ขอถามเรื่องการฝากงานหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 41
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามเรื่องการฝากงานหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1
ไม่รู้ว่ามันถูกห้องหรือป่าว
แต่สงสัยมานานละ
ว่าถ้าผมไม่มีเส้นมีสาย ไม่รู้จักใครเลย แต่บังเอิญผม เป็นผู้ถือหุ้น ที่ติดอันดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (คือหุ้นที่ได้ ได้จากการซื้อในตลาด) สมมุติว่าถือหุ้นสัก 1-2% เนี่ย ผมสามารถฝากน้องผม หรือตัวผม เข้าไปทำงานที่บริษัทนั้นได้ไหมครับ เอาแค่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการธรรมดา ทำงานตามสาขาที่จบมา
ไม่ทราบว่าสามารถทำได้ไหม ในทางปฏิบัติเค้าทำกันยังไง
แต่สงสัยมานานละ
ว่าถ้าผมไม่มีเส้นมีสาย ไม่รู้จักใครเลย แต่บังเอิญผม เป็นผู้ถือหุ้น ที่ติดอันดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (คือหุ้นที่ได้ ได้จากการซื้อในตลาด) สมมุติว่าถือหุ้นสัก 1-2% เนี่ย ผมสามารถฝากน้องผม หรือตัวผม เข้าไปทำงานที่บริษัทนั้นได้ไหมครับ เอาแค่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการธรรมดา ทำงานตามสาขาที่จบมา
ไม่ทราบว่าสามารถทำได้ไหม ในทางปฏิบัติเค้าทำกันยังไง
-
- Verified User
- โพสต์: 41
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามเรื่องการฝากงานหน่อยครับ
โพสต์ที่ 4
ในทางปฎิบัตื มีใครเคยทำ หรือว่าเค้าทำกันยังไงครับ ก็ไหนบอกว่าผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของไง ดูอย่างของ BBL ตระกูลโสภณพนิช ก็ถือหุ้นแค่ 10 กว่า % เอง ยังได้เป็นถึงผู้บริหาร อันนี้เราแค่เป็นพนักงานปฎิบัติการเท่านั้น เค้าไม่รับคนของเรา เค้าก็รับคนอื่นอยู่ดี
-
- Verified User
- โพสต์: 272
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามเรื่องการฝากงานหน่อยครับ
โพสต์ที่ 5
ชาติศิริ โสภณพนิช คือ ผู้มีสิทธิมาตั้งแต่เกิด สำหรับการเป็นผู้นำในธนาคาร ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ต่อจากบิดาของเขา ชาตรี โสภณพนิช แต่ชาติศิริจะต้องทำงานหนัก เขามีบุคลิกภาพ ที่อ่อนโยน และ เขาก็ปรารถนา ที่จะได้รับการนับถือจากพนักงาน และลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ
ชาติศิริได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2537 แทน ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ถือเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลโสภณพนิช ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในธนาคารเก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันชาติศิริ จะอยู่ในฐานะแม่ทัพใหญ่ แต่ด้วยประสบการณ์ ที่ยังต้องพิสูจน์ ทำให้อำนาจ ที่สมบูรณ์ หรือ "absolute power" ยังไม่ได้อยู่ในมือของชาติศิริเสียทีเดียว
จากการที่ชาติศิริก้าวเร็วเช่นนี้ ทำให้ถูกบีบคั้นให้แสดงความสามารถพิเศษอะไรบางอย่างออกมา ซึ่งเขาต้องเรียนรู้ และทำงานอย่างหนัก เพื่อพิสูจน์ตัวเอง
แม้แต่ชาตรีก็ได้กล่าวถึงลูกชายไว้ในจดหมายเหตุจากประธานกรรมการว่า "สำหรับตัวชาติศิริเอง ถึงแม้ว่าเขาจะพร้อมด้วยคุณสมบัติ ที่เราต้องการ แต่เนื่องจากเขามาเกิดในตระกูลโสภณพนิช และเป็นลูกชายของผม ความกดดันจากภายนอกจึงดูมีสูงกว่า ที่ควรจะเป็นมากทีเดียว เขาจะต้องใช้ความพยายาม เพื่อพิสูจน์อะไรหลายๆ อย่างมากขึ้นกว่าจะได้รับการยอมรับว่าเป็น นักบริหารมืออาชีพอย่างแท้จริง"
ชาติศิริ เกิดวันที่ 12 พฤษภาคม 2502 เป็นลูกชายคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คนของชาตรี โสภณพนิชกับคุณหญิงสุมนี โสภณพนิช
