'ล้วง-ลับ' วิธีรวยหุ้น..ฉบับ 'เซียนพันล้าน'

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

'ล้วง-ลับ' วิธีรวยหุ้น..ฉบับ 'เซียนพันล้าน'

โพสต์ที่ 1

โพสต์

'ล้วง-ลับ' วิธีรวยหุ้น..ฉบับ 'เซียนพันล้าน'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)  Monday, September 21, 2009  10:27 50053 XTHAI XGEN IKEY V%NETNEWS P%WKT        
   "ผมอ่านหนังสือของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ต่ำกว่า 10 รอบ และเริ่มเปลี่ยนสไตล์มาเป็นแวลูอินเวสเตอร์ เดี๋ยวนี้รู้สึกดีที่พักหลังๆ เริ่มมีคนฟังคำแนะนำของผมมากขึ้น มีคนถามมากกว่าอะไรทำให้เปลี่ยนมาลงทุนแนวนี้ ผมมักตอบเสมอว่าเป็นเพราะหนังสือ ของวอร์เรน บัฟเฟตต์" เสี่ยปู่เล่าที่มาที่ไป           สำหรับเคล็ดลับพิชิตหุ้นสุตรแวลูอินเวสเตอร์รายนี้ มีหลักการพิจารณา 3 ข้อหลักๆ คือ
1.ดูปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่จะลงทุนอย่างละเอียด โดยจะเน้นเป็นพิเศษคือ "งบการเงิน" บริษัทที่มีฐานะทางการเงินดีจะเป็นตัวบ่งบอกทิศทางราคาหุ้นได้ค่อนข้างชัดเจน           "ผมจะย้อนดูว่าบริษัทนี้มีกำไรเติบโตต่อเนื่องหรือไม่ และมองต่อไปว่าบริษัทนี้ผลการดำเนินงานมีโอกาสเติบโตได้ในระดับ 20% หรือไม่"          
2.ดูบริษัทที่หุ้นมีราคาต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชี (ราคาต่ำกว่าส่วนของเจ้าของ) ถ้าผลการดำเนินงานของบริษัทนั้นมีทิศทางการเติบโตที่ดีแต่ราคาหุ้นยังซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชี หุ้นตัวนั้นก็ยิ่งน่าสนใจ (แวลูอินเวสเตอร์จะบอกว่าหุ้นนั้นมี Margin of Safety)          
 3.จะดูลักษณะกิจการและดูรายรับต้องมากกว่ารายจ่าย (ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสด หรือ EBITDA) เพราะจะเป็นตัวชี้ว่าถึงสิ้นปีนี้บริษัทนี้จะสามารถจ่ายเงินปันผลได้ในระดับเท่าใด           "ผมเชื่อว่าหลักการเพียงเท่านี้ก็ทำกำไรได้แล้ว ผมจะแฮปปี้มากถ้าหุ้นที่ลงทุนให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลได้ประมาณ 10% ถ้าได้ขนาดนี้จะถือยาวไม่ยอมปล่อย"      
    ส่วนหุ้นที่จะโฟกัสเป็นพิเศษโดยเฉพาะการลงทุนหลังวิกฤติยังคงนโยบายเดิมคือ ลงทุนหุ้น "เทิร์นอะราวด์" (ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นขนาดกลาง) อย่างตอนนี้เล็งหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เอาไว้ ที่สนใจคือ CCET และ SVI สองตัวนี้ธุรกิจค่อนข้างน่าสนใจและราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชี           หุ้น SVI แนวโน้มผลประกอบการน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องบริษัทนี้ทีมผู้บริหารเขาเก่ง ปัจจุบันก็ได้ทยอยเก็บสะสมหุ้นไปบ้างแล้ว โดยได้ซื้อหุ้น CCET ที่ราคา 2.50 บาท ถือเป็นต้นทุนที่ไม่สูงและไม่ต่ำเกินไป เพราะเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเคยลงไป 10 บาท แต่ตอนนี้เข้าไปซื้อไม่ทันส่วนหุ้น SVI มีต้นทุนแถวๆ 2 บาท        
  นอกจากนี้ยังสนใจหุ้น OH มองว่ากำไรสุทธิยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่หุ้นตัวนี้ยอมรับตรงๆ ว่า "พลาดบ่อย" ขายถูกทุกที อีกตัวที่ชอบคือหุ้น PS ตัวนี้ผลประกอบการเพิ่มขึ้นทุกปี    
   
 ส่วนหุ้นดาวเด่นในพอร์ต "อันดับหนึ่ง" ต้องยกนิ้วให้หุ้น LPN ปัจจุบันถืออยู่ 34.48 ล้านหุ้น สัดส่วน 2.34% เชื่อว่าจะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลมากกว่า 10% ตราบใดที่บริษัทยังสามารถ สร้างผลกำไรได้มากขึ้น อีกไม่นานราคาหุ้นก็จะวิ่งขึ้นมาเอง           "ผมชอบหุ้น LPN มากถึงขนาดมีความคิดว่า ถ้าราคาหุ้นตกต่ำกว่า 5 บาท จะทยอยขายหุ้น PRIN ที่ถืออยู่ 11.26% มาซื้อหุ้น LPN เพิ่ม เพราะถ้าเทียบประสิทธิภาพการทำกำไรจะพบว่า LPN มีภาษีเหนือกว่า
 ที่ผ่านมาการลงทุนในหุ้น PRIN และ RPC ผมถือเป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญ เพราะเคยคิดว่าจะได้กำไรแต่สุดท้ายก็ขาดทุน แต่ไม่มากเท่าไรยังพอรับได้"        
  ตัวที่สองที่ชอบคือหุ้น MINT ปัจจุบันถืออยู่ 20.19 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.62% เสี่ยปู่ให้เหตุผลว่าหุ้นตัวนี้มีสภาพคล่องดี ถึงผู้บริหารจะประกาศว่าในปี 2552 กำไรสุทธิมีแนวโน้มเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี เพราะธุรกิจโรงแรมเป็นตัวฉุดกำไร แต่ราคาหุ้น MINT ก็ยังขึ้นได้จาก 8 บาท ไปที่ 12 บาท           "ผมตั้งใจจะถือหุ้น MINT อีก 1-2 ปีหากเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนและการเมืองเริ่มนิ่ง เชื่อว่าราคาหุ้นมีโอกาสทำ "จุดสูงสุด" ครั้งใหม่ได้ หุ้นตัวนี้ผมถือต้นทุนต่ำมาก 2.50 บาท"      
    อันดับสามที่ชอบคือหุ้น SIS ปัจจุบันถืออยู่ 10.20 ล้านหุ้น สัดส่วน 5.02% ถ้าตรวจสอบประวัติการจ่ายเงินปันผลตั้งแต่ปี 2548-2551 บริษัทนี้จ่ายสูงขึ้นต่อเนื่อง           "ในปี 2552 หุ้น SIS มีแนวโน้มจะจ่ายเงินปันผลประมาณ 0.45 บาท ต้นทุนเฉลี่ยของผมอยู่ที่ 2.70 บาท แต่ราคาหุ้นซื้อขาย 6.50 บาท"                
     4 ต้องยกให้หุ้น MFEC เสี่ยปู่บอกว่า หุ้นตัวนี้จ่ายเงินปันผลสูงมาตลอด ยกเว้นปี 2551 ที่จ่าย 0.45 บาท คาดว่าในปี 2552 จะปันผล 0.45-0.50 บาท ขณะเดียกันบริษัทยังใช้เงินลงทุน ต่อปีต่ำมาก ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4 บาท    
     "อันดับ 5 คือหุ้น AEONTS ถืออยู่ 1.24% ผมถือว่าหุ้นตัวนี้น่าสนใจมากเพราะกำไรขยายตัวต่อเนื่อง แต่หุ้นมีสภาพคล่องต่ำมากทำให้ไม่สามารถหาซื้อหุ้นในกระดานได้ ถ้ามีคนขายออกมาแล้วราคาหุ้นไม่สูงเกินไป ผมก็สนใจจะเข้าไปเก็บเพิ่ม"      
  หุ้นอีกตัวที่เสี่ยปู่พูดถึงคือหุ้น CPF ลงทุน ไม่นานแต่ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำเจ้าตัวเล่าว่า ซื้อเก็บไว้แล้ว 30 ล้านหุ้น ต้นทุนเฉลี่ย 3 บาทกว่า ปัจจุบันขึ้นไป 7 บาทแล้ว ในปีนี้กำไรสุทธิมีโอกาสขยายตัวประมาณ 20% หลังจากบริษัทหันมาเน้นธุรกิจอาหารพร้อมรับประทานเพราะมีมาร์จินดีกว่าธุรกิจอาหารสด ตรงนี้คือ "จุดหักเห" ของหุ้น เสี่ยปู่ประเมินว่าหุ้น CPF มีโอกาสขึ้นไป 8-9 บาท           เสี่ยปู่ให้ข้อคิดปิดท้ายว่า ทุกวิกฤติย่อมมาพร้อมกับโอกาสเสมอ อยู่ที่ว่าใครจะจังหวะถูกและกล้าเข้าไปซื้อหรือไม่ คนที่จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้ต้องทำการบ้านสม่ำเสมอและแม่นในข้อมูล--จบ--             ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

news

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ปั้นลูกเป็นเซียนหุ้น..เสี่ยปู่ รวยไม่เลิก

