ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
sathaporne
Verified User
โพสต์: 1657
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รบกวนถามผู้รู้หน่อยครับ
ไม่เข้าใจครับว่าค่าเสื่อมนี่บางทีผมก็เห็นเป็นต้นทุนขาย
บ้างก็อยู่ใน SG&A
ผมเข้าใจเอาเองว่าบริษัทที่เป็นผู้ผลิต ค่าเสื่อมจะอยู่ใน
ต้นทุนขายใช่ไหมครับ ซึ่งก็หมายความว่าบริษัทนั้นจะไม่มี
ค่าเสื่อมอยู่ในSG&Aใช่ไหมครับ หรือว่าในบริษัทเดียวกันอาจมี
ค่าเสื่อมอยู่ได้ทั้งในต้นทุนขายและ SG&A ครับ
รบกวนผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อันนี้ต้องไปดูในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
กลุ่มนี้ต้นทุนการขายมีเรื่องค่าเสื่อมของบ้านมาคิดด้วย
และพอดีพวกสินทรัพย์ของมันเองก็คิดค่าเสื่อมราคาด้วย

ลองไปดูล่ะกันครับ เห็นยากมากในกลุ่มนี้
ถ้าเป็นพวกบ้านมือสองเห็นชัดเจนมาก
:)
:)
กาละมัง
Verified User
โพสต์: 1230
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 3

โพสต์

กรณีโรงงาน  ค่าเสื่อมราคาของ

1. ตัวโรงงาน..  จะอยู่ในต้นทุน

2. ตัวอาคารสำนักงาน ...  จะอยู่ใน SG & A
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ค่าเสื่อมราคาเป็นได้ทั้ง ต้นทุนการผลิต หรือ SG&A ครับ แล้วแต่ว่า ธุรกิจใช้สินทรัพย์นั้นๆกับกิจกรรมไหน ถ้า โรงงาน ก็เข้า COGS(Cost of Goods Sold) ถ้าเป็น อุปกรณ์ตบแต่งร้าน ก็เข้า SG&A บางบริษัทในหมายเหตุงบการเงินจะแยกให้
Cost Summary 2547 % 2548 % 2549 %
แป้งสาลี 409,530.70 21.59% 435,993.98 19.72%
ไขมัน 151,111.57 7.97% 167,221.65 7.56%
น้ำตาล 51,532.79 2.72% 68,874.97 3.11%
ยีสต์ 30,588.44 1.61% 32,667.62 1.48%
สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ 118,194.44 6.23% 137,564.25 6.22%
วัตถุดิบอื่นๆ 44,278.18 2.33% 50,263.36 2.27%
บรรจุภัณฑ์ 142,585.27 7.52% 165,348.75 7.48%
Staff 372,745.00 431,186.00 22.73% 499,657.00 22.59%
Depreciation-COGS 98,819.00 103,000.00 5.43% 146,000.00 6.60%
Depreciation-SG&A 52,332.79 54,077.22 2.85% 71,502.44 3.23%
Others 361,089.32 19.03% 436,306.82 19.73%
Total Cost 1,628,268.85 1,897,173.93 100.00% 2,211,400.84 100.00%
ที่ quote มาให้เป็นที่ผมแยกต้นทุนการดำเนินงานของ PB บริษัทแยกให้ด้วยว่า Depreciation มาจาก COSG/SG&A เท่าไหร่ ผมไม่แน่ใจว่าผมเอามาบวกลบเองหรือบริษัทแยกให้เลย ทำไว้เป็นปีแล้วลืมครับ -_-'
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ปกติแล้วจะแยกส่วนครับ

สินทรัพย์ที่ใช้สำหรับการใด ค่าเสื่อมควรจะไปเป็นต้นทุนของส่วนนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณต้นทุนที่แท้จริง

- พวกเครื่องจักร อาคาร ที่ใช้ในการผลิตค่าเสื่อมควรจะรวมอยู่ในต้นทุนขาย
- อาคารสำนักงาน รถยนต์ส่งสินค้า ค่าเสื่อมควรจะอยู่ใน SG&A

บางบริษัทแยกไว้ให้เห็นในหมายเหตุประกอบงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sathaporne
Verified User
โพสต์: 1657
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ
ขอถามต่ออีกหน่อยนะครับ
สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ถ้าหากเครื่องจักรเครื่องนั้นไม่มีการผลิต
ก็จะถือว่าไม่มีค่าเสื่อมของเคี่องจักรนั้นเกิดขึ้นกับเครื่องจักรใช่ไหมครับ
อีกข้อนะครับ
จำนวนการผลิตไม่มีผลต่อค่าเสื่อมที่แชร์ลงไปให้กับสินค้าแต่ละตัวใช่ไหมครับ
(ในกรณีที่ผลิตงานแบบเดียวกัน)
เช่น ที่การผลิต 100 ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นคือ 10บาท
     ที่การผลิต 1000ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นก็ยังคงเป็น 10บาท(ไม่ใช่ 1บาท) ใช่ไหมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 7

