นโยบาย "ไอซีที" (ว่าที่) รัฐบาลใหม่ มีหวังหรือแค่ล

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
K_COBAIN
Verified User
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 0

นโยบาย "ไอซีที" (ว่าที่) รัฐบาลใหม่ มีหวังหรือแค่ล

โพสต์ที่ 1

โพสต์

นโยบาย "ไอซีที" (ว่าที่) รัฐบาลใหม่ มีหวังหรือแค่ลมปากนักการเมือง
"ประชาชาติธุรกิจ" เกาะขอบเวทีเพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และนโยบายของแต่ละพรรคมาให้พิจารณาดังต่อไปนี้

21 พ.ย.2550 ชมรมนักข่าว สายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ "นโยบายไอซีที ว่าที่รัฐบาลใหม่" มีตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ มาแสดงวิสัยทัศน์ และนโยบายด้านไอซีทีอย่างคึกคัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรค "อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ" นำทีมมา ด้วยตนเอง

โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญกับนโยบายไอซีทีมาก เนื่องจากเป็นเครื่องมือในกรเข้าถึงการเรียนรู้ของประชาชนจึงมีนโยบายให้มีไอซีทีอย่างทั่วถึง โดยตั้งเป้าว่าภายใน 4 ปีจะต้องเพิ่มการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้น จากสถิติเดิมที่คนไทยมีคอมพิวเตอร์ใช้ในสัดส่วน 40 คน ต่อ 1 เครื่องในปีแรกจะลดลงให้เหลือ 1 ต่อ 25 คน และใน 4 ปีจะมีสัดส่วน 1 เครื่องต่อ 10 คนให้ได้

นอกจากนี้ จะต้องเร่งปฏิรูปองค์กรที่เกี่ยวข้องกับไอซีที โดยเร่งให้มีการจัดตั้ง "กสทช." หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสรี และเป็นธรรม เพราะปัจจุบันปัญหาค่าเอซีและไอซี (แอ็กเซสชาร์จ และ อินเตอร์คอนเน็กชั่น ชาร์จ) ยังยื้อกันอยู่จึงต้องมีองค์กรกำกับเพื่อให้เข้าสู่ระบบได้เร็วขึ้น
"การแปลงสัญญาสัมปทานจะต้องเกิดขึ้นไม่เช่นนั้นปัญหาจะไม่ยุติ และผู้ประกอบการก็จะย้ายลูกค้าไปยังบริษัทลูกเพื่อหนีปัญหา"

ดังนั้น ในปีแรกเมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาโทรคมนาคม ปัญหาภายใน บมจ. ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม แก้โดยให้เข้าไปกำกับดูแลโครงข่ายหลักของประเทศ แต่ต้องเปิดเสรีในส่วนโครงข่ายย่อยที่จะให้บริการประชาชน ขณะที่สินทรัพย์อื่นของทั้ง 2 บริษัทต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นนำไปให้บริการใหม่ๆ ซึ่งรัฐต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ขณะนี้ยังบอกรายละเอียดมากไม่ได้เพราะปัญหานี้ต้องมีการเจรจาในรายละเอียดอีกครั้ง

ขณะเดียวกัน การเปิดเสรีก็ต้องกำหนดเงื่อนไขให้เอกชนเข้าไปลงทุนโครงข่ายในพื้นที่ขาดแคลนเพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัลด้วย พร้อมกับต้องหามาตรการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจนำไอซีทีมาใช้ให้มากขึ้น โดยรัฐอาจต้องช่วยในหลายรูปแบบ อาทิ การค้ำประกันความเสี่ยงให้ รวมถึงต้องมีองค์กรวิชาชีพเข้ามาช่วยด้วย

"จริงๆ คนในพรรคหลายคนสนใจจะดูแลกระทรวงไอซีที และตนก็มีคนไว้ในใจแล้ว แต่พรรคอาจไม่ใช่คนจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ดังนั้นที่สำคัญที่สุดคือ ใครมานั่งก็ได้ ถ้าสามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงไอซีทีได้ หนุนให้เกิดการแข่งขันเสรี และเป็นธรรม รวมถึงผลักดันให้ 3 จี 4 จีเกิด"

"ดร.บุรณัชย์ สมุทรักษ์" ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์เสริมว่าปัญหาโทรคมนาคมไทยเกิดจากโครงสร้างการผูกขาดที่มีมาแต่เดิม แม้จะมีกฎหมายระบุให้เปิดเสรี แต่องค์กรที่เกี่ยวข้องไม่เคยออกระเบียบมารองรับเพื่อให้ปฏิบัติได้จริง ส่วนปัญหาสัมปทานก็แก้ไขได้ยาก เพราะมีรากฐานเดิมที่ไม่ปกติ การจะแก้ไขต้องทำด้วยความยินยอมจากทั้ง 2 ฝ่าย กระทรวงการคลังจึงอาจต้องใช้อำนาจในฐานะผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 หน่วยงานแก้ไขปัญหา ปัญหานี้จึงเป็นความท้าทายของรัฐบาลใหม่ แต่สิ่งที่พรรคจะทำในปีแรก คือการปลดล็อกปัญหา numberportability (เบอร์เดียวทุกระบบ)

