world economic news
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
world economic news
โพสต์ที่ 1
IMFฟันธงศก.โลกโต5.2% - 27/7/2550
สหรัฐฯ ไอเอ็มเอฟประเมินเศรษฐกิจโลกปีนี้และปีหน้าโตเฉลี่ยร้อยละ 5.2 พร้อมระบุการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน จะเป็นพลังงขับเคลื่อนปักกิ่งก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกในช่วงปี 2550 และ 2551 ว่า จะเติบโตขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นกว่า ที่คาดการณ์ในก่อนหน้านี้
โดยแถลการณ์ของไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่า ทางไอเอ็มเอฟได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิขของโลกแล้วพบว่า อาจจะเพิ่มขึ้นถึงจำนวนตัวเลขดังกล่าว ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ในภาพรวมของเศรษฐกิจโลกหรือดับเบิลยูอีโอ ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในอัตราร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ ในการสรุปดับเบิลยูอีโอครั้งก่อน รายงานว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 4.9
แถลงการณ์ของไอเอ็มเอฟ ยังระบุอีกว่า เหตุที่ทำให้ไอเอ็มเอฟเพิ่มตัวเลขเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของโลกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550
พร้อมกันนี้ ทางไอเอ็มเอฟ ยังเปิดเผยอีกว่า ได้จับตาไปยังจีน อินเดีย และรัสเซีย เป็นพิเศษ ในฐานะที่เศรษฐกิจเติบโตขึ้นอย่างครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีนแผ่นดินใหญ่ ที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกำลังผลักดันให้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจในไม่ช้านี้
ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ คาดว่า เศรษฐกิจของจีนในช่วงปี 2550 จะเติบโตในอัตราร้อยละ 11.2 ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.ในอัตราร้อยละ 1.2 ขณะที่เศรษฐกิจของอินเดีย จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.6 จนนำไปสู่การเติบโตในอัตราร้อยละ 9 ส่วนรัสเซีย เศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7
นอกจากนี้ ทางไอเอ็มเอฟ ยังได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชาติที่ได้ชื่อว่า มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกว่า ในปี 2550 นี้ จะเติบโตในอัตราร้อยละ 2 หลังจากที่เมื่อช่วง 6 เดือนแรก สหรัฐฯ มีความเติบโตทางเศรษฐกิจไปแล้วในอัตราร้อยละ 0.7 พร้อมกันนี้ ทางไอเอ็มเอฟยังเปิดเผยว่า คาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2551 จะเติบโตในอัตราร้อยละ 2.8
ขณะเดียวกัน ทางด้านสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของประเทศในปี 2550 อาจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 2.5 2.75 โดยคาดว่า กภาคการลงทุนและภาคการส่งสินค้าออกเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=178329
สหรัฐฯ ไอเอ็มเอฟประเมินเศรษฐกิจโลกปีนี้และปีหน้าโตเฉลี่ยร้อยละ 5.2 พร้อมระบุการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน จะเป็นพลังงขับเคลื่อนปักกิ่งก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกในช่วงปี 2550 และ 2551 ว่า จะเติบโตขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นกว่า ที่คาดการณ์ในก่อนหน้านี้
โดยแถลการณ์ของไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่า ทางไอเอ็มเอฟได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิขของโลกแล้วพบว่า อาจจะเพิ่มขึ้นถึงจำนวนตัวเลขดังกล่าว ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ในภาพรวมของเศรษฐกิจโลกหรือดับเบิลยูอีโอ ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในอัตราร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ ในการสรุปดับเบิลยูอีโอครั้งก่อน รายงานว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 4.9
แถลงการณ์ของไอเอ็มเอฟ ยังระบุอีกว่า เหตุที่ทำให้ไอเอ็มเอฟเพิ่มตัวเลขเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของโลกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550
พร้อมกันนี้ ทางไอเอ็มเอฟ ยังเปิดเผยอีกว่า ได้จับตาไปยังจีน อินเดีย และรัสเซีย เป็นพิเศษ ในฐานะที่เศรษฐกิจเติบโตขึ้นอย่างครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีนแผ่นดินใหญ่ ที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนกำลังผลักดันให้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจในไม่ช้านี้
ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ คาดว่า เศรษฐกิจของจีนในช่วงปี 2550 จะเติบโตในอัตราร้อยละ 11.2 ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.ในอัตราร้อยละ 1.2 ขณะที่เศรษฐกิจของอินเดีย จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.6 จนนำไปสู่การเติบโตในอัตราร้อยละ 9 ส่วนรัสเซีย เศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7
นอกจากนี้ ทางไอเอ็มเอฟ ยังได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชาติที่ได้ชื่อว่า มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกว่า ในปี 2550 นี้ จะเติบโตในอัตราร้อยละ 2 หลังจากที่เมื่อช่วง 6 เดือนแรก สหรัฐฯ มีความเติบโตทางเศรษฐกิจไปแล้วในอัตราร้อยละ 0.7 พร้อมกันนี้ ทางไอเอ็มเอฟยังเปิดเผยว่า คาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2551 จะเติบโตในอัตราร้อยละ 2.8
ขณะเดียวกัน ทางด้านสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของประเทศในปี 2550 อาจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 2.5 2.75 โดยคาดว่า กภาคการลงทุนและภาคการส่งสินค้าออกเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=178329
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/07/07
โพสต์ที่ 2
เศรษฐกิจเยอรมนีส่งสัญญาณชะลอตัว ข่าว 16.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, July 27, 2007
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของสถาบันไอโฟ่ (Ifo business climate index) ระบุว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนี ในเดือนกรกฎาคมลดลงเล็กน้อย เนื่องจากค่าเงินยูโรและราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในยุโรปชะลอตัวลง
โดยจากการสำรวจผู้บริหารกว่า 7,000 คน ปรากฏผลออกมาว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของเยอรมนีในเดือนกรกฎาคมลดลงเหลือ 106.4 จาก 107 ในเดือนก่อนหน้า
นาย ฮานส์ เวอร์เนอร์ ซินน์ ประธานสถาบันไอโฟ่บอกว่าเศรษบกิจเยอรมนียังคงเติบโตได้ในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ ท่ามกลางสัญญาณบ่งบอกว่า อัตราการว่างงานจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
ด้านผู้สังเกตการณ์ทางเศรษฐกิจเชื่อว่า ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และค่าเงินยูโรที่ปรับตัวสูงขึ้น อาจส่งผลให้เศรษฐกิจเยอรมนีเสียสมดุล หลังจากที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอัตรา 2.8% ในปีที่แล้ว
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, July 27, 2007
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของสถาบันไอโฟ่ (Ifo business climate index) ระบุว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนี ในเดือนกรกฎาคมลดลงเล็กน้อย เนื่องจากค่าเงินยูโรและราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในยุโรปชะลอตัวลง
โดยจากการสำรวจผู้บริหารกว่า 7,000 คน ปรากฏผลออกมาว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของเยอรมนีในเดือนกรกฎาคมลดลงเหลือ 106.4 จาก 107 ในเดือนก่อนหน้า
นาย ฮานส์ เวอร์เนอร์ ซินน์ ประธานสถาบันไอโฟ่บอกว่าเศรษบกิจเยอรมนียังคงเติบโตได้ในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ ท่ามกลางสัญญาณบ่งบอกว่า อัตราการว่างงานจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
ด้านผู้สังเกตการณ์ทางเศรษฐกิจเชื่อว่า ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และค่าเงินยูโรที่ปรับตัวสูงขึ้น อาจส่งผลให้เศรษฐกิจเยอรมนีเสียสมดุล หลังจากที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอัตรา 2.8% ในปีที่แล้ว
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/07/07
โพสต์ที่ 3
ปากีสถานห้ามต่างชาติลงทุนในประเทศ - ข่าว 17.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, July 27, 2007
นายเพอร์เวซ มูชาร์ราฟ ประธานาธิบดีปากีสถาน ประกาศในวันนี้ว่า ปากีสถานจะไม่อนุญาตให้นักลงทุนและบริษัทต่างชาติรวมถึงสหรัฐอเมริกา เข้าไปดำเนินธุรกิจภายในเขตแดนของปากีสถานอย่างเด็ดขาด
การประกาศครั้งนี้มีขึ้นก่อนที่นายมูชาร์ราฟจะเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยนายมูชาร์ราฟบอกว่า กองกำลังความมั่นคงของปากีสถานปฏิบัติการต่อต้านขบวนการก่อการร้ายมาโดยตลอด และปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า ปากีสถานเป็นแหล่งหลบซ่อนสำหรับกลุ่มก่อการร้าย
ทั้งนี้ นายมูชาร์ราฟมีกำหนดจะเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 27 - 28 ก.ค. นี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, July 27, 2007
นายเพอร์เวซ มูชาร์ราฟ ประธานาธิบดีปากีสถาน ประกาศในวันนี้ว่า ปากีสถานจะไม่อนุญาตให้นักลงทุนและบริษัทต่างชาติรวมถึงสหรัฐอเมริกา เข้าไปดำเนินธุรกิจภายในเขตแดนของปากีสถานอย่างเด็ดขาด
การประกาศครั้งนี้มีขึ้นก่อนที่นายมูชาร์ราฟจะเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยนายมูชาร์ราฟบอกว่า กองกำลังความมั่นคงของปากีสถานปฏิบัติการต่อต้านขบวนการก่อการร้ายมาโดยตลอด และปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า ปากีสถานเป็นแหล่งหลบซ่อนสำหรับกลุ่มก่อการร้าย
ทั้งนี้ นายมูชาร์ราฟมีกำหนดจะเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 27 - 28 ก.ค. นี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 4
ที่ดินอังกฤษแห่ขายไทยรับบาทแข็ง
โพสต์ทูเดย์ บริษัทที่ดินจากอังกฤษสบช่องเงินบาทแข็งค่า หอบที่ดินรอบกรุงลอนดอนมาขายดูดกำลังซื้อนักลงทุนไทย
นายชาน เค็ง ฟุค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท ยูเค แลนด์ อินเวสเมนท์ส อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า บริษัทได้เข้ามาเสนอขายที่ดินรอบกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อการลงทุนสำหรับนักลงทุนในไทย เนื่องจากเห็นว่าไทยยังมีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เพราะยังมีการลงทุนรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แม้จะยังมีปัจจัยลบด้านการเมืองและเศรษฐกิจก็ตาม
การซื้อที่ดินเพื่อการลงทุนในประเทศอังกฤษยังขยายตัวจากความต้องการที่อยู่อาศัยมาก ทำให้มูลค่าของที่ดินในอังกฤษสูงขึ้น 370% ในช่วงเวลาเพียง 10 ปี จึงน่าจะถือเป็นโอกาสสำหรับการลงทุน นายเค็ง ฟุค กล่าว
บริษัท ยูเค แลนด์ อินเวสเมนท์ส เป็นบริษัทที่ลงทุนทางด้านที่ดินโดยการสะสมที่ดินรอบกรุงลอนดอน หลังจากรัฐบาลอังกฤษมีนโยบายนำพื้นที่ สีเขียว หรือ Green Belt รอบกรุงลอนดอนมาพัฒนา เพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยไม่พอเพียง โดยปัจจุบันมีที่ดินรอบกรุงลอนดอนที่ซื้อไว้ 29 แปลง เนื้อที่ 2.3 พันเอเคอร์ ซึ่งนำมาจัดสรรแบ่งแปลงขายให้กับนักลงทุนและที่ดินเหล่านี้รอที่จะก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคต
รูปแบบการลงทุนซื้อที่ดินดังกล่าว จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกผู้ลงทุนสามารถเปลี่ยนมือได้หากเห็นว่าได้ราคาน่าพอใจ เพราะราคาขายจะปรับขึ้นประมาณ 20% ระยะ 2 เมื่อเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์เพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัย จะทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 300% และระยะ 3 เมื่อมีบริษัทพัฒนาที่ดินเข้ามาพัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัย หรือนักลงทุนจะถือครองที่ดินต่อไปก็ได้
ด้านนายนิติ ณ สงขลา กรรมการบริหาร บริษัท พีนาดา ตัวแทนการทำตลาดในประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงแรกจะเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการลงทุนแก่นักลงทุนรายย่อยของไทย ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นและรัฐเริ่มมีมาตรการให้นำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้นจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนสนใจ
หากมีนักลงทุนในไทยตอบรับ 30% จากผู้ที่เข้าร่วมสัมมนา บริษัทจะร่วมลงทุนเพื่อจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยให้เป็นสาขาของ ยูเค แลนด์ นายนิติ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=181535
โพสต์ทูเดย์ บริษัทที่ดินจากอังกฤษสบช่องเงินบาทแข็งค่า หอบที่ดินรอบกรุงลอนดอนมาขายดูดกำลังซื้อนักลงทุนไทย
นายชาน เค็ง ฟุค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท ยูเค แลนด์ อินเวสเมนท์ส อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า บริษัทได้เข้ามาเสนอขายที่ดินรอบกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อการลงทุนสำหรับนักลงทุนในไทย เนื่องจากเห็นว่าไทยยังมีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เพราะยังมีการลงทุนรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แม้จะยังมีปัจจัยลบด้านการเมืองและเศรษฐกิจก็ตาม
การซื้อที่ดินเพื่อการลงทุนในประเทศอังกฤษยังขยายตัวจากความต้องการที่อยู่อาศัยมาก ทำให้มูลค่าของที่ดินในอังกฤษสูงขึ้น 370% ในช่วงเวลาเพียง 10 ปี จึงน่าจะถือเป็นโอกาสสำหรับการลงทุน นายเค็ง ฟุค กล่าว
บริษัท ยูเค แลนด์ อินเวสเมนท์ส เป็นบริษัทที่ลงทุนทางด้านที่ดินโดยการสะสมที่ดินรอบกรุงลอนดอน หลังจากรัฐบาลอังกฤษมีนโยบายนำพื้นที่ สีเขียว หรือ Green Belt รอบกรุงลอนดอนมาพัฒนา เพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยไม่พอเพียง โดยปัจจุบันมีที่ดินรอบกรุงลอนดอนที่ซื้อไว้ 29 แปลง เนื้อที่ 2.3 พันเอเคอร์ ซึ่งนำมาจัดสรรแบ่งแปลงขายให้กับนักลงทุนและที่ดินเหล่านี้รอที่จะก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคต
รูปแบบการลงทุนซื้อที่ดินดังกล่าว จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกผู้ลงทุนสามารถเปลี่ยนมือได้หากเห็นว่าได้ราคาน่าพอใจ เพราะราคาขายจะปรับขึ้นประมาณ 20% ระยะ 2 เมื่อเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์เพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัย จะทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 300% และระยะ 3 เมื่อมีบริษัทพัฒนาที่ดินเข้ามาพัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัย หรือนักลงทุนจะถือครองที่ดินต่อไปก็ได้
ด้านนายนิติ ณ สงขลา กรรมการบริหาร บริษัท พีนาดา ตัวแทนการทำตลาดในประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงแรกจะเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการลงทุนแก่นักลงทุนรายย่อยของไทย ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นและรัฐเริ่มมีมาตรการให้นำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้นจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนสนใจ
หากมีนักลงทุนในไทยตอบรับ 30% จากผู้ที่เข้าร่วมสัมมนา บริษัทจะร่วมลงทุนเพื่อจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยให้เป็นสาขาของ ยูเค แลนด์ นายนิติ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=181535
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 5
ต่างชาติแห่ลงทุนดันศก. "อิเหนา" เคมิคอล-อสังหาฯ-พลังงาน นำขบวน
อินโดนีเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างชัดเจน ไม่แพ้บรรดาเพื่อนบ้านในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน ถึงแม้ว่าตัวเลขจีดีพี ของอินโดนีเซียจะไม่ได้เติบโตในระดับที่หวือหวามากนัก แต่เม็ดเงินการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ
โดยในช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ บิสนิส อินโดนีเซีย รายงานโดยอ้างตัวเลขจากคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนแห่งชาติของอินโดนีเซีย (BKPM) ว่า มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่เข้ามาในแดนอิเหนา ช่วงครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 36.9 ล้านล้านรูเปียห์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่อยู่ที่ 31.59 ล้านล้านรูเปียห์ หรือเพิ่มขึ้นราว 16.81%
ขณะที่มูลค่าการลงทุนในประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 28.37 ล้านล้านรูเปียห์ เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว จากระดับ 11.18 ล้านล้านรูเปียห์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยเฉพาะการลงทุนในเซ็กเตอร์เคมีคัลและ ยาที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 1,600% ไปอยู่ที่ 14.6 ล้านล้านรูเปียห์ ในช่วงครึ่งปีแรก จากเดิมที่อยู่ที่ 843.7 พันล้านรูเปียห์ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเคมิคอลในแดนอิเหนามาจากนักลงทุนต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมในช่วงครึ่งปีแรกประมาณ 1.53 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 51.6 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ของบริษัทในประเทศ มีมูลค่าราว 978.9 พันล้านรูเปียห์ เพิ่มขึ้นจาก 368.3 พันล้านรูเปียห์
เหตุผลที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้เป็นที่น่าสนใจ เนื่องจากปัจจุบันกำลังซื้อยาของชาวอิเหนาต่อหัวต่อปีอยู่ที่เพียง 8 ดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งสะท้อน ว่ายังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
ล่าสุดกลุ่มทุนต่างชาติที่ตบเท้าเข้ามายังอินโดนีเซีย คือ กลุ่มทุนจากดูไบ "อีมาร์ พร็อพ เพอร์ตี้ส์" ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รายใหญ่สุดของอาหรับ เมื่อวัดจากมูลค่าตลาด
โฆษกของอีมาร์ พร็อพเพอร์ตี้ส์ ระบุว่า บริษัทมีแผนจะเข้ามาลงทุนในโครงการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ในเกาะลอมบอกของอินโดนีเซีย โดยโครงการนี้เป็นโครงการล่าสุดของบริษัท ที่เข้ามาลงทุนในเอเชียใต้ หลังจากบริษัทโฟกัส ที่จะลงทุนราว 100 พันล้านดอลลาร์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ปากีสถาน อียิปต์ และในอีก 12 ประเทศ
นอกจากนี้อินโดนีเซียยังคาดหวังที่จะดึงดูดเงินลงทุนจากนักลงทุนเกาหลีใต้ราว 1.5 พันล้านดอลลาร์ ที่อาจสนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซ เหมืองแร่ และไฟฟ้า ในระหว่าง การเดินทางไปเยือนเกาหลีใต้ของประธานาธิบดี ซูซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน แห่งอินโดนีเซีย ในระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม หลังจากทั้งสองประเทศเห็นพ้องที่จะเพิ่มความร่วมมือทางด้านการค้า พลังงาน สาธารณูปโภค และการลงทุนระหว่างกันตั้งแต่ปีที่แล้ว
หนึ่งในโครงการที่อาจมีการลงทุนเพิ่ม คือ โรงงานผลิตก๊าซแอลพีจี มูลค่า 150 ล้านดอลลาร์ บนเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทเกาหลีใต้ "อีวัน คอร์ป" (E1) และ บริษัทพีที เพอร์ทาก๊าซ ของอินโดนีเซีย
น่าสนใจว่า ตัวเลข FDI ข้างต้น รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่เพิ่งออกมา ได้มีส่วนช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศได้มาก โดยจากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ตลาด และนักวิชาการราว 100 คน ที่จัดทำโดย "แบงก์อินโดนีเซีย" พบว่า มีการประเมินกันว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจะทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะมีการกู้ยืมจากแบงก์มากขึ้นด้วย
ประเมินกันว่าภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ ประกอบกับการแข็งค่าขึ้น ของรูเปียห์จะทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ขยายตัวในระดับ 5.1-6% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับระดับการขยายตัวทั้งปี และการขยายตัวอาจจะแตะถึง 4.47% ได้ หากตัวเลขการลงทุนและส่งออกเพิ่มขึ้น
ผลสำรวจยังระบุว่า การลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวเลขการส่งออกน่าจะขยายตัวในระดับ 15.1-22.5%
การลงทุนที่เพิ่มขึ้นนี้จะสะท้อนถึงการบริโภค ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักๆ ของประเทศ ที่ได้รับแรงหนุนจากราคาผู้บริโภคที่มีเสถียรภาพ ขณะที่ค่าเงินรูเปียห์ที่อยู่ระหว่าง 9,001-9,500 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ ยังสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางการค้าได้ดี
อย่างไรก็ตามยังต้องระมัดระวังภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวในการ บริโภคและการลงทุนได้ หากทางการอิเหนา ไม่สามารถบริหารจัดการอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ เช่นเดียวกับความคาดหวังเกี่ยวกับราคาผู้บริโภคในประเทศ
ประกอบกับปัญหาเรื่องการกินสินบาทคาดสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐและข้อบังคับของกฎหมาย อาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอินโดนีเซียก็เป็นได้
ทั้งนี้รัฐบาลประเมินว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศน่าจะอยู่ที่ระดับ 6.3% ในปี 2550 และเพิ่มเป็น 6.6% ในปี 2551 ส่วนภาวะเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 6.5% ขณะที่การขยายตัวในปีที่แล้วอยู่ที่ 5.5% เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและภาระดอกเบี้ยจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้ยังประเมินกันว่า การกู้ยืมเงินจากธนาคารน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับในไตรมาส 2 ที่การกู้ยืมเงินจากแบงก์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการกู้ยืมเงินทุนเพื่อการทำงานในอุตสาหกรรมและการกู้ยืมเงินสินเชื่อ เพื่อการซื้อบ้าน ซึ่งการกู้ยืมเงินจากแบงก์จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของอินโดนีเซียได้อีกทางหนึ่ง
แบงก์ชาติอิเหนาประเมินว่า ในปี 2550 น่าจะมีการกู้ยืมเงินจากแบงก์เพิ่มขึ้นระหว่าง 18-20% จาก 14% ในปีที่แล้ว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
อินโดนีเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างชัดเจน ไม่แพ้บรรดาเพื่อนบ้านในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน ถึงแม้ว่าตัวเลขจีดีพี ของอินโดนีเซียจะไม่ได้เติบโตในระดับที่หวือหวามากนัก แต่เม็ดเงินการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ
โดยในช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ บิสนิส อินโดนีเซีย รายงานโดยอ้างตัวเลขจากคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนแห่งชาติของอินโดนีเซีย (BKPM) ว่า มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่เข้ามาในแดนอิเหนา ช่วงครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 36.9 ล้านล้านรูเปียห์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่อยู่ที่ 31.59 ล้านล้านรูเปียห์ หรือเพิ่มขึ้นราว 16.81%
ขณะที่มูลค่าการลงทุนในประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 28.37 ล้านล้านรูเปียห์ เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว จากระดับ 11.18 ล้านล้านรูเปียห์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยเฉพาะการลงทุนในเซ็กเตอร์เคมีคัลและ ยาที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 1,600% ไปอยู่ที่ 14.6 ล้านล้านรูเปียห์ ในช่วงครึ่งปีแรก จากเดิมที่อยู่ที่ 843.7 พันล้านรูเปียห์ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเคมิคอลในแดนอิเหนามาจากนักลงทุนต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมในช่วงครึ่งปีแรกประมาณ 1.53 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 51.6 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ของบริษัทในประเทศ มีมูลค่าราว 978.9 พันล้านรูเปียห์ เพิ่มขึ้นจาก 368.3 พันล้านรูเปียห์
เหตุผลที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้เป็นที่น่าสนใจ เนื่องจากปัจจุบันกำลังซื้อยาของชาวอิเหนาต่อหัวต่อปีอยู่ที่เพียง 8 ดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งสะท้อน ว่ายังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
ล่าสุดกลุ่มทุนต่างชาติที่ตบเท้าเข้ามายังอินโดนีเซีย คือ กลุ่มทุนจากดูไบ "อีมาร์ พร็อพ เพอร์ตี้ส์" ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รายใหญ่สุดของอาหรับ เมื่อวัดจากมูลค่าตลาด
โฆษกของอีมาร์ พร็อพเพอร์ตี้ส์ ระบุว่า บริษัทมีแผนจะเข้ามาลงทุนในโครงการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ในเกาะลอมบอกของอินโดนีเซีย โดยโครงการนี้เป็นโครงการล่าสุดของบริษัท ที่เข้ามาลงทุนในเอเชียใต้ หลังจากบริษัทโฟกัส ที่จะลงทุนราว 100 พันล้านดอลลาร์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ปากีสถาน อียิปต์ และในอีก 12 ประเทศ
นอกจากนี้อินโดนีเซียยังคาดหวังที่จะดึงดูดเงินลงทุนจากนักลงทุนเกาหลีใต้ราว 1.5 พันล้านดอลลาร์ ที่อาจสนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซ เหมืองแร่ และไฟฟ้า ในระหว่าง การเดินทางไปเยือนเกาหลีใต้ของประธานาธิบดี ซูซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน แห่งอินโดนีเซีย ในระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม หลังจากทั้งสองประเทศเห็นพ้องที่จะเพิ่มความร่วมมือทางด้านการค้า พลังงาน สาธารณูปโภค และการลงทุนระหว่างกันตั้งแต่ปีที่แล้ว
หนึ่งในโครงการที่อาจมีการลงทุนเพิ่ม คือ โรงงานผลิตก๊าซแอลพีจี มูลค่า 150 ล้านดอลลาร์ บนเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทเกาหลีใต้ "อีวัน คอร์ป" (E1) และ บริษัทพีที เพอร์ทาก๊าซ ของอินโดนีเซีย
น่าสนใจว่า ตัวเลข FDI ข้างต้น รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่เพิ่งออกมา ได้มีส่วนช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศได้มาก โดยจากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ตลาด และนักวิชาการราว 100 คน ที่จัดทำโดย "แบงก์อินโดนีเซีย" พบว่า มีการประเมินกันว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจะทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะมีการกู้ยืมจากแบงก์มากขึ้นด้วย
ประเมินกันว่าภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ ประกอบกับการแข็งค่าขึ้น ของรูเปียห์จะทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ขยายตัวในระดับ 5.1-6% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับระดับการขยายตัวทั้งปี และการขยายตัวอาจจะแตะถึง 4.47% ได้ หากตัวเลขการลงทุนและส่งออกเพิ่มขึ้น
ผลสำรวจยังระบุว่า การลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวเลขการส่งออกน่าจะขยายตัวในระดับ 15.1-22.5%
การลงทุนที่เพิ่มขึ้นนี้จะสะท้อนถึงการบริโภค ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักๆ ของประเทศ ที่ได้รับแรงหนุนจากราคาผู้บริโภคที่มีเสถียรภาพ ขณะที่ค่าเงินรูเปียห์ที่อยู่ระหว่าง 9,001-9,500 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ ยังสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางการค้าได้ดี
อย่างไรก็ตามยังต้องระมัดระวังภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวในการ บริโภคและการลงทุนได้ หากทางการอิเหนา ไม่สามารถบริหารจัดการอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ เช่นเดียวกับความคาดหวังเกี่ยวกับราคาผู้บริโภคในประเทศ
ประกอบกับปัญหาเรื่องการกินสินบาทคาดสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐและข้อบังคับของกฎหมาย อาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอินโดนีเซียก็เป็นได้
ทั้งนี้รัฐบาลประเมินว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศน่าจะอยู่ที่ระดับ 6.3% ในปี 2550 และเพิ่มเป็น 6.6% ในปี 2551 ส่วนภาวะเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 6.5% ขณะที่การขยายตัวในปีที่แล้วอยู่ที่ 5.5% เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและภาระดอกเบี้ยจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้ยังประเมินกันว่า การกู้ยืมเงินจากธนาคารน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับในไตรมาส 2 ที่การกู้ยืมเงินจากแบงก์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการกู้ยืมเงินทุนเพื่อการทำงานในอุตสาหกรรมและการกู้ยืมเงินสินเชื่อ เพื่อการซื้อบ้าน ซึ่งการกู้ยืมเงินจากแบงก์จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของอินโดนีเซียได้อีกทางหนึ่ง
แบงก์ชาติอิเหนาประเมินว่า ในปี 2550 น่าจะมีการกู้ยืมเงินจากแบงก์เพิ่มขึ้นระหว่าง 18-20% จาก 14% ในปีที่แล้ว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 6
ตปท.ขยาดสินค้าอันตราย ทางการจีนสั่งปิดโรงงานกู้ความเชื่อมั่น
ภายหลังการหารือร่วมระหว่าง นายลี ชางเจียง ผู้อำนวยการสำนักงานสกัดกั้น สืบสวนและควบคุมคุณภาพสินค้ากับ นางเมเกลนา คูเนวา กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในความพยายามกระตุ้นและเรียกร้องให้รัฐบาลจีนแก้ปัญหาสินค้าไม่ได้คุณภาพและมีการปนเปื้อนของสารพิษ
"ความจริงแล้ว สหภาพยุโรปสามารถสั่งห้ามนำเข้าสินค้าจากจีนได้ทันทีโดยไม่ต้องรีรอด้วยซ้ำ แต่เรายังเห็นว่ามาตรการที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จ ไม่อาจได้มาจากการสั่งห้ามนำเข้าสินค้า แต่ต้องเกิดจากการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อพัฒนาสินค้าส่งออกและตลาดของทั้งอียูและจีน" นางคูเนวากล่าว
อีกทั้งยังระบุว่า สหภาพยุโรปยินดีจะให้ ความช่วยเหลือฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมดูแลคุณภาพสินค้าของจีน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา เนื่องจากที่ผ่านมา ภายใต้การดำเนินงานในระบบการป้องกันเร่งด่วนในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร หรือ RAPEX จากสหภาพยุโรป พบว่า 48% ของสินค้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ปลอดภัยในปี 2549 ล้วนผลิตขึ้น ในประเทศจีน ขณะที่อีก 5% มาจากเยอรมนี
แต่อย่างไรก็ตาม แม้มาตรการที่จีนนำมาปฏิบัติใช้เพื่อแก้ปัญหาการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพหรือป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษจะเกิดขึ้นแล้ว แต่สินค้าจากจีนที่เข้าไปในสหภาพยุโรปก็มีเพียง 2% เท่านั้น ที่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพของสินค้าได้ ดังนั้นด้วยเหตุผลนี้ สหภาพยุโรปจึงต้องการให้จีนเพิ่มความเข้มงวดและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้เร็วขึ้นอีก
ทั้งนี้ ตามรายงานข่าวของเดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล จากปักกิ่ง ระบุว่า ท่ามกลางการ เพ่งเล็งและการเรียกร้องการแก้ปัญหาจากนานา ประเทศ ได้ทำให้เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านคุณภาพสินค้าในจีน ได้มีคำสั่งปิดโรงงานและสั่งห้ามดำเนินกิจการ กับบริษัทที่ผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพและ มีอันตราย
โดยมาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดง ให้คู่ค้าต่างประเทศเห็นว่า รัฐบาลจีนไม่ได้นิ่งนอนใจและกำลังต่อสู้เพื่อกู้สถานการณ์ความหวาดกลัวสินค้าจีนในตลาดโลก
ลี ชางเจียง ระบุว่า ขณะนี้ทางการจีนกำลัง ให้ความสนใจกับการเข้มงวดในข้อกำหนดการ เข้าถึงตลาดของบริษัทผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ด้วย การตั้งสถานีสุ่มตรวจสินค้าและทดสอบสินค้า ให้มากขึ้น
ขณะที่เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสกัดกั้น สืบสวนและควบคุมคุณภาพสินค้าของรัฐบาลจีน ได้ถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ ของบริษัท ไตชิง กลีเซอรีน แฟกตอรี่ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นโรงงานที่ส่งออกสารไดเอทิลีน ไกลคอล ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ อีกทั้งยังถูกพบว่าเป็นสารประกอบในยารักษาโรคกว่า 15% และเป็นผลทำให้ผู้ป่วยชาวปานามาเสียชีวิตจากการรับยาที่มีไดเอทิลีน ไกลคอลปนเปื้อนแล้วกว่า 51 ราย
แถลงการณ์จากทางการจีน ระบุด้วยว่า โรงงานและแผนกต่างๆ ของบริษัท ไตชิง กลีเซอรีน แฟกตอรี่ ในจังหวัดเจียงซูได้ปิดกิจการลงแล้ว พร้อมกับใบอนุญาตประกอบกิจการก็ถูกเพิกถอนไปแล้วด้วยเช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า การสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของโรงงานในจังหวัดเจียงซูรอบนี้ กลับเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าการเดินทางดูงานและเข้าพบเจ้าหน้าที่ของจีนจาก ตัวแทนสหภาพยุโรปเพียงไม่กี่วัน อีกทั้งในหมายตารางการเดินทางของนางเมเกลนา คูเนวา กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคสหภาพยุโรป ยังระบุว่า จะเดินไปดูโรงงานและพบเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่จังหวัดเจียงซู ทางตะวันออกของจีนด้วย
นอกจากนี้ยังมีบริษัทอีก 2 แห่งที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการผลิตสินค้าที่มีการปนเปื้อนของสารเมลามีนในอาหารสัตว์ และมีผลทำให้แมวและ สุนัขในอเมริกาเหนือเสียชีวิตหลังกินอาหารเหล่านี้
โดยในแถลงการณ์จากทางการจีนระบุว่า ขณะนี้ได้ลงโทษบริษัท ซุเจา แอนยิง ไบโอโลจิก เทคโนโลยี ดีเวลอปเมนต์ จำกัด และบริษัท บินเจา ฟูเจี้ยน ไบโอโลจี เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีมีสารเมลามีนปนเปื้อนในอาหารสัตว์ โดยขณะนี้บริษัท ซุเจาฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดเจียนซุได้ถูกถอนใบประกอบกิจการ โรงงานถูกสั่งปิดและห้ามนำเข้า-ส่งออกสินค้า ส่วนบริษัท บินเจาฯ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัด ชานดองก็ได้รับการลงโทษในมาตรการเดียวกัน
แต่นอกเหนือจากการแก้ปัญหาตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตภายในประเทศแล้ว หน่วยงาน ผู้รับผิดชอบเรื่องคุณภาพสินค้าในจีนยังออกมา ตอบโต้และคัดค้านการรายงานข่าวของสื่อต่างประเทศ ที่ถล่มประโคมข่าวกล่าวหาว่าสินค้าจีนจนทำให้ผู้บริโภคในต่างประเทศหวาดกลัว เกินเหตุด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
ภายหลังการหารือร่วมระหว่าง นายลี ชางเจียง ผู้อำนวยการสำนักงานสกัดกั้น สืบสวนและควบคุมคุณภาพสินค้ากับ นางเมเกลนา คูเนวา กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ในความพยายามกระตุ้นและเรียกร้องให้รัฐบาลจีนแก้ปัญหาสินค้าไม่ได้คุณภาพและมีการปนเปื้อนของสารพิษ
"ความจริงแล้ว สหภาพยุโรปสามารถสั่งห้ามนำเข้าสินค้าจากจีนได้ทันทีโดยไม่ต้องรีรอด้วยซ้ำ แต่เรายังเห็นว่ามาตรการที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จ ไม่อาจได้มาจากการสั่งห้ามนำเข้าสินค้า แต่ต้องเกิดจากการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อพัฒนาสินค้าส่งออกและตลาดของทั้งอียูและจีน" นางคูเนวากล่าว
อีกทั้งยังระบุว่า สหภาพยุโรปยินดีจะให้ ความช่วยเหลือฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมดูแลคุณภาพสินค้าของจีน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา เนื่องจากที่ผ่านมา ภายใต้การดำเนินงานในระบบการป้องกันเร่งด่วนในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร หรือ RAPEX จากสหภาพยุโรป พบว่า 48% ของสินค้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ปลอดภัยในปี 2549 ล้วนผลิตขึ้น ในประเทศจีน ขณะที่อีก 5% มาจากเยอรมนี
แต่อย่างไรก็ตาม แม้มาตรการที่จีนนำมาปฏิบัติใช้เพื่อแก้ปัญหาการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพหรือป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษจะเกิดขึ้นแล้ว แต่สินค้าจากจีนที่เข้าไปในสหภาพยุโรปก็มีเพียง 2% เท่านั้น ที่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพของสินค้าได้ ดังนั้นด้วยเหตุผลนี้ สหภาพยุโรปจึงต้องการให้จีนเพิ่มความเข้มงวดและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้เร็วขึ้นอีก
ทั้งนี้ ตามรายงานข่าวของเดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล จากปักกิ่ง ระบุว่า ท่ามกลางการ เพ่งเล็งและการเรียกร้องการแก้ปัญหาจากนานา ประเทศ ได้ทำให้เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านคุณภาพสินค้าในจีน ได้มีคำสั่งปิดโรงงานและสั่งห้ามดำเนินกิจการ กับบริษัทที่ผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพและ มีอันตราย
โดยมาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดง ให้คู่ค้าต่างประเทศเห็นว่า รัฐบาลจีนไม่ได้นิ่งนอนใจและกำลังต่อสู้เพื่อกู้สถานการณ์ความหวาดกลัวสินค้าจีนในตลาดโลก
ลี ชางเจียง ระบุว่า ขณะนี้ทางการจีนกำลัง ให้ความสนใจกับการเข้มงวดในข้อกำหนดการ เข้าถึงตลาดของบริษัทผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ด้วย การตั้งสถานีสุ่มตรวจสินค้าและทดสอบสินค้า ให้มากขึ้น
ขณะที่เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสกัดกั้น สืบสวนและควบคุมคุณภาพสินค้าของรัฐบาลจีน ได้ถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ ของบริษัท ไตชิง กลีเซอรีน แฟกตอรี่ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นโรงงานที่ส่งออกสารไดเอทิลีน ไกลคอล ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ อีกทั้งยังถูกพบว่าเป็นสารประกอบในยารักษาโรคกว่า 15% และเป็นผลทำให้ผู้ป่วยชาวปานามาเสียชีวิตจากการรับยาที่มีไดเอทิลีน ไกลคอลปนเปื้อนแล้วกว่า 51 ราย
แถลงการณ์จากทางการจีน ระบุด้วยว่า โรงงานและแผนกต่างๆ ของบริษัท ไตชิง กลีเซอรีน แฟกตอรี่ ในจังหวัดเจียงซูได้ปิดกิจการลงแล้ว พร้อมกับใบอนุญาตประกอบกิจการก็ถูกเพิกถอนไปแล้วด้วยเช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า การสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของโรงงานในจังหวัดเจียงซูรอบนี้ กลับเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าการเดินทางดูงานและเข้าพบเจ้าหน้าที่ของจีนจาก ตัวแทนสหภาพยุโรปเพียงไม่กี่วัน อีกทั้งในหมายตารางการเดินทางของนางเมเกลนา คูเนวา กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคสหภาพยุโรป ยังระบุว่า จะเดินไปดูโรงงานและพบเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่จังหวัดเจียงซู ทางตะวันออกของจีนด้วย
นอกจากนี้ยังมีบริษัทอีก 2 แห่งที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการผลิตสินค้าที่มีการปนเปื้อนของสารเมลามีนในอาหารสัตว์ และมีผลทำให้แมวและ สุนัขในอเมริกาเหนือเสียชีวิตหลังกินอาหารเหล่านี้
โดยในแถลงการณ์จากทางการจีนระบุว่า ขณะนี้ได้ลงโทษบริษัท ซุเจา แอนยิง ไบโอโลจิก เทคโนโลยี ดีเวลอปเมนต์ จำกัด และบริษัท บินเจา ฟูเจี้ยน ไบโอโลจี เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีมีสารเมลามีนปนเปื้อนในอาหารสัตว์ โดยขณะนี้บริษัท ซุเจาฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดเจียนซุได้ถูกถอนใบประกอบกิจการ โรงงานถูกสั่งปิดและห้ามนำเข้า-ส่งออกสินค้า ส่วนบริษัท บินเจาฯ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัด ชานดองก็ได้รับการลงโทษในมาตรการเดียวกัน
แต่นอกเหนือจากการแก้ปัญหาตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตภายในประเทศแล้ว หน่วยงาน ผู้รับผิดชอบเรื่องคุณภาพสินค้าในจีนยังออกมา ตอบโต้และคัดค้านการรายงานข่าวของสื่อต่างประเทศ ที่ถล่มประโคมข่าวกล่าวหาว่าสินค้าจีนจนทำให้ผู้บริโภคในต่างประเทศหวาดกลัว เกินเหตุด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 7
เวียดนามกลางกระแสทุนนิยม แก้ กม.ไฟเขียวเปิดแบงก์เพิ่ม
เมื่อถนนทุกสายมุ่งหน้าสู่เวียดนาม อย่างเด่นชัดในปี 2550 เฉกเช่นที่เคยหลั่งไหลเข้าสู่จีนมาแล้ว ในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นช่วงที่พญามังกรเปิดตัวเอง เชื่อมต่อเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก ทุนนิยมจึงสามารถปักธงลงหลักในดินแดนสังคมนิยม ได้ในระดับที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ รัฐบาลเวียดนามแก้ไขกฎหมายให้สามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารรายใหม่ได้ ตั้งแต่ 20 กรกฎาคมเป็นต้นไป
นำไปสู่การคาดการณ์ที่ว่า ภายในสิ้นปีนี้จะมีธนาคารหน้าใหม่ในภาคบริการการเงินของเวียดนาม อย่างน้อย 2 ราย
ภายใต้กฎหมายได้กำหนดกฎเกณฑ์และ ข้อบังคับที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะในด้านศักยภาพทางการเงิน แหล่งทุน บรรษัทภิบาล และทักษะการบริหารจัดการ ของผู้ยื่นขอใบอนุญาต
หนึ่งในกฎเหล็กที่นักลงทุนสถาบันและรายบุคคลจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ หากต้องการใบอนุญาตประกอบการ ได้แก่ การกำหนดให้ผู้ยื่นขอใบอนุญาตต้องมีเงินทุนดำเนินการเริ่มแรก 1 ล้านล้านด่อง หรือ 62.5 ล้านดอลลาร์ โดยจะต้องเป็นเงินที่มาจากการลงขันของผู้ถือหุ้น ไม่ใช่เงินกู้
เคีย ฮู ดัง ผู้อำนวยการกองกิจการธนาคารและสถาบันสินเชื่อประเภทที่ไม่ใช่ธนาคาร (น็อนแบงก์) ของธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Vietnam) เปิดเผยว่า มีผู้ยื่นใบสมัครเพื่อขอใบอนุญาตต่อธนาคารกลาง ก่อนหน้าที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับใช้เกือบ 30 ราย และ 20 รายในจำนวนนั้น ได้ยื่นใบสมัครเข้ามาใหม่ หลังจากมีการประกาศหลักเกณฑ์ใหม่
"จากการประเมินเบื้องต้นของเรา พบว่า มีนักลงทุน 2-3 รายที่มีคุณสมบัติต้องตามเกณฑ์ใหม่ และคาดว่าจะมีธนาคารใหม่ 1 หรือ 2 รายได้รับใบอนุญาตประกอบการ ภายในสิ้นปีนี้"
ปัจจุบันธนาคารในเวียดนามมี 4 ประเภท ได้แก่ ธนาคารรัฐบาล สาขาของธนาคารต่างชาติ ธนาคารร่วมทุนระหว่างธนาคารต่างชาติและธนาคารรัฐบาล และธนาคารร่วมหุ้น หรือ joint stock bank ซึ่งมีจำนวนมากถึงเกือบ 50 ธนาคาร ทั้งนี้ ตลาดธนาคารในเวียดนามถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น เพราะสัดส่วนการใช้บริการธนาคารมีเพียง 5% ของตลาดที่ประชากรสูงถึง 84 ล้านคน
กรณีตัวอย่างของการร่วมทุนระหว่างธนาคารเวียดนามกับธนาคารต่างประเทศ ได้แก่ เซาเทิร์น คอมเมอร์เชียล แบงก์ ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในโฮจิมินห์ซิตี ซึ่งก่อนหน้านี้ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซี แบงก์ หรือยูโอบีของสิงคโปร์ ได้ซื้อหุ้น 10% วงเงิน 30 ล้านดอลลาร์ และวางแผนลงทุนด้วยเงินสดอีก 29 ล้านดอลลาร์ เพิ่มสัดส่วนหุ้นเป็น 20%
ธนาคารเวียดนามรายนี้ ซึ่งมีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 9.4 ล้านล้านด่อง และมี 52 สาขา นับถึงมกราคมที่ผ่านมา กำลังเป็นที่หมายตาของต่างชาติ หนึ่งในกลุ่มทุนที่สนใจ ได้แก่ แอมคอร์ปกรุ๊ป กลุ่มบริการการเงินจากมาเลเซีย เพื่อแตกไลน์สู่ธุรกิจไฟแนนซ์
ภายใต้กฎหมายปัจจุบันของเวียดนาม ธนาคารต่างชาติสามารถถือหุ้นในธนาคารเวียดนามได้แค่ 10% เท่านั้น แม้ว่ากฎหมายจะจำกัดการถือหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติไว้ไม่เกิน 30% แต่ในกรณียกเว้น รัฐบาลเวียดนามอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติถือหุ้นในธนาคารเวียดนามได้ หากเป็นข้อเสนอของธนาคารกลางเวียดนาม ดังกรณีของดอยช์แบงก์ที่ได้รับอนุญาตจากแบงก์ชาติเวียดนามให้ถือหุ้นเพิ่มเติมได้อีก 10% ในธนาคารฮานอย บิลดิ้ง คอมเมอร์เชียล หรือกรณีของธนาคารฮาบูแบงก์ ถือเป็นกรณีแรกที่ธนาคารต่างชาติถือหุ้นได้เต็มเพดาน 20% ในธนาคารท้องถิ่นของเวียดนาม
สำหรับธนาคารต่างชาติที่ยื่นขอใบอนุญาตเปิดสาขาธนาคารที่ถือหุ้นเต็ม 100% มี 3 รายได้แก่ เอชเอสบีซี เอเอ็นซี และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
เมื่อถนนทุกสายมุ่งหน้าสู่เวียดนาม อย่างเด่นชัดในปี 2550 เฉกเช่นที่เคยหลั่งไหลเข้าสู่จีนมาแล้ว ในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นช่วงที่พญามังกรเปิดตัวเอง เชื่อมต่อเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก ทุนนิยมจึงสามารถปักธงลงหลักในดินแดนสังคมนิยม ได้ในระดับที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ รัฐบาลเวียดนามแก้ไขกฎหมายให้สามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารรายใหม่ได้ ตั้งแต่ 20 กรกฎาคมเป็นต้นไป
นำไปสู่การคาดการณ์ที่ว่า ภายในสิ้นปีนี้จะมีธนาคารหน้าใหม่ในภาคบริการการเงินของเวียดนาม อย่างน้อย 2 ราย
ภายใต้กฎหมายได้กำหนดกฎเกณฑ์และ ข้อบังคับที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะในด้านศักยภาพทางการเงิน แหล่งทุน บรรษัทภิบาล และทักษะการบริหารจัดการ ของผู้ยื่นขอใบอนุญาต
หนึ่งในกฎเหล็กที่นักลงทุนสถาบันและรายบุคคลจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ หากต้องการใบอนุญาตประกอบการ ได้แก่ การกำหนดให้ผู้ยื่นขอใบอนุญาตต้องมีเงินทุนดำเนินการเริ่มแรก 1 ล้านล้านด่อง หรือ 62.5 ล้านดอลลาร์ โดยจะต้องเป็นเงินที่มาจากการลงขันของผู้ถือหุ้น ไม่ใช่เงินกู้
เคีย ฮู ดัง ผู้อำนวยการกองกิจการธนาคารและสถาบันสินเชื่อประเภทที่ไม่ใช่ธนาคาร (น็อนแบงก์) ของธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Vietnam) เปิดเผยว่า มีผู้ยื่นใบสมัครเพื่อขอใบอนุญาตต่อธนาคารกลาง ก่อนหน้าที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับใช้เกือบ 30 ราย และ 20 รายในจำนวนนั้น ได้ยื่นใบสมัครเข้ามาใหม่ หลังจากมีการประกาศหลักเกณฑ์ใหม่
"จากการประเมินเบื้องต้นของเรา พบว่า มีนักลงทุน 2-3 รายที่มีคุณสมบัติต้องตามเกณฑ์ใหม่ และคาดว่าจะมีธนาคารใหม่ 1 หรือ 2 รายได้รับใบอนุญาตประกอบการ ภายในสิ้นปีนี้"
ปัจจุบันธนาคารในเวียดนามมี 4 ประเภท ได้แก่ ธนาคารรัฐบาล สาขาของธนาคารต่างชาติ ธนาคารร่วมทุนระหว่างธนาคารต่างชาติและธนาคารรัฐบาล และธนาคารร่วมหุ้น หรือ joint stock bank ซึ่งมีจำนวนมากถึงเกือบ 50 ธนาคาร ทั้งนี้ ตลาดธนาคารในเวียดนามถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น เพราะสัดส่วนการใช้บริการธนาคารมีเพียง 5% ของตลาดที่ประชากรสูงถึง 84 ล้านคน
กรณีตัวอย่างของการร่วมทุนระหว่างธนาคารเวียดนามกับธนาคารต่างประเทศ ได้แก่ เซาเทิร์น คอมเมอร์เชียล แบงก์ ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในโฮจิมินห์ซิตี ซึ่งก่อนหน้านี้ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซี แบงก์ หรือยูโอบีของสิงคโปร์ ได้ซื้อหุ้น 10% วงเงิน 30 ล้านดอลลาร์ และวางแผนลงทุนด้วยเงินสดอีก 29 ล้านดอลลาร์ เพิ่มสัดส่วนหุ้นเป็น 20%
ธนาคารเวียดนามรายนี้ ซึ่งมีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 9.4 ล้านล้านด่อง และมี 52 สาขา นับถึงมกราคมที่ผ่านมา กำลังเป็นที่หมายตาของต่างชาติ หนึ่งในกลุ่มทุนที่สนใจ ได้แก่ แอมคอร์ปกรุ๊ป กลุ่มบริการการเงินจากมาเลเซีย เพื่อแตกไลน์สู่ธุรกิจไฟแนนซ์
ภายใต้กฎหมายปัจจุบันของเวียดนาม ธนาคารต่างชาติสามารถถือหุ้นในธนาคารเวียดนามได้แค่ 10% เท่านั้น แม้ว่ากฎหมายจะจำกัดการถือหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติไว้ไม่เกิน 30% แต่ในกรณียกเว้น รัฐบาลเวียดนามอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติถือหุ้นในธนาคารเวียดนามได้ หากเป็นข้อเสนอของธนาคารกลางเวียดนาม ดังกรณีของดอยช์แบงก์ที่ได้รับอนุญาตจากแบงก์ชาติเวียดนามให้ถือหุ้นเพิ่มเติมได้อีก 10% ในธนาคารฮานอย บิลดิ้ง คอมเมอร์เชียล หรือกรณีของธนาคารฮาบูแบงก์ ถือเป็นกรณีแรกที่ธนาคารต่างชาติถือหุ้นได้เต็มเพดาน 20% ในธนาคารท้องถิ่นของเวียดนาม
สำหรับธนาคารต่างชาติที่ยื่นขอใบอนุญาตเปิดสาขาธนาคารที่ถือหุ้นเต็ม 100% มี 3 รายได้แก่ เอชเอสบีซี เอเอ็นซี และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 8
มอง 2 ด้านตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ความต้องการเพิ่ม-การขาดแคลนสูง
ภายในสัปดาห์นี้ รายงานการคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจโลกจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ฉบับล่าสุดจะถูกเผยแพร่ออกมาอีกครั้ง แต่ในระหว่างนี้รายงานข่าวจากเดอะ ไฟแนนเชียล ไทมส์ ได้เปิดเผยบางประเด็น จากรายงานฉบับเต็ม ซึ่งมี ไซมอน จอห์นสัน ประธานนักเศรษฐศาสตร์ประจำไอเอ็มเอฟเป็น ผู้บอกเล่าถึงเนื้อหาบางส่วน ในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกปัจจุบัน
ประเด็นสำคัญที่เดอะ ไฟแนนเชียล ไทมส์นำมาเสนอระบุถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจอันร้อนแรงของจีนในเวลานี้ ได้มีส่วนสำคัญผลักดันให้สภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมมีการเติบโตและ ร้อนแรงขึ้นตามกัน
"เศรษฐกิจโลกที่กำลังเจริญก้าวหน้าในเวลานี้ ต้องขอบคุณประสิทธิภาพของการเติบโตอย่าง เข้มแข็งของเศรษฐกิจจีน"
แต่ประเด็นที่พ่วงมากับการเติบโตของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ และน่าจะได้รับการติดตามและถูกจับตามองมากขึ้นจากความร้อนแรง และความสามารถในการบริโภค ที่มากขึ้นในประเทศจีนคือ สิ่งที่ไอเอ็มเอฟระบุว่าสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ได้สร้างให้เกิดความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ที่มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเหล็กและน้ำมัน
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ หากพบว่าเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น พร้อมกับข่าวการประกาศ เพิ่มขนาดจีดีพีในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน ซึ่งระบุว่าได้ขยายจีดีพีของช่วงครึ่งปีหลังเป็น 11.9% หลังจากพบว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปีเติบโตขึ้นจากปีก่อน และทำให้มีขนาดจีดีพีของครึ่งแรกอยู่ที่ 11.1%
ด้านการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกจากการศึกษาและเก็บข้อมูลจากไอเอ็มเอฟ ได้ระบุว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในโลกในปีนี้จะเพิ่มขึ้นและทำให้มีขนาดจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเขยิบไปอยู่ที่ระดับ 4.9%
ประธานนักเศรษฐศาสตร์ประจำไอเอ็มเอฟ ระบุด้วยว่า ขนาดจีดีพีระดับนี้ บ่งชี้ถึงความก้าวหน้าและการเติบโตมากขึ้นของเศรษฐกิจโลก
แต่ในอีกด้านหนึ่ง ไอเอ็มเอฟได้เตือนถึงผลลัพธ์ด้านกลับของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่มากขึ้นนี้ด้วยว่า ต้องระมัดระวังถึงผลกระทบ ที่เกิดจากราคาสินค้าเกษตรที่พุ่งขึ้น เนื่องจากข้อมูลตัวเลขที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ได้แสดง ให้เห็นแล้วว่า ราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นย่อมเป็นผล มาจากความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นนี้ยังรวมถึงการผลิตเอทานอลที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้พลังงานทางเลือกอื่นนอกจากน้ำมัน ซึ่งมีราคา สูงมากอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารในตลาดโลก ที่เพิ่มขึ้น ในอีกด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการ จัดซื้ออาหารของ โครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (WFP) ซึ่งเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน รายงานข่าวจากเดอะ ไฟแนนเชียล ไทมส์ ระบุว่า ราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้โครงการของสหประชาชาติต้องต่อสู้กับความช่วยเหลือผู้คนกว่า 90 ล้านคนที่ขาดแคลนอาหารในแอฟริกาและภูมิภาคอื่นๆ
