กลุ่มบริการทางการแพทย์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โรงพยาบาลเอกชน ข้อตกลง JTEPA... ดันคนไข้ชาวญี่ปุ่นโต [ ฉบับที่ 797 ประจำวันที่ 30-5-2007 ถึง 1-6-2007]  
คนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารับการรักษาพยา บาลยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ประมาณ ปีละ 2 แสนคน ภายหลังจากที่ประเทศไทย ได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่ได้มีการเซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนตุลาคม 2550 นี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนับเป็นการเปิดโอกาสที่ดีต่อความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุนระหว่างกันรวมทั้งเอื้อต่อการเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไทยของคนไข้ชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่สนใจเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในไทยโดยเฉพาะ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ประเทศและธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของทางฝ่ายไทยเองก็มีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมไว้รองรับคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่จะมีเพิ่มขึ้นไม่ว่า จะเป็นการอบรมให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรมเพื่อให้เข้าใจอุปนิสัยความต้องการของคนญี่ปุ่น รวม ไปถึงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังขาดแคลนให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งในส่วนของคนไข้ในประเทศและคนไข้ชาวต่างชาติ

ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเป็นคนไข้ชาวต่างชาติ ที่เข้ามาใช้บริการยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยในสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนไข้ชาวต่างชาติประเทศอื่นๆ โดยมีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศในเอเชียใต้ เป็นกลุ่มที่คนไข้เข้ามารักษาใน ลำดับรองลงมา ทั้งนี้จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไทยของกรมส่งเสริมการส่งออกพบว่า คนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการสามารถแยกออกได้เป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานและพักอาศัยในประเทศไทยรวมทั้งกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศเพื่อนบ้านคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ส่วนอีกร้อยละ 40 จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยแล้วเกิดเจ็บป่วยรวมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมารักษาพยา บาลในไทยโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาในระยะเวลาสั้นๆ อาทิ ทำฟัน ตรวจสุขภาพ ศัลยกรรม รักษาเกี่ยวกับสายตา เช่น เลสิก เป็นต้น สำหรับในส่วนของคนไข้ชาวญี่ปุ่นนั้นในปี 2544 มีคนไข้ชาวญี่ปุ่นเข้ารักษายังโรงพยาบาลเอกชนของไทย จำนวน 118,170 คนคิดเป็นร้อยละ 21.5 จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 550,161 คน ในขณะที่ปี 2546 คนไข้ชาวญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 162,909 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.7 จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 973,532 คน ส่วนในปี 2548 คนไข้ชาวญี่ปุ่นมีทั้งหมด 185,616 คน คิดเป็นร้อยละ 14.9 จากจำนวน คนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 1,249,984 คน สำหรับในปี 2550 คาดว่าจำนวนคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารักษาพยาบาลในไทยจะมีไม่ต่ำกว่า 200,000 คนจากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ารับบริการจากโรงพยาบาลเอกชนของไทยที่คาดว่าจะมีประมาณ 1.54 ล้านคน
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=3807
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/06/07

โพสต์ที่ 2

โพสต์

"ก.พาณิชย์"เต้น รพ.เอกชนขูด ค่าบริการโหด! สั่งติดป้ายราคา
พาณิชย์ เต้น หลังพบโรงพยาบาลเอกชนโหด โขกกำไรค่าบริการ บวกค่ายาทะลุ 200% วางกรอบดูแลยาจำเป็นต่อการครองชีพ หลังพบราคาแพงมหาโหด ร่อนหนังสือขอความร่วมมือโรงพยาบาลเอกชนปิดป้ายแสดงราคาค่าบริการ ให้ผู้ป่วยก่อนตัดสินใจเข้ามาใช้บริการ ระบุฝ่าฝืนมีโทษปรับ 1.4 แสน หรือจำคุก 7 ปี

ที่กระทรวงพาณิชย์ เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 8 มิ.ย. นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะอนุกรรมการพิจารณาราคายาแผนปัจจุบัน ซึ่งแต่งตั้งขึ้นภายใต้ คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ว่าที่ประชุมได้นำกรณีที่ประชาชนร้องเรียนเป็นจำนวนมากว่า โรงพยาบาลเอกชนคิดค่าบริการและราคายาแพงเกินจริง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ไปกำหนดกรอบดูแลรายการยาในเบื้องต้น 54 รายการ เนื่องจากเห็นว่ายาที่มีราคาแพง เป็นยาจำเป็น และใช้มากในปัจจุบันนี้ แต่โรงพยาบาลเอกชนกลับคิดค่ายาที่แพงมาก ซึ่งมีโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งคิดค่ายารวมค่าบริการ มีกำไรจากต้นทุนจริงสูงถึง 200% ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนมาก
http://www.dailynews.co.th/web/html/pop ... Template=1
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/06/07

โพสต์ที่ 3

โพสต์

นัดข้าราชการถกค่ารักษาพยาบาล
นายมนัส แจ่มเวหา โฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง ได้สั่งการให้กรมบัญชีกลางเร่งเปิดเวทีสัมมนาเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ โดยให้เชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับฟังรายละเอียดก่อนที่กรมบัญชีกลางจะนำระบบดีอาร์จี ซึ่งเป็นระบบเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมาใช้กับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยในของโรงพยาบาลรัฐ ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับข้าราชการทั่วประเทศ ว่าข้าราชการและบุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิ ไม่ได้เสียสิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือได้รับการบริการที่แย่ลง ตามที่หลายฝ่ายกำลังวิตกอยู่ในขณะนี้แต่อย่างใด

http://www.dailynews.co.th/web/html/pop ... Template=1
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news14/06/07

โพสต์ที่ 4

โพสต์

รพ.เอกชนนัดถกพาณิชย์ชี้ยาแพง

โดย เดลินิวส์ วัน พฤหัสบดี ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550 11:57 น.

นายคมสัน โอภาสสถาวร รองประ ธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันที่ 14 มิ.ย. นี้ หอการค้าไทย สมาคมโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลเอกชนมีชื่อเสียง 5 แห่ง จะเข้าพบนายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน เพื่อชี้แจงรายละเอียดกำหนดราคายาและค่ารักษา พยาบาลในโรงพยาบาล เช่น ต้นทุน ค่าใช้จ่าย วิธีการคำนวณ และการปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การแสดงราคาหรือป้ายแสดงราคาและค่าบริการเนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนค่อนข้างกังวลกับกระแสข่าวการคิดราคายาที่สูงเกินจริง ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์โรงพยาบาลในสายตาประชาชน

โรงพยาบาลค่อนข้างกังวลกับข่าวที่เกิดขึ้น อาจกระทบต่อภาพลักษณ์ในสายตาของประชาชนผู้เข้ารับการรักษา ซึ่งสมาคมฯ ยืนยันว่าในทางปฏิบัติเป็นการกระทำที่ถูกต้อง เพราะที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้เข้มงวดในการกำหนดราคายา การแจ้งหรือแสดงราคายาและค่ารักษาพยาบาล การเข้าพบจึงอยากทราบว่ากระทรวงพาณิชย์อยากให้ปฏิบัติอย่างไร

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการพิจารณาราคายาแผนปัจจุบัน ได้มีมติให้ศึกษาส่วนเหลื่อมการตั้งราคายาของทางโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่ง เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานการตั้งราคายาให้กับโรงพยาบาลเอกชน หลังจากที่ถูกประชาชนร้องเรียนเข้ามาจำนวนมากว่าถูกโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งคิดค่ายาสูงกว่าต้นทุนยาถึง 200% ทั้งที่การคิดบริการไม่ควรเกิน 30-40%
http://news.sanook.com/economic/economic_146099.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news14/06/07

โพสต์ที่ 5

โพสต์

หั่นงบหลักประกันสุขภาพปี 51

โดย เดลินิวส์ วัน พฤหัสบดี ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550 11:57 น.

