เราจะรู้ได้ยังไงครับว่าเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ถึงจะพอต่อควา
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
เราจะรู้ได้ยังไงครับว่าเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ถึงจะพอต่อควา
โพสต์ที่ 3
เคยอ่านในหนังสือของคุณสุมาอี้นะครับ
เงินทุนหมุนเวียน จะไม่ได้แสดงอยู่ในงบแต่เราต้องคิดออกมาเองนะครับโดย
เงินทุนหมุนเวียน=สินทรัพย์หมุนเวียนที่(เฉพาะที่)ใช้ในการดำเนินธุรกิจไม่รวมเงินสด-หนี้สินหมุนเวียนไม่รวมภาระดอกเบี้ย
เงินทุนหมุนเวียน จะไม่ได้แสดงอยู่ในงบแต่เราต้องคิดออกมาเองนะครับโดย
เงินทุนหมุนเวียน=สินทรัพย์หมุนเวียนที่(เฉพาะที่)ใช้ในการดำเนินธุรกิจไม่รวมเงินสด-หนี้สินหมุนเวียนไม่รวมภาระดอกเบี้ย
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
- นพพร
- Verified User
- โพสต์: 1039
- ผู้ติดตาม: 0
เราจะรู้ได้ยังไงครับว่าเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ถึงจะพอต่อควา
โพสต์ที่ 4
คร่าวๆ น่าจะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนลบด้วยหนี้สินหมุนเวียนครับ คำว่าหมุนเวียนนี่ก็คือหมุนเวียนในรอบหนึ่งปี สินทรัพย์ที่สามารถเรียกคืนมาได้ภายในหนึ่งปี หนี้สินที่ติดค้างอยู่และต้องใช้ในปีนี้ครับ
ก้าวแรกที่เล็กๆ แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 807
- ผู้ติดตาม: 0
เราจะรู้ได้ยังไงครับว่าเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ถึงจะพอต่อควา
โพสต์ที่ 5
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD% ... 2%E0%B8%99
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD% ... 7%E0%B8%A7
ธุรกิจโดยทั่วไปก็ตามนี้ครับ แต่รูปแบบธุรกิจบางอย่างจะมีเงินทุนหมุนเวียนติดลบ หรือมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนน้อยกว่า 1 อยู่แล้วโดยธรรมชาติ อาทิเช่น พวกค้าปลีกทั้งหลาย จะขายสินค้าเงินสด ซื้อสินค้าเงินเชื่อได้ จะทำให้มีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนเสมอๆ
โดยลักษณะธุรกิจที่จะทำให้เงินทุนหมุนเวียนติดลบได้จะมีดังนี้
1. เอาสินค้ามาจาก supplier (ยังไม่จ่ายเงิน)
2. ขายสินค้าให้ customer
3. เก็บเงิน customer
4. จ่ายเงินให้ supplier
ธุรกิจที่ทำเช่นนี้ได้ จะต้องมีระยะเวลาจ่ายเงิน supplier ยาวนานกว่าระยะเวลาเก็บเงิน customer ซึ่งในทางการคำนวณเราถือว่าใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็น 0 และยิ่งมีเจ้าหนี้การค้าสูงเท่าไร ยิ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจการต่อรองที่มากขึ้นตามไปด้วย
WARNING : อย่าไปยึดติดว่ามีเฉพาะธุรกิจค้าปลีกเท่านั้น ที่มีเงินทุนหมุนเวียนเป็นลบได้ เพราะมีบางบริษัทในอุตสาหกรรมอื่น สามารถซื้อวัตถุดิบเงินเชื่อ มีระยะเวลาจ่ายเงิน 90 วัน แต่ขายของเงินเชื่อ มีระยะเวลาชำระเงินเพียง 30 วัน กรณีแบบนี้ก็ทำให้เงินทุนหมุนเวียนติดลบได้เช่นกัน
WARNING : เช่นกัน ในทางปฏิบัติแล้วธุรกิจที่ใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็น 0 จริงๆ นั้นไม่มี บริษัทจะต้องกันรายการเงินสด และเทียบเท่าเงินสดไว้จำนวนหนึ่งเพื่อรักษาสภาพคล่อง และใช้ในการดำเนินงานต่างๆ กรณีนี้จะทราบได้โดยการสอบถามผู้บริหารหรือ IR เท่านั้น
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD% ... 2%E0%B8%99
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD% ... 7%E0%B8%A7
ธุรกิจโดยทั่วไปก็ตามนี้ครับ แต่รูปแบบธุรกิจบางอย่างจะมีเงินทุนหมุนเวียนติดลบ หรือมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนน้อยกว่า 1 อยู่แล้วโดยธรรมชาติ อาทิเช่น พวกค้าปลีกทั้งหลาย จะขายสินค้าเงินสด ซื้อสินค้าเงินเชื่อได้ จะทำให้มีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนเสมอๆ
โดยลักษณะธุรกิจที่จะทำให้เงินทุนหมุนเวียนติดลบได้จะมีดังนี้
1. เอาสินค้ามาจาก supplier (ยังไม่จ่ายเงิน)
2. ขายสินค้าให้ customer
3. เก็บเงิน customer
4. จ่ายเงินให้ supplier
ธุรกิจที่ทำเช่นนี้ได้ จะต้องมีระยะเวลาจ่ายเงิน supplier ยาวนานกว่าระยะเวลาเก็บเงิน customer ซึ่งในทางการคำนวณเราถือว่าใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็น 0 และยิ่งมีเจ้าหนี้การค้าสูงเท่าไร ยิ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจการต่อรองที่มากขึ้นตามไปด้วย
WARNING : อย่าไปยึดติดว่ามีเฉพาะธุรกิจค้าปลีกเท่านั้น ที่มีเงินทุนหมุนเวียนเป็นลบได้ เพราะมีบางบริษัทในอุตสาหกรรมอื่น สามารถซื้อวัตถุดิบเงินเชื่อ มีระยะเวลาจ่ายเงิน 90 วัน แต่ขายของเงินเชื่อ มีระยะเวลาชำระเงินเพียง 30 วัน กรณีแบบนี้ก็ทำให้เงินทุนหมุนเวียนติดลบได้เช่นกัน
WARNING : เช่นกัน ในทางปฏิบัติแล้วธุรกิจที่ใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็น 0 จริงๆ นั้นไม่มี บริษัทจะต้องกันรายการเงินสด และเทียบเท่าเงินสดไว้จำนวนหนึ่งเพื่อรักษาสภาพคล่อง และใช้ในการดำเนินงานต่างๆ กรณีนี้จะทราบได้โดยการสอบถามผู้บริหารหรือ IR เท่านั้น
อย่ายอมแพ้