VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
โพสต์ที่ 1
ต้องการสอบถามว่า VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
1. ใจกว้าง
2. ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นๆ
3. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
4. คิดก่อนทำ ทำแล้วสรุปผล ตามหลัก PDCA
5. เชื่อมั่นในตัวเอง
อะไรประมาณนี้ ไม่รู้ว่าท่าน ๆ มีความเห็นอย่างไรบ้าง
1. ใจกว้าง
2. ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นๆ
3. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
4. คิดก่อนทำ ทำแล้วสรุปผล ตามหลัก PDCA
5. เชื่อมั่นในตัวเอง
อะไรประมาณนี้ ไม่รู้ว่าท่าน ๆ มีความเห็นอย่างไรบ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 1455
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
โพสต์ที่ 5
ส.สลึง เขียน:99. คิดอะไรไม่ออก ก็เข้าไปลอกการบ้านเหล่าเทพใน ThaiVI.com คร้าบ ...
ปล.
ถ้าไม่เดินตาม VI ที่ดี ก็จะเป็น VI ที่ดีไม่ได้ขอรับ ...
ผมไม่ต้องการเป็นเหมือน วอเรนบัฟเฟด ครับ
ผมต้องการ เป็น RONNAPUM ครับ
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
-
- Verified User
- โพสต์: 3348
- ผู้ติดตาม: 0
VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
โพสต์ที่ 8
ศึกษาหาความรู้ ปรับตัวเค้ากับสถานะการณ์ ตลอดเวลา ไม่ยึดติดกับอดีต
ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก มันก็เป็นเช่นนั้นแล
- kmphol
- Verified User
- โพสต์: 417
- ผู้ติดตาม: 0
VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
โพสต์ที่ 11
VI ที่ดี เก่ง และประสบความสำเร็จ น่าจะมีนิสัยเซียน แบบที่ ดร นิเวศน์ เคยเขียนไว้ ดังนี้
นิสัยเซียน
เซียนหุ้นชั้นนำของโลกแต่ละคนมักมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ละคนมักมีเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ศึกษาดูจะพบว่าเซียนเหล่านั้นมักมีนิสัยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ เรื่อง และต่อไปนี้คือนิสัยที่ผมคิดว่าเราควรศึกษาและประยุกต์ใช้ถ้าเราอยากจะเป็น เซียน บ้าง
เรื่องแรกก็คือ เซียนตัวจริงนั้น เวลาลงทุน เรื่องที่คิดมากที่สุดกลับไม่ใช่ว่าจะทำกำไรได้มหาศาลแค่ไหน แต่เป็นว่า จะรักษาเงินต้นเอาไว้ได้อย่างไร และนี่ก็คือกฎข้อหนึ่งและข้อสองของวอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งบอกว่า หลักการลงทุนที่สำคัญที่สุดก็คือ อย่าขาดทุน และอย่าขาดทุน
เรื่องที่สองก็คือ การลงทุนนั้น เซียนแต่ละคนจะมีหลักปรัชญา หลักการ และวิธีการลงทุนที่ชัดเจนเป็นแบบฉบับของตนเอง ไม่มีการมั่วหรือเป็น มวยวัด สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นถูกพัฒนาและทดสอบมาเป็นอย่างดีเป็นเวลายาวนาน และจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลับไปกลับมา
เรื่องที่สามก็คือ เซียนหุ้นนั้นไม่ชอบความเสี่ยงแต่ชอบความแน่นอน และความ ได้เปรียบ เวลาจะลงทุนอะไรมักจะคิดถึงโอกาสชนะว่ามีสูงกว่าโอกาสที่จะแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสชนะมากกว่าแพ้เพียงเล็กน้อย เขามักจะ ไม่เล่น เพราะฉะนั้น เราจะไม่เห็นคนเหล่านี้เล่นรูเล็ตหรือเข้าคาสิโนเพื่อการพนันซึ่งโอกาสชนะมีแค่ 30-40% ขณะที่โอกาสแพ้อยู่ที่ 60-70% แต่การลงทุนที่โอกาสชนะสูงมาก ๆ นั้นมีไม่มาก ดังนั้นเซียนจึงมักไม่เล่นหรือลงทุนบ่อยนัก