ด้านพรรคเพื่อแผ่นดิน โดย ดร.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ พูดถึงนโยบายของพรรคว่ามี 4 ยุทธศาสตร์ 16 พันธกิจ 8 โครงการเร่งด่วนที่จะเร่งรัดนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมา สร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาอุตสาหกรรม โดยมุ่งพัฒนาไทยให้เป็นฮับของการพัฒนา คอนเทนต์ออนไลน์ และแอนิเมชั่น รวมถึงธุรกิจบริการอื่นๆ อาทิ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ เพื่อนำ ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย เร่งพัฒนาบุคลากร แรงงานด้านไอทีให้มีศักยภาพเพียงพอ

และเร่งนำไอซีทีมาใช้พัฒนาบริการภาครัฐ และให้มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ส่งเสริมการ รู้เท่าทันเทคโนโลยี ไม่ปล่อยให้เด็กและเยาวชนถูกครอบงำจากสื่อคอมพิวเตอร์ที่เป็นภัย พัฒนาสื่อทางเลือกให้มากขึ้น โดยจะเร่งออกกฎหมายป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้รั่วไหล หรือถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว และป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงแก้ไขกฎหมายที่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง อาทิ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้ต้องมีการบันทึกล็อกไฟล์ไว้ 90 วัน หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลบังคับใช้มานานแล้ว แต่ไม่มีกฎกระทรวงออกมารองรับ

สำหรับการแก้ปัญหาโทรคมนาคมไทยที่รัฐบาลทำได้คือ แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ต้องไม่แทรกแซงองค์กรอิสระไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ เพราะปัญหาขณะนี้ล้วนเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) หรือ กสทช. ในอนาคต ดังนั้นรัฐไม่ควรเข้าไปยุ่ง โดยวงการโทรคมนาคมกับพรรคการเมืองควรแยกจากกันโดยเด็ดขาดไม่ควรเข้าไปแตะต้อง เพราะอาจละเมิดรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจ กสทช. ไว้ แต่ถ้าองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ไม่ปฏิบัติก็จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เอง

"สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือ เร่งออกกฎหมายตั้ง กสทช. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันกำหนดมากกว่า แต่สิ่งที่สำคัญคือสิ่งที่เป็นภาระประชาชนต้องได้รับการแก้ไข จริงๆ เรื่องเอซี-ไอซี ก็มีโซลูชั่นที่นักวิชาการเสนอไว้หลายรูปแบบ แต่ไม่รู้ กทช. ทำอะไรอยู่ ดังนั้นจุดยืนของพรรค คือขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำเรื่องสรุปเข้ารัฐบาลเพื่อแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ให้เร็วที่สุด"

ดร.วุฒิพงศ์กล่าวด้วยว่าสิ่งที่จะเร่งทำ หากได้ดูแลกระทรวงไอซีที คือพัฒนาโอเพ่นซอร์ซ ให้มีฟอนต์ภาษาไทยกลางที่ใช้กับลีนุกซ์ได้ เพื่อพัฒนาซอต์แวร์ที่จะรองรับการใช้อุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอัญมณี และเร่งพัฒนา "อีโซไซตี้" เพื่อให้คนคุ้นเคยกับเทคโนโลยี รวมถึงตั้งเป้าหมายว่าต้องมีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์ของนักเรียน 1 เครื่องต่อเด็ก 10 คน โดยใช้ ค่าลดหย่อนภาษีจูงใจให้เอกชนบริจาค

ขณะที่ นายวราวุธ ศิลปอาชา ตัวแทนจากพรรคชาติไทยกล่าวว่าพรรคชาติไทยไม่ใช่พรรคที่จัดตั้งรัฐบาลแน่ แต่จะผลักดันให้มีการพลิกฟื้นโครงข่ายโทรคมนาคมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพราะขณะนี้ยังมีหลายพื้นที่ขาดแคลนจึงตั้งเป้าให้ทุกบ้านมีโทรศัพท์ใช้มีอินเทอร์เน็ตใช้ เพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัล เนื่องจากขณะนี้มีคนเพียง 14 ล้านคนเท่านั้นที่เข้าถึง แต่กลุ่มคนในชนบทที่เหลือคือพลังผลักดันประเทศที่สำคัญ

"การจะมีโครงข่ายให้ทั่วถึง ที่สำคัญตอนนี้คือ ทีโอทีต้องทำให้ได้อย่างที่พูดว่าจะลงทุนโครงข่าย ปีละ 16,000 ล้านบาท เพราะถ้าทำได้อินเทอร์เน็ตก็จะขยายไปทั่วประเทศได้ และทำให้ทีโอที อยู่รอดได้"

สิ่งที่จะทำหากได้ร่วมรัฐบาล คือศึกษาดูว่างบประมาณที่กำหนดไว้ในปี 2551 มีส่วนใดจะนำไปใช้เรื่องไอซีทีได้บ้าง ซึ่งคิดว่าหัวหน้าพรรคที่เป็น กรรมาธิการงบประมาณมา 30 ปี น่าจะช่วยในส่วนนี้ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเตรียมความพร้อมให้ประชาชนในต่างจังหวัดรู้เท่าทันเทคโนโลยี มีสังคมที่เข้มแข็งก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสังคมจากการใช้ไอซีทีเหมือนที่เกิดในเมือง

ส่วนการแก้ปัญหาโทรคมนาคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน อันดับแรกพรรคต้องเข้าไปดูก่อนว่าภาระเกิดขึ้นที่ไหน และการแก้ไขใดๆ จะเป็นการผลักภาระให้ประชาชนหรือไม่ ส่วนปัญหาค่าเอซี-ไอซี เมื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามาก็จะมี กสทช.ที่มีหน่วยงานย่อยอย่าง กทช.ที่จะต้องทำหน้าที่เสนอปัญหาเข้ามาให้รัฐบาลช่วยแก้ไขอุปสรรค ซึ่งถ้าพบว่าภาระตกอยู่กับประชาชน ก็จะเร่งผลักดันแก้ไข

สำหรับพรรคมัชฌิมาธิปไตย ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์ กล่าวว่าจะใช้ไอซีทีเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญมั่งคั่ง เติบโตอย่างยั่งยืน โดยนำไอซีทีมา สร้างรายได้ ลดรายจ่ายและต้นทุนในการผลิต รวมถึงเร่งลดช่องว่างการใช้ดิจิทัล เนื่องจากปัจจุบันแต่ละพื้นที่ไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูล เร่งหามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องคุณภาพการบริการ เร่งพัฒนาบุคลากรให้สามารถเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีได้ และปลูกฝังการใช้ ไอซีทีด้วยปัญญา ตั้งเป้าว่าอีก 5-10 ปี ไทยจะเป็นสังคมดิจิทัล

กับปัญหาโทรคมนาคมในปัจจุบัน จะแก้ได้ด้วยการคำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก แต่เรื่องเอซี-ไอซี เป็นหน้าที่ขององค์กรอิสระอย่าง กทช. รัฐจะเข้าไปกำหนดเองไม่ได้ แต่เข้าไปแก้ไขกฎหมายได้ ซึ่งกฎหมายใดๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งรัฐบาล และฝ่ายค้านต้องร่วมมือกันแก้ไขเพื่อลดต้นทุนในการเข้าถึงความรู้ของประชาชน แม้ต้องแก้รัฐธรรมนูญก็ต้องแก้

ปิดท้ายด้วยพรรคพลังประชาชน หรือ "ไทยรักไทย" ในอดีต โดย นายคณวัฒน์ วศินสังวร อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีไอซีที กล่าวว่า จะต่อยอดนโยบายไอซีที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาริเริ่มเอาไว้แล้วทั้งอีกัฟเวิร์นเมนต์, อีคอมเมิร์ซ, อีเอดูเคชั่น, อีอินดัสทรี และอีโซไซตี้ ที่ยังทำไม่สำเร็จ โดยเร่งตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนด้วยไอซีทีให้ครบทั้ง 8 พันตำบล และพัฒนาบุคลากรในภาคไอทีให้เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรม ทั้งในแง่ปริมาณ และคุณภาพ เร่งพัฒนาโครงข่ายและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเป็นเทเลเมดิซีน โดยมี นโยบายลดภาษีการนำเข้าอุปกรณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทุกอย่างที่เกี่ยวกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ต 5-30% เป็นเวลา 2 ปี เพื่อเร่งให้มีการลงทุน

นอกจากนี้ ยังจะสนับสนุนการใช้โอเพ่นซอร์ซ โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนทำซอฟต์แวร์พื้นฐานให้นักศึกษาได้พัฒนาต่อยอด เพื่อนำไปใช้ด้านการศึกษาและการพาณิชย์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

สำหรับปัญหาในวงการโทรคมนาคม ในขณะนี้อุปสรรคคือเกิดคอขวดที่ กทช. จึงต้องมีการแก้กฎหมายจัดตั้ง "กสทช." และกำหนดนโยบายของรัฐบาลและ กสทช.ให้สอดคล้องกัน ส่วนปัญหาค่าเอซี-ไอซี พรรคสนับสนุนให้มีการนำค่าไอซีมาใช้โดยไม่ยกเลิกค่าเอซี แต่นำ 2 ส่วนมาหักกลบลบหนี้กัน ฝ่ายใดขาดก็จ่ายเงินเพิ่ม จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะเอซีคือข้อตกลงในสัญญาที่ทั้ง 2 ฝ่ายยินยอมลงนาม หากยกเลิกไปจะเกิดปัญหาและคำถามเยอะมาก เพราะทำให้ทีโอทีเสียหาย และการรื้อสัญญาก็ทำไม่ง่าย

"สิ่งแรกที่จะทำหากได้ดูแลกระทรวงไอซีทีคือกระตุ้นให้เกิดบริการ 3 จี และการสื่อสารความเร็วสูง ตั้งศูนย์การเรียนรู้ เร่งพัฒนาอีกัฟเวิร์นเมนต์"
โพสต์โพสต์