รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
kpboy
Verified User
โพสต์: 40
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คุณ ฮง ครับ

ผมได้คอยตามอ่านกระทู้ของคุณฮงมาหลายกระทู้อยู่เหมือนกัน แต่ละอันก็ให้ข้อคิดดีๆ กับคำถามเยี่ยมๆให้ผมได้พัฒนามุมมองไปได้เยอะเลยครับ

ทีนี้หลังจากติดตามอยู่นาน เริ่มรู้สึกว่าช่วงนี้คุณฮงให้ความสำคัญกับ macro economics ค่อนข้างเยอะใช่มั๊ยครับ ทีนี้ผมเลยขออนุญาตถามคำถามที่ติดค้างในใจกับคุณฮงบ้างน่ะครับ กรุณาอย่าติว่าคำถามผมบ้องตื้นไปเลยนะครับ ถือว่าให้วิชาคนไม่ค่อยรู้ละกันนะครับ อิอิ

1. ทำไมคุณฮงถึงหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องmacro economics เยอะขึ้นครับ โดยเฉพาะเรื่อง fundflow น่ะครับ เท่าที่ผมตามอ่าน ก็คือเหมือนกับว่าสิ่งพวกนี้จะบ่งบอกถึง จังหวะ ในการซื้อขาย หรือครับ และนอกจากเรื่องนี้แล้ว macro economics ในความหมายของคุณฮง ยังให้อะไรกับเราได้อีกครับ

2. แล้วอย่างนี้ สำหรับคุณฮงตอนนี้ คิดว่าสิ่งไหนมีน้ำหนักมากกว่ากันครับ ระหว่าง ภาพรวมของเศรษฐกิจ กับพื้นฐานของกิจการครับ คือ หากว่าคุณฮงให้น้ำหนักกับภาพรวมของเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ในขณะที่ VI ท่านอื่นอาจสนใจเรื่อง พื้นฐานกิจการมากกว่า ก็แสดงว่าคุณฮงต้องมั่นใจในระดับหนึ่งว่า สำหรับคุณฮงแล้ว การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจ นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแม่นยำใช่มั๊ยครับ

3. อันนี้ต่อมาจากข้อสองครับ ก็คืออย่างนั้นจะขออนุญาตถามกันโต้งๆเลยอ่ะครับว่า ตัวแปรอะไรบ้างที่คุณฮงคิดว่ามีประสิทธิภาพในการคาดเดา macro economics และสามารถส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นได้น่ะครับ ในตอนนี้ตัวหนึ่งที่คิดว่าแน่ๆคือ fundflow ใช่มั๊ยครับ นอกจากคุณฮงแล้วก็เห็นมีอีกหลายท่านที่พูดถึงตัวนี้ไว้น่ะครับ แล้วนอกจากfundflow แล้วปัจจัยตัวอื่นมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดครับ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค หรือราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์น่ะครับ

4. ย้อนกลับมาที่เรื่องfundflow อีกรอบนะครับ คำถามสั้นๆ คือ มันคืออะไรกันแน่ครับ คือเม็ดเงินของต่างชาติที่ไหลเข้าออกจากประเทศเรารึเปล่าครับ แล้ววิธีดูfundflowที่มีประสิทธิภาพนี่คือต้องเข้าไปดูข้อมูลตัวไหน ยังไง และดูจากที่ไหนเหรอครับ

เห็นหลายท่านพูดไว้ว่าวิธีดูfundflow ก็คือดูยอดซื้อขายของต่างชาติรึเปล่าครับ นั่นก็คือมองแค่ในมุมของตลาดหุ้นพอ รึเปล่าครับ (ซึ่งหากใช่แล้ว คนมือใหม่แบบผมต้องเข้าไปหาข้อมูลที่ไหนครับ) แล้วอีกนิดครับ การที่ยอดซื้อต่างชาติเป็นบวก มันจะแสดงว่าfundflowกำลังไหลเข้าได้เหรอครับ ในเมื่อ ณ เวลาที่เราได้รับข้อมูล มันก็เป็นอดีตไปแล้ว ไม่ได้การันตีว่าต่างชาติซื้อสุทธิมาตลอดแปลว่า จะต้องซื้อต่อในวันรุ่งขึ้นนี่ครับ หรือว่าเราต้องไปดูยอดซื้อขายของfuture indexด้วยครับ

แต่ว่าการมองแค่ในมุมของตลาดหุ้นอย่างเดียวเพียงพอจริงๆรึเปล่าครับ เพราะในความเป็นจริงๆ เงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าออกในประเทศไทย เค้าคงไม่ได้ทำเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นอย่างเดียวเป็นแน่ พอจะจำได้บ้างว่าอาจารย์เคยสอนว่า จะดูว่าเงินไหลเข้าหรือออก ให้ดู interest rate กับ exchange rateน่ะครับ ดังนั้นหากว่าสรุปยอดการซื้อขายของต่างชาติเป็นบวก แต่interest rateกลับลดลง มันจะแสดงว่า fundflow จะไหลเข้าหรือออกครับ



เอ่อ ถามซะค่อนข้างมาก แถมไม่แน่ใจว่าตัวเองพิมพ์วกวนรึเปล่าอีก หากว่าผมทำให้สับสน ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้านะครับ และหากจะกรุณาบอกข้อสงสัยในคำถามขอบผม จะกราบขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ ยังไรบกวนคุณฮง หรือผู้มีความรู้ท่านอื่นช่วยตอบข้อสงสัยด้วยครับ


ขอบคุณมากๆครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

kpboy เขียน:คุณ ฮง ครับ


จะกราบขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ ยังไรบกวนคุณฮง หรือผู้มีความรู้ท่านอื่นช่วยตอบข้อสงสัยด้วยครับ

ก่อนอื่นอยากบอกว่าไม่จำเป็นถึงขนาดต้องกราบขอบพระคุณหรอกครับ

ผมเข้าใจว่าก่อนหน้านี้ผมมีเรื่องค้างคาใจบางอย่าง

เวลาโพสบางกระทู้

ทำให้ภาพพจน์อาจดู ดุดันไปบ้าง

แต่ที่จริงผมก็คุยเล่นได้นะครับ

ไม่อยากให้คุยกันแล้วต้องเก็งจนเกินไปน่ะครับ

ก่อนอื่นขอฝอยรวมๆก่อนตอบคำถามแล้วกันนะครับ


(ก่อนอื่นออกตัวก่อนว่าผมความเห็นของผม

ถ้ามีถูกกับจริตของบางท่านก็ต้องขอโทษด้วยนะครับ)

