สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 1
สมมุติ รัฐบาลประกาศใช้แล้ว คุณคิดว่า สถานการณ์ในตอนนี้จะมีผลกระทบรุนแรงต่อตลาดหุ้นเหมือนเมื่อปี 2006 หรือไม่
แล้วคิดว่าตลาดจะ discount ลงมามากไหม
หรือ
ตลาดจะยังทรงตัวได้เนื่องจากปริมาณซื้อสะสมของต่างชาติไม่ได้มากมายเหมือนตอนปี 2006
หรือ เหตุผล อื่นๆ ...bra bra bra
แล้วคิดว่าตลาดจะ discount ลงมามากไหม
หรือ
ตลาดจะยังทรงตัวได้เนื่องจากปริมาณซื้อสะสมของต่างชาติไม่ได้มากมายเหมือนตอนปี 2006
หรือ เหตุผล อื่นๆ ...bra bra bra
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 2
ไม่ต้องประกาศหรอก แค่บอกว่าจะใช้มาตรการ แค่นี้ต่างชาติที่จำเรื่อง 108 จุดได้ก็กลัวหัวหดเอาเงินกลับประเทศไม่ทันแล้วครับ
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 3
วงแตกครับ :twisted:
ปีเตอร์ลินป์เคยบอกว่า วิกฤติการณ์นิวเคลียร์ (ในสมัยสงครามเย็นกับรัฐเซีย)
ทำให้ตลาดหุ้นตก แต่ตกน้อยกว่า การที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมราคาแร่เหล็ก
มันหมายความว่า ตลาดมีกลัวว่า โลกจะแตก น้อยกว่า ความกลัวจากการแทรกแซงหรือควบคุมราคาโดยภาครัฐ
ประเทศไทยมีเซอร์กิจเบรกเกอร์ 2 ครั้ง ในวันเดียว ก็สมัย อุ๋ย100 จุด
ตอนประกาศมาตรการสำรอง30% ซึ่งต้องยกเลิกในเย็นวันนั้น
ไม่งั้น วันรุ่งขึ้น หายนะแน่
ซึ่งไม่ใช่แค่ตลาดหุ้น
แต่ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเกือบจะทุกแห่งทั่วโลก (ยกเว้นไทย) หยุดรับแลกเงินบาทชั่วคราว :!:
ซึ่งมันร้ายแรงๆ พอๆกับปิดประเทศเลย ลองคิดดูว่ามันร้ายแรงแค่ไหน เมื่อเงินบาท ไม่มีค่าในสายตาชาวโลก(ชั่วคราว)
ในขณะที่ช่วง Subprime มี เซอร์กิจเบรกเกอร์ บ้าง แต่ก็ไม่ 2 ครั้งในวันเดียว
ปีเตอร์ลินป์เคยบอกว่า วิกฤติการณ์นิวเคลียร์ (ในสมัยสงครามเย็นกับรัฐเซีย)
ทำให้ตลาดหุ้นตก แต่ตกน้อยกว่า การที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมราคาแร่เหล็ก
มันหมายความว่า ตลาดมีกลัวว่า โลกจะแตก น้อยกว่า ความกลัวจากการแทรกแซงหรือควบคุมราคาโดยภาครัฐ
ประเทศไทยมีเซอร์กิจเบรกเกอร์ 2 ครั้ง ในวันเดียว ก็สมัย อุ๋ย100 จุด
ตอนประกาศมาตรการสำรอง30% ซึ่งต้องยกเลิกในเย็นวันนั้น
ไม่งั้น วันรุ่งขึ้น หายนะแน่
ซึ่งไม่ใช่แค่ตลาดหุ้น
แต่ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเกือบจะทุกแห่งทั่วโลก (ยกเว้นไทย) หยุดรับแลกเงินบาทชั่วคราว :!:
ซึ่งมันร้ายแรงๆ พอๆกับปิดประเทศเลย ลองคิดดูว่ามันร้ายแรงแค่ไหน เมื่อเงินบาท ไม่มีค่าในสายตาชาวโลก(ชั่วคราว)
ในขณะที่ช่วง Subprime มี เซอร์กิจเบรกเกอร์ บ้าง แต่ก็ไม่ 2 ครั้งในวันเดียว
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 6
รู้สึกความเสียงในการแทรกแซงจะมากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด ว่ารัฐบาลจะใช้มาตราการใดออกมา จากอันแรกที่งดการขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราว แต่ไม่น่าจะหยุดได้
สัดส่วนของเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ค่อนข้างมากกว่าตราสารทุนมาก
มาตราการจะออกมาในรูปแบบใด น้อ
:?: :?: :idea:
สัดส่วนของเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ค่อนข้างมากกว่าตราสารทุนมาก
มาตราการจะออกมาในรูปแบบใด น้อ
:?: :?: :idea:
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 7
เหอะๆ แรงไปครับ
อย่าใช้เลยนะ
อย่าใช้เลยนะ
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 8
หุ้นภาคบ่ายร่วง 10 จุด โดยสาเหตุที่ติดลบมาจากความกังวลข่าว ธปท.จะออกมาสกัดเงินทุนไหลเข้าไทย
วันนี้ (14 ก.ย.) หลังปิดตลาดหลักทรัพย์ภาคเช้าและเปิดตลาดภาคบ่าย ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงกว่า 10 จุด จากความกังวลหลังมีกระแสข่าวในห้องค้าว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกมาตรการเพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้า ขณะที่ยังไม่มีการออกมาชี้แจงของผู้ที่เกี่ยวข้อง
โดยเมื่อเวลา 15.36 น. ดัชนีอยู่ที่ระดับ 926.90 จุด ลดลง 10.14 จุด หรือ -1.08%
ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลดลงเนื่องจากถูกกดดันจากความกังวลกระแสข่าวลือในห้องค้าที่เชื่อว่า ธปท.จะออกมาตรการบางอย่างเพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้า โดยบางกระแสระบุว่าจะมีการประกาศมาตรการในช่วงเย็นวันนี้หรือพรุ่งนี้เช้า
