แนวคิดเศรษฐีใหม่
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
แนวคิดเศรษฐีใหม่
โพสต์ที่ 1
เศรษฐีหน้าใหม่ ฟ้าหลังฝนวิกฤติปี 40
วิกฤติเศรษฐกิจปี 40 ได้ลากเอาบรรดาเจ้าสัวเศรษฐีไทย ต้องสังเวยไปด้วยกับความพินาศของผลพวงในครั้งนั้น เหลือชื่อวันนี้เป็นเพียง "เจ้าสัวเยสเตอร์เดย์ " แต่ฟ้าหลังฝน 10 ปีหลังวิกฤติในครั้งนั้นที่ผ่านมา ก็มีบรรดานักธุรกิจที่เติบโตและพกความสำเร็จจนกลายเป็นเศรษฐีหน้าใหม่ คนเหล่านี้เหยียบแท่นขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ และใช้กลยุทธ์ใด ที่พอจะหยิบเป็นตัวอย่าง
( 1 .ขาดวิชา เดี่ยวจะส่งงไปทีหลัง)
2.ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ : "ทาวน์เฮาส์ระดับล่าง:กินได้อยู่นาน"
ทองมาเป็นดีเวลลอปเปอร์รายแรก ๆ ที่คิดทำธุรกิจ กับกลุ่มกำลังซื้อระดับกลาง-ล่าง จึงสามารถกวาดพื้นที่ตลาดนี้ครอบครองจนมีส่วนแบ่งตลาดทาวน์เฮาส์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปัจจุบันกว่า 35% และเป็นสัดส่วนรายได้ 68% ของรายได้รวมบริษัท
โดยจุดประกายของทำธุรกิจดังกล่าว เกิดจากการที่เขาไปฟังปาฐกถาของ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ที่พูดว่าบ้านราคาถูก 3-6 แสนบาท มีดีมานด์สูง แต่ไม่มีใครทำ จึงได้เกิดปิ๊งไอเดีย และเป็นที่มาของการก่อตั้ง บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด เมื่อปี 2536 โดยโครงการแรก "พฤกษา 1 " ย่านรังสิต คลอง 8 ก็ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ซึ่งตั้งราคาขายขณะนั้นเพียง 3.5- 5 แสนกว่าบาท
ใช้ระยะเวลาเพียง 13 ปี ทองมาสามารถดันให้พฤกษา เรียลเอสเตท กลายเป็นยักษ์ใหญ่วงการอสังหาริมทรัพย์ จนเป็นเจ้าตลาดทาวเฮาส์ ก่อนจะต่อยอดไปยังกลุ่มบน (บ้านเดี่ยว ) และคอนโดมิเนียมในเวลาต่อมา ปัจจุบันมีโครงการบ้านจัดสรรในมือร่วม 40 โครงการ
ความสำเร็จดังกล่าว เป็นผลจากการควบคุมต้นทุน การรักษาระดับหนี้ต่อทุนให้อยู่ระดับต่ำเพียง 0.3-0.5% หรือ การนำเทคโนโลยี่การก่อสร้างใน"ระบบสำเร็จรูป" มาใช้ในการผลิต โดยได้ลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท เมื่อปี 2547 และนำเข้าเทคโนโลยี่จากเยอรมัน ที่ให้กำลังการผลิตชิ้นส่วนสำหรับการก่อสร้างบ้านเดี่ยวสูงสุดถึง 3,600 หลังต่อปี ซึ่งไม่เพียงจะทำให้การบริหารงานก่อสร้างเร็วขึ้น แต่ยังแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ และทำให้ประหยัดต้นทุนต่อหน่วย
เขาได้เปรียบเทียบว่า สมัยเริ่มต้นทำ ต้นทุนของพฤกษาต่ำกว่าคู่แข่งอยู่ประมาณ 10% แต่ผ่านไป 4-5 ปี ต้นทุนค่าก่อสร้างของคู่แข่งกลับยิ่งสูงกว่า ทั้งค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง ทั้ง เสา และคาน ขณะที่บริษัทต้นทุนในช่วง 7-8 ปีแรกกลับไม่ขยับ
ปัจจุบันทองมาถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 63.% ในพฤกษา ฯ จัดเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ จากการทำธุรกิจที่เริ่มจากศูนย์ จนเจ้าตัววันนี้มีขนาดสินทรัพย์มากถึง 9,200 ล้านบาท หรืออันดับ18 ของสัวไทยในปัจจุบัน พร้อม ๆกับการขับเคลื่อนนำพฤกษาเป็นยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์เบอร์ 1ของไทยภายในปี 2553 แม้ว่าผลประกอบการบริษัทเวลานี้จะทิ้งห่างค่ายแลนด์แอนด์เฮาส์ อยู่มากก็ตาม
3. ตัน ภาสกรนที : นอกกรอบกล้าคิด-กล้าทำ
ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่น โออิชิ เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนกันยายน 2542 จากการที่ตันได้จับเอาไอเดียของ วันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ที่เห็นว่า ร้านอาหารประเภทนี้ในสหรัฐอเมริกาบูมกันมาก แต่ที่เมืองไทยยังไม่มี และจะเป็นเพราะโชค หรือจังหวะของตัน ที่มักจะเล็งได้ถูกเป้าแม่นยำ โดยเฉพาะในธุรกิจที่เขาตัดสินใจทำเป็นรายแรก ๆของตลาด อย่างในธุรกิจ wedding studio ที่ทำอยู่ก่อนหน้า
โออิชิได้ขยายสาขาและแตกแบรนด์ไปยังอาหารญี่ปุ่นและเบเกอรี่ อาทิ ราเมน ,ชาบูชิ ,โออิชิ ซูชิบาร์โดยมีมูลค่าในส่วนของอาหารถึง 2,100 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง35 % ของมูลค่าตลาดอาหารญี่ปุ่น 6,000 ล้านบาท
ก่อนที่จะลงทุนใหญ่อีกครั้ง ในช่วงไตรมาสสี่ปี 2546โดยใช้เงินกว่า 800-900 ล้านบาท กับการรุกสู่ธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียว และใช้เวลาเพียงปีกว่า ชาเขียวโออิชิก็สามารถโค่นเจ้าตลาดอย่างยูนิฟ ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งโดยมีส่วนแบ่งกว่า 60% ของมูลค่าตลาดรวม
อย่างไรก็ดี ตันเป็นเถ้าแก่เจ้าของกิจการได้เพียง 6 ปีเศษ เขาก็ได้ประกาศขายหุ้นที่ถือสัดส่วน 55% ให้กับบริษัทในเครือเจริญ สิริวัฒนภักดี และกองทุนต่างชาติ เมื่อ 20 มกราคม 2549 ในมูลค่าวงเงิน 3,500 ล้านบาท และคงเหลือหุ้นที่ถือ (รวมส่วนภรรยา ) ราว 10% มูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท และทำให้สังคมรับรู้ว่าอย่างน้อยเขาน่าจะกำเงินสดในมืออย่างน้อย ๆก็ร่วม 4,000-5,000 ล้านบาท เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น คงไม่มีชือตัน หนึ่งในผู้ลงทุนโครงการยักษ์ อาคารสูง (นัยว่าสูงสุดในประเทศ ) บริเวณทางลงสถานีบีทีเอสเพลินจิต ติดอาคารโฮมโปรเพลส มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการชะลอกโครงการไปก่อน จากสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังไม่สงบดี
โดยตันได้จังหวะนี้ กลับไปทำโครงการขนาดเล็กลงอาทิโครงการ "Monkey Mall "ที่ลพบุรีพื้นที่ 70 ไร่ มูลค่าโครงการ 700 ล้านบาท และโครงการ "วิลล่า มาร์ร๊อค " มูลค่าโครงการ 300 ล้านบาท ที่ปรานบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันต์ ซึ่งเป็นการลงทุนโดยเงินทุนของเขาล้วน ๆ โดยให้เหตุผลสั้น ๆว่า " เมื่อเล็กต้องคิดใหญ่ แต่ใหญ่แล้วต้องคิดเล็ก คิดแต่จะทำใหญ่มีแต่เจ๊ง"
4. ดาโต๊ะสุรินทร์ อุปพัทธกุล : ต่อยอดจากโชคเป็นโอกาส
แม้จะมีชื่อโผล่มาในช่วงหลัง กับข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นนอมินี ต่างชาติ ที่ถือหุ้นใน บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด มูลค่า 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อต้นปี 2549
ดาโต๊ะสุรินทร์ เป็นนักธุรกิจสัญชาติไทยท่านหนึ่งที่แม้จะผ่านประสบการณ์การทำงานร่วมๆ 30 ปี แต่การพกพาความสำเร็จ กลับเกิดขึ้นทศวรรษ หลังวิกฤติปี 40 เขาเป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนที่โชคดี เพราะได้ตัดสินใจขายหุ้นทิ้งทุกตัวตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นพีท หรือก่อนที่หุ้นทุกตัวจะตกต่ำสุดในช่วงปลายปี 2540 ของวิกฤติต้มยำกุ้ง และได้เงินที่ได้จากการขายหุ้น นำไปลงทุนต่อยอดที่สหรัฐอเมริกา และที่ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประจวบพอดีกับมูลค่าดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 25 บาทต่อดอลลาร์ขึ้นไปกว่า40 บาทและสูงสุดที่ขึ้นไปถึง 55 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ที่เขาลงไป แม้ในช่วงเวลาสั้นแต่กลับเพิ่มขึ้นร่วม 100%.