โจเซตต์ ชีแรน ผู้อำนวยการบริหารดับบลิวพี กล่าวว่า ราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้การทำงานของเราจ่ายอาหารให้กับคนได้น้อยรายมากขึ้น
โดยสถานการณ์ที่หน่วยงานแห่งนี้เผชิญอยู่ คือ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนการซื้ออาหารเพื่อจ่ายให้กับผู้ขาดแคลนเพิ่มขึ้นถึง 50% และในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ สถานการณ์กลับรุนแรงมากขึ้น โดยพบว่าในบางประเทศ ที่รับบริจาคอาหารมีต้นทุนสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 120%
ขณะที่การรายงานไอเอ็มเอฟ ระบุว่า นอกจากสินค้าเกษตรโดยเฉพาะอ้อยจะเพิ่มขึ้นมากแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์เช่นเหล็กก็เพิ่มขึ้นมากด้วย โดยตามข้อมูลจากไอเอ็มเอฟพบว่า ตลาดโลหะมีการขยายตัวอย่างมากโดยเฉพาะตะกั่วและดีบุก ซึ่งทำราคาเพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง ทำลายสถิติเก่า ส่วนเหล็กอื่นๆ ราคาเพิ่มขึ้นอีก 2-3%
ตัวอย่างเช่น ราคาตะกั่วซึ่งที่เพิ่มขึ้นมา 4.4% ขณะที่ราคาสินค้าโลหะหนักมีราคาเพิ่มขึ้นถึง 100% นับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา นอกจากนี้การเก็งกำไรในตลาดค้าเงินที่เพิ่มขึ้นยังมีส่วนทำให้เกิดความกังวลต่อความต้องการดีบุกที่เพิ่มขึ้น และอาจทำให้พยุงราคาดีบุกขึ้นไปอีกจากที่เมื่อปลายสัปดาห์ก่อนราคาเพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 3.4%
ทั้งนี้ราคาทองแดงที่เพิ่มขึ้น ได้ทำให้กลุ่มศึกษาทองแดงนานาชาติ (ICSG) ระบุว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้มีความต้องการใช้ทองแดงเพิ่มขึ้นถึง 10.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยการเพิ่มขึ้นของราคาทองแดงนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงจนฉุดไม่อยู่ของจีน ซึ่งมีความต้องการใช้สินค้าเหล่านี้ในการก่อสร้างและทำให้ราคาทองแดงในจีนระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากว่า 38%
ส่วนในกรณีของอะลูมิเนียม สังกะสี นิกเกิล เป็นสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่มีราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนิกเกิลราคากระโดดขึ้นมาอยู่เกือบ 3% ในระยะที่ผ่านมา ขณะที่ โรบิน บาร์ห ตัวแทนจากยูบีเอส ในลอนดอน ระบุว่า สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่างคือ สินค้าคงคลังที่ลดลงมาจากเดือนเมษายน เป็นสิ่งสะท้อนว่า ในขณะที่ความต้องการใช้สินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้น แต่การผลิตก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี
แล้วสถานการณ์ความร้อนแรงของแหล่งเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศจีนจึงได้แผ่ขยายเข้าไปสร้างทั้งผลดีและผลเสีย ตามการหมุนเวียนไปของตลาดยุคโลกาภิวัตน์ที่ในด้านหนึ่งทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าถึงสินค้าได้ยากขึ้นด้วยเช่นกัน
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
ภายในสัปดาห์นี้ รายงานการคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจโลกจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ฉบับล่าสุดจะถูกเผยแพร่ออกมาอีกครั้ง แต่ในระหว่างนี้รายงานข่าวจากเดอะ ไฟแนนเชียล ไทมส์ ได้เปิดเผยบางประเด็น จากรายงานฉบับเต็ม ซึ่งมี ไซมอน จอห์นสัน ประธานนักเศรษฐศาสตร์ประจำไอเอ็มเอฟเป็น ผู้บอกเล่าถึงเนื้อหาบางส่วน ในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกปัจจุบัน
ประเด็นสำคัญที่เดอะ ไฟแนนเชียล ไทมส์นำมาเสนอระบุถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจอันร้อนแรงของจีนในเวลานี้ ได้มีส่วนสำคัญผลักดันให้สภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมมีการเติบโตและ ร้อนแรงขึ้นตามกัน
"เศรษฐกิจโลกที่กำลังเจริญก้าวหน้าในเวลานี้ ต้องขอบคุณประสิทธิภาพของการเติบโตอย่าง เข้มแข็งของเศรษฐกิจจีน"
แต่ประเด็นที่พ่วงมากับการเติบโตของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ และน่าจะได้รับการติดตามและถูกจับตามองมากขึ้นจากความร้อนแรง และความสามารถในการบริโภค ที่มากขึ้นในประเทศจีนคือ สิ่งที่ไอเอ็มเอฟระบุว่าสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ได้สร้างให้เกิดความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ที่มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเหล็กและน้ำมัน
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ หากพบว่าเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น พร้อมกับข่าวการประกาศ เพิ่มขนาดจีดีพีในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน ซึ่งระบุว่าได้ขยายจีดีพีของช่วงครึ่งปีหลังเป็น 11.9% หลังจากพบว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปีเติบโตขึ้นจากปีก่อน และทำให้มีขนาดจีดีพีของครึ่งแรกอยู่ที่ 11.1%
ด้านการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกจากการศึกษาและเก็บข้อมูลจากไอเอ็มเอฟ ได้ระบุว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในโลกในปีนี้จะเพิ่มขึ้นและทำให้มีขนาดจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเขยิบไปอยู่ที่ระดับ 4.9%
ประธานนักเศรษฐศาสตร์ประจำไอเอ็มเอฟ ระบุด้วยว่า ขนาดจีดีพีระดับนี้ บ่งชี้ถึงความก้าวหน้าและการเติบโตมากขึ้นของเศรษฐกิจโลก
แต่ในอีกด้านหนึ่ง ไอเอ็มเอฟได้เตือนถึงผลลัพธ์ด้านกลับของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่มากขึ้นนี้ด้วยว่า ต้องระมัดระวังถึงผลกระทบ ที่เกิดจากราคาสินค้าเกษตรที่พุ่งขึ้น เนื่องจากข้อมูลตัวเลขที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ได้แสดง ให้เห็นแล้วว่า ราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นย่อมเป็นผล มาจากความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นนี้ยังรวมถึงการผลิตเอทานอลที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้พลังงานทางเลือกอื่นนอกจากน้ำมัน ซึ่งมีราคา สูงมากอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารในตลาดโลก ที่เพิ่มขึ้น ในอีกด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการ จัดซื้ออาหารของ โครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (WFP) ซึ่งเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน รายงานข่าวจากเดอะ ไฟแนนเชียล ไทมส์ ระบุว่า ราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้โครงการของสหประชาชาติต้องต่อสู้กับความช่วยเหลือผู้คนกว่า 90 ล้านคนที่ขาดแคลนอาหารในแอฟริกาและภูมิภาคอื่นๆ
โจเซตต์ ชีแรน ผู้อำนวยการบริหารดับบลิวพี กล่าวว่า ราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้การทำงานของเราจ่ายอาหารให้กับคนได้น้อยรายมากขึ้น
โดยสถานการณ์ที่หน่วยงานแห่งนี้เผชิญอยู่ คือ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนการซื้ออาหารเพื่อจ่ายให้กับผู้ขาดแคลนเพิ่มขึ้นถึง 50% และในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ สถานการณ์กลับรุนแรงมากขึ้น โดยพบว่าในบางประเทศ ที่รับบริจาคอาหารมีต้นทุนสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 120%
ขณะที่การรายงานไอเอ็มเอฟ ระบุว่า นอกจากสินค้าเกษตรโดยเฉพาะอ้อยจะเพิ่มขึ้นมากแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์เช่นเหล็กก็เพิ่มขึ้นมากด้วย โดยตามข้อมูลจากไอเอ็มเอฟพบว่า ตลาดโลหะมีการขยายตัวอย่างมากโดยเฉพาะตะกั่วและดีบุก ซึ่งทำราคาเพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง ทำลายสถิติเก่า ส่วนเหล็กอื่นๆ ราคาเพิ่มขึ้นอีก 2-3%
ตัวอย่างเช่น ราคาตะกั่วซึ่งที่เพิ่มขึ้นมา 4.4% ขณะที่ราคาสินค้าโลหะหนักมีราคาเพิ่มขึ้นถึง 100% นับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา นอกจากนี้การเก็งกำไรในตลาดค้าเงินที่เพิ่มขึ้นยังมีส่วนทำให้เกิดความกังวลต่อความต้องการดีบุกที่เพิ่มขึ้น และอาจทำให้พยุงราคาดีบุกขึ้นไปอีกจากที่เมื่อปลายสัปดาห์ก่อนราคาเพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 3.4%
ทั้งนี้ราคาทองแดงที่เพิ่มขึ้น ได้ทำให้กลุ่มศึกษาทองแดงนานาชาติ (ICSG) ระบุว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้มีความต้องการใช้ทองแดงเพิ่มขึ้นถึง 10.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยการเพิ่มขึ้นของราคาทองแดงนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงจนฉุดไม่อยู่ของจีน ซึ่งมีความต้องการใช้สินค้าเหล่านี้ในการก่อสร้างและทำให้ราคาทองแดงในจีนระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากว่า 38%
ส่วนในกรณีของอะลูมิเนียม สังกะสี นิกเกิล เป็นสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่มีราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนิกเกิลราคากระโดดขึ้นมาอยู่เกือบ 3% ในระยะที่ผ่านมา ขณะที่ โรบิน บาร์ห ตัวแทนจากยูบีเอส ในลอนดอน ระบุว่า สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่างคือ สินค้าคงคลังที่ลดลงมาจากเดือนเมษายน เป็นสิ่งสะท้อนว่า ในขณะที่ความต้องการใช้สินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้น แต่การผลิตก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี
แล้วสถานการณ์ความร้อนแรงของแหล่งเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศจีนจึงได้แผ่ขยายเข้าไปสร้างทั้งผลดีและผลเสีย ตามการหมุนเวียนไปของตลาดยุคโลกาภิวัตน์ที่ในด้านหนึ่งทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าถึงสินค้าได้ยากขึ้นด้วยเช่นกัน
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 9
ผลพวงรูปีแข็งค่า ดึงเอาต์ซอร์ซอินเดียคืนถิ่น
ในธุรกิจส่งออกเมื่อค่าเงินในบ้านอ่อนตัว ผลที่ตามมาคือรายได้ของบริษัทก็หดเล็กลง แต่สำหรับธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากเงินสกุลนอกบ้านอ่อนตัว ขณะที่เงินท้องถิ่นแข็งค่าขึ้นมา ย่อมมาถึงจุดเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินกิจการอีกหน
รายงานข่าวจากไฟแนนเชียล ไทมส์ กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของบริษัท ทาทา คอนซัลเทนซี เซอร์วิส หรือ ทีซีเอส บริษัท ผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์เบอร์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งเพิ่งออกมาให้ข่าวว่า บริษัทกำลังวางแผนเพิ่มกำลังแรงงานและเพิ่มการทำงานในอินเดียให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อตัดลดต้นทุนพร้อมรับปรับตัวกับการเพิ่มขึ้นของค่าเงินรูปี
สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจเอาต์ซอร์ซจากอินเดียต้องปรับยุทธศาสตร์กิจการอีกครั้ง เกิดขึ้นจากผลกระทบของค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินรูปีอย่างรวดเร็ว และทำให้ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เงินสกุลรูปีซึ่งเป็นเงินสกุลท้องถิ่นอินเดีย แข็งค่าขึ้นมากว่า 10%
วิธีแก้ปัญหาเรื่องค่าเงินที่ผันผวน ทั้งที่ธุรกิจเอาต์ซอร์ซของบริษัทแห่งนี้สามารถหารายได้จากการดำเนินกิจการกับต่างประเทศได้มากถึง 45% และลูกค้าส่วนใหญ่ล้วนมาจากประเทศพัฒนาแล้ว ก็คือ การดึงงานกลับมาทำในอินเดียบ้านเกิด และใช้การผสมผสานระดับฝีมือแรงงาน โดยการจ้างแรงงานที่ไม่ต้องจบระดับเป็นวิศวกรมากขึ้นเพื่อให้ค่าแรงถูกลง ขณะเดียวกันการหันกลับมาทำงานในประเทศมากขึ้น ในแง่ของทีซีเอสแล้ว กลับเห็นว่าจะช่วยให้บริษัทมีมาร์จิ้นเพิ่มขึ้นด้วย
"แค่เพิ่มการผลิตในประเทศเพียง 1% ก็เท่ากับจ้างแรงงานท้องถิ่นได้ 1,000 คน และทำให้รายได้บริษัทต่างไปจากที่เป็นอยู่ในทางที่ดีขึ้นได้แล้ว" เอส ปัฐมาณบาห์น รองประธานบริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลทีซีเอสกล่าว
แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ธุรกิจเอาต์ซอร์ซจากอินเดียต้องหันมาลงทุนในบ้านมากขึ้น อาจเป็นเหตุมาจากเมื่อเร็วๆ นี้วุฒิสภาสหรัฐได้ประกาศกฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งมีส่วนโจมตีธุรกิจเอาต์ซอร์ซโดยตรง เนื่องจากวุฒิสภาสหรัฐเห็นว่า ธุรกิจนี้ได้เข้ามาแย่งงานคนอเมริกัน ดังนั้นหนทางที่กิจการเอาต์ซอร์ซจากอินเดียจะทำได้ นอกจากยอมรับเงื่อนไขตามกฎหมายใหม่สหรัฐก็คือ การขยายตัวเข้าไปเปิดกิจการในประเทศที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งสามารถมั่นใจได้ว่าธุรกิจจะควบคุมต้นทุนได้
นอกจากนี้บริษัทในธุรกิจนี้ เจ้าอื่นๆ เช่น แซทยาม คอมพิวเตอร์ เซอร์วิส เอาต์ซอร์ซเบอร์ 4 ในอินเดียหรือแม้แต่อินโฟซิส เทคโนโลยี ยังต้องปรับตัวกับสถานการณ์ ยามค่าเงินผันผวนนี้ด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
ในธุรกิจส่งออกเมื่อค่าเงินในบ้านอ่อนตัว ผลที่ตามมาคือรายได้ของบริษัทก็หดเล็กลง แต่สำหรับธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากเงินสกุลนอกบ้านอ่อนตัว ขณะที่เงินท้องถิ่นแข็งค่าขึ้นมา ย่อมมาถึงจุดเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินกิจการอีกหน
รายงานข่าวจากไฟแนนเชียล ไทมส์ กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของบริษัท ทาทา คอนซัลเทนซี เซอร์วิส หรือ ทีซีเอส บริษัท ผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์เบอร์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งเพิ่งออกมาให้ข่าวว่า บริษัทกำลังวางแผนเพิ่มกำลังแรงงานและเพิ่มการทำงานในอินเดียให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อตัดลดต้นทุนพร้อมรับปรับตัวกับการเพิ่มขึ้นของค่าเงินรูปี
สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจเอาต์ซอร์ซจากอินเดียต้องปรับยุทธศาสตร์กิจการอีกครั้ง เกิดขึ้นจากผลกระทบของค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินรูปีอย่างรวดเร็ว และทำให้ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เงินสกุลรูปีซึ่งเป็นเงินสกุลท้องถิ่นอินเดีย แข็งค่าขึ้นมากว่า 10%
วิธีแก้ปัญหาเรื่องค่าเงินที่ผันผวน ทั้งที่ธุรกิจเอาต์ซอร์ซของบริษัทแห่งนี้สามารถหารายได้จากการดำเนินกิจการกับต่างประเทศได้มากถึง 45% และลูกค้าส่วนใหญ่ล้วนมาจากประเทศพัฒนาแล้ว ก็คือ การดึงงานกลับมาทำในอินเดียบ้านเกิด และใช้การผสมผสานระดับฝีมือแรงงาน โดยการจ้างแรงงานที่ไม่ต้องจบระดับเป็นวิศวกรมากขึ้นเพื่อให้ค่าแรงถูกลง ขณะเดียวกันการหันกลับมาทำงานในประเทศมากขึ้น ในแง่ของทีซีเอสแล้ว กลับเห็นว่าจะช่วยให้บริษัทมีมาร์จิ้นเพิ่มขึ้นด้วย
"แค่เพิ่มการผลิตในประเทศเพียง 1% ก็เท่ากับจ้างแรงงานท้องถิ่นได้ 1,000 คน และทำให้รายได้บริษัทต่างไปจากที่เป็นอยู่ในทางที่ดีขึ้นได้แล้ว" เอส ปัฐมาณบาห์น รองประธานบริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลทีซีเอสกล่าว
แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ธุรกิจเอาต์ซอร์ซจากอินเดียต้องหันมาลงทุนในบ้านมากขึ้น อาจเป็นเหตุมาจากเมื่อเร็วๆ นี้วุฒิสภาสหรัฐได้ประกาศกฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งมีส่วนโจมตีธุรกิจเอาต์ซอร์ซโดยตรง เนื่องจากวุฒิสภาสหรัฐเห็นว่า ธุรกิจนี้ได้เข้ามาแย่งงานคนอเมริกัน ดังนั้นหนทางที่กิจการเอาต์ซอร์ซจากอินเดียจะทำได้ นอกจากยอมรับเงื่อนไขตามกฎหมายใหม่สหรัฐก็คือ การขยายตัวเข้าไปเปิดกิจการในประเทศที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งสามารถมั่นใจได้ว่าธุรกิจจะควบคุมต้นทุนได้
นอกจากนี้บริษัทในธุรกิจนี้ เจ้าอื่นๆ เช่น แซทยาม คอมพิวเตอร์ เซอร์วิส เอาต์ซอร์ซเบอร์ 4 ในอินเดียหรือแม้แต่อินโฟซิส เทคโนโลยี ยังต้องปรับตัวกับสถานการณ์ ยามค่าเงินผันผวนนี้ด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 10
สัญญาณอันตราย Subprime Loan มะกัน พ่นพิษธนาคารใน/นอก-เฮดจ์ฟันด์
ระหว่างการชี้แจงข้อซักถามเกี่ยวกับ รายงานเศรษฐกิจสหรัฐครึ่งปี ต่อกรรมาธิการการธนาคาร ประจำ วุฒิสภา นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve : FED) ยอมรับ ว่า ความเสียหายของสินเชื่อประเภทด้อยมาตรฐาน (subprime loan) เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้ว และเป็นปัญหาที่ใหญ่พอสมควร ซึ่งมี บางรายประเมินว่า ตัวเลขความเสียหายอาจจะ สูงถึง 50-100 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสะท้อนถึงข้อเท็จจริงที่ระบุไว้ในรายงานเศรษฐกิจของเฟด ประเมินผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากการชะลอตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยไว้ด้วย
ปมสินเชื่อ subprime loan กำลังกลับมายึดพื้นที่ข่าวอีกครั้ง วิกฤตสินเชื่อประเภทนี้ ไม่ได้ อยู่แค่ตัวเลขสินเชื่อที่มีปัญหา เพราะหากพิจารณายอดสินเชื่อที่เบอร์นันเก้หยิบยกมาอ้างอิง ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับรายได้สุทธิของครัวเรือนอเมริกันโดยรวมที่สูงถึง 56.2 ล้านล้านดอลลาร์ แต่นักลงทุนจำนวนมากเริ่มกังขาว่า ปัญหาในตลาด subprime loan อาจขยายวงกระทบต่อตลาดสินเชื่อประเภทอื่นๆ ด้วยหรือไม่
เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนวิตกเช่นนั้น เนื่องจากมีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่า ปัญหา subprime loan เริ่มกระทบต่อภาคอื่นบ้างแล้ว โดยเฉพาะธนาคารและสถาบันการเงินบางราย ดังข้อสรุปในรายงานของไวส์ รีเสิร์ช ซึ่งระบุว่า ขณะนี้ธนาคารที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อประเภทนี้ในทุกด้านกำลังซึมซับกับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นได้จากตัวเลขรายงานผลประกอบการรายไตรมาส ปัญหาสินเชื่อตึงตัวเริ่มกร่อนผลกำไรรายไตรมาสของธนาคาร เนื่องจากสถาบันการเงินเหล่านี้ต้องกันเงินสดสำรอง และต้องกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นด้วย
ดังกรณีของ ฮันติงตัน แบงก์แชร์ส ธนาคารระดับภาคในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐ ในรัฐโอไฮโอ รายงานว่า ขาดทุน 7 เซนต์ต่อหุ้น เนื่องจากต้องแทงหนี้เสียในส่วนของสินเชื่อที่ปล่อยให้กับบริษัทก่อสร้างบ้าน 2 ราย ในมิชิแกนตะวันออก และบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์รายหนึ่ง ในโอไฮโอ ทั้งนี้ ในรายงานผลประกอบการ ฮันติงตันฯระบุว่า มีกำไรลดลง 28% กันสำรองหนี้สูญ 60.1 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 44.4 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ เฟิรสต์ ฮอริซอนทัล เนชั่นแนล ธนาคารแห่งหนึ่งในรัฐเทนเนสซี ต้องกันเงิน 44.4 ล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้น 138% เมื่อเทียบยอดกันสำรอง 18.7 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปี 2549
ผลกระทบไม่ได้จำกัดเฉพาะธนาคารระดับ ท้องถิ่น แม้แต่ธนาคารระดับชาติก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เห็นได้จากหลายธนาคารเริ่มเคลื่อนไหวเพิ่มการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มมากขึ้น
ยกตัวอย่างแบงก์ออฟนิวยอร์ก ที่ต้องเพิ่มเงินสดสำรองเพื่อชดเชยหนี้สูญในไตรมาส 2 ของปีนี้ 1.81 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 80% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 45% รวม 1.5 พันล้านดอลลาร์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ วอชิงตัน มิวชวล หนึ่งในสถาบันการเงินด้านสินเชื่อ subprime loan รายใหญ่สุดของประเทศ ได้กันเงินสดสำรองสำหรับหนี้สูญ 372 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับยอด 234 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของสมาคมสถาบันสินเชื่อเพื่อการเคหะระบุว่า 4.8% ของเงินกู้มีสินทรัพย์จำนอง เป็นสินเชื่อค้างชำระนาน 30 วัน ณ สิ้นเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับ 4.4% ของปีก่อน เฉพาะในกลุ่มผู้กู้สินเชื่อ subprime พบว่า มีอัตราการค้างชำระเพิ่มเป็น 13.8% นับถึงสิ้นเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากอัตราค้างชำระ 11.5% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสินเชื่อเริ่มขยายวงไปมากกว่า subprime loan โดยพบว่า ปัญหา สินเชื่อเริ่มมีปัญหาในส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบ้านอเนกประสงค์ โดยเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน 498 ประเภท และตราสารหนี้ ที่มีสินเชื่อบ้านอเนกประสงค์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน 418 ประเภท โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่มีโฮมอีควิตี้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน พบว่า เกิดปัญหาขาดทุนมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านๆ มามาก
สัญญาณที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงของตราสารหนี้เหล่านั้น สามารถประเมินได้จากดัชนีเอบีเอ็กซ์ (ABX index) ซึ่งใช้วัดความเสี่ยงในการถือตราสารหนี้ที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท subprime เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยพบว่า ดัชนีในกลุ่มนี้ซึ่งมีอยู่ 15 ตัว เกือบทุกตัวตกลงทำสถิติต่ำสุดต่อเนื่องหลายวัน ซึ่งสะท้อนชัดว่า ความเสี่ยงได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนเดิมพันว่า ปัญหาขาดทุนจากสินเชื่อประเภทนี้จะเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง
ปีเตอร์ ดูเนย์ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์การลงทุนของลีบ แคปิตอล แมเนจเมนต์ คาดการณ์ว่า การซื้อขายสัญญาออปชั่นมีอย่างหนาแน่นในกลุ่มธุรกรรมที่จะครบกำหนดในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งส่งสัญญาณชัดว่า กำลังจะมีปัญหาใหม่ๆ เพิ่มเติมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยธุรกรรมที่ซื้อขายในตลาด ส่วนใหญ่เป็นออปชั่นประเภทสิทธิขาย ของธนาคารรายใหญ่หลายแห่งของสหรัฐ แต่น่าสังเกตว่า การถือครองสถานะผู้ขายในออปชั่นเหล่านี้ เทน้ำหนักไปที่เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิงส์
พัฒนาการดังกล่าวสะท้อนถึงความเสี่ยงของธนาคารต่างๆ ที่มีพันธะผูกพันอยู่กับสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท subprime โดยเฉพาะก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่า เลห์แมน บราเธอร์ส เป็นสถาบันการเงินรายต่อไป ที่เปิดเผยให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสินเชื่อ subprime หลังจากที่เมื่อเร็วๆ นี้ กองทุนบริหารความเสี่ยง (hedge fund) 2 กองทุน ที่อยู่ภายใต้การบริหารของแบร์ สเติรนส์
ยิ่งกว่านั้น เมื่อสัปดาห์ที่แล้วยังมีรายงานออกมาด้วยว่า แม้แต่ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ของออสเตรเลีย ที่ชื่อ เบซิส แคปิตอล ฟันด์ แมเนจเมนต์ ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารนับถึงเดือนพฤษภาคม เกือบ 950 ล้านดอลลาร์ กำลังเผชิญปัญหาระดับวิกฤต เมื่อกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในการบริหารของเบซิส แคปิตอลฯ ซึ่งเข้าไปลงทุนในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท subprime ขาดทุนอย่างมากมายในเดือนมิถุนายน จนเป็นเหตุให้นักลงทุนแห่ถอนการลงทุนออกไป
ถึงขนาดที่เบซิส แคปิตอลฯ ต้องว่าจ้างแกรนต์ ทอร์นตัน เข้ามาช่วยบริษัทปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากเจ้าหนี้กดดันให้ชำระเงินกู้ แม้แต่ซิตี้กรุ๊ปและ เจ.พี. มอร์แกน แอนด์ โค ยังต้องนำสินทรัพย์บางส่วนของเบซิส แคปิตอลฯ ออกขายเมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว
ตลาดเฮดจ์ฟันด์ในออสเตรเลียขยายใหญ่อย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยนับถึงกรกฎาคม 2549 ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในออสเตรเลียควบคุมการบริหารสินทรัพย์โดยตรง เป็นมูลค่ารวม 3.05 หมื่นล้านดอลลาร์ แม้จะไม่มากเท่าเมื่อเทียบกับมาตรฐานเฮดจ์ฟันด์ในสหรัฐและอังกฤษ แต่ถือว่าใหญ่กว่าญี่ปุ่นที่มีกองทุนเฮดจ์ฟันด์ โดยรวม 2.23 หมื่นล้านดอลลาร์ และฮ่องกงที่อุตสาหกรรมนี้มีมูลค่า 1.96 หมื่นล้านดอลลาร์
ปัญหาความเสี่ยงจากตลาด subprime ที่เริ่มบานปลายกระตุ้นให้นักลงทุนสถาบัน กองทุนแห่งกองทุน และนักลงทุนประเภทเฮดจ์ฟันด์รายอื่นๆ ต้องการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับระดับความเสี่ยงที่บรรดาผู้จัดการกองทุนของพวกเขาไปก่อพันธะผูกพันเอาไว้ในตลาดประเภทนี้ และบางรายกำลังหาทางจะเรียกเงินคืนด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
ระหว่างการชี้แจงข้อซักถามเกี่ยวกับ รายงานเศรษฐกิจสหรัฐครึ่งปี ต่อกรรมาธิการการธนาคาร ประจำ วุฒิสภา นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve : FED) ยอมรับ ว่า ความเสียหายของสินเชื่อประเภทด้อยมาตรฐาน (subprime loan) เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้ว และเป็นปัญหาที่ใหญ่พอสมควร ซึ่งมี บางรายประเมินว่า ตัวเลขความเสียหายอาจจะ สูงถึง 50-100 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสะท้อนถึงข้อเท็จจริงที่ระบุไว้ในรายงานเศรษฐกิจของเฟด ประเมินผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากการชะลอตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยไว้ด้วย
ปมสินเชื่อ subprime loan กำลังกลับมายึดพื้นที่ข่าวอีกครั้ง วิกฤตสินเชื่อประเภทนี้ ไม่ได้ อยู่แค่ตัวเลขสินเชื่อที่มีปัญหา เพราะหากพิจารณายอดสินเชื่อที่เบอร์นันเก้หยิบยกมาอ้างอิง ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับรายได้สุทธิของครัวเรือนอเมริกันโดยรวมที่สูงถึง 56.2 ล้านล้านดอลลาร์ แต่นักลงทุนจำนวนมากเริ่มกังขาว่า ปัญหาในตลาด subprime loan อาจขยายวงกระทบต่อตลาดสินเชื่อประเภทอื่นๆ ด้วยหรือไม่
เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนวิตกเช่นนั้น เนื่องจากมีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่า ปัญหา subprime loan เริ่มกระทบต่อภาคอื่นบ้างแล้ว โดยเฉพาะธนาคารและสถาบันการเงินบางราย ดังข้อสรุปในรายงานของไวส์ รีเสิร์ช ซึ่งระบุว่า ขณะนี้ธนาคารที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อประเภทนี้ในทุกด้านกำลังซึมซับกับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นได้จากตัวเลขรายงานผลประกอบการรายไตรมาส ปัญหาสินเชื่อตึงตัวเริ่มกร่อนผลกำไรรายไตรมาสของธนาคาร เนื่องจากสถาบันการเงินเหล่านี้ต้องกันเงินสดสำรอง และต้องกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นด้วย
ดังกรณีของ ฮันติงตัน แบงก์แชร์ส ธนาคารระดับภาคในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐ ในรัฐโอไฮโอ รายงานว่า ขาดทุน 7 เซนต์ต่อหุ้น เนื่องจากต้องแทงหนี้เสียในส่วนของสินเชื่อที่ปล่อยให้กับบริษัทก่อสร้างบ้าน 2 ราย ในมิชิแกนตะวันออก และบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์รายหนึ่ง ในโอไฮโอ ทั้งนี้ ในรายงานผลประกอบการ ฮันติงตันฯระบุว่า มีกำไรลดลง 28% กันสำรองหนี้สูญ 60.1 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 44.4 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ เฟิรสต์ ฮอริซอนทัล เนชั่นแนล ธนาคารแห่งหนึ่งในรัฐเทนเนสซี ต้องกันเงิน 44.4 ล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้น 138% เมื่อเทียบยอดกันสำรอง 18.7 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปี 2549
ผลกระทบไม่ได้จำกัดเฉพาะธนาคารระดับ ท้องถิ่น แม้แต่ธนาคารระดับชาติก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เห็นได้จากหลายธนาคารเริ่มเคลื่อนไหวเพิ่มการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มมากขึ้น
ยกตัวอย่างแบงก์ออฟนิวยอร์ก ที่ต้องเพิ่มเงินสดสำรองเพื่อชดเชยหนี้สูญในไตรมาส 2 ของปีนี้ 1.81 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 80% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 45% รวม 1.5 พันล้านดอลลาร์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ วอชิงตัน มิวชวล หนึ่งในสถาบันการเงินด้านสินเชื่อ subprime loan รายใหญ่สุดของประเทศ ได้กันเงินสดสำรองสำหรับหนี้สูญ 372 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับยอด 234 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของสมาคมสถาบันสินเชื่อเพื่อการเคหะระบุว่า 4.8% ของเงินกู้มีสินทรัพย์จำนอง เป็นสินเชื่อค้างชำระนาน 30 วัน ณ สิ้นเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับ 4.4% ของปีก่อน เฉพาะในกลุ่มผู้กู้สินเชื่อ subprime พบว่า มีอัตราการค้างชำระเพิ่มเป็น 13.8% นับถึงสิ้นเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากอัตราค้างชำระ 11.5% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสินเชื่อเริ่มขยายวงไปมากกว่า subprime loan โดยพบว่า ปัญหา สินเชื่อเริ่มมีปัญหาในส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบ้านอเนกประสงค์ โดยเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน 498 ประเภท และตราสารหนี้ ที่มีสินเชื่อบ้านอเนกประสงค์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน 418 ประเภท โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่มีโฮมอีควิตี้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน พบว่า เกิดปัญหาขาดทุนมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านๆ มามาก
สัญญาณที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงของตราสารหนี้เหล่านั้น สามารถประเมินได้จากดัชนีเอบีเอ็กซ์ (ABX index) ซึ่งใช้วัดความเสี่ยงในการถือตราสารหนี้ที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท subprime เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยพบว่า ดัชนีในกลุ่มนี้ซึ่งมีอยู่ 15 ตัว เกือบทุกตัวตกลงทำสถิติต่ำสุดต่อเนื่องหลายวัน ซึ่งสะท้อนชัดว่า ความเสี่ยงได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนเดิมพันว่า ปัญหาขาดทุนจากสินเชื่อประเภทนี้จะเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง
ปีเตอร์ ดูเนย์ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์การลงทุนของลีบ แคปิตอล แมเนจเมนต์ คาดการณ์ว่า การซื้อขายสัญญาออปชั่นมีอย่างหนาแน่นในกลุ่มธุรกรรมที่จะครบกำหนดในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งส่งสัญญาณชัดว่า กำลังจะมีปัญหาใหม่ๆ เพิ่มเติมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยธุรกรรมที่ซื้อขายในตลาด ส่วนใหญ่เป็นออปชั่นประเภทสิทธิขาย ของธนาคารรายใหญ่หลายแห่งของสหรัฐ แต่น่าสังเกตว่า การถือครองสถานะผู้ขายในออปชั่นเหล่านี้ เทน้ำหนักไปที่เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิงส์
พัฒนาการดังกล่าวสะท้อนถึงความเสี่ยงของธนาคารต่างๆ ที่มีพันธะผูกพันอยู่กับสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท subprime โดยเฉพาะก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่า เลห์แมน บราเธอร์ส เป็นสถาบันการเงินรายต่อไป ที่เปิดเผยให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสินเชื่อ subprime หลังจากที่เมื่อเร็วๆ นี้ กองทุนบริหารความเสี่ยง (hedge fund) 2 กองทุน ที่อยู่ภายใต้การบริหารของแบร์ สเติรนส์
ยิ่งกว่านั้น เมื่อสัปดาห์ที่แล้วยังมีรายงานออกมาด้วยว่า แม้แต่ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ของออสเตรเลีย ที่ชื่อ เบซิส แคปิตอล ฟันด์ แมเนจเมนต์ ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารนับถึงเดือนพฤษภาคม เกือบ 950 ล้านดอลลาร์ กำลังเผชิญปัญหาระดับวิกฤต เมื่อกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในการบริหารของเบซิส แคปิตอลฯ ซึ่งเข้าไปลงทุนในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท subprime ขาดทุนอย่างมากมายในเดือนมิถุนายน จนเป็นเหตุให้นักลงทุนแห่ถอนการลงทุนออกไป
ถึงขนาดที่เบซิส แคปิตอลฯ ต้องว่าจ้างแกรนต์ ทอร์นตัน เข้ามาช่วยบริษัทปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากเจ้าหนี้กดดันให้ชำระเงินกู้ แม้แต่ซิตี้กรุ๊ปและ เจ.พี. มอร์แกน แอนด์ โค ยังต้องนำสินทรัพย์บางส่วนของเบซิส แคปิตอลฯ ออกขายเมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว
ตลาดเฮดจ์ฟันด์ในออสเตรเลียขยายใหญ่อย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยนับถึงกรกฎาคม 2549 ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในออสเตรเลียควบคุมการบริหารสินทรัพย์โดยตรง เป็นมูลค่ารวม 3.05 หมื่นล้านดอลลาร์ แม้จะไม่มากเท่าเมื่อเทียบกับมาตรฐานเฮดจ์ฟันด์ในสหรัฐและอังกฤษ แต่ถือว่าใหญ่กว่าญี่ปุ่นที่มีกองทุนเฮดจ์ฟันด์ โดยรวม 2.23 หมื่นล้านดอลลาร์ และฮ่องกงที่อุตสาหกรรมนี้มีมูลค่า 1.96 หมื่นล้านดอลลาร์
ปัญหาความเสี่ยงจากตลาด subprime ที่เริ่มบานปลายกระตุ้นให้นักลงทุนสถาบัน กองทุนแห่งกองทุน และนักลงทุนประเภทเฮดจ์ฟันด์รายอื่นๆ ต้องการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับระดับความเสี่ยงที่บรรดาผู้จัดการกองทุนของพวกเขาไปก่อพันธะผูกพันเอาไว้ในตลาดประเภทนี้ และบางรายกำลังหาทางจะเรียกเงินคืนด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 11
Economic Focus ประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2550
ดัชนีตลาดหุ้นดาวน์โจนส์ เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เรียกว่าแค่2วันทำการ(วันพฤหัสบดี กับศุกร์)ร่วงลงรวมกันถึง520จุด ฉะนั้นต้องจับตาการเปิดตลาดหุ้นวันแรกของสัปดาห์ ในวันที่30กรกฏาคมนี้ว่า จะร่วงลงมาอีกหรือเปล่า หรือจะมีแรงซื้อกลับเข้ามาหรือไม่ แต่ถ้าร่วงอีกคงกระทบตลาดหุ้นทั่วโลกอีกรอบแน่! แต่โชคดีที่ในวันจันทร์นี้ตลาดหุ้นบ้านเรายังอยู่ในช่วงวันหยุดยาว
ตลาดหุ้นสหรัฐฯร่วงลงจากเศรษฐกิจในประเทศมีปัญหาที่อยู่อาศัย และจำนวนหนี้เสียในตลาดบ้านจำนองซึ่งมีอยู่ในระดับสูง.......แม้ว่าปัญหาในประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯไม่ใช่ปัญหาของบ้านเรา แต่ถ้าเกิดแล้วผลกระทบย่อมเกิดขึ้นทั่วโลก
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69543
ดัชนีตลาดหุ้นดาวน์โจนส์ เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เรียกว่าแค่2วันทำการ(วันพฤหัสบดี กับศุกร์)ร่วงลงรวมกันถึง520จุด ฉะนั้นต้องจับตาการเปิดตลาดหุ้นวันแรกของสัปดาห์ ในวันที่30กรกฏาคมนี้ว่า จะร่วงลงมาอีกหรือเปล่า หรือจะมีแรงซื้อกลับเข้ามาหรือไม่ แต่ถ้าร่วงอีกคงกระทบตลาดหุ้นทั่วโลกอีกรอบแน่! แต่โชคดีที่ในวันจันทร์นี้ตลาดหุ้นบ้านเรายังอยู่ในช่วงวันหยุดยาว
ตลาดหุ้นสหรัฐฯร่วงลงจากเศรษฐกิจในประเทศมีปัญหาที่อยู่อาศัย และจำนวนหนี้เสียในตลาดบ้านจำนองซึ่งมีอยู่ในระดับสูง.......แม้ว่าปัญหาในประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯไม่ใช่ปัญหาของบ้านเรา แต่ถ้าเกิดแล้วผลกระทบย่อมเกิดขึ้นทั่วโลก
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69543
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 12
มะกันวางหมากดอลลาร์ค่าอ่อน ส่งออกพุ่ง-เงินนอกไหลเข้าตลาดหุ้น
นับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงมาแล้ว 13.2 % นับเป็นการอ่อนค่าลงมากที่สุดภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดีคนหนึ่งอย่างน้อยก็นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นปีที่ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ลงจากตำแหน่ง ตัวเลขดังกล่าวคำนวณจากดัชนีของธนาคารกลางแห่งสหรัฐ หรือ เฟด ที่ติดตามเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐโดยเปรียบเทียบกัสกุลเงินของประเทศคู่ค้าของสหรัฐจำนวน 38 ประเทศ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น และแคนาดา เป็นต้น
สถิติของเฟดชี้ว่า ในอดีตหากจะแบ่งช่วงจับตาค่าเงินดอลลาร์เป็นสมัยของการบริหารประเทศโดยประธานาธิบดีแต่ละคนจะพบว่า สมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น 18.3 % สมัยประธานาธิบดีจอร์จ บุชผู้พ่อ ดอลลาร์อ่อนลง 0.2 % สมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ดอลลาร์อ่อนลง 0.4 % สมัยประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ดอลลาร์อ่อนลง 3 % ขณะที่สมัยประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง 2.3 % ดังนั้นการอ่อนตัวถึง 13.2 % ภายใต้สมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ในขณะนี้จึงเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมา
แต่สภาวะดังกล่าวก็กำลังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจมีผลช่วยให้ชาวอเมริกันมีความมั่นใจในการทำงานของรัฐบาลพรรครีพับลิกันของประธานาธิบดีบุชมากขึ้นและเทคะแนนให้พรรคของเขาในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่กำลังจะมีขึ้นในปลายปีนี้ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวทำให้สินค้าส่งออกของสหรัฐมีราคาถูกลงในตลาดต่างแดน สถิติของรัฐบาลสหรัฐที่ประกาศออกมาในเดือนกรกฎาคมนี้ชี้ว่า เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาตัวเลขส่งออกโดยรวมทำสถิติสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่มูลค่า 132,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 4.48 ล้านล้านบาท สภาวะการส่งออกที่ดีขึ้นดังกล่าวสามารถชดเชยผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐจากการถดถอยของตลาดซื้อขายบ้านพักอาศัยที่ตกต่ำที่สุดในรอบ 16 ปี นอกจากนี้การที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงก็ไม่ได้ทำให้ทุนนอกไหลออกจากตลาดหุ้นสหรัฐอย่างที่คาดการณ์กันไว้ เพราะในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปริมาณเงินที่ไหลเข้าตลาดหุ้นสหรัฐทำสถิติสูงสุด (รายเดือน) ถึง 126,100 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 4.28 ล้านล้านบาท ทุบสถิติเก่าที่ทำไว้ในเดือนสิงหาคมปีพ.ศ. 2549 ที่มีเงินไหลเข้า 120,900 ล้านดอลลาร์
นายพอล แซมมวลสัน ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปีค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ให้ทรรศนะว่า ในช่วงต้นการบริหารงานของรัฐบาลบุชนั้นจะเน้นนโยบายค่าเงินดอลลาร์แข็ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงว่ารัฐบาลสหรัฐเริ่มต้องการให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ตัวเลขของกระทรวงการคลังสหรัฐที่ย้อนกลับไปในปี 2521 ชี้ว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมายกเว้นของประธานาธิบดีบุช มีการดูแลค่าเงินดอลลาร์ด้วยการเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อหนุนไม่ให้ค่าเงินอ่อนตัว
ด้านโฆษกของกระทรวงการคลังสหรัฐกล่าวว่า จุดยืนของนายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลังไม่เคยเปลี่ยนไปจากที่เคยกล่าวไว้ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ว่าความแข็งแกร่งของค่าเงินดอลลาร์เป็นเรื่องสำคัญของชาติและอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐก็ควรอยู่ในระดับที่สามารถแข็งขันได้โดยตั้งอยู่บนปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ทางเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากระทรวงการคลังก็ยึดมั่นในนโยบายตรึงค่าดอลลาร์ให้แข็งไว้มาโดยตลอด
อย่างไรก็ตามในวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐทำสถิติต่ำสุดครั้งใหม่ที่ 1.3845 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ยูโร และยังเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 26 ปีเมื่อเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษ (นักท่องเที่ยวอเมริกันที่มุ่งหน้าไปยังอังกฤษจะต้องจ่ายมากกว่า 2 ดอลลาร์เพื่อแลกเงินอังกฤษ 1 ปอนด์) และหากจะเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็อ่อนตัวต่ำสุดในรอบ 30 ปี แม้กระทั่งกับเงินเรียลของบราซิล ดอลลาร์สหรัฐก็อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 7 ปี นายแจน แฮทเซียส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซค ในนิวยอร์ค ให้ความเห็นว่า เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงต่างหากที่เป็นวาระสำคัญระดับชาติของสหรัฐอเมริกาในขณะนี้ และอันที่จริงแล้วก็เป็นความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะเป็นวิถีทางที่จะกระตุ้นความต้องการสินค้าสหรัฐทั้งในประเทศเองและต่างประเทศ
ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2549) เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตในอัตรา 3.3 % เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งเติบโตที่อัตรา 3.2 % ตลาดที่อยู่อาศัยที่ซบเซาลงเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาประมาณ 0.27 % ขณะที่ภาคการส่งออกเป็นตัวหนุนการเติบโตดังกล่าวประมาณ 0.93 % เพิ่มจากสัดส่วน 0.68 % ในปี 2548 (สถิติจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ) ด้านตลาดหลักทรัพย์ดาวโจนส์ก็กำลังได้รับอานิสงส์จากความมั่นใจในภาคการส่งออกด้วยเช่นกัน โดยดัชนีหลักทรัพย์ในภาคอุตสาหกรรมดีดตัวสูงขึ้นมากทำลายสถิติในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัท แคทเตอร์พิลลาร์ อินคอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตรถตักและอุปกรณ์ขุดดินรายใหญ่ที่สุดในโลกจากรัฐอิลลินอยส์ ของสหรัฐ กล่าวว่า การปรับตัวอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐทำให้ยอดขายของบริษัทในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้เพิ่มขึ้นถึง 198 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านบริษัท โคคา-โคลา คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตน้ำอัดลมรายใหญ่ที่สุดในโลก ก็เช่นกันที่ประกาศว่าได้อานิสงส์จากการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ทำให้รายได้จากการประกอบการเพิ่มขึ้นประมาณ 60 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ 70 % ของรายได้บริษัทมาจากตลาดต่างประเทศ นายแกรี่ ฟายาร์ด หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของโคคา-โคลา กล่าวว่าดอลลาร์อ่อนส่งผลกระทบเชิงบวกต่อบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอลลาร์ที่อ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงินปอนด์และยูโร
ในแง่ของการค้าระหว่างประเทศ การอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ช่วยให้ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลง โดยเฉพาะกับจีนซึ่งมีสัดส่วนถึง 30 % ของยอดขาดดุลการค้าทั้งหมดของสหรัฐ โดยสหรัฐกล่าวโทษมาตลอดว่าเป็นเพราะรัฐบาลจีนคุมค่าเงินหยวนไว้ต่ำเกินจริงเพื่อหาประโยชน์จากการส่งออกสินค้าในราคาถูก แต่หลังจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง ตัวเลขขาดดุลการค้าก็เริ่มลดลงและยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็ลดลงด้วย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ลดมาอยู่ที่ระดับ 192,600 ล้านดอลลาร์ หรือเทียบเท่า 5.7 % ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ซึ่งลดลงจากที่เคยสูงขึ้นไปถึง 7 % ในปี 2548
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์น่าจะเป็นอย่างไรต่อไป นักวิเคราะห์ 36 คนจากการสำรวจของสำนักวิจัยบลูมเบิร์กเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมาประเมินว่าสิ้นปีนี้น่าจะอยู่ที่ระดับ 1.36 ดอลลาร์สหรัฐต่อยูโร ขณะที่บริษัทบริหารจัดการกองทุนรายใหญ่อย่าง โอเพ่นไฮเมอร์ฟันด์ส และแปซิฟิค อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมนท์ (ซึ่งบริหารกองทุนพันธบัตรรายใหญ่ที่สุดในโลก) กล่าวว่า ภายในปีนี้ ดอลลาร์สหรัฐอาจอ่อนตัวลงได้ถึง 1.45 ดอลลาร์ต่อยูโรหากเฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25 % เพราะมีแนวโน้มว่าธนาคารกลางของอียู อังกฤษ และญี่ปุ่น อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยทำให้มีแรงจูงใจนักลงทุนมากกว่า กระนั้นก็ตามส่วนหนึ่งของเงินลงทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาสู่ตลาดทุนของสหรัฐมากขึ้นนั้น นักวิเคราะห์มองว่าเป็นผลมาจากผู้ส่งออกในต่างประเทศต้องการนำกำไรจากการส่งออกมาลงทุนในหลักทรัพย์ของสหรัฐที่มีความมั่นคง แต่ความสนใจของต่างชาติที่จะลงทุนโดยตรง (เอฟดีไอ) ในธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐนั้นกำลังลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี
ด้านนายริชาร์ด คลาริดา อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดีบุชซึ่งปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาการวงกลยุทธ์ให้กับบริษัท พิมโก (Pimco) ที่บริหารจัดการกองทุนมูลค่า 687 ล้านดอลลาร์ให้ความเห็นว่า ในระยะ 2 ปีข้างหน้า เชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐยังอยากเห็นเงินดอลลาร์อ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ "ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐน่าจะยังคงอยู่ในช่วงขาลง ซึ่งเมื่อประกอบเข้ากับความต้องการสินค้าสหรัฐในตลาดต่างประเทศที่พุ่งแรง ก็จะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐได้เป็นอย่างดี"
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2238
นับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงมาแล้ว 13.2 % นับเป็นการอ่อนค่าลงมากที่สุดภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดีคนหนึ่งอย่างน้อยก็นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นปีที่ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ลงจากตำแหน่ง ตัวเลขดังกล่าวคำนวณจากดัชนีของธนาคารกลางแห่งสหรัฐ หรือ เฟด ที่ติดตามเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐโดยเปรียบเทียบกัสกุลเงินของประเทศคู่ค้าของสหรัฐจำนวน 38 ประเทศ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น และแคนาดา เป็นต้น
สถิติของเฟดชี้ว่า ในอดีตหากจะแบ่งช่วงจับตาค่าเงินดอลลาร์เป็นสมัยของการบริหารประเทศโดยประธานาธิบดีแต่ละคนจะพบว่า สมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น 18.3 % สมัยประธานาธิบดีจอร์จ บุชผู้พ่อ ดอลลาร์อ่อนลง 0.2 % สมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ดอลลาร์อ่อนลง 0.4 % สมัยประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ดอลลาร์อ่อนลง 3 % ขณะที่สมัยประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง 2.3 % ดังนั้นการอ่อนตัวถึง 13.2 % ภายใต้สมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ในขณะนี้จึงเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมา
แต่สภาวะดังกล่าวก็กำลังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจมีผลช่วยให้ชาวอเมริกันมีความมั่นใจในการทำงานของรัฐบาลพรรครีพับลิกันของประธานาธิบดีบุชมากขึ้นและเทคะแนนให้พรรคของเขาในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่กำลังจะมีขึ้นในปลายปีนี้ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวทำให้สินค้าส่งออกของสหรัฐมีราคาถูกลงในตลาดต่างแดน สถิติของรัฐบาลสหรัฐที่ประกาศออกมาในเดือนกรกฎาคมนี้ชี้ว่า เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาตัวเลขส่งออกโดยรวมทำสถิติสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่มูลค่า 132,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 4.48 ล้านล้านบาท สภาวะการส่งออกที่ดีขึ้นดังกล่าวสามารถชดเชยผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐจากการถดถอยของตลาดซื้อขายบ้านพักอาศัยที่ตกต่ำที่สุดในรอบ 16 ปี นอกจากนี้การที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงก็ไม่ได้ทำให้ทุนนอกไหลออกจากตลาดหุ้นสหรัฐอย่างที่คาดการณ์กันไว้ เพราะในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปริมาณเงินที่ไหลเข้าตลาดหุ้นสหรัฐทำสถิติสูงสุด (รายเดือน) ถึง 126,100 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 4.28 ล้านล้านบาท ทุบสถิติเก่าที่ทำไว้ในเดือนสิงหาคมปีพ.ศ. 2549 ที่มีเงินไหลเข้า 120,900 ล้านดอลลาร์
นายพอล แซมมวลสัน ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปีค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ให้ทรรศนะว่า ในช่วงต้นการบริหารงานของรัฐบาลบุชนั้นจะเน้นนโยบายค่าเงินดอลลาร์แข็ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงว่ารัฐบาลสหรัฐเริ่มต้องการให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ตัวเลขของกระทรวงการคลังสหรัฐที่ย้อนกลับไปในปี 2521 ชี้ว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมายกเว้นของประธานาธิบดีบุช มีการดูแลค่าเงินดอลลาร์ด้วยการเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อหนุนไม่ให้ค่าเงินอ่อนตัว
ด้านโฆษกของกระทรวงการคลังสหรัฐกล่าวว่า จุดยืนของนายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลังไม่เคยเปลี่ยนไปจากที่เคยกล่าวไว้ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ว่าความแข็งแกร่งของค่าเงินดอลลาร์เป็นเรื่องสำคัญของชาติและอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐก็ควรอยู่ในระดับที่สามารถแข็งขันได้โดยตั้งอยู่บนปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ทางเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากระทรวงการคลังก็ยึดมั่นในนโยบายตรึงค่าดอลลาร์ให้แข็งไว้มาโดยตลอด
อย่างไรก็ตามในวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐทำสถิติต่ำสุดครั้งใหม่ที่ 1.3845 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ยูโร และยังเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 26 ปีเมื่อเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษ (นักท่องเที่ยวอเมริกันที่มุ่งหน้าไปยังอังกฤษจะต้องจ่ายมากกว่า 2 ดอลลาร์เพื่อแลกเงินอังกฤษ 1 ปอนด์) และหากจะเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็อ่อนตัวต่ำสุดในรอบ 30 ปี แม้กระทั่งกับเงินเรียลของบราซิล ดอลลาร์สหรัฐก็อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 7 ปี นายแจน แฮทเซียส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซค ในนิวยอร์ค ให้ความเห็นว่า เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงต่างหากที่เป็นวาระสำคัญระดับชาติของสหรัฐอเมริกาในขณะนี้ และอันที่จริงแล้วก็เป็นความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะเป็นวิถีทางที่จะกระตุ้นความต้องการสินค้าสหรัฐทั้งในประเทศเองและต่างประเทศ
ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2549) เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตในอัตรา 3.3 % เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งเติบโตที่อัตรา 3.2 % ตลาดที่อยู่อาศัยที่ซบเซาลงเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาประมาณ 0.27 % ขณะที่ภาคการส่งออกเป็นตัวหนุนการเติบโตดังกล่าวประมาณ 0.93 % เพิ่มจากสัดส่วน 0.68 % ในปี 2548 (สถิติจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ) ด้านตลาดหลักทรัพย์ดาวโจนส์ก็กำลังได้รับอานิสงส์จากความมั่นใจในภาคการส่งออกด้วยเช่นกัน โดยดัชนีหลักทรัพย์ในภาคอุตสาหกรรมดีดตัวสูงขึ้นมากทำลายสถิติในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัท แคทเตอร์พิลลาร์ อินคอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตรถตักและอุปกรณ์ขุดดินรายใหญ่ที่สุดในโลกจากรัฐอิลลินอยส์ ของสหรัฐ กล่าวว่า การปรับตัวอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐทำให้ยอดขายของบริษัทในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้เพิ่มขึ้นถึง 198 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านบริษัท โคคา-โคลา คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตน้ำอัดลมรายใหญ่ที่สุดในโลก ก็เช่นกันที่ประกาศว่าได้อานิสงส์จากการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ทำให้รายได้จากการประกอบการเพิ่มขึ้นประมาณ 60 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ 70 % ของรายได้บริษัทมาจากตลาดต่างประเทศ นายแกรี่ ฟายาร์ด หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของโคคา-โคลา กล่าวว่าดอลลาร์อ่อนส่งผลกระทบเชิงบวกต่อบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอลลาร์ที่อ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงินปอนด์และยูโร