อย่างไรก็ตาม มองว่ามาตรการที่นำมาใช้ไม่น่าจะมีผลกระทบตลาดมาก และเชื่อว่าจะสกัดกั้นได้ลำบาก เพราะดูอย่างธนาคารกลางญี่ปุ่นยังไม่สามารถสกัดกั้นการแข็งค่าของเงินเยนได้ เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค จึงเป็นช่วงโอกาสที่จะเข้าซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ต่างชาติมักจะเข้าลงทุน
ขณะที่ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ปฏิเสธที่จะตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงกระแสข่าวลือนี้ โดยกล่าวเพียงวา"ผมไม่ขอให้ความเห็นใด ๆ ทั้งสิ้นในเรื่องนี้"
------------------------------------------------------------------------
เน้นที่ผมไม่ขอแสดงความเห็น คือ เป็นไปได้ที่ ธปท. จะประกาศเอง ? หรือเสนอแล้ว รมต คลัง เด้งออกไป แต่หาก รมต คลัง เด้งออกมา ...ธปท เองมีสิทธิ์ใช้อำนาจโดยตรงแม้ รมต คลังไม่เห็นด้วย หรือการใช้อำนาจในการนี้ ธปท ไม่ต้องรายงาน รมต คลัง ได้หรือไม่ :?: :?: :?:
วันนี้ (14 ก.ย.) หลังปิดตลาดหลักทรัพย์ภาคเช้าและเปิดตลาดภาคบ่าย ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงกว่า 10 จุด จากความกังวลหลังมีกระแสข่าวในห้องค้าว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกมาตรการเพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้า ขณะที่ยังไม่มีการออกมาชี้แจงของผู้ที่เกี่ยวข้อง
โดยเมื่อเวลา 15.36 น. ดัชนีอยู่ที่ระดับ 926.90 จุด ลดลง 10.14 จุด หรือ -1.08%
ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลดลงเนื่องจากถูกกดดันจากความกังวลกระแสข่าวลือในห้องค้าที่เชื่อว่า ธปท.จะออกมาตรการบางอย่างเพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้า โดยบางกระแสระบุว่าจะมีการประกาศมาตรการในช่วงเย็นวันนี้หรือพรุ่งนี้เช้า
อย่างไรก็ตาม มองว่ามาตรการที่นำมาใช้ไม่น่าจะมีผลกระทบตลาดมาก และเชื่อว่าจะสกัดกั้นได้ลำบาก เพราะดูอย่างธนาคารกลางญี่ปุ่นยังไม่สามารถสกัดกั้นการแข็งค่าของเงินเยนได้ เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค จึงเป็นช่วงโอกาสที่จะเข้าซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ต่างชาติมักจะเข้าลงทุน
ขณะที่ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ปฏิเสธที่จะตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงกระแสข่าวลือนี้ โดยกล่าวเพียงวา"ผมไม่ขอให้ความเห็นใด ๆ ทั้งสิ้นในเรื่องนี้"
------------------------------------------------------------------------
เน้นที่ผมไม่ขอแสดงความเห็น คือ เป็นไปได้ที่ ธปท. จะประกาศเอง ? หรือเสนอแล้ว รมต คลัง เด้งออกไป แต่หาก รมต คลัง เด้งออกมา ...ธปท เองมีสิทธิ์ใช้อำนาจโดยตรงแม้ รมต คลังไม่เห็นด้วย หรือการใช้อำนาจในการนี้ ธปท ไม่ต้องรายงาน รมต คลัง ได้หรือไม่ :?: :?: :?:
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 9
คราวที่แล้วพลาดเพราะออกมาตรการรุนแรงเกิน
คราวนี้ก็พลาดที่บอกว่าจะออกมาตรการทำให้ตลาดตกใจ
ครั้งนี้แก้ยากกว่าครั้งที่แล้ว เพราะถ้าบอกว่าจะไม่มีมาตรการ ค่าเงินยิ่งแข็งแล้วจะลำบาก ถ้าออกมาตรการมาก็โดนโจมตีเรื่องข่าวรั่ว
โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง
ถ้าเป็นผมก็คงออกมาตรการอะไรออกมาสยบข่าวลือไปก่อน ส่วนข้อกล่าวหาว่าข่าวรั่งคงต้องไปตามสืบกันภายหลัง
คราวนี้ก็พลาดที่บอกว่าจะออกมาตรการทำให้ตลาดตกใจ
ครั้งนี้แก้ยากกว่าครั้งที่แล้ว เพราะถ้าบอกว่าจะไม่มีมาตรการ ค่าเงินยิ่งแข็งแล้วจะลำบาก ถ้าออกมาตรการมาก็โดนโจมตีเรื่องข่าวรั่ว
โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง
ถ้าเป็นผมก็คงออกมาตรการอะไรออกมาสยบข่าวลือไปก่อน ส่วนข้อกล่าวหาว่าข่าวรั่งคงต้องไปตามสืบกันภายหลัง
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 11
มาตรการแก้ไขไม่ค่อยกลัวครับ
แต่กลัวมาตรการปัญญาอ่อนมากกว่า
30% เนี่ย ขอเถอะ ไม่รู้จะพูดกันทำไม ประโคมข่าวอยู่นั่น โดยเฉพาะพวกหนังสือพิมพ์ ทีวี แล้วก็คนให้ข่าว
ไม่งั้นได้สร้างความแตกตื่น เพราะอันนี้มีบทเรียนแล้ว (ที่ผมโพสข้างบน)
หวังว่า จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสกันนะครับ (ใครใคร่ช้อน ช้อน)
รัฐก็ควรส่งเสริมการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี ยิ่งตอนนี้ order กำลังเข้าด้วย
ธุรกิจหลายแห่ง ต้องขยายกำลังการผลิตด้วย จังหวะกำลังเหมาะเลย
ธุรกิจไหน ต้องการซื้อกิจการต่างประเทศ ก็โอกาสเหมาะ ผมว่าหลายที่เล็งๆอยู่ รัฐก็ Support หน่อย
หวังว่า คงจะเริ่มจากมาตรการเบาๆ ไปก่อน ดูผลลัพธ์ แล้วค่อยๆหนักขึ้น
ดูตัวอย่างที่จีนคุมภาคอสังหาก็ได้ครับ เบาๆไปก่อน เริ่มเอาไม่อยู่ก็ทยอยหนักขึ้น พอคุมอยู่ก็หยุด
ทำให้ Soft Landing สำเร็จ ไม่หัวปัก :twisted:
แบบ...