ท่ามกลางวิกฤติ "เสี่ยปู่" กลับมองเป็นโอกาสสำคัญ "สะสมหุ้น" ราคาถูก พร้อมผลักดัน "น้องบอล" ลูกชายวัย 22 ปี เข้าสู่ตลาดหุ้นเดินตามรอยเท้าพ่อ

ห้องวีไอพีหมายเลข 129 ของโบรกเกอร์ใหญ่หมายเลขหนึ่งบนตึกสูงระฟ้าย่านใจกลางธุรกิจ ชายวัยกลางคนนั่งจ้องคอมพิวเตอร์กว่าสิบเครื่องเบื้องหน้าอย่างใจจดใจจ่อ โดยมี "วิโรจน์" มาร์เก็ตติ้งคู่ใจคอยอำนวยความสะดวกอยู่ภายในห้องราวกับเลขานุการส่วนตัว

กว่า 20 ปีมาแล้วที่ "เสี่ยปู่" สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล นั่งทำงานประจำของตัวเองเต็มเวลาอยู่หน้ากระดานหุ้น โดยมีราคา "เขียว-แดง" แว้บๆที่หน้าจอเป็นยิ่งกว่าเพื่อนที่รู้ใจ เขาคือนักเล่นหุ้นมืออาชีพที่เริ่มนับหนึ่งจาก BMW เก่าๆ และเงินทุนประเดิมไม่ถึง 1 ล้านบาท วันนี้เสี่ยปู่มีพอร์ตลงทุนมากว่า "พันล้านบาท"  มีเบนท์ลีย์เป็นพาหนะ สะสมที่ดินผืนงามเพื่อการลงทุน ทุกอย่างได้มาด้วยการพิชิต "เงามืด" ภายในจิตใจตนเองและของผู้อื่น "ความโลภ-ความกลัว" และ "วิกฤติ" คือโอกาสที่ไม่สิ้นสุด    

ปัจจุบันเสี่ยปู่เป็น "เจ้าของ" บริษัทมหาชนหลายแห่งในตลาดหลักทรัพย์ที่บริษัทไม่มีเก้าอี้กรรมการให้นั่ง เขามีเพียงตำแหน่งยั่งยืนที่ใครก็เอาไปไม่ได้ที่ติดตัวมาเพราะฝีมือ..ตำแหน่ง "เซียนหุ้น" มือวางอันดับต้นๆของประเทศ โดยมีวิกฤติใหญ่ 3 ครั้ง (แบล็กมันเดย์-ต้มยำกุ้ง-ซับไพร์ม) ยืนยันว่าของจริง

ปัจจุบัน "ภรรยา" วารุณี ชลคดีดำรงกุล ก็เป็นนักลงทุน (แต่เล่นกันคนละโบรกฯ) และกำลังวางรากฐานให้ลูกๆ 3 คน "พงษ์พัฒน์-นัทยา-ขนิษฐา" เป็นลูกไม้ที่หล่นใต้ต้น

สำหรับวิกฤติครั้งนี้ เสี่ยปู่ซุ่มเก็บหุ้นราคาถูกไว้จำนวนมาก โดยยังโฟกัสไปที่ "หุ้นขนาดกลาง" ปัจจัยพื้นฐานดี ขณะเดียวกันยังใช้จังหวะของวิกฤติผลักดันให้ลูกชายคนโตวัย 22 ปี  "บอล" พงษ์พัฒน์ ชลคดีดำรงกุล เข้ามาเรียนรู้การเล่นหุ้นในสนามจริง

วิกฤติซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา และวิกฤติการเงินโลก อาจทำให้นักลงทุนหลายคนกลัว แต่สำหรับผมมันคือโอกาสการทำกำไรครั้งสำคัญ" เสี่ยปู่ บอกกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek สิ่งที่เขามองต่างออกไปจากนักลงทุนส่วนใหญ่ที่มักยึดตัว SET Index เป็นตัวตั้ง และรีบขายหุ้นทำกำไรเพราะคิดว่า..เดี๋ยวหุ้นก็ลง

แต่วิกฤติหลายครั้งในตลาดหุ้นสอนเสี่ยปู่ว่า หลังวิกฤติต้อง "ถือรอ" จนกว่าราคาหุ้นนั้นจะสะท้อนการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ และหุ้นที่จะสร้างผลตอบแทนได้มากต้องเป็นหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีที่กำลังจะ "เทิร์นอะราวด์" โดยพิจารณาจาก "มูลค่าหุ้นตามบัญชี" และ "เงินปันผล"