เรื่องที่สี่ก็คือ เซียนนั้นลงทุนในสิ่งที่ตนเองรู้จักดี มีการวิเคราะห์และคิดเอง ไม่เชื่อคนอื่นโดยไม่ได้พิจารณาด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง ในทางตรงกันข้าม เซียนจะไม่ลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่เข้าใจหรือการลงทุนนั้นไม่เข้าเงื่อนไขที่ตนเองกำหนด หรือตนเองไม่สบายใจที่จะลง ตัวอย่างเช่นหุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB สูงเกินไป หุ้นที่ผู้บริหารไม่น่าไว้วางใจ เป็นต้น แม้ว่าหุ้นเหล่านั้นอาจจะทำกำไรให้ได้ง่ายและเร็วในบางสถานการณ์
นิสัยที่ห้าก็คือ เซียนส่วนใหญ่จะไม่ กระจายความเสี่ยง โดยการกระจายการถือหุ้นมากเกินไป เซียนมักจะมีหุ้นหลักตัวใหญ่ ๆ ในพอร์ตซึ่งเป็นตัวที่จะกำหนดผลงานหรือความเป็นความตายในการลงทุนเพียงไม่กี่ตัว แม้ว่าเขาจะมีหุ้นย่อย ๆ เป็น 10 หรือ 100 และแม้แต่ 1,000 ตัว อย่างพอร์ตของปีเตอร์ ลินช์ หุ้นตัวหลัก ๆ เหล่านั้นก็คือหุ้นที่สร้างความแตกต่างและทำให้เซียนเป็นเซียนขึ้นมาได้ ข้อสรุปในเรื่องนี้ก็คือ การเป็นเซียนนั้น คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกหุ้นถูกทุกตัวหรือแม้จะเป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ข้อสำคัญก็คือ ในหุ้น 10 ตัว คุณอาจจะเลือกถูกเพียง 3 ตัว แต่ถ้าหุ้น 3 ตัวนั้นเป็นหุ้นที่ทำกำไรมหาศาลก็เพียงพอแล้วสำหรับผลงานที่ดีเยี่ยม
นิสัยที่หกก็คือ เซียนหุ้นตัวจริงนั้นมี EQ ของการลงทุนสูง ไม่ใคร่หวั่นไหวกับภาวะตลาดผันผวนหรือข่าวต่าง ๆ ที่อาจจะดูรุนแรงแต่ผลกระทบจริงต่อการลงทุนมีน้อย นิสัยในกลุ่มนี้ที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญก็คือ เซียนหุ้นนั้นมักใจเย็น สามารถอดทนรอได้อย่าง ไม่มีเวลาจำกัด ถ้ายังไม่เห็นโอกาส ขณะเดียวกัน ถ้าเห็นโอกาส ลอยมาตรงหน้า เซียนหุ้นสามารถตัดสินใจ และลงมือได้ทันทีไม่มีการผัดวันประกันพรุ่งหรือต้องไปศึกษาพินิจพิจารณายืดยาว ความรู้สึกของผมก็คือ เซียนหุ้นชั้นนำคงจะมีความคิดต่าง ๆ อยู่ในใจที่พร้อมอยู่แล้ว เมื่อโอกาสเปิดก็คว้าได้ทันที
พฤติกรรมที่เจ็ดของเซียนหุ้นก็คือ ยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว ภาษาหุ้นและการลงทุนก็คือ สามารถ Cut Loss ได้ทันทีเมื่อเห็นว่าหลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ไม่เป็นไปตามที่คาด หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เหตุผลในการซื้อหมดไป พูดง่าย ๆ เซียนหุ้นมักไม่ยอม ติดหุ้น อย่างนักลงทุนประเภท แมงเม่า ซึ่งไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดโดยการขายหุ้นที่ขาดทุนมากทิ้งได้
ข้อแปดที่ผมเลือกมาก็คือ เซียนหุ้นนั้น เวลาลงทุนแต่ละครั้งจะต้องมี Story หรือเรื่องราว หรือเหตุผลหลักว่าทำไมจึงลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้นซึ่งไม่ใช่เพราะคิดว่าราคาหุ้นจะขึ้น แต่จะต้องเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่เมื่อเกิดขึ้นจะส่งผลต่อราคาหุ้นในที่สุด เรื่องราวอาจเป็นได้ทั้งเรื่องระยะสั้นหรือระยะยาว อาจเป็นได้ทั้งเรื่องของตัวธุรกิจเอง หรือเรื่องภายนอกที่จะส่งผลอย่างสำคัญต่อตัวธุรกิจและราคาหลักทรัพย์ในที่สุด