แต่กลัวมาตรการปัญญาอ่อนมากกว่า
30% เนี่ย ขอเถอะ ไม่รู้จะพูดกันทำไม ประโคมข่าวอยู่นั่น โดยเฉพาะพวกหนังสือพิมพ์ ทีวี แล้วก็คนให้ข่าว
ไม่งั้นได้สร้างความแตกตื่น เพราะอันนี้มีบทเรียนแล้ว (ที่ผมโพสข้างบน)
หวังว่า จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสกันนะครับ (ใครใคร่ช้อน ช้อน)
รัฐก็ควรส่งเสริมการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี ยิ่งตอนนี้ order กำลังเข้าด้วย
ธุรกิจหลายแห่ง ต้องขยายกำลังการผลิตด้วย จังหวะกำลังเหมาะเลย
ธุรกิจไหน ต้องการซื้อกิจการต่างประเทศ ก็โอกาสเหมาะ ผมว่าหลายที่เล็งๆอยู่ รัฐก็ Support หน่อย
หวังว่า คงจะเริ่มจากมาตรการเบาๆ ไปก่อน ดูผลลัพธ์ แล้วค่อยๆหนักขึ้น
ดูตัวอย่างที่จีนคุมภาคอสังหาก็ได้ครับ เบาๆไปก่อน เริ่มเอาไม่อยู่ก็ทยอยหนักขึ้น พอคุมอยู่ก็หยุด
ทำให้ Soft Landing สำเร็จ ไม่หัวปัก :twisted:
แบบ...
-
- Verified User
- โพสต์: 263
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 12
ผมว่าถ้าฝรั่งรู้ข่าวว่าจะมีการออกมาตรการควบคุมเงินบาทจริงๆ.... ป่านนี้ตลาดหุ้นไทยได้เห็นหุ้นตกลงมาไม่ใช่แค่ 10 จุดหรอกครับ คงเป็นร้อยจุด หรืออาจถึง 200 จุดเลยก็ได้ครับ ^___^
ปล. ต่างประเทศเค้าคงไม่มีนักการเมืองเล่นหุ้น แต่คนไทยมี.... หึหึ เยอะด้วย
อันนี้ต้องรู้ไว้ก่อน เพราะพวกนี้เค้าไม่ทุบหม้อข้าวตัวเองทิ้งหรอกครับ ^_^
ปล.ความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวเน้อ ต่างคนต่างความคิด แต่พรุ่งนี้มันอาจประกาศมาจริงๆก็ได้ อิอิ
ปล. ต่างประเทศเค้าคงไม่มีนักการเมืองเล่นหุ้น แต่คนไทยมี.... หึหึ เยอะด้วย
อันนี้ต้องรู้ไว้ก่อน เพราะพวกนี้เค้าไม่ทุบหม้อข้าวตัวเองทิ้งหรอกครับ ^_^
ปล.ความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวเน้อ ต่างคนต่างความคิด แต่พรุ่งนี้มันอาจประกาศมาจริงๆก็ได้ อิอิ
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 13
เงินบาทแข็งค่า : ผลต่อเศรษฐกิจและธุรกิจไทยSource - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจ. (Th) Wednesday, September 15, 2010 08:3813141 XTHAI XECON XFINMKT XBANK V%RESEARCHL P%TFRC ภายหลังจากความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศคลี่คลายลงในช่วงปลายพฤษภาคม 2553 เงินบาททยอยฟื้นตัวกลับสู่แนวโน้มการแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทมีนัยสำคัญค่อนข้างมากในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-กลางกันยายน 2553 โดยเงินบาททะยานข้ามแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่ 32.00 และ 31.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขึ้นทุบสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปี ใกล้ระดับประมาณ 30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในขณะนี้ (13 กันยายน 2553) คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงเวลานี้ ยังมีความสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าสกุลเงินเอเชียบางสกุลอย่างชัดเจน และยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อไปได้อีกนั้น ได้จุดประเด็นความกังวลต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกของไทย เพราะนอกจากจะต้องเผชิญกับทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อย่างหลีกเลี่ยงได้ยากแล้ว ยังต้องเตรียมรับมือกับโจทย์หนักจากการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสกุลเงินของตลาดส่งออกหลักของไทย อาทิ ดอลลาร์สหรัฐฯ และยูโร ในยามที่ สกุลเงินของประเทศคู่แข่งในสินค้าส่งออกบางรายการโน้มในทิศทางที่อ่อนค่าสวนทางกับการแข็งค่าของเงินบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทำการวิเคราะห์แนวโน้มของเงินบาท และผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อภาคธุรกิจของไทย ดังนี้ :- เงินบาทแข็งค่าเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชีย นับจากต้นปี 2553 ความเคลื่อนไหวของเงินบาทถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากแม้เงินบาทจะไม่ใช่สกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แต่หลากหลายปัจจัยก็หนุนให้เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังจากที่วิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศได้คลี่คลายลงในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2553 ทั้งนี้ อัตราการแข็งค่าของเงินบาทเริ่มทิ้งห่างสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตั้งแต่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2553 โดยเงินบาททะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทุบสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปีใกล้ระดับ 30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ (ซึ่งเป็นระดับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นหลังจากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งช่วงปี 2540) และเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาด ณ สิ้นปี 2552 เงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วประมาณร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ เป็นรองเงินริงกิตของมาเลเซียที่แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปี และเงินเยนของญี่ปุ่นที่แข็งค่าสุดในรอบ 15 ปี ตามลำดับ โดยปัจจัยแวดล้อมสำคัญที่ทำให้เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความอ่อนแอของเงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย แรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออกซึ่งมักจะมีมากกว่าความต้องการเงินดอลลาร์ฯ จากฝั่งผู้นำเข้าในยามที่เงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นในเวลานี้ และกระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีแรงหนุนจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของไทย รวมถึงความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯ ปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่าของเงินบาท เงินบาทขยับแข็งค่าสอดคล้องกับกระแสความแข็งแกร่งของสกุลเงินเอเชีย * เงินเยนญี่ปุ่นทุบสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 15 ปี * เงินริงกิตมาเลเซียแข็งค่าสุดในรอบ 15 ปี * เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าสุดเป็นประวัติการณ์ * เงินหยวนแข็งค่าแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการปฎิรูปค่าเงินในปี 2548 คำสั่งขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออกทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ตามฐานะการเกินดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดสะสม * ดุลการค้าไทยบันทึกยอดเกินดุลที่ 6.0 พันล้านดอลลาร์ฯ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553 * ดุลบัญชีเดินสะพัดบันทึกยอดเกินดุลเช่นกันที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์ฯ เม็ดเงินลงทุนในตลาดการเงินไทยของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองสิ้นสุดลง * แรงซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติได้เร่งตัวสูงขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ช่วงเดือนส.ค. โดยแรงซื้อสุทธิสะสมในตลาดพันธบัตรของกลุ่มนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีมูลค่าสูงถึงประมาณ
