ไม่เห็นมีใครพูดถึงข่าวนี้เลย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 0
ไม่เห็นมีใครพูดถึงข่าวนี้เลย
โพสต์ที่ 1
เห็นเคยบ่นๆอยากลงทุนนอกกันหลายคน น่าจะเป็นข่าวดีนะครับ อนาคตเราคงมีทางเลือกมากขึ้น
ไฟเขียวลงทุนนอกคนละ 5 ล.ดอลล์
กระจายความเสี่ยง-รับผลกำไร
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขา ธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ได้ออกเกณฑ์ใหม่โดยอนุญาตให้บุคคลธรรมดาไปลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศได้ รายละ 5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และให้สถาบัน คือ กองทุนรวม มูลนิธิ สหกรณ์ และประกันชีวิต ลงทุนได้ไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยคาดว่า เกณฑ์ใหม่ดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ในต้นเดือน ก.ย.นี้ เพราะในปัจจุบัน ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ระหว่างร่างประกาศใหม่ จากเดิมที่ไม่เคยอนุญาตให้บุคคลธรรมดาลงทุนในต่างประเทศ โดยวงเงินที่ ธปท.อนุมัติให้ไปลงทุนต่างประเทศ มีมูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ การลงทุนต่างประเทศจะส่งผลดีต่อนักลงทุนไทย ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงใน การลงทุน และเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีผู้ลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศสูงถึง 120,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5% ของเงินฝากทั้งระบบ ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่มียอดเงินฝากในธนาคาร 10 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อมูลนิธิและสหกรณ์ทั่วประเทศ ประกันชีวิตที่มียอดเงินออมในระบบ 700,000 ล้านบาท
สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ จะต้องเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการกำกับดูแลโดยหน่วยในต่างประเทศ พันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล ใบรับ ฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ กองทุนรวมดัชนี อีทีเอฟ และต้องไม่เป็นตราสารที่มีความซับซ้อนมากเกินไป โดยให้ลงทุนผ่าน บล.ไทยสั่งคำซื้อหลักทรัพย์ไปยัง บล.ต่างประเทศ และอนุญาตให้นำหลักทรัพย์ต่างประเทศมาซื้อขายในตลาด หุ้นไทยได้ แต่ต้องขายให้เฉพาะกองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคลเท่านั้น ซึ่งจะเพิ่มสินค้าในตลาดทุนไทย และส่งผลดีต่อธุรกิจของ บล. มากขึ้น
บุคคลไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะไปลงทุนต่างประเทศได้ และไม่มีความเสี่ยงสูงแต่อย่างใด เพราะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลก่อนลงทุนได้ทุกครั้ง แต่หากไม่มีความมั่นใจก็ควรเข้าไปลงทุนผ่านกองทุนรวมส่วนบุคคลที่จะมีคำแนะนำให้แก่ผู้ลงทุน ส่วนหลักทรัพย์ที่มีความซับซ้อนมาก ก.ล.ต. ก็ยังไม่อนุญาตให้เข้าไปลงทุน
นอกจากนี้ ก.ล.ต. เห็นว่าการออกไปลงทุนต่างประเทศ จะไม่เป็นช่องทางเก็งกำไรค่าเงินบาท เพราะ บล.ต้องรายงานธุรกรรมการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของลูกค้าที่มีอยู่ทั้งหมดให้แก่ ธปท.และต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ใหม่ที่ ธปท.จะออกมาบังคับใช้ด้วย แต่หากพบการเข้าไปเก็งกำไรค่าเงินบาท ก.ล.ต. พร้อมลงโทษนักลงทุนทันที
นายธีระชัย กล่าวถึง ปัญหาหนี้เสีย ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา หลังจากธนาคารพาณิชย์ไทยเข้าไปลงทุนในตราสารซีดีโอว่า ก.ล.ต.จะประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่บัญชีให้เข้าไปตรวจสอบงบการเงิน ของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งมีรายได้เข้าไปลงทุนยังตราสารดังกล่าว เพื่อให้บันทึกงบการเงินตามราคาตลาด โดยคาดว่า งบการเงินในไตรมาสที่ 3 จะพบว่า ธนาคารพาณิชย์ใดมีผลขาดทุนบ้าง ส่วนกองทุนรวมของไทยไม่มีรายใดเข้าไปลงทุนในตราสารซีดีโอ.