ในแง่ของการค้าระหว่างประเทศ การอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ช่วยให้ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลง โดยเฉพาะกับจีนซึ่งมีสัดส่วนถึง 30 % ของยอดขาดดุลการค้าทั้งหมดของสหรัฐ โดยสหรัฐกล่าวโทษมาตลอดว่าเป็นเพราะรัฐบาลจีนคุมค่าเงินหยวนไว้ต่ำเกินจริงเพื่อหาประโยชน์จากการส่งออกสินค้าในราคาถูก แต่หลังจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง ตัวเลขขาดดุลการค้าก็เริ่มลดลงและยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็ลดลงด้วย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ลดมาอยู่ที่ระดับ 192,600 ล้านดอลลาร์ หรือเทียบเท่า 5.7 % ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ซึ่งลดลงจากที่เคยสูงขึ้นไปถึง 7 % ในปี 2548
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์น่าจะเป็นอย่างไรต่อไป นักวิเคราะห์ 36 คนจากการสำรวจของสำนักวิจัยบลูมเบิร์กเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมาประเมินว่าสิ้นปีนี้น่าจะอยู่ที่ระดับ 1.36 ดอลลาร์สหรัฐต่อยูโร ขณะที่บริษัทบริหารจัดการกองทุนรายใหญ่อย่าง โอเพ่นไฮเมอร์ฟันด์ส และแปซิฟิค อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมนท์ (ซึ่งบริหารกองทุนพันธบัตรรายใหญ่ที่สุดในโลก) กล่าวว่า ภายในปีนี้ ดอลลาร์สหรัฐอาจอ่อนตัวลงได้ถึง 1.45 ดอลลาร์ต่อยูโรหากเฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25 % เพราะมีแนวโน้มว่าธนาคารกลางของอียู อังกฤษ และญี่ปุ่น อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยทำให้มีแรงจูงใจนักลงทุนมากกว่า กระนั้นก็ตามส่วนหนึ่งของเงินลงทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาสู่ตลาดทุนของสหรัฐมากขึ้นนั้น นักวิเคราะห์มองว่าเป็นผลมาจากผู้ส่งออกในต่างประเทศต้องการนำกำไรจากการส่งออกมาลงทุนในหลักทรัพย์ของสหรัฐที่มีความมั่นคง แต่ความสนใจของต่างชาติที่จะลงทุนโดยตรง (เอฟดีไอ) ในธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐนั้นกำลังลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี
ด้านนายริชาร์ด คลาริดา อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดีบุชซึ่งปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาการวงกลยุทธ์ให้กับบริษัท พิมโก (Pimco) ที่บริหารจัดการกองทุนมูลค่า 687 ล้านดอลลาร์ให้ความเห็นว่า ในระยะ 2 ปีข้างหน้า เชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐยังอยากเห็นเงินดอลลาร์อ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ "ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐน่าจะยังคงอยู่ในช่วงขาลง ซึ่งเมื่อประกอบเข้ากับความต้องการสินค้าสหรัฐในตลาดต่างประเทศที่พุ่งแรง ก็จะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐได้เป็นอย่างดี"
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2238
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 13
เศรษฐกิจจีนปั่นกระแสเงินเฟ้อทั่วโลก
เตือนผลพวงเศรษฐกิจมังกรบูมกระตุ้นให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั่วโลก เหตุราคาสินค้านำเข้าจากจีนซึ่งเคยเป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกปรับตัวเพิ่มขึ้น บีบให้ธนาคารกลางแต่ละชาติต้องเร่งปรับนโยบายคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเพื่อคุมสถานการณ์
นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา หรือเฟดกล่าวถึงตัวเลขราคาสินค้านำเข้าจากจีนมายังสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับในเดือนมิถุนายนซึ่งราคายังปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.3% ซึ่งถือเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่มีการรวบรวมข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 นับเป็นสัญญาณแรกที่สะท้อนว่าสินค้าราคาถูกจากจีนที่ไม่เคยก่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในสหรัฐกำลังจะกลายเป็นภาพอดีต
จีนซึ่งในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกและเป็นเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างมากมีแนวโน้มจะกระจายเงินเฟ้อออกสู่เศรษฐกิจระดับโลกซึ่งมีการเติบโตในระดับที่รวดเร็วเช่นกันภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ ผู้กำกับนโยบายการเงินซึ่งไม่สามารถควบคุมแรงกดดันที่ถาโถมเข้าสู่ประเทศทั้งปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้น เงินทุนไหลเข้าอย่างรวดเร็ว ตลอดจนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ถีบตัวขึ้นเป็นประวัติการณ์ในที่สุดจะบีบให้ธนาคารกลางแต่ละประเทศต้องใช้นโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหรือคงไว้ในระดับสูงนานกว่าที่ต้องการอย่างเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้จีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกกำลังเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจนถึงเดือนมิถุนายนขึ้นไปอยู่ที่ 4.4% นำไปสู่การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นเป็น 6.84% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปี
นายโรเบิร์ต ลินด์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากเอบีเอ็น แอมโร โฮลด์ดิงในลอนดอนกล่าวว่าในอดีตธนาคารกลางสามารถควบคุมอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้จากการผลิตที่มีต้นทุนถูกจากจีน แต่ถึงวันนี้เมื่อตัวเลขเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าที่วางไว้ ต้นทุนที่จะใช้บรรเทาสถานการณ์ย่อมสูงขึ้นตาม ดังสะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยทั้งในอังกฤษและประเทศกลุ่มที่ใช้เงินยูโร 13 ชาติขยับสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 6 ปีทั้งยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นไปอีก ธนาคารกลางอังกฤษถึงกับเปรียบว่าราคาสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อและเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยของเดือนนี้ขึ้นไปอยู่ที่ 5.75%
ส่วนนิวซีแลนด์คาดว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปอยู่ที่ 8.25% ภายในสัปดาห์นี้ส่วนหนึ่งจากเหตุผลว่ามียอดสั่งซื้อเนยและนมจากต่างประเทศทำให้ราคาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมขยับขึ้น รวมทั้งแคนาดาซึ่งเดือนนี้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 1 ปีไปอยู่ที่ 4.5% ส่วนหนึ่งเกิดจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในเขตพื้นที่ทางตะวันตกของรัฐอัลเบอร์ตาเพื่อพัฒนาแหล่งสำรองน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกนอกตะวันออกกลาง ขณะที่อินเดียซึ่งกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินนโยบายอย่างรัดกุมเพื่อบริหารเงินทุนที่ไหลเข้าจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะในตลาดหุ้น การลงทุนทางตรงและการกู้ยืมจากต่างประเทศของบริษัทท้องถิ่นซึ่งผลักดันให้ดุลบัญชีทุนเกินดุลขึ้นกว่า 74% หรือราว 17,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ และในไตรมาสสอง ค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้นมากที่สุดอย่างน้อยในรอบ 34 ปี ส่งผลให้ธนาคารกลางต้องซื้อเงินดอลลาร์เพื่อชะลอสถานการณ์แต่ผลที่ตามมาอาจไปเพิ่มราคาสินค้าที่ผลิตในอินเดียทำให้โอกาสแข่งขันในตลาดโลกน้อยลง
นายจิม โอนีล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน ซากส์ กรุ๊ปมองว่าโลกาภิวัฒน์จะยังเป็นตัวกระตุ้นการแข่งขันแม้ว่าราคาสินค้าในจีนจะเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจก็ยังสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนถูกกว่าได้ เช่น เวียดนาม บังคลาเทศ และปากีสถานซึ่งการปรับยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยควบคุมสถานการณ์เงินเฟ้อได้ http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2238
เตือนผลพวงเศรษฐกิจมังกรบูมกระตุ้นให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั่วโลก เหตุราคาสินค้านำเข้าจากจีนซึ่งเคยเป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกปรับตัวเพิ่มขึ้น บีบให้ธนาคารกลางแต่ละชาติต้องเร่งปรับนโยบายคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเพื่อคุมสถานการณ์
นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา หรือเฟดกล่าวถึงตัวเลขราคาสินค้านำเข้าจากจีนมายังสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับในเดือนมิถุนายนซึ่งราคายังปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.3% ซึ่งถือเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่มีการรวบรวมข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 นับเป็นสัญญาณแรกที่สะท้อนว่าสินค้าราคาถูกจากจีนที่ไม่เคยก่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในสหรัฐกำลังจะกลายเป็นภาพอดีต
จีนซึ่งในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกและเป็นเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างมากมีแนวโน้มจะกระจายเงินเฟ้อออกสู่เศรษฐกิจระดับโลกซึ่งมีการเติบโตในระดับที่รวดเร็วเช่นกันภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ ผู้กำกับนโยบายการเงินซึ่งไม่สามารถควบคุมแรงกดดันที่ถาโถมเข้าสู่ประเทศทั้งปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้น เงินทุนไหลเข้าอย่างรวดเร็ว ตลอดจนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ถีบตัวขึ้นเป็นประวัติการณ์ในที่สุดจะบีบให้ธนาคารกลางแต่ละประเทศต้องใช้นโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหรือคงไว้ในระดับสูงนานกว่าที่ต้องการอย่างเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้จีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกกำลังเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจนถึงเดือนมิถุนายนขึ้นไปอยู่ที่ 4.4% นำไปสู่การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นเป็น 6.84% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปี
นายโรเบิร์ต ลินด์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากเอบีเอ็น แอมโร โฮลด์ดิงในลอนดอนกล่าวว่าในอดีตธนาคารกลางสามารถควบคุมอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้จากการผลิตที่มีต้นทุนถูกจากจีน แต่ถึงวันนี้เมื่อตัวเลขเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าที่วางไว้ ต้นทุนที่จะใช้บรรเทาสถานการณ์ย่อมสูงขึ้นตาม ดังสะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยทั้งในอังกฤษและประเทศกลุ่มที่ใช้เงินยูโร 13 ชาติขยับสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 6 ปีทั้งยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นไปอีก ธนาคารกลางอังกฤษถึงกับเปรียบว่าราคาสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อและเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยของเดือนนี้ขึ้นไปอยู่ที่ 5.75%
ส่วนนิวซีแลนด์คาดว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปอยู่ที่ 8.25% ภายในสัปดาห์นี้ส่วนหนึ่งจากเหตุผลว่ามียอดสั่งซื้อเนยและนมจากต่างประเทศทำให้ราคาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมขยับขึ้น รวมทั้งแคนาดาซึ่งเดือนนี้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 1 ปีไปอยู่ที่ 4.5% ส่วนหนึ่งเกิดจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในเขตพื้นที่ทางตะวันตกของรัฐอัลเบอร์ตาเพื่อพัฒนาแหล่งสำรองน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกนอกตะวันออกกลาง ขณะที่อินเดียซึ่งกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินนโยบายอย่างรัดกุมเพื่อบริหารเงินทุนที่ไหลเข้าจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะในตลาดหุ้น การลงทุนทางตรงและการกู้ยืมจากต่างประเทศของบริษัทท้องถิ่นซึ่งผลักดันให้ดุลบัญชีทุนเกินดุลขึ้นกว่า 74% หรือราว 17,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ และในไตรมาสสอง ค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้นมากที่สุดอย่างน้อยในรอบ 34 ปี ส่งผลให้ธนาคารกลางต้องซื้อเงินดอลลาร์เพื่อชะลอสถานการณ์แต่ผลที่ตามมาอาจไปเพิ่มราคาสินค้าที่ผลิตในอินเดียทำให้โอกาสแข่งขันในตลาดโลกน้อยลง
นายจิม โอนีล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน ซากส์ กรุ๊ปมองว่าโลกาภิวัฒน์จะยังเป็นตัวกระตุ้นการแข่งขันแม้ว่าราคาสินค้าในจีนจะเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจก็ยังสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนถูกกว่าได้ เช่น เวียดนาม บังคลาเทศ และปากีสถานซึ่งการปรับยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยควบคุมสถานการณ์เงินเฟ้อได้ http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2238
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 14
Life Cycle Analysis กับการอุตสาหกรรม
LCA (Life Cycle Analysis) คือกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในองค์รวมของผลผลิตที่ผู้ผลิตได้จัดทำขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้รับทราบว่าผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมนั้นๆส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องใด ด้านใด และมากน้อยเพียงใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลผลิตที่สร้างมานั้นรบกวนต่อธรรมชาติน้อยที่สุด
LCA ได้รับการยอมรับให้เป็นกระบวนการหนึ่งในระบบ ISO 14000 และยังใช้ในการตรวจสอบด้วยว่าผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมใดมีลักษณะเป็น Green Product หรือไม่อีกด้วย
ประเทศญี่ปุ่นได้ตื่นตัวในเรื่องนี้มาก ซึ่งกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI)ให้ความสนใจที่จะผลักดันให้ภาคการผลิตของญี่ปุ่นใช้ LCAวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและรายงานให้สาธารณชนทราบ จึงได้เริ่มโครงการ National LCA Project ในปี 2541 และผลักดันให้เป็นที่ยอมรับทั่วไป
เป้าประสงค์ของญี่ปุ่นในการใช้หลักการนี้ คือ เพื่อให้มีการผลิตที่ยั่งยืน สร้างมาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องสามารถแสดงตรา Eco Label ได้ และยังมีกฎหมาย Green Purchasing Law เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนและส่วนราชการพิจารณาจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ที่เกิดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวใดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมีการใช้ตราสัญลักษณ์ Green Label หรือ Eco Label ซึ่งต้องประเมินสินค้านั้นๆ ตั้งแต่การผลิต การใช้ทั้งระบบ การได้มาซึ่งวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต การนำไปใช้งาน จนถึงการกำจัดทิ้งหลังการใช้งาน ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของ ISO 14000 series และใช้หลักการ LCA เพื่อพิสูจน์ทราบ
หลักการคิดที่พัฒนามาเป็น LCA นั้นเกิดมาในช่วงทศวรรษที่ 1960 เมื่อสังคมกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับความพอเพียงในอนาคตของ วัตถุดิบ พลังงาน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการขุดนำทรัพยากรออกมาใช้งาน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 US Environment Protection Agency(EPA) ได้พัฒนาเป็น Resource and Environmental Profile Analysis(REPA) ในช่วงที่สังคมโลกกำลังตื่นตัวเรื่องHazardous Waste จึงได้เกิดการพัฒนานำข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆมาร่วมพิจารณาพร้อมกันและเริ่มใช้เป็น Risk Assessment ของภาคเอกชนในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆจนกลายมาเป็นหลักการ LCA ในปัจจุบัน
เป้าหมายของ LCA ไม่ได้เป็นแค่เพียงเรื่องของการให้ผลลัพธ์ แต่เป็นเรื่องของการให้ข้อมูลและคำตอบแก่สังคมและฝ่ายผู้ใช้ว่า ฝ่ายผู้ผลิตได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมหรือไม่ เพียงใดโดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งแม้ว่า LCA จะยังเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในสายตาคนไทย แต่ปัจจุบันพลเมืองในหลายประเทศที่เป็นกำลังซื้อหลักของสินค้าทั่วโลก ต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างสูง ซึ่งในอนาคตสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 จึงน่าจะยังไม่พอเพียง คงต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14040 และใช้ LCA ในการวิเคราะห์ด้วย
จึงถึงเวลาที่ประเทศไทย ควรจะให้ความสนใจในเรื่องนี้ โดยเลือกผู้ที่มาลงทุนที่มีคุณภาพและใช้หลักLCA มาปรับใช้ในการพิจารณา เพราะในไทยนั้นการลงทุนภาคอุตสาหกรรมจำนวนมากเป็นของต่างชาติ ที่เข้ามาแสวงประโยชน์จากสิทธิพิเศษด้านภาษีที่ไทยให้แก่ผู้ลงทุนต่างชาติ ซึ่งก็มีทั้งผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมสูง และที่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ เพื่อเป็นข้อกำหนดให้การลงทุนต่างๆ นั้น ผลิตสินค้าที่เป็น Green Products และป้องกันไม่ให้อุตสาหกรรมของไทยเป็นไปเพื่อสนองตลาดล่างเท่านั้น แต่เพื่อการปรับตัวเพื่อพัฒนาที่จะรองรับกระแสความนิยมของตลาดโลกในอนาคตอีกด้วย
จัดทำโดย: สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2238
LCA (Life Cycle Analysis) คือกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในองค์รวมของผลผลิตที่ผู้ผลิตได้จัดทำขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้รับทราบว่าผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมนั้นๆส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องใด ด้านใด และมากน้อยเพียงใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลผลิตที่สร้างมานั้นรบกวนต่อธรรมชาติน้อยที่สุด
LCA ได้รับการยอมรับให้เป็นกระบวนการหนึ่งในระบบ ISO 14000 และยังใช้ในการตรวจสอบด้วยว่าผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมใดมีลักษณะเป็น Green Product หรือไม่อีกด้วย
ประเทศญี่ปุ่นได้ตื่นตัวในเรื่องนี้มาก ซึ่งกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI)ให้ความสนใจที่จะผลักดันให้ภาคการผลิตของญี่ปุ่นใช้ LCAวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและรายงานให้สาธารณชนทราบ จึงได้เริ่มโครงการ National LCA Project ในปี 2541 และผลักดันให้เป็นที่ยอมรับทั่วไป
เป้าประสงค์ของญี่ปุ่นในการใช้หลักการนี้ คือ เพื่อให้มีการผลิตที่ยั่งยืน สร้างมาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องสามารถแสดงตรา Eco Label ได้ และยังมีกฎหมาย Green Purchasing Law เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนและส่วนราชการพิจารณาจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ที่เกิดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวใดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมีการใช้ตราสัญลักษณ์ Green Label หรือ Eco Label ซึ่งต้องประเมินสินค้านั้นๆ ตั้งแต่การผลิต การใช้ทั้งระบบ การได้มาซึ่งวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต การนำไปใช้งาน จนถึงการกำจัดทิ้งหลังการใช้งาน ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของ ISO 14000 series และใช้หลักการ LCA เพื่อพิสูจน์ทราบ
หลักการคิดที่พัฒนามาเป็น LCA นั้นเกิดมาในช่วงทศวรรษที่ 1960 เมื่อสังคมกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับความพอเพียงในอนาคตของ วัตถุดิบ พลังงาน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการขุดนำทรัพยากรออกมาใช้งาน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 US Environment Protection Agency(EPA) ได้พัฒนาเป็น Resource and Environmental Profile Analysis(REPA) ในช่วงที่สังคมโลกกำลังตื่นตัวเรื่องHazardous Waste จึงได้เกิดการพัฒนานำข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆมาร่วมพิจารณาพร้อมกันและเริ่มใช้เป็น Risk Assessment ของภาคเอกชนในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆจนกลายมาเป็นหลักการ LCA ในปัจจุบัน
เป้าหมายของ LCA ไม่ได้เป็นแค่เพียงเรื่องของการให้ผลลัพธ์ แต่เป็นเรื่องของการให้ข้อมูลและคำตอบแก่สังคมและฝ่ายผู้ใช้ว่า ฝ่ายผู้ผลิตได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมหรือไม่ เพียงใดโดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งแม้ว่า LCA จะยังเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในสายตาคนไทย แต่ปัจจุบันพลเมืองในหลายประเทศที่เป็นกำลังซื้อหลักของสินค้าทั่วโลก ต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างสูง ซึ่งในอนาคตสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 จึงน่าจะยังไม่พอเพียง คงต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14040 และใช้ LCA ในการวิเคราะห์ด้วย
จึงถึงเวลาที่ประเทศไทย ควรจะให้ความสนใจในเรื่องนี้ โดยเลือกผู้ที่มาลงทุนที่มีคุณภาพและใช้หลักLCA มาปรับใช้ในการพิจารณา เพราะในไทยนั้นการลงทุนภาคอุตสาหกรรมจำนวนมากเป็นของต่างชาติ ที่เข้ามาแสวงประโยชน์จากสิทธิพิเศษด้านภาษีที่ไทยให้แก่ผู้ลงทุนต่างชาติ ซึ่งก็มีทั้งผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมสูง และที่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ เพื่อเป็นข้อกำหนดให้การลงทุนต่างๆ นั้น ผลิตสินค้าที่เป็น Green Products และป้องกันไม่ให้อุตสาหกรรมของไทยเป็นไปเพื่อสนองตลาดล่างเท่านั้น แต่เพื่อการปรับตัวเพื่อพัฒนาที่จะรองรับกระแสความนิยมของตลาดโลกในอนาคตอีกด้วย
จัดทำโดย: สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2238
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 15
ราคาทองไนเม็กซ์ร่วงปิดที่ 660.10$
ราคาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง 2.70 ดอลลาร์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (27 ก.ค.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนตื่นตระหนกต่อตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ร่วงลงอย่างหนัก นอกจากนี้ ราคาทองยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาทองคำในตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 2.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 660.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 656.60-666.80 ดอลลาร์
ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ขยับลง 23.5 เซนต์ ปิดที่ 12.715 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ย.ขยับขึ้น 2.45 เซนต์ ปิดที่ 3.5470 ดอลลาร์ต่อปอนด์
ส่วนสัญญาพลาตินั่มส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 41.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,286.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนส.ค.รูดลง 4.35 ดอลลาร์ ปิดที่ 363.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์
นายเลียวนาร์ด แค็ปแลน นักวิเคราะห์จากบริษัทพร็อสเปคเตอร์ แอสเซท เมเนจเมนท์กล่าวว่า "นักลงทุนตื่นตระหนกเมื่อตลาดหุ้นนิวยอร์กถูกแรงขายกระหน่ำลงอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเรื่องตลาดปล่อยกู้จำนองสำหรับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ในสหรัฐ โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 208.10 จุด หรือ 1.54% ปิดที่ 13,265.47 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา"
"นอกจากนี้ การที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ ทำให้นักลงทุนจำนวนหนึ่งลังเลที่จะเข้าซื้อขายในตลาดทองคำนิวยอร์ก และหันไปลงทุนในตลาดพันธบัตรซึ่งนักลงทุนมองว่าน่าจะเป็นแหล่งการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุดในยามที่ตลาดหลายแห่งเผชิญภาวะผันผวน" นายแค็ปแลนกล่าว
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=181878
ราคาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง 2.70 ดอลลาร์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (27 ก.ค.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนตื่นตระหนกต่อตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ร่วงลงอย่างหนัก นอกจากนี้ ราคาทองยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาทองคำในตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 2.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 660.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 656.60-666.80 ดอลลาร์
ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ขยับลง 23.5 เซนต์ ปิดที่ 12.715 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ย.ขยับขึ้น 2.45 เซนต์ ปิดที่ 3.5470 ดอลลาร์ต่อปอนด์
ส่วนสัญญาพลาตินั่มส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 41.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,286.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนส.ค.รูดลง 4.35 ดอลลาร์ ปิดที่ 363.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์
