Case Study : ยุทธการห่านบิน (การแก้ปัญหาค่าเงิน)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
Verified User
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

Case Study : ยุทธการห่านบิน (การแก้ปัญหาค่าเงิน)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สือเนื่องจากกระทู้ 'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 357#694357

แล้วมีประเด็นน่าสนใจ
แต่อยากให้กระทู้นั้นเป็นที่ถกกันว่า บริษัทไหนได้ประโยชน์อย่างไร หรือจะปรับตัวอย่างไรมากกว่า

ส่วนประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ อยากให้ถกกันในกระทู้นี้ดีกว่านะครับ
ยุทธการ ห่านบิน
Matrix January 7th, 2007

ญี่ปุ่นเค้าเกินดุลมากกว่าเราหลายพันเท่า  เค้าดูแลค่าเงินยังไงไปดูครับ
http://matrix.thaivi.net/2007/01/07/fly ... za-accord/

ยุทธการ   ห่านบิน


ผมเริ่มเข้าสู่วงการหุ้นเมื่อปีค.ศ.  1978  หรือ พ.ศ. 2521

โดยการเป็น Broker ในตลาด Commodity  



โดยซื้อขายสินค้าโคภัณฑ์ในตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก  

โดยมีตลาด CBOT (Chicago Board Of  Trade)

NYSE (New York Security Exchange)


เป็นตลาดรองและอ้างอิงในการซื้อขาย    

ซึ่งเป็นตลาดที่เป็นแหล่งรวมเซียนที่มากและใหญ่ที่สุดในโลก  

ตลาด TFEX และ AFEX  ปัจจุบันของไทยที่เพิ่งเปิดเมื่อเร็วๆนี้    

ถ้าเทียบกันแล้วยังห่างชั้นกันอีกมาก  

ทั้งปริมาณซื้อขาย   จำนวนสมาชิก  และเทคนิคอื่นๆอีกมากมาย


สมัยนั้นการซื้อขายจะดูแนวโน้มและอ้างอิงจากค่า Currency เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ผมจะต้องตรวจสอบความเคลื่อนไหวก่อนเริ่มงานทุกเช้าคือ อัตราแลกเปลี่ยน


ค่าของเงินสกุลหลักใหญ่ๆ   มีผลต่อทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจของโลก  

รวมทั้งแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าจำพวก  Commodities  เป็นอย่างมาก

แม้ปัจจุบันได้เลิกร้างห่างหายการติดตามไปบ้าง   แต่ก็ยังติดตามอยู่ห่างๆ  
เมื่อราวปีค.ศ  1970  เศรษฐกิจอเมริกาเกิด Mini Crash

เนื่องจากขาดดุลทั้งบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลการคลัง  

ที่นักวิชาการเรียกว่า ขาดดุลแฝด (Twin deficits)


ประเทศที่อเมริกาขาดดุลมากที่สุดคือญี่ปุ่น  


เมื่อญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าจากอเมริกามากกว่า 10 ปี  เป็นจำนวนมหาศาล

ดังนั้นอเมริกาจึงใช้มาตรการตอบโต้กดดันทุกวิถีทาง


โดยการบังคับให้ญี่ปุ่นปรับเปลี่ยนค่าเงิน

ซึ่งขณะนั้นถ้าจำไม่ผิดอยู่ราวๆ  250 Yen /  Dollar


และบังคับให้รับซื้อพันธบัตรที่อเมริกาออกมาเป็นจำนวนมาก

เพื่อช่วยอุดหนุน Support อุตสาหกรรมภายในประเทศอเมริกาเอง

ตามที่นักวิชาการเรียกมาตรการนั้นว่า Plaza accord ในปี 1985


พร้อมกับตั้งธงให้กองทุนภายในประเทศ

รวมทั้งจัดตั้งกองทัพกองทุน Hedge Fund  ทั้งหลาย


ออกไปแสวงหาผลกำไรจากตลาดหุ้นต่างประเทศทั่วโลก

โดยไม่จำกัดปริมาณทั้งเครื่องมือทั้งทางตรงแลทางอ้อม

รวมทั้งไม่จำกัดทั้งวิถีทางและวิธีการแต่อย่างใด



เมื่อญี่ปุ่นถูกบังคับให้รับซื้อพันธบัตรจำนวนมาก    

ทำให้ญี่ปุ่นมีเงินคงคลังเป็น US  Dollar มากที่สุดในโลก

 
ในขณะที่อเมริกาปล่อยให้ค่าเงินของตนเองอ่อนค่าลงอย่างมาก

และใช้มาตรการ Farm Act  sanction

(สนับสนุนด้านการเงินโดยอุดหนุนเกษตรกรในประเทศทุกวิถีทาง

เพื่อช่วยเหลือให้ส่งออกได้ในรัฐบาลสมัย  จิมมี่  คาร์เตอร์)



