เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pat4310
Verified User
โพสต์: 732
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หุ้นตกไม่รู้ทำอะไรก็อ่านหนังสือธรรมะ พอมานั่งนึกๆดู จริงแล้วเศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน คื่อเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ แต่วิธีการดับทุกข์ต่างกัน (เศรษฐศาสตร์เน้นเรื่องการจัดทรัพยากรให้พอกับความต้องการ ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการไม่ยึดมั่นถือมั่น) มาจากการกำหนดนิยามของความทุกข์ที่ต่างกัน เมื่อเหตุต่างผลลัพท์ก็ต่างกันดังนี้

ทุกข์

เศรษฐศาสตร์กำหนดนิยามความทุกข์ไว้ที่ความทุกข์กายทุกข์ใจหรือทุกข์เวทนา ยามใดที่ทุกข์เวทนาเขาบางลง เราจะรู้สึกว่าเป็นสุข เมือเราทุกข์จะเกิดความต้องการสินค้าและบริการ เมื่อเราได้ใช้สินค้าและบริการจะเกิดความสุข หรือเรียกว่าอรรถประโยชน์ สามารถวัดได้(ตามทฤษฎี สมมติให้สามารถวัดความพอใจได้) มีหน่วยวัดเป็นยูทิล

แต่ในทางพระพุทธศาสนา ทุกข์เวทนา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทุกข์เท่านั้น โดยทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งประเภทของความทุกข์ไว้เป็น 4 ประเภทคือ

1. ทุกข์เวทนา คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ

2. ทกข์ลักษณะ เป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขาร คือสังขารทั้งหลายไม่อาจทนอยู่ได้ตลอดไป ตามความหมายนี้กระทั่งความสุขก็มีลักษณะเป็นทุกข์เช่นกัน คือมีความทนอยู่ไม่ได้

3. ทุกข์เพราะตัณหา คือหากจิตเกิดความอยาก และความยึดถือในรูปนามและอารมณ์ทั้งหลายแล้ว จิตจะเกิดความทุกข์คือความอึดอัดขัดข้องทั้งหลายขึ้นมาทันที ข้อนี้มองลึกกว่าเศรษฐศาสตร์อีกชั้นหนึ่ง

4. ทุกขสัจจ์หรือขันธ์คือทุกข์ ขันธ์หรือรูปนามหรือกายใจนั่นแหละคือทุกข์ จะมีความอยากและความยึดมั่นหรือไม่ รูปนามนี้ก็เป็นทุกข์อยู่โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว

สมุหทัย หรือเหตุแห่งทุกข์

ในทางเศรษฐศาสตร์ ที่ศึกษาเรื่องทุกข์เวทนาเป็นหลัก จึงได้นิยามเหตุแห่งทุกข์ว่าความไม่สมอยาก ในความต้องการบริโภคสินค้าและบริการทำให้เกิดทุกข์

ในทางพระพุธศาสนาพิจารนาเหตุแห่งทุกไม่ลึกซึงยิ่งขึ้นอีกคือ ความอยากทำให้เกิดทุกข์ เพราะความอยากทำให้จิตต้องดิ้นรนทำงานหนึกทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ "เรา" เป็นสุขและพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

เมื่อมองให้ลึกเข้าไปอีก สำหรับผู้รู้แจ้งอริยสัจจ์แล้วจะพบว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นทุกข์โดยตัวมันเอง จะมีความอยากหรือไม่ขันธ์ก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่เพระอวิชชาหรือความไม่รู้แจ้งว่าขันธ์เป็นทุกข์ กลับไปคิดว่ากายใจนี้เป็นทุกข์บ้าง สุขบ้าง จึงเกิดสมุทัยคือความอยากให้การใจเป็นสุขถาวร หรืออยากให้พ้นทุกข์ถาวร ก่อเป็นความทุกข์มาเผาใจอยู่ตลอดเวลา แม้เมื่อต่างกายนี้แตกสลายลง ความไม่รู้ก็จะกระตุ้นให้จิตปรงขันธ์มาเป็นภาระให้ต้องแบกรับทุกข์อีก ดังนี้นความไม่รู้อริยสัจจ์หรืออวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรู้นั่นแหละจึงเป็นรากเหง้าของความทุกข์ที่แท้จริง