นิสัยที่เก้าก็คือ เซียนหุ้นนั้นมักจะเป็นคนบ้าหุ้น หายใจเข้าออกเป็นเรื่องของการลงทุน ทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่ของตนมักจะอยู่ในหลักทรัพย์ การลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่ใช่คนที่เฝ้ากระดานหุ้น ติดตามราคาหุ้นทุกนาที เพราะเซียนหุ้นตัวจริงนั้นไม่จำเป็นและมักไม่สนใจการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในระยะสั้น เซียนหุ้นชอบศึกษาและติดตามความเป็นไปของกิจการ ภาวะแวดล้อม และประเด็นอื่น ๆ ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มากกว่า
สุดท้ายก็คือ นิสัยส่วนตัวของเซียนการลงทุน ที่ดูแล้วก็น่าแปลก ค่าที่ว่าเซียนหุ้นมักจะเป็นคนที่มีความมั่งคั่งมหาศาล (ถ้าไม่มั่งคั่ง ใครจะเรียกว่าเป็นเซียน!) แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับใช้ชีวิตธรรมดาแบบคนชั้นกลางระดับสูงเล็กน้อย และไม่มีใครเลยที่ใช้ชีวิตความเป็นอยู่สูงกว่าระดับความมั่งคั่งของตนเอง ทั้งที่ดูไปแล้ว เงินสำหรับเซียนนั้น หามาได้ง่ายและเร็ว แต่คนเหล่านั้นกลับไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ชอบใช้เงินในสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือใช้เงินไม่คุ้มค่า
นิสัยทั้ง 10 ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าเซียนทุกคนต้องมีเหมือนกันหมด เพียงแต่เป็นนิสัยที่เซียนหลาย ๆ คนที่ผมศึกษามีและผมคิดว่านิสัยหลาย ๆ ข้อมีส่วนสำคัญในการสร้างความสำเร็จในการลงทุนให้แก่เขา และผมเชื่อว่าถ้า Value Investor นำเอาไปใช้และทำให้เป็นนิสัย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนคงจะมีสูงขึ้น
นิสัยเซียน
เซียนหุ้นชั้นนำของโลกแต่ละคนมักมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ละคนมักมีเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ศึกษาดูจะพบว่าเซียนเหล่านั้นมักมีนิสัยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ เรื่อง และต่อไปนี้คือนิสัยที่ผมคิดว่าเราควรศึกษาและประยุกต์ใช้ถ้าเราอยากจะเป็น เซียน บ้าง
เรื่องแรกก็คือ เซียนตัวจริงนั้น เวลาลงทุน เรื่องที่คิดมากที่สุดกลับไม่ใช่ว่าจะทำกำไรได้มหาศาลแค่ไหน แต่เป็นว่า จะรักษาเงินต้นเอาไว้ได้อย่างไร และนี่ก็คือกฎข้อหนึ่งและข้อสองของวอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งบอกว่า หลักการลงทุนที่สำคัญที่สุดก็คือ อย่าขาดทุน และอย่าขาดทุน
เรื่องที่สองก็คือ การลงทุนนั้น เซียนแต่ละคนจะมีหลักปรัชญา หลักการ และวิธีการลงทุนที่ชัดเจนเป็นแบบฉบับของตนเอง ไม่มีการมั่วหรือเป็น มวยวัด สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นถูกพัฒนาและทดสอบมาเป็นอย่างดีเป็นเวลายาวนาน และจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลับไปกลับมา
เรื่องที่สามก็คือ เซียนหุ้นนั้นไม่ชอบความเสี่ยงแต่ชอบความแน่นอน และความ ได้เปรียบ เวลาจะลงทุนอะไรมักจะคิดถึงโอกาสชนะว่ามีสูงกว่าโอกาสที่จะแพ้มากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสชนะมากกว่าแพ้เพียงเล็กน้อย เขามักจะ ไม่เล่น เพราะฉะนั้น เราจะไม่เห็นคนเหล่านี้เล่นรูเล็ตหรือเข้าคาสิโนเพื่อการพนันซึ่งโอกาสชนะมีแค่ 30-40% ขณะที่โอกาสแพ้อยู่ที่ 60-70% แต่การลงทุนที่โอกาสชนะสูงมาก ๆ นั้นมีไม่มาก ดังนั้นเซียนจึงมักไม่เล่นหรือลงทุนบ่อยนัก
เรื่องที่สี่ก็คือ เซียนนั้นลงทุนในสิ่งที่ตนเองรู้จักดี มีการวิเคราะห์และคิดเอง ไม่เชื่อคนอื่นโดยไม่ได้พิจารณาด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง ในทางตรงกันข้าม เซียนจะไม่ลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่เข้าใจหรือการลงทุนนั้นไม่เข้าเงื่อนไขที่ตนเองกำหนด หรือตนเองไม่สบายใจที่จะลง ตัวอย่างเช่นหุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB สูงเกินไป หุ้นที่ผู้บริหารไม่น่าไว้วางใจ เป็นต้น แม้ว่าหุ้นเหล่านั้นอาจจะทำกำไรให้ได้ง่ายและเร็วในบางสถานการณ์
นิสัยที่ห้าก็คือ เซียนส่วนใหญ่จะไม่ กระจายความเสี่ยง โดยการกระจายการถือหุ้นมากเกินไป เซียนมักจะมีหุ้นหลักตัวใหญ่ ๆ ในพอร์ตซึ่งเป็นตัวที่จะกำหนดผลงานหรือความเป็นความตายในการลงทุนเพียงไม่กี่ตัว แม้ว่าเขาจะมีหุ้นย่อย ๆ เป็น 10 หรือ 100 และแม้แต่ 1,000 ตัว อย่างพอร์ตของปีเตอร์ ลินช์ หุ้นตัวหลัก ๆ เหล่านั้นก็คือหุ้นที่สร้างความแตกต่างและทำให้เซียนเป็นเซียนขึ้นมาได้ ข้อสรุปในเรื่องนี้ก็คือ การเป็นเซียนนั้น คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกหุ้นถูกทุกตัวหรือแม้จะเป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ข้อสำคัญก็คือ ในหุ้น 10 ตัว คุณอาจจะเลือกถูกเพียง 3 ตัว แต่ถ้าหุ้น 3 ตัวนั้นเป็นหุ้นที่ทำกำไรมหาศาลก็เพียงพอแล้วสำหรับผลงานที่ดีเยี่ยม
นิสัยที่หกก็คือ เซียนหุ้นตัวจริงนั้นมี EQ ของการลงทุนสูง ไม่ใคร่หวั่นไหวกับภาวะตลาดผันผวนหรือข่าวต่าง ๆ ที่อาจจะดูรุนแรงแต่ผลกระทบจริงต่อการลงทุนมีน้อย นิสัยในกลุ่มนี้ที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญก็คือ เซียนหุ้นนั้นมักใจเย็น สามารถอดทนรอได้อย่าง ไม่มีเวลาจำกัด ถ้ายังไม่เห็นโอกาส ขณะเดียวกัน ถ้าเห็นโอกาส ลอยมาตรงหน้า เซียนหุ้นสามารถตัดสินใจ และลงมือได้ทันทีไม่มีการผัดวันประกันพรุ่งหรือต้องไปศึกษาพินิจพิจารณายืดยาว ความรู้สึกของผมก็คือ เซียนหุ้นชั้นนำคงจะมีความคิดต่าง ๆ อยู่ในใจที่พร้อมอยู่แล้ว เมื่อโอกาสเปิดก็คว้าได้ทันที
พฤติกรรมที่เจ็ดของเซียนหุ้นก็คือ ยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว ภาษาหุ้นและการลงทุนก็คือ สามารถ Cut Loss ได้ทันทีเมื่อเห็นว่าหลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ไม่เป็นไปตามที่คาด หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เหตุผลในการซื้อหมดไป พูดง่าย ๆ เซียนหุ้นมักไม่ยอม ติดหุ้น อย่างนักลงทุนประเภท แมงเม่า ซึ่งไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดโดยการขายหุ้นที่ขาดทุนมากทิ้งได้