1.638 แสนล้านบาท (~5.3
พันล้านดอลลาร์ฯ) * แรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติทยอยกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่องหลังปัญหาการเมืองในประเทศคลี่คลายลง โดยสถานะซื้อสุทธิสะสมในหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท (~1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ) นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิ.ย. เป็นต้นมา (แม้ว่าสถานะซื้อสุทธิสะสมนับจากต้นปี 2553 จะมีเพียง 1.897 หมื่นล้านบาทก็ตาม) สำหรับแนวโน้มของเงินบาทในระยะข้างหน้านั้น เครือธนาคารกสิกรไทย คาดว่า เงินบาทน่าที่จะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และมีโอกาสทดสอบระดับ 30.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในสิ้นปี 2553 นี้ โดยมีแรงหนุนสำคัญดุลการค้าที่อาจยังคงบันทึกยอดเกินดุลได้ต่อเนื่องแม้ยอดเกินดุลรายเดือนอาจจะไม่สูงเทียบเท่ากับที่ทำได้ในช่วง 7 เดือนแรกที่ผ่านมา ขณะที่ ความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าจะปรากฎชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อาจทำให้ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเอเชีย (รวมทั้งไทย) กับสหรัฐฯ กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้กระแสการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเชียดำเนินต่อไปในระยะข้างหน้า ค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยที่อาจกระทบธุรกิจ แม้การแข็งค่าของเงินบาทอาจมีผลกระทบต่อหลายธุรกิจ อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง แต่ไม่ใช่ตัวแปรสำคัญที่สุดในการกำหนดสถานะผลการดำเนินงาน หรือความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย นอกจากนี้ การวิเคราะห์ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อธุรกิจต่างๆ ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบไปด้วย ซึ่งแต่ละธุรกิจหรือแต่ละสินค้ามีความแตกต่างกันในมิติต่างๆ กล่าวคือ ระดับการพึ่งพาการส่งออก: ธุรกิจที่มีการพึ่งพาตลาดส่งออกสูง จะได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจที่พึ่งพาตลาดในประเทศ โดยในตลาดส่งออกที่มีค่าเงินอ่อนค่า จะทำให้สินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้น ซึ่งจะกระทบกำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดนั้นๆ ระดับการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป: ธุรกิจที่มีตลาดหลักอยู่ในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีค่าเงินอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทยนั้น จะมีโอกาสได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจที่มีการกระจายตลาดไปยังภูมิภาคเอเชีย และประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีค่าเงินเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับค่าเงินบาท อีกทั้งยังมีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่โดดเด่นกว่าประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ ยูโรโซนและญี่ปุ่น แต่เนื่องจากค่าเงินเยนของญี่ปุ่นมีทิศทางแข็งค่ามากกว่าเงินบาทในปีนี้ การส่งออกของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นจึงยังมีความได้เปรียบในแง่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ คู่แข่งในตลาดส่งออก: หากคู่แข่งของไทยเป็นประเทศที่มีค่าเงินอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทย ก็ย่อมหมายความว่าไทยมีความเสียเปรียบในแง่การแข่งขันด้านราคามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณาเปรียบเทียบทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า สกุลเงินของประเทศคู่แข่งที่มีค่าเงินอ่อนค่าอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเงินบาท คือ เงินด่องของเวียดนาม เงินหยวนของจีน เงินรูปีของอินเดีย รวมทั้งประเทศในเอเชียใต้อื่นๆ ซึ่งสินค้าที่ต้องแข่งกับประเทศเหล่านี้อาจมีสถานะที่ยากลำบากขึ้น แต่สำหรับทิศทางของค่าเงินของประเทศเอเชียอื่นๆ ละตินอเมริกาและแอฟริกาส่วนใหญ่แล้ว เคลื่อนไหวแข็งค่าสอดคล้องกับเงินบาทของไทย ดังนั้น หากคู่แข่งของไทยเป็นประเทศเหล่านี้ ก็ไม่น่าจะถือว่าไทยเสียเปรียบคู่แข่งจากการที่ค่าเงินบาทแข็ง ระดับการแข่งขันในตลาดส่งออก: สินค้าที่เผชิญการแข่งขันสูง มักมีช่องว่างให้ปรับราคาได้จำกัด หรือยิ่งไปกว่านั้นอาจถูกต่อรองให้ปรับลดราคาลง ซึ่งทำให้ราคาในรูปดอลลาร์ฯ หรือในรูปสกุลเงินหลักอื่นที่ใช้ในการกำหนดราคาส่งออก ซึ่งเดิมต้องเผชิญแรงกดดันอยู่แล้ว เมื่อเงินบาทแข็งก็จะยิ่งทำให้รายได้ที่แปลงเป็นเงินบาทยิ่งลดลงไปอีก ขณะที่อัตรากำไรของสินค้ากลุ่มนี้มักอยู่ในระดับที่ไม่สูงนักทำให้ผู้ส่งออกมีโอกาสขาดทุนจากการส่งออกได้ โครงสร้างการผลิต: สินค้าที่มีโครงสร้างการผลิตที่พึ่งพาปัจจัยการผลิตภายในประเทศสูง จะได้รับผลกระทบมากจากเงินบาทแข็งค่า ขณะที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าสูง ผลกระทบของค่าเงินจะถูกชดเชยจากต้นทุนการนำเข้าที่ต่ำลง ทำให้ได้รับผลกระทบน้อยกว่า และสำหรับธุรกิจที่นำเข้าสินค้าเพื่อขายในประเทศ นอกจากไม่ได้รับผลกระทบแล้ว ยังน่าจะได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท ปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน : ในกรณีสินค้าที่มีความต้องการในตลาดสูง แต่มีอุปทานจำกัด ทำให้ความยืดหยุ่นต่อราคาต่ำ ประเด็นเรื่องค่าเงินบาทแข็งอาจไม่กระทบต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยมากนัก ดังเช่นในเวลานี้ สินค้าเกษตรหลายชนิดเริ่มได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน รวมถึงปัญหาโรคหรือศัตรูพืชระบาด ทำให้ผลผลิตของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้รับความเสียหาย ซึ่งส่งผลให้ราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น