โพสต์

คำถามน่าสนครับ :D
สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ถ้าหากเครื่องจักรเครื่องนั้นไม่มีการผลิต
ก็จะถือว่าไม่มีค่าเสื่อมของเคี่องจักรนั้นเกิดขึ้นกับเครื่องจักรใช่ไหมครับ
ที่ผมเคยเห็นคือ ถ้ายังแค่ test run เครื่องจักรนั้นยังไม่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อขาย จะยังไม่ทำประโยชน์ทางธุรกิจ เลย ไม่ตัดค่าเสือม แต่ กรณีใช้ๆอยู่แล้วหยุดใช้นี่ไม่เคยเห็นกับตานะครับ ผมเดาว่า คิดต่อ ไม่งั้นก็แต่งงบกำไรขาดทุนกันสนุกแน่ๆเลย
จำนวนการผลิตไม่มีผลต่อค่าเสื่อมที่แชร์ลงไปให้กับสินค้าแต่ละตัวใช่ไหมครับ
(ในกรณีที่ผลิตงานแบบเดียวกัน)
เช่น ที่การผลิต 100 ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นคือ 10บาท
    ที่การผลิต 1000ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นก็ยังคงเป็น 10บาท(ไม่ใช่ 1บาท) ใช่ไหมครับ
การตัดค่า Depreciation คิดกันตาม ระยะเวลา เป็นต้นทุนคงที่ ไม่ขึ้นกับปริมาณการผลิตครับ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Alastor เขียน:คำถามน่าสนครับ :D
ที่ผมเคยเห็นคือ ถ้ายังแค่ test run เครื่องจักรนั้นยังไม่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อขาย จะยังไม่ทำประโยชน์ทางธุรกิจ เลย ไม่ตัดค่าเสือม แต่ กรณีใช้ๆอยู่แล้วหยุดใช้นี่ไม่เคยเห็นกับตานะครับ ผมเดาว่า คิดต่อ ไม่งั้นก็แต่งงบกำไรขาดทุนกันสนุกแน่ๆเลย
ถ้า test run อยู่ไม่ตัดค่าเสื่อม จนกระทั่งเริ่มใช้ในการผลิตจริงๆๆ (อันนี้เข้าในส่วนของผู้ถือหุ้นตรงๆ ไม่ผ่านงบกำไรขาดทุน)
แต่ถ้าเครื่องตั้งอยู่เฉยๆๆ ไม่ได้ทำอะไร ก็คิดค่าเสื่อมเมื่อกันครับ <---มันผลิตแต่เสีย หรือปิดซ่อมโรงงานก็ยังมีค่าเสื่อมราคา ในช่วงที่ซ่อม
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
ply33
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 9

โพสต์

Alastor เขียน:คำถามน่าสนครับ :D
ที่ผมเคยเห็นคือ ถ้ายังแค่ test run เครื่องจักรนั้นยังไม่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อขาย จะยังไม่ทำประโยชน์ทางธุรกิจ เลย ไม่ตัดค่าเสือม แต่ กรณีใช้ๆอยู่แล้วหยุดใช้นี่ไม่เคยเห็นกับตานะครับ ผมเดาว่า คิดต่อ ไม่งั้นก็แต่งงบกำไรขาดทุนกันสนุกแน่ๆเลย
จำนวนการผลิตไม่มีผลต่อค่าเสื่อมที่แชร์ลงไปให้กับสินค้าแต่ละตัวใช่ไหมครับ
(ในกรณีที่ผลิตงานแบบเดียวกัน)
เช่น ที่การผลิต 100 ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นคือ 10บาท
0--- ฉลามเสือดาว ล่องลอยไปในทะเลกว้างใหญ่ ---0
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ถ้า test run เนี่ย ทางบัญชีจะถือว่า ยังไม่พร้อมใช้งาน ดังนั้นจะไม่มีการตัดค่าเสื่อมค่ะ แต่ถ้าพร้อมใช้งานแล้ว ก็จะต้องตัดทันที ไม่มีข้อแม้ ไม่เกี่ยวกับว่า ไม่ได้ผลิตแล้วจะขอไม่ตัดค่าเสื่อม เพราะนั่นเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ แต่ของซื้อมาแล้วเสื่อมค่าลงทุกวันค่ะ ต้องตัดค่า

ถ้าไม่ได้ทำการผลิต เช่นไม่มียอดขายทำให้ต้องหยุดผลิตไปนานนาน ค่าเสื่อมลงตามปกติ แต่ทางภาษีเข้าใจว่าต้องบวกกลับ ดังนั้นมีแต่ข้อเสียค่ะ ถ้ามีสินทรัพย์แต่เราไม่ใช้งาน
.....Give Everything but not Give Up.....
Pallas
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 128
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเป็นต้นทุนขายหรือ SG&A

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote="sathaporne"]
สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ถ้าหากเครื่องจักรเครื่องนั้นไม่มีการผลิต
ก็จะถือว่าไม่มีค่าเสื่อมของเคี่องจักรนั้นเกิดขึ้นกับเครื่องจักรใช่ไหมครับ
อีกข้อนะครับ
จำนวนการผลิตไม่มีผลต่อค่าเสื่อมที่แชร์ลงไปให้กับสินค้าแต่ละตัวใช่ไหมครับ
(ในกรณีที่ผลิตงานแบบเดียวกัน)
เช่น ที่การผลิต 100 ชิ้นต่อวัน-->ค่าเสื่อมต่อชิ้นคือ 10บาท
"As Above, So Below"
โพสต์โพสต์