ข้อแปดที่ผมเลือกมาก็คือ เซียนหุ้นนั้น เวลาลงทุนแต่ละครั้งจะต้องมี Story หรือเรื่องราว หรือเหตุผลหลักว่าทำไมจึงลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้นซึ่งไม่ใช่เพราะคิดว่าราคาหุ้นจะขึ้น แต่จะต้องเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่เมื่อเกิดขึ้นจะส่งผลต่อราคาหุ้นในที่สุด เรื่องราวอาจเป็นได้ทั้งเรื่องระยะสั้นหรือระยะยาว อาจเป็นได้ทั้งเรื่องของตัวธุรกิจเอง หรือเรื่องภายนอกที่จะส่งผลอย่างสำคัญต่อตัวธุรกิจและราคาหลักทรัพย์ในที่สุด
นิสัยที่เก้าก็คือ เซียนหุ้นนั้นมักจะเป็นคนบ้าหุ้น หายใจเข้าออกเป็นเรื่องของการลงทุน ทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่ของตนมักจะอยู่ในหลักทรัพย์ การลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่ใช่คนที่เฝ้ากระดานหุ้น ติดตามราคาหุ้นทุกนาที เพราะเซียนหุ้นตัวจริงนั้นไม่จำเป็นและมักไม่สนใจการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในระยะสั้น เซียนหุ้นชอบศึกษาและติดตามความเป็นไปของกิจการ ภาวะแวดล้อม และประเด็นอื่น ๆ ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มากกว่า
สุดท้ายก็คือ นิสัยส่วนตัวของเซียนการลงทุน ที่ดูแล้วก็น่าแปลก ค่าที่ว่าเซียนหุ้นมักจะเป็นคนที่มีความมั่งคั่งมหาศาล (ถ้าไม่มั่งคั่ง ใครจะเรียกว่าเป็นเซียน!) แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับใช้ชีวิตธรรมดาแบบคนชั้นกลางระดับสูงเล็กน้อย และไม่มีใครเลยที่ใช้ชีวิตความเป็นอยู่สูงกว่าระดับความมั่งคั่งของตนเอง ทั้งที่ดูไปแล้ว เงินสำหรับเซียนนั้น หามาได้ง่ายและเร็ว แต่คนเหล่านั้นกลับไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ชอบใช้เงินในสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือใช้เงินไม่คุ้มค่า
นิสัยทั้ง 10 ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าเซียนทุกคนต้องมีเหมือนกันหมด เพียงแต่เป็นนิสัยที่เซียนหลาย ๆ คนที่ผมศึกษามีและผมคิดว่านิสัยหลาย ๆ ข้อมีส่วนสำคัญในการสร้างความสำเร็จในการลงทุนให้แก่เขา และผมเชื่อว่าถ้า Value Investor นำเอาไปใช้และทำให้เป็นนิสัย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนคงจะมีสูงขึ้น
- sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2455
- ผู้ติดตาม: 1
VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
โพสต์ที่ 15
ยินดีด้วยครับ :lovl: :lovl: :lovl:superboy เขียน:งั้น ก้อแปลว่า vi ก้อสามารถให้ของหรูๆ ได้ ถ้าคิดว่ามันคุ้นค่า
เพราะหรูของผมมันกระจอกสำหรับคนอื่น
แปลว่า ผมก้อเป็น vi เต็มๆนะซิ เย้ๆๆๆ
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
- baby-investor
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
โพสต์ที่ 17
ถ้าจะเลียนแบบหัวหน้าชาว VI ก็ต้องซื้อหุ้นในชื่อภรรยา และอยู่บ้านแม่ยายครับ :D
แต่สำหรับผม ผมคิดว่าที่สำคัญต้องหาข้อมูลเยอะๆครับ ทั้งเรื่องของกิจการ เรื่องของผู้บริหาร เรื่องของแนวโน้มอุตสาหกรรมในอนาคต และถ้ามีข้อมูลมากๆแล้ว เราสามารถเลือกหุ้นได้แล้ว เวลาหุ้นลงต้องกล้าซื้อครับ และถ้าหุ้นขึ้นถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ต้องกล้าขาย โดยปกติเวลาหุ้นขึ้นหรือลง ถ้าจะรอให้หุ้นขึ้นหรือลงอีกนิด อีกนิด ในหลายครั้งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราพลาดการซื้อหรือขาย ทำให้เสียโอกาสครับ