โวยสาธารณสุขมือเติบขอมากเกิน ยันโครงการอื่นสะดุด-กระทบคลัง

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอครม. คณะที่ 2 ที่มีนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเห็นชอบหลักการปรับลดอัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 51 ใหม่จากเดิมที่สนับสนุน 2,139.83 บาทต่อหัว เหลือ 2,100 บาท ก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุม ครม. รับทราบต่อไป ซึ่งทำให้รัฐบาลประหยัดรายจ่ายในโครงการจาก 101,398.02 ล้านบาท เหลือ 97,601,700,000 บาท เนื่องจากสำนักงบประมาณเห็นว่าเป็นการอุดหนุนมากเกินไป อาจกระทบต่อฐานะการคลังของประเทศได้ และที่สำคัญรัฐบาลยังมีโครงการอื่นที่ต้องพัฒนาประเทศอีกมาก

เดิมคณะกรรม การหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของกระทรวงสาธารณสุขมีมติ เสนออัตราเหมาจ่ายรายละ 2,139.83 บาท โดยมีผู้ที่ได้รับสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 51 จำนวน 47,386,027 คน เป็นเงินทั้งสิ้น 101,398.02 ล้านบาท แต่สำนักงบประมาณ เห็นว่า เป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 50 ที่เคยกำหนดไว้หัวละ 1,899.69 บาท อาจจะส่งผลกระทบต่อฐานะการคลัง จึงขอให้ลดเหลือ 2,100 บาทต่อหัว

ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอแนะว่าการเพิ่มขึ้นของงบเหมาจ่ายรายหัวตั้งแต่ปี 49-51 เฉลี่ย 15.32% ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มของงบประมาณรวมที่เพิ่มในสัดส่วนที่ต่ำ โดยเฉพาะปี 51 ที่เพิ่มเพียง 4.39% เท่านั้น ซึ่งหากอัตราเหมาจ่ายรายหัวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงประกอบกับประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เชื่อว่าระยะยาวอาจมีปัญหาการสนับสนุนงบประมาณด้านนี้แน่นอน

ปีงบประมาณ 48 อัตราเหมาจ่ายหัวละ 1,396.50 บาท, ปี 49 หัวละ 1,510.50 บาท, ปี 50 หัวละ 1,899.69 บาท โดยเพิ่มปีละ 100-200 บาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มมากไม่สอดคล้องกับการเพิ่มงบรายจ่ายภาพรวม

ทั้งนี้การจัดสรรอัตราเหมาจ่ายรายหัวในปี 50 จำนวน 1,899.69 บาท ประกอบด้วย ค่าบริการผู้ป่วยนอก (โอพี) 585.28 บาท, บริการผู้ป่วยใน (ไอพี) 465.99 บาท, บริการส่งเสริมป้องกัน (พีพี) 224.89 บาท, บริการอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน (เออี) ประเภท 46.26 บาท, บริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง (เฮทซี) 190 บาท, บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (อีเอ็มเอส) 6 บาท, บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 4 บาท, งบลงทุนเพื่อการทดแทน 129.25 บาท, งบจัดสรรให้พื้นที่ทุรกันดาร 7 บาท และเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 41 0.53 บาท.
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

Re: news14/06/07

โพสต์ที่ 6

โพสต์

chartchai madman เขียน: เป็นเงินทั้งสิ้น 101,398.02 ล้านบาท
:shock:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Toh
Verified User
โพสต์: 20
ผู้ติดตาม: 0

Re: news14/06/07

โพสต์ที่ 7

โพสต์

สุมาอี้ เขียน: :shock:
:D

NTV BH SVH  

and ...
we need to be a little bit better today than we were yesterday.
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

Re: news14/06/07

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Toh เขียน:
:D

NTV BH SVH
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/06/07

โพสต์ที่ 9

โพสต์

งัดไม้แข็งคุมค่ายา-บริการ แฉ รพ.เอกชน โขกเพิ่ม194% - 15/6/2550

กรมการค้าภายในเตือนโรงพยาบาลเอกชนทบทวนการคิดค่ายา-ค่าบริการ สูงเกินจริง เล็งใช้กฎหมายให้เข้มข้นหากยังไม่ร่วมมือ เผยเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชนพบแตกต่างกันถึง 194% รพ.เอกชนระบุต้องการยกระดับการรักษาพยาบาลให้เทียบเท่ากับต่างประเทศ ส่งผลให้ค่ายา-บริการแพง

ที่กรมการค้าภายใน เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.50 นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน(คน.)ได้เรียกประชุมสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อมาหารือและขอความร่วมมือให้คิดค่ายาและบริการอย่างเป็นธรรม

ภายหลังประชุม นายศิริพลกล่าวว่า ทางสมาคมฯกำลังหวั่นวิตกจากกรณีกระแสข่าวที่กรมการค้าภายในจะเข้ามาดูแลในเรื่องค่ายา ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งทางโรงพยาบาลได้มีการชี้แจงว่ากระทรวงสาธารณสุขมีการดูแลโรงพยาบาลภาคเอกชนอยู่แล้ว และการคิดค่าบริการและค่ายาก็อยู่ในความเป็นธรรม แต่ทางกรมการค้าภายในได้นำสิ่งที่ผู้บริโภคไม่สบายใจ และมีการร้องเรียนว่าหลายโรงพยาบาลภาคเอกชนมีการคิดค่าบริการ ค่ายา ค่าใช้จ่ายอื่นๆ สูงเกินจริง แม้ว่าญาติผู้ป่วยหรือผู้ป่วยจะมีการสอบถามทางโรงพยาบาลเพื่อขอข้อมูลเบื้องต้น แต่เมื่อผู้ป่วยรักษาจริงกลับถูกคิดค่าบริการและค่ายาสูงถึง 2 เท่า และตามตัวเลขที่ได้ตรวจสอบ พบว่าค่าตรวจรักษาพยาบาลและค่ายา มูลค่าแต่ละปีเกิน 1.4 แสนล้านบาท
http://www.siamrath.co.th/DetailHeadlin ... =15/6/2550
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news16/06/07

โพสต์ที่ 10

โพสต์

นลิน วนาสิน เปิดศูนย์สุขภาพตรัยยา ต่อยอดธุรกิจกลุ่ม รพ.ปิยะเวท

โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550 09:01 น.

คอลัมน์ เฉลียงไอเดีย

โดย ปวีณา ประยูรหาญ

เพราะเล็งเห็นถึงการใช้ชีวิตของคนปัจจุบันที่ต้องอยู่กับความเร่งรีบ แข่งขันอยู่ตลอดเวลา จนลืมดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ ถือเป็นวิกฤตอย่างหนึ่งของคนเมือง และวิถีชีวิตเช่นนี้ก็เห็นแล้วว่าได้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่การเกิดอาการและโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเครียด โรคเบาหวาน หัวใจ ปอดเรื้อรัง ที่บางคนสะสมอาการไว้นานจนยากเกินเยียวยา

ศูนย์สร้างสุขภาพครบวงจร ตรัยยา (TRIA Integrative Wellnes Center) ของกลุ่มโรงพยาบาลปิยะเวทจึงเกิดขึ้น ตามเจตนารมณ์ของ นพ.บุญ วนาสิน ประธานกลุ่ม โดยมี นลิน วนาสิน ลูกสาวคนเล็กนั่งในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด

นลินบอกว่า แพทย์แผนปัจจุบันต้องใช้เวลาในการรักษาคนไข้ต่อหนึ่งคนค่อนข้างนาน เพราะการดูแลต่อครั้งได้เต็มที่ประมาณ 15 นาที และแพทย์ปัจจุบันประสบความสำเร็จในการรักษาโรคที่ติดเชื้อ การป่วยที่ต้องนำไปสู่การผ่าตัด หรือรวมถึงการรักษาการเจ็บป่วยที่เกิดจากอุบัติเหตุ แต่การรักษาโรคเรื้อรังกลับยังไม่เด่นชัดนัก