ไฟเขียวลงทุนนอกคนละ 5 ล.ดอลล์
กระจายความเสี่ยง-รับผลกำไร
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขา ธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ได้ออกเกณฑ์ใหม่โดยอนุญาตให้บุคคลธรรมดาไปลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศได้ รายละ 5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และให้สถาบัน คือ กองทุนรวม มูลนิธิ สหกรณ์ และประกันชีวิต ลงทุนได้ไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยคาดว่า เกณฑ์ใหม่ดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ในต้นเดือน ก.ย.นี้ เพราะในปัจจุบัน ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ระหว่างร่างประกาศใหม่ จากเดิมที่ไม่เคยอนุญาตให้บุคคลธรรมดาลงทุนในต่างประเทศ โดยวงเงินที่ ธปท.อนุมัติให้ไปลงทุนต่างประเทศ มีมูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ การลงทุนต่างประเทศจะส่งผลดีต่อนักลงทุนไทย ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงใน การลงทุน และเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีผู้ลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศสูงถึง 120,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5% ของเงินฝากทั้งระบบ ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่มียอดเงินฝากในธนาคาร 10 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อมูลนิธิและสหกรณ์ทั่วประเทศ ประกันชีวิตที่มียอดเงินออมในระบบ 700,000 ล้านบาท
สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ จะต้องเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการกำกับดูแลโดยหน่วยในต่างประเทศ พันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล ใบรับ ฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ กองทุนรวมดัชนี อีทีเอฟ และต้องไม่เป็นตราสารที่มีความซับซ้อนมากเกินไป โดยให้ลงทุนผ่าน บล.ไทยสั่งคำซื้อหลักทรัพย์ไปยัง บล.ต่างประเทศ และอนุญาตให้นำหลักทรัพย์ต่างประเทศมาซื้อขายในตลาด หุ้นไทยได้ แต่ต้องขายให้เฉพาะกองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคลเท่านั้น ซึ่งจะเพิ่มสินค้าในตลาดทุนไทย และส่งผลดีต่อธุรกิจของ บล. มากขึ้น
บุคคลไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะไปลงทุนต่างประเทศได้ และไม่มีความเสี่ยงสูงแต่อย่างใด เพราะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลก่อนลงทุนได้ทุกครั้ง แต่หากไม่มีความมั่นใจก็ควรเข้าไปลงทุนผ่านกองทุนรวมส่วนบุคคลที่จะมีคำแนะนำให้แก่ผู้ลงทุน ส่วนหลักทรัพย์ที่มีความซับซ้อนมาก ก.ล.ต. ก็ยังไม่อนุญาตให้เข้าไปลงทุน
นอกจากนี้ ก.ล.ต. เห็นว่าการออกไปลงทุนต่างประเทศ จะไม่เป็นช่องทางเก็งกำไรค่าเงินบาท เพราะ บล.ต้องรายงานธุรกรรมการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของลูกค้าที่มีอยู่ทั้งหมดให้แก่ ธปท.และต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ใหม่ที่ ธปท.จะออกมาบังคับใช้ด้วย แต่หากพบการเข้าไปเก็งกำไรค่าเงินบาท ก.ล.ต. พร้อมลงโทษนักลงทุนทันที
นายธีระชัย กล่าวถึง ปัญหาหนี้เสีย ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา หลังจากธนาคารพาณิชย์ไทยเข้าไปลงทุนในตราสารซีดีโอว่า ก.ล.ต.จะประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่บัญชีให้เข้าไปตรวจสอบงบการเงิน ของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งมีรายได้เข้าไปลงทุนยังตราสารดังกล่าว เพื่อให้บันทึกงบการเงินตามราคาตลาด โดยคาดว่า งบการเงินในไตรมาสที่ 3 จะพบว่า ธนาคารพาณิชย์ใดมีผลขาดทุนบ้าง ส่วนกองทุนรวมของไทยไม่มีรายใดเข้าไปลงทุนในตราสารซีดีโอ.
