากลูกหนี้ได้เร็ว แต่สต๊อกสินค้านาน กับบริษัทที่ผมยกตัวอย่าง ซึ่งสต็อกสินค้าน้อยวัน แต่เก็บเงินลูกหนี้ได้ช้าขึ้นอีกมากทีเดียว เท่ากับว่า DRT เสี่ยงที่สต็อกสินค้าจะล้าสมัยได้ แต่บริษัทที่ผมยกตัวอย่างความเสี่ยงที่สต็อกสินค้าจะล้าสมัยและด้อยค่าจะน้อยลง แต่กลับกลายเป็นว่าให้เครดิตลูกหนี้นานขึ้น ซึ่งก็อาจจะเสี่ยงที่จะเกิดการเบี้ยวหนี้มากขึ้น แบบนี้คงต้องดูเป็นบริษัทๆไป หากเป็นบริษัทที่ขายของที่ล้าสมัยเร็ว น่าจะเหมาะที่จะเสี่ยงกับการให้เครดิตลูกหนี้เยอะๆมากกว่ารึเปล่าครับ แต่ถ้าเป็นบริษัทแบบ DRT ที่ขายกระเบื้อง (ผมคิดว่าเรื่องสินค้าล้าสมัยหรือด้อยค่าน่าจะเสี่ยงน้อยนะ อันนี้ผมคิดเอาเองนะครับ พอดีไม่ได้ศึกษาDRTอย่างลึกซึ้ง) คงเหมาะที่จะรีบเก็บเงินจากลูกหนี้ให้ได้ไวมากกว่ามั้ยครับ หรือถ้าเป็นสินค้าที่ต้นทุนค่าวัตถุดิบค่อนข้างผันผวน แบบนี้ยิ่งคิดหนักเลยครับ

กลับกัน ถ้าเปลี่ยนเป็นว่า มีบริษัทที่สามารถมีอำนาจต่อรองระยะเวลาจ่ายเงินเจ้าหนี้ให้มีระยะเวลานานๆได้ แบบนี้มีแต่ได้กับได้เลยครับ ประมาณว่า ยืมเงินคนอื่นมาทำธุรกิจเลยทีเดียว (มีธุรกิจไหนบ้างมั้ยครับที่บริษัทมีอำนาจต่อรองสูงๆ เช่นพวก modern trade พวกนี้อำนาจต่อรองกับเจ้าหนี้สูงมั้ยครับ เผลื่อผมจะเอาไปต่อยอดหาหุ้นเพิ่มขึ้นได้ครับ:oops: )

ยังไงก็แล้วแต่ ขอขอบคุณคุณ navapon มากครับ เป็นบทความที่มีประโยชน์จริงๆครับ
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเดินทางสายนี้คือ จิตใจที่มั่นคงและแน่วแน่.....ส่วนความรู้เป็นสิ่งที่สามารถไขว่คว้าเพื่อตามให้ทันผู้อื่นได้ สู้ต่อไป...
ภาพประจำตัวสมาชิก
unnop.t
Verified User
โพสต์: 924
ผู้ติดตาม: 0

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ระยะเวลาเก็บสต็อกสินค้าเฉลี่ย
= 365 x สินค้าคงเหลือ / ยอดขาย = (365 x 424.77) / 2774.56 = 55.88 วัน
ตรงนี้ไม่ใช่นะครับ ต้องใช้ตัวเลขต้นทุนขาย เพราะสินค้าคงเหลือในงบเป็นตัวเลขต้นทุนสินค้า ต้องใช้ตัวเลขต้นทุนเทียบกัน ลองไปดูใหม่นะครับ  :)

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ working cap คือ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของ working cap มีนัยสำคัญหรือเปล่า เพราะการเพิ่มขึ้นหมายถึงการดึงกระแสเงินสดดำเนินการไปใช้ การลดลงหมายถึงการได้เงินสดเพิ่มขึ้นมา ถ้ายอดขายบริษัทเพิ่มขึ้น working cap น่าจะเพิ่มขึ้นด้วยในอัตราใกล้เคียงกันโดยปรกติ ถ้าไม่ต้องไปแคะดูรายละเอียดในงบดู ยกเว้นพวกโมเดิร์นเทรด ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่ (working cap ติดลบ)