นิโรธ ความดับแห่งทุกข์ + มรรค ทางดับแห่งทุกข์

ในทางเศรษฐศาสตร์ ทุกข์เกิดจากความต้องการ ดังนั้นถ้าเราสามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการเราก็จะไม่ทุกข์

ในทางปฎิบัติ อดัม สมิธ ผู้ให้กำเนิดวิชาเศรษฐศาสตร์พบว่า ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่จำกัด แต่ทรัพยากรที่จะมาผลิตสินค้าและบริการนั้นมีจำกัด จึงเป็นที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มีเป้าหมายศึกษาวิธีในการ จัดสรรทรัพย์กรที่มีจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการมาตอบสองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่จำกัดให้ได้

สำหรับพระพุทธศาสนา มองว่าอวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรูปนั่นแหละจึงเป็นเหตุของความทุกข์ที่แท้จริง พระพุทธศาสนาจึงมุงศึกษาภายในจิตใน เมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด (โลภะ/ตัณหา) เมื่อคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว พรหมจรรย์(การศึกษาปฎิบัติธรรม) อยูจบแล้ว

วิธีที่จะทำให้จิตรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงที่ตรงไปตรงมาที่สุดคือ การมีสติ ระลึกรู้ สภาวะธรรมที่กำลังปรกฎ ตามความเป็นจริง

เรียบเรียงจาก

ปราโมทย์ สันตยากร(พลวงพ่อปราโมทย์) วิถีแห่งความรู้แจ้ง ฉบับรวมเล่ม สำนักพิมพ์ธรรมดา

หนังสือเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมมองว่า สอนในสิ่งที่ตรงกันข้ามต่างหาก

เศรษฐศาสตร์  บอกว่า  มนุษย์มีความโลภไม่จำกัด  และ มีความสุขมากขึ้น จากการบริโภคและถือครองทรัพย์สิน

แต่พุทธศาสนา สอนว่า  มนุษย์สามารถจำกัดความโลภได้และควรกระทำอย่างยิ่ง  รวมทั้ง   เราจะมีความสุขมากขึ้นจากการไม่ยึดติด คือ บริโภคให้น้อยลง และ ถือครองทรัพย์สินน้อยลงนั่นเองครับ

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่  แต่ผมเชื่อว่า  "พุทธเศรษฐศาสตร์" จะค่อยๆ บ่อนทำลายระบบ "เศรษฐศาสตร์ทุนนิยม" ที่กำลังเสื่อมถอยลงทุกวัน
และสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย  ก่อนประเทศพัฒนาแล้วเสียอีกครับ
:)
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
doc_zodi
Verified User
โพสต์: 108
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 3

โพสต์

[quote="อะไรดีละ"]ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
pat4310
Verified User
โพสต์: 732
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จริงแล้วแก่นแท้ของคำว่าพอเพียงก็คือเศรษฐศาสตร์นะ เศรษฐศาสตร์ก็ไม่ได้สอนให้คนบริโภคให้มากที่สุด แต่ให้บริโภคในปริมาณที่เหมาะสมคุณก็จะได้ความพอในที่สูงสุดภายใต้ข้อจำกัดที่คุณมี เพราะยิ่งเราบริโภคมากขึ้นเท่าไรความพอใจก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนเดียวกัน จนถึงจุดหนึ่งเราบริโภคเพิ่มแต่ความพอใจมันลดลง (ความพอใจจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดน้อยถอยลงในทุกหน่วยที่เราบริโภค)

ส่วนความเชื่อที่ว่ายิ่งบริโภคยิ่งดีนั้นผมว่าเป็นแนวคิดของนัการตลาด หรือนักบริหารธุรกิจเพื่อจะขายของให้ได้มากๆ มากกว่า

ป.ล พระพุทธศาสนาสอนอยู่ 2 เรื่องเท่านั้นคือเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ (ท่านพุทธทาส) สำหรับในบทความนี้ผมเปรียบเทียบอยู่ 2 เรื่องเช่นกันคือ
1ความทุกข์ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์และพระพุทธศาสนา
2เรื่องการดับทุกข์ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนา
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 5