นายเลียวนาร์ด แค็ปแลน นักวิเคราะห์จากบริษัทพร็อสเปคเตอร์ แอสเซท เมเนจเมนท์กล่าวว่า "นักลงทุนตื่นตระหนกเมื่อตลาดหุ้นนิวยอร์กถูกแรงขายกระหน่ำลงอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเรื่องตลาดปล่อยกู้จำนองสำหรับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ในสหรัฐ โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 208.10 จุด หรือ 1.54% ปิดที่ 13,265.47 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา"
"นอกจากนี้ การที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ ทำให้นักลงทุนจำนวนหนึ่งลังเลที่จะเข้าซื้อขายในตลาดทองคำนิวยอร์ก และหันไปลงทุนในตลาดพันธบัตรซึ่งนักลงทุนมองว่าน่าจะเป็นแหล่งการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุดในยามที่ตลาดหลายแห่งเผชิญภาวะผันผวน" นายแค็ปแลนกล่าว
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=181878
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/07/07
โพสต์ที่ 16
Global Business News ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2550
อียูลดค่าธรรมเนียมโรมมิ่ง
บรัสเซลส์-บริษัทโทรศัพท์มือถือในยุโรปมีเวลาถึงวันนี้ที่จะลดค่าธรรมเนียมในการเชื่อมต่อระบบโทรศัพท์ ในการสื่อสารภายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรืออียู ทั้งนี้ภายใต้ระบียบใหม่ดังกล่าว บริษัทสื่อสารโทร คมนาคมจะมีเวลาถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมในการเสนอค่าธรรมเนียมในการโรมมิ่งใหม่ที่ลดลงถึงร้อยละ 70
บราซิลฟ้องชนะมะกัน
บราซิเลีย-บราซิลอ้างชัยชนะเหนือสหรัฐหลังจากองค์การการค้าโลก(WTO) ตัดสินเห็นชอบกับคำร้องเรียน เกี่ยวกับการที่สหรัฐให้เงินอุดหนุนเกษตรการผู้ปลูกฝ้าย ทำให้ราคาฝ้ายในตลาดโลกบิดเบือนจากความเป็น จริงและทำให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้บราซิลได้เรียกร้องให้สหรัฐปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของ WTO พร้อมเตือนว่าจะทำการตอบโต้หากสหรัฐไม่ยอมปฏิบัติตาม ขณะที่สหรัฐกล่าวแสดง ความผิดหวังต่อคำตัดสินดังกล่าวและจะยังปกป้องเกษตรกรของตน พร้อมกับตอบโต้ว่าสหรัฐได้ดำเนิน มาตรการตามข้อกำหนดของ WTO แล้ว โดยได้ยกเลิกการให้ความช่วยเหลือในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออก
ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐร่วง
วอชิงตัน-กระทรวงการค้าสหรัฐเปิดเผยว่ายอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาลดลงต่ำสุด ในรอบ 5 เดือน ขณะที่ตลาดยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายได้ลดลงร้อยละ 6.6 ต่อปี โดยยอด ขายอยู่ที่ 834,000 หน่วย เลวร้ายกว่าที่คาดไว้ถึง 3 เท่า เนื่องจากธนาคารได้เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเนื่อง จากยอดการค้างชำระเงินกู้ได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งผู้บริโภคได้รอให้ราคาบ้าน ลดลงก่อนที่จะทำการซื้อ
เกียได้กำไรเพิ่ม
โซล-เกีย ผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีใต้ รายงานผลกำไรประจำไตรมาสเพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดขายรถหรูในประเทศ เพิ่มขึ้น โดยผลกำไรในไตรมาสสองได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว อยู่ที่ 61,400 ล้านวอน อย่างไรก็ตามแม้ยอดขายรถหรูจะช่วยให้เกียมีผลกำไรสูงขึ้น แต่ยอดขายได้ลดลงร้อยละ 1.4 ขณะที่บริษัทฮุนได รายงานผลกำไรอยู่ที่ 611,500 ล้านวอน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ผลกำไรของเกียส่วนหนึ่งได้ประโยชน์จากการเปิดสายการผลิตที่โรงงานฮวาซอง
โวล์คสวาเก้นกำไรพุ่ง
โวล์คสวาเก้น ผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป รายงานผลกำไรสุทธิในไตรมาสสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 โดยมีมูลค่า 1.22 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้น 859 ล้านยูโรเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ผลกำไรที่เพิ่ม ขึ้นทำให้ราคาหุ้นของบริษัทได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ทั้งนี้บริษัทยังได้ประโยชน์จากยอดขายรถแบรนด์เนมอ ย่างออดี,เซียต และสโกด้า ที่เพิ่มขึ้นในยุโรปและเอเชีย
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69663
อียูลดค่าธรรมเนียมโรมมิ่ง
บรัสเซลส์-บริษัทโทรศัพท์มือถือในยุโรปมีเวลาถึงวันนี้ที่จะลดค่าธรรมเนียมในการเชื่อมต่อระบบโทรศัพท์ ในการสื่อสารภายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรืออียู ทั้งนี้ภายใต้ระบียบใหม่ดังกล่าว บริษัทสื่อสารโทร คมนาคมจะมีเวลาถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมในการเสนอค่าธรรมเนียมในการโรมมิ่งใหม่ที่ลดลงถึงร้อยละ 70
บราซิลฟ้องชนะมะกัน
บราซิเลีย-บราซิลอ้างชัยชนะเหนือสหรัฐหลังจากองค์การการค้าโลก(WTO) ตัดสินเห็นชอบกับคำร้องเรียน เกี่ยวกับการที่สหรัฐให้เงินอุดหนุนเกษตรการผู้ปลูกฝ้าย ทำให้ราคาฝ้ายในตลาดโลกบิดเบือนจากความเป็น จริงและทำให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้บราซิลได้เรียกร้องให้สหรัฐปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของ WTO พร้อมเตือนว่าจะทำการตอบโต้หากสหรัฐไม่ยอมปฏิบัติตาม ขณะที่สหรัฐกล่าวแสดง ความผิดหวังต่อคำตัดสินดังกล่าวและจะยังปกป้องเกษตรกรของตน พร้อมกับตอบโต้ว่าสหรัฐได้ดำเนิน มาตรการตามข้อกำหนดของ WTO แล้ว โดยได้ยกเลิกการให้ความช่วยเหลือในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออก
ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐร่วง
วอชิงตัน-กระทรวงการค้าสหรัฐเปิดเผยว่ายอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาลดลงต่ำสุด ในรอบ 5 เดือน ขณะที่ตลาดยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายได้ลดลงร้อยละ 6.6 ต่อปี โดยยอด ขายอยู่ที่ 834,000 หน่วย เลวร้ายกว่าที่คาดไว้ถึง 3 เท่า เนื่องจากธนาคารได้เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเนื่อง จากยอดการค้างชำระเงินกู้ได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งผู้บริโภคได้รอให้ราคาบ้าน ลดลงก่อนที่จะทำการซื้อ
เกียได้กำไรเพิ่ม
โซล-เกีย ผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีใต้ รายงานผลกำไรประจำไตรมาสเพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดขายรถหรูในประเทศ เพิ่มขึ้น โดยผลกำไรในไตรมาสสองได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว อยู่ที่ 61,400 ล้านวอน อย่างไรก็ตามแม้ยอดขายรถหรูจะช่วยให้เกียมีผลกำไรสูงขึ้น แต่ยอดขายได้ลดลงร้อยละ 1.4 ขณะที่บริษัทฮุนได รายงานผลกำไรอยู่ที่ 611,500 ล้านวอน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ผลกำไรของเกียส่วนหนึ่งได้ประโยชน์จากการเปิดสายการผลิตที่โรงงานฮวาซอง
โวล์คสวาเก้นกำไรพุ่ง
โวล์คสวาเก้น ผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป รายงานผลกำไรสุทธิในไตรมาสสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 โดยมีมูลค่า 1.22 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้น 859 ล้านยูโรเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ผลกำไรที่เพิ่ม ขึ้นทำให้ราคาหุ้นของบริษัทได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ทั้งนี้บริษัทยังได้ประโยชน์จากยอดขายรถแบรนด์เนมอ ย่างออดี,เซียต และสโกด้า ที่เพิ่มขึ้นในยุโรปและเอเชีย
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69663
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/07/07
โพสต์ที่ 17
1 ใน 3 ชาวอเมริกันสูงอายุ ไม่มีเงินเพียงพอไว้ใช้ในยามเกษียณ
Posted on Tuesday, July 31, 2007
1 ใน 3 ชาวอเมริกันสูงอายุ ไม่มีเงินเพียงพอไว้ใช้ในยามเกษียณ
ศูนย์งานวิจัยการเกษียณ ของสถาบันระดับมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก ที่มีชื่อว่า บอสตัน คอลเลจเปิดเผยว่า จากผลสำรวจล่าสุด เกี่ยวกับชาวอเมริกันซึ่งเกิดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า ยุค เบบี้บูมเมอร์ ซึ่งมีอายุระหว่าง 51 ถึง 61 ปีนั้น มีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของกลุ่มอายุดังกล่าว ที่มีจำนวนเงินไม่เพียงพอ ที่จะเลี้ยงดูตัวเอง หากต้องเข้าสู่วัยเกษียณ ผลสำรวจที่พบในเบื้องต้น ได้รับการประเมินจากการจัดประชุมเชิงวิชาการระดับชาติของสหรัฐด้วย
ศาสตราจารย์ อลิเซีย เอช มันเนล แห่งมหาวิทยาลัย บอสตั้น คอลเลจ เปิดเผยต่อไปว่า ชาวอเมริกันในช่วงอายุดังกล่าว คือตั้งแต่ 51 - 61 ปีนั้น หากมองเฉพาะด้านฐานะทางการเงิน เช่น เงินใช้จ่ายรายวัน ซึ่งไม่นับรวมเงินออมที่ใช้สะสมเมื่อยามเกษียณ จะพบว่า มีถึง 32% อยู่ในภาวะเสี่ยงสูง ที่ไม่สามารถจะเตรียมตัวเข้าสู่วัยหลังเกษียณได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความยากลำบากมากขึ้น ในการใช้ชีวิตหลังไม่มีงานทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ชาวอเมริกันที่เกิดในยุค 1950 หรือ ปัจจุบันมีอายุประมาณ 57 ปี มีจำนวนอย่างน้อย 80% มีทรัพย์สิน และเงินออมสะสมเพียงพอ ที่จะเก็บไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ ทั้งนี้ ข้อสรุปดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ชาวอเมริกัน ส่วนใหญ่จะรอให้ถึงอายุ 65 ปี ซึ่งเป็นวัยเกษียณของคนอเมริกัน เพื่อรอรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มจำนวนจากรัฐบาลกลาง ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยที่ทรงตัว และอาจลดลงต่อเนื่องในอนาคต เฉลี่ยแล้วทำให้ ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ ไม่เพียงพอ
วิกฤตสินเชื่ออสังหาฯในสหรัฐทำให้หนี้สูญสหรัฐ พุ่งเฉียด 60%
บริษัท เรียลตี้ แทรค อินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัท ที่ทำการสำรวจด้านอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังแห่งหนึ่งในสหรัฐ เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ มีสูงถึง 58% ที่กำลังจะต้องประสบปัญหาหนี้สูญ นั่นหมายถึง จำนวนบริษัทที่ทำธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั่วสหรัฐ ที่มีมากถึง 573,397 แห่ง ได้รายงานธุรกรรมระหว่างบริษัท กับลูกค้า หลากหลายประเภท ที่อาจนำไปสู่ภาวะหนี้สูญ เช่น ใบแจ้งหนี้เร่งรัดชำระการผ่อนส่ง
บริษัทดังกล่าว เปิดเผยต่อไปว่า จำนวนอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐช่วง 6 เดือนแรก ที่อาจเป็นหนี้สูญ ซึ่งพุ่งขึ้นถึง 58% มีจำนวนเพิ่มมากกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในปี 2549 เฉพาะ 6 เดือนแรกมีเพียง 32% หรือคิดเป็นจำนวน 363,672 แห่ง ผลสำรวจดังกล่าว ตอกย้ำสัญญาณทรุดตัวลงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ จากวิกฤตสินเชื่อสับไพรม์ที่เกิดขึ้น
นาย เจมส์ เจ แซคคาซิโอ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ บริษัท เรียลตี้ แทรค อินคอร์ปอเรชั่น ประเมินว่า หากมองจนถึงสิ้นปีนี้ มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่ตัวเลขหนี้สูญอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ จะพุ่งขึ้นถึงราว 2 ล้านแห่ง หากเป็นเช่นนั้นจริง จะทำให้หนี้สูญดังกล่าว เพิ่มขึ้นถึง 65% เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ อสังหาริมทรัพย์ในรัฐ แคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา เท็กซัส และโอไฮโอ้ เป็น 4 อันดับแรกที่มีหนี้สูญมากที่สุด
ขณะเดียวกันต้นทุนในการทำประกัน เพื่อป้องกันกรณีหนี้สูญที่อาจเกิดขึ้นกับสินเชื่อ พุ่งสูงขึ้นทั้งในสหรัฐ และยุโรป และยังกระทบไปถึงนักลงทุน ที่อาจต้องถูกบังคับให้ขายสินทรัพย์บางประเภท เพื่อชดเชยความสูญเสีย ที่เกิดขึ้นจากการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทสับไพรม์อีกด้วย ภาวะดังกล่าว ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ ล้วนเข้าซื้อสัญญาประกันความเสี่ยง เพื่อป้องกันหนี้สูญที่อาจเกิดขึ้นมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในยุโรป เนื่องจากวิกฤตสินเชื่อสับไพรม์กระทบถึงยุโรป
สถาบันการเงินที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านสินเชื่อสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในเยอรมนี ที่มีชื่อว่า ไอเคบี และคอมเมิร์สแบ็งค์ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ของเยอรมนี ส่งสัญญาณเตือนว่า การดำเนินงานของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 แห่ง อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่อสับไพรม์จากสหรัฐเช่นกัน ส่งผลให้บรรดานักลงทุนในตลาดทุนยุโรป ล้วนเข้าไปซื้อสัญญาป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าในตลาดตราสารอนุพันธ์อย่างคึกคัก
ทั้งนี้ ค่าดัชนี ที่ใช้สำหรับทำต้นทุนในการประกันความเสี่ยง ที่มีต่อบริษัทสัญชาติยุโรป ซึ่งอาจเกิดหนี้สูญ หรือที่เรียกว่า ดัชนี ไอแทร๊กซ์ ครอสโอเวอร์ ปรับเพิ่มสูงขึ้นกว่า 0.6% หรือ 60 Basis point ทำให้ค่าดัชนีดังกล่าวพุ่งขึ้นทะลุระดับกว่า 500 Basis point ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่เริ่มมีการตั้งดัชนีดังกล่าว นั่นหมายถึง ต้นทุนในทำประกันความเสี่ยงสำหรับกรณีตราสารหนี้ระดมทุนของบริษัท 480 ล้านบาท อยู่ที่ 24 ล้านบาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
Posted on Tuesday, July 31, 2007
1 ใน 3 ชาวอเมริกันสูงอายุ ไม่มีเงินเพียงพอไว้ใช้ในยามเกษียณ
ศูนย์งานวิจัยการเกษียณ ของสถาบันระดับมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก ที่มีชื่อว่า บอสตัน คอลเลจเปิดเผยว่า จากผลสำรวจล่าสุด เกี่ยวกับชาวอเมริกันซึ่งเกิดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า ยุค เบบี้บูมเมอร์ ซึ่งมีอายุระหว่าง 51 ถึง 61 ปีนั้น มีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของกลุ่มอายุดังกล่าว ที่มีจำนวนเงินไม่เพียงพอ ที่จะเลี้ยงดูตัวเอง หากต้องเข้าสู่วัยเกษียณ ผลสำรวจที่พบในเบื้องต้น ได้รับการประเมินจากการจัดประชุมเชิงวิชาการระดับชาติของสหรัฐด้วย
ศาสตราจารย์ อลิเซีย เอช มันเนล แห่งมหาวิทยาลัย บอสตั้น คอลเลจ เปิดเผยต่อไปว่า ชาวอเมริกันในช่วงอายุดังกล่าว คือตั้งแต่ 51 - 61 ปีนั้น หากมองเฉพาะด้านฐานะทางการเงิน เช่น เงินใช้จ่ายรายวัน ซึ่งไม่นับรวมเงินออมที่ใช้สะสมเมื่อยามเกษียณ จะพบว่า มีถึง 32% อยู่ในภาวะเสี่ยงสูง ที่ไม่สามารถจะเตรียมตัวเข้าสู่วัยหลังเกษียณได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความยากลำบากมากขึ้น ในการใช้ชีวิตหลังไม่มีงานทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ชาวอเมริกันที่เกิดในยุค 1950 หรือ ปัจจุบันมีอายุประมาณ 57 ปี มีจำนวนอย่างน้อย 80% มีทรัพย์สิน และเงินออมสะสมเพียงพอ ที่จะเก็บไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ ทั้งนี้ ข้อสรุปดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ชาวอเมริกัน ส่วนใหญ่จะรอให้ถึงอายุ 65 ปี ซึ่งเป็นวัยเกษียณของคนอเมริกัน เพื่อรอรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มจำนวนจากรัฐบาลกลาง ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยที่ทรงตัว และอาจลดลงต่อเนื่องในอนาคต เฉลี่ยแล้วทำให้ ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ ไม่เพียงพอ
วิกฤตสินเชื่ออสังหาฯในสหรัฐทำให้หนี้สูญสหรัฐ พุ่งเฉียด 60%
บริษัท เรียลตี้ แทรค อินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัท ที่ทำการสำรวจด้านอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังแห่งหนึ่งในสหรัฐ เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ มีสูงถึง 58% ที่กำลังจะต้องประสบปัญหาหนี้สูญ นั่นหมายถึง จำนวนบริษัทที่ทำธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั่วสหรัฐ ที่มีมากถึง 573,397 แห่ง ได้รายงานธุรกรรมระหว่างบริษัท กับลูกค้า หลากหลายประเภท ที่อาจนำไปสู่ภาวะหนี้สูญ เช่น ใบแจ้งหนี้เร่งรัดชำระการผ่อนส่ง
บริษัทดังกล่าว เปิดเผยต่อไปว่า จำนวนอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐช่วง 6 เดือนแรก ที่อาจเป็นหนี้สูญ ซึ่งพุ่งขึ้นถึง 58% มีจำนวนเพิ่มมากกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในปี 2549 เฉพาะ 6 เดือนแรกมีเพียง 32% หรือคิดเป็นจำนวน 363,672 แห่ง ผลสำรวจดังกล่าว ตอกย้ำสัญญาณทรุดตัวลงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ จากวิกฤตสินเชื่อสับไพรม์ที่เกิดขึ้น
นาย เจมส์ เจ แซคคาซิโอ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ บริษัท เรียลตี้ แทรค อินคอร์ปอเรชั่น ประเมินว่า หากมองจนถึงสิ้นปีนี้ มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่ตัวเลขหนี้สูญอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ จะพุ่งขึ้นถึงราว 2 ล้านแห่ง หากเป็นเช่นนั้นจริง จะทำให้หนี้สูญดังกล่าว เพิ่มขึ้นถึง 65% เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ อสังหาริมทรัพย์ในรัฐ แคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา เท็กซัส และโอไฮโอ้ เป็น 4 อันดับแรกที่มีหนี้สูญมากที่สุด
ขณะเดียวกันต้นทุนในการทำประกัน เพื่อป้องกันกรณีหนี้สูญที่อาจเกิดขึ้นกับสินเชื่อ พุ่งสูงขึ้นทั้งในสหรัฐ และยุโรป และยังกระทบไปถึงนักลงทุน ที่อาจต้องถูกบังคับให้ขายสินทรัพย์บางประเภท เพื่อชดเชยความสูญเสีย ที่เกิดขึ้นจากการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทสับไพรม์อีกด้วย ภาวะดังกล่าว ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ ล้วนเข้าซื้อสัญญาประกันความเสี่ยง เพื่อป้องกันหนี้สูญที่อาจเกิดขึ้นมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในยุโรป เนื่องจากวิกฤตสินเชื่อสับไพรม์กระทบถึงยุโรป
สถาบันการเงินที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านสินเชื่อสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในเยอรมนี ที่มีชื่อว่า ไอเคบี และคอมเมิร์สแบ็งค์ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ของเยอรมนี ส่งสัญญาณเตือนว่า การดำเนินงานของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 แห่ง อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่อสับไพรม์จากสหรัฐเช่นกัน ส่งผลให้บรรดานักลงทุนในตลาดทุนยุโรป ล้วนเข้าไปซื้อสัญญาป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าในตลาดตราสารอนุพันธ์อย่างคึกคัก
ทั้งนี้ ค่าดัชนี ที่ใช้สำหรับทำต้นทุนในการประกันความเสี่ยง ที่มีต่อบริษัทสัญชาติยุโรป ซึ่งอาจเกิดหนี้สูญ หรือที่เรียกว่า ดัชนี ไอแทร๊กซ์ ครอสโอเวอร์ ปรับเพิ่มสูงขึ้นกว่า 0.6% หรือ 60 Basis point ทำให้ค่าดัชนีดังกล่าวพุ่งขึ้นทะลุระดับกว่า 500 Basis point ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่เริ่มมีการตั้งดัชนีดังกล่าว นั่นหมายถึง ต้นทุนในทำประกันความเสี่ยงสำหรับกรณีตราสารหนี้ระดมทุนของบริษัท 480 ล้านบาท อยู่ที่ 24 ล้านบาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/07/07
โพสต์ที่ 18
อัตราว่างงานญี่ปุ่นลดต่ำสุดในรอบกว่า 9 ปี ข่าว 13.30 น.
Posted on Tuesday, July 31, 2007
กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราว่างงานของญี่ปุ่นในเดือนมิ.ย.2550 ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 9 ปี โดยในเดือนมิ.ย.ปรับตัวลดลง 3.7% จากระดับ 3.8% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2541 ที่มีอัตราว่างงานลดลงอยู่ที่ 3.6%
สาเหตุที่ตัวเลขว่างงานลดลงนั้น เกิดจากการที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ได้แก่ ธุรกิจภัตตาคารและโรงแรม รวมถึงภาคธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก และบริการทางสุขภาพและการแพทย์ ได้ว่าจ้างพนักงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ยอดรวมของตัวเลขจ้างงานในเดือนมิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 530,000 ตำแหน่งแตะระดับ 64.91 ล้านตำแหน่ง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
Posted on Tuesday, July 31, 2007
กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราว่างงานของญี่ปุ่นในเดือนมิ.ย.2550 ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 9 ปี โดยในเดือนมิ.ย.ปรับตัวลดลง 3.7% จากระดับ 3.8% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2541 ที่มีอัตราว่างงานลดลงอยู่ที่ 3.6%
สาเหตุที่ตัวเลขว่างงานลดลงนั้น เกิดจากการที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ได้แก่ ธุรกิจภัตตาคารและโรงแรม รวมถึงภาคธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก และบริการทางสุขภาพและการแพทย์ ได้ว่าจ้างพนักงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ยอดรวมของตัวเลขจ้างงานในเดือนมิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 530,000 ตำแหน่งแตะระดับ 64.91 ล้านตำแหน่ง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/07/07
โพสต์ที่ 19
สิงคโปร์ยังไม่ออกมาตรการดับความร้อนแรงของอสังหาฯ ข่าว 12.00 น.
Posted on Tuesday, July 31, 2007
นายมาห์ โบ ตัน รัฐมนตรีดูแลด้านการพัฒนาในประเทศ บอกว่า รัฐบาลสิงคโปร์กำลังจับตาการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่จะยังไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการออกมาเพื่อลดดอัตราการเติบโตดังกล่าว โดยรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกตลาดในภาคอสังหาริมทรัพย์ดำเนินต่อไป จะไม่พยายามเข้าไปแทรกแซงตลาด และพร้อมที่จะเพิ่มพื้นที่ดินให้แก่ความต้องการทันที หากความต้องการใช้ที่ดินมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นายมาห์ ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า เงื่อนไขในการอุดหนุนที่ดินเพิ่มของภาครัฐนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขใด และจะจัดสรรที่ดินอย่างไร
ทั้งนี้ราคาที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นถึง 8.3 % เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ที่ราคาเพิ่มขึ้นเพียง 4.8 % และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกในช่วยเวลาที่เหลือของปี 2550 ซึ่งนักวิเคราะห์ระบุว่าเป็นอัตราการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ร้อนแรงที่สุดในโลก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
Posted on Tuesday, July 31, 2007
นายมาห์ โบ ตัน รัฐมนตรีดูแลด้านการพัฒนาในประเทศ บอกว่า รัฐบาลสิงคโปร์กำลังจับตาการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่จะยังไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการออกมาเพื่อลดดอัตราการเติบโตดังกล่าว โดยรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกตลาดในภาคอสังหาริมทรัพย์ดำเนินต่อไป จะไม่พยายามเข้าไปแทรกแซงตลาด และพร้อมที่จะเพิ่มพื้นที่ดินให้แก่ความต้องการทันที หากความต้องการใช้ที่ดินมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นายมาห์ ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า เงื่อนไขในการอุดหนุนที่ดินเพิ่มของภาครัฐนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขใด และจะจัดสรรที่ดินอย่างไร
ทั้งนี้ราคาที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นถึง 8.3 % เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ที่ราคาเพิ่มขึ้นเพียง 4.8 % และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกในช่วยเวลาที่เหลือของปี 2550 ซึ่งนักวิเคราะห์ระบุว่าเป็นอัตราการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ร้อนแรงที่สุดในโลก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/07/07
โพสต์ที่ 20
"เอดีบีแบงก์" ชี้คุณภาพชีวิต "คนจีน-อินเดีย" ต่ำกว่ามาตรฐาน-สวนทางศก.โต
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 กรกฎาคม 2550 13:31 น.
ธนาคารเอดีบี เผยผลสำรวจมาตรฐานคุณภาพชีวิต 23 เขตศก.ในภูมิภาคเอเชีย ระบุ "คนจีน-อินเดีย" ยังมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน แม้เศรษฐกิจจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
วันนี้(31 ก.ค.) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เผยแพร่ผลการสำรวจในชื่อ รายงาน การใช้จ่ายที่แท้จริงของครัวเรือน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยสำรวจจาก 23 เขตเศรษฐกิจในภูมิภาค ปรากฏว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง เป็นเขตที่ประชากรมีมาตรฐานด้านคุณภาพชีวิตดีที่สุดในภูมิภาค ประชากรมีอัตราการใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 16,019 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 540,000 บาทต่อปี ส่วนอันดับรองลงไปเป็น ไต้หวัน, สิงคโปร์, บรูไน และมาเก๊า ตามลำดับ
ส่วน 2 เขตเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ในภูมิภาค ทั้งจีนและอินเดีย ที่มีจีดีพีแต่ละปีรวมกันเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 64 ของภูมิภาค กลับมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายของจีนอยู่ที่ 1,470 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ขณะที่อินเดียอยู่ที่ 1,202 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี โดยคุณภาพชีวิตต่ำที่สุด 5 เขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ เนปาล, บังกลาเทศ, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม
ทั้งนี้ เอดีบีระบุว่า รายงานฉบับนี้จัดทำโดยการรวบรวมค่าใช้จ่ายต่างๆ ของประชากรในด้านคุณภาพชีวิต ทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายโดยปกติในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากทางการในรูปสวัสดิการสังคม รวมทั้งด้านการศึกษาและการดูแลสุขภาพ
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000089217
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 กรกฎาคม 2550 13:31 น.