ด้วยประการข้างต้นรูปแบบของการบริการที่ ตรัยยาจึงเป็นการผสานระหว่างการรักษาด้วยวิชาการแพทย์ปัจจุบัน อาศัยศักยภาพของโรงพยาบาลปิยะเวท บวกเข้ากับการแพทย์ทางเลือกที่ให้การรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถึง 30 คน

โดยมีโปรแกรมการบำบัดรักษาที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลถึง 200 รายการ ที่พร้อมจะให้คำปรึกษาและคอยดูแลในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพในแบบธรรมชาติบำบัด การเสริมสร้างสุขภาพในแบบแพทย์ทางเลือก รวมไปถึงการดูแลสุขภาพประเภทโปรแกรมเพื่อความสวยงาม เช่น การชะลอลดริ้วรอย ลดน้ำหนักกระชับรูปร่าง การล้างพิษ เป็นต้น แต่ละโปรแกรมจะใช้เวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ขึ้นไป
http://news.sanook.com/economic/economic_146782.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news19/06/07

โพสต์ที่ 11

โพสต์

รพ.ธนบุรีทุ่ม900ล.เสริมเขี้ยวเล็บ

โพสต์ทูเดย์ โรงพยาบาลธนบุรี ทุ่ม 900 ล้านบาท ปรับศักยภาพรองรับ ผู้ป่วย รักษาแชมป์ผู้นำโรงพยาบาลเอกชนย่านฝั่งธน พร้อมขยายตัวรับลูกค้าต่างชาติ

นายเฉลิมกุล อภิบุณโยภาส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธนบุรี เปิดเผยว่า ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า โรงพยาบาลธนบุรีจะทุ่มงบลงทุนอีกกว่า 900 ล้านบาท โดยจะเพิ่มห้องตรวจอีก 100 ห้องรวมทั้งห้องผู้ป่วยใน จากปัจจุบันที่ มีอยู่ 435 เตียง รวมทั้งเพิ่มที่จอดรถอีก 250 คัน พร้อมทั้งเพิ่มร้านค้าเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ อาทิ ร้านอาหาร ร้านหนังสือ ร้านเสริมสวย ร้านกิฟต์ช็อป

การลงทุนดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้โรงพยาบาลมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 12-15% อย่างต่อเนื่อง และตอกย้ำความเป็นผู้นำของโรงพยาบาลเอกชนในย่านธนบุรีอย่างต่อเนื่อง
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2549 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลธนบุรีมีรายได้รวม 2,025 ล้านบาท เป็นรายได้จากการให้บริการทางการแพทย์ 1,950 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 15% ของปี 2548 รวมทั้งมีรายได้อื่นๆ จากการลงทุนของโรงพยาบาลเครือข่ายรวม 20 แห่ง ส่วนในปี 2550 คาดว่าจะมีรายได้จากการบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเป็น 2,240 ล้านบาท

http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=173233
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news21/06/07

โพสต์ที่ 12

โพสต์

แฉร.พ.โขกค่ายาโหด +'หมอบุญ'ชี้ร.พ.เอกชนยัดเยียดสารพัดวิธีรักษา ทั้งใช้ยาเกินความจำเป็น  
รพ.เอกชนไทย รับ คิดค่ารักษาพยาบาลและค่ายา แพงจริง เนื่องจากต้องแลกกับต้นทุนการผลิตและการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย ยืนยันไม่ได้เอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องจากประชาชน มีสิทธิเลือกรักษาทั้ง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ขณะที่ "หมอบุญ" เห็นด้วยกับ กรมการค้าภายใน ล้มโต๊ะ ตั้งมาตรฐานการคิดค่าบริการใหม่หมด แฉมีหลายรพ.ใช้สารพัดวิธีบวกเงินกับคนไข้

ตามที่มีการร้องเรียนการคิดค่าบริการและค่ายาของโรงพยาบาลเอกชนแพงกว่าความเป็นจริง

จนส่งผลให้กรมการค้าภาย กระทรวงพาณิชย์ เตรียมออกมาตรการ เข้ามาควบคุมในเรื่องดังกล่าว

เนื่องจากมีข้อมูลชี้ชัดว่า มีโรงพยาบาลเอกชน คิดค่าบริการและค่ายาที่แพงจริง ซึ่งในเบื้องต้นได้สั่งให้สมาคมโรงพยาบาลเอกชนประสานกับโรงพยาบาลในสังกัด ให้ลดราคาค่าบริการลงมาอยู่ในต้นทุนที่เป็นจริงและเป็นธรรมกับผู้บริโภค

http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2228
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news22/06/07

โพสต์ที่ 13

โพสต์

โรงพยาบาลตาหูคอจมูกทุ่ม100ล้าน ผุดอาคารผู้ป่วยนอกรับคนไข้ทะลัก

ร.พ.ตา หู คอ จมูกเผยโตต่อเนื่องคนไข้แน่น ทุ่มงบฯเฉียดๆ 100 ล้านขึ้นอาคารผู้ป่วยนอกใหม่ พร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ชี้รับลูกค้าได้เพิ่มอีกเท่าตัว

แหล่งข่าวระดับสูงจากโรงพยาบาลตา หู คอ จมูก เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเตรียมจะขยายการลงทุนอีกกว่า 50 ล้านบาท สำหรับการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก (โอพีดี) สูง 6 ชั้น ในบริเวณด้านข้างอาคารเดิม เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการ ปัจจุบันพื้นที่และห้องตรวจเริ่มไม่เพียงพอ โดยตอนนี้ในช่วงวันธรรมดามีผู้เข้ามาใช้บริการประมาณ 600-700 คน/วัน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ตัวเลขผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,000 คน ซึ่งถือว่าค่อนข้างแออัดและทำให้บริการไม่คล่องตัวเท่าที่ควร

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาแม้ว่าภาวะโดยรวมทางเศรษฐกิจจะไม่ดีนัก แต่การเติบโตของโรงพยาบาลก็ยังมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเติบโตตามสภาพ โดยจุดแข็งอย่างหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลยังสามารถเติบโตได้หลักๆ นั้นมาจากการที่โรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลรักษาโรคเฉพาะทางที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยเฉพาะ และมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย นอกจากนี้การที่โรงพยาบาลได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2000 จากบริษัท (URS) United Registrar of Systems ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้เข้ามาใช้บริการมีความมั่นใจ
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news05/07/07

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ร.พ.แข่งรักษาโรคหัวใจ / หลังยอดตายพุ่งอันดับ3  - 5/7/2550

โรคหัวใจมัจจุราชเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยปีละหลายหมื่นราย ไม่เว้นแม้แต่เด็กที่เกิดใหม่ 1,000 คน จะเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 8 คน และ อีก 2 คน เป็นโรคหัวใจอันมีสาเหตุมาจากไข้รูมาติกหรือจากสาเหตุอื่นๆ ในประเทศไทยหากมีเด็กเกิดใหม่ 1 ล้านคนต่อปี จะมีเด็กป่วยเป็นโรคหัวใจถึง 8,000 คน โดยอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยประมาณ 4 คนต่อ 1 ชั่วโมง นับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ นอกจากนี้การเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดตีบ ยังถูกจัดวางไว้เป็นในอันดับ 3 ขณะที่โรคมะเร็งครองแชมป์อันดับหนึ่ง ส่วนอันดับสองยอดจากอุบัติเหตุ

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคหัวใจมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากสาธารณสุขเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถยืดอายุเฉลี่ยของประชากรได้มากขึ้น แต่ว่าปัจจัยเสียงของโรคก็มากตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น อุบัติการการเกิดเบาหวานที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ หรือแม้แต่ความดันโลหิต ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป คือรับประทานอาหารมากขึ้น ทำให้เป็นโรคอ้วน และมีการออกกำลังกายน้อยลง นอกจากนี้อาหารที่รับประทาน ส่วนมากจะมีคาร์โบไฮเดรทและมีน้ำตาลมาก เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

