เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ออกตัวก่อนว่าไม่ได้มีหุ้นสื่อสารเลย แต่อยากรู้ผลกระทบที่มีกับธุรกิจ ใครมีความรู้ช่วยแชร์หน่อยครับ

1.  โครงสร้างต้นทุนสัมปทานเดิม ที่มีอยู่ 3 เจ้าเป็นอย่างไร ผมรู้แต่อายุสัญญาว่า AIS เหลือ 5 ปี DTAC เหลือ 8 ปี และ TRUE เหลือ 3 ปี แต่ไม่รู้ว่าเค้าเสียอะไรให้รัฐบ้างด้วยอัตราเท่าไร แตกต่างกันมากน้อยเพียงไร

2.  การโอนเครือข่าย 2G ให้กับ TOT และ CAT ของแต่ละสัมปทานเป็นอย่างไร รัฐได้อะไรจากการโอนในโครงสร้างสัมปทานแบบเก่า และ จะได้หรือเสียอะไรหากเป็นใบอนุญาติแบบใหม่

3. การเปลี่ยนรูปแบบนี้ไปเกี่ยวอะไรกับ 3G ทำไมรัฐบอกว่าเปลี่ยนแล้วจะทำให้แข่งขันกันได้ยุติธรรมมากขึ้น

4. ใครได้เปรียบสูงสุดจากการแปลงรูปแบบนี้ เห็นเค้าว่า TRUE เพราะเหลืออายุสัมปทานน้อยที่สุด จริงเท็จขนาดไหน

รบกวนด้วยครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อยากทราบเหมือนกันครับ อ่านแล้วงงมากๆ
It's earnings that count
DemonInvesting
Verified User
โพสต์: 805
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เอ๊ะทำไมผมเคยจำได้ว่า AIS เหลืออายุนานที่สุด ... หรือว่าการแก้ไขสัญญาตอนนั้นถูกยกเลิกไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
VI Wannabe
Verified User
โพสต์: 1013
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

4. ใครได้เปรียบสูงสุดจากการแปลงรูปแบบนี้
ถ้าดูจากราคาวันนี้ตลาดบอกว่า TRUE   :lol:

แซวเล่นนะครับ เข้ามารอฟังผู้รู้เหมือนกันครับ
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"

"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมไปหามาใน net ไม่รู้แม่นยำขนาดไหน

......

ผู้ชนะการประมูลคลื่น 900MHz ของ ทศท. คือ AIS (สัมปทานถึง พ.ศ. 2558) ส่วนผู้ที่ได้รับคลื่น 1800MHz ของ กสท. คือ DTAC (สัมปทานถึง พ.ศ. 2561) ภายหลัง DTAC ได้แบ่งคลื่น 1800 บางส่วนให้กับบริษัทอื่นๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นโอเปอเรเตอร์หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เช่น กันได้แก่ บริษัททีเอ ซึ่งภายหลังกลายมาเป็น Orange และ TRUE MOVE และบริษัทดีพีซีของกลุ่มสามารถ (บริการ Hello 1800) ซึ่งภายหลังถูก AIS ควบกิจการจนกลายเป็น GSM 1800
รูปภาพ
ภายหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กำหนดให้แยกการกำกับดูแล (regulator) ออกจากการให้บริการโทรคมนาคม (provider) ส่งผลให้เกิดการก่อตั้ง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช. หรือ NTC) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 หน้าที่ในการกำกับดูแลของกรมไปรษณีย์โทรเลข ถูกย้ายมารวมอยู่กับ กทช. และแยกบริษัท ไปรณีย์ไทย ออกมาเป็นผู้ให้บริการทางไปรษณีย์ ในช่วงเดียวกัน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ถูกแปรรูปเป็นบริษัทจำกัด โดยกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% กลายเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด  (มหาชน) หน้าที่ในการกำกับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ถูกโอนย้ายไปอยู่กับ กทช ทั้งสองบริษัททำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียว

ในช่วงไล่เลี่ยกัน พ.ศ. 2545 รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประกาศปฏิรูประบบราชการไทยใหม่ ตั้งกระทรวงใหม่ๆ เพิ่มเติม และหนึ่งในนั้นคือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือที่เรียกกันติดปากว่า กระทรวงไอซีที หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมถึงบริษัทใหม่ทั้งสามแห่ง ถูกย้ายมาสังกัดกระทรวงไอซีทีแทนกระทรวงคมนาคมเดิม

อย่างไรก็ตาม สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ 2G ที่บริษัทเอกชนทั้งสามแห่งทำกับ ทีโอที และ กสท. โทรคมนาคม (ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นรัฐวิสาหกิจ) ยังคงอยู่ตามกำหนดเดิม สภาวะนี้ทำให้เกิดการ “ลักลั่นย้อนแย้ง” ว่าอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการสื่อสารนั้นอยู่กับองค์กรใดกันแน่ และความลักลั่นย้อนแย้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการประมูลความถี่ 3G ของ กทช. เข้าอย่างจัง
รูปภาพ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ตามแผนการประมูลของ กทช. ในช่วงกลางปี 2552 จะออกใบอนุญาต 4 ใบ โดยให้ผู้ประกอบการรายเก่า 3 ใบ และผู้ประกอบการรายใหม่ 1 ใบ อย่างไรก็ตาม ตามเงื่อนไขของ กทช. แล้ว ทีโอที และ กสท. โทรคมนาคม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรูปบริษัทของรัฐไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล (ในแผนภาพแสดงเป็นเส้นประสีเขียว) ซึ่งทำให้กระทรวงไอซีทีในฐานะผู้ดูแลบริษัททั้งสองไม่พอใจ และเข้าเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้ กทช. เปลี่ยนกฎเกณฑ์ (กทช. ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกฎเกณฑ์ เนื่องจากไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของรัฐบาล)

ปัญหาอีกอย่างของการประมูล 3G ที่เกิดขึ้นคือ การย้ายฐานลูกค้าเดิมจาก 2G ภายใต้สัมปทานเก่า มายัง 3G ภายใต้ระบบใบอนุญาตแบบใหม่ของ กทช. เพราะตามสัมปทานเดิมนั้น บริษัทเอกชนจะต้องจ่ายค่าสัมปทานคิดเป็น 20-25% ของรายได้ให้กับ ทีโอที และ กสท. โทรคมนาคม ในขณะที่ กทช. คิดค่าใบอนุญาตใหม่ถูกกว่าเดิมประมาณ 6% ซึ่งคิดเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ถ้าผู้ให้บริการโทรศัพท์ 2G ในปัจจุบัน สามารถย้ายลูกค้าไปใช้เครือข่าย 3G ได้ ก็จะทำให้รายได้ของทีโอทีและ กสท. โทรคมนาคม จากค่าสัมปทานลดลงไปมาก

บริษัททั้งสองแห่งเองก็ประสบปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ไม่สามารถ สู้กับเอกชนได้ (ตัวอย่างที่ชัดเจนคือบริการบรอดแบนด์ของทีโอที เมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วยังตามหลังอยู่มาก) ปัจจุบันบริษัททั้งสองแห่งมีรายได้หลักมาจากค่าสัมปทาน ถ้าหักรายได้ส่วนนี้ออกไป กำไรจะกลายเป็นขาดทุนมหาศาลทันที

ในการประมูล 3G ของ กทช. นั้นมีปัญหาปลีกย่อยในด้านอื่นๆ อีกมากมาย และมีผู้เสนอทางแก้ไขหลายแนวทางซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ก็ยังเป็นปัญหาการสูญเสียรายได้ของรัฐจากค่าสัมปทานอยู่ ผลก็คือการประมูล 3G ต้องล่าช้าออกไป และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ยังไม่มีบริการ 3G (อีกประเทศคืออินเดีย ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลได้เดือนธันวาคม 2552)

ข้อเสนอของนายกอร์ป ศักดิ์ สภาวสุคือ ยกเลิกสัญญาสัมปทาน 2G เดิมที่เอกชนทำไว้กับ ทีโอที และ กสท. (ซึ่งจะหมดอายุในช่วง 6-7 ปีข้างหน้า) เพื่อตัดปัญหาเรื่องการย้ายฐานลูกค้ามายัง 3G ที่จะเปิดประมูลใหม่ ทำให้การประมูล 3G ของ กทช. ลดความซับซ้อนลง และแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมมากขึ้น
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

รูปภาพ

แผนภาพข้อเสนอการแก้ไขปัญญา 3G ตามข้อเสนอของนายกอร์ปศักดิ์
แนวทางนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด เพราะเป็นการยกเลิกความสัมพันธ์ส่วนที่เป็นปัญหา (สัมปทานระหว่างบริษัทเอกชนกับรัฐวิสาหกิจเดิม) ออกไป ทำให้บริษัทเอกชนที่เคยอยู่ใต้สัญญาสัมปทาน กลับมามีฐานะเป็นบริษัทเอกชนธรรมดาทั่วไป และเปลี่ยนสถานะของทีโอที และ กสท. ที่ยัง “ลักลั่นย้อนแย้ง” เพราะเป็นบริษัทแต่กลับมอบสัมปทานให้กับบริษัทของเอกชนได้อีกทอดหนึ่ง ให้กลายเป็นบริษัทธรรมดาเช่นกัน เพียงแค่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดเท่านั้น

ถ้าแนวทางนี้ของนายกอร์ปศักดิ์เกิดได้จริง แปลว่า ทีโอที หรือ กสท. โทรคมนาคม ย่อมมีสิทธิ์เข้าร่วมประมูลคลื่น 3G ได้เช่นเดียวกับ AIS, DTAC และ TRUE
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้มีอุปสรรคขนานใหญ่ 2 ข้อ (ซึ่งนายกอร์ปศักดิ์ก็ยอมรับเช่นกัน) คือ

  1. การตีราคาสัญญาสัมปทานเดิมที่ยังเหลืออยู่ ให้เป็นธรรมและสะท้อนความเป็นจริง เพื่อไม่ให้รัฐต้องเสียประโยชน์ และเอกชนต้องจ่ายเงินมากเกินไปจนขาดเงินลงทุนเพื่อ 3G
  2. แนวทางนี้จำเป็นต้องให้ กทช. ในฐานะผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล และรัฐบาล ในฐานะเจ้าของทีโอทีและ กสท. ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดกติกาที่สอดคล้องกัน ทั้งกติกาการยกเลิกสัมปทาน (อำนาจของรัฐบาล) ใบอนุญาต 2G ใบใหม่ (อำนาจของ กทช.) และกติกาการประมูลคลื่น 3G (อำนาจของ กทช.)

ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนนักว่า แนวทางของนายกอร์ปศักดิ์จะมีโอกาสเป็นจริงได้แค่ไหน ขึ้นกับความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ กทช. และรัฐบาล รวมถึงต้องพยายามเร่งรัดให้การปรับเปลี่ยนกติกาเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เนื่องจากว่าการประมูล 3G ย่อมจะเกิดขึ้นได้เมื่อกระบวนการปรับเปลี่ยนทั้งหมดนี้เสร็จสิ้นลงแล้ว
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

อ่านดูเต็มๆ ได้ที่ http://www.siamintelligence.com/korbsak ... before-3g/

แต่ปัญหาคือผมอ่านแล้วยังไม่เข้าใจอยู่ดีครับ  :oops:
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ดูเหมือนกระทรวงการคลังอยากจะเปลี่ยนกล่องสีแดงที่ยกเลิกสัมปทานจ่ายเงินคืนเป็นยกเลิกสัมปทานและออกใบอนุญาติแทนครับ

แต่ในบทความไม่ได้บอกถึงค่าสัมปทานที่แต่ละเจ้าจ่ายให้รัฐ เลยไม่รู้ว่าใครมีโครงสร้างต้นทุนเป็นไงกันบ้าง
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ตอนนี้ไม่เคลียร์เรื่องที่
สถานีฐานของ 2G นั้นไม่สามารถดำเนินการ 3G ใหม่ได้
เพราะผู้ประมูลตอน 2G ต้องส่งมอบสถานีฐานให้แก่หน่วยงานคือ CAT และ TOT จุดนี้เป็นประเด็นว่า หากได้ 3G แล้วทำสถานีฐานใหม่หรือเอาข้อเก่ามาทำต่อได้ เพราะอุปกรณ์ที่อยู่ในสถานีรองรับระบบ 3G อยู่แล้ว
สามารถลงต้นทุนของผู้ประกอบการได้

งานนี้ดูว่า รบ กล่อม กทช อย่างไงได้บ้าง
แล้วผลประโยชน์ตกอยู่ที่ใคร บริษัทที่ลงทุนในสถานี หรือ รัฐวิสาหกิจ หรือประชาชนตาดำๆๆ

หากเรื่องสถานีฐาน ออกมาว่าสร้างใหม่ สถานีฐานเดิมก็ต้องโยนทิ้ง
เหมือนระบบ Analog ที่อุปกรณ์ยังค้างคาในสถานีฐานปล่อยให้ผุผังไปตามกาลเวลา โดยที่ทั้ง TOT และ CAT ไม่ได้ย้ายอุปกรณ์ออกจากสถานีฐานเลย ปล่อยเป็นอย่างไงก็เป็นอย่างงั้นไปตามยถากรรม

เหตุต่อมาคือ
จำนวนใบอนุญาตและคลื่นความถี่
งานนี้ตอนแรกออกมาแค่ 3 ใบ ตอนนี้ออกมาเป็น n-1 ใบตามผู้ประมูล
คือมีผู้ประมูล 4 รายให้ 3 ใบ ไปเรื่อยๆ แบบนี้
แล้วถ้าหากประมูลกัน 10 รายให้กี่ใบ
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
kurapica
Verified User
โพสต์: 587
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมมีเพื่อนเป็นวิศวกรทำงานที่ ais เมื่อปีที่แล้วผมถามไปว่าเมื่อไรจะได้ใช้สามจี
เพื่อนผมบอกว่าพร้อมใช้ได้แล้ว เหลือแค่รอให้ได้รับอนุญาตใช้คลื่นความถี่
ดังนั้นเรื่องลงทุนสถานีฐานใหม่ทั้งหมดคงไม่เกิดขึ้น แค่อาจต้องอัพเกรดอุปกรณ์บางอย่าง ซึ่งต้องซื้อจากต่างประเทศอยู่แล้ว
ยอดดอยอยู่ไหนจ๊ะ ขึ้นมามากแล้วนะ
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

การสร้างสถานีใหม่เกิดได้
เพราะอ่านในสัญญาทั้งฉบับแรกและแก้ไขดีๆครับ
ว่าอุปกรณ์ทั้งหมด ตกเป็นของ CAT และ TOT
ไม่ใช่อุปกรณ์ของ AIS หรือ DTAC หรือ TRUE
ในตอนสิ้นสุดสัญญา

:)
:)
wj
Verified User
โพสต์: 1255
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

การสร้างสถานีใหม่เกิดได้
เพราะอ่านในสัญญาทั้งฉบับแรกและแก้ไขดีๆครับ
ว่าอุปกรณ์ทั้งหมด ตกเป็นของ CAT และ TOT
ไม่ใช่อุปกรณ์ของ AIS หรือ DTAC หรือ TRUE
ในตอนสิ้นสุดสัญญา
ถึงแม้ว่าในสัญญาจะเขียนไว้อย่างนั้น แต่ สุดท้ายแล้วสถานีก็จะเป็นของเอกชนอยู่ดี เพราะอะไร เพราะว่า AIS ไม่ได้ซื้อที่ดิน อาคาร เพื่อก่อสร้างสถานี้ แต่เป็นการเช่า(AIS เช่า SC ) ทำให้เมื่อหมดสัญญา ทาง CAT หรือ TOT คงไม่ได้อะไรมาก

เรื่องใบอนุญาต มาประมูลกี่ราย ก็มีให้แค่ 3 ใบ 3x15 = 45
ภาพประจำตัวสมาชิก
tn143
Verified User
โพสต์: 229
ผู้ติดตาม: 0

