รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
qQp
Verified User
โพสต์: 105
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

-รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ แล้วมันประยุกต์ได้กับ VI จริงๆ ไหม

แบบเช่น พฤติกรรมของคน ที่มั่นใจในหุ้นตัวหนึ่งสุดๆๆ พอราคามันลง ก็ตามเก็บเพื่อ avaraging ราคาเรื่อยๆๆ เพราะ เรามีความเชื่ออยู่ลึกๆ ว่ามันดี อะไรงี้อ่ะ

คือตอนนี้เห็นหุ้นตัวนึง รูดอย่างรุนแรง แล้วมีพฤติกรรมประมาณนึงให้เหน กับนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่

ก็เลยรู้สึกว่า ตอนนี้เราจะเอาอะไรมาตัดสินหรอ ถ้าเกิดว่าข้อมูลที่ได้ก็ไม่ชัดเจน bra bra bra"""
Sattha
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เคยอ่านมาบ้างครับ

ผมว่าสามารถใช้อธิบายอะไรบางอย่างที่สถิติ หรือเทคนิคอื่นๆไม่สามารถอธิบายได้น่ะครับ

โดยรวมแ้ล้วผมว่ายังต้องใช้ร่วมๆกันกับการวิเคราะห์แบบอื่นๆร่วมกันไปอยู่ดี  :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

รู้จักสิครับ
วิธีถัวเฉลี่ยถ้าใช้ให้ถูกวิธีจะเป็นคุณมากกว่าโทษ
ในขณะที่ผู้ที่ศึกษา finance หรือ economic มาโดยตรงมักจะไม่สนับสนุนวิธี DCA เพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่ไร้เหตุผล
แต่ผู้ที่ศึกษา behavioral finance ส่วนใหญ่จะสนับสนุนการใช้ DCA เพราะจะช่วยลบเจตคติที่โอนเอียงของนักลงทุนได้


ตัวอย่าง การถัวเฉลี่ยตามแนวคิดของ behavioral finance

http://knol.google.com/k/the-merits-of- ... raging-dca#
http://www.yorku.ca/milevsky/Papers/WP2001C.pdf
http://personal.fidelity.com/products/f ... update.pdf
qQp
Verified User
โพสต์: 105
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

โอ้ว ขอบคุณ ข้างบนมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ :)

ปล. อย่าไปถัวเฉลี่ยกับหุ้นตัวเดียวหรือน้อยตัวจนเกินไปนะครับ อันนั้นอันตรายของจริง
nipith
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผมว่าสิ่งที่น่าสนใจในประเด็นนี้คงเป็นเรื่องของการตอบสนองของคนเมื่อเราได้รับข้อมูลครับ

เช่น คนเรามักจะตอบสนองกับข่าวร้ายแรงมากกว่า เราตอบสนองกับข่าวดี ยกตัวอย่างเช่นพวกตัวเลขเศรษฐกิจ ถ้ารายงานตัวเลขอะไรออกมา Surprise ในทางแย่ หุ้นมักจะตกมากกว่าการที่ ตัวเลขนั้น Surprise ในทางที่ดี และก็ยังมีศาสตร์อื่นๆอีกมากมายครับ จริงๆแล้วในความคิดผม Technical analysis ก็น่าจะเป็นศาสตร์หนึ่งเหมือนกันนะครับ เพราะว่ามันค่อนข้างจะเอามาเล่นกับความรู้สึกคน เช่นพวกเลข Fibonanci
Think Rationally ::
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อ่า ที่จริงมีหลายสายแยกลงไปอีกเยอะเหมือนกันอ่ะครับ
สายที่มองการตอบสนองของคนเมื่อเราได้รับข้อมูล บางสายก็จะมอง process ข้างในเป็น black box คือ สนใจแต่ input กับ output เท่านั้น
บางสายก็สนใจในการวิเคราะห์ process ที่อยู่ข้างใน ซึ่งแต่ละสาขาก็มันจะมีประเด็นที่ขัดแย้งกันเองอยู่บ่อย ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ยกตัวอย่าง
สายพฤติกรรมนิยม

Case A
input => process(blackbox) => output
หุ้นตก => blackbox => ซึ้อถัวเฉลี่ย
หุ้นตกอีก => blackbox => ซึ้อถัวเฉลี่ย
หุ้นขึ้น => blackbox => ขาย

Case B
หุ้นตก => blackbox => cutlost
หุ้นตกอีก => blackbox => ซึ้อกลับ
หุ้นขึ้น => blackbox => ขาย

Case C
หุ้นตก => blackbox => ซึ้อถัวเฉลี่ย
หุ้นตกอีก => blackbox => ขายขาดทุน
หุ้นขึ้น => blackbox => ซื้อคืน

สายที่มอง input กับ output จะจัดประเภทคนประมาณนี้ ที่จริงต้องมีหลากหลายกว่านี้มาก แต่ลองยกตัวอย่างดูคร่าว ๆ