หากสถานการณ์อุปทานยังคงตึงตัวเช่นนี้ต่อไป คาดว่า แรงกดดันจากค่าเงินบาทต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรหลายชนิดน่าจะลดน้อยลงในระยะข้างหน้า เงินบาทแข็งค่า ... ธุรกิจใดกระทบอย่างไร หากพิจารณาจากในด้านสัดส่วนการพึ่งพาการส่งออก โดยเฉพาะการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป พบว่า สินค้าที่มีความเสี่ยงจากโครงสร้างการส่งออกที่กระจุกตัวในตลาดทั้ง 2 ภูมิภาคนี้ (มีสัดส่วนการส่งออกประมาณหรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกไปยังทั่วโลก) ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และไก่แปรรูป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แต่ละสินค้ายังอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาพร้อมกันไปด้วย โดยสรุป จากทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อไปได้อีกในช่วงระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากไทยยังมีแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมูลค่าสูง ประกอบกับยังมีแนวโน้มเงินทุนไหลเข้ามายังตลาดเงินตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทิศทางดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลถึงผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยในระยะต่อไป ทั้งนี้ จากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกสูงถึงประมาณร้อยละ 60 ของจีดีพี และพึ่งพารายได้เงินตราต่างประเทศ (ทั้งส่งออกสินค้าและบริการ) สูงกว่าร้อยละ 70 ของจีดีพีนั้น ทำให้ธุรกิจไทยหลายสาขาได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นจากหลายๆ ปัจจัย ที่จะกำหนดสถานะผลการดำเนินงาน หรือความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย การวิเคราะห์ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อธุรกิจต่างๆ นั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบไปด้วย เนื่องจากสินค้าแต่ละประเภทมีเงื่อนไขทางการตลาดที่แตกต่างกัน เช่น ระดับการพึ่งพาตลาดการส่งออก (Export Ratio) ระดับการพึ่งพาการนำเข้า (Import Content) ระดับการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีค่าเงินอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทย ระดับความรุนแรงของการแข่งขันในตลาดส่งออก ปัจจัยด้านอุปสงค์อุปทาน และคู่แข่งในตลาดส่งออก ซึ่งผู้ส่งออกไทยที่มีคู่แข่งเช่น เวียดนาม จีน และอินเดีย ซึ่งมีค่าเงินอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาท ย่อมเสียเปรียบทางการแข่งขัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งจากประเทศเอเชียอื่นๆ ส่วนใหญ่ ละตินอเมริกาและแอฟริกา อาจกล่าวได้ว่าไทยยังไม่เสียเปรียบคู่แข่งมากนักจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าในระดับปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการแข็งค่าของเงินบาทส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ไทยมีสถานะการแข่งขันที่เสียเปรียบอยู่แล้วในด้านต้นทุนแรงงานเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าไทย ซึ่งเห็นได้จากสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า เครื่องหนังและเฟอร์นิเจอร์ ขณะที่ภาวะการแข็งค่าเงินบาทเข้ามาเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจที่ประสบปัญหาอยู่แล้วตกอยู่ในสถานะที่ยากลำบากมากขึ้น สำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร แม้โดยปกติแล้วถือเป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลกระทบเนื่องจากใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก แต่สินค้าบางรายการเริ่มปรากฏแนวโน้มอุปทานในตลาดโลกที่ตึงตัวขึ้น ทำให้แรงกดดันจากค่าเงินบาทแข็งอาจมีน้อยลงกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ท่ามกลางสภาวการณ์ที่เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่านี้ แนวทางปรับตัวในระยะสั้น ภาคธุรกิจอาจต้องใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทางการเงินมากขึ้น เช่น การใช้ Forward หรือ Option ในป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เลือกใช้สกุลเงินในการทำธุรกรรมทางการค้าอย่างเหมาะสมในแต่ละจังหวะเวลาเพื่อลดโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในภาวะที่เงินสกุลหลักทั้งดอลลาร์ฯ เยนและยูโร มีแนวโน้มผันผวน รวมทั้งพยายามกระจายตลาดส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงการค้าเสรีต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้ เพื่อขยายโอกาสทางการค้าอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังควรใช้ประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าในการลดต้นทุนวัตถุดิบหรือนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต สำหรับในระยะปานกลางถึงระยะยาว ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพื่อหลีกหนีการแข่งขันด้านราคา สำหรับประเด็นเชิงนโยบาย นอกจากการดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคแล้ว ภาครัฐอาจพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการส่งออก ซึ่งอาจรวมไปถึงการให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐสนับสนุนผู้ส่งออกเอสเอ็มอีในด้านสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนและการทำป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐควรเร่งรัดแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มีการนำเข้าสินค้าทุนซึ่งอาจช่วยลดการขาดดุลการค้าและชะลอการแข็งค่าของเงินบาท
1.638 แสนล้านบาท (~5.3
พันล้านดอลลาร์ฯ) * แรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติทยอยกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่องหลังปัญหาการเมืองในประเทศคลี่คลายลง โดยสถานะซื้อสุทธิสะสมในหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท (~1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ) นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิ.ย. เป็นต้นมา (แม้ว่าสถานะซื้อสุทธิสะสมนับจากต้นปี 2553 จะมีเพียง 1.897 หมื่นล้านบาทก็ตาม) สำหรับแนวโน้มของเงินบาทในระยะข้างหน้านั้น เครือธนาคารกสิกรไทย คาดว่า เงินบาทน่าที่จะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และมีโอกาสทดสอบระดับ 30.