สำหรับมาตรฐานการรักษาโรคหัวใจ มีอยู่ 3 วิธี หนึ่งการกินยา สองการกินยาร่วมกับการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน และการกินยาร่วมกับการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ นอกจาก 3 วิธีที่เป็นมาตรฐานของการรักษาโรคหัวใจแล้ว วงการแพทย์คิดค้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้เสต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจระยะสุดท้าย ส่งผลให้เสต็มเซลล์เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โรงพยาบาลเอกชนหลาย ๆ แห่ง คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขยายเซลล์ให้มีจำนวนมากขึ้น และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย

ผลิตเสต็มเซลล์

โรงพยาบาลเจ้าพระยา ไม่รอรีเตรียมผุดนวัตกรรมการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด ( Cell therapy ) ที่ทางโรงพยาบาลยังไม่สามารถผลิตเสต็มเซลล์ได้เอง โดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากกระแสเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจตีบ นำมาดูดเลือดในถุงเลือดออกมา 250 ซีซี ส่งไปที่ประเทศอิสราเอล เพื่อให้คัดเลือกเซลล์ตัวอ่อน หรือเสต็มเซลล์ จากนั้นนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในห้องปฏิบัติการ

เพียงหนึ่งสัปดาห์ต่อมาจะได้เซลล์ต้นกำเนิดจำนวนมากสำหรับการสร้างผนังหลอดเลือด เซลล์เหล่านี้จะถูกฉีดกลับคืนไปยังผู้ป่วยคนเดิมผ่านทางหลอดเลือดหัวใจ เซลล์ที่ถูกฉีดกลับไปนี้จะเคลื่อนตัวออกนอกหลอดเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่มีการขาดเลือด กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้ามายังกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นได้มากขึ้น
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176795
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/07/07

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ตลาดท่องเที่ยวสุขภาพโกย3.6หมื่นล.  


โดย เดลินิวส์ วัน เสาร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 08:53 น.

รายงานข่าวจากบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย ในส่วนที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน น่าจะสร้างรายได้เข้าประเทศในปีนี้ รวมมูลค่า 36,000 ล้านบาท โดยตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ใช้บริการในโรงพยาบาล แม้จะมีขนาดเล็กสัดส่วนเพียง 4.2% ของจำนวนชาวต่างชาติทั้งหมดที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาประเทศไทยทั้งสิ้น 14.5 ล้านคน แต่ก็มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก และเป็นช่องทางนำเงินเข้าประเทศจำนวนมากด้วย ทั้งจากบริการทางการแพทย์ และบริการด้านการท่องเที่ยวของทั้งคนไข้และญาติที่ติดตามมาดูแลคนไข้
ทั้งนี้ ไทยต้องแข่งขันชิงส่วนแบ่งตลาดนี้รุนแรงยิ่งขึ้น กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย แต่ไทยมีความได้เปรียบ ได้แก่ จุดเด่นด้านงานบริการของคนไทยที่นุ่มนวล สร้างความประทับใจกับผู้มาใช้บริการ, การพัฒนาบริการทางการแพทย์เฉพาะด้านของโรงพยาบาลเอกชนไทยที่ได้มาตรฐานสากล และไม่ต้องเสียเวลารอคิวรักษานาน ขณะที่ค่ารักษาพยาบาลของไทยถูกกว่าสิงคโปร์ถึง 2 เท่าตัว และประเทศไทยยังมีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว

สำหรับตลาดเป้าหมายสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในส่วนที่ใช้บริการโรงพยาบาลของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น เพราะปัจจุบันชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงานในประเทศไทยจำนวนมาก อีกทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นอนุญาตประชาชนเบิกค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลต่างประเทศได้ ขณะที่มาตรฐานการบริการของโรงพยาบาลไทยทัดเทียมต่างชาติ แต่ค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าหลายเท่าตัว ขณะที่นักท่องเที่ยวจากประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางประสบปัญหาการขอวีซ่าเข้าสหรัฐอเมริกา และในยุโรปหลังเกิดเหตุการณ์ 11 ก.ย. 44 การเดินทางเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชีย จึงเป็นทางเลือกใหม่.
http://news.sanook.com/economic/economic_153070.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/07/07

โพสต์ที่ 16

โพสต์

บู๊ทส์ เดินหน้าผุดไซส์เล็กเจาะกลุ่มผู้บริโภค [ ฉบับที่ 808 ประจำวันที่ 7-7-2007 ถึง 10-7-2007]  
มร.เอียน ฮันเตอร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บู๊ทส์ทำการเปิดตัวบัตรสมาชิกเพื่อสุขภาพ บู๊ทส์ เฮลธ์ คลับ ซึ่งเป็นบัตรเพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิก โดยเมื่อซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพ บู๊ทส์ใดก็ตามสมาชิกจะได้รับส่วนลดทันที 5% และสำหรับ สมาชิกที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจะได้รับส่วนลดทันที 10%

นอกจากนี้ บู๊ทส์ ยังได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลและศูนย์ฟิตเนส ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลสมิติเวช, โรงพยาบาลพญาไท และสถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส เฟิร์ส ในการมอบส่วนลดให้กับผู้ถือบัตรบู๊ทส์ เฮลธ์ คลับ ในการเข้าไปใช้บริการ

ขณะเดียวกันบู๊ทส์ ยังได้ทำคูปองส่วนลดเพิ่มภายใต้ชื่อ Welcome pack รวมมูลค่ากว่า 1.8 หมื่นบาทมอบให้กับผู้สมัครสมาชิก โดยบัตรดังกล่าวจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยจะทำการเปิดรับในจำนวนจำกัดเท่านั้น ซึ่งบัตร Welcome pack จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงสมัครไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคมปีหน้า

โดยบัตรดังกล่าวที่ผลผลิตออกมานั้น บริษัทก็ต้องการสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ หรือความจงรักภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้า อีกทั้งเพื่อเป้นการสร้างความเชื่อมั่นในตัว Trust Boots ในด้านความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างแท้จริง ด้วยการมีเภสัชกรประจำในทุกสาขาทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการขยายสาขาได้ทำต่อเนื่อง โดยปีนี้บริษัทมตั้งเป้าสาขาใหม่ประมาณ 15-20 แห่ง โดยครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบู๊ทส์ได้เปิดไปแล้วประมาณ 6 แห่ง รวมปัจจุบันมีสาขาทั้งสิ้น 121 แห่ง จากเดิมที่มี 115 แห่งโดยสาขาล่าสุด อยู่ที่ตึกเพรสซิเดนท์ปาร์ค สุขุมวิท 24

นอกจากนี้ บู๊ทส์ได้เริ่มใช้กลยุทธ์การเปิดสาขาในลักษณะพื้นที่เล็กๆ และพิจารณาวางขายสินค้าตามความต้องการของตลาดในแต่ละแห่ง ซึ่งจะเป็นการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ควบคู่ไปกับการเปิดร้านขนาดมาตรฐานเดิม โดยขนาดใหม่ที่ทำนี้ได้ทดลองมาระยะหนึ่งแล้ว
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4601
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news12/07/07

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ต่างชาติแห่ทำสวย รพ. เอกชนทุ่มพันล้านผุดศูนย์ศัลยกรรม - 12/7/2550

ความต้องการเป็นเจ้าของใบหน้าสวย ยังเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้น ขณะนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติหันมาใช้บริการศัลยกรรมความงามใบหน้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำตาสองชั้น เสริมจมูก ผ่าตัดกราม หรือดึงหน้าให้เต่งตรึงขึ้น สังเกตได้จากโรงพยาบาลเอกชนหันมาเปิดศูนย์ศัลยกรรมความงามแบบครบวงจร โดยทุ่มเงินมากกว่าพันล้าน เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ

นำร่องโรงพยาบาล โรงพยาบาลยันฮีเพิ่งเปิดให้บริการศัลยกรรมมาได้เพียง 10 ปี แต่ก่อนหน้านี้มีการทำศัลยกรรมมานานพอสมควร ถือว่าเป็นสถาบันแรกที่เน้นทำด้านศัลยกรรมตกแต่งและความงามโดยใช้ระบบของโรงพยาบาลเข้ามา ไม่ใช่ในรูปแบบของคลินิก ซึ่งจะเน้นความปลอดภัย แพทย์ที่มาให้บริการจะต้องจบผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ สิ่งที่สำคัญของการบริการศัลยกรรมความงาม คือความรับผิดชอบที่มีต่อคนไข้ ซึ่งเป็นนโยบายของโรงพยาบาลที่มีข้อผิดพลาด เกิดขึ้นเราต้องแก้ปัญหาให้คนไข้จนจบ โดยไม่เกี่ยงและไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม

เด็ก 4 ขวบทำสวย ปัจจุบันการทำศัลยกรรมที่มีอยู่อย่างแพร่หลายทุกอายุ ทุกประเภท เริ่มตั้งแต่เด็กอายุ 4 ขวบ ที่จูงมือพ่อแม่เข้าโรงพยาบาลเพื่อมาผ่าตัดไฝ่ และปาน ซึ่งจะแตกต่างจากเมื่อก่อนมาก ยิ่งไปกว่านั้นเด็ก ๆ เหล่านี้จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี การทำศัลยกรรมที่ยอดฮิตของโรงพยาบาลยันฮี การศัลยกรรมเสริมจมูก รองลงมาคือตา ทำตาสองชั้น การเก็บหนังตา เก็บถุงใต้ตา รองลงมาดึงหน้า และสุดท้ายการตัดกราม

โปรแกรมเหมาจ่ายสำหรับการจัดทำแพ็คเกจ เพื่อให้คนไข้ได้รับความสะดวกทั้งการประเมินค่าใช้จ่ายได้อย่างลงตัว และไม่ต้องจ่ายยิบจ่ายย่อยหลังจากเข้าใช้บริการศัลยกรรมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่คนไข้ไม่อยากเจอ นอกจากนี้ต้องการให้โรงพยาบาลสรุปค่าใช้จ่ายแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมกับความสวยเช่นกัน ซึ่งทางโรงพยาบาลวิภาวดี ก็ได้จัดการคำณวณราคาศัลยกรรมความงาม ในรูปแบบแพ็คเกจ ที่รวมทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว

ยกเว้นกรณีที่ต้องมีการตรวจรักษาเพิ่มเติม นอกเหนือจากการทำศัลยกรรม โดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมความงามจากต่างประเทศ รายละเอียดการบริการ มีดังนี้ 1.ทำตา 2 ชั้น ราคา 12,500 บาท 2.ทำตาล่าง ราคา 12,500 บาท 3.ทำตาบนและล่าง ราคา 20,000 บาท 4.เสริมจมูก ราคา 15,000 บาท 5.เสริมคาง ราคา 16,500 บาท 6.ผ่าตัดถุงไขมันใต้ตา ราคา 12,500 บาท
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177260
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/07/07

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ชูศูนย์เด็ก-ศูนย์ผู้มีบุตรยากนำร่อง ร.พ.สินแพทย์ปั้นศูนย์มะเร็งเสริมแกร่ง
ร.พ.สินแพทย์ทุ่มงบฯปั้นศูนย์รักษาโรคมะเร็ง เสริมจุดแกร่งศูนย์เด็กและศูนย์ผู้มีบุตรยาก จับกลุ่มผู้ป่วยโซนกรุงเทพฯตะวันออก เผยผู้ป่วยทะลักครึ่งปีโตกว่าอุตสาหกรรม เทงบฯก้อนโตขึ้นอาคารใหม่-เครื่องมืออุปกรณ์ มั่นใจสิ้นปี โกยรายได้ทะลุพันล้าน


น.พ.ศิริพงศ์ เหลืองวารินกุล กรรมการบริหารโรงพยาบาลสินแพทย์ เปิดเผยว่า นโยบายการดำเนินงานของโรงพยาบาลจากนี้ไป นอกจากการจะเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านบริการทางการแพทย์ของศูนย์เด็กและศูนย์ผู้มีบุตรยากของโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับและเป็นศูนย์ที่ประสบความสำเร็จ โดยในส่วนของศูนย์เด็กนั้นช่วงที่ผ่านมาโรงพยาบาลได้มีการเสริมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับโรคเด็กในลักษณะที่เป็นแพทย์ฟูลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นทีมแพทย์ทางด้านโรคทารกแรกเกิด ภูมิแพ้เด็ก โรคไตเด็ก โลหิตวิทยาเด็ก ผิวหนัง พัฒนาการเด็ก โรคหัวใจเด็ก

น.พ.ศิริพงศ์ยังกล่าวด้วยว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับทั้ง 2 ศูนย์ดังกล่าวแล้ว สินแพทย์ยังมีแผนจะสร้างความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาโรคมะเร็งเสริมขึ้นมาอีกด้วย โดยมีแผนจะลงทุนเปิดศูนย์ฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งด้วยเครื่องเร่งอนุภาค ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย เช่น เครื่อง Linax ที่เป็นเทคโนโลยี IGRT

"ศูนย์มะเร็งนี้จะเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหงที่ประกอบด้วย ร.พ.รามคำแหง ร.พ.วิภาราม ร.พ.สินแพทย์ ร.พ. วิภาวดี และ ร.พ.เสรีรักษ์ ซึ่ง ร.พ.หลังนี้มีแผนจะ เปิดให้บริการในช่วงปลายปีนี้ที่ย่านสุขาภิบาล 2 และเป็น ร.พ.ที่เน้นรับผู้ป่วยจากกรณีของประกันสังคม"

น.พ.ศิริพงศ์กล่าวต่อไปว่า เป้าหมายหลักของกลุ่มในส่วนนี้ก็คือ การรองรับการเติบโตของกรุงเทพฯฝั่งตะวันออกในย่านรามอินทรา ลาดพร้าวตอนปลาย ฉะเชิงเทรา มีนบุรี คันนายาว ที่สำคัญคือ การลงทุนดังกล่าวแม้ว่าสินแพทย์จะเป็นผู้ลงทุนแต่ ร.พ.ในกลุ่มทุก ร.พ.จะเน้นการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ภายในกลุ่มให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะมีการส่งต่อผู้ป่วย ระหว่างกัน

ประกอบกับการเติบโตของ ร.พ.สินแพทย์ในช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาด้วยตัวเลขอัตราการเติบโตที่สูง สินแพทย์จึงได้เพิ่มงบฯการลงทุนซื้อที่ดิน 10 ไร่ มูลค่าประมาณ 300 ล้าน เพื่อสร้างอาคารผู้ป่วยใหม่ขนาด 150 เตียง จากปัจจุบันที่มีอยู่ 200 เตียง และเพิ่มห้องผู้ป่วยนอก 60 ห้อง เพิ่มเตียงห้อง I.C.U. อีก 16 เตียง โดยจะเปิดให้บริการภายในเดือนสิงหาคมนี้

"ถัดจากนี้ไปอีกประมาณ 2 ปี สินแพทย์ยังมีแผนจะสร้างคอมเพล็กซ์ทางการแพทย์ในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ครบวงจร ศูนย์ผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งโปรเจ็กต์คาดว่าจะใช้งบฯลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,800-2,000 ล้านบาท"

เมื่อถามถึงผลการดำเนินการในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา น.พ.ศิริพงศ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาโดยภาพรวมของอุตสาหกรรมมีการเติบโตประมาณ 15-20% แต่สำหรับในส่วนของสินแพทย์เองมีการเติบโตประมาณ 25% และในแง่ของการครองเตียงโดยเฉพาะเป็นตัวเลขที่สูงถึง 100% ซึ่งสูงกว่าภาพรวมของอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความเจ็บป่วยนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็น