พื้นฐานการศึกษาของชาติศิริถือเป็นคนเรียนดีคนหนึ่ง ที่สามารถคว้าปริญญาตรีเกียรตินิยมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เคมีจาก Warchester Polytechnic Institute Cambridge และ ปริญญาโทสาขา เดียวจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) Cambridge และปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) จาก Sloan School of Management
ชาติศิริเริ่มทำงาน ที่ซิตี้แบงก์ นิวยอร์ก จากนั้น จึงเดินทางกลับมาทำงาน ที่ธนาคารกรุงเทพในปี 2529 ว่ากันว่า เขาเป็นคนจริงจังกับงานมาก ขนาดมีเรื่องเล่ากันว่าครั้งอยู่ ที่ซิตี้แบงก์ ชาตรีเดินทางไปเยี่ยมลูกชาย แต่ต้องนั่งรอนานเป็นชั่วโมง เพราะลูกชายไม่ยอมออกมาพบด้วยเหตุผล "ยังทำงานไม่เสร็จ"
ชาติศิริเริ่มทำงานในธนาคารกรุงเทพในส่วนพนักงานฝึกหัดสังกัดฝ่ายการพนักงาน แล้วก็ย้ายไปเป็นดีลเลอร์อาวุโสประจำสำนักเงินตราต่างประเทศ อีก 4 เดือนให้หลังไปเป็นเจ้าหน้าที่บริหารชั้นผู้ช่วยผู้จัดการ ปี 2531 ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสำนักค้าเงินตราต่างประเทศ
1 ธันวาคม 2531 ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารชั้นรองผู้จัดการฝ่ายการตลาด เดือนกันยายน 2532 ขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด และรักษาการผู้จัดการสำนักจัดสรรเงิน อีก 7 เดือนถัดมาได้รับผิดชอบงานบริหารการเงิน และการตลาด
4 มิถุนายน 2534 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารชั้นรองผู้จัดการอาวุโส เดือนเมษายน 2535 เป็นกรรมการธนาคาร และกรรมการบริหาร อีก 2 เดือนให้หลังขึ้นเป็นกรรมการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ อีก 1 ปีต่อมาดำรงตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ เป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนดำรงตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ การใช้เวลาไม่ยืดเยื้อในการสืบทอดตำแหน่งสูงสุดดังกล่าว เกิดจากชาติศิริได้รับการฝึกฝน และบ่มเพาะวิทยายุทธ์จากปรมาจารย์ในธนาคารอย่างหนัก ซึ่งพี่เลี้ยงในยุคแรกๆ ของเขา คือ พีระพงษ์ ถนอมพงษ์พันธ์ และดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย นอกจากนี้ยังมีครูดีอย่างประยูร คงคาทอง, ดำรงค์ กฤษณามระ, ปิติ สิทธิอำนวย หรือ วิระ รมยะรูป
ดังนั้น การที่ชาติศิริมีพี่เลี้ยงคอยฟูมฟักที่ดีเช่นนี้ทำให้สามารถบริหารงานในธนาคารได้เป็นอย่างดี ประกอบกับเขาเป็นคนขยันเรียนรู้ เคารพผู้ใหญ่ และให้เกียรติคนอื่น ทำให้เส้นทางของนายธนาคารคนนี้ประสบความสำเร็จเหมือนยุคบรรพบุรุษ ซึ่งเขาก็ยอมรับตรงจุดนี้ "แม้ภาระหน้าที่จะหนัก แต่ผมไม่หนักใจเพราะในธนาคารมีผู้บริหารชั้นยอดอยู่มาก
ที่มา : http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=255
ชาติศิริได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2537 แทน ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ถือเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลโสภณพนิช ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในธนาคารเก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันชาติศิริ จะอยู่ในฐานะแม่ทัพใหญ่ แต่ด้วยประสบการณ์ ที่ยังต้องพิสูจน์ ทำให้อำนาจ ที่สมบูรณ์ หรือ "absolute power" ยังไม่ได้อยู่ในมือของชาติศิริเสียทีเดียว
จากการที่ชาติศิริก้าวเร็วเช่นนี้ ทำให้ถูกบีบคั้นให้แสดงความสามารถพิเศษอะไรบางอย่างออกมา ซึ่งเขาต้องเรียนรู้ และทำงานอย่างหนัก เพื่อพิสูจน์ตัวเอง
แม้แต่ชาตรีก็ได้กล่าวถึงลูกชายไว้ในจดหมายเหตุจากประธานกรรมการว่า "สำหรับตัวชาติศิริเอง ถึงแม้ว่าเขาจะพร้อมด้วยคุณสมบัติ ที่เราต้องการ แต่เนื่องจากเขามาเกิดในตระกูลโสภณพนิช และเป็นลูกชายของผม ความกดดันจากภายนอกจึงดูมีสูงกว่า ที่ควรจะเป็นมากทีเดียว เขาจะต้องใช้ความพยายาม เพื่อพิสูจน์อะไรหลายๆ อย่างมากขึ้นกว่าจะได้รับการยอมรับว่าเป็น นักบริหารมืออาชีพอย่างแท้จริง"