เนื่องจากคำถามข้างบนค่อนข้างซับซ้อนเล็กน้อย

ขอทยอยตอบให้เรื่อยๆนะครับ ขอฝอยเรื่องตัวเอง
ก่อนนะครับ หวังว่าจะไม่ว่ากัน

ผมจะเล่าตั้งแต่ผมมวยวัดจนผมเป็น vi และเป็นกึ่งๆ trader ในปัจจุบันนะครับ

ผมเริ่มเข้ามาในตลาดหุ้นประมาณ 4 ปี เข้ามาเกือบๆปี 2548

ตอนแรกๆ ผมเป็นนักเก็งกำไรที่เละเทอะมาก

ผมเข้าออกบ่อยและไม่ทราบพื้นฐานของหุ้นที่ผมเข้าไปซื้อขาย

ต่อมาผมก็ขาดทุนไปประมาณ 15% หลังจากที่เล่นมาได้ 1 ปี

และผมก็เปลี่ยนเป็นแนว vi โดยผมเริ่มไปแกะงบการเงิน

โดยหุ้นที่ผมเริ่มซื้อแบบ vi ตัวแรกคือหุ้น se-ed ตอนนั้นจำได้

ว่าผมดูงบรายไตรมาสของ se-ed กำไรโตมาก น่าจะซักแถวๆ 50%-60% แต่ราคาหุ้นนิ่งๆอยู่แถว 6.30 ผมก็ได้ทยอย

เข้าไปซื้อๆๆ จนงบปีออกมาซักพักหุ้นก็วิ่งไปที่ แถวๆ 8.7-9 บาท

ใช้เวลาแค่แป๊ปเดียวเอง

นับเป็นความประทับใจครั้งแรกของผมที่ทำให้ผมต้องหลุมรัก vi

ว่านี้เป็นศาสตร์ที่ใช้เหตุและผล ตอนนั้นผมไปเรียนแกะงบกับ

กับอาจารย์ ธนเดช มหโภไคย

ผมจำได้ว่าผมมาดูงบ se-ed แล้วผมประทับใจ

(ในอดีต) เพราะมี balance sheet ที่ strong มาก

ในแง่ของ หนี้สินที่น้อย จำได้ว่าคำนวณ interest coverage ratio ออกมาได้สูงมากๆ และมี asset turnover ที่สูงและมีปันผลสูง บวกกลับมีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง

และผมก็ดูแล้วความแน่นอนเรื่องรายได้นั้นสูงมากและ

se-ed มี market share อันดับหนึ่ง

ผมเลยซื้อลงทุนอยู่ซักพักนึง

และผมก็ได้เข้า course อบรมเรื่องบัญชี biz model

และการวิเคราห์ธุรกิจต่างๆ มาตลอด

ในตอนนั้นผมคิดว่าผมเจอแล้ว vi นั้นเอง

ทุกวันนี้ผมคิดว่า ผมยังใช่แนวทางของ vi ในการเล่นหุ้น

แต่ผมไม่ได้มีปรัชญาว่า ผมไปลงทุนกับธุรกิจ

ผมคิดแค่ว่า ธุรกิจนี้ดูแล้วถูกแล้วหุ้นน่าจะขึ้น

โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี แต่ผมไม่เคยคิดว่าผมไปร่วมเป็นเจ้าของอะไรทั้งนั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ต่อๆ ฝอยต่อก่อน

ผมเล่นหุ้นในแนวทาง vi ไปซักพักจนผมได้เจอเรื่องบางอย่าง

ที่ทำให้ผมรู้สึกว่าผมต้องค้นหาตัวเอง

ผมไปร่วมงานจิบเบียร์ของ thaivi ที่ร้าน in love

และตอนนั้นพี่เจ๋งได้แนะนำให้ผมคุยกับบุคคลท่านนึง

ซึ่งเก่งมาก จริงๆแล้วอย่าเรียกว่าคุยเลย

เพราะว่าท่านนั้นเล่าให้ผมฟังอย่างเดียว ผมในตอนนั้น

ความรู้แค่หนวดกุ้ง ได้แต่เจียมตัวนั่งฟังอย่างใจจดใจจ่อ

ท่านนั้นได้เล่าให้ผมฟังว่าท่านเคยผ่านตลาดหุ้นมาเป็นสิบๆปี

และท่านก็เล่าให้ฟังว่าท่านเคยซื้อขายหุ้นอะไรบ้าง

เช่น kk-w3 ซื้อเพราะอะไรขายเพราะอะไร

ผมคิดว่าบุคคลท่านนี้มีประสบการณ์ที่โชกโชนมาก

ท่านพุดกับผมว่า

คุณอยู่ในตลาดหุ้น คุณต้องมีแนวทางของตัวเอง

เป็นสไตล์ของคุณ หรือเรียกว่า find your way

ผมฝังใจกับคำนี้มาก คำว่ามีแนวทางของตัวเอง

กลับมาบ้านผมก็นั่งคิดนอนคิดว่าจริงๆแล้วสิ่งที่ผมทำอยู่

(vi) ในตอนนั้นมันใช่ทางที่ผมชอบจริงไหม

แต่ผมก็คิดว่านักลงทุนที่รวยที่สุดในโลกก็ยังมาจากแนวทางนี้เลย

และตั้งแต่ผมเป็น vi ผมก็ได้ผลตอบแทนที่ดีนี้นา



จนอีกซักประมาณ 1ปีครึ่งหลังจากนั้น

ผมได้เจอกับนักลงทุนอีกท่านนึง

ก็พูดทำนองเดียวกันว่า เขาดูจากสิ่งทีผมพูดแล้ว

วิธีการของผมยังครึ่งกลางๆอยู่

ผมก็เลยคิดว่าผมยังหาสิ่งที่เหมาะกับนิสัยของผม

จริงๆผมต้องบอกก่อนว่า

ผมไม่ได้คิดว่า vi ไม่ดีอะไร ทุกวันนี้ผมใช้หลักการวิเคราห์ธุรกิจ

และการดูงบการเงินของ vi ในการวิเคราห์หุ้น

แต่ผมใช้เรื่องเม็ดเงินในการดูจังหวะเข้าออก
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

kpboy เขียน:
1. ทำไมคุณฮงถึงหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องmacro economics เยอะขึ้นครับ โดยเฉพาะเรื่อง fundflow น่ะครับ เท่าที่ผมตามอ่าน ก็คือเหมือนกับว่าสิ่งพวกนี้จะบ่งบอกถึง จังหวะ ในการซื้อขาย หรือครับ และนอกจากเรื่องนี้แล้ว macro economics ในความหมายของคุณฮง ยังให้อะไรกับเราได้อีกครับ