หลังจากนั้นเขาได้นำสินทรัพย์ที่ได้ ไปลงทุนซื้อขายหุ้นต่อ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นมาเลเซีย ฮ่องกง และอเมริกาเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้กำไรกลับมาค่อนข้างมาก
ปัจจุบัน ดาโต๊ะสุรินทร์ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท มัลติ-เพอร์โพส โฮลดิ้ง เบอร์ฮัท จำกัด (มหาชน)หรือ เอ็มพีเฮชบี ที่เขาถือหุ้นกว่า 50% มีธุรกิจหลักคือ บริการด้านการเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กิจการหวยออนไลน์เลข 4 หลัก และกิจการด้านไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่เขานั่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น อีกประมาณ 200 แห่ง ครบคลุมเกือบทุกอุตสาหกรรม นับพนักงานรวมกันแล้วเกือบ 10,000 คนทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ
ตัวเลขเป็นทางการที่ดาโต๊ะสุรินทร์แจ้งกับกระทรวงพาณิชย์ของไทยหลังจากเข้ามาลงทุนในกุหลาบแก้ว ระบุว่า เขามีสินทรัพย์ประมาณ 50,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่ามหาเศรษฐีไทยหลายๆคนที่นิตยสารฟอร์บ จัดอันดับไว้ด้วยซ้ำ และวันนี้เขาก็ยังมองหาโอกาสที่จะลงทุน
" การพิจารณาลงทุน จะเลือกดูธุรกิจที่มีอนาคตมีแนวโน้มขยายตัวสูง โดยดีที่สุดให้ดูที่ตัวเลขดำเนินงาน ว่าเชื่อถือได้หรือไม่ ซึ่งก็จะตอบโจทย์ได้ทันทีว่ากิจการนั้นดีหรือไม่ดี หรือหากต้องตัดสินใจเรื่องยากๆก็จะมีที่ปรึกษาเข้าช่วยหาข้อมูล วิเคราะห์ แนะนำ แต่ในท้ายที่สุดจะเป็นคนตัดสินใจเอง โดยการลงทุนแต่ละครั้งต้อง คำนวณความเสี่ยง(calculated risk)ว่า เสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ถ้าคิดได้ก็ไม่เสี่ยง ที่สำคัญการจะทำอะไรก็ตาม ยังต้องขยันด้วย " ดาโต๊ะสุรินทร์ทิ้งให้ข้อคิด
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2234
พาดหัวข่าว ณ.จุดต่ำสุดของตลาดหมี ครั้งหน้า
"มุมมองและแนวคิด เศรษฐีใหม่ในทีวีไอ"
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
วิกฤติเศรษฐกิจปี 40 ได้ลากเอาบรรดาเจ้าสัวเศรษฐีไทย ต้องสังเวยไปด้วยกับความพินาศของผลพวงในครั้งนั้น เหลือชื่อวันนี้เป็นเพียง "เจ้าสัวเยสเตอร์เดย์ " แต่ฟ้าหลังฝน 10 ปีหลังวิกฤติในครั้งนั้นที่ผ่านมา ก็มีบรรดานักธุรกิจที่เติบโตและพกความสำเร็จจนกลายเป็นเศรษฐีหน้าใหม่ คนเหล่านี้เหยียบแท่นขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ และใช้กลยุทธ์ใด ที่พอจะหยิบเป็นตัวอย่าง
( 1 .ขาดวิชา เดี่ยวจะส่งงไปทีหลัง)
2.ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ : "ทาวน์เฮาส์ระดับล่าง:กินได้อยู่นาน"
ทองมาเป็นดีเวลลอปเปอร์รายแรก ๆ ที่คิดทำธุรกิจ กับกลุ่มกำลังซื้อระดับกลาง-ล่าง จึงสามารถกวาดพื้นที่ตลาดนี้ครอบครองจนมีส่วนแบ่งตลาดทาวน์เฮาส์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปัจจุบันกว่า 35% และเป็นสัดส่วนรายได้ 68% ของรายได้รวมบริษัท
โดยจุดประกายของทำธุรกิจดังกล่าว เกิดจากการที่เขาไปฟังปาฐกถาของ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ที่พูดว่าบ้านราคาถูก 3-6 แสนบาท มีดีมานด์สูง แต่ไม่มีใครทำ จึงได้เกิดปิ๊งไอเดีย และเป็นที่มาของการก่อตั้ง บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด เมื่อปี 2536 โดยโครงการแรก "พฤกษา 1 " ย่านรังสิต คลอง 8 ก็ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ซึ่งตั้งราคาขายขณะนั้นเพียง 3.5- 5 แสนกว่าบาท
ใช้ระยะเวลาเพียง 13 ปี ทองมาสามารถดันให้พฤกษา เรียลเอสเตท กลายเป็นยักษ์ใหญ่วงการอสังหาริมทรัพย์ จนเป็นเจ้าตลาดทาวเฮาส์ ก่อนจะต่อยอดไปยังกลุ่มบน (บ้านเดี่ยว ) และคอนโดมิเนียมในเวลาต่อมา ปัจจุบันมีโครงการบ้านจัดสรรในมือร่วม 40 โครงการ
ความสำเร็จดังกล่าว เป็นผลจากการควบคุมต้นทุน การรักษาระดับหนี้ต่อทุนให้อยู่ระดับต่ำเพียง 0.3-0.5% หรือ การนำเทคโนโลยี่การก่อสร้างใน"ระบบสำเร็จรูป" มาใช้ในการผลิต โดยได้ลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท เมื่อปี 2547 และนำเข้าเทคโนโลยี่จากเยอรมัน ที่ให้กำลังการผลิตชิ้นส่วนสำหรับการก่อสร้างบ้านเดี่ยวสูงสุดถึง 3,600 หลังต่อปี ซึ่งไม่เพียงจะทำให้การบริหารงานก่อสร้างเร็วขึ้น แต่ยังแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ และทำให้ประหยัดต้นทุนต่อหน่วย
เขาได้เปรียบเทียบว่า สมัยเริ่มต้นทำ ต้นทุนของพฤกษาต่ำกว่าคู่แข่งอยู่ประมาณ 10% แต่ผ่านไป 4-5 ปี ต้นทุนค่าก่อสร้างของคู่แข่งกลับยิ่งสูงกว่า ทั้งค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง ทั้ง เสา และคาน ขณะที่บริษัทต้นทุนในช่วง 7-8 ปีแรกกลับไม่ขยับ
ปัจจุบันทองมาถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 63.% ในพฤกษา ฯ จัดเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ จากการทำธุรกิจที่เริ่มจากศูนย์ จนเจ้าตัววันนี้มีขนาดสินทรัพย์มากถึง 9,200 ล้านบาท หรืออันดับ18 ของสัวไทยในปัจจุบัน พร้อม ๆกับการขับเคลื่อนนำพฤกษาเป็นยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์เบอร์ 1ของไทยภายในปี 2553 แม้ว่าผลประกอบการบริษัทเวลานี้จะทิ้งห่างค่ายแลนด์แอนด์เฮาส์ อยู่มากก็ตาม
3. ตัน ภาสกรนที : นอกกรอบกล้าคิด-กล้าทำ
ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่น โออิชิ เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนกันยายน 2542 จากการที่ตันได้จับเอาไอเดียของ วันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ที่เห็นว่า ร้านอาหารประเภทนี้ในสหรัฐอเมริกาบูมกันมาก แต่ที่เมืองไทยยังไม่มี และจะเป็นเพราะโชค หรือจังหวะของตัน ที่มักจะเล็งได้ถูกเป้าแม่นยำ โดยเฉพาะในธุรกิจที่เขาตัดสินใจทำเป็นรายแรก ๆของตลาด อย่างในธุรกิจ wedding studio ที่ทำอยู่ก่อนหน้า
โออิชิได้ขยายสาขาและแตกแบรนด์ไปยังอาหารญี่ปุ่นและเบเกอรี่ อาทิ ราเมน ,ชาบูชิ ,โออิชิ ซูชิบาร์โดยมีมูลค่าในส่วนของอาหารถึง 2,100 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง35 % ของมูลค่าตลาดอาหารญี่ปุ่น 6,000 ล้านบาท