"วันนี้ยังมีหุ้นพื้นฐานดีอีกหลายตัวที่ยังซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชีประมาณ 20-30% และจ่ายเงินปันผลดี ใครศึกษาพื้นฐานของบริษัทดีๆรับรองว่าจะได้รับกำไรสองต่อทั้งส่วนต่างกำไรและเงินปันผล"

เซียนหุ้นพันล้าน เล่าว่า ได้สนับสนุนน้องบอลลูกชายคนโตให้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อปี 2551 ปัจจุบันมีพอร์ตแล้วประมาณ 6-7 ล้านบาท ลักษณะการลงทุนจะคล้ายกันคือ "มองหาโอกาสจากวิกฤติ" เพราะมีวิกฤติก็จะเป็นโอกาสการลงทุน อาจแตกต่างกันตรงที่น้องบอลจะติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เขาจะอ่านหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส และจะฟัง เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เป็นหลัก ตรงกันข้ามกับพ่อที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้เท่าไร

แนวทางการปั้นลูกให้เป็น "เซียนหุ้น" ก่อนจะส่งลงสนามที่มีความเสี่ยงบนเดิมพันสิ่งแรกไม่ใช่การสอนวิธีการ "หาเงิน" หรือ ซื้อหุ้นอย่างไรให้ได้กำไร แต่สิ่งที่เสี่ยปู่สอนลูกคือให้เขารู้จักวิธีการ "รักษาเงิน" ซะก่อน (ก่อนจะรุกต้องเรียนรู้วิธีการตั้งรับก่อน) ลูกทั้ง 3 คนจะถูกสอนว่าต้องรู้จักบริหารเงินในมือให้เป็นเพื่อชีวิตในวันข้างหน้าพวกลูกจะได้ไม่ลำบาก

"ถ้ามีเงินเก็บ 100 บาท ควรแบ่งมาลงทุนเพื่อให้เงินนั้นงอกเงย 80-90% ที่เหลืออีก 10-20% ให้นำไปซื้อที่ดิน หรือฝากแบงก์ และต้องไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัวถ้าใช้เงินไม่เกิดประโยชน์อนาคตจะอยู่อย่างไร..คนที่ใช้เงินไม่เป็นมีเท่าไรก็หมด"

เสี่ยปู่ บอกว่า น้องบอลลูกชายคนโตคงชัดเจนแล้วว่าจะเดินตาม "รอยเท้าผม" วันนี้เขาซื้อหุ้นทุกตัวเหมือนผม และมีแผนจะทำงานเกี่ยวกับแวดวงการเงิน แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร เนื่องจากวันนี้ยังเป็น มือสมัครเล่น คงต้องเรียนรู้อีกระยะ

ส่วนลูกสาวคนที่ 2 "น้องนัท" นัทยา ชลคดีดำรงกุล อายุ 19 ปี รายนี้ชอบเรื่องแฟชั่นมากคงไม่สนใจการลงทุนในตลาดหุ้น คนสุดท้อง "น้องฝ้าย" ขนิษฐา ชลคดีดำรงกุล อายุ 17 ปี ไม่ต้องพูดเลยคนนี้เป็นตัวของตัวเองมาก ปัจจุบันเรียนด้านวิศวะสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นเรื่องเศรษฐกิจ ตลาดทุน ตลาดหุ้น เขาไม่สนใจเลย

อย่างไรก็ตาม พ่อ-แม่ก็วางรากฐานเรื่องการลงทุนไว้ให้แต่เนิ่นๆ น้องนัท ถือหุ้น MFEC จำนวน 525,000 หุ้น และหุ้น LANNA จำนวน 242,000 หุ้น ส่วนน้องฝ้าย ถือหุ้น MFEC จำนวน 517,000 หุ้น และหุ้น LANNA จำนวน 242,000 หุ้น แต่สำหรับน้องบอล ตอนนี้มีพอร์ตของตัวเองแล้วที่ บล.กิมเอ็ง

ผมไม่ได้สอนเทคนิคการเล่นหุ้นให้น้องบอล เพราะเรื่องแบบนี้มันเป็นเทคนิคส่วนบุคคล แต่เขาก็มีมาขอคำแนะนำบ้างหรือมาบอกในสิ่งที่ผมไม่รู้บ้าง โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจโลกเพราะเขาจะเกาะติดใกล้ชิดอย่างเร็วๆ นี้ ก็มาบอกว่าในอนาคตอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในสหรัฐอเมริกาให้ระมัดระวัง

ในตลาดหุ้นความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ทางของ "ลูกไม้" 3 นักเรียนนอกคงไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบ...เส้นทางสายนี้ยังอีกยาวไกล

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ่เลิก.html
โพสต์โพสต์