ขอบคุณมากๆครับ

ตอบเลยแล้วกันฝอยมาเยอะแล้ว

ขอย้ำว่าเป็นความเห็นของผมซึ่งอาจไม่เหมือนบางท่านนะครับ

จริงๆแล้วถ้าเราดูมวย จะมีนักชก 2 แบบ

เรียกว่า infighter และ outboxer

แบบแรกคือ หมัดหนัก อึด
แบบที่สอง คือ คล่องตัว พร้ว ลีลาดี

เราสามารถเป็นนักมวยแบบไหนก็ได้

ตามสภาพร่างกายและการฝึกฝนของเรา

ซึ่งไม่มีคำตอบตายตัวว่าวิธีไหนดีกว่าวิธีไหน

เพราะแชมป์โลกสามารถเป็นแบบไหนก็ได้

ขอเพียงน็อคคู่แข็งหรือชนะคะแนนได้ก็พอ

ถ้าเราพูดถึงมูลค่าของหุ้น

เราจะนึกถึง model ของ dcf

ซึ่งมันจะมาจาก wacc และ present value of all future free cash flow

ถ้าถามว่าทำไมผมถึงสนใจเศรษฐกิจเพราะว่า
มูลค่าของหุ้นนั้นภาวะเศรษฐกิจมีผล
จริงๆแล้ว wacc นั้นจะประกอบด้วย capm อยู่ในนั้น

ซึ่งมันก็คือ risk free rate +(return market-risk free rate)
*beta

ถ้าสมมุติว่าตัว risk free rate คือ พันธบัตรอายุ 10 ปี

ถ้าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ตัว risk free rate จะเพิ่ม
ทำให้ capm เพิ่ม และทำให้ wacc เพิ่ม
และทำให้มูลค่าหุ้นตก
เพราะ discount rate สูงขึ้น

แสดงว่าถ้าบริษัทนึงพื้นฐานเหมือนเดิมหมด แต่ดอกเบี้ยเพิ่มหรือลด ก็ทำให้มูลค่าหุ้นที่คิดจากกระแสเงินสดสามารถลดหรือเพิ่มได้

นี้เป็นตัวอย่างว่าทำไมภาวะเศรษฐกิจถึงส่งผลกระทบกับการประเมินมูลค่าหุ้น

อันทีว่านี้เป็นทฏษฏี

แต่ถ้าแนวจิตวิทยาแบบง่ายๆก็คือว่า

สมมุติว่าหุ้นที่ผมถืออยู่ถูกถือโดยกองทุน

แล้วเศรษฐกิจไม่ดีผมเลยคิดว่าหุ้นที่ผมถืออยู่เป็นหุ้นที่ธุรกิจ

ไม่ค่อยได้รับผลกระทบ

แต่ว่า กองทุนบางกองเวลาเข้ามาลงทุน

สมมุติว่าเขาต้อง weight หุ้นกลุ่มสื่อสาร 10%

ค้าปลีก 10%  พลังงาน 20%

ถ้าหุ้นพลังงานราคาลดลงเยอะๆ จะกลายเป็นว่า

portfolio ของเขา weight หุ้นค้าปลีก กับ สื่อสารเพิ่ม

ทำให้เขาต้องขายบางส่วน เพื่อให้ balance กับนโยบาย

ว่าลงทุนในหุ้นกลุ่มไหนไม่เกินกี่% ของ port

แบบนี้ถ้าภาพรวมเศรษฐกิจไม่ดี แล้วหุ้นส่วนใหญ่ของผมลง

แล้วหุ้นของผมกองทุนถือ ผมก็มีความเสี่ยงที่จะถูกขายแบบ

across the board หรือ เทกระจาดอย่างทั่วถึง

แนวคิดข้างต้นเป็นตัวอย่างอีกแบบที่ผมคิดว่าเศรษฐกิจไม่ดี

กำไรโดยรวมลด หุ้นเรามีความเสี่ยงถูกเทขาย

บางท่านอาจจเถียงว่า ตัวที่ไม่กระทบคนอาจจะเอาเงินมาหลบไว้สิ

แต่เท่าที่ผมดูแล้ว ปีที่แล้วหุ้นที่ราคาตอนปลายปีมากกว่าตอนต้นปีนั้นมันมีน้อยมากๆ

บางท่านเป็นคนเก่งเลยกล้าที่จะถือหุ้นโดยไม่สนใจภาพรวมหรือภาวะตลาด

แต่ผมไม่มั่นใจในความสามารถ stock selection ของตัวเอง

ในเคยโพสไว้ในห้องของพี่ลูกอีสานว่า

ตะก่อนตอนเศรษฐกิจแย่มากๆ หุ้น makro มี premium สูงมาก

สมมุติ pe ตลาด 5 เท่า makro pe 15 เท่า

แต่พอปี 2546 หุ้นเป็นกระทิง pe ของตลาดและของ makro

แทบจะเท่าๆกัน

มันก็ทำให้ผมคิดว่าภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกันจะทำให้หุ้นแต่ละกลุ่มมีความน่าสนใจไม่เหมือนกัน

และ ถ้าเราสนใจจะเล่นหุ้น cyclical อย่าง น้ำมัน หรือ

cyclical economic อย่าง ยานยนต์และ อสังห

การที่เราเก่ง macro economic จะทำให้เรา

มีเพิ่มแต้มต่อในการเล่นหุ้นหลายๆกลุ่ม

ที่ demand มาพร้อมกับรอบเศรษฐกิจ

จบข้อแรก วันนี้พอก่อนนะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

hongvalue เขียน:
พิมพ์ผิดต้องบอกว่า wacc กับ future free cash flow

เพราะ present value of all future free cash flow
มันต้องเอา future free cash flow มา discount ด้วย
wacc อีกที
kpboy
Verified User
โพสต์: 40
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คุณฮงเข้ามาตอบเร็วมากจนผมตกใจเลยครับ

ติดตามอ่านด้วยใจจดจ่อครับ

ขอบพระคุณที่สละเวลาเป็นวิทยาทานให้ผมและเพื่อนๆมือใหม่อีกหลายๆท่านนะครับ

ขอบคุณมากๆครับ
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ยาวๆเลยครับพี่ฮง กะทู้นี้

ขอบคุณพี่ kpboy ที่มาเปิดประเด็นให้  :lol:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
ภาพประจำตัวสมาชิก
kornjackrit
Verified User
โพสต์: 1524
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณเช่นกันครับ

คุณ hongvalue ถามคำถามที่ผมชอบหลายคำถามเหมือนกันครับ
แอบอ่านมานาน แหะๆ

:cheers:  :cool:
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
smith_sanguan
Verified User
โพสต์: 3348
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

พี่ฮงครับ ขยันเขียนจริงๆ อ่านแล้วยังเหนื่อยแทบครับ 555
kpboy
Verified User
โพสต์: 40
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ช่วงนี้เหตุการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย เครียดมากครับ ได้เข้าบ้าง ไม่ได้เข้าบ้าง