Re: เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่

โพสต์ที่ 15

โพสต์

[quote="ayethebing"]ออกตัวก่อนว่าไม่ได้มีหุ้นสื่อสารเลย แต่อยากรู้ผลกระทบที่มีกับธุรกิจ ใครมีความรู้ช่วยแชร์หน่อยครับ

1.
ภาพประจำตัวสมาชิก
tn143
Verified User
โพสต์: 229
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

[quote="ayethebing"]อ่านดูเต็มๆ ได้ที่ http://www.siamintelligence.com/korbsak ... before-3g/

แต่ปัญหาคือผมอ่านแล้วยังไม่เข้าใจอยู่ดีครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
tn143
Verified User
โพสต์: 229
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 17

โพสต์

wj เขียน: ถึงแม้ว่าในสัญญาจะเขียนไว้อย่างนั้น แต่ สุดท้ายแล้วสถานีก็จะเป็นของเอกชนอยู่ดี เพราะอะไร เพราะว่า AIS ไม่ได้ซื้อที่ดิน อาคาร เพื่อก่อสร้างสถานี้ แต่เป็นการเช่า(AIS เช่า SC ) ทำให้เมื่อหมดสัญญา ทาง CAT หรือ TOT คงไม่ได้อะไรมาก

เรื่องใบอนุญาต มาประมูลกี่ราย ก็มีให้แค่ 3 ใบ 3x15 = 45
tot cat ได้โครงข่าย 2g ทั่วประเทศไทยไง ถึงจะตกรุ่น
แต่มันก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร ถ้ามีปัญญาบริหาร หรือแม้แต่
ให้คนอื่นเช่าสิทธิ์ ก็ยังได้เงินฟรีๆ ไม่ต้องลงทุนอะไรนี่ แค่ซ่อมบำรุง

ส่วนอาคาร ที่ดิน ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่าย
ก็แค่ต่อสัญญาเช่าออกไป ก็ รัน 2g ได้ทันที

(ที่ติดเสา ก็เช่ากันทั้งนั้นครับ ไม่มีใครซื้อตึกทุกอำเภอมาติดเสา)
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เรื่องของสถานี เป็นปัจจัยในการต่อสู้ของอุตสาหกรรมนี้
ใครยึดพื้นที่ได้มากเท่ากับมีชัย
เพราะครั้งหนึ่งตอน น้องจริงๆ เข้ามาก็เล่นเรื่องสัญญาณเลย

ยิ่งครอบคลุมเท่าไร คนใช้งานได้มากเท่านั้น
ไม่ใช่ใช้ไปแล้วติดดับๆ

อีกประการคือ ใช้แล้วไม่หลุดกลางอากาศ
มีอยู่ยุคหนึ่ง ประกันการหลุดเลย หรือ คิดเป็นวินาที

ส่วนสามจี ที่น่าจับตาคือ ตัว Clearing ย้ายเลขหมายว่า
บริษัทลูกของใครทำ ตัวนี้เดินตามรอย การ Clearing ของ ระบบ ATM pooling
ที่เก็บค่าข้ามเครือข่าย 99 บาทนี้ ใครได้ประโยชน์ล่ะ

:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
NinjaTurtle
Verified User
โพสต์: 506
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 19

โพสต์

Clearing ไม่ได้ทำมาเพื่อหาเงินหรอกครับ ตอนให้ลงเงินทำกันยังเกี่ยงกันจะแย่ว่าใครจะลงเท่าไหร่ไม่มีใครอยากเสียเงินเพื่อบริการที่ไม่ได้อะไรมากมายกับธุรกิจ

ถ้าจำไม่ผิดประเทศที่มี MNP มาก่อนอย่าง HK ตัวเลขการย้ายค่ายจะสูงมาก15-20% ใน1-2 ปีแรกจากนั้นก็วิ่งอยู่ราวๆ 10% ของผู้ใช้บริการ

