กระจายความเสี่ยงยังไง ไม่ให้หักล้างกันเป็นศูนย์
- Renne
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
กระจายความเสี่ยงยังไง ไม่ให้หักล้างกันเป็นศูนย์
โพสต์ที่ 2
วันหลังตั้งกระทู้รวมกันก็ได้ครับ จะได้ลดทรัพยากรเว็บบอร์ด :8)
ต้องย้อนถามก่อนครับ ทำไมเราถึงอยากกระจายความเสี่ยง?
คำตอบในความเข้าใจผมคือ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นใช่ไหมครับ?
ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นมีหลายแบบคร้บ
- ถ้าไข่มี 10 ใบ ตะกร้ามี 10 ตะกร้า โดยไข่1ใบ:1ตะกร้า ตกแตกไปตะกร้านึึงก็ยังเหลือตะกร้าอื่นอยู่ แต่คงต้องเสียเงินซื้อตะกร้ามากหน่อย ส่งผลให้ความคุ้มค่าลดลงไป
- มีไข่10ใบ แต่ผมลงทุนซื้อที่เก็บกันกระแทกอย่างดี พร้อมหุ้มไข่แต่ละใบด้วยโฟมกันกระแทก ใส่ไว้รวมกันหมดนั่นแหละ 10 ใบ โดยที่เก็บกันกระแทกชั้นดีนี้ ผลิตอย่างดีเยี่ยม มันใจว่าต่อให้ตกพื้นไข่ก็คงไม่แตก หรือคงแตกไม่เยอะ ในแง่การลงทุน อาจจะแพงกว่าตะกร้า1ใบ แต่ถูกกว่าตะกร้า10ใบแน่นอน
อยู่ที่ว่าเราเลือกแบบไหนครับ ทั้งคู่คือการลดความเสี่ยงทั้งคู่
ถามว่าต่อให้กระจายความเสี่ยงมันยังมีความเสี่ยงอยู่ไหม? มันก็ยังมีความเสี่ยงครับ ต่อให้เราเลือกหุ้นที่มีทิศทางการเจริญเติบโตตรงข้ามกัน แต่ส่วนมากนั้น ราคาหุ้น พื้นฐานหุ้น ก็ยังมีเศรษฐกิจระดับมหภาค จุลภาคควบคุมอยู่ดี
สมมติผมมีหุ้นสองตัว หุ้นตัวแรกคือโรงงานผลิตกระดาษซึ่งใช้น้ำมันในกระบวนการผลิตจำนวนมาก กับหุ้นเกี่ยวกับน้ำมันโดยตรง แน่นอนถ้าราคาน้ำมันขึ้น หุ้นน้ำมันนั้นคงจะได้รับผลประโยชน์ตรงนี้ ในทางกลับกัน หุ้นกระดาษคงเสียผลประโยชน์ ในทางตรงข้ามถ้าราคาน้ำมันลด หุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์คือหุ้นโรงงานผลิตกระดาษ ถามว่าผมซื้อหุ้นสองตัวนี้ถือว่ากระจายความเสี่ยงไหม?
คำตอบคือถือว่ากระจายความเสี่ยงเหมือนกันครับ ที่นี้ลองมาดูความเป็นจริง(ในแบบสมมติ)
จู่ๆปี พศ.9876 เศรษฐกิจโลกเกิดตกต่ำสุดขีด การใช้น้ำมันลดลงจำนวนมาก
ส่งผลให้ราคาน้ำมันลด แน่นอนราคาน้ำมันลดหุ้นโรงงานกระดาษคงได้รับผลประโยชน์ และน่าจะทำกำไรได้ดีขึ้น แต่ปรากฏว่าไม่เลย ผลที่ได้หุ้นกระดาษราคาตกพอๆกันเพราะยอดการสั่งซื้อที่ลดลง
สรุป ขาดทุนทั้ง 2ตัว เพราะเศรษฐกิจไม่ดี
ที่ชี้ให้เห็นตรงนี้ อยากให้เห็นความสำคัญของปัจจัยอื่นด้วยนอกจากหุ้นที่มีทิศทางการเจริญเติบโตตรงข้ามกันครับ มันมีอีกหลายปัจจัยที่ควบคุมพื้นฐานบริษัทและัความสามารถในการทำกำไร
ที่พิมพ์มาทั้งหมดนี้ อยากจะให้เห็นในบางด้านครับ การกระจายความเสี่ยงก็เป็นวิธีนึงที่ผมก็ถือว่าไม่ได้แย่อะไร(แล้วก็ไม่ได้ดีโดดเด่นอะไรด้วย) แต่สุดท้ายมันก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ดี การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีไม่ใช่แค่ซื้อหุ้นในแบบที่เขียนไว้ แต่อาจจะรวมไปถึงการกระจายความเสี่ยงลงทุนในตราสารหนี้ พันธบัตร หรือแม้แต่ทองคำ(ซึ่งปรกติราคาจะสวนกลับความเชื่อมั่นของคนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีต่อหุ้น)
ส่วนตัวแล้วผมถือคติที่ว่า ถ้าเรามองออกหรือคาดการณ์ได้ว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องไปซื้อกระจายให้หุ้นตัวที่สวนทางด้วย? หรือถึงแม้ว่ามันจะโตไปด้วยกัน แต่ตัวนึงน้อย ตัวนึงมากก็เถอะ ผมจะเลือกหุ้นตัวที่มีโอกาสโตมากกว่าอีกตัวเพียงตัวเดียว โดยพยายามดูว่าปัจจัยในอนาคตอะไรบ้างที่จะช่วยหนุนให้หุ้นตัวนั้นโตโดดเด่นกว่าตัวอื่น ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่เราประเมินได้ไม่ยากถ้าเป็นธุรกิจตัวที่เราเข้าใจ (ซึ่งแต่ละคนคงมีธุรกิจที่ถนัดต่างกัน)
ต้องย้อนถามก่อนครับ ทำไมเราถึงอยากกระจายความเสี่ยง?
คำตอบในความเข้าใจผมคือ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นใช่ไหมครับ?
ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นมีหลายแบบคร้บ
- ถ้าไข่มี 10 ใบ ตะกร้ามี 10 ตะกร้า โดยไข่1ใบ:1ตะกร้า ตกแตกไปตะกร้านึึงก็ยังเหลือตะกร้าอื่นอยู่ แต่คงต้องเสียเงินซื้อตะกร้ามากหน่อย ส่งผลให้ความคุ้มค่าลดลงไป
- มีไข่10ใบ แต่ผมลงทุนซื้อที่เก็บกันกระแทกอย่างดี พร้อมหุ้มไข่แต่ละใบด้วยโฟมกันกระแทก ใส่ไว้รวมกันหมดนั่นแหละ 10 ใบ โดยที่เก็บกันกระแทกชั้นดีนี้ ผลิตอย่างดีเยี่ยม มันใจว่าต่อให้ตกพื้นไข่ก็คงไม่แตก หรือคงแตกไม่เยอะ ในแง่การลงทุน อาจจะแพงกว่าตะกร้า1ใบ แต่ถูกกว่าตะกร้า10ใบแน่นอน
อยู่ที่ว่าเราเลือกแบบไหนครับ ทั้งคู่คือการลดความเสี่ยงทั้งคู่
ถามว่าต่อให้กระจายความเสี่ยงมันยังมีความเสี่ยงอยู่ไหม? มันก็ยังมีความเสี่ยงครับ ต่อให้เราเลือกหุ้นที่มีทิศทางการเจริญเติบโตตรงข้ามกัน แต่ส่วนมากนั้น ราคาหุ้น พื้นฐานหุ้น ก็ยังมีเศรษฐกิจระดับมหภาค จุลภาคควบคุมอยู่ดี
สมมติผมมีหุ้นสองตัว หุ้นตัวแรกคือโรงงานผลิตกระดาษซึ่งใช้น้ำมันในกระบวนการผลิตจำนวนมาก กับหุ้นเกี่ยวกับน้ำมันโดยตรง แน่นอนถ้าราคาน้ำมันขึ้น หุ้นน้ำมันนั้นคงจะได้รับผลประโยชน์ตรงนี้ ในทางกลับกัน หุ้นกระดาษคงเสียผลประโยชน์ ในทางตรงข้ามถ้าราคาน้ำมันลด หุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์คือหุ้นโรงงานผลิตกระดาษ ถามว่าผมซื้อหุ้นสองตัวนี้ถือว่ากระจายความเสี่ยงไหม?
คำตอบคือถือว่ากระจายความเสี่ยงเหมือนกันครับ ที่นี้ลองมาดูความเป็นจริง(ในแบบสมมติ)
จู่ๆปี พศ.9876 เศรษฐกิจโลกเกิดตกต่ำสุดขีด การใช้น้ำมันลดลงจำนวนมาก
ส่งผลให้ราคาน้ำมันลด แน่นอนราคาน้ำมันลดหุ้นโรงงานกระดาษคงได้รับผลประโยชน์ และน่าจะทำกำไรได้ดีขึ้น แต่ปรากฏว่าไม่เลย ผลที่ได้หุ้นกระดาษราคาตกพอๆกันเพราะยอดการสั่งซื้อที่ลดลง
สรุป ขาดทุนทั้ง 2ตัว เพราะเศรษฐกิจไม่ดี
ที่ชี้ให้เห็นตรงนี้ อยากให้เห็นความสำคัญของปัจจัยอื่นด้วยนอกจากหุ้นที่มีทิศทางการเจริญเติบโตตรงข้ามกันครับ มันมีอีกหลายปัจจัยที่ควบคุมพื้นฐานบริษัทและัความสามารถในการทำกำไร
ที่พิมพ์มาทั้งหมดนี้ อยากจะให้เห็นในบางด้านครับ การกระจายความเสี่ยงก็เป็นวิธีนึงที่ผมก็ถือว่าไม่ได้แย่อะไร(แล้วก็ไม่ได้ดีโดดเด่นอะไรด้วย) แต่สุดท้ายมันก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ดี การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีไม่ใช่แค่ซื้อหุ้นในแบบที่เขียนไว้ แต่อาจจะรวมไปถึงการกระจายความเสี่ยงลงทุนในตราสารหนี้ พันธบัตร หรือแม้แต่ทองคำ(ซึ่งปรกติราคาจะสวนกลับความเชื่อมั่นของคนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีต่อหุ้น)
ส่วนตัวแล้วผมถือคติที่ว่า ถ้าเรามองออกหรือคาดการณ์ได้ว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องไปซื้อกระจายให้หุ้นตัวที่สวนทางด้วย? หรือถึงแม้ว่ามันจะโตไปด้วยกัน แต่ตัวนึงน้อย ตัวนึงมากก็เถอะ ผมจะเลือกหุ้นตัวที่มีโอกาสโตมากกว่าอีกตัวเพียงตัวเดียว โดยพยายามดูว่าปัจจัยในอนาคตอะไรบ้างที่จะช่วยหนุนให้หุ้นตัวนั้นโตโดดเด่นกว่าตัวอื่น ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่เราประเมินได้ไม่ยากถ้าเป็นธุรกิจตัวที่เราเข้าใจ (ซึ่งแต่ละคนคงมีธุรกิจที่ถนัดต่างกัน)
"มีสติ คิดก่อนทำ และอย่าดูถูกตลาดมากเกินไป"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
- Renne
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
กระจายความเสี่ยงยังไง ไม่ให้หักล้างกันเป็นศูนย์
โพสต์ที่ 3
ตอบไม่ครบเพิ่มอีกนิดนะครับ ^^"
แต่ยอมรับครับ ว่าในพอร์ตผมเองก็ไม่ได้เก็บหุ้นตัวเดียว (มี3ตัวในพอร์ต) ปรกติตามแนวทางของผม ถ้ากระจายความเสี่ยง(คงเรียกว่ากระจายได้มั้ง) ผมทำแบบนี้ครับ
ปรกติฐานของผม 45-50% จะเป็นหุ้นที่ค่อนข้างdefensiveครับ ทนทุกฤดูโตตลอด ถึงจะโตเรื่อยๆไม่หวือหวาก็เถอะ แต่มันใจว่ายังไงมันก็จ่ายปันผลได้ตลอดแน่ๆ และปันผลก็ไม่ลดด้วย(เท่าเดิมหรือโตเรื่อยๆ)
30-35% ผมไปลงกับหุ้นที่พื้นฐานดีระดับนึง จ่ายปันผลสม่ำเสมือเช่นกัน แต่ปันผลไม่แน่นอน(คือถ้าในช่วงดีก็ปันผลคงเยอะ ถ้าแต่ปันผลก็หดมาก) แต่เป็นธุรกิจที่ออกจะเป็นcycleนิดๆ เป็นcycleที่พอจ่ายปันผลได้ เพื่อรอถึงรอบมัน เมื่อราคาสูงผมก็จะขายลดไปส่วนนึงครับ
15-20% สุดท้ายผมไปลงกับพวกCycleจริงๆ เก็งกำไรรอบยาวครับ ปันผลไม่มีไม่เป็นไร ขอเวลาได้รอบแล้วราคาแรงพอ
จริงๆไม่รู้ว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงไหม ^^" แต่ผมแบ่งพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงของผมประมาณนี้นะ (สัดส่วนเปลี่ยนบ้างตามอารมณ์กับจังหวะ)
แต่ยอมรับครับ ว่าในพอร์ตผมเองก็ไม่ได้เก็บหุ้นตัวเดียว (มี3ตัวในพอร์ต) ปรกติตามแนวทางของผม ถ้ากระจายความเสี่ยง(คงเรียกว่ากระจายได้มั้ง) ผมทำแบบนี้ครับ
ปรกติฐานของผม 45-50% จะเป็นหุ้นที่ค่อนข้างdefensiveครับ ทนทุกฤดูโตตลอด ถึงจะโตเรื่อยๆไม่หวือหวาก็เถอะ แต่มันใจว่ายังไงมันก็จ่ายปันผลได้ตลอดแน่ๆ และปันผลก็ไม่ลดด้วย(เท่าเดิมหรือโตเรื่อยๆ)
30-35% ผมไปลงกับหุ้นที่พื้นฐานดีระดับนึง จ่ายปันผลสม่ำเสมือเช่นกัน แต่ปันผลไม่แน่นอน(คือถ้าในช่วงดีก็ปันผลคงเยอะ ถ้าแต่ปันผลก็หดมาก) แต่เป็นธุรกิจที่ออกจะเป็นcycleนิดๆ เป็นcycleที่พอจ่ายปันผลได้ เพื่อรอถึงรอบมัน เมื่อราคาสูงผมก็จะขายลดไปส่วนนึงครับ
15-20% สุดท้ายผมไปลงกับพวกCycleจริงๆ เก็งกำไรรอบยาวครับ ปันผลไม่มีไม่เป็นไร ขอเวลาได้รอบแล้วราคาแรงพอ
จริงๆไม่รู้ว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงไหม ^^" แต่ผมแบ่งพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงของผมประมาณนี้นะ (สัดส่วนเปลี่ยนบ้างตามอารมณ์กับจังหวะ)
"มีสติ คิดก่อนทำ และอย่าดูถูกตลาดมากเกินไป"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
-
- Verified User
- โพสต์: 191
- ผู้ติดตาม: 0
กระจายความเสี่ยงยังไง ไม่ให้หักล้างกันเป็นศูนย์
โพสต์ที่ 5
1. การกระจายความเสี่ยงโดยเน้นความเสี่ยงระดับเดียวหรือใกล้เคียงกับตลาด ก็คือการลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรม วิธีที่ง่ายที่สุด คือเลือกบริษัทที่เราคิดว่าดีที่สุดในแต่ละอุตสาหกรรมมา 1 ตัว และลงทุนทุกอุตสาหกรรม ตามแบบวิธีนี้เราจะได้รับความเสี่ยงที่ใกล้เคียงกับตลาดครับ และ จากการพินิจพิเคราะห์ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว การหักล้างกันนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากครับ เพราะ หลักทรัพย์แต่ละตัว ขึ้น - ลง เป็น % ที่ไม่เท่ากันครับ
2. การกระจายความเสี่ยงแบบ Focus แบบนี้ก็คือแนวคิดของกูรูทาง value investment ที่จะมีแนวคิดหลักๆว่า "ถ้าเราวิเคราะห์กิจการใดๆแล้ว จนเราเข้าใจในความเป็นไป และ ความเจริญเติบโตของบริษัทแล้วนั้น ก็ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปลงทุนในบริษัทที่เราไม่เคยเข้าใจมันเลยเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง" แนวคิดของกลุ่มนี้จะเน้นการลงทุนในธุรกิจที่เค้าเข้าใจที่มาของกำไร และ อนาคตของบริษัทนั้นครับ ดังนั้นกลุ่มนี้ก็จะเน้นการลงทุนน้อยตัว เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงก็จะลงทุนหุ้นสัก 3-10 ตัวโดยส่วนมากครับ
2. การกระจายความเสี่ยงแบบ Focus แบบนี้ก็คือแนวคิดของกูรูทาง value investment ที่จะมีแนวคิดหลักๆว่า "ถ้าเราวิเคราะห์กิจการใดๆแล้ว จนเราเข้าใจในความเป็นไป และ ความเจริญเติบโตของบริษัทแล้วนั้น ก็ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปลงทุนในบริษัทที่เราไม่เคยเข้าใจมันเลยเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง" แนวคิดของกลุ่มนี้จะเน้นการลงทุนในธุรกิจที่เค้าเข้าใจที่มาของกำไร และ อนาคตของบริษัทนั้นครับ ดังนั้นกลุ่มนี้ก็จะเน้นการลงทุนน้อยตัว เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงก็จะลงทุนหุ้นสัก 3-10 ตัวโดยส่วนมากครับ