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในสิ้นปี 2553 นี้ โดยมีแรงหนุนสำคัญดุลการค้าที่อาจยังคงบันทึกยอดเกินดุลได้ต่อเนื่องแม้ยอดเกินดุลรายเดือนอาจจะไม่สูงเทียบเท่ากับที่ทำได้ในช่วง 7 เดือนแรกที่ผ่านมา ขณะที่ ความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าจะปรากฎชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อาจทำให้ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเอเชีย (รวมทั้งไทย) กับสหรัฐฯ กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้กระแสการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเชียดำเนินต่อไปในระยะข้างหน้า ค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยที่อาจกระทบธุรกิจ แม้การแข็งค่าของเงินบาทอาจมีผลกระทบต่อหลายธุรกิจ อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง แต่ไม่ใช่ตัวแปรสำคัญที่สุดในการกำหนดสถานะผลการดำเนินงาน หรือความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย นอกจากนี้ การวิเคราะห์ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อธุรกิจต่างๆ ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบไปด้วย ซึ่งแต่ละธุรกิจหรือแต่ละสินค้ามีความแตกต่างกันในมิติต่างๆ กล่าวคือ ระดับการพึ่งพาการส่งออก: ธุรกิจที่มีการพึ่งพาตลาดส่งออกสูง จะได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจที่พึ่งพาตลาดในประเทศ โดยในตลาดส่งออกที่มีค่าเงินอ่อนค่า จะทำให้สินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้น ซึ่งจะกระทบกำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดนั้นๆ ระดับการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป: ธุรกิจที่มีตลาดหลักอยู่ในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีค่าเงินอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทยนั้น จะมีโอกาสได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจที่มีการกระจายตลาดไปยังภูมิภาคเอเชีย และประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีค่าเงินเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับค่าเงินบาท อีกทั้งยังมีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่โดดเด่นกว่าประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ ยูโรโซนและญี่ปุ่น แต่เนื่องจากค่าเงินเยนของญี่ปุ่นมีทิศทางแข็งค่ามากกว่าเงินบาทในปีนี้ การส่งออกของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นจึงยังมีความได้เปรียบในแง่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ คู่แข่งในตลาดส่งออก: หากคู่แข่งของไทยเป็นประเทศที่มีค่าเงินอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทย ก็ย่อมหมายความว่าไทยมีความเสียเปรียบในแง่การแข่งขันด้านราคามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณาเปรียบเทียบทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า สกุลเงินของประเทศคู่แข่งที่มีค่าเงินอ่อนค่าอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเงินบาท คือ เงินด่องของเวียดนาม เงินหยวนของจีน เงินรูปีของอินเดีย รวมทั้งประเทศในเอเชียใต้อื่นๆ ซึ่งสินค้าที่ต้องแข่งกับประเทศเหล่านี้อาจมีสถานะที่ยากลำบากขึ้น แต่สำหรับทิศทางของค่าเงินของประเทศเอเชียอื่นๆ ละตินอเมริกาและแอฟริกาส่วนใหญ่แล้ว เคลื่อนไหวแข็งค่าสอดคล้องกับเงินบาทของไทย ดังนั้น หากคู่แข่งของไทยเป็นประเทศเหล่านี้ ก็ไม่น่าจะถือว่าไทยเสียเปรียบคู่แข่งจากการที่ค่าเงินบาทแข็ง ระดับการแข่งขันในตลาดส่งออก: สินค้าที่เผชิญการแข่งขันสูง มักมีช่องว่างให้ปรับราคาได้จำกัด หรือยิ่งไปกว่านั้นอาจถูกต่อรองให้ปรับลดราคาลง ซึ่งทำให้ราคาในรูปดอลลาร์ฯ หรือในรูปสกุลเงินหลักอื่นที่ใช้ในการกำหนดราคาส่งออก ซึ่งเดิมต้องเผชิญแรงกดดันอยู่แล้ว เมื่อเงินบาทแข็งก็จะยิ่งทำให้รายได้ที่แปลงเป็นเงินบาทยิ่งลดลงไปอีก ขณะที่อัตรากำไรของสินค้ากลุ่มนี้มักอยู่ในระดับที่ไม่สูงนักทำให้ผู้ส่งออกมีโอกาสขาดทุนจากการส่งออกได้ โครงสร้างการผลิต: สินค้าที่มีโครงสร้างการผลิตที่พึ่งพาปัจจัยการผลิตภายในประเทศสูง จะได้รับผลกระทบมากจากเงินบาทแข็งค่า ขณะที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าสูง ผลกระทบของค่าเงินจะถูกชดเชยจากต้นทุนการนำเข้าที่ต่ำลง ทำให้ได้รับผลกระทบน้อยกว่า และสำหรับธุรกิจที่นำเข้าสินค้าเพื่อขายในประเทศ นอกจากไม่ได้รับผลกระทบแล้ว ยังน่าจะได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท ปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน : ในกรณีสินค้าที่มีความต้องการในตลาดสูง แต่มีอุปทานจำกัด ทำให้ความยืดหยุ่นต่อราคาต่ำ ประเด็นเรื่องค่าเงินบาทแข็งอาจไม่กระทบต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยมากนัก ดังเช่นในเวลานี้ สินค้าเกษตรหลายชนิดเริ่มได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน รวมถึงปัญหาโรคหรือศัตรูพืชระบาด ทำให้ผลผลิตของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้รับความเสียหาย ซึ่งส่งผลให้ราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น หากสถานการณ์อุปทานยังคงตึงตัวเช่นนี้ต่อไป คาดว่า แรงกดดันจากค่าเงินบาทต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรหลายชนิดน่าจะลดน้อยลงในระยะข้างหน้า เงินบาทแข็งค่า ... ธุรกิจใดกระทบอย่างไร หากพิจารณาจากในด้านสัดส่วนการพึ่งพาการส่งออก โดยเฉพาะการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป พบว่า สินค้าที่มีความเสี่ยงจากโครงสร้างการส่งออกที่กระจุกตัวในตลาดทั้ง 2 ภูมิภาคนี้ (มีสัดส่วนการส่งออกประมาณหรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกไปยังทั่วโลก) ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และไก่แปรรูป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แต่ละสินค้ายังอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาพร้อมกันไปด้วย โดยสรุป จากทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อไปได้อีกในช่วงระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากไทยยังมีแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมูลค่าสูง ประกอบกับยังมีแนวโน้มเงินทุนไหลเข้ามายังตลาดเงินตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทิศทางดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลถึงผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยในระยะต่อไป ทั้งนี้ จากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกสูงถึงประมาณร้อยละ 60 ของจีดีพี และพึ่งพารายได้เงินตราต่างประเทศ (ทั้งส่งออกสินค้าและบริการ) สูงกว่าร้อยละ 70 ของจีดีพีนั้น ทำให้ธุรกิจไทยหลายสาขาได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นจากหลายๆ ปัจจัย ที่จะกำหนดสถานะผลการดำเนินงาน หรือความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย การวิเคราะห์ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อธุรกิจต่างๆ นั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบไปด้วย เนื่องจากสินค้าแต่ละประเภทมีเงื่อนไขทางการตลาดที่แตกต่างกัน เช่น ระดับการพึ่งพาตลาดการส่งออก (Export Ratio) ระดับการพึ่งพาการนำเข้า (Import Content) ระดับการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีค่าเงินอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทย ระดับความรุนแรงของการแข่งขันในตลาดส่งออก ปัจจัยด้านอุปสงค์อุปทาน และคู่แข่งในตลาดส่งออก ซึ่งผู้ส่งออกไทยที่มีคู่แข่งเช่น เวียดนาม จีน และอินเดีย ซึ่งมีค่าเงินอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาท ย่อมเสียเปรียบทางการแข่งขัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งจากประเทศเอเชียอื่นๆ ส่วนใหญ่ ละตินอเมริกาและแอฟริกา อาจกล่าวได้ว่าไทยยังไม่เสียเปรียบคู่แข่งมากนักจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าในระดับปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการแข็งค่าของเงินบาทส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ไทยมีสถานะการแข่งขันที่เสียเปรียบอยู่แล้วในด้านต้นทุนแรงงานเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าไทย ซึ่งเห็นได้จากสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า เครื่องหนังและเฟอร์นิเจอร์ ขณะที่ภาวะการแข็งค่าเงินบาทเข้ามาเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจที่ประสบปัญหาอยู่แล้วตกอยู่ในสถานะที่ยากลำบากมากขึ้น สำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร แม้โดยปกติแล้วถือเป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลกระทบเนื่องจากใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก แต่สินค้าบางรายการเริ่มปรากฏแนวโน้มอุปทานในตลาดโลกที่ตึงตัวขึ้น ทำให้แรงกดดันจากค่าเงินบาทแข็งอาจมีน้อยลงกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ท่ามกลางสภาวการณ์ที่เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่านี้ แนวทางปรับตัวในระยะสั้น ภาคธุรกิจอาจต้องใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทางการเงินมากขึ้น เช่น การใช้ Forward หรือ Option ในป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เลือกใช้สกุลเงินในการทำธุรกรรมทางการค้าอย่างเหมาะสมในแต่ละจังหวะเวลาเพื่อลดโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในภาวะที่เงินสกุลหลักทั้งดอลลาร์ฯ เยนและยูโร มีแนวโน้มผันผวน รวมทั้งพยายามกระจายตลาดส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงการค้าเสรีต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้ เพื่อขยายโอกาสทางการค้าอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังควรใช้ประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าในการลดต้นทุนวัตถุดิบหรือนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต สำหรับในระยะปานกลางถึงระยะยาว ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพื่อหลีกหนีการแข่งขันด้านราคา สำหรับประเด็นเชิงนโยบาย นอกจากการดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคแล้ว ภาครัฐอาจพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการส่งออก ซึ่งอาจรวมไปถึงการให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐสนับสนุนผู้ส่งออกเอสเอ็มอีในด้านสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนและการทำป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐควรเร่งรัดแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มีการนำเข้าสินค้าทุนซึ่งอาจช่วยลดการขาดดุลการค้าและชะลอการแข็งค่าของเงินบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 14
lสังเกตจากข้างต้น "จากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกสูงถึงประมาณร้อยละ 60 ของจีดีพี และพึ่งพารายได้เงินตราต่างประเทศ (ทั้งส่งออกสินค้าและบริการ) สูงกว่าร้อยละ 70 ของจีดีพีนั้น "
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 16
14:33 15/09/2010
*BOT:ผู้ว่าธปท.เผยยังไม่เปลี่ยนนโยบายดูแลบาท, เน้นดูแลไม่ให้บาทผันผวน
กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--รอยเตอร์
ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
(กนง.) มีการประชุมนัดพิเศษเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยยังเห็นด้วยกับแนวทางของธปท.
ในการดูแลเงินบาทขณะนี้ และยังไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีอยู่
ขณะที่ ยอมรับว่า เงินบาทในช่วงที่ผ่านมา แข็งค่าเร็ว โดยเป็นผลจาก
ทิศทางที่ดีของเศรษฐกิจภูมิภาค และกระแสเงินทุนไหลเข้า โดยธปท.ยังจับตาเงินบาท
อย่างใกล้ชิด และเน้นดูแลไม่ให้ผันผวน
"เป็นการติดตามสถานการณ์ เพราะช่วงนั้นบาทแข็งขึ้นไปเร็ว ก็ให้คณะกรรมการ
ได้รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งคณะกรรมการก็รับทราบว่า มาตรการที่ทำอยู่ก็โอเค
นโยบายไม่น่าจะต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะว่าอธิบายได้ว่าขึ้น(บาทแข็ง)เพราะอะไร"
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวกับผู้สื่อข่าว
ในช่วง 2 วันนี้ เงินบาทและตลาดหุ้นไทย มีทิศทางอ่อนตัวลงอย่างชัดเจน
หลังจากมีกระแสข่าวเกิดขึ้นว่า ธปท.เตรียมออกมาตรการดูแลการไหลเข้าของเงินทุนฃ
และการแข็งค่าของเงินบาทในเร็วๆนี้ แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการออกมาตรการใดๆ จาก
ธปท. เหมือนที่ตลาดกังวลกัน
เสียงเรียกร้องให้ธปท. ออกมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลค่าเงินบาท มีมากขึ้น
หลังจากเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากกระแส
เงินทุนที่ไหลเข้ามาในเอเชียอย่างต่อเนื่อง
ในปีนี้บาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วราว 8% เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากเยน และ
ริงกิต ขณะที่ล่าสุดบาทอยู่ที่ 30.78/81 ใกล้เคียงกับระดับแข็งค่าสุดรอบ 13 ปี--จบ--
(โดย บุญทิวา วิชกูล รายงาน;สะตะวสิน สถาพรชาญชัย เรียบเรียง--บร--)
========================
สรุปว่าไม่มีมาตรการ นลท ตกใจกันไปเอง จบข่าว
สงส้ัยคราวนี้ได้เห็น 29 บาท/$ แล้วละมั้ง
*BOT:ผู้ว่าธปท.เผยยังไม่เปลี่ยนนโยบายดูแลบาท, เน้นดูแลไม่ให้บาทผันผวน
กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--รอยเตอร์
ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน
(กนง.) มีการประชุมนัดพิเศษเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยยังเห็นด้วยกับแนวทางของธปท.
ในการดูแลเงินบาทขณะนี้ และยังไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีอยู่
ขณะที่ ยอมรับว่า เงินบาทในช่วงที่ผ่านมา แข็งค่าเร็ว โดยเป็นผลจาก
ทิศทางที่ดีของเศรษฐกิจภูมิภาค และกระแสเงินทุนไหลเข้า โดยธปท.ยังจับตาเงินบาท
อย่างใกล้ชิด และเน้นดูแลไม่ให้ผันผวน
"เป็นการติดตามสถานการณ์ เพราะช่วงนั้นบาทแข็งขึ้นไปเร็ว ก็ให้คณะกรรมการ
ได้รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งคณะกรรมการก็รับทราบว่า มาตรการที่ทำอยู่ก็โอเค
นโยบายไม่น่าจะต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะว่าอธิบายได้ว่าขึ้น(บาทแข็ง)เพราะอะไร"
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวกับผู้สื่อข่าว
ในช่วง 2 วันนี้ เงินบาทและตลาดหุ้นไทย มีทิศทางอ่อนตัวลงอย่างชัดเจน
หลังจากมีกระแสข่าวเกิดขึ้นว่า ธปท.เตรียมออกมาตรการดูแลการไหลเข้าของเงินทุนฃ
และการแข็งค่าของเงินบาทในเร็วๆนี้ แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการออกมาตรการใดๆ จาก
ธปท. เหมือนที่ตลาดกังวลกัน
เสียงเรียกร้องให้ธปท. ออกมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลค่าเงินบาท มีมากขึ้น
หลังจากเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากกระแส
เงินทุนที่ไหลเข้ามาในเอเชียอย่างต่อเนื่อง
ในปีนี้บาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วราว 8% เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากเยน และ
ริงกิต ขณะที่ล่าสุดบาทอยู่ที่ 30.78/81 ใกล้เคียงกับระดับแข็งค่าสุดรอบ 13 ปี--จบ--
(โดย บุญทิวา วิชกูล รายงาน;สะตะวสิน สถาพรชาญชัย เรียบเรียง--บร--)
========================
สรุปว่าไม่มีมาตรการ นลท ตกใจกันไปเอง จบข่าว
สงส้ัยคราวนี้ได้เห็น 29 บาท/$ แล้วละมั้ง
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 17
กระทรวงการคลังเล็งงัด 5 มาตรการดูแลบาทแข็ง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
กระทรวงการคลังเล็งงัด 5 มาตรการดูแลบาทแข็ง
Posted on Friday, September 17, 2010
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อออกมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะออกมาทั้งหมด 5 มาตรการ ประกอบด้วยการให้นิติบุคคลและคนไทย สามารถนำเงินออกไปลงทุนบริษัทในต่างประเทศมากขึ้น การอนุญาตให้ปล่อยกู้เป็นสกุลต่างประเทศมากขึ้น การเพิ่มวงเงินการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศจาก 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อนุญาตให้มีการฝากเงินสกุลต่างประเทศในแบงก์ไทยมากกว่า 5 แสนดอลลาร์สหรัฐ และขยายวงเงินค่าส่งออกสินค้าที่ไม่ต้องนำกลับมาในประเทศ จาก 2 หมื่นดอลลาร์สหรัฐเป็น 5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกันนี้ได้ยังได้สั่งการให้สถาบันการเงินรัฐ ทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) เข้ามาจัดสรรวงเงิน เพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยเฉพาะการซื้อประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้กับผู้ส่งออกกลุ่ม SME หลังจากที่ขณะนี้กลุ่ม SME ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทค่อนข้างมาก
นายกรณ์บอกด้วยว่า จะไม่นำดอกเบี้ยนโยบาย มาสกัดค่าเงินบาทแข็ง เนื่องจากเห็นว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับเงินเฟ้อ แต่ยอมรับว่าการปรับอัตราดอกเบี้ย 2 มีส่วนที่ทำให้มีเม็ดเงินทุนไหลเข้าประเทศ โดยส่งผลเชิงจิตวิทยาทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ทั้งนี้หากพิจารณาจากความเป็นจริง ยังเห็นว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทย ที่ปรับขึ้น 2 ครั้ง ไม่ได้ห่างจากอัตราดอกเบี้ยสหรัฐมากนัก และยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของประเทศอื่นในภูมิภาค
- iluckyhappy
- Verified User
- โพสต์: 72
- ผู้ติดตาม: 0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
โพสต์ที่ 18
ก็ดีครับ ถ้าใช้มาตราการ และ มีผลเหมือนปี 2006 จะได้ พิสูจน์ ความแข็งแกร่งของ นักลงทุน ...
ว่าแข็งแกร่งเพียงใด สามารถทนทานต่อ แรงกดดันที่ไม่สามารถ ควบคุมได้จากภายนอก
มีหลายปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามั่นใจ และ เพ่งพิจารณา อย่างมีสติ ก็น่าจะผ่านไปได้
(พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว)
-----------------------------------------------------------------------
*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดศึกษารายละเอียดก่อนการลงทุนด้วยตัวท่านเอง
ว่าแข็งแกร่งเพียงใด สามารถทนทานต่อ แรงกดดันที่ไม่สามารถ ควบคุมได้จากภายนอก
มีหลายปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามั่นใจ และ เพ่งพิจารณา อย่างมีสติ ก็น่าจะผ่านไปได้
(พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว)
-----------------------------------------------------------------------
*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดศึกษารายละเอียดก่อนการลงทุนด้วยตัวท่านเอง