ก่อนที่จะลงทุนใหญ่อีกครั้ง ในช่วงไตรมาสสี่ปี 2546โดยใช้เงินกว่า 800-900 ล้านบาท กับการรุกสู่ธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียว และใช้เวลาเพียงปีกว่า ชาเขียวโออิชิก็สามารถโค่นเจ้าตลาดอย่างยูนิฟ ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งโดยมีส่วนแบ่งกว่า 60% ของมูลค่าตลาดรวม
อย่างไรก็ดี ตันเป็นเถ้าแก่เจ้าของกิจการได้เพียง 6 ปีเศษ เขาก็ได้ประกาศขายหุ้นที่ถือสัดส่วน 55% ให้กับบริษัทในเครือเจริญ สิริวัฒนภักดี และกองทุนต่างชาติ เมื่อ 20 มกราคม 2549 ในมูลค่าวงเงิน 3,500 ล้านบาท และคงเหลือหุ้นที่ถือ (รวมส่วนภรรยา ) ราว 10% มูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท และทำให้สังคมรับรู้ว่าอย่างน้อยเขาน่าจะกำเงินสดในมืออย่างน้อย ๆก็ร่วม 4,000-5,000 ล้านบาท เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น คงไม่มีชือตัน หนึ่งในผู้ลงทุนโครงการยักษ์ อาคารสูง (นัยว่าสูงสุดในประเทศ ) บริเวณทางลงสถานีบีทีเอสเพลินจิต ติดอาคารโฮมโปรเพลส มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการชะลอกโครงการไปก่อน จากสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังไม่สงบดี
โดยตันได้จังหวะนี้ กลับไปทำโครงการขนาดเล็กลงอาทิโครงการ "Monkey Mall "ที่ลพบุรีพื้นที่ 70 ไร่ มูลค่าโครงการ 700 ล้านบาท และโครงการ "วิลล่า มาร์ร๊อค " มูลค่าโครงการ 300 ล้านบาท ที่ปรานบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันต์ ซึ่งเป็นการลงทุนโดยเงินทุนของเขาล้วน ๆ โดยให้เหตุผลสั้น ๆว่า " เมื่อเล็กต้องคิดใหญ่ แต่ใหญ่แล้วต้องคิดเล็ก คิดแต่จะทำใหญ่มีแต่เจ๊ง"
4. ดาโต๊ะสุรินทร์ อุปพัทธกุล : ต่อยอดจากโชคเป็นโอกาส
แม้จะมีชื่อโผล่มาในช่วงหลัง กับข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นนอมินี ต่างชาติ ที่ถือหุ้นใน บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด มูลค่า 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อต้นปี 2549
ดาโต๊ะสุรินทร์ เป็นนักธุรกิจสัญชาติไทยท่านหนึ่งที่แม้จะผ่านประสบการณ์การทำงานร่วมๆ 30 ปี แต่การพกพาความสำเร็จ กลับเกิดขึ้นทศวรรษ หลังวิกฤติปี 40 เขาเป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนที่โชคดี เพราะได้ตัดสินใจขายหุ้นทิ้งทุกตัวตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นพีท หรือก่อนที่หุ้นทุกตัวจะตกต่ำสุดในช่วงปลายปี 2540 ของวิกฤติต้มยำกุ้ง และได้เงินที่ได้จากการขายหุ้น นำไปลงทุนต่อยอดที่สหรัฐอเมริกา และที่ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประจวบพอดีกับมูลค่าดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 25 บาทต่อดอลลาร์ขึ้นไปกว่า40 บาทและสูงสุดที่ขึ้นไปถึง 55 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ที่เขาลงไป แม้ในช่วงเวลาสั้นแต่กลับเพิ่มขึ้นร่วม 100%.