ธนาคารเอดีบี เผยผลสำรวจมาตรฐานคุณภาพชีวิต 23 เขตศก.ในภูมิภาคเอเชีย ระบุ "คนจีน-อินเดีย" ยังมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน แม้เศรษฐกิจจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
วันนี้(31 ก.ค.) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เผยแพร่ผลการสำรวจในชื่อ รายงาน การใช้จ่ายที่แท้จริงของครัวเรือน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยสำรวจจาก 23 เขตเศรษฐกิจในภูมิภาค ปรากฏว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง เป็นเขตที่ประชากรมีมาตรฐานด้านคุณภาพชีวิตดีที่สุดในภูมิภาค ประชากรมีอัตราการใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 16,019 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 540,000 บาทต่อปี ส่วนอันดับรองลงไปเป็น ไต้หวัน, สิงคโปร์, บรูไน และมาเก๊า ตามลำดับ
ส่วน 2 เขตเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ในภูมิภาค ทั้งจีนและอินเดีย ที่มีจีดีพีแต่ละปีรวมกันเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 64 ของภูมิภาค กลับมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายของจีนอยู่ที่ 1,470 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ขณะที่อินเดียอยู่ที่ 1,202 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี โดยคุณภาพชีวิตต่ำที่สุด 5 เขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ เนปาล, บังกลาเทศ, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม
ทั้งนี้ เอดีบีระบุว่า รายงานฉบับนี้จัดทำโดยการรวบรวมค่าใช้จ่ายต่างๆ ของประชากรในด้านคุณภาพชีวิต ทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายโดยปกติในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากทางการในรูปสวัสดิการสังคม รวมทั้งด้านการศึกษาและการดูแลสุขภาพ
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000089217
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/08/07
โพสต์ที่ 21
จีนออกกฎเหล็กคุมปล่อยสินเชื่อลดศก.ร้อนแรง - 1/8/2550
จีน - จีนออกมาตรการใหม่ คุมเข้มปล่อยสินเชื่อ หวังลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ที่ทะยานพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ธนาคารกลางจีน ประกาศมาตรการใหม่เข้มงวดในปล่อยปล่อยสินเชื่อของธนาคาร โดยให้เพิ่มอัตราเงินสำรองในบัญชีของผู้ขอสินเชื่อ เป็นครั้งที่ 6 ในรอบปีนี้ ทั้งนี้ นับเป็นความพยายามอีกครั้งในการชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ที่อยู่ในอัตราสูงถึงร้อยละ 11.9 ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 12 ปี และอัตราเงินสำรองต่างประเทศสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยธนาคารกลางเปิดเผยว่า อัตราเงินสำรองของผู้ขอกู้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 12 ของเงินฝาก โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 สิงหาคม ขณะที่ปัจจุบันนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น ภาคธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 6.84
ทางการจีนพยายามควบคุมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบกระจายตัว เพื่อลดปัญหาความยากจน โดยเชื่อว่าการปล่อยกู้ง่ายเกินไปในระยะนี้ จะนำไปสู่การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดจนตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในปีนี้ดัชนีหลักในตลาดหุ้นจีนทะยานขึ้นไปกว่าร้อยละ 60 ซึ่งเมื่อการขยายตัวอยู่ในอัตราสูงเกินไป จะเป็นการผลักดันให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและเกิดวิกฤติหนี้สินความเสี่ยงสูงตามมา
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=178565
จีน - จีนออกมาตรการใหม่ คุมเข้มปล่อยสินเชื่อ หวังลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ที่ทะยานพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ธนาคารกลางจีน ประกาศมาตรการใหม่เข้มงวดในปล่อยปล่อยสินเชื่อของธนาคาร โดยให้เพิ่มอัตราเงินสำรองในบัญชีของผู้ขอสินเชื่อ เป็นครั้งที่ 6 ในรอบปีนี้ ทั้งนี้ นับเป็นความพยายามอีกครั้งในการชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ที่อยู่ในอัตราสูงถึงร้อยละ 11.9 ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 12 ปี และอัตราเงินสำรองต่างประเทศสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยธนาคารกลางเปิดเผยว่า อัตราเงินสำรองของผู้ขอกู้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 12 ของเงินฝาก โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 สิงหาคม ขณะที่ปัจจุบันนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น ภาคธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 6.84
ทางการจีนพยายามควบคุมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบกระจายตัว เพื่อลดปัญหาความยากจน โดยเชื่อว่าการปล่อยกู้ง่ายเกินไปในระยะนี้ จะนำไปสู่การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดจนตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในปีนี้ดัชนีหลักในตลาดหุ้นจีนทะยานขึ้นไปกว่าร้อยละ 60 ซึ่งเมื่อการขยายตัวอยู่ในอัตราสูงเกินไป จะเป็นการผลักดันให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและเกิดวิกฤติหนี้สินความเสี่ยงสูงตามมา
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=178565
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/08/07
โพสต์ที่ 22
จีนปฏิรูปโครงสร้างธุรกิจค้าน้ำมันครั้งใหญ่ โดยออกใบอนุญาตให้กับ 9 ธุรกิจเอกชน และ 4 วิสาหกิจรัฐ
Posted on Wednesday, August 01, 2007
กระทรวงพาณิชย์จีนได้ประกาศผ่านเวบไซต์ว่า ได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจค้าน้ำมันดิบเป็นครั้งแรกให้กับ 5 วิสาหกิจ ได้แก่ กลุ่มซีเอ็นพีซี กลุ่มซิโนเปก กลุ่มซิโนเคม กลุ่มซีนุก และกลุ่มไชน่า อาร์ต หัวไห่ พร้อมกันนี้ ยังได้อนุมัติใบอนญาตทำธุรกิจโกดังน้ำมันดิบกับ ซิโนเปก และซีเอ็นพีซีด้วย
นอกจากบริษัททั้ง 5 แล้ว กระทรวงพาณิชย์ยังได้ออกใบอนุญาตการค้าส่งน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มให้กับอีก 6 บริษัท ซึ่งรวมถึงไชน่า อาร์ต หัวไห่ บริษัท เหลียวหนิง ฟังหยวน เนชั่นแนล รวมถึงออกใบอนุญาตประกอบกิจการโกดังน้ำมันสำเร็จรูปให้กับบริษัทอีก 5 แห่งด้วย ซึ่งการอนุมัติใบอนุญาตทำธุรกิจน้ำมันสำเร็จรูป ให้กับ 11 บริษัทข้างต้นนี้ มี 9 บริษัทที่เป็นธุรกิจเอกชน
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ใบอนุญาตครั้งนี้ ออกให้กับวิสาหกิจรัฐระดับแนวหน้าของจีนทั้งหมด ยกเว้นเพียง ไชน่า อาร์ต หัวไห่ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักปรากฏออกมาด้วย ทั้งที่บริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันดิบ ทั้งการนำเข้าและการจำหน่ายน้ำมัน และเชื้อเพลิง รวมถึงทำธุรกิจโกดังน้ำมันมาตั้งแต่ปี 2540 แล้ว
และการออกใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำมันดิบครั้งนี้ ทำให้นายสื่อ ตัน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจพลังงาน สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม สังกัดบัณฑิตยสถานด้านสังคมศาสตร์จีน ได้ออกมายืนยันว่า ทางการจีนต้องการแสดงให้นานาประเทศเห็นว่า มีการปฏิบัติตามสัญญาที่ให้เอาไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) และดำเนินการเร่งปฏิรูปโครงสร้างการผูกขาดในธุรกิจน้ำมันด้วย เพราะในระยะต่อไป น่าจะมีวิสาหกิจอีกหลายแห่ง รวมไปถึงบริษัทเอกชนอีกหลายราย จะได้รับใบอนุญาตนี้เพิ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มหาศาลกับธุรกิจน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม จากการที่บริษัทน้ำมันเอกชนส่วนใหญ่มักจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก และกระจุกตัวอยู่ในธุรกิจการกลั่นมากกว่า ดังนั้นบริษัทเอกชนจะได้ประโยชน์เท่าไหร่ จึงยังเป็นเรื่องที่สรุปได้ยาก
มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
โทรศัพท์ - 02- 229 - 2000 ต่อ 2616
อีเมล - [email protected]
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
Posted on Wednesday, August 01, 2007
กระทรวงพาณิชย์จีนได้ประกาศผ่านเวบไซต์ว่า ได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจค้าน้ำมันดิบเป็นครั้งแรกให้กับ 5 วิสาหกิจ ได้แก่ กลุ่มซีเอ็นพีซี กลุ่มซิโนเปก กลุ่มซิโนเคม กลุ่มซีนุก และกลุ่มไชน่า อาร์ต หัวไห่ พร้อมกันนี้ ยังได้อนุมัติใบอนญาตทำธุรกิจโกดังน้ำมันดิบกับ ซิโนเปก และซีเอ็นพีซีด้วย
นอกจากบริษัททั้ง 5 แล้ว กระทรวงพาณิชย์ยังได้ออกใบอนุญาตการค้าส่งน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มให้กับอีก 6 บริษัท ซึ่งรวมถึงไชน่า อาร์ต หัวไห่ บริษัท เหลียวหนิง ฟังหยวน เนชั่นแนล รวมถึงออกใบอนุญาตประกอบกิจการโกดังน้ำมันสำเร็จรูปให้กับบริษัทอีก 5 แห่งด้วย ซึ่งการอนุมัติใบอนุญาตทำธุรกิจน้ำมันสำเร็จรูป ให้กับ 11 บริษัทข้างต้นนี้ มี 9 บริษัทที่เป็นธุรกิจเอกชน
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ใบอนุญาตครั้งนี้ ออกให้กับวิสาหกิจรัฐระดับแนวหน้าของจีนทั้งหมด ยกเว้นเพียง ไชน่า อาร์ต หัวไห่ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักปรากฏออกมาด้วย ทั้งที่บริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันดิบ ทั้งการนำเข้าและการจำหน่ายน้ำมัน และเชื้อเพลิง รวมถึงทำธุรกิจโกดังน้ำมันมาตั้งแต่ปี 2540 แล้ว
และการออกใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำมันดิบครั้งนี้ ทำให้นายสื่อ ตัน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจพลังงาน สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม สังกัดบัณฑิตยสถานด้านสังคมศาสตร์จีน ได้ออกมายืนยันว่า ทางการจีนต้องการแสดงให้นานาประเทศเห็นว่า มีการปฏิบัติตามสัญญาที่ให้เอาไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) และดำเนินการเร่งปฏิรูปโครงสร้างการผูกขาดในธุรกิจน้ำมันด้วย เพราะในระยะต่อไป น่าจะมีวิสาหกิจอีกหลายแห่ง รวมไปถึงบริษัทเอกชนอีกหลายราย จะได้รับใบอนุญาตนี้เพิ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มหาศาลกับธุรกิจน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม จากการที่บริษัทน้ำมันเอกชนส่วนใหญ่มักจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก และกระจุกตัวอยู่ในธุรกิจการกลั่นมากกว่า ดังนั้นบริษัทเอกชนจะได้ประโยชน์เท่าไหร่ จึงยังเป็นเรื่องที่สรุปได้ยาก
มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
โทรศัพท์ - 02- 229 - 2000 ต่อ 2616
อีเมล - [email protected]
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/08/07
โพสต์ที่ 23
รมว.คลังสหรัฐ เตรีมเสนอ "หู จิ่นเทา" ปรับค่าเงินหยวน-หวั่นจุดชนวนตอบโต้การค้าโลก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2550 12:11 น.
นายเฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ จะหยิบยกข้อเสนอให้จีนเร่งปรับขึ้นค่าเงินหยวนกับประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน ในวันนี้ หลังจากรัฐบาลสหรัฐเตือนวานนี้ว่า ร่างกฎหมายต่อต้านจีนที่สภาสหรัฐกำลังพิจารณาอยู่อาจจุดชนวนการตอบโต้ทางการค้าระดับโลก
วันนี้(1 ส.ค.) นายพอลสัน ร่วมกับนางซูซาน ชวอบ ผู้แทนการค้า และนายคาร์ลอส กูเตียร์เรซ รัฐมนตรีพาณิชย์ ส่งจดหมายถึงวุฒิสมาชิก ว่า กฎหมายกดดันให้จีนเร่งปรับขึ้นค่าเงินหยวนจะกระทบต่อการส่งออกของสหรัฐที่กำลังขยายตัวทั่วโลก เพราะจะกระตุ้นให้เกิดวงจรออกกฎหมายปกป้องทางการค้าขึ้นทั่วโลก พวกเขาส่งจดหมายดังกล่าว หลังจากเมื่อวานนี้ได้เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีอู๋ อี๋ ของจีน ขอให้เธอเร่งปฏิรูปค่าเงินและเศรษฐกิจ แต่ถูกนางอู๋ สอนบทเรียนเรื่องเศรษฐกิจจีนต่อหน้าสื่อมวลชนว่า จีนยังอยู่ในฐานะยากจนเกินกว่าจะเป็นภัยต่อประเทศใดได้ ประชากรจีน 23 ล้านคน มีความเป็นอยู่ยากจน เป้าหมายการพัฒนาของจีนในขณะนี้คือ ช่วยให้ประชากร 1,300 ล้านคน กินอิ่มนอนหลับให้ได้เสียก่อน ดังนั้น จีนจึงไม่มีความสามารถจะไปคุกคามใครได้
นายพอลสัน เผยกับสำนักข่าวซินหัว ของทางการจีน ว่า การหารือกับนางอู๋ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ขณะเดียวกัน พยายามคลายความกังวลเรื่องความตึงเครียดทางการค้ากับจีน โดยกล่าวว่า กฎหมายกดดันจีนไม่ใช่หนทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาค่าเงินหยวน เขามีกำหนดจะเข้าพบประธานาธิบดีหู ในบ่ายวันนี้ และจะหารือกับนางอู๋ อีกครั้ง
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000089641
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2550 12:11 น.
นายเฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ จะหยิบยกข้อเสนอให้จีนเร่งปรับขึ้นค่าเงินหยวนกับประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน ในวันนี้ หลังจากรัฐบาลสหรัฐเตือนวานนี้ว่า ร่างกฎหมายต่อต้านจีนที่สภาสหรัฐกำลังพิจารณาอยู่อาจจุดชนวนการตอบโต้ทางการค้าระดับโลก
วันนี้(1 ส.ค.) นายพอลสัน ร่วมกับนางซูซาน ชวอบ ผู้แทนการค้า และนายคาร์ลอส กูเตียร์เรซ รัฐมนตรีพาณิชย์ ส่งจดหมายถึงวุฒิสมาชิก ว่า กฎหมายกดดันให้จีนเร่งปรับขึ้นค่าเงินหยวนจะกระทบต่อการส่งออกของสหรัฐที่กำลังขยายตัวทั่วโลก เพราะจะกระตุ้นให้เกิดวงจรออกกฎหมายปกป้องทางการค้าขึ้นทั่วโลก พวกเขาส่งจดหมายดังกล่าว หลังจากเมื่อวานนี้ได้เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีอู๋ อี๋ ของจีน ขอให้เธอเร่งปฏิรูปค่าเงินและเศรษฐกิจ แต่ถูกนางอู๋ สอนบทเรียนเรื่องเศรษฐกิจจีนต่อหน้าสื่อมวลชนว่า จีนยังอยู่ในฐานะยากจนเกินกว่าจะเป็นภัยต่อประเทศใดได้ ประชากรจีน 23 ล้านคน มีความเป็นอยู่ยากจน เป้าหมายการพัฒนาของจีนในขณะนี้คือ ช่วยให้ประชากร 1,300 ล้านคน กินอิ่มนอนหลับให้ได้เสียก่อน ดังนั้น จีนจึงไม่มีความสามารถจะไปคุกคามใครได้
นายพอลสัน เผยกับสำนักข่าวซินหัว ของทางการจีน ว่า การหารือกับนางอู๋ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ขณะเดียวกัน พยายามคลายความกังวลเรื่องความตึงเครียดทางการค้ากับจีน โดยกล่าวว่า กฎหมายกดดันจีนไม่ใช่หนทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาค่าเงินหยวน เขามีกำหนดจะเข้าพบประธานาธิบดีหู ในบ่ายวันนี้ และจะหารือกับนางอู๋ อีกครั้ง
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000089641
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news02/08/07
โพสต์ที่ 24
Global Business News ประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2550
ค้าน กม.กดดันเงินหยวน
วอชิงตัน เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลสหรัฐ ประกอบด้วย นายเฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีการคลัง นายคาร์ลอส กูเตียเรซ รัฐมนตรีพาณิชย์และนางซูซาน ชวอบ ผู้แทนเจรจาการค้า ร่วมกันส่งจดหมายไปยังวุฒิสภาสหรัฐ คัดค้านแนวทางการออกกฎหมายสองฉบับที่จะกดดันจีนในการปฏิรูปค่าเงินหยวนและระบบเศรษฐกิจ โดยระบุว่ากฎหมายดังกล่าวอาจทำให้เกิดกระแสต่อต้านจนก่อให้เกิดลัทธิปกป้องทางการค้าไปทั่วโลก
เมอร์ดอคได้คุมดาวโจนส์
นิวยอร์ก-รูเพิร์ต เมอร์ดอค เจ้าพ่อวงการสื่อของโลก ประสบความสำเร็จในการซื้อบริษัทดาวโจนส์ ผู้ผลิตหนังสือพิมพ์เดอะวอลสตรีทเจอร์นัล โดยบริษัทนิวส์ คอร์ป ของเขาสามารถบรรลุข้อตกลงมูลค่า 5.6 พันล้านดอลลาร์ โดยครอบคลุมหุ้นร้อยละ 65 ของดาวโจนส์ ทั้งนี้การบรรลุข้อกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่เมอร์ดอคสามารถซื้อหุ้นจากตระกูลแบนครอฟท์ซึ่งถือหุ้นใหญ่ของดาวโจนส์
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69941
ค้าน กม.กดดันเงินหยวน
วอชิงตัน เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลสหรัฐ ประกอบด้วย นายเฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีการคลัง นายคาร์ลอส กูเตียเรซ รัฐมนตรีพาณิชย์และนางซูซาน ชวอบ ผู้แทนเจรจาการค้า ร่วมกันส่งจดหมายไปยังวุฒิสภาสหรัฐ คัดค้านแนวทางการออกกฎหมายสองฉบับที่จะกดดันจีนในการปฏิรูปค่าเงินหยวนและระบบเศรษฐกิจ โดยระบุว่ากฎหมายดังกล่าวอาจทำให้เกิดกระแสต่อต้านจนก่อให้เกิดลัทธิปกป้องทางการค้าไปทั่วโลก
เมอร์ดอคได้คุมดาวโจนส์
นิวยอร์ก-รูเพิร์ต เมอร์ดอค เจ้าพ่อวงการสื่อของโลก ประสบความสำเร็จในการซื้อบริษัทดาวโจนส์ ผู้ผลิตหนังสือพิมพ์เดอะวอลสตรีทเจอร์นัล โดยบริษัทนิวส์ คอร์ป ของเขาสามารถบรรลุข้อตกลงมูลค่า 5.6 พันล้านดอลลาร์ โดยครอบคลุมหุ้นร้อยละ 65 ของดาวโจนส์ ทั้งนี้การบรรลุข้อกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่เมอร์ดอคสามารถซื้อหุ้นจากตระกูลแบนครอฟท์ซึ่งถือหุ้นใหญ่ของดาวโจนส์
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69941
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 25
IMF ชี้ ศก.โลกใส เตือนปัจจัยเสี่ยงน้ำมัน
นายโรดริโก ราโต ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกโดยทั่วไปอยู่ในภาวะที่ดี แต่เผชิญความเสี่ยงจากภาวะชะงักงันของอุปทานน้ำมัน และภาวะเฟื่องฟูในการซื้อหุ้นในกิจการภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม มีความวิตกว่า ภาวะชะงักงันต่อการผลิตน้ำมันหรือศักยภาพการกลั่นน้ำมันที่ไม่เพียงพอ อาจจะทำให้อุปทานน้ำมันลดลง
นายราโตยังกล่าวว่า ในบรรดาความเสี่ยงจากการรวมตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น ความวิตกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของการซื้อหุ้นของกิจการภาคเอกชนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ที่นักลงทุนเต็มใจที่จะใช้ตราสารหนี้จำนวนมาก เพื่อสนับสนุนการทำข้อตกลงของพวกเขา
"ถ้าข้อตกลงบางฉบับล้มเหลวอาจกระตุ้นให้มีการประเมินความเสี่ยงใหม่ ซึ่งจะยับยั้งความสามารถในการเข้าถึงของตลาดในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมีผลกระทบทั่วประเทศ" ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศกล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
นายโรดริโก ราโต ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกโดยทั่วไปอยู่ในภาวะที่ดี แต่เผชิญความเสี่ยงจากภาวะชะงักงันของอุปทานน้ำมัน และภาวะเฟื่องฟูในการซื้อหุ้นในกิจการภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม มีความวิตกว่า ภาวะชะงักงันต่อการผลิตน้ำมันหรือศักยภาพการกลั่นน้ำมันที่ไม่เพียงพอ อาจจะทำให้อุปทานน้ำมันลดลง
นายราโตยังกล่าวว่า ในบรรดาความเสี่ยงจากการรวมตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น ความวิตกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของการซื้อหุ้นของกิจการภาคเอกชนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ที่นักลงทุนเต็มใจที่จะใช้ตราสารหนี้จำนวนมาก เพื่อสนับสนุนการทำข้อตกลงของพวกเขา
"ถ้าข้อตกลงบางฉบับล้มเหลวอาจกระตุ้นให้มีการประเมินความเสี่ยงใหม่ ซึ่งจะยับยั้งความสามารถในการเข้าถึงของตลาดในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมีผลกระทบทั่วประเทศ" ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศกล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 26
ส้มหล่นผู้ส่งออกจีน-ญี่ปุ่น อียูลดภาษีกล้องโทรทัศน์-หลอดไฟ
รายงาน
สหภาพยุโรป (EU) ออกประกาศมาเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าจะยกเลิกเก็บภาษีนำเข้า 200% จากบริษัทผู้นำเข้ากล้องโทรทัศน์ญี่ปุ่น เพื่อลดข้อครหาในเรื่องการปกป้องการเข้าถึงตลาดของผู้ผลิตกล้องโทรทัศน์ญี่ปุ่น ขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เตรียมจะออกประกาศลดภาษีนำเข้าหลอดไฟประหยัดพลังงานจากจีน เพื่อสนับสนุนนโยบายการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพของกลุ่มประเทศสมาชิก
รายงานจาก เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัลระบุว่า คณะกรรมาธิการยุโรปมีความเห็นว่า ภาษีที่ทำให้ราคาของหลอดไฟประหยัดพลังงานสูงขึ้นนั้นควรได้รับการลดสัดส่วนการเก็บภาษีนำเข้าในประเทศสหภาพยุโรป อีกทั้งยังมีแผนจะประกาศยกเลิกการเก็บภาษีทุ่มตลาด (antidumping duties หรือ AD) ในสินค้าประเภทหลอดไฟแบบไส้หลอดประหยัดพลังงานที่ผลิตในจีน ซึ่งปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นและชาวยุโรปนิยมใช้มากกว่า 2 ใน 3 ส่วนของปริมาณการใช้หลอดไฟทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เดอะ วอลล์สตรีตฯได้ตั้งข้อสังเกตว่า การประกาศลดภาษีนำเข้าหลอดไฟประหยัดพลังงานจากจีนในครั้งนี้น่าจะมีสาเหตุมาจากความพยายามของบริษัทออสแรมผู้ผลิตหลอดไฟจากเยอรมนี ซึ่งต้องการให้มีการเก็บภาษีหลอดไฟนำเข้าจากจีน เนื่องจากออสแรมอ้างว่าหลอดไฟจากจีนมีราคาถูกกว่าต้นทุน และทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ผลิตหลอดไฟแบบไส้ในยุโรป
เรื่องนี้ ปีเตอร์ พาวเวอร์ โฆษกสหภาพยุโรปกล่าวว่า ออสแรมพยายามจะเอาชนะบริษัทคู่แข่งชาติยุโรปด้วยกัน คือ บริษัทฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีโรงงานผลิตหลอดไฟอยู่ในประเทศจีน
แม้ความพยายามจะทำให้มีการใช้มาตรการเก็บภาษีทุ่มตลาดจากผู้นำเข้าหลอดไฟประหยัดพลังงานจากออสแรมจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจากบริษัทออสแรมซึ่งถูกตีตลาดจากบริษัทคู่แข่งชาวยุโรปด้วยกันเองอย่างหนัก แต่สำหรับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้วกลับระบุว่า อย่างไรเสียมาตรการลดภาษีและยกเลิกภาษีทุ่มตลาดให้กับผู้นำเข้าหลอดไฟประหยัดพลังงานจากจีนจะดำเนินต่อไป และน่าจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการได้ในเดือนสิงหาคมนี้
เนื่องจากคณะกรรมาธิการยุโรปเห็นว่า การรณรงค์ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต้องทำให้เป็นกฎระเบียบให้ชัดเจนโดยเร็ว และในเร็วๆ นี้สหภาพยุโรปจะประกาศกฎระเบียบใหม่ ซึ่งจะออกมากำกับมาตรฐานการใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพทั้งในบ้านและสถานที่ทำงาน รวมทั้งตามท้องถนน โดยในเบื้องต้นมีผู้ผลิตหลอดไฟหลายรายเห็นด้วยในหลักการและจะเปลี่ยนมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับกฎระเบียบใหม่ให้ได้ภายใน 8 ปี
โดยการลดภาษีนำเข้าหลอดไฟจะเป็นมาตรการกระตุ้นเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ในปี 2544 สหภาพยุโรปจะได้ประกาศจัด เก็บภาษี 66% จากการนำเข้าหลอดไฟ ฟลูออเรสเซนต์จากจีน เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ผลิตหลอดไฟในยุโรประบุว่า หลอดไฟนำเข้าจากจีนมีราคาต่ำกว่าต้นทุนและเข้ามาทุ่มตลาดยุโรป แต่อย่างไรก็ตามภาษีที่เก็บจากการนำเข้าหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์อัตรานี้ได้ครบกำหนดแล้วเมื่อ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา และขณะนี้สหภาพยุโรปกำลังพิจารณาว่าจะประกาศอัตราภาษีใหม่หรือไม่ และอย่างไร ท่ามกลางความพยายามของบริษัทผู้ผลิตหลอดไฟชาวยุโรปโดยเฉพาะจากเยอรมนีที่ต้องการให้จัดเก็บภาษีนำเข้าในอัตราเดิมต่อไป
นอกจากนี้ รายงานข่าวจากอินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูนระบุว่า สหภาพยุโรปได้ประกาศตัดลดภาษีในสินค้านำเข้ากล้องโทรทัศน์แล้ว 200% เพื่อยืนยันว่า สหภาพยุโรปไม่ได้มีนโยบายกีดกั้นผู้ผลิตจากต่างประเทศตามที่มีการอ้างว่า ผู้ผลิตกล้องโทรทัศน์ฝรั่งเศส บริษัททอมสันเรียกร้องให้สหภาพยุโรปเพิ่มการเก็บภาษีในสินค้าประเภทนี้
ปัจจุบันสหภาพยุโรปเก็บภาษีนำเข้ากล้องโทรทัศน์จากผู้ผลิตต่างประเทศ โดยบริษัทอิเกะกามิ สึชินกิ ถูกเก็บภาษีนำเข้า 200.3% บริษัทโซนี่ 108.3% บริษัทฮิตาชิ เดนชิ 52.7% และผู้ส่งออกจากญี่ปุ่นรายอื่นๆ เฉลี่ย 96.8%
โดยอัตราภาษีที่จัดเก็บจากการนำเข้ากล้องโทรทัศน์จากผู้ผลิตญี่ปุ่นในขณะนี้เป็นอัตราการเก็บภาษีระยะ 5 ปี สำหรับสินค้าอุปกรณ์ถ่ายภาพเพื่อการถ่ายทอดผ่านสัญญาณโทรทัศน์นำเข้า ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมปี 2549 หลังจากบริษัทกราส วัลเลย์ ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือทอมสันจากฝรั่งเศส เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปปกป้องตลาดภายใน
แต่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้จัดแบ่งแยกเก็บภาษีนำเข้าในสินค้าที่อยู่ในหมวดอุปกรณ์เพื่อใช้แพร่ภาพกระจายเสียงดังกล่าว และประกาศว่าจะยกเลิกการเก็บภาษีกล้องโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสินค้าที่อียูเก็บภาษีทุ่มตลาดมาตั้งแต่ปี 2537 อีกทั้งยังมีการเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีนำเข้าอีกในปี 2543 และขยายการจัดเก็บครั้งล่าสุดเมื่อธันวาคม 2549
ดังนั้น การลดภาษีให้กับกล้องโทรทัศน์นำเข้าที่สูงถึง 200% ในครั้งนี้ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าผู้ส่งออกบริษัทญี่ปุ่นอาจต้องปรับราคาสินค้าด้วยการเพิ่มราคาเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
รายงาน
สหภาพยุโรป (EU) ออกประกาศมาเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าจะยกเลิกเก็บภาษีนำเข้า 200% จากบริษัทผู้นำเข้ากล้องโทรทัศน์ญี่ปุ่น เพื่อลดข้อครหาในเรื่องการปกป้องการเข้าถึงตลาดของผู้ผลิตกล้องโทรทัศน์ญี่ปุ่น ขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เตรียมจะออกประกาศลดภาษีนำเข้าหลอดไฟประหยัดพลังงานจากจีน เพื่อสนับสนุนนโยบายการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพของกลุ่มประเทศสมาชิก
รายงานจาก เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัลระบุว่า คณะกรรมาธิการยุโรปมีความเห็นว่า ภาษีที่ทำให้ราคาของหลอดไฟประหยัดพลังงานสูงขึ้นนั้นควรได้รับการลดสัดส่วนการเก็บภาษีนำเข้าในประเทศสหภาพยุโรป อีกทั้งยังมีแผนจะประกาศยกเลิกการเก็บภาษีทุ่มตลาด (antidumping duties หรือ AD) ในสินค้าประเภทหลอดไฟแบบไส้หลอดประหยัดพลังงานที่ผลิตในจีน ซึ่งปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นและชาวยุโรปนิยมใช้มากกว่า 2 ใน 3 ส่วนของปริมาณการใช้หลอดไฟทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เดอะ วอลล์สตรีตฯได้ตั้งข้อสังเกตว่า การประกาศลดภาษีนำเข้าหลอดไฟประหยัดพลังงานจากจีนในครั้งนี้น่าจะมีสาเหตุมาจากความพยายามของบริษัทออสแรมผู้ผลิตหลอดไฟจากเยอรมนี ซึ่งต้องการให้มีการเก็บภาษีหลอดไฟนำเข้าจากจีน เนื่องจากออสแรมอ้างว่าหลอดไฟจากจีนมีราคาถูกกว่าต้นทุน และทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ผลิตหลอดไฟแบบไส้ในยุโรป
เรื่องนี้ ปีเตอร์ พาวเวอร์ โฆษกสหภาพยุโรปกล่าวว่า ออสแรมพยายามจะเอาชนะบริษัทคู่แข่งชาติยุโรปด้วยกัน คือ บริษัทฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีโรงงานผลิตหลอดไฟอยู่ในประเทศจีน
แม้ความพยายามจะทำให้มีการใช้มาตรการเก็บภาษีทุ่มตลาดจากผู้นำเข้าหลอดไฟประหยัดพลังงานจากออสแรมจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจากบริษัทออสแรมซึ่งถูกตีตลาดจากบริษัทคู่แข่งชาวยุโรปด้วยกันเองอย่างหนัก แต่สำหรับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้วกลับระบุว่า อย่างไรเสียมาตรการลดภาษีและยกเลิกภาษีทุ่มตลาดให้กับผู้นำเข้าหลอดไฟประหยัดพลังงานจากจีนจะดำเนินต่อไป และน่าจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการได้ในเดือนสิงหาคมนี้