ส่งผลให้เงิน Yen แข็งค่ามากขึ้นเรื่อยๆ จาก 250 Yen  

จนถึง 100 Yen / Dollar ในเวลาอันรวดเร็ว



เมื่อญี่ปุ่นถูกกดดันมากๆเข้า  ส่งออกได้น้อยลงเพราะค่าเงินแข็ง

เจ้าของอุตสาหกรรมส่งออกของญี่ปุ่นก็โวยวายว่า

ถ้าไม่รีบแก้ไข   เห็นทีภาคการส่งออกต้องล้มละลายระเนระนาดแน่  

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงระดมสมองมาช่วยแก้ไขด้วยวิธีที่เรียกว่า


ยุทธการ  ห่านบิน  (Flying Geese)
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
Verified User
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

Case Study : ยุทธการห่านบิน (การแก้ปัญหาค่าเงิน)

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ยุทธการ ห่านบิน

คือ การอพยพย้ายที่อยู่เพื่อเปลี่ยนแหล่งอาหารไปยังแหล่งที่อุดมสมบูรณ์กว่า


โดยการนำเงินสำรองคงคลังที่เป็นสกุล   Dollar  ซึ่งมีค่าด้อยลงไปเรื่อยๆ  

ออกไปลงทุนทั่วโลกโดยเฉพาะแถบเอเซีย ซึ่งรวมทั้งไทยด้วย


หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ


แปลงสินทรัพย์เงินที่อ่อนค่าให้เกิดผลผลิตในเชิงได้เปรียบ

โดยการย้ายฐานการผลิตออกนอกญี่ปุ่น  



เมื่อญี่ปุ่นผลักภาระโดยการนำเงิน  Dollar ที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ

ไปลงทุนต่างประเทศ   ซึ่งมีทั้ง ฮ่องกง   สิงคโปร์  ไต้หวัน  เกาหลี  

และไทยก็ได้รับอานิสงส์ผลดีจากการนั้นด้วย  


อุตสาหกรรมการส่งออกของไทยในตอนนั้น

กว่า 80 % เป็นการรับจ้างผลิตโดยญี่ปุ่น


โดยอาศัยแรงงานราคาถูกของไทย

แต่สั่งวัตถุดิบต้นน้ำจากต่างประเทศ  


หลังจากผลิตเพื่อส่งออกแล้ว  

จึงนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายภายในประเทศไทยอีกที


เศรษฐกิจของไทยในยุคนั้น   เรียกได้ว่า

เป็น ยุคโชติช่วงชัชวาล  




เงินคงคลังจากไม่กี่พันล้านเหรียญ

ก็เพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ



โดยมีภาคการส่งออกเป็นเรือธงนำหน้า  


โดยไทยถูกจัดให้เป็นเสือตัวที่  6  

ตามหลัง 5 เสือแห่งเอเชียก่อนหน้านั้น  


การที่ญี่ปุ่นกระจายฐานการผลิตไปทั่วโลกโดยเฉพาะเอเซีย ซึ่งอยู่ใกล้  

ยิ่งทำให้เกินดุลการค้าต่ออเมริกาและต่อโลกเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม


จนญี่ปุ่นตระหนักดีว่า :

      หากขนเงินกลับประเทศตัวเอง   ค่าเงินก็จะยิ่งแข็งไปกันใหญ่  


จึงจัดสรรเงินให้ความช่วยเหลือ(ให้กู้)ระยะยาว

แก่ประเทศที่ญี่ปุ่นเข้าครอบงำทางเศรษฐกิจทั้งหลาย



โดยการให้กู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ 10-50 ปีขึ้นไปด้วยเงิน Dollar  

โดยมี  Option  ไม่ระบุค่าเงินที่จะชดใช้คืนในภายภาคหน้า

อาจเป็น Yen US  Pond   อะไรก็ได้สุดแท้แต่ญี่ปุ่นจะเรียกคืนในภายหลัง


ซึ่งวิธีนี้   ทำให้ญี่ปุ่นสามารถกำหนดค่าเงินในอนาคตของตนเองได้อย่างสิ้นเชิง

ถึงแม้จะได้เปรียบดุลการค้าทั่วโลกมากมายมหาศาลจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ตาม
มะลิ
Verified User
โพสต์: 221
ผู้ติดตาม: 0

Case Study : ยุทธการห่านบิน (การแก้ปัญหาค่าเงิน)

โพสต์ที่ 3

โพสต์

[quote="leaderinshadow"][quote]ยุทธการ ห่านบิน
ซึ่งวิธีนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
Verified User
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

Case Study : ยุทธการห่านบิน (การแก้ปัญหาค่าเงิน)

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ใช่ครับ เป็นมาตรการที่ญี่ปุ่นใช้เมื่อหลายปีมาแล้ว

ซึ่งตอนนี้คงไม่สามารถใช้ได้แล้วเพราะ บริษัทญี่ปุ่นไปลงทุนในต่างประเทศจำนวนมากแล้ว
แต่มันก็สามารถแก้ปัญหาเงินเยนแข็งค่าในขณะนั้นได้ดีทีเดียว

ผมว่า สิ่งนี้น่าจะเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับไทย เพราะไทยยังมีการลงทุนในต่างประเทศน้อยมาก
การเอายุทธการห่านบินมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย น่าจะเหมาะสม ในภาวะการณ์ขณะนี้ของไทย
โพสต์โพสต์