หลังจากนั้นเขาได้นำสินทรัพย์ที่ได้ ไปลงทุนซื้อขายหุ้นต่อ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นมาเลเซีย ฮ่องกง และอเมริกาเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้กำไรกลับมาค่อนข้างมาก
ปัจจุบัน ดาโต๊ะสุรินทร์ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท มัลติ-เพอร์โพส โฮลดิ้ง เบอร์ฮัท จำกัด (มหาชน)หรือ เอ็มพีเฮชบี ที่เขาถือหุ้นกว่า 50% มีธุรกิจหลักคือ บริการด้านการเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กิจการหวยออนไลน์เลข 4 หลัก และกิจการด้านไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่เขานั่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น อีกประมาณ 200 แห่ง ครบคลุมเกือบทุกอุตสาหกรรม นับพนักงานรวมกันแล้วเกือบ 10,000 คนทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ
ตัวเลขเป็นทางการที่ดาโต๊ะสุรินทร์แจ้งกับกระทรวงพาณิชย์ของไทยหลังจากเข้ามาลงทุนในกุหลาบแก้ว ระบุว่า เขามีสินทรัพย์ประมาณ 50,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่ามหาเศรษฐีไทยหลายๆคนที่นิตยสารฟอร์บ จัดอันดับไว้ด้วยซ้ำ และวันนี้เขาก็ยังมองหาโอกาสที่จะลงทุน
" การพิจารณาลงทุน จะเลือกดูธุรกิจที่มีอนาคตมีแนวโน้มขยายตัวสูง โดยดีที่สุดให้ดูที่ตัวเลขดำเนินงาน ว่าเชื่อถือได้หรือไม่ ซึ่งก็จะตอบโจทย์ได้ทันทีว่ากิจการนั้นดีหรือไม่ดี หรือหากต้องตัดสินใจเรื่องยากๆก็จะมีที่ปรึกษาเข้าช่วยหาข้อมูล วิเคราะห์ แนะนำ แต่ในท้ายที่สุดจะเป็นคนตัดสินใจเอง โดยการลงทุนแต่ละครั้งต้อง คำนวณความเสี่ยง(calculated risk)ว่า เสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ถ้าคิดได้ก็ไม่เสี่ยง ที่สำคัญการจะทำอะไรก็ตาม ยังต้องขยันด้วย " ดาโต๊ะสุรินทร์ทิ้งให้ข้อคิด
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2234
พาดหัวข่าว ณ.จุดต่ำสุดของตลาดหมี ครั้งหน้า
"มุมมองและแนวคิด เศรษฐีใหม่ในทีวีไอ"
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
- bankniti
- Verified User
- โพสต์: 627
- ผู้ติดตาม: 0
แนวคิดเศรษฐีใหม่
โพสต์ที่ 7
อ่านจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเมื่อวันศุกร์หรือเสาร์นี่แหละ เกี่ยวกับเศรษฐีที่ติดอันดับต้นๆ ในประเทศไทย ซึ่ง TOP 20 นั้นมีชื่อของคุณ นิติ โอสถานุเคราะห์ รวมอยู่ด้วย มีทรัพย์สินประมาณ 220 ล้านเหรียญแต่อายุเพิ่งจะ 34-35 เอง อีกท่านที่ชื่อไม่คุณหู(ต้องขออภัยจำชื่อไม่ได้) เพิ่งจะเข้ามาติดอันดับเป็นที่ 7 ของไทยโดยมีธุรกิจคือ TTA
- Loby
- Verified User
- โพสต์: 1646
- ผู้ติดตาม: 0
แนวคิดเศรษฐีใหม่
โพสต์ที่ 8
[quote="bankniti"]อ่านจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเมื่อวันศุกร์หรือเสาร์นี่แหละ เกี่ยวกับเศรษฐีที่ติดอันดับต้นๆ ในประเทศไทย ซึ่ง TOP 20 นั้นมีชื่อของคุณ นิติ โอสถานุเคราะห์ รวมอยู่ด้วย มีทรัพย์สินประมาณ 220 ล้านเหรียญแต่อายุเพิ่งจะ 34-35 เอง อีกท่านที่ชื่อไม่คุณหู(ต้องขออภัยจำชื่อไม่ได้) เพิ่งจะเข้ามาติดอันดับเป็นที่ 7 ของไทยโดยมีธุรกิจคือ TTA
- bankniti
- Verified User
- โพสต์: 627
- ผู้ติดตาม: 0
แนวคิดเศรษฐีใหม่
โพสต์ที่ 9
[quote="Loby"][quote="bankniti"]อ่านจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเมื่อวันศุกร์หรือเสาร์นี่แหละ เกี่ยวกับเศรษฐีที่ติดอันดับต้นๆ ในประเทศไทย ซึ่ง TOP 20 นั้นมีชื่อของคุณ นิติ โอสถานุเคราะห์ รวมอยู่ด้วย มีทรัพย์สินประมาณ 220 ล้านเหรียญแต่อายุเพิ่งจะ 34-35 เอง อีกท่านที่ชื่อไม่คุณหู(ต้องขออภัยจำชื่อไม่ได้) เพิ่งจะเข้ามาติดอันดับเป็นที่ 7 ของไทยโดยมีธุรกิจคือ TTA