สงสัยคุณฮงเองก็คงไม่มีอารมณ์เขียนเหมือนกัน


ขอให้ทุกๆท่านทำใจดีๆนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

kpboy เขียน:2. แล้วอย่างนี้ สำหรับคุณฮงตอนนี้ คิดว่าสิ่งไหนมีน้ำหนักมากกว่ากันครับ ระหว่าง ภาพรวมของเศรษฐกิจ กับพื้นฐานของกิจการครับ คือ หากว่าคุณฮงให้น้ำหนักกับภาพรวมของเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ในขณะที่ VI ท่านอื่นอาจสนใจเรื่อง พื้นฐานกิจการมากกว่า
คือจริงๆแล้วผมคิดว่านักลงทุนก็มีหลายแนว

ถ้าวิเคราห์จากภาพใหญ่เศรษฐกิจลงมาจะเรียกว่า

top-down

ถ้าแต่จากบริษัทขึ้นไปจะเรียกว่า

bottom-up

ผมคิดว่าอันนี้แล้วแต่คนถนัด

ผมให้ vi หลายคนก็ติดตามข่าวเศรษฐกิจเสมอ

เพราะมันมีผลต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เขาลงทุนอยู่

อันนี้อาจจะอยู่ที่ใครลงทุนในหุ้นกลุ่มไหน

ถ้าเป็นค้าปลีกก็คงจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยกว่า

เพราะว่าเป็นของที่จำเป็นต้องกินต้องใช้

แต่ถ้าเป็นยานยนต์หรืออสังหริมทรัพย์ภาพรวมเศรษฐกิจผมคิดว่า

มีความสำคัญ vi แต่ละคนก็มีหุ้นแนวที่ถนัดไม่เหมือนกันครับ

วันนี้ผมไปเจอนักลงทุนท่านนึงที่ central rama 2

เขาบอกว่าตอนนี้เขาเน้นลงทุนในหุ้นโรงพยาบาล

ที่จับลูกค้าในประเทศเป็นหลัก แล้วถ้าเศรษฐกิจดูดีขึ้น

เขาจะ switch มาเข้าหุ้นกลุ่มอื่นๆ อาทิ economic cyclical

หรือ cyclical



kpboy เขียน: ก็แสดงว่าคุณฮงต้องมั่นใจในระดับหนึ่งว่า สำหรับคุณฮงแล้ว การคาดเดาทิศทางเศรษฐกิจ นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแม่นยำใช่มั๊ยครับ
ต้องบอกว่าไม่ถึงขนาดนั้นนะครับ

ผมเองคงไม่ถึงขนาดมั่นใจว่าคาดเดาเศรษฐกิจได้แม่นยำ

พูดให้ฟังสนุกๆนะครับ

ถามว่านักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งหมายถึงนักลงทุนที่เก่งไหม

คำตอบคือไม่ใช่

ในเมืองไทยมีคนที่เขียนหนังสือเศรษฐศาสตร์ตั้งเยอะ

แต่พวกเขาก็ไม่ได้เล่นจากหุ้นนี้ครับ

เพื่อนผมจนเศรษฐศาสตร์ยังเล่นหุ้นขาดทุนเลย



ผมสรุปอย่างนี้ก่อน

นักเศรษฐศาสตร์ที่เก่ง อาจไม่ใช่ นักลงทุนที่เก่ง

นักลงทุนที่เก่ง อาจไม่ใช่ คนที่เก่งเศรษฐศาสตร์

นักลงทุนที่เก่ง  อาจจะเก่งเศรษฐศาสตร์ก็ได้

งงไหมครับ


ต่อนะครับ  

ทุกวันนี้ผมเองต้องทำการบ้านหนักมาก

ต้องไปอบรมที่ต่างๆ ต้องอ่าน research เยอะมาก

ต้องตามข่าวเยอะ

สิ่งพวกนี้เป็นการเพิ่มความน่าจะเป็นสำหรับแนวทางที่ผมใช้อยู่

ผมไปหาข้อมูลย้อนหลังว่า วิกฤติรอบก่อนๆ กินเวลานานแค่ไหน

ตลาดหุ้นกว่าจะ bottom ใช้เวลากี่ปี

การว่างงาน ism ของแต่ละรอบเป็นยังไง

หุ้นฟื้นตัวก่อนที่ gdp จะฟื้นกี่เดือน

อะไรต่างๆ ผมไม่กล้าบอกว่าผมคาดเดาได้

ผมขอใช้คำว่าผมพยายามที่จะเพิ่มความน่าจะเป็นที่ผมจะ

คาดเดาการกลับตัวได้เร็วที่สุดเท่าที่จะพอทำได้

ประมาณนี้ดีกว่า

เท่าที่ผมศึกษาดัชนีเศรษฐกิจต่างๆของวิกฤติรอบก่อนๆ

เขาบอกว่า unemployment rate เป็นดัชนี

ที่มีความช้าที่สุดในการดู

ก็คือว่า กว่า umemployment rate จะฟื้น

หุ้นจะฟื้นไปไกลแล้ว

สถิติที่ผมเคยอ่านเจอจาก ดอยแบงค์

เขาบอกว่าตัวที่เร็วทีสุดเป็น consumer condidence

คือ มันจะฟื้นทีหลังตลาดหุ้นก็จริงแต่จะไม่ช้าเท่า unemployment rate

อันนี้ผมเคยอ่านเจอเฉยๆนะ เลยมาเล่าให้ฟัง



เอาไว้ถ้าผมคิดว่ามันกลับตัวจะมากระซิบบอกให้ฟังแล้วกัน

แต่ผิดหรือถูกไม่รู้นะ

อิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

hongvalue เขียน:
แต่พวกเขาก็ไม่ได้เล่นจากหุ้นนี้ครับ

เพื่อนผมจนเศรษฐศาสตร์ยังหุ้นขาดทุนเลย




พิมพ์ผิดครับ รวยไม่ใฃ่เล่น

อีกอันจบ ไม่ใช่จนครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

kpboy เขียน:
4. ย้อนกลับมาที่เรื่องfundflow อีกรอบนะครับ คำถามสั้นๆ คือ มันคืออะไรกันแน่ครับ คือเม็ดเงินของต่างชาติที่ไหลเข้าออกจากประเทศเรารึเปล่าครับ แล้ววิธีดูfundflowที่มีประสิทธิภาพนี่คือต้องเข้าไปดูข้อมูลตัวไหน ยังไง และดูจากที่ไหนเหรอครับ