Case A
จะเป็นคนที่ชอบถัวเฉลี่ยยิ่งตกยิ่งซื้อ จะขายเฉพาะกำไรเท่านั้น
ข้อเสียคือถ้าหุ้นมันลงไม่ขึ้นเขาจะถืออยู่อย่างนั้นตลอดไป

Case B
อุปนิสัยแบบนักเก็งกำไร
ถ้าหุ้นเริ่มลงเขาจะทำการ cutloss และรอซื้อกลับ และจะขายเมื่อกำไรเท่านั้น
DSM น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้

Case C
เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่สุด
เขามักจะซื้อเพิ่มเวลาหุ้นเริ่มตก แต่มักจะขายขาดทุนเมื่อหุ้นมันตกลงมามาก ๆ และกลับเข้าซื้อเวลามันวิ่งขึ้นไป
กลุ่มนี้เสี่ยงต่อการขาดทุนมากที่สุด น่าเสียดาย ที่ผมพบกับกลุ่มตัวอย่างนี้บ่อยมาก :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Rocker
Verified User
โพสต์: 4526
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมเคยเรียนวิชานี้ มาบ้างครับ

ผมว่ามีประโยชน์มากครับ  

ภาพใหญ่ๆแบ่งเป็น 2 ภาคใหญ่ๆ ดังนี้นะครับ

1 เรื่อง Market Efficiency

2 Bias ต่างๆ

ซึ่งทั้ง2 อย่างตอนเรียนก็นําพวกข้อมูลสถิติมาอ้างอิง เพื่อทดลองครับ
มักจะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว  

ด้าน Market Efficiency  ทาง Behavioral Finance กล่าว่าตลาดนั้นไม่ประสิทธิภาพ หมายความว่า ราคาหุ้นจะไม่สะท้อนมูลค่า
จากเหตุ ดังต่อไปนี้ครับ

1 ความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูล เพราะ รายใหญ่ กองทุน ได้ข้อมูลไวกว่ารายย่อย ซึ่ง Efficient Market สมมุติ ว่า นลท ทุกคน ฉลาด ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ได้ข้อมูลเท่าเทียมกัน
2 ตลาดมี brokerage fee เป็นต้นทุนในการซื้อขาย ซึ่ง Efficient Market
สมมุติว่าไม่มี
3 ความรู้สึก ทัศนะคติการรับรู้ของ คนๆนั้นต่อหลักทรัพย์
ส่งผลให้ ราคาหุ้น ขึ้นหรือลงเกินกว่า มูลค่าที่แท้จริงของมัน

ส่วนที่เหลือคือ ด้าน Bias

ก็พูดเกี่ยวกับ พวก อคติ ที่ส่งผลต่อการลงทุน เช่น greed, fear, snake bite effect, sunk cost, mental accounting เป็นต้น

แต่สิ่งที่ได้จากวิชานี้อีกคือ   ดูว่าใคร มีผลขับดันราคาหุ้น
เช่น  หุ้น blue chip ที่สถาบันซื้อได้ บางที ราคาอาจจะขึ้น หรือ ลงพร้อม volume ที่มาก  ก่อนข่าวออก เพราะ สถาบันได้ข้อมูลและมีการวิเคราะห์ที่ไวกว่า รายย่อย กรณี แบบนี้ บางทีรอข่าวออก หุ้นอาจจะวิ่งไปไกลแล้ว เราก็อาจจะซื้อ เฉลี่ยไว้ส่วน1 ตามก่อน เป็นต้น  และ หุ้นที่ สถาบัน ถือ PE มักจะสูงหรือ ตํ่ากว่า เฉลี่ยได้  เพราะ ปริมาณการซื้อ หรือ ขายที่มาก พร้อมๆกันหลายกองทุน ส่งผลให้ P วิ่ง ห่าง จาก Earnings เป็นต้น

สรุป วิชานี้น่าสนใจครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
romee
Verified User
โพสต์: 1850
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

^
^ คุณ rocker ไปเรียนที่ใหนเหรอครับ ในเมืองไทยหรือเปล่า ?

อ่านๆแล้วน่าสน อยากไปนั่งเรียนเหมือนกัน
You only live once, but if you do it right, once is enough.
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ดูจากจำนวน traffic ที่เข้าไป blog ของผมผ่านกระทู้นี้ แสดงว่ามีผู้สนใจ Behavioral finance อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ยังไงมาต่อกันดีกว่าครับ

จากโจทย์ที่คุณ qQp ตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับพฤติกรรมการถัวเฉลี่ยของคนมีหุ้น
ข้างบนเราได้เห็นมุมมองของกลุ่มที่สังเกตุจากพฤติกรรมและผลลัพธ์ไปแล้ว
คราวนี้ลองมาดูมุมมองของกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับ กระบวน(process)ของของจิตใจเป็นหลัก ในขณะที่กลุ่มพฤติกรรมจะมองข้ามส่วนนี้ไป
การวิเคราะห์กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตจะเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมาเหมือนกลุ่มพฤติกรรมนิยม ผมเชื่อว่าพอได้อ่านทฤษฎีหรือแนวคิดของกลุ่มนี้แล้วอาจมีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย

เมื่อหุ้นที่ตัวเองถืออยู่เริ่มมีมูลค่าลดลงเรื่อย ๆ จิตใจของนักลงทุนจะได้รับสิ่งเร้าทางลบเกิดเป็นความคับข้องใจ ที่จุดนี้จะเป็นที่ ๆ ความกลัวในจิตใต้สำนึกของเขาต้องต่อสู้กับหลักการหรือตัวอย่างการลงทุนต่าง ๆ ที่เขาได้เรียนรู้มาซึ่งหากความกลัวชนะพวกเขาจะขายทันที
แต่หากหลักการหรือสิ่งยึดเหนี่ยวของเขาเอาชนะความกลัวได้ ความกลัวหรือความคับข้องใจของเขาจะถูกเก็บกด(Repression)เอาไว้ในระดับจิตใต้สำนึก
นักลงทุนทุกคนไม่ว่าจะมือเก่าหรือมือใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นระยะยาว VI หรือ VS ทุกคนต่างเก็บกดความคับข้องใจเอาไว้ในลักษณะต่าง ๆ กันรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

เดี๋ยวมีเวลาจะกลับมาเขียนต่อครับ
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Rocker ถ้าจำไม่ผิด ไปเรียนป.โทที่นิด้ามาล่ะ
:)
:)
qQp
Verified User
โพสต์: 105
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

คุณ peacedev อย่าลืมกลับมาเขียนเพิ่มนะครับ

แฟนคลับรออ่านอยู่ ... อิอิ

ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันความรู้  :lol:

:idea:  :idea:  :idea:
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 0

รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ความคับข้องใจจากการที่หุ้นในมือมีมูลค่าลดลงนั้น หากมีในปริมาณที่พอดี จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลิคภาพ/ทักษะในการลงทุน
แต่หากมีมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดปัญหา
เมื่อหุ้นลงหนักขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่นักลงทุนยังคงมีหุ้นอยู่ในมือ ความกลัวความคับข้องใจของเขาจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในจุดนี้เองที่กลไกในการป้องกันตัวของจิตใจจะเข้ามามีบทบาท เมื่อความคับข้องใจของเขามีมากเกินไป

กลไกในการป้องกันตัวของจิตใจถึงแม้ชื่อจะบอกว่าเป็นการป้องกัน แต่ผมมองว่ามันกลับเป็นตัวสร้างปัญหามากกว่า ที่สำคัญคือคนเรามักไม่รู้ตัวเวลาจิตใต้สำนึกของพวกเขากำลังส่งผลต่อพฤติกรรมของเขาเอง
บุคคลที่กำลังป้องกันจิตใจของตัวเองอยู่มักไม่รู้สึกถึงความไร้เหตุผล หรือ การแสดงออกที่ไม่ปกติ ของพฤติกรรมของพวกเขา

หากเห็นคนที่ตกรถไฟที่มักจะบอกว่าหุ้นแพงเกินพื้นฐานไปแล้ว แล้วมาเชียร์ให้หุ้นลง
หรือคนเล่นมาร์จิ้นเต็มพอร์ตออกมาเชียร์เย้ว ๆ เวลาหุ้นขึ้น หรือวาดฝันว่าดัชนีจะไปเท่านั้นเท่านี้ ตอนนี้มันยังไม่แพง
หรือคนที่ถัวเฉลี่ยหุ้นตัวเดียวพอมันลงต่อเรื่อย ๆ แล้วหาเหตุผลสารพันมาสนับสนุนตัวเอง
ก็ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าพวกเขากำลังระเหิดความคับข้องใจจากจิตใต้สำนึกออกมาโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว

สำหรับนักลงทุนที่ขาดความหนักแน่นในหลักการ อันได้แก่ นักลงทุนที่ไม่ได้วิเคราะห์ธุรกิจด้วยตนเอง หรือ นักเทคนิคที่ไม่ได้ทดสอบโมเดลของเขามาดีพอ มักจะพ่ายแพ้ต่อความกลัว เขาจะขายมันออกไปในที่สุด โดยที่กลไกในการป้องกันตัวของเขาจะหาทางออกเป็นรูปธรรมให้ โดยเขามักจะมีเหตุผลต่าง ๆ มาสนับสนุนตัวเองเสมอ  นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนรายย่อยหลาย ๆ คน ที่ไม่รีบ cutloss แต่เนิ่น ๆ กลับมาขายเอาตอนที่หุ้นลงมามากแล้ว
โพสต์โพสต์