แต่สำหรับผม ผมคิดว่าที่สำคัญต้องหาข้อมูลเยอะๆครับ ทั้งเรื่องของกิจการ เรื่องของผู้บริหาร เรื่องของแนวโน้มอุตสาหกรรมในอนาคต และถ้ามีข้อมูลมากๆแล้ว เราสามารถเลือกหุ้นได้แล้ว เวลาหุ้นลงต้องกล้าซื้อครับ และถ้าหุ้นขึ้นถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ต้องกล้าขาย โดยปกติเวลาหุ้นขึ้นหรือลง ถ้าจะรอให้หุ้นขึ้นหรือลงอีกนิด อีกนิด ในหลายครั้งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราพลาดการซื้อหรือขาย ทำให้เสียโอกาสครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 237
- ผู้ติดตาม: 0
VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
โพสต์ที่ 18
คือ รู้จักใช้เงินให้เหมาะสมกับคุณค่าที่จะได้รับนิสัยส่วนตัวของเซียนการลงทุน ที่ดูแล้วก็น่าแปลก ค่าที่ว่าเซียนหุ้นมักจะเป็นคนที่มีความมั่งคั่งมหาศาล (ถ้าไม่มั่งคั่ง ใครจะเรียกว่าเป็นเซียน!) แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับใช้ชีวิตธรรมดาแบบคนชั้นกลางระดับสูงเล็กน้อย และไม่มีใครเลยที่ใช้ชีวิตความเป็นอยู่สูงกว่าระดับความมั่งคั่งของตนเอง
ถ้าคุณสามารถสร้างผลตอบแทนจากเงิน(สดในมือ)ได้เฉลี่ยปีละ 15-30% อย่างพวกวีไอในห้องนี้ คุณก้อจะไม่เอาเงินก้อนนั้นไปซื้อรถหรูๆ บ้านใหญ่ๆ เล่นกอล์ฟในสนามโก้ๆ กินอาหารภัตตาคารชั้นสูง
ผมเคยเห็นดอกเตอร์เล่นกอล์ฟกับพวกเพือนในสนามถูกๆ ใช้ลูกกอล์ฟมือสอง เหมือนกับที่หลายคนใช้รถญี่ปุ่นมือสอง แต่มีพอร์ตร้อยล้าน
-
- Verified User
- โพสต์: 2266
- ผู้ติดตาม: 0
VI ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
โพสต์ที่ 20
เขียนโดยคุณ Inivisible Hand ครับ
เห็นว่ามีประโยชน์มาก ให้ทุกๆคนได้อ่านใหม่ครับ
แอบหยิบมาโดยไม่ได้รับอนุญาติ แต่ credit ไว้แล้วการลงทุนแบบ VI นั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องซื้อหุ้นที่ดูเหมือนเป็นหุ้น VI ตามที่เค้าแนะนำมาตามแหล่งต่างๆ เช่น ห้องกระทิงคุณค่าแห่งนี้ หรือ www.thaivi.com นะครับ
ดังนั้นจะต้องแยกให้ออกว่าเราจะเป็น VI หรือ จะซื้อหุ้น VI ซึ่งอย่างหลังนั้นไม่ยากเพราะสามารถสอบถามจาก web ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ VI แต่การที่จะเป็น VI คือสามารถเลือกหาหุ้นที่มีคุณภาพสูงในราคาไม่แพงเกินไปนักเป็นสิ่งที่ยากกว่ามาก ดังนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมจะทำหรือไม่นะครับ
หากต้องการเป็น VI ผมมีคำแนะนั้นต้นให้ได้ครับ
1 หาหนังสือแนว VI มาอ่าน ตอนนี้มีการแปลหลายเล่มมาก เช่น
- หนังสือต่างๆ ที่เขียนโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เช่น ตีแตก ชนะอย่างเต่า ฯลฯ มีขายตามร้านหนังสือทั่วไปครับ เช่น SE-ED
- หนังสือแปลจากต่างประเทศเช่น
- The new Buffetology ผู้แปล คือ คุณพรชัย
- One up on wallstreet ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
- Common stocks uncommon profit ผู้แปล คือ ดร. นิเวศน์
2 จะต้องอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจอย่างน้อยวันละ 1 เล่ม ถ้าให้ดีควรจะอย่างน้อย 2 และหนังสือพิมพ์ธุรกิจราย 3 วัน 7 วัน เช่น ประชาชาติธุรกิจหรือฐานเศรษฐกิจ หรือ Biz Week อย่างน้อย 1 เล่ม เป็นขั้นต่ำ ถ้าให้ดีควรอ่านทุกเล่มเลยครับ