ชาติศิริ เกิดวันที่ 12 พฤษภาคม 2502 เป็นลูกชายคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คนของชาตรี โสภณพนิชกับคุณหญิงสุมนี โสภณพนิช
พื้นฐานการศึกษาของชาติศิริถือเป็นคนเรียนดีคนหนึ่ง ที่สามารถคว้าปริญญาตรีเกียรตินิยมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เคมีจาก Warchester Polytechnic Institute Cambridge และ ปริญญาโทสาขา เดียวจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) Cambridge และปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) จาก Sloan School of Management
ชาติศิริเริ่มทำงาน ที่ซิตี้แบงก์ นิวยอร์ก จากนั้น จึงเดินทางกลับมาทำงาน ที่ธนาคารกรุงเทพในปี 2529 ว่ากันว่า เขาเป็นคนจริงจังกับงานมาก ขนาดมีเรื่องเล่ากันว่าครั้งอยู่ ที่ซิตี้แบงก์ ชาตรีเดินทางไปเยี่ยมลูกชาย แต่ต้องนั่งรอนานเป็นชั่วโมง เพราะลูกชายไม่ยอมออกมาพบด้วยเหตุผล "ยังทำงานไม่เสร็จ"
ชาติศิริเริ่มทำงานในธนาคารกรุงเทพในส่วนพนักงานฝึกหัดสังกัดฝ่ายการพนักงาน แล้วก็ย้ายไปเป็นดีลเลอร์อาวุโสประจำสำนักเงินตราต่างประเทศ อีก 4 เดือนให้หลังไปเป็นเจ้าหน้าที่บริหารชั้นผู้ช่วยผู้จัดการ ปี 2531 ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสำนักค้าเงินตราต่างประเทศ
1 ธันวาคม 2531 ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารชั้นรองผู้จัดการฝ่ายการตลาด เดือนกันยายน 2532 ขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด และรักษาการผู้จัดการสำนักจัดสรรเงิน อีก 7 เดือนถัดมาได้รับผิดชอบงานบริหารการเงิน และการตลาด
4 มิถุนายน 2534 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารชั้นรองผู้จัดการอาวุโส เดือนเมษายน 2535 เป็นกรรมการธนาคาร และกรรมการบริหาร อีก 2 เดือนให้หลังขึ้นเป็นกรรมการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ อีก 1 ปีต่อมาดำรงตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ เป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนดำรงตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ การใช้เวลาไม่ยืดเยื้อในการสืบทอดตำแหน่งสูงสุดดังกล่าว เกิดจากชาติศิริได้รับการฝึกฝน และบ่มเพาะวิทยายุทธ์จากปรมาจารย์ในธนาคารอย่างหนัก ซึ่งพี่เลี้ยงในยุคแรกๆ ของเขา คือ พีระพงษ์ ถนอมพงษ์พันธ์ และดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย นอกจากนี้ยังมีครูดีอย่างประยูร คงคาทอง, ดำรงค์ กฤษณามระ, ปิติ สิทธิอำนวย หรือ วิระ รมยะรูป
ดังนั้น การที่ชาติศิริมีพี่เลี้ยงคอยฟูมฟักที่ดีเช่นนี้ทำให้สามารถบริหารงานในธนาคารได้เป็นอย่างดี ประกอบกับเขาเป็นคนขยันเรียนรู้ เคารพผู้ใหญ่ และให้เกียรติคนอื่น ทำให้เส้นทางของนายธนาคารคนนี้ประสบความสำเร็จเหมือนยุคบรรพบุรุษ ซึ่งเขาก็ยอมรับตรงจุดนี้ "แม้ภาระหน้าที่จะหนัก แต่ผมไม่หนักใจเพราะในธนาคารมีผู้บริหารชั้นยอดอยู่มาก
ที่มา : http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=255
- satantuey
- Verified User
- โพสต์: 743
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามเรื่องการฝากงานหน่อยครับ
โพสต์ที่ 9
ฝากได้อยู่แล้วครับ เพียงแต่มีหุ้นมากพอที่จะกดดัน+ใช้อำนาจในบริษัทนั้นๆได้หรือไม่ อย่างถ้าท่านมีหุ้น 1 ใน 3 ของทั้งหมด ตามกฎก็มีสิทธิเสนอวาระการประชุมเพิ่มได้ แล้วก็เสนอชื่อคนที่อยากให้ทำงานในวาระการประชุมนั้น แล้วเปิดโหวต เหอๆ :lol: :lol: ถ้า 1 % คงยังไม่พอครับ นอกจากท่านเป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียงพอให้ฝ่ายบริหารของบริษัทนั้นๆหันมามอง