โพสต์

[quote="doc_zodi"][quote="อะไรดีละ"]ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 6

โพสต์

บทความนี้น่าจะเข้ากับประเด็นนะครับ  :P

ตัวอย่างบางส่วนครับ
ฉะนั้น อะดัม สมิธ จึงต่อต้านการบริโภคแบบสุดโต่ง จากมุมมองของ อะดัม สมิธ วิกฤติเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันจึงสามารถทำนายได้ล่วงหน้าจากการที่ชาวอเมริกันบริโภคแบบสุดโต่งติดต่อกันมาเป็นเวลานานยังผลให้ไม่มีการออมจนต้องกู้ยืมจากต่างประเทศ อะดัม สมิธ ไม่ได้ต่อต้านการบริโภคมากแต่ปากเท่านั้น หากยังยึดการบริโภคพอประมาณเป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอีกด้วย ส่วนในด้านนามธรรม อะดัม สมิธ มองว่าการศึกษาคือที่มาหลักของทุนทางมันสมอง ฉะนั้นเขาเน้นย้ำเรื่องการศึกษา ในด้านส่วนตัว เขาพยายามศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาและส่งเสียหลานๆ ให้เรียนหนังสือเนื่องจากเขาเองไม่มีลูก
จริงอยู่ อะดัม สมิธ ไม่แย้งแนวคิดของปราชญ์บางคนในยุคนั้นว่า การแสวงหาความร่ำรวยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้า แต่เขาเกลียดการบูชาความร่ำรวย เขามองว่าความร่ำรวยเป็นเพียงมายาภาพ ไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความสุขที่แท้จริงซึ่งต้องเกิดจากการไม่ยึดติดในวัตถุเขาเองเสนอคืนเงินบำนาญให้แก่ขุนนางซึ่งจ้างเขาไปสอนลูกๆ หลังจากที่เขาได้งานนายด่านศุลกากรซึ่งได้ค่าตอบแทนเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ค่าตอบแทนดังกล่าวมาจากเงินเดือนเท่านั้น ไม่ใช่จากการฉ้อฉลเช่นพนักงานศุลกากรจำนวนมากในประเทศด้อยพัฒนาเพราะเขาเห็นว่าการรักษากฎกติกาของตลาดเสรีมีความสำคัญยิ่ง จากมุมมองนี้ ระบบตลาดเสรีมีความสามานย์เมื่อกรรมการลงไปเล่นด้วย นั่นคือ ข้าราชการและนักการเมืองมีประโยชน์ทับซ้อน ยิ่งในกรณีที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาสามารถคงความเป็นเจ้าของสัมปทานจำพวกผูกขาดไว้ได้ด้วยแล้ว ความสามานย์ก็มีโอกาสขยายตัวมากยิ่งขึ้น อะดัม สมิธ ต่อต้านการผูกขาดทุกรูปแบบ
เท่าที่เล่ามา จะเห็นว่าฐานของระบบตลาดเสรีของ อะดัม สมิธ กับฐานของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งเดียวกันอันได้แก่จริยธรรมและความรู้ อะดัม สมิธ ดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณและต่อต้านการบริโภคแบบสุดโต่ง เขาเองไม่ได้เน้นเรื่องความสำคัญของการมีเหตุผลและภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในสมัยนั้นเป็นยุคที่มีชื่อว่า ยุคแห่งเหตุผล (The Age of Reasons) อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องนำมาเน้นอีก ส่วนเรื่องภูมิคุ้มกัน ในสมัยนั้นความเสี่ยงในหลายๆ ด้านยังต่ำกว่าในสมัยนี้เพราะโลกมีประชากรเพียง 800 ล้านคนและการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอย่างช้าๆ

ฉะนั้นจึงอาจมองได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาต่อจากแนวคิดของ อะดัม สมิธ จนทำให้มีความทันสมัยมากกว่า การพัฒนาเช่นนี้เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีฐานมั่นคงซึ่งตรงกับคำพูดของ ไอแซค นิวตัน ที่มีใจความในทำนอง ปราชญ์ยุคปัจจุบันมองเห็นได้ไกลเพราะยืนอยู่บนไหล่ของปราชญ์ยุคก่อน
####