ประกอบกับการขยายตัวของชุมชนที่ขยายออกไปยังโซนตะวันออกมากขึ้น และในย่านถนน รามอินทรา แม้ว่าจะมีโรงพยาบาลเอกชนเปิดให้บริการอยู่บ้าง แต่สินแพทย์นั้นเป็นโรงพยาบาลที่มีความพร้อมและเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนในย่านดังกล่าว จึงทำให้มีผู้เข้ามาใช้บริการเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าภายในปีนี้จะมีรายได้ประมาณ 1,000-1,100 ล้านบาท
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news26/07/07

โพสต์ที่ 19

โพสต์

รพ.ดังเร่งพัฒนาบริการ-เทคโนโลยี - 26/7/2550
รพ.ดังเร่งพัฒนาบริการ-เทคโนโลยี
หวังชิงเค้กตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ


"นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนไทย (ไม่รวมชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย) มีประมาณ 6 แสนคน สามารถสร้างรายได้ในด้านบริการทางการแพทย์คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ล้านบาท"
ด้วยตลาดท่องเที่ยวสุขภาพมียอดการใช้จ่ายเฉลี่ยสูงกว่าตลาดท่องเที่ยวทั่วไป และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งแห่งที่ได้รับการยอมรับในการบริการด้านสุขภาพจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย เนื่องจากมีปัจจัยที่เกื้อหนุน โดยเฉพาะความได้เปรียบในเรื่องค่าใช้จ่ายในบริการด้านการแพทย์ที่ถูกกว่า ด้วยมาตรฐานระดับเดียวกับโรงพยาบาลในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ที่สำคัญไม่ต้องรอคิวในการรักษาเป็นเวลานานๆ

ทั้งนี้ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในส่วนที่ใช้บริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลเอกชนสามารถประเมินขนาดตลาดในเบื้องต้นได้จากสถิติการเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนไทยเป็นชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยร้อยละ 60 และเป็นชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย ร้อยละ 40 โดยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 หรือประมาณ 1.54 ล้านคนในปี 2550 นี้

ปัจจุบันตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพส่วนที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนไทย (ไม่รวมชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย) มีประมาณ 6 แสนคน สามารถสร้างรายได้ในด้านบริการทางการแพทย์คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ล้านบาท ดังนั้นการขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ไม่เพียงจะเพิ่มพูนรายได้ด้านบริการทางการแพทย์เข้าประเทศปีละจำนวนมาก แต่ยังมีรายได้ในส่วนการบริการด้านการท่องเที่ยวตามมาอีกจำนวนไม่น้อย จากการพักผ่อนท่องเที่ยวของผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์เอง และบรรดาญาติพี่น้องที่ติดตามเข้ามา ซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ระหว่างพักอยู่ในประเทศไทย

เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องไม่แปลกนัก ถ้าโรงพยาบาลหลาย ๆ แห่งจะมีการขยายการลงทุนในธุรกิจที่ต่อเนื่อง เพื่อบริการนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเดินทางเข้ามา ตรวจสุขภาพ การทำเลสิก ศัลกรรมความงาม ทันตกรรม นอกจากนี้ยังมีบริการด้านการแพทย์ของไทย อาทิ นวดแผนไทยและสปา ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก

พระรามเก้าเร่งพัฒนาบริการ

สำหรับนายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดเผย"สยามรัฐ"ถึงแผนการดำเนินการของโรงพยาบาลภายหลังจากที่ได้ให้บริการด้านการดูแลรักษาสุขภาพผู้ป่วยมายาวนาน สู่ปีที่ 16 ว่า จะมุ่งมั่นเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ทั้งในด้านเทคโนโลยีและการให้บริการ ด้วยวิทยาการอันทันสมัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพที่และเครื่องมือทางการแพทย์ให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ด้วยงบลงทุนกว่า 400 ล้านบาท โดยจะทยอยปรับปรุง เป็นเฟสๆ ไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายใน 3 ปีข้างหน้านี้ เพื่อเป็นการรองรับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศซึ่งนิยมมารักษาพยาบาลจากกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ซึ่งการปรับปรุงโรงพยาบาลดังกล่าวนี้ จะมีทั้งห้องพักและสาธารณูปโภคภายใน รวมทั้งการสั่งซื้อเครื่องแสกนแบบ MRI มูลค่าประมาณ 60-80 ล้านบาท โดยเครื่องดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายเครื่องแสกนแบบ CT ซึ่งเป็นเครื่องแสกนแบบแม่เหล็กไร้คลื่นรังสี มีคุณสมบัติเด่นคือการตรวจระบบประสาท ระบบสมอง และระบบไขสันหลัง ที่มีความละเอียดและความแม่นยำสูง

ซึ่งนายแพทย์เสถียร กล่าวว่า เป้าหมายของการเติบโตในปีหน้าน่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15% ขณะที่ในส่วนของปี 50 นี้น่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 12% หรือคิดเป็นมูลค่าผลประกอบการ ประมาณ 1,000 ล้านบาท จากปีผ่านมา ซึ่งทำได้ประมาณ 800 ล้านบาท โดยรายได้หลักจะ มาจากกลุ่มผู้ป่วยโรคไตและโรคหัวใจ
สำหรับจุดเด่นด้านการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลแห่งนี้ที่ทำให้เป็นที่รู้จักและไว้วางใจ อันดับแรกคือการเป็นศูนย์เปลี่ยนไตครบวงจรด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนไตให้คนไข้ไปแล้วกว่า 270 ราย นับเป็นยอดการเปลี่ยนไตสูงที่สุดในภาคธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน

อันดับที่สองคือการช่วยเหลือผู้มีบุตรยากซึ่งที่ผ่านการดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ส่วนอันดับที่สามคือเรื่องโรคหัวใจ ซึ่งมีทั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและเครื่องมือที่ทันสมัยคอยให้บริการรักษาผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง และอันดับที่ 4 คือด้านสูตินรี-กุมารแพทย์ โดยปัจจุบันทางโรงพยาบาลมีเครื่องอัลตร้าซาวด์แบบ 4 มิติซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของวงการแพทย์สมัยใหม่และจากผู้คนทั่วโลก เนื่องจากสามารถแสกนแล้วเห็นผลได้อย่าง ละเอียดทำให้แพทย์สามารถเตรียมการรักษาได้ทันที อาทิกรณีที่มีการทำอัลตร้าซาวด์แล้วพบว่าเด็กทารกในครรภ์มีอาการลำไส้ตีบตั้งแต่กำเนิด แพทย์ก็สามารถวางแผนในการรักษาให้ได้ทันทีตั้งแต่แรกคลอด เป็นต้น

ในส่วนของแผนการตลาดนั้น นายแพทย์เสถียรกล่าวว่า เบื้องต้นจะเป็นการให้ข้อ มูลข่าวสารของโรงพยาบาลแก่ประชาชนถึงความพร้อมในการรักษาพยาบาล ขณะเดียวกันก็จะเน้นการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องของการสุขภาพด้วยการตรวจร่างกายก่อนที่จะเกิดโรค เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญจนกระทั่งโรคร้ายต่างๆ นั้นลุกลามจึงเข้ารับการรักษา ซึ่งเมื่อถึงขั้นนั้นแล้วการรักษาก็จะยากขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนี้ ตลอดทั้งปีก็จะมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อส่งเสริมการตลาดตลอดทั้งปีในช่วงเทศกาลสำคัญ อาทิ ช่วงวันแม่-วันพ่อแห่งชาติ ปีใหม่ วาเลนไทน์ รวมไปถึงกิจกรรมเพื่อสังคมอาทิการให้การศึกษาแก่แพทย์-พยาบาล รวมไปถึงเจ้าหน้าที่เภสัชกรและสาธารณสุขตามภูมิภาคต่างๆจากทั่วประเทศ โดยเฉพาะสาขาหัวใจที่เราเป็นผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องที่ทางโรงพยาบาลได้จัดมา 2 ปีแล้ว

ไทยนครินท์ฯรุกตลาดนอก

ด้านนางอำไพ พยัคคง ผู้อำนวยการบริหาร โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ตั้งแต่ปลายปีผ่านมา จึงถึงปีนี้มีนโยบายที่จะขยายยฐานสู่กลุ่มลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น เพื่อสอดรับกับนโยบายการเป็นเมดิคัลฮับของรัฐบาลไทย ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างกลยุทธ์ในการเพิ่มจำนวนคนไข้ของโรงพยาบาลอีกหนึ่งทาง โดยมีการปรับปรุงห้องพักเพื่อรองรับคนไข้พิเศษระดับวีไอพี ประมาณ 30 กว่าห้อง ใช้งบประมาณ 20 กว่าล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดใช้บริการได้ประมาณเดือนตุลาคมนี้

สำหรับความโดดเด่นของโรงพยาบาลไทยนครินทร์ฯ นี้นางอำไพ กล่าวว่า น่าจะเป็นศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง เช่น ศูนย์หัวใจ ศูนย์กระดูก และข้อ ศูนย์ทางด้านโรคสมอง ทางด้านโรคมะเร็ง ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงเวลานี้ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งของโรงพยาบาลพอสมควร และในอนาคตมีแผนการที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงคนไข้เข้าใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะเข้ามาใช้บริการที่ ศูนย์หัวใจ และศูนย์กระดูก และข้อ จนทำให้ทั้ง 2 ศูนย์มีการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

"มีการใช้ตัวแทนในต่างประเทศ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าในแต่ละสถานที่ ซึ่งในเวลานี้จะเจาะกลุ่มอาหรับ กลุ่มตะวันออกกลางที่เข้ามาใช้บริการักษาในเรื่องกระดูก และข้อ สำหรับกลุ่มอาหรับดังกล่าวเริ่มเข้ามาใช้บริการมากขึ้น หลังจากเกิดเหตุการณ์ตึกถล่มที่สหรัฐอเมริกา ไม่เพียงแต่กลุ่มทางอาหรับเท่านั้น คนไข้จากประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีกำลังการซื้อสูง ก็เป็นเป้าหมายต่อไปที่ทางโรงพยาบาลจะต้องหาตัวแทน เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าดังกล่าวในอนาคต" นางอำไพ กล่าว

อย่างไรก็ตามรูปแบบทัวร์สุขภาพที่กำลังเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศนั้น นางอำไพ กล่าวว่า น่าจะเป็นการจำหน่ายเป็นแพ็คเกจที่ก่อให้เกิดความสอดคล้อง และเป็นไปตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งในที่นี่หมายถึงคนไข้ และญาติคนเฝ้าไข้

ซึ่งโรงพยาลในประเทศไทย ถือได้ว่ามีจุดแข็งในเรื่องของราคา จำนวนของโรงพยาบาลเอกชนในเมืองไทยที่มีเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการแพทย์ซึ่งเป็นยอมรับในระดับสากล และสิ่งสำคัญน่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ถูกกว่าที่อื่น ซึ่งในแถบเอเชียด้วยกันนี้จะเป็นรองจากอินเดียเพียงประเทศเดียวเท่านั้น
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=178243
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news26/07/07

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ศาสตราภิชาน น.พ. พิชิต สุวรรณประกร  - 26/7/2550
ศาสตราภิชาน น.พ. พิชิต สุวรรณประกร
ช่วยผู้หญิงทุกคนสวยได้ดุจเนรมิต


"มุ่งเน้นการบริหารต้นทุน และสร้างสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้บริโภคได้มากที่สุด ดังนั้นจึงมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัท แพน ราชเทวี กรุ๊ปทุกตัวในปีนี้จะสามารถสร้างรายได้กว่า 2 พันกว่าล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 17 % ของตลาดรวมประมาณ 12,000 ล้านบาท"

ตราบใดที่โลกยังไม่หยุดหมุน สภาวะการณ์ในโลกนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เฉกเช่นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภคที่มุ่งเน้นด้านสุขภาพและความสวยงามได้อย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่รางวัลแห่งสำเร็จในการพากเพียรพยายามคิดค้นนวัตกรรมการปรนนิบัติผิวกว่า30 ปี จะทำให้แพน ราชเทวี กรุ๊ป ก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำในตลาดสินค้าบริการด้านสุขภาพผิวพรรณภายในประเทศอย่างครบครัน พร้อมกันนี้ยังเตรียมขยายงานสู่ภาคพื้นเอเชีย เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคด้วยคุณภาพสูงสุด

อีกทั้งจากเหตุผลดังกล่าว ยังทำให้ศาสตราภิชาน น.พ. พิชิต สุวรรณประกร ประธานบริษัท แพน ราชเทวี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แม้อายุจะลุเข้าในวัยเกือบ 70 ปี แต่ยังดูสมาร์ท ในสายตาของสาวๆ หลายคน เนื่องจากเป็นบุคคลที่ใส่ใจสุขภาพ เพราะเข้าใจความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการเป็นเจ้าแห่งความงามอย่างแท้จริง

ผู้นำด้านสุขภาพความงาม

จากจุดเริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ. 2520 ในคลินิกเล็กๆ แห่งหนึ่งตรงสี่แยกราชประสงค์ชื่อ "ราชเทวี คลินิก" ให้บริการเกี่ยวกับโรคผิวหนังด้วยด้วยความเชี่ยวชาญพิเศษ โดยใช้แนวทางที่มุ่งการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านผิวพรรณต่างๆ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า และประสบความสำเร็จอย่างมาก

ณ จุดนั้นเองถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ ศาสตราภิชาน นายแพทย์ พิชิต สุวรรณประกร และคณะแพทย์ พยาบาล ในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านสุขภาพความงามครบวงจรในเวลาต่อมา และต่อยอดความสำเร็จเรื่อยมาจนถึงวันนี้ในนามของกลุ่มบริษัท แพน ราชเทวี กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)

ด้วยอุปสงค์ภายในประเทศที่มีสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นปัจจัยสนับสนุน ขณะที่มีความต้องการของผู้บริโภคเป็นผู้ขับเคลื่อน เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องไม่แปลกถ้านวัตกรรมความงามทางด้านการปรนนิบัติผิวจะมีการแข่งขันทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา โดยมีกลยุทธ์ทางการตลาดในเชิงรุกและรับ เพื่อขยายและปกป้องส่วนแบ่งการตลาด และการมีอำนาจกำหนดราคาเหนือคู่แข่ง

ซึ่งการปรับกลยุทธ์ของบรรดาผู้ประกอบการที่รุกหนักมากขึ้น คือ การขยายไลน์สินค้าเครื่องสำอาง การเร่งพัฒนาคุณภาพของสินค้า ดังนั้นการแข่งขันของแพน ราชเทวี กรุ๊ปในปีนี้ จึงน่าจะไปในทิศทางการพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคด้วยการจัดกิจกรรม ณ จุดขาย การสร้างการรับรู้ถึงตัวสินค้า แลขยายช่องทางการจำหน่าย โดยคาดหวังว่าผลิตภัณฑ์ของ แพน ราชเทวี กรุ๊ปทุกตัวในปีนี้จะสามารถสร้างรายได้กว่า 2 พันกว่าล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 17 % ของตลาดรวมที่มีประมาณ 12,000 ล้านบาท"

นวัตกรรมเพื่อคนทุกกลุ่ม

ด้วยปัญหาที่เกี่ยวกับการปรนนิบัติผิวในเวลานี้มักเกิดขึ้นกับบุคคลทุกกลุ่ม จึงทำให้แพน ราชเทวี กรุ๊ปซึ่งเข้าใจกลไกการทำงานของร่างกาย และที่สำคัญเข้าใจจุดเล็กจุดน้อยของเซลล์ ปรับพื้นฐานในจุดสำคัญ เข้ามามีบทบาทในการควบคุมการรักษาผิว โดยการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่รบกวนผิวมากนัก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้ประโยชน์สูงสุด