It's earnings that count
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
ไม่เห็นมีใครพูดถึงข่าวนี้เลย
โพสต์ที่ 2
เพราะเงินไม่ถึง ยังไม่มีกองทุนส่วนตัว
เท่าที่ได้ยินมา บังคับว่าต้องเป็นกองทุนส่วนบุคคล พวกเราคนธรรมดา ขอเอาเงินออก แล้วบอกว่าเอาไปซื้อหุ้น ยังไม่ได้ เขากลัวว่า เราเอาไปปั่นค่าเงิน เลยต้องผ่านบุคคลที่สาม ที่สามารถตรวจสอบได้ ก็คือ กองทุนส่วนบุคคล
เท่าที่ทราบตอนนี้ ขั้นต่ำน่าจะเป็น 10 ล้านบาท จนถึง 20 ล้านบาท ถึงจะเปิดได้
เท่าที่ได้ยินมา บังคับว่าต้องเป็นกองทุนส่วนบุคคล พวกเราคนธรรมดา ขอเอาเงินออก แล้วบอกว่าเอาไปซื้อหุ้น ยังไม่ได้ เขากลัวว่า เราเอาไปปั่นค่าเงิน เลยต้องผ่านบุคคลที่สาม ที่สามารถตรวจสอบได้ ก็คือ กองทุนส่วนบุคคล
เท่าที่ทราบตอนนี้ ขั้นต่ำน่าจะเป็น 10 ล้านบาท จนถึง 20 ล้านบาท ถึงจะเปิดได้
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
ไม่เห็นมีใครพูดถึงข่าวนี้เลย
โพสต์ที่ 4
ใช่ครับ แค่ต้องผ่าน กองทุนส่วนบุคคล (กองทุนส่วนตัว) ไม่ต่างกันครับ แค่มีคนทำบัญชีเท่านั้น
แต่รูปธรรมสุดท้ายอาจปรับเปลี่ยนได้
เรื่องเงินในการเปิดกองทุนส่วนบุตตล อาจมีบางทีที่รับลูกค้าที่มีมูลค้าน้อยกว่านั้น แต่ลงทุนหุ้นเมืองนอก ยังไงก็ต้องใช้เงินสูง อย่างหุ้นละ $20 ก็ 600-700 บาทแล้ว มีน้อยซื้อกองทุนรวมดีกว่า ไม่ปวดหัวเรื่องเอกสารด้วย
แต่รูปธรรมสุดท้ายอาจปรับเปลี่ยนได้
เรื่องเงินในการเปิดกองทุนส่วนบุตตล อาจมีบางทีที่รับลูกค้าที่มีมูลค้าน้อยกว่านั้น แต่ลงทุนหุ้นเมืองนอก ยังไงก็ต้องใช้เงินสูง อย่างหุ้นละ $20 ก็ 600-700 บาทแล้ว มีน้อยซื้อกองทุนรวมดีกว่า ไม่ปวดหัวเรื่องเอกสารด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่เห็นมีใครพูดถึงข่าวนี้เลย
โพสต์ที่ 6
น่าสนใจมากครับจะได้ไม่ต้องแอบขนเงินไปเล่นเองที่สิงคโปร์ซะทีBlueblood เขียน: สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ จะต้องเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการกำกับดูแลโดยหน่วยในต่างประเทศ พันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล ใบรับ ฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ กองทุนรวมดัชนี อีทีเอฟ และต้องไม่เป็นตราสารที่มีความซับซ้อนมากเกินไป โดยให้ลงทุนผ่าน บล.ไทยสั่งคำซื้อหลักทรัพย์ไปยัง บล.ต่างประเทศ และอนุญาตให้นำหลักทรัพย์ต่างประเทศมาซื้อขายในตลาด หุ้นไทยได้ แต่ต้องขายให้เฉพาะกองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคลเท่านั้น ซึ่งจะเพิ่มสินค้าในตลาดทุนไทย และส่งผลดีต่อธุรกิจของ บล. มากขึ้น
ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นลักษณะเดียวกับโบรกเกอร์ของที่สิงคโปร์ที่อนุญาติให้ซื้อขายหุ้นต่างประเทศได้
ให้ขนเงินไปเฉย ๆ แล้วบอกว่าเอาไปซื้อหุ้นที่เมืองนอกนี่คงไม่ได้
ต้องรอดูครับว่าในประเทศไทย บล.ไหนจะสามารถเปิดบริการให้สามารถซื้อขายหุ้นในต่างประเทศได้
กิมเอ็งกับฟิลลิปน่าจะได้เปรียบเพราะเป็นโบรกต่างชาติ
ส่วนถ้าจะควบคุมการเก็งกำไรด้วยนี่สงสัยต้องใช้มาตรการ 30%
ถ้าซื้อหุ้นต่างประเทศแล้วขายไปก่อนถือครบ 1 ปี ต้องให้โบรกกันเงินไว้ 30% :lol: