การประชุม 30-31 ต.ค. ... เฟดอาจลดดอกเบี้ยลงอีก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Jewarren
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

การประชุม 30-31 ต.ค. ... เฟดอาจลดดอกเบี้ยลงอีก

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การประชุม 30-31 ต.ค. ... เฟดอาจลดดอกเบี้ยลงอีก
Source - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
Monday, 29 October 2007 08:47

ในวันที่ 30-31 ตุลาคม 2550 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market
Committee: FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด จะมีการประชุมรอบที่ 7 ของปีเพื่อพิจารณาทิศทาง
นโยบายการเงิน หรืออัตราดอกเบี้ย Fed Funds ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.75 หลังจากที่ในการประชุมรอบ
ก่อนหน้า (18 กันยายน) เฟดเพิ่งจะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงเป็นครั้งแรก ร้อยละ 0.50
จากร้อยละ 5.25 ซึ่งเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 ทั้งนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เฟดยังมีความยืดหยุ่นสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงได้อีก
ในระยะที่เหลือของปีนี้ โดยมีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจจะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อยร้อยละ
0.25 ในการประชุมวันที่ 30-31 ตุลาคมนี้ เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้สามารถรักษาโมเมนตัม
การขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (soft landing)
         โดยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ประกอบการคาดการณ์ข้างต้น สามารถสรุปได้
ดังต่อไปนี้ :-

         ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อซับไพร์มเบาบางลง แต่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวของ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีน้ำหนัก
นับจากการประชุมรอบก่อนหน้าในวันที่ 18 กันยายน 2550 ซึ่งเฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds
ลงมาแรงกว่าที่คาด จนถึงขณะนี้ การเปิดเผยข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว
ไม่ว่าจะเป็น การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ดัชนีภาคการผลิตและภาคการบริการ ยอดค้าปลีก เป็นต้น
แม้ว่าอาจจะไม่ได้แสดงถึงภาวะที่ตกต่ำลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยังมีส่วนช่วยบรรเทาความ
วิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อจำนองของลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำหรือซับไพร์มให้เบาบางลง แต่ทิศทาง
การปรับตัวของเครื่องชี้เหล่านั้น ผนวกกับเครื่องชี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังอ่อนแอต่อเนื่อง ได้สะท้อนว่า
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงประสบกับภาวะการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ปัญหาสินเชื่อซับไพร์มที่ยัง
ไม่ได้ยุติลง และมีแนวโน้มจะทยอยปรากฏชัดเจนมากขึ้น (โดยเฉพาะเมื่อผู้ขอสินเชื่อบ้านต้องแบกรับภาระหนี้
เงินกู้ที่สูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแบบยืดหยุ่น (Adjustable-rate mortgage: ARM)
ในขณะที่มูลค่าหลักประกันตกต่ำลงตามราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ถดถอยลง) คงจะยังเป็นความเสี่ยงที่อาจจะมี
ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า ดังนั้น ถึงแม้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงของ
เฟด อาจจะไม่สามารถช่วยให้ปัญหาสินเชื่อซับไพร์มคลี่คลายลงไปได้อย่างสิ้นเชิง แต่ก็น่าที่จะสนับสนุนให้
เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถจะประคับประคองการชะลอตัวลงไว้ได้โดยที่ไม่ประสบกับภาวะถดถอย (recession)


เครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ                         ก.ย.50         Consensus Forecasts*    ส.ค.50       ทิศทางการปรับตัว
การจ้างงานนอกภาคการเกษตร (ตำแหน่ง)          110,000               115,000           89,000        การจ้างงานฟื้นตัวดีขึ้นในเดือน ก.ย. อีกทั้งมีการทบทวนข้อมูลของเดือน ส.ค.
                                                                                               จากเดิมที่ลดลง 4,000 ตำแหน่ง มาเป็นเพิ่มขึ้น 89,000 ตำแหน่ง
                                                                                               ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จ้างงานเพิ่มขึ้นประมาณ 122,000 ตำแหน่งเฉลี่ยต่อเดือนในปีนี้
ดัชนีภาคการผลิต และ ดัชนีภาคการบริการ          52.054.8              52.854.5          52.955.8       สถาบันจัดการด้านอุปทาน (Institute for Supply Management: ISM)
                                                                                               รายงานดัชนีภาคการผลิตเดือน ก.ย. ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม ส่วนดัชนีภาคการบริการ
                                                                                               แม้จะลดลง แต่ก็ดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม ดัชนีทั้งสองยังอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาค
                                                                                               การผลิตและภาคการบริการของสหรัฐฯ ยังอยู่ในภาวะขยายตัว แม้จะเป็นไปในทิศทางที่ชะลอลง
ยอดค้าปลีก (year-on-year: YoY)               5.0%                  n.a.              3.8%         ยอดค้าปลีก ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชี้ที่สะท้อนการใช้จ่ายของผู้บริโภค มีทิศทางการปรับตัวที่แข็งแกร่ง
                                                                                               กว่าคาดในเดือน ก.ย. อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้นี้มักมีทิศทางการปรับตัวที่ผันผวนตามปัจจัยด้าน
                                                                                               ฤดูกาลและราคาน้ำมัน ดังนั้น ควรที่จะใช้เครื่องชี้อื่นๆ ในการพิจารณาประกอบด้วย
ยอดการเริ่มสร้างบ้าน (ล้านหน่วย)                1.191                  1.288            1.327         ยอดการเริ่มสร้างบ้าน หรือ Housing Starts เดือน ก.ย. หดตัวลง 10.2% จากเดือนก่อน
                                                                                               สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี สะท้อนการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ
ยอดขายบ้านมือสอง (ล้านหน่วย)                  5.04                  5.20               5.48         ยอดขายบ้านมือสอง หรือ Existing Home Sales เดือน ก.ย. หดตัว 8.0% จากเดือนก่อน
                                                                                               สู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ที่ได้มีการนำเสนอข้อมูลในปี 2542
ยอดขายบ้านใหม่ (ล้านหน่วย)                    0.770                0.775              0.735         ยอดขายบ้านใหม่ หรือ New Home Sales เดือน ก.ย. แม้ว่าจะเพิ่มขึ้น 4.8% จากเดือนก่อน
                                                                                               แต่เป็นเพราะข้อมูลในเดือนก่อนมีการทบทวนปรับลงค่อนข้างมาก และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
                                                                                               ยอดขายบ้านใหม่หดตัวลง 23% ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ยังคงตกอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ
ที่มา: Dismal Scientist  (โดย * มาจาก Thomson Financial)

         ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ยังคงเป็นประเด็นที่เฟดให้ความสำคัญ
การรักษาเสถียรภาพทางด้านราคา หรือการดูแลความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ยังคงเป็นเป้าหมายหรือประเด็น
ที่เฟดให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยแม้ว่าในระยะที่ผ่านมา การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลกอาจ
เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อในระยะถัดไป แต่ทิศทางอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยรวมของสหรัฐฯ
ในขณะนี้ที่ยังอยู่ภายในระดับที่ควบคุมได้ และแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ต่อเนื่องถึงปีหน้า
คงจะยังเอื้อให้เฟดมีความยืดหยุ่นที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงอีกเพื่อดูแลความเสี่ยง
ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

         โดยเครื่องชี้ภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ได้แก่
         ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI)  ในเดือนกันยายน 2550 อัตราทั่วไป
(Headline CPI Inflation) อยู่ที่ร้อยละ 2.8 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน หรือ year-on-year
(YoY) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในเดือนสิงหาคม ขณะที่ อัตราพื้นฐาน (Core CPI Inflation)
ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.1
ดัชนีราคาผู้ผลิตสำหรับสินค้าขั้นสุดท้าย (Producer Price Index (PPI) for Finished Goods)  
ในเดือนกันยายน อัตราทั่วไป (Headline PPI Inflation) อยู่ที่ร้อยละ 4.4 (YoY) ขยับขึ้นจากร้อยละ
2.1 ในเดือนสิงหาคม  แต่อัตราพื้นฐาน (Core PPI Inflation) อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ปรับลงจากร้อยละ
2.2 ในเดือนก่อนหน้า
ดัชนีราคาการใช้จ่ายผู้บริโภคส่วนบุคคล (Personal Consumption Expenditure (PCE) Price Index)
ในเดือนสิงหาคม 2550 อัตราทั่วไป (Headline PCE Inflation) อยู่ที่ร้อยละ 1.8 (YoY) ลดลง
จากร้อยละ 2.1 ในเดือนกรกฎาคม  เช่นเดียวกัน อัตราพื้นฐาน (Core PCE Inflation) อยู่ที่ร้อยละ
1.8 ขยับลงจากร้อยละ 1.9 และยังอยู่ภายในกรอบที่เฟดรู้สึกว่าเป็นปกติ (comfore zone) คือ ไม่เกิน
ร้อยละ 2.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
         ตลาดคาดการณ์เกือบเต็มที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25
อัตราดอกเบี้ยล่วงหน้า หรือ Interest Rate Futures  ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2550 รายงานโดย
Bloomberg บ่งชี้ว่า ตลาดคาดการณ์ด้วยความเป็นไปได้กว่าร้อยละ 80 ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
Fed Funds ลงอีกร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4.75 มาที่ร้อยละ 4.50 ในการประชุมวันที่ 30-31 ตุลาคม
ในขณะที่ ตลาดมองว่ามีความเป็นไปได้อีกประมาณไม่ถึงร้อยละ 20 ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds
ลงร้อยละ 0.50 มาที่ร้อยละ 4.25  ทางด้าน Dismal Scientist รายงานว่า ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2550
ตลาดได้เพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ร้อยละ 4.00 ภายในกลางปี 2551  
ในทิศทางที่สอดคล้องกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คงจะปรากฏ
ชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะในปี 2551 คงจะทำให้เฟดยังต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องไปอีก
ระยะหนึ่ง
         โดยสรุป  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลาง
สหรัฐฯ หรือ เฟด อาจมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงอีกร้อยละ 0.25 เป็นอย่างน้อย ในการ
ประชุมรอบที่ 7 ของปีในวันที่ 30-31 ตุลาคม 2550 เพื่อดูแลความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มี
น้ำหนักเพิ่มขึ้น แม้ว่าความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อจำนองของลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำหรือซับไพร์ม
จะบรรเทาเบาบางลงบ้างจากที่มีมากในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ในขณะที่ ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อนั้น
แม้ราคาน้ำมันตลาดโลกที่พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อาจเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อในระยะถัดไป
แต่ทิศทางอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ขยับเข้าสู่กรอบที่เฟดรู้สึกว่าเป็นปกติ (comfort zone) และการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็น่าที่จะช่วยให้แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงอยู่ภายในระดับที่ควบคุมได้ของเฟด และเอื้อให้เฟดยัง
มีความยืดหยุ่นสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงต่อเนื่องต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ การรายงาน
ข้อมูลเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะถัดไป โดยเฉพาะผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อซับไพร์ม ตลอด
จนแถลงการณ์หลังการประชุมและสุนทรพจน์ของเจ้าหน้าที่เฟด ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและจะมี
อิทธิพลต่อการคาดการณ์แนวโน้มการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของเฟดในระยะข้างหน้า
         ด้านผลกระทบต่อไทยนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ของเฟด และการคาดการณ์
แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของเฟดในระยะถัดไป อาจมีผลกดดันเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ให้ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ซึ่งทิศทางดังกล่าว ย่อมจะส่งผลให้เงิน
สกุลภูมิภาค และเงินบาทของไทย ยังมีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ แนวโน้มการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ จากปัญหาสินเชื่อซับไพร์ม ที่อาจมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้า
คงจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) พิจารณา
ประกอบการตัดสินใจนโยบายอัตราดอกเบี้ยด้วย อย่างไรก็ตาม หากภาวะการใช้จ่ายในประเทศ ทั้งการบริโภค
และการลงทุน ทยอยกลับมาฟื้นตัวขึ้นเมื่อปัญหาการเมืองคลี่คลายลงได้ตามที่คาดหวังไว้ ประกอบกับ ความเสี่ยง
ด้านเงินเฟ้อของไทยที่มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งกนง.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาแล้วรวมร้อยละ
1.75 ในปีนี้  กนง.อาจมีความจำเป็นน้อยลงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้
(การประชุมรอบสุดท้ายของปีจะมีขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม)

         Disclaimer
         รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ
แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด
บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้อง
ใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น
บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึง
ไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
Jewarren
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

การประชุม 30-31 ต.ค. ... เฟดอาจลดดอกเบี้ยลงอีก

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เพื่อนๆ พี่ๆ ครับ

ถ้าเฟด ลดดอกเบี้ยลงอีก มันบอกอะไรเราได้บ้างเหรอครับ

* แสดงว่า เงินจะไหลมาทางเอเชีย หรือเปล่า เพื่อหาที่ฝากเงินไว้เพื่อให้ผลประกอบการพวกเค้าไม่ได้ลดลง

* ลดดอกเบี้ย แล้วคนส่วนใหญ่ (ในห้องค้า) มองว่า หุ้นจะขึ้น เพราะเอาเงินมาลงทุน แต่การลดดอกเบี้ย แสดงว่า เศรษฐกิจ เมกา ก้อไม่ได้ดีอย่างที่เราคิด หรืออาจจะแย่กว่าที่เราคิด เลยใช่ไหมครับ

* ลดดอกเบี้ย แล้ว เงินเค้าจะอ่อนลงอีก ส่วนเงินเราจะแข็งขึ้นอีกใช่ไหมครับ

 :D  พี่ๆ คิดว่าไงครับ
โพสต์โพสต์