คิดถึงอะดัม สมิธ (1) ดร.ไสว บุญมา

http://www.sarut-homesite.net/%e0%b8%84 ... %e0%b8%a7/

คิดถึงอะดัม สมิธ (จบ) ดร.ไสว บุญมา

http://www.sarut-homesite.net/%e0%b8%84 ... %e0%b9%84/
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมว่ามันเป็นเรืองของการรักษาสมดุล "หยินหยาง"

อเมริกา เป็นหยาง   จีนและญี่ปุ่นและหยิน  
ฝ่ายหนึ่งบริโภคมากเกิน  อีกฝ่าย บริโภคน้อยไป  ออมมากเกินไป  
ต้องปรับสมดุลด้วย  "การยืมพลังเงินหยวน"

หนี้สาธารณะเป็นหยาง  กองทุนบำนาญเป็นหยิน
ฝ่ายหนึ่งสร้างหนี้เกินไป  ภาระหนักเกินไป  อีกฝ่ายออมมากไป  
แก้ไขโดย "ยืมพลังกองทุนบำนาญ"

เศรษฐศาสตร์ทุนนิยมเป็นหยาง  มุ่งเน้นเพิ่มการเติบโตทางศก. แม้สร้างหนี้สิน  แข่งขันและแย่งชิงทรัพยากร
พุทธเศรษฐศาสตร์เป็นหยิน  มุ่งเน้นความสุขที่เกิดจากบริโภคที่น้อยลง  ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
รักษาสมดุลหยินหยางนี้ด้วย  "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก"  
อ้าว...กลับมาเรื่องนี้อีกแล้วหรือ...555
:)
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
Pallas
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 128
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ลองหาเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ของเจ้าคุณประยุตต์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อ่านดูสิครับ น่าจะช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับกระทู้นี้ได้
"As Above, So Below"
Pallas
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 128
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ลองดู สารบัญ ของหนังสือก็ได้ครับ ว่าน่าสนใจอย่างไร

ข้อคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
ข้อจำกัดของเศรษฐศาสตร์แห่งยุคอุตสาหกรรม
๑. การแยกตัวโดดเดี่ยวเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
๒. ไม่เป็นอิสระจากจริยธรรม แต่ไม่ใส่ใจจริยธรรม
๓. อยากเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งที่ไม่อาจและไม่น่าจะเป็น
๔. ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์
    ก. ความต้องการ
    ข. การบริโภค
    ค. งาน และการทำงาน
    ง. การแข่งขัน-การร่วมมือ
    จ. สันโดษ-ค่านิยมบริโภค
    ฉ. การผลิต
ลักษณะสำคัญของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๑. เศรษฐศาสตร์มัชฌิมา: การได้คุณภาพชีวิต
๒. เศรษฐศาสตร์มัชฌิมา: ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
สรุป
บทพิเศษ
หลักการทั่วไปบางประการ ของ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๑. การบริโภคด้วยปัญญา
๒. ไม่เบียดเบียนตน-ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. เศรษฐกิจเป็นปัจจัย
๔. สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์
๕. บูรณาการในระบบสัมพันธ์ของธรรมชาติ
"As Above, So Below"
ซากทัพ
Verified User
โพสต์: 393
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ตามความเข้าใจของผมที่ร่ำเรียนมา
เศรษฐศาสตร์ เป็นหลักการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ปัจจุบันเน้นไปทางการได้ซึ่งทรัพยากรหรือวัตถุ จึงแสวงหาให้ได้มาครอบครองและสะสม
พุทธศาสนา มีหลักสอนให้คนเป็นมนุษย์ เน้นให้ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นกับการดำรงชีวิตพื้นฐาน ไม่เบียดเบียนหรือแสวงหาวัตถุ สร้างความสุขด้วยจิตใจ มีกุศโลบายมากมายที่พยายามทำให้จิตใจมั่นคงให้พ้นจากความรักโลภ โกรธหลง
ส่วนพุทธเศรษศาสตร์ น่าจะหมายความถึง การให้ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นกับการดำรงชีวิตพื้นฐานนะครับ
โพสต์โพสต์