ถ้าลดลงอย่างผิดปรกติของ working cap ควรตามไปดูว่ามีการใช้เงินสดไปทำอะไร เช่น การใช้ไปก่อหนี้ระยะยาว ถือว่าเป็นการใช้เงินทุนผิดประเภท (ดูในงบกระแสเงินสด) แบบนี้มีปัญหาเงินสดแน่นอน
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
potato
Verified User
โพสต์: 233
ผู้ติดตาม: 0

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

unnop.t เขียน:

ถ้าลดลงอย่างผิดปรกติของ working cap ควรตามไปดูว่ามีการใช้เงินสดไปทำอะไร เช่น การใช้ไปก่อหนี้ระยะยาว ถือว่าเป็นการใช้เงินทุนผิดประเภท (ดูในงบกระแสเงินสด) แบบนี้มีปัญหาเงินสดแน่นอน
งง ครับกรุณาอธิบายเพิ่ม ชอบคุณครับ
วอน นอน ดอย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 0

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

navapon เขียน: ทีนี้ผมสงสัยต่อว่า ตัวเลขเงินทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินการนี้ จะเอามาใช้ประโยชน์ต่ออย่างไรได้บ้างครับ เช่นว่า เงินก้อนนี้ควรมากกว่า เงินทุนหมุนเวียน (สินทรัพย์หมุนเวียน ลบ หนี้สินหมุนเวียน)หรือ แค่มากกว่า สินทรัพย์หมุนเวียนก็พอ จึงจะดีกับบริษัท วานผู้รู้ช่วยเฉลยหรือช่วยคิดวิจารณ์ให้ด้วยครับเพราะในหนังสือมันไม่มีต่อแล้วมันจบบทแค่นี้
ปกติผมจะใช้สัดส่วนระหว่าง เงินทุนหมุนเวียน ต่อ ยอดขาย
เพื่อใช้ทำนายว่า ในกรณีที่ยอดขายเพิ่ม บริษัทจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเท่าใด เอาไว้ทำนายความพอเพียงของเงินสด ต่อเนื่องไปถึงทำนายเงินปันผลครับ

BTW, Good Question!
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
ภาพประจำตัวสมาชิก
unnop.t
Verified User
โพสต์: 924
ผู้ติดตาม: 0

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

potato เขียน:
unnop.t เขียน:

ถ้าลดลงอย่างผิดปรกติของ working cap ควรตามไปดูว่ามีการใช้เงินสดไปทำอะไร เช่น การใช้ไปก่อหนี้ระยะยาว ถือว่าเป็นการใช้เงินทุนผิดประเภท (ดูในงบกระแสเงินสด) แบบนี้มีปัญหาเงินสดแน่นอน
งง ครับกรุณาอธิบายเพิ่ม ชอบคุณครับ
คือการพิจารณาการใช้เงินทุนว่าผิดประเภทหรือเปล่า ดูในงบกระแสเงินสด

เงินลงทุนสินทรัยพ์ระยะยาว = เงินกู้ระยะยาว + กำไรเิงินสดจากการดำเนินการ

ถ้าเอาเงินกู้ระยะยาว รวมกับกำไรเงินสดดำเนินการ และพบว่าไม่พอที่จะลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว แล้วพบว่า working cap ลดลง แสดงว่ามีการเอาเงินระยะสั้นนี้ไปซื้อสินรัพย์ระยะยาว แบบนี้มีปัญหาเงินทุนหมุนเวียนแน่นอน ส่วนมาก case นี้ผบห มีปัญหาแน่นอน เช่น เอาเงินสดไปซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร  :twisted:
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
potato
Verified User
โพสต์: 233
ผู้ติดตาม: 0

วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

กระจ่างครับ ชอบตุณครับ :bow:
วอน นอน ดอย
โพสต์โพสต์