เห็นหลายท่านพูดไว้ว่าวิธีดูfundflow ก็คือดูยอดซื้อขายของต่างชาติรึเปล่าครับ นั่นก็คือมองแค่ในมุมของตลาดหุ้นพอ รึเปล่าครับ (ซึ่งหากใช่แล้ว คนมือใหม่แบบผมต้องเข้าไปหาข้อมูลที่ไหนครับ) แล้วอีกนิดครับ

ข้อ 3 ยากเอาไว้ตอบทีหลัง

เท่าที่ผมศึกษาเรื่อง fundflow มา

fundflow ไม่ได้หมายถึงเงินจาด่างประเทศนะครับ

แต่ fundflow หมายถึงการไหลของเงิน

ถ้าเป็นเงินต่างประเทศก็เรียกว่า

foreign fundflow

ถ้าเป็นในประเทศก็เรียก local fundflow

ลองไปดูปี 2003 นะครับ

ปีนั้น foreign netsell ประมาณ 20000 กว่าล้าน

local (รายย่อย)เป็นฝ่ายซื้อสุทธิ 20000 กว่าล้านนะครับ

แต่หุ้นขึ้น 100%

ตัวเลขนี้เคยมีเพื่อนสมาชิกใน tvi นำมาลงนะครับ

สามารถจับมาบวกลบกันได้ครับ

ผมทำมาแล้ว

ผมว่าถ้าเราศึกษาย้อนหลังไปนานๆ เราจะเห็นว่าบางครั้ง

local เนี้ยแหละที่ลากหุ้นจนเป็นกระทิงเต็มตัว




kpboy เขียน:แล้ววิธีดูfundflowที่มีประสิทธิภาพนี่คือต้องเข้าไปดูข้อมูลตัวไหน ยังไง และดูจากที่ไหนเหรอครับ

ถามว่าดูยังไงตรงไหน คือจริงๆแล้ว
ผมคิดว่ามันไม่มีสูตรตายตัว

ผมจะเล่าแนวคิดให้ฟัง

สมมุติว่า คุณเป็น vi แล้วคุณสนใจหุ้น growth  คุณก็ต้อง
หาข้อมูลจนทำ forecast ที่คิดว่าแม่นยำให้ได้มากที่สุด
ว่าจะ growth ซักกี่%

แต่ถ้าคุณเล่นแนวก้นบุหรี่ คุณก็ต้องเก่งในการแกะงบการเงิน


คุณจะต้องเข้าใจว่า แต่ละตัวบอกอะไรเราได้ในแง่ไหน

ถ้าอธิบายแบบ vi ก็เช่น คุณอาจจะอยากรู้ว่า

ratio ทางการเงินอะไรดีที่สุดในการดู

คำตอบคือไม่มี มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะดูแง่ไหน

ถ้าประสิทธิภาพการทำกำไร ก็ gross margin net margin
การบริหารสินทรัพย์ก็ fix asset turnover ,asset turnover
สภาพคล่องก็ current ratio,quick ratio

คือที่คุณถามมานั้น คุณไม่ได้ถามว่าจะดูอะไรในแง่ไหนเลย

มันกว้างเกินไป

ผมเลยไม่สามารถตอบให้ได้


คำถามต่อมาคือดูได้จากไหน

ก็เว็บตลาดหลักทรัพย์บ้าง แบงค์ชาตินี้จะเยอะ
จาก research บ้าง

ผมต้องบอกอย่างนึงว่า

แนวนี้หาข้อมูลยาก

คุณจะต้องมีเพื่อนฝูงที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลบางอย่าง

เร็วหรือลึกกว่าคนทั่วไปทำได้

แน่นอนว่านักลงทุนคนไหนมีข้อมูลเยอะก็ได้เปรียบ

อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา

วิธีการหาข้อมูลของผม ส่วนใหญ่จะมีเพื่อนที่ทำงานกองทุน

จะได้ research ของเกือบทุกโบรกในไทย และอีกหลายที่เป็นของต่างประเทศ

เขาจะวิเคราห์เจาะลึกมาก หลายครั้งมีการทำ test ย้อนหลัง

ทำ correlation (ความสัมพันธ์) ผมอ่านแล้วผมนั่งทำ highlight

เอาอ่านมาไม่รู้กี่พันแผ่นแล้ว

ผมก็อาศัยอ่านๆๆๆ แล้วก็ค่อยๆเรียนรู้ไปน่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

kpboy เขียน: การที่ยอดซื้อต่างชาติเป็นบวก มันจะแสดงว่าfundflowกำลังไหลเข้าได้เหรอครับ ในเมื่อ ณ เวลาที่เราได้รับข้อมูล มันก็เป็นอดีตไปแล้ว ไม่ได้การันตีว่าต่างชาติซื้อสุทธิมาตลอดแปลว่า จะต้องซื้อต่อในวันรุ่งขึ้นนี่ครับ หรือว่าเราต้องไปดูยอดซื้อขายของfuture indexด้วยครับ


ปกติแล้วต่างชาติเวลาจะเข้ามาลงทุนจะมีเงินที่จะเข้ามาซื้อค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นเขาไม่สามารถซื้อครบได้ภายในวันเดียว
ส่วนใหญ่เข้าจะซื้อๆๆจนรายย่อยกระโดดเข้ามารับแล้วมี volume
ให้เขาออก ก็จะจบกันไป

แต่ข้อควรระวังคือ บางครั้งต่างชาติ short หุ้นเอาไว้เยอะ
ทำให้เขาต้องกลับมาปิดสถานะ short ก็คือ
recovery short คืนทำให้ดูเหมือนว่าเขา net buy หุ้น
แต่จริงๆแล้วก็แค่ซือคืน ถ้าเป็นแบบนี้จะซื้อ 1-2 วันแล้วก็จบ
แล้วก็หันมา net-sell ต่อ
ซึ่งผมก็เห็นมาหลายรอบแล้วเหมือนกัน

การดู future ก็สามารถช่วยได้เหมือนกันครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

kpboy เขียน:


แต่ว่าการมองแค่ในมุมของตลาดหุ้นอย่างเดียวเพียงพอจริงๆรึเปล่าครับ เพราะในความเป็นจริงๆ เงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าออกในประเทศไทย เค้าคงไม่ได้ทำเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นอย่างเดียวเป็นแน่ พอจะจำได้บ้างว่าอาจารย์เคยสอนว่า จะดูว่าเงินไหลเข้าหรือออก ให้ดู interest rate กับ exchange rateน่ะครับ ดังนั้นหากว่าสรุปยอดการซื้อขายของต่างชาติเป็นบวก แต่interest rateกลับลดลง มันจะแสดงว่า fundflow จะไหลเข้าหรือออกครับ


