การวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
การวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
โพสต์ที่ 1
ผมได้มีโอกาสเข้าฟังสัมมนา “Quarterly Economic Assessment and Outlook” ที่จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเป็นที่มาของเรื่องราวในวันนี้ที่อยากจะแลกเปลี่ยนวิธีคิดของผู้จัดการ กองทุนคนหนึ่ง ในการที่จะวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยที่ประกาศออกมา และนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การลงทุน โดยหวังว่าท่านผู้อ่านน่าจะได้นำแนวคิดไปใช้เป็นอาวุธเสริมสำหรับการจัดพอร์ ตการลงทุนของท่านเอง
หมายเหตุ สามารถอ่านบทความเรื่อง ลงทุน หุ้น กองทุน พันธบัตร และเข้าใจเศรษฐกิจอย่างง่าย ๆ ได้ที่ http://fundmanagertalk.com
หรือหากสนใจติดตามสถานการณ์แบบ 24 ชม. มาคุยเรื่องลงทุนผ่าน twitter กันได้ที่ http://twitter.com/fundtalk
หมายเหตุ สามารถอ่านบทความเรื่อง ลงทุน หุ้น กองทุน พันธบัตร และเข้าใจเศรษฐกิจอย่างง่าย ๆ ได้ที่ http://fundmanagertalk.com
หรือหากสนใจติดตามสถานการณ์แบบ 24 ชม. มาคุยเรื่องลงทุนผ่าน twitter กันได้ที่ http://twitter.com/fundtalk
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
การวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
โพสต์ที่ 2
ตัวเลขเศรษฐกิจหาจากไหน
หลาย ท่านอาจคิดว่าต้องเป็นนักลงทุนสถาบัน จึงจะมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่านักลงทุนรายย่อย ซึ่งไม่จริงทีเดียวสำหรับตัวเลขเศรษฐกิจครับ เพราะตัวเลขเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่จะมีที่มาจากหน่วยงานราชการ ซึ่งสมัยนี้มักจะนำเสนอผ่านเวบไซต์ โดยผู้ลงทุนทุกประเภทสามารถเข้าถึงได้พร้อมกัน และได้รับข้อมูลที่เหมือนกัน สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยหลัก ๆ ที่น่าติดตาม ผมคิดว่ามีดังนี้ครับ
1. รายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (http://www.bot.or.th/ >>> เลือก “ภาวะเศรษฐกิจ”) โดยรายงานนี้จะเผยแพร่เป็นรายเดือน ทุก ๆ วันทำการสุดท้ายของเดือน โดยครอบคลุมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ เช่น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม, อัตราการใช้กำลังการผลิต, เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน, เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน, อัตราเงินเฟ้อ, ภาคส่งออก-นำเข้า ฯลฯ
หลาย ท่านอาจคิดว่าต้องเป็นนักลงทุนสถาบัน จึงจะมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่านักลงทุนรายย่อย ซึ่งไม่จริงทีเดียวสำหรับตัวเลขเศรษฐกิจครับ เพราะตัวเลขเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่จะมีที่มาจากหน่วยงานราชการ ซึ่งสมัยนี้มักจะนำเสนอผ่านเวบไซต์ โดยผู้ลงทุนทุกประเภทสามารถเข้าถึงได้พร้อมกัน และได้รับข้อมูลที่เหมือนกัน สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยหลัก ๆ ที่น่าติดตาม ผมคิดว่ามีดังนี้ครับ
1. รายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (http://www.bot.or.th/ >>> เลือก “ภาวะเศรษฐกิจ”) โดยรายงานนี้จะเผยแพร่เป็นรายเดือน ทุก ๆ วันทำการสุดท้ายของเดือน โดยครอบคลุมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ เช่น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม, อัตราการใช้กำลังการผลิต, เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน, เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน, อัตราเงินเฟ้อ, ภาคส่งออก-นำเข้า ฯลฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
การวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
โพสต์ที่ 3
2. รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (http://www.bot.or.th/ >>> เลือก “ภาวะเศรษฐกิจ” >>> เลือก “รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ”) รายงานนี้มีประโยชน์มากครับ เพราะจะมีรายละเอียดเชิงลึกของทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ รวมถึงประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปีข้างหน้า ทั้งตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวม และแต่ละภาคส่วน โดยรายงานนี้จะเผยแพร่เป็นรายไตรมาส ในเดือน มกราคม, เมษายน, กรกฎาคม, และตุลาคม ของทุกปีครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
การวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
โพสต์ที่ 4
3. ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (http://www.nesdb.go.th/ >>> เลือก “ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม” >>> เลือก “บัญชีประชาชาติ” >>> เลือก “Quarterly Gross Domestic Product”) โดยตัวเลข GDP จะประกาศหลังจากสิ้นไตรมาสประมาณ 2 เดือน เช่น ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2/52 ปีนี้จะประกาศประมาณช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2552 นี้ โดยรายงานฉบับนี้จะลงลึกในรายละเอียดทั้งหมดของอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ประกาศจากหน่วยงานรัฐครับ เช่น ตัวเลขเงินเฟ้อ และตัวเลขการส่งออก / นำเข้า ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์ (http://www.mof.go.th/), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ประกาศโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (http://www.thaiechamber.com/) เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ประกาศจากหน่วยงานรัฐครับ เช่น ตัวเลขเงินเฟ้อ และตัวเลขการส่งออก / นำเข้า ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์ (http://www.mof.go.th/), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ประกาศโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (http://www.thaiechamber.com/) เป็นต้น