เนื่องจากคณะกรรมาธิการยุโรปเห็นว่า การรณรงค์ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต้องทำให้เป็นกฎระเบียบให้ชัดเจนโดยเร็ว และในเร็วๆ นี้สหภาพยุโรปจะประกาศกฎระเบียบใหม่ ซึ่งจะออกมากำกับมาตรฐานการใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพทั้งในบ้านและสถานที่ทำงาน รวมทั้งตามท้องถนน โดยในเบื้องต้นมีผู้ผลิตหลอดไฟหลายรายเห็นด้วยในหลักการและจะเปลี่ยนมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับกฎระเบียบใหม่ให้ได้ภายใน 8 ปี
โดยการลดภาษีนำเข้าหลอดไฟจะเป็นมาตรการกระตุ้นเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ในปี 2544 สหภาพยุโรปจะได้ประกาศจัด เก็บภาษี 66% จากการนำเข้าหลอดไฟ ฟลูออเรสเซนต์จากจีน เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ผลิตหลอดไฟในยุโรประบุว่า หลอดไฟนำเข้าจากจีนมีราคาต่ำกว่าต้นทุนและเข้ามาทุ่มตลาดยุโรป แต่อย่างไรก็ตามภาษีที่เก็บจากการนำเข้าหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์อัตรานี้ได้ครบกำหนดแล้วเมื่อ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา และขณะนี้สหภาพยุโรปกำลังพิจารณาว่าจะประกาศอัตราภาษีใหม่หรือไม่ และอย่างไร ท่ามกลางความพยายามของบริษัทผู้ผลิตหลอดไฟชาวยุโรปโดยเฉพาะจากเยอรมนีที่ต้องการให้จัดเก็บภาษีนำเข้าในอัตราเดิมต่อไป
นอกจากนี้ รายงานข่าวจากอินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูนระบุว่า สหภาพยุโรปได้ประกาศตัดลดภาษีในสินค้านำเข้ากล้องโทรทัศน์แล้ว 200% เพื่อยืนยันว่า สหภาพยุโรปไม่ได้มีนโยบายกีดกั้นผู้ผลิตจากต่างประเทศตามที่มีการอ้างว่า ผู้ผลิตกล้องโทรทัศน์ฝรั่งเศส บริษัททอมสันเรียกร้องให้สหภาพยุโรปเพิ่มการเก็บภาษีในสินค้าประเภทนี้
ปัจจุบันสหภาพยุโรปเก็บภาษีนำเข้ากล้องโทรทัศน์จากผู้ผลิตต่างประเทศ โดยบริษัทอิเกะกามิ สึชินกิ ถูกเก็บภาษีนำเข้า 200.3% บริษัทโซนี่ 108.3% บริษัทฮิตาชิ เดนชิ 52.7% และผู้ส่งออกจากญี่ปุ่นรายอื่นๆ เฉลี่ย 96.8%
โดยอัตราภาษีที่จัดเก็บจากการนำเข้ากล้องโทรทัศน์จากผู้ผลิตญี่ปุ่นในขณะนี้เป็นอัตราการเก็บภาษีระยะ 5 ปี สำหรับสินค้าอุปกรณ์ถ่ายภาพเพื่อการถ่ายทอดผ่านสัญญาณโทรทัศน์นำเข้า ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมปี 2549 หลังจากบริษัทกราส วัลเลย์ ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือทอมสันจากฝรั่งเศส เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปปกป้องตลาดภายใน
แต่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้จัดแบ่งแยกเก็บภาษีนำเข้าในสินค้าที่อยู่ในหมวดอุปกรณ์เพื่อใช้แพร่ภาพกระจายเสียงดังกล่าว และประกาศว่าจะยกเลิกการเก็บภาษีกล้องโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสินค้าที่อียูเก็บภาษีทุ่มตลาดมาตั้งแต่ปี 2537 อีกทั้งยังมีการเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีนำเข้าอีกในปี 2543 และขยายการจัดเก็บครั้งล่าสุดเมื่อธันวาคม 2549
ดังนั้น การลดภาษีให้กับกล้องโทรทัศน์นำเข้าที่สูงถึง 200% ในครั้งนี้ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าผู้ส่งออกบริษัทญี่ปุ่นอาจต้องปรับราคาสินค้าด้วยการเพิ่มราคาเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 27
ทุนสิงคโปร์บุกฟิลิปปินส์ ประมูลทำโรงไฟฟ้า-เทคโนโลยีอวกาศ
ทุนสิงคโปร์ชนะประมูลโรงไฟฟ้า ขนาด 600 เมกะวัตต์ในฟิลิปปินส์ เพิ่มกำลังการผลิตพลังงานนอกประเทศ ด้านบริษัทแอสเซนดาส ผู้นำธุรกิจอากาศยานปิดระดมทุน อาเซียน ฟันด์ จัดพอร์ตในมาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์
รายงานข่าวจากสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมระบุว่า บริษัท เออีเอส ทรานส์ พาวเวอร์ พีทีอี จำกัด บริษัทร่วมทุนจากสิงคโปร์ชนะการประมูลทำกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้า ขนาด 600 เมกะวัตต์ในฟิลิปปินส์ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุน มาซินล็อก พาวเวอร์ พาร์ตเนอร์ จำกัด ด้วยราคา 930 ล้านดอลลาร์
พีเอสเอแอลเอ็ม หรือ Power Sector Assets and Liabilities Management Corporation ของรัฐบาลฟิลิปปินส์ระบุว่า บริษัทจากสิงคโปร์ชนะการประมูลและเสนอราคาสูงกว่าคู่แข่งอีก 5 ราย โดยการประมูลครั้งนี้นับเป็นการแปรรูปกิจการรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานครั้งใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์ แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้การประมูลยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากพีเอสเอแอลเอ็มยังต้องตรวจสอบเอกสารของผู้ชนะการประมูลว่าถูกต้องตามที่กำหนดไว้หรือไม่
ทั้งนี้ โรงงานผลิตไฟฟ้ามาซินล็อกตั้งอยู่ในจังหวัดแซมบาเลน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฟิลิปปินส์
นอกจากนี้ในวันเดียวกัน รายงานข่าวจากเว็บไซต์ inquirer ได้รายงานว่า บริษัท แอสเซนดาส พีทีอี จำกัด ผู้นำธุรกิจซอฟต์แวร์อากาศยาน ได้ปิดการระดมทุนในกองทุนแอสเซนดาส อาเซียน บิสซิเนส สเปซ หรือ "อาเซียน ฟันด์" มูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ลงแล้ว และเงินทุนจำนวนนี้บริษัทจะนำไปใช้ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ในเอเชียเช่นในฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย
นอกจากนี้ยังจะนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัทด้วย เช่น ในด้านเทคโนโลยีต่อเนื่องทางอากาศ ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งยังมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อให้ เกิดการผสมผสานของกิจการที่เข้าไปลงทุน โดยต้องเป็นโครงการเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ด้วย
บริษัทแอสเซนดาส เป็นธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนา จัดการและการตลาด ในอุตสาหกรรมไอที และการสร้างนิคมด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจ วิทยาศาสตร์ และอาคารสำนักงานทันสมัยต่างๆ โดย นายชอง ซัค ชิง ประธานและซีอีโอแอสเซนดาส ระบุว่า อาเซียน ฟันด์ จะทำให้นักลงทุนได้มีส่วนร่วมในการสร้างความหลากหลายทางธุรกิจในกิจการที่สร้างโอกาสต่างๆ ในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่น เช่น ในเวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
โดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ไอที และการเอาต์ซอร์ซในอุตสาหกรรม ด้านอวกาศ ซึ่งเป็นกิจการใหม่และต้องการ ความชำนาญสูง ความเชี่ยวชาญในธุรกิจ ประเภทนี้จึงจะทำให้การลงทุนจากกองทุน ดังกล่าวน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
ทุนสิงคโปร์ชนะประมูลโรงไฟฟ้า ขนาด 600 เมกะวัตต์ในฟิลิปปินส์ เพิ่มกำลังการผลิตพลังงานนอกประเทศ ด้านบริษัทแอสเซนดาส ผู้นำธุรกิจอากาศยานปิดระดมทุน อาเซียน ฟันด์ จัดพอร์ตในมาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์
รายงานข่าวจากสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมระบุว่า บริษัท เออีเอส ทรานส์ พาวเวอร์ พีทีอี จำกัด บริษัทร่วมทุนจากสิงคโปร์ชนะการประมูลทำกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้า ขนาด 600 เมกะวัตต์ในฟิลิปปินส์ ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุน มาซินล็อก พาวเวอร์ พาร์ตเนอร์ จำกัด ด้วยราคา 930 ล้านดอลลาร์
พีเอสเอแอลเอ็ม หรือ Power Sector Assets and Liabilities Management Corporation ของรัฐบาลฟิลิปปินส์ระบุว่า บริษัทจากสิงคโปร์ชนะการประมูลและเสนอราคาสูงกว่าคู่แข่งอีก 5 ราย โดยการประมูลครั้งนี้นับเป็นการแปรรูปกิจการรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานครั้งใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์ แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้การประมูลยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากพีเอสเอแอลเอ็มยังต้องตรวจสอบเอกสารของผู้ชนะการประมูลว่าถูกต้องตามที่กำหนดไว้หรือไม่
ทั้งนี้ โรงงานผลิตไฟฟ้ามาซินล็อกตั้งอยู่ในจังหวัดแซมบาเลน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฟิลิปปินส์
นอกจากนี้ในวันเดียวกัน รายงานข่าวจากเว็บไซต์ inquirer ได้รายงานว่า บริษัท แอสเซนดาส พีทีอี จำกัด ผู้นำธุรกิจซอฟต์แวร์อากาศยาน ได้ปิดการระดมทุนในกองทุนแอสเซนดาส อาเซียน บิสซิเนส สเปซ หรือ "อาเซียน ฟันด์" มูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ลงแล้ว และเงินทุนจำนวนนี้บริษัทจะนำไปใช้ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ในเอเชียเช่นในฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย
นอกจากนี้ยังจะนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัทด้วย เช่น ในด้านเทคโนโลยีต่อเนื่องทางอากาศ ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งยังมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อให้ เกิดการผสมผสานของกิจการที่เข้าไปลงทุน โดยต้องเป็นโครงการเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ด้วย
บริษัทแอสเซนดาส เป็นธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนา จัดการและการตลาด ในอุตสาหกรรมไอที และการสร้างนิคมด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจ วิทยาศาสตร์ และอาคารสำนักงานทันสมัยต่างๆ โดย นายชอง ซัค ชิง ประธานและซีอีโอแอสเซนดาส ระบุว่า อาเซียน ฟันด์ จะทำให้นักลงทุนได้มีส่วนร่วมในการสร้างความหลากหลายทางธุรกิจในกิจการที่สร้างโอกาสต่างๆ ในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่น เช่น ในเวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
โดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ไอที และการเอาต์ซอร์ซในอุตสาหกรรม ด้านอวกาศ ซึ่งเป็นกิจการใหม่และต้องการ ความชำนาญสูง ความเชี่ยวชาญในธุรกิจ ประเภทนี้จึงจะทำให้การลงทุนจากกองทุน ดังกล่าวน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 28
มะกันเล็งคลอด พ.ร.บ.การเงินใหม่ พุ่งเป้าจีนป้องค่าเงินต่ำเกินจริง
เกมการต่อสู้ด้านเศรษฐกิจระหว่างมหาอำนาจอย่าง สหรัฐและจีนร้อน ระอุขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อล่าสุดคณะกรรมาธิการการคลังแห่งวุฒิสภาสหรัฐได้ ผ่านร่าง พ.ร.บ.การเงินฉบับใหม่
บีบีซีรายงานว่า คณะกรรมาธิการร่วม 2 พรรคได้โหวตผ่านร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ด้วยเสียง 20 : 1 ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะให้อำนาจแก่รัฐบาลสหรัฐมากขึ้นในการรับมือกับการกำหนดค่าเงินพื้นฐานที่ไม่สอดคล้องกับความจริง
แม้จะไม่ได้พาดพิงถึงประเทศใดเป็นพิเศษ แต่เป็นที่รู้กันว่าต้องการเตือน "จีน" โดยเฉพาะ
เพราะวอชิงตันพบว่าค่าเงินหยวนต่ำเกินกว่าความจริงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทำให้สหรัฐอยู่ในวังวนของการขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เฉพาะช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ตัวเลขขาดดุลของสหรัฐต่อจีนก็เพิ่มขึ้นถึง 17%
ทั้งนี้ พ.ร.บ.การเงินดังกล่าวยังต้องผ่านการลงมติจากวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงลงนามโดยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ก่อนจะประกาศเป็นกฎหมายต่อไป
รอยเตอร์สระบุสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า กฎหมายใหม่จะให้กระทรวงการคลังเร่งพิสูจน์การกำหนดค่าเงินที่ไม่เหมาะสมในฐานะงานเร่งด่วนอันดับแรก หากต่างชาติดำเนินการต่างๆ ที่เข้าข่ายดังกล่าว ทั้งการแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยน และใช้การควบคุมค่าเงินที่ขัดกับเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดการปริวรรตเงินตราอย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ ยังจะขอความร่วมมือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และหน่วยงานอื่นๆ ในการกดดันประเทศเหล่านี้
หากประเทศใดยังคงดื้อแพ่ง ไม่ยอมใช้นโยบายการเงินที่เหมาะสม กฎหมายฉบับใหม่จะมีบทลงโทษภายใน 90 วัน อาทิ การให้กระทรวงพาณิชย์เพิ่มอัตราภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด แก่สินค้าที่มาจากประเทศนั้นๆ เพื่อชดเชยกับการกำหนดอัตราค่าเงินที่ไม่เหมาะสม และการห้ามไม่ให้บริษัทของประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในข้อตกลงจัดซื้อ จัดจ้างขององค์การการค้าโลก (WTO) เข้ามาในตลาด จัดซื้อจัดจ้างของสหรัฐ ซึ่งจีนก็ยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในข้อตกลงดังกล่าว
หากค่าเงินยังคงบิดเบือนอยู่หลังจากนั้น 360 วัน สหรัฐจะเพิ่มระดับการกดดันโดยนำกรณีพิพาทเข้าไปสู่กระบวนการของ WTO และประสานกระทรวงการคลังให้หารือกับธนาคารกลางในการเข้าแทรกแซง
ขณะที่ "ซินหัวเน็ต" ระบุว่า สหรัฐเชื่อว่าการทำให้หยวนแข็งค่าขึ้นเป็นเหมือนยา ครอบจักรวาลที่จะแก้ปัญหาขาดดุลของสหรัฐได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงมาตรการนี้จะมีผล น้อยมาก แต่กลับส่งผลกระทบต่อความพยายามของทั้ง 2 ฝ่ายในการลดความไม่สมดุล
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
เกมการต่อสู้ด้านเศรษฐกิจระหว่างมหาอำนาจอย่าง สหรัฐและจีนร้อน ระอุขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อล่าสุดคณะกรรมาธิการการคลังแห่งวุฒิสภาสหรัฐได้ ผ่านร่าง พ.ร.บ.การเงินฉบับใหม่
บีบีซีรายงานว่า คณะกรรมาธิการร่วม 2 พรรคได้โหวตผ่านร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ด้วยเสียง 20 : 1 ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะให้อำนาจแก่รัฐบาลสหรัฐมากขึ้นในการรับมือกับการกำหนดค่าเงินพื้นฐานที่ไม่สอดคล้องกับความจริง
แม้จะไม่ได้พาดพิงถึงประเทศใดเป็นพิเศษ แต่เป็นที่รู้กันว่าต้องการเตือน "จีน" โดยเฉพาะ
เพราะวอชิงตันพบว่าค่าเงินหยวนต่ำเกินกว่าความจริงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทำให้สหรัฐอยู่ในวังวนของการขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เฉพาะช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ตัวเลขขาดดุลของสหรัฐต่อจีนก็เพิ่มขึ้นถึง 17%
ทั้งนี้ พ.ร.บ.การเงินดังกล่าวยังต้องผ่านการลงมติจากวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงลงนามโดยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ก่อนจะประกาศเป็นกฎหมายต่อไป
รอยเตอร์สระบุสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า กฎหมายใหม่จะให้กระทรวงการคลังเร่งพิสูจน์การกำหนดค่าเงินที่ไม่เหมาะสมในฐานะงานเร่งด่วนอันดับแรก หากต่างชาติดำเนินการต่างๆ ที่เข้าข่ายดังกล่าว ทั้งการแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยน และใช้การควบคุมค่าเงินที่ขัดกับเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดการปริวรรตเงินตราอย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ ยังจะขอความร่วมมือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และหน่วยงานอื่นๆ ในการกดดันประเทศเหล่านี้
หากประเทศใดยังคงดื้อแพ่ง ไม่ยอมใช้นโยบายการเงินที่เหมาะสม กฎหมายฉบับใหม่จะมีบทลงโทษภายใน 90 วัน อาทิ การให้กระทรวงพาณิชย์เพิ่มอัตราภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด แก่สินค้าที่มาจากประเทศนั้นๆ เพื่อชดเชยกับการกำหนดอัตราค่าเงินที่ไม่เหมาะสม และการห้ามไม่ให้บริษัทของประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในข้อตกลงจัดซื้อ จัดจ้างขององค์การการค้าโลก (WTO) เข้ามาในตลาด จัดซื้อจัดจ้างของสหรัฐ ซึ่งจีนก็ยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในข้อตกลงดังกล่าว
หากค่าเงินยังคงบิดเบือนอยู่หลังจากนั้น 360 วัน สหรัฐจะเพิ่มระดับการกดดันโดยนำกรณีพิพาทเข้าไปสู่กระบวนการของ WTO และประสานกระทรวงการคลังให้หารือกับธนาคารกลางในการเข้าแทรกแซง
ขณะที่ "ซินหัวเน็ต" ระบุว่า สหรัฐเชื่อว่าการทำให้หยวนแข็งค่าขึ้นเป็นเหมือนยา ครอบจักรวาลที่จะแก้ปัญหาขาดดุลของสหรัฐได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงมาตรการนี้จะมีผล น้อยมาก แต่กลับส่งผลกระทบต่อความพยายามของทั้ง 2 ฝ่ายในการลดความไม่สมดุล
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0205
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 29
สหรัฐฯจี้ โอเปก เพิ่มกำลังผลิต
สหรัฐฯจี้ โอเปก เพิ่มกำลังผลิต หลังราคาน้ำมันพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทะลุ 78.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เผยคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบโอเปก เดือน ก.ค. 50 เพิ่มขึ้นแตะ 30.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน
รายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศ เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดนิวยอร์ก (1 ส.ค.) พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ทะลุระดับ 78.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศปริมาณน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯปรับตัวลดลง ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย. มาปิดตลาดที่ 76.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 76.09 -78.77 ดอลลาร์
นายแซม บอดแมน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯออกมาแถลงว่า มีความจำเป็นที่ โอเปก จะต้องเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ในการประชุมวันที่ 11 ก.ย. 50 เพื่อให้อุปสงค์ และอุปทานน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีความสมดุล
รายงานของ อีไอเอ หรือ Energy Information Administration (EIA) ประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ปริมาณสำรองก๊าซโซลีน ของสหรัฐฯสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 27 ก.ค. 2550 เพิ่มขึ้น 0.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 204.7 ล้านบาร์เรล และอัตราการกลั่นของโรงกลั่นสหรัฐฯอยู่ที่ 93.6% เป็นอัตราการกลั่นที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 1.2% และการเทขายเพื่อทำกำไรของเฮดจ์ฟันด์
นักวิเคราะห์ประเมินแนวโน้ม คาดว่าราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง และผันผวนขึ้นลงตามข่าวรายวันที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมันในตลาดโลก คาดว่าภายในปีนี้น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส จะมีราคาสูงสุดที่ประมาณ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่สนับสนุนให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ เติบโตอย่างคงที่จนถึงปลายปีนี้
ทั้งนี้รายงานของกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ระบุว่า คาดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไตรมาส 2 อยู่ที่ 3.4% และภายในระยะเวลา 25 ปี อุปสงค์น้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50% โดยประเทศจีนจะมีอัตราการบริโภคน้ำมันอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโอเปก เดือน ก.ค. 50 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.32 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 30.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
สหรัฐฯจี้ โอเปก เพิ่มกำลังผลิต หลังราคาน้ำมันพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทะลุ 78.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เผยคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบโอเปก เดือน ก.ค. 50 เพิ่มขึ้นแตะ 30.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน
รายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศ เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดนิวยอร์ก (1 ส.ค.) พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ทะลุระดับ 78.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศปริมาณน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯปรับตัวลดลง ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย. มาปิดตลาดที่ 76.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 76.09 -78.77 ดอลลาร์
นายแซม บอดแมน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯออกมาแถลงว่า มีความจำเป็นที่ โอเปก จะต้องเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ในการประชุมวันที่ 11 ก.ย. 50 เพื่อให้อุปสงค์ และอุปทานน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีความสมดุล
รายงานของ อีไอเอ หรือ Energy Information Administration (EIA) ประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ปริมาณสำรองก๊าซโซลีน ของสหรัฐฯสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 27 ก.ค. 2550 เพิ่มขึ้น 0.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 204.7 ล้านบาร์เรล และอัตราการกลั่นของโรงกลั่นสหรัฐฯอยู่ที่ 93.6% เป็นอัตราการกลั่นที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 1.2% และการเทขายเพื่อทำกำไรของเฮดจ์ฟันด์
นักวิเคราะห์ประเมินแนวโน้ม คาดว่าราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง และผันผวนขึ้นลงตามข่าวรายวันที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมันในตลาดโลก คาดว่าภายในปีนี้น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส จะมีราคาสูงสุดที่ประมาณ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่สนับสนุนให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ เติบโตอย่างคงที่จนถึงปลายปีนี้
ทั้งนี้รายงานของกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ระบุว่า คาดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไตรมาส 2 อยู่ที่ 3.4% และภายในระยะเวลา 25 ปี อุปสงค์น้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50% โดยประเทศจีนจะมีอัตราการบริโภคน้ำมันอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโอเปก เดือน ก.ค. 50 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.32 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 30.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 30
อิเหนา ลั่น โอเปก ไม่ส่งซิกเพิ่มกำลังการผลิต แม้ราคาน้ำมันพุ่ง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 สิงหาคม 2550 14:12 น.
เอเอฟพี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแห่งอินโดนีเซีย กล่าวว่า โอเปก หรือกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมัน ยังไม่มีท่าทีที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน หลังจากที่ราคาน้ำมันโลกพุ่งทำสถิติใหม่ในสัปดาห์นี้
ปูรโนโม ยุสยิอันโตโร รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแห่งอินโดนีเซีย บอกเมื่อวันพฤหัสบดี (2) ว่า จนกระทั่งถึงตอนนี้ ทางอินโดนีเซียยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จากเหล่าสมาชิกโอเปก ว่า มีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่
เจ้ากระทรวงพลังงานผู้นี้ กล่าวเสริมว่า แต่สิ่งที่ยืนยันได้ ก็คือ กลุ่มโอเปกจะประชุมร่วมกันในเดือนหน้าที่เวียนนาแน่นอน และสถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลายขึ้น ภายหลังการหารือร่วมกัน
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันพุธ (1) ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการองค์การพลังงานระหว่างประเทศ หรือ ไออีเอ ออกมากระตุ้นให้ โอเปก เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน หลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสู่สถิติใหม่
ด้านโอเปกก็ออกมาตอบโต้ขอเรียกร้องของไออีเอ ที่ต้องการให้เพิ่มการผลิตน้ำมันดิบ เพื่อดันให้ราคาน้ำมันลดลง โดยแย้งว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นไม่ได้เกิดจากซัปพลายตึงตัว หากแต่เกิดจากปัญหาโรงกลุ่นน้ำมันในสหรัฐฯ และความตึงเครียดทางด้านภูมิศาสตร์การเมือง
ยุสยิอันโตโร บอกว่า ทางอินโดนีเซียเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกโอเปก ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฝ้าติดตามความผันผวนของราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินว่าราคาที่ขยับสูงจะยืนอยู่ได้ยาวนาน หรือการที่ราคาน้ำมันทะยานไปสู่ 78 ดอลลาร์จะเป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น
ทั้งยังแสดงความกังวลต่อไปว่า หากราคายังคงอยู่ในระดับนี้ ก็จะเริ่มส่งผลกระทบกับราคาเชื้อเพลิงภายในประเทศ และ การกำหนดเงินอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงของรัฐบาลด้วย โดยทางการอินโดนีเซียประเมินราคาน้ำมันไว้ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในการคำนวณเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงในประเทศสำหรับปี 2007
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000090717
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 สิงหาคม 2550 14:12 น.
เอเอฟพี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแห่งอินโดนีเซีย กล่าวว่า โอเปก หรือกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมัน ยังไม่มีท่าทีที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน หลังจากที่ราคาน้ำมันโลกพุ่งทำสถิติใหม่ในสัปดาห์นี้
ปูรโนโม ยุสยิอันโตโร รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแห่งอินโดนีเซีย บอกเมื่อวันพฤหัสบดี (2) ว่า จนกระทั่งถึงตอนนี้ ทางอินโดนีเซียยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จากเหล่าสมาชิกโอเปก ว่า มีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่
เจ้ากระทรวงพลังงานผู้นี้ กล่าวเสริมว่า แต่สิ่งที่ยืนยันได้ ก็คือ กลุ่มโอเปกจะประชุมร่วมกันในเดือนหน้าที่เวียนนาแน่นอน และสถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลายขึ้น ภายหลังการหารือร่วมกัน
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันพุธ (1) ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการองค์การพลังงานระหว่างประเทศ หรือ ไออีเอ ออกมากระตุ้นให้ โอเปก เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน หลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสู่สถิติใหม่
ด้านโอเปกก็ออกมาตอบโต้ขอเรียกร้องของไออีเอ ที่ต้องการให้เพิ่มการผลิตน้ำมันดิบ เพื่อดันให้ราคาน้ำมันลดลง โดยแย้งว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นไม่ได้เกิดจากซัปพลายตึงตัว หากแต่เกิดจากปัญหาโรงกลุ่นน้ำมันในสหรัฐฯ และความตึงเครียดทางด้านภูมิศาสตร์การเมือง
ยุสยิอันโตโร บอกว่า ทางอินโดนีเซียเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกโอเปก ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฝ้าติดตามความผันผวนของราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินว่าราคาที่ขยับสูงจะยืนอยู่ได้ยาวนาน หรือการที่ราคาน้ำมันทะยานไปสู่ 78 ดอลลาร์จะเป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น
ทั้งยังแสดงความกังวลต่อไปว่า หากราคายังคงอยู่ในระดับนี้ ก็จะเริ่มส่งผลกระทบกับราคาเชื้อเพลิงภายในประเทศ และ การกำหนดเงินอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงของรัฐบาลด้วย โดยทางการอินโดนีเซียประเมินราคาน้ำมันไว้ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในการคำนวณเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงในประเทศสำหรับปี 2007
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000090717