เข้าใจว่าถ้าดอกเบี้ยในประเทศสูงกว่าในต่างประเทศ
จะทำให้เงินไหลเข้าเพราะว่าได้ดอกสูง

แต่ว่า เขาไม่ได้ดูแค่ดอกเบี้ยนะครับ

เขาจะดูว่าประเทศนั้นๆ มี positive real interest rate หรือว่า
negative real interset rate ครับ

แต่การดูดอกเบี้ยที่แท้จริงก็เป็นแค่ตัวแปรอย่างนึงเท่านั้นครับ

มีอีกหลาออย่างที่ต้องดู



ป.ล.ปกติผมไม่ค่อยตอบคำถามใครยาวๆขนาดนี้

แต่ดูจากคำถามว่าเห็นว่าคุณ kpboy อยากรู้จริงจัง

ผมก็เลยตอบให้เท่าที่จะคิดได้ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

[quote="i_sarut"]ยาวๆเลยครับพี่ฮง กะทู้นี้

ขอบคุณพี่ kpboy ที่มาเปิดประเด็นให้
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

kornjackrit เขียน:ขอบคุณเช่นกันครับ

คุณ hongvalue ถามคำถามที่ผมชอบหลายคำถามเหมือนกันครับ
แอบอ่านมานาน แหะๆ

:cheers:  :cool:
แหม น้องkornjackrit เด็กหนุ่มไฟแรง

รู้สึกว่าจะอายุ 19 ปีใช่ไหมครับ น่าจะพอๆกับ

น้อง i_sarut นะ 19 ปีเหมือนกัน

เด็กสมัยนี้เก่งจังเลย

smith_sanguan เขียน:พี่ฮงครับ ขยันเขียนจริงๆ อ่านแล้วยังเหนื่อยแทบครับ 555
ตัวจริงไม่ค่อยพูด แต่ในเว็บบอร์ดเขียนเก่งน่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sai
Verified User
โพสต์: 4090
ผู้ติดตาม: 2

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

มาให้กำลังใจฮง  เล่ายาวเหนื่อยไหมเนี่ย ถ้าไม่เหนื่อยมาเล่าต่อซะดีดี รอฟังอยู่  :lol:  :cool:
Small Details Make a Big Difference
ภาพประจำตัวสมาชิก
romee
Verified User
โพสต์: 1850
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

นี้สินะ ที่เขาเรียก ยิ่งให้ยิ่งได้

ใครจะไปรู้ กระทู้นี้อาจจะเป็นกระทู้คลาสสิก แบบพี่วิบูล หรือพี่ลูกอีสานก็ได้  :wink:

รออ่านอยู่นะครับ
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

[quote="hongvalue"][quote="i_sarut"]ยาวๆเลยครับพี่ฮง กะทู้นี้

ขอบคุณพี่ kpboy ที่มาเปิดประเด็นให้
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

i_sarut เขียน:
แล้วแบบนี้แสดงว่าตลาดหุ้นต้องฟื้นตัวก่อน ดัชนีพวกนี้ถึงจะตามขึ้นไปหรอครับ

ถ้าตลาดหุ้นขึ้นไปก่อน แสดงว่ามี fund flow เข้ามาซื้อ
แล้วเหตุผลไหนที่ทำให้มี fund flow เข้ามาซื้อ ในเมื่อดัชนีชี้นำต่างๆจะช้ากว่าตลาดหุ้นอะครับ
หรือว่ามีดัชนีที่ปรับตัวไวกว่าตลาดหุ้นครับ เช่น TED SPREAD ?

ใช่แล้วหุ้นจะขึ้นไปก่อน เพราะหุ้นเป็นตัวที่เร็วที่สุด

ผมเลยพยายามดูว่าในบรรดา ดัชนีที่เหลืออะไรที่เร็วกว่าตัวอื่น

อะไรที่ช้ากว่าตัวอื่น



ดัชนีชี้นำที่ผมพูดถึง เป็นดัชนีทางเศรษฐกิจนะครับ

เขานับเฉพาะพวกนี้นะครับ

Unemployment Rate
Non-Farm Payrolls
Industrial Production
ISM Manufacturing - Inventories
ISM Manufacturing - Employment
MoM Change in Non-Farm Payrolls
ISM Manufacturing - New Orders
ISM Manufacturing
Consumer Confidence
Industrial Production (MoM Change, %)


เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง บนสุดก็จะช้าหน่อย
หมายความว่ากว่าจะฟื้นตลาดหุ้นจะฟื้นไปก่อนเยอะ

แต่ผมไม่ทราบนะครับว่าเขาเก็บสถิติมายังไงบ้าง

ก็ฟังหูไว้หูเอาไว้หน่อยละกัน

ถ้าตอบในแง่เหตุผล

ปกติความเชื่อมั่นจะฟื้นก่อนแล้วทำให้คนเริ่มลงทุน
เริ่มจ้างงาน แล้วทำให้คนตกงานเริ่มลดลง
คนคงไม่จ้างงานก่อนจนคนตกงานเยอะแล้วค่อยมั่นใจมากขึ้น
หรอกนะครับ
คิดว่าจริงไหม

ฉะนั้น ถ้าเขาบอกว่าการดู consumer confidende เร็วกว่า
การดู unemployment rate ผมคิดว่าในแง่เหตุผลก็ฟังดูเข้าท่าครับ


ดัชนีชี้นำหุ้นได้ดูเท่าที่ผมศึกษามาดูแล้วเป็นเรื่อง bond มากกว่า
แต่คงไม่เล่าซ้ำที่นี้เพราะเคยพูดหลายรอบแล้วครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

สนุกๆนะครับ

มีเพื่อนสมาชิกท่านไหนอาสาอธิบายภาพนี้บ้างไหมครับ

เป็นความสัมพันธ์ของ gdp set cpi

ในรอบประมาณ 28 ปีครับ

รูปภาพ

คิดว่ายังไงบ้างครับ ความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ตัวในแต่ละช่วง

สัมพันธ์กันไหม

gdpดีแล้ว set ต้องดีจริงหรือป่าว

ตอน set ขึ้นลงในแต่ละช่วง gdp กับเงินเฟ้อเป็นยังไงบ้างเพราะอะไร ในแต่ละช่วงเกิดนโยบายเศรษฐกิจอะไรบ้าง
ตัวเลขนำเข้าส่งออกเป็นอย่างไร
ฝรั่งซื้อขายเท่าไหร่ เศรษฐกิจโลกเป็นอย่างไร
ผมเองก็อาศัยภาพนี้นั่งขุดย้อนหลังเกือบทุกช่วงมา
แต่ยังหาข้อมูลได้ไม่ครบเหมือนกัน

ดูสนุกๆก็แล้วกันครับ
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

hongvalue เขียน:gdpดีแล้ว set ต้องดีจริงหรือป่าว
ขอลองตอบนะ เหมือนได้ทำการบ้านเศรษฐศาสตร์ไปในตัว

ผมว่าจริงนะครับ

ขอตอบแบบกว้างๆนะครับ

ผมคิดว่าถ้า GDP มันโตป็นปกติดีอยู่คือโตสูงขึ้นไปเรื่อยๆ หรือโตเท่าเดิม (ไม่ติดลบ) SET จะโตตามไปด้วยแบบไปเรื่อยๆเช่นกัน

น่าจะเพราะถ้า GDP ยังขยายตัวได้อยู่ อาจจะไม่ต้องสูงมากแต่มันก็ยังโตได้ บริษัทใน SET ก็ต้องมีผลกำไรที่โตตามไปด้วยรึเปล่าครับ มันน่าจะเกี่ยวเนื่องกัน

แล้วถ้าเกิดบางช่วงที่เป็นภาวะที่คนมั่นใจกันมากๆเข้า เพราะช่วงนั้นอัตราการเติบโตสูงมาหลายๆปีติดแล้ว ทุกอย่างดูดี คนใช้จ่ายกันฟุ่มเฟือย เงินหาได้ง่ายๆ SET มันก็วิ่งฉิวขึ้นไปได้อีก(กระทิงเปลี่ยว) ไม่ดูพื้นฐานจนทำให้หุ้นมีราคาแพงมากๆ ปี 93 - 94 จากนั้นก็เริ่มปรับตัวลงมาก่อนจะเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งรุนแรงมากทำให้ GDP ติดลบ SET ก็ลงเช่นกัน

ผมว่ามันเหมือนเป็นไปตามรอบวัฏจักรเศรษฐกิจของมันนะพี่ ช่วงที่อะไรๆก็ดูดีไปหมดจนถึงจุด peak ปี 88 - 96 พอหลังจากนั้นก็เป็นช่วงเริ่มตกต่ำลงจนต่ำสุด ปี 96 - 99

วิกฤตคราวนี้ก็อาจจะคล้ายๆกันนะครับ ตอนที่ SET 800 จุด คนส่วนมากต่างก็มองไปที่ 1000 จุด เพราะก่อนที่จะถึงปี 2008 GDP ไทยก็โตได้เรื่อยๆ เพียงแต่ครั้งนี้วิกฤตเกิดจากที่ต่างประเทศ

ส่วนเงินเฟ้อนี่ อธิบายไม่ค่อยถูกครับ ดูแล้วงงๆอยู่

ขอเดาว่า ช่วงที่เงินเฟ้อสูงมากๆ SET จะแย่ครับ

ตอนปี 98 ราคาสินค้าแพงสืบเนื่องมาจากช่วงก่อนวิกฤตรึเปล่าครับที่เกิดเงินเฟ้อแบบ demand pull คนใช้จ่ายกันเกินตัวเพราะรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ตอนพอหลังวิกฤตแล้ว ราคาสินค้ายังไม่ได้ปรับตัวลงตาม แต่คนไม่มีเงินจะใช้จ่าย อันนี้ผมไม่แน่ใจนะครับ ตอนนั้นยังเด็กอยู่

แต่ตอนปี 2008 นี่เงินเฟ้อสูงเพราะ cost push ต้นทุนสูง ราคาสินค้าแพงแต่รายได้คนไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย เศรษฐกิจก็ชะงัก แล้วดันเจอวิกฤตตามมาอีก

ซึ่งผมคิดว่าเงินเฟ้อประเภทไหนก็ตาม ถ้ามันสูงมากๆ ก็ทำให้ SET แย่เหมือนกัน

เขียนไปเขียนมาเริ่มมึนแล้ว  :?

ผิดถูกยังไงพี่ฮง ชี้แนะด้วยครับ
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
kpboy
Verified User
โพสต์: 40
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

โอย ข้อมูลเยอะเหลือเกิน ไม่ได้เข้ามาแป๊บเดียวตามอ่านเกือบไม่ทัน

ขอบคุณทั้งคุณ ฮง และท่านอื่นๆทุกท่านนะครับที่เข้ามาแชร์ไอเดียกัน


เดี๋ยวผมขออนุญาตย่อยข้อมูล และทำการบ้านเพิ่มก่อนครับ แล้วจะมาร่วมพูดคุยกันต่อ (สารภาพตามตรงว่ายังอ่านได้ไม่หมดเลยครับ แต่รีบเข้ามาแสดงตัว แสดงความขอบคุณไว้ก่อน)


ขอบคุณทุกๆท่านครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Diablo
Verified User
โพสต์: 822
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

โห น่าอ่านๆ เนื้อๆทั้งนั้นเลย ขอบคุณทั้งพี่ฮงและพี่คนตั้งคำถามมากครับ  :D
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

i_sarut เขียน: ตอนปี 98 ราคาสินค้าแพงสืบเนื่องมาจากช่วงก่อนวิกฤตรึเปล่าครับที่เกิดเงินเฟ้อแบบ demand pull คนใช้จ่ายกันเกินตัวเพราะรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ตอนพอหลังวิกฤตแล้ว ราคาสินค้ายังไม่ได้ปรับตัวลงตาม แต่คนไม่มีเงินจะใช้จ่าย อันนี้ผมไม่แน่ใจนะครับ ตอนนั้นยังเด็กอยู่
ผมเข้าใจว่าเงินเฟ้อปี 1998 ไม่น่าจะเกิดจาก demand pull นะครับ เพราะเศรษฐกิจปี 1998 ติดลบมากกว่า 10% ด้วยซ้ำ

ถ้าเกิดเงินเฟ้อแบบ demand pull จริงเศรษฐกิจน่าจะโตสูงมากกว่านะ

คิดว่าน่าจะเป็นเพราะว่าลอยตัวค่าเงินแล้วทำให้สินค้าราคาแพงขึ้นมากกว่า เช่นเงินบาทจาก 25 ที่ fix เอาไว้พอลอยตัวแล้วเป็น
40-45 บาท ราคาน้ำมันก็แพงกระฉุด
และสินค้าอีกหลายอย่างก็แพงขึ้นเพราะลอยตัวค่าเงิน
เข้าใจว่างั้นนะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ถ้าให้ผมสรุปก็คือ

(ตามความเห็นของผม)