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
การวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
โพสต์ที่ 5
Your view against Market Consensus
ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของ ผู้จัดการกองทุน สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงการติดตามการประกาศของตัวเลขเศรษฐกิจ หากแต่เป็นการมีมุมมอง (Market View) ที่แตกต่างจากสิ่งที่นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่เชื่อ (Market Consensus) ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่เชื่อก็มักจะเป็นตัวเลขจากแหล่งที่น่า เชื่อถือเช่นแบงค์ชาติ หรือสภาพัฒน์ดังที่แนะนำให้ท่านติดตามนั่นเอง
ขอ ยกเป็นตัวอย่างครับ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม แบงค์ชาติได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในปี 2010 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปรับตัวเลข GDP growth ปีหน้าจากเฉลี่ย 2.5% เป็น 4.0% และปรับตัวเลขเงินเฟ้อจากเฉลี่ย 2.0% เป็น 4.5% ซึ่งการปรับเพิ่มประมาณการครั้งเดียว 1.5 – 2.5% ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญมาก (ถ้าดูย้อนหลังในอดีตจะเห็นว่าการปรับประมาณการแต่ละครั้งโดยเฉลี่ยจะปรับน้อยกว่านี้)
ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของ ผู้จัดการกองทุน สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงการติดตามการประกาศของตัวเลขเศรษฐกิจ หากแต่เป็นการมีมุมมอง (Market View) ที่แตกต่างจากสิ่งที่นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่เชื่อ (Market Consensus) ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่เชื่อก็มักจะเป็นตัวเลขจากแหล่งที่น่า เชื่อถือเช่นแบงค์ชาติ หรือสภาพัฒน์ดังที่แนะนำให้ท่านติดตามนั่นเอง
ขอ ยกเป็นตัวอย่างครับ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม แบงค์ชาติได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในปี 2010 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปรับตัวเลข GDP growth ปีหน้าจากเฉลี่ย 2.5% เป็น 4.0% และปรับตัวเลขเงินเฟ้อจากเฉลี่ย 2.0% เป็น 4.5% ซึ่งการปรับเพิ่มประมาณการครั้งเดียว 1.5 – 2.5% ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญมาก (ถ้าดูย้อนหลังในอดีตจะเห็นว่าการปรับประมาณการแต่ละครั้งโดยเฉลี่ยจะปรับน้อยกว่านี้)
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
การวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
โพสต์ที่ 6
Before Fact
การ กำหนดกลยุทธ์การลงทุน ก่อนที่ตัวเลขจะประกาศ หากเราทำการวิเคราะห์ก่อนหน้าที่แบงค์ชาติจะปรับประมาณการ และเชื่อว่าจะมีการปรับประมาณการแบบ Positive Surprise เราก็ควรจะปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น ลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ก่อนที่จะถึงวันที่แบงค์ชาติจะประกาศประมาณ การตัวเลขเศรษฐกิจ (เวลาเศรษฐกิจดี เงินเฟ้อสูงราคาหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนราคาตราสารหนี้จะปรับลดลง)
After Fact
หลัง จากตัวเลขการคาดการเศรษฐกิจของแบงค์ชาติประกาศ ตลาดก็จะปรับตัวไปตามการคาดการณ์นั้น หาก ผู้จัดการกองทุน มีมุมมองที่ต่างจากแบงค์ชาติ ยกตัวอย่างเช่น หาก ผู้จัดการกองทุน มองว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะโตเพียง 2% นั่นคือเชื่อว่าในอนาคตจะมีการลดประมาณการ GDP เราก็ควรจะปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้
โดยสรุป การกำหนดกลยุทธ์ การลงทุน เพื่อชนะตลาด ต้องทำเมื่อนักลงทุน คิดแตกต่างจากสิ่งที่ตลาดคิด (Our view against consensus) ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนควรมีคือมีมุมมองของตัวเอง เพื่อนำไปเทียบกับสิ่งที่ตลาดคิด แล้วนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การลงทุน นั่นเอง
การ กำหนดกลยุทธ์การลงทุน ก่อนที่ตัวเลขจะประกาศ หากเราทำการวิเคราะห์ก่อนหน้าที่แบงค์ชาติจะปรับประมาณการ และเชื่อว่าจะมีการปรับประมาณการแบบ Positive Surprise เราก็ควรจะปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น ลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ก่อนที่จะถึงวันที่แบงค์ชาติจะประกาศประมาณ การตัวเลขเศรษฐกิจ (เวลาเศรษฐกิจดี เงินเฟ้อสูงราคาหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนราคาตราสารหนี้จะปรับลดลง)
After Fact
หลัง จากตัวเลขการคาดการเศรษฐกิจของแบงค์ชาติประกาศ ตลาดก็จะปรับตัวไปตามการคาดการณ์นั้น หาก ผู้จัดการกองทุน มีมุมมองที่ต่างจากแบงค์ชาติ ยกตัวอย่างเช่น หาก ผู้จัดการกองทุน มองว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะโตเพียง 2% นั่นคือเชื่อว่าในอนาคตจะมีการลดประมาณการ GDP เราก็ควรจะปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้
โดยสรุป การกำหนดกลยุทธ์ การลงทุน เพื่อชนะตลาด ต้องทำเมื่อนักลงทุน คิดแตกต่างจากสิ่งที่ตลาดคิด (Our view against consensus) ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนควรมีคือมีมุมมองของตัวเอง เพื่อนำไปเทียบกับสิ่งที่ตลาดคิด แล้วนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การลงทุน นั่นเอง