อยากรบกวนถามเรื่องเกี่ยวกับ BOI ครับ
- Zumo
- Verified User
- โพสต์: 582
- ผู้ติดตาม: 0
อยากรบกวนถามเรื่องเกี่ยวกับ BOI ครับ
โพสต์ที่ 1
อยากจะทราบว่า
1. ถ้าสมมติว่า BOI หมดปีนี้ แล้วเราได้งานในปีนี้พอดี แต่งานที่ได้รับเป็นงานที่จะรับรู้รายได้ในปีต่อๆไป กำไรที่ได้ในปีถัดมาเราต้องเสียภาษีมั้ยครับ
2. แล้วส่วนของกำไรสะสมที่ได้มาในช่วง BOI แต่เอามาปันผลหลังจากที่หมด BOI ไปแล้ว เราก้อยังคงไม่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่ายช่ายหรือป่าวครับ
1. ถ้าสมมติว่า BOI หมดปีนี้ แล้วเราได้งานในปีนี้พอดี แต่งานที่ได้รับเป็นงานที่จะรับรู้รายได้ในปีต่อๆไป กำไรที่ได้ในปีถัดมาเราต้องเสียภาษีมั้ยครับ
2. แล้วส่วนของกำไรสะสมที่ได้มาในช่วง BOI แต่เอามาปันผลหลังจากที่หมด BOI ไปแล้ว เราก้อยังคงไม่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่ายช่ายหรือป่าวครับ
ช่วงเวลาที่มืดที่สุด คือช่วงเวลาที่กำลังจะเริ่มสว่างแล้ว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 328
- ผู้ติดตาม: 0
อยากรบกวนถามเรื่องเกี่ยวกับ BOI ครับ
โพสต์ที่ 4
ผมว่าข้อ 2 ถ้าพิสูจน์ได้ว่ากำไรสะสมที่มาจ่ายภาษีนั้นเป็นผลการดำเนินงานจากช่วง BOI ไม่น่าจะต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายนะครับ
โชคคือเวลาที่ความพร้อมมาเจอกับโอกาส
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรบกวนถามเรื่องเกี่ยวกับ BOI ครับ
โพสต์ที่ 6
บีโอไอปลื้มยอดจับคู่ธุรกิจไทย-ต่างชาติ เพียง 3 วันแรก เกิดมูลค่าซื้อขายชิ้นส่วนไทยกว่า 2,00 ลบ. [ ข่าวหุ้น, 11 มกราคม 2012 ]
บีโอไอเผย ผลการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ภายในงาน บีโอไอแฟร์ 2011 เพียง 3 วัน มีการเจรจาจับคู่ถึง 650 คู่ เกิดมูลค่าการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการไทย และผู้ซื้อรายใหญ่จากในประเทศ และต่างชาติ 2,200 ล้านบาท คาดอีก 3 วันยอดซื้อขายทะลุเป้า 3,000 ล้านบาทแน่นอน พร้อมเดินหน้าจัดกิจกรรมเชื่อมโยงนักลงทุนญี่ปุ่นจับคู่ธุรกิจขยายโอกาสกลุ่มแม่พิมพ์
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ ภายในอาคารชาเลนเจอร์ฮอลล์ โซน Business Matching ซึ่งเป็นกิจกรรมในงาน บีโอไอ แฟร์ 2011 ว่า การจัดกิจกรรมในช่วง 3 วันที่ผ่านมา คือในวันศุกร์ที่ 6 วันจันทร์ที่ 9 และวันอังคารที่ 10 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ประกอบการจากบริษัทในไทย และผู้ซื้อรายใหญ่จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยกิจกรรมทั้ง 3 วัน มีการจับคู่ธุรกิจถึง 650 คู่ คาดว่าจะเกิดมูลค่าการเชื่อมโยงธุรกิจร่วมกันประมาณ 2,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มผู้ผลิตจากในประเทศ และผู้ซื้อรายใหญ่จากต่างประเทศ อาทิ บริษัท Delta Electronics ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ บริษัท Robert Bosch ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัท Thai Summit Auto Part ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะและยานยนต์ บริษัท Chint Solar สนใจหาผู้ร่วมทุนในโครงการผลิตแผงผลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
สำหรับกลุ่มผู้ซื้อจากต่างประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการจาก 5 ประเทศ ได้แก่ กลุ่มนักลงทุนจากประเทศจีน เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักร ได้สนใจหาผู้ผลิตเครื่องจักรจากประเทศไทย ประเทศฝรังเศส เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสียและกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน ได้สนใจหาผู้ร่วมทุนและผู้ผลิตชิ้นส่วนจากประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย เป็นกลุ่มผู้ผลิตและส่งออกปาล์มน้ำมันรายใหญ่ ได้สนใจหาผู้ผลิตเครื่องจักรในกลุ่มพลังงานทดแทนเช่น BIO MASS ประเทศไต้หวัน เป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยาน ได้สนใจหาผู้ผลิตแม่พิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ประเทศยูกานดา เป็นกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรายใหญ่ ได้สนใจหาผู้ผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในฟาร์มไก่ เป็นต้น
“ผู้ซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม ให้ความสนใจ และประสบความสำเร็จในการจับคู่ธุรกิจเพื่อป้อนสินค้าได้ตรงกับความต้องการได้อย่างแท้จริง โดยคาดว่าหลังจากนี้ จะก่อให้เกิดกิจกรรมในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าที่มีมุลค่าเพิ่มขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มช่องทาง และโอกาสทางธุรกิจให้เอสเอ็มอีไทย ให้สามารถขยายตลาดของสินค้าได้เพิ่มขึ้นอีกมาก ” นางอรรชกา กล่าว
ด้านนายนฤชา ฤชุพันธ์ ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม หรือ หน่วย BUILD ของบีโอไอ กล่าวว่า จะเร่งจัดกิจกรรมรูปแบบของการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย และผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มช่องทางการขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย
โดยภายหลังจากกิจกรรมภายในงาน บีโอไอแฟร์ 2011 แล้ว ในช่วงเดือนมีนาคม 2555 นี้ หน่วย BUILD จะร่วมกับสมาคมแม่พิมพ์ญี่ปุ่น จัดการประชุมจับคู่เจรจาธุรกิจ (One-on-One Meeting) ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับนักธุรกิจญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (Japan-Thailand Precision Technical Conference-Japan Quality Monodzukuri- Japan-Thailand Precision Technical Conference - Japan Quality Monodzukuri” ซึ่งจะเป็นกิจกรรมน่าสนใจ ที่จะขยายโอกาสของแม่พิมพ์ไทยที่หาหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อขยายตลาดสู่ประเทศญี่ปุ่น ต่อไป
บีโอไอเผย ผลการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ภายในงาน บีโอไอแฟร์ 2011 เพียง 3 วัน มีการเจรจาจับคู่ถึง 650 คู่ เกิดมูลค่าการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการไทย และผู้ซื้อรายใหญ่จากในประเทศ และต่างชาติ 2,200 ล้านบาท คาดอีก 3 วันยอดซื้อขายทะลุเป้า 3,000 ล้านบาทแน่นอน พร้อมเดินหน้าจัดกิจกรรมเชื่อมโยงนักลงทุนญี่ปุ่นจับคู่ธุรกิจขยายโอกาสกลุ่มแม่พิมพ์
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ ภายในอาคารชาเลนเจอร์ฮอลล์ โซน Business Matching ซึ่งเป็นกิจกรรมในงาน บีโอไอ แฟร์ 2011 ว่า การจัดกิจกรรมในช่วง 3 วันที่ผ่านมา คือในวันศุกร์ที่ 6 วันจันทร์ที่ 9 และวันอังคารที่ 10 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ประกอบการจากบริษัทในไทย และผู้ซื้อรายใหญ่จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยกิจกรรมทั้ง 3 วัน มีการจับคู่ธุรกิจถึง 650 คู่ คาดว่าจะเกิดมูลค่าการเชื่อมโยงธุรกิจร่วมกันประมาณ 2,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มผู้ผลิตจากในประเทศ และผู้ซื้อรายใหญ่จากต่างประเทศ อาทิ บริษัท Delta Electronics ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ บริษัท Robert Bosch ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัท Thai Summit Auto Part ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะและยานยนต์ บริษัท Chint Solar สนใจหาผู้ร่วมทุนในโครงการผลิตแผงผลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
สำหรับกลุ่มผู้ซื้อจากต่างประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการจาก 5 ประเทศ ได้แก่ กลุ่มนักลงทุนจากประเทศจีน เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักร ได้สนใจหาผู้ผลิตเครื่องจักรจากประเทศไทย ประเทศฝรังเศส เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสียและกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน ได้สนใจหาผู้ร่วมทุนและผู้ผลิตชิ้นส่วนจากประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย เป็นกลุ่มผู้ผลิตและส่งออกปาล์มน้ำมันรายใหญ่ ได้สนใจหาผู้ผลิตเครื่องจักรในกลุ่มพลังงานทดแทนเช่น BIO MASS ประเทศไต้หวัน เป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยาน ได้สนใจหาผู้ผลิตแม่พิมพ์สำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ประเทศยูกานดา เป็นกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรายใหญ่ ได้สนใจหาผู้ผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในฟาร์มไก่ เป็นต้น
“ผู้ซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม ให้ความสนใจ และประสบความสำเร็จในการจับคู่ธุรกิจเพื่อป้อนสินค้าได้ตรงกับความต้องการได้อย่างแท้จริง โดยคาดว่าหลังจากนี้ จะก่อให้เกิดกิจกรรมในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าที่มีมุลค่าเพิ่มขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มช่องทาง และโอกาสทางธุรกิจให้เอสเอ็มอีไทย ให้สามารถขยายตลาดของสินค้าได้เพิ่มขึ้นอีกมาก ” นางอรรชกา กล่าว
ด้านนายนฤชา ฤชุพันธ์ ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม หรือ หน่วย BUILD ของบีโอไอ กล่าวว่า จะเร่งจัดกิจกรรมรูปแบบของการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย และผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มช่องทางการขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย
โดยภายหลังจากกิจกรรมภายในงาน บีโอไอแฟร์ 2011 แล้ว ในช่วงเดือนมีนาคม 2555 นี้ หน่วย BUILD จะร่วมกับสมาคมแม่พิมพ์ญี่ปุ่น จัดการประชุมจับคู่เจรจาธุรกิจ (One-on-One Meeting) ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับนักธุรกิจญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (Japan-Thailand Precision Technical Conference-Japan Quality Monodzukuri- Japan-Thailand Precision Technical Conference - Japan Quality Monodzukuri” ซึ่งจะเป็นกิจกรรมน่าสนใจ ที่จะขยายโอกาสของแม่พิมพ์ไทยที่หาหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อขยายตลาดสู่ประเทศญี่ปุ่น ต่อไป
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."