3 จะต้องอ่านหนังสือธุรกิจรายเดือน เช่น ผู้จัดการรายเดือน Brandage Thaicoon Marketeer การเงินการธนาคาร อย่างน้อยเดือนละ 1-2 เล่ม
4 จะต้องหา Pocket book ต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐศาสตร์หรือธุรกิจ ( ซึ่งหลายๆ เล่มมีฉบับแปล ) มาอ่านให้ได้อย่างน้อยปีละ 4-5 เล่ม เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลก และสามารถวิเคราะห์ภาพใหญ่ๆ ได้ ยกตัวอย่างหนังสือดีๆ ที่มีแปลเป็นไทยแล้ว เช่น Blue ocean strategy หรือ ใครว่าโลกกลม ( The world is flat )
5 หากสนใจหุ้นตัวใดแล้ว จะต้องอ่านข้อมูลอย่างน้อยคือ 56-1 รายงานประจำปี งบการเงิน รวมไปถึงการ search หาข่าวเก่าๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นๆ ง่ายที่สุดคือ พิมพ์ชื่อบริษัท หรือชื่อ นามสกุล กรรมการผู้จัดการ ลงใน www.google.com ครับ
6 ฝึกเป็นคนสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของวัน เช่น การขับรถ การเดินห้าง การดู TV ฟังวิทยุ ไปต่างประเทศ หรือการพูดคุยกับคนต่างๆ อาชีพ ซึ่งสามารถเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกและวิเคราะห์หุ้นได้เป็นอย่างดี
7 ฝึกการคิดต่างจากคนอื่นๆ เพราะถ้ามีเรื่องแบบเดียวกันและเราคิดเหมือนคนทั่วๆ ไป โอกาสประสบความสำเร็จจะมียากกว่าคนที่ฝึกการคิดแตกต่าง เปรียบเหมือนกับการหาที่จอดรถในห้าง หากเราขับตามๆ กันไปเราก็ต้องได้ที่จอดรถหลังคันหน้าเราอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะเลือกขับไปในจุดที่เราเป็นคันแรกจะมีโอกาสได้ที่จอดรถมากกว่า
8 หาโอกาสไปประชุมผู้ถือหุ้น หรือ งาน Opportunity day เพื่อทำความรู้จักผู้บริหารและซักถามข้อสงสัยต่างๆ
9 จะต้องเป็นคนรู้กว้าง อ่านและฟังมากๆ ไม่เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นเท่านั้น แต่ควรจะรู้ความเป็นไปในโลกให้มากที่สุด เพราะบางครั้งความรู้ต่างๆ ที่เรามีนั้นจะถูกเชื่อมโยงเป็นข้อมูลในการคิดวิเคราะห์ต่างๆ ของเราได้ เพราะผมเองยังได้กำไรจากหุ้นตัวหนึ่งจากการอ่านหนังสือบันเทิงอย่าง Maya Channel เลยครับ ดังนั้นผมจะอ่านนิตยสารอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นด้วยจำนวนหนึ่งเพื่อหาความรู้ทั่วไปและการผ่อนคลาย เช่น แพรว ยานยนต์ สารคดี ฯลฯ VI ที่ดีควรเข้าร้านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้งครับ
ฯลฯ มีอีกหลายข้อแต่ยังนึกไม่ออกครับ
ฟังดูแล้วอาจจะดูเหมือนทำได้ยาก แต่เมื่อลองทำจริงๆ แล้วมันจะเป็นนิสัยและจะอยู่ในชีวิตเราเองแบบไม่ตั้งใจ แล้วเราจะสามารถมีชีวิตได้ปกติเหมือนคนทั่วไปครับ สามารถเดินห้าง ดูหนัง ซื้อของ สังสรรค์ ท่องเที่ยว ได้ตามปกติครับ และก็ไม่ได้เป็นการทำงานหนักมากด้วย เพราะเราจะเป็น VI ที่คอยสังเกตสิ่งต่างๆ และหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
จะเห็นว่าการเป็นนักลงทุนแบบที่เค้าเรียกกันว่า VI นั้น ไม่ได้มาด้วยความฟลุ๊กแน่นอนครับ
เห็นว่ามีประโยชน์มาก ให้ทุกๆคนได้อ่านใหม่ครับ
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่