ดูจากอดีตแล้ว gdp สัมพันธ์กับ set ระดับนึง

เพื่อให้ง่ายต่อการดูผู้ทำเอกสารจึงทำเส้นแบ่งเป็นช่วงๆ

เพื่อง่ายต่อการเปรียบเทียบ

แต่ผมจะตั้งข้อสังเกตุบางอย่างเอาไว้ก็คือว่า

หลายครังที่ gdp โตน้อย หรือ โตปกติ แต่ตลาดหุ้นวิ่งฉิว

ติดจรวด ลองดูในภาพ

แสดงว่าการที่หุ้นจะวิ่งได้เยอะๆ มันต้องมีอะไรที่มากกว่าแค่ gdp โตสิ

เช่น ช่วงกลางปี 88-90 gdp ตกแต่หุ้นวิ่ง

ผมว่านะ แค่เราคาดการณ์แนวโน้ม gdp ก็ยากแล้ว

แล้วถึงเราจะคาดได้ใกล้เคียง เราก็ไม่มีทางรู้ว่า

หุ้นจะตอบสนองยังไง

เช่น ช่วงกลางปี 88-90 gdp ตกแต่หุ้นวิ่ง

หรือบางช่วง gdp โตนิดหน่อยหุ้นวิ่งเยอะ

เรื่อง gdp ผมไม่ค่อยเอามาดูเท่าไหร่ครับ

ก็ขนาดนักเศรษฐศาสตร์ยังคาดผิดเลย

ผมจะไปคาดถูกได้ยังไง

ถึงผมจะเป็นนักดู fundflow แต่ผมแทบไม่เคย

เอา gdp มาวิเคราห์เลย เพราะมันมักจะช้าเกินไป

และคาดการณ์ยาก

เราอาจจะเห็นเหมือนว่าเส้นมันสัมพันธ์กันแต่ความเป็นจริงหุ้นก็วิ่งก่อน กว่าคุณจะรู้ว่า gdp ประกาศออกมาเท่าไหร่
หุ้นก็วิ่งไปก่อนแล้วไง เพราะหุ้นเปิดทุกวันแต่ gdp ต้องรออีกเป็นเดือนๆถึงจะรู้ของงวดก่อน

นี้เป็นการ set ภาพย้อนหลังเลยดูเหมือนมันสัมพันธ์

55 ผมขอสรุปแค่นี้แล้วกันนะครับ

อาจจะมั่วๆหนอ่ยนะ อย่าถือสา
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

kpboy เขียน:3. อันนี้ต่อมาจากข้อสองครับ ก็คืออย่างนั้นจะขออนุญาตถามกันโต้งๆเลยอ่ะครับว่า ตัวแปรอะไรบ้างที่คุณฮงคิดว่ามีประสิทธิภาพในการคาดเดา macro economics และสามารถส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นได้น่ะครับ ในตอนนี้ตัวหนึ่งที่คิดว่าแน่ๆคือ fundflow ใช่มั๊ยครับ นอกจากคุณฮงแล้วก็เห็นมีอีกหลายท่านที่พูดถึงตัวนี้ไว้น่ะครับ แล้วนอกจากfundflow แล้วปัจจัยตัวอื่นมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดครับ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค หรือราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์น่ะครับ

ผมตอบให้ครบทุกข้อแล้วนะครับ

กว่าจะครบเล่นเอาเกือบ 1 หน้าทีเดียว

คำตอบข้อ 3 คือ

3.ผมว่าการคาดการณ์ macro economic เป็นเรื่องยาก

เราคงคาดได้แค่แนวโน้มรวมๆ แต่จะบวกหรือลบเท่าไหร่

ไม่มีทางรู้

ผมเคยพูดว่าผมศึกษาเศรษฐศาสตร์เพื่อเอามาดูเรื่องเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจ

แต่ไม่เคยบอกว่าศึกษาเพื่อเอามาคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ

พูดไปแล้วก็เหมือน ผมไปเรียนเรื่องวิเคราห์งบการเงิน

ผมเรียนเพื่อเอามาแกะงบ ไม่ได้เรียนเพื่อเอามาทำงบให้บริษัท
จำกัดหรือบริษัทมหาชน

อะไรที่ไม่เกี่ยวกับการเอามาลงทุนโดยตรงผมจะไม่ให้น้ำหนักมากนัก

ผมคิดว่าการคาดการณ์เศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของนักเศรษฐศาสตร์

ไม่ใช่นักลงทุน

แนวทาง fundflow เพียงแต่เอา

ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ในบางส่วนมาประยุกต์ในการซื้อขายหุ้นเท่านั้นเอง ไม่จำเป็นต้องไปทำหน้าที่แทนนักเศรษฐศาสตร์ครับ

ส่วนเรื่องที่ว่าผมดูอะไรบ้าง ก็ต้องตอบว่าดูเยอะมาก

แล้วส่วนใหญ่ก็เคยเล่าไปแล้วด้วย

ราคาน้ำมันผมก็ดู

อาจจะเช็กสถานะในตลาด future ว่า netlong หรือ netshort

เยอะมากน้อยแค่ไหน ความสัมพันธ์เป็น contango หรือ backwardtation

หวังว่าจะช่วยให้ความกระจ่างได้นะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2455
ผู้ติดตาม: 1

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

เปิดหูเปิดตาครับ :cool:  :cool:  :cool:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

hongvalue เขียน: ผมเข้าใจว่าเงินเฟ้อปี 1998 ไม่น่าจะเกิดจาก demand pull นะครับ เพราะเศรษฐกิจปี 1998 ติดลบมากกว่า 10% ด้วยซ้ำ

ถ้าเกิดเงินเฟ้อแบบ demand pull จริงเศรษฐกิจน่าจะโตสูงมากกว่านะ

คิดว่าน่าจะเป็นเพราะว่าลอยตัวค่าเงินแล้วทำให้สินค้าราคาแพงขึ้นมากกว่า เช่นเงินบาทจาก 25 ที่ fix เอาไว้พอลอยตัวแล้วเป็น
40-45 บาท ราคาน้ำมันก็แพงกระฉุด
และสินค้าอีกหลายอย่างก็แพงขึ้นเพราะลอยตัวค่าเงิน
เข้าใจว่างั้นนะ
อืมม ครับ ผมยังมองไม่กว้างพอลืมเรื่องนี้ไป   :)

ผมว่านักเศรษฐศาสตร์ก็เหมือนเป็นหมอดูทางด้านเศรษฐกิจนะครับ คาดเดาไปตามตัวเลขที่คาดการณ์ แต่ไม่มีทางถูกเป๊ะๆ ใครใกล้สุดก็ดังเลย

เหมือน ดร.นิเวศน์ เคยเขียนบทความไว้เหมือนกัน น่าจะเรื่อง สบู่ทุกก้อน มั้งครับ ที่ว่านักเศรษฐศาสตร์เก่งพอๆกันหมด เพียงแต่เพราะภาพลักษณ์ภายนอกที่ทำให้ดูเหมือนจะเก่งไม่เท่ากัน
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
โพสต์โพสต์