คำนวนรายได้หักค่าใช้จ่าย แล้วไม่เป็นประเด็นหรอกครับ
Why not invest your assets in the companies you really like? As Mae West said, "Too much of a good thing can be wonderful."
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ถ้ายังงั้นการแปรสัมปทานเป็นใบอนุญาติ TOT และ CAT ไม่เสียอะไรเลยใช่มั้ยครับ และ เครื่อข่าย 2G ที่มีก็จะกลายเป็นของ TOT และ CAT ทั้งหมดใช่หรือไม่ครับ

แล้วเครือข่าย 2G สามารถใช้ในการ support 3G ได้มากน้อยแค่ไหนครับ ถ้าได้ทาง TOT กับ CAT แล้วออกใบอนุญาติ 3G ถ้า TOT และ CAT ก็เป็นผู้ขอใบอนุญาติ 3G ด้วย ผู้ประกอบการรายอื่นก็เสียเปรียบอย่างแรงเลยสิครับ เพราะต้องขอเช่าเครือข่าย (อาจจะบางส่วน) จาก TOT CAT ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการอื่นๆ สูงกว่าทาง TOT และ CAT สิครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
pornchal
Verified User
โพสต์: 1070
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ถึงแม้ว่าในสัญญาจะเขียนไว้อย่างนั้น แต่ สุดท้ายแล้วสถานีก็จะเป็นของเอกชนอยู่ดี เพราะอะไร เพราะว่า AIS ไม่ได้ซื้อที่ดิน อาคาร เพื่อก่อสร้างสถานี้ แต่เป็นการเช่า(AIS เช่า SC ) ทำให้เมื่อหมดสัญญา ทาง CAT หรือ TOT คงไม่ได้อะไรมาก

อาจจะต้องจ่ายค่าเช่าต่อ หรือไม่ก้อต้องเสียค่าลื้อถอน

คิดได้ไงนี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 22

โพสต์

pornchal เขียน:ถึงแม้ว่าในสัญญาจะเขียนไว้อย่างนั้น แต่ สุดท้ายแล้วสถานีก็จะเป็นของเอกชนอยู่ดี เพราะอะไร เพราะว่า AIS ไม่ได้ซื้อที่ดิน อาคาร เพื่อก่อสร้างสถานี้ แต่เป็นการเช่า(AIS เช่า SC ) ทำให้เมื่อหมดสัญญา ทาง CAT หรือ TOT คงไม่ได้อะไรมาก

อาจจะต้องจ่ายค่าเช่าต่อ หรือไม่ก้อต้องเสียค่าลื้อถอน

คิดได้ไงนี่
ผมกลับมองต่างมุมว่าถ้า TOT และ CAT ได้สถานี 2G ไป เค้าก็สามารถจ่ายค่าเช่าต่อแล้วผลักค่าใช้จ่ายนั้นมาให้ผู้เช่าเช่น AIS, DTAC TRUE ได้ เค้าก็เป็นเสือนอนกินอยู่ดี

ถ้า AIS DTAC TRUE จะลงทุนเองทั้งหมดก็คงเป็นไปไม่ได้มั้งครับ

อันนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าสถานี 2G สามารถปรับปรุงหรือทำให้ใช้ 3G ได้นะครับ แต่ถ้าไม่ได้เลย ก็ต้องลุ้นว่า 2G จะตายมั้ย 3G จะมาแทนได้ทั้งหมดได้หรือไม่ ผมก็ว่าไม่อีก อย่างน้อยก็ในช่วง 3-5 ปีนี้ครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
sakana_sushi
Verified User
โพสต์: 241
ผู้ติดตาม: 0

เปลี่ยนสัมปทาน 2G เป็นใบอนุญาติ ดีไม่ดีอย่างไรกับหุ้นสื่อสาร

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ผมไม่รู้ว่าสถานี 2G พัฒนาไปเป็น 3G ได้เลยหรือเปล่า ก็เลยไปถามเพื่อนที่ทำงานเป็นวิศวกรด้านการสื่อสาร เขาบอกว่าไม่ได้ครับต้องสร้างใหม่ แต่ตรงนี้ผมถามแค่คนเดียวเลยยังไม่แน่ใจ รบกวนเหมือนกันครับอยากรู้เช่นกัน
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
โพสต์โพสต์