อย่างเช่นคิดค้นการรักษาฝ้า โดยไม่ต้องใช้ฮัยโดควีโนน(Hydroquinone) เนื่องจากถ้าใช้ไปนานๆ จะมีผลข้างเคียงกับผิวหน้า มาใช้วิธีรักษาด้วยการฟื้นฟูผิวเท่านั้น เพราะฉะนั้นแพน ราชเทวี กรุ๊ปจึงถือเป็นเจ้าแรกของโลกที่ฝ่าวงล้อมของการใช้ฮัยโดควีโนน ก่อนที่กรรมวิธีรักษาดังกล่าวจะกระตุ้นให้ทางฝั่งยุโรปออกกฎหมายไม่ใช้ ฮัยโดควีโนน ในเครื่องสำอางในที่สุด

ทั้งนี้ศาสตราภิชาน น.พ. พิชิต กล่าวว่า การที่จะคิดค้นนวัตรกรรมใหม่ออกมาได้นั้น จำเป็นจะต้องเข้าใจกลไกลของการเกิดโรคอย่างแท้จริง อีกทั้งยังต้องเข้าใจสะสารที่นำมาใช้อย่างแท้จริงอีกด้วย โดยจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบที่แน่ใจว่าปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้นทำผลิตภัณฑ์ จากกรณีดังกล่าวนี้เองจึงเปรียบเสมือนเป็นจุดยืนในคิดค้นนวัตกรรมใหม่

จุดประกายในคิดค้นนวัตกรรมใหม่แต่ละครั้ง ส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาความแก่ที่มนุษย์ในปัจจุบันมีผิวที่แก่เร็วเกินวัย ดังนั้นการคิดค้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกจึงเกิดขึ้น ซึ่งทางแพน ราชเทวี กรุ๊ปได้พัฒนาเครื่องมือตรวจสุขภาพผิวหน้าไว้ตามจุดต่างๆไว้บริการลูกค้า เพื่อที่ว่าการตรวจสุขภาพผิวหน้าดังกล่าวจะเป็นจุดกำเนิดให้พวกเขาเริ่มต้นที่จะหันมาดูแลผิวหน้า และผิวกายที่ถูกรบกวนด้วยสภาพอากาศนั้นเอง

แต่บางครั้งศาสตราภิชาน น.พ. พิชิต กล่าวว่า การทำผลิตภัณฑ์ดีๆ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงเป้าหมาย ก็ไม่ได้หมายถึง ประสิทธิผลที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาแต่อย่างใด โดยเฉพาะครีมกันแดด ดังนั้นนวัตกรรมใหม่ของแพน ราชเทวี กรุ๊ป จึงลงลึกถึงการสอนให้ผู้บริโภคใช้อย่างถูกต้อง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นความสำเร็จที่ตอบสนองนวัตกรรมใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ครีมกันแดดแพนไปทั่วโลก

ด้วยปัญหาสภาพผิวของคนไทยแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นแพน ราชเทวี กรุ๊ป จึงคิดค้นผลิตภัณฑ์กันแดดที่ติดกับผิว และสามารถใช้ได้ทั่วโลก จากแนวความคิดดังกล่าวจึงทำให้แพทย์ผิวหนัง ในสหรัฐอเมริกา รัฐฟอร์ริดา ซึ่งเป็นรัฐที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรเหมือนๆ กับประเทศไทยร้อยละ 85 ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดของแพนทั้งสิ้น

ซึ่งข้อมูลของแพทย์ผิวหนังร้อยละ 85 ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดของแพนดังกล่าว ถือเป็นความภาคภูมิใจของแพน ราชเทวี กรุ๊ป ด้วยสาเหตุที่ประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคมะเร็งผิวหนังกันมาก จึงทำให้คนอเมริการรู้ว่าครีมกันแดดถ้าไม่ดีพอก็จะไม่สั่งนำเข้า ดังนั้นในปัจจุบันนี้ครีมกันแดดจึงส่งไปจำหน่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแทบไม่ทัน แต่ในขณะเดียวกันตลาดในต่างประเทศอื่นๆ ก็พยายามเจาะตลาดไปเรื่อย ๆ เช่นกัน

สำหรับการเปลี่ยนพฤติกรรมให้คนไทยหันมาสนับสนุนสินค้าไทยนั้น ศาสตราภิชาน น.พ. พิชิต กล่าวว่า ผู้ผลิตจะต้องซื่อสัตย์ในการทำงาน ทำให้ผู้บริโภคเชื่อ และมั่นใจคุณภาพของสินค้า อย่างเช่นมีเครื่องตรวจสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อผู้บริโภคจะได้มั่นใจในสิ่งที่คาดหวังไว้นั้นเอง

เป้าหมายในอนาคต

ดังนั้นเป้าหมายของแพน ราชเทวี กรุ๊ปในวันนี้ ทางศาสตราภิชาน น.พ. พิชิต กล่าวว่า คงไม่เกี่ยวกับความสวยความงามเพียงอย่างเดียว แต่จะมุ่งดูแลรักษาโรคต่างๆ ซึ่งเกิดจากสุขภาพร่างกายที่ผิดปกติ โดยได้เพียรพยายามคิดค้นตัวยาที่รักษาด้วยการทา ไม่ใช่ต้องทานแต่อย่างเดียวเพิ่มมากขึ้น

โดยในอดีตทางแพน ราชเทวี กรุ๊ปได้คิดค้นยาทาเชื้อราบริเวณที่ศีรษะกับเล็บ ได้เป็นรายแรกของโลก ซึ่งเป็นการลดอัตราเสี่ยงของผู้บริโภคที่จะต้องทานยาเป็นปี ๆ ขณะที่ผลข้างเคียงของการทานยาดังกล่าวยังไม่มีผลออกมาชัดเจนแน่นอนมากนัก

เพราะฉะนั้นในอนาคตธุรกิจของกลุ่มแพน ราชเทวี กรุ๊ป จึงคาดหวังที่จะทะยานขึ้นสู่ความเป็นหนึ่งอย่างแข็งแกร่ง ไม่เพียงแต่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืนและมั่นคง เนื่องจากมีทีมงานและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีความมุ่งมั่นในองค์ประกอบหลักของวิถีแห่งสุขภาพและความงาม 4 ประการที่บูรณาการกันอย่างครบวงจร และนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานทุกด้าน นั้นก็คือ ให้คำแนะนำปรึกษาและบริการเสริมการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ภายใต้แนวความคิด ที่ต้องการรักษา ป้องกัน และ ส่งเสริมสุขภาพ

โดยการนำเทคนิคการรักษาแบบปัจเจกบุคคล ที่เรียกว่า " PRT " ( Personalized Rehabilitation Techbnique ) คือการรักษาแบบตรงจุด ที่ต้นเหตุอย่างแท้จริงมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละสภาพ และปัญหาผิวของแต่ละบุคคล จากคณะแพทย์ผิวหนังกว่า 1200 คน พร้อมทีมพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณกว่า 2,000 คน คอยบริการดูแลอย่างใกล้ชิด ณ แพนคลินิก สถานบริการ และจุดขายต่างๆ รวมกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ นับได้ว่าสามารถให้บริการได้ครบวงจรมากที่สุดในกลุ่มประเทศแถบเอเชียทีเดียว
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=178240
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news28/07/07

โพสต์ที่ 21

โพสต์

"เชียงใหม่ราม" ยึดธุรกิจโรงพยาบาลเบ็ดเสร็จ ทุนต่างชาติเปิดเกมรุกยึดฐาน Medical Hub

ในระยะเพียงครึ่งปี 2550 โรงพยาบาลเชียงใหม่รามได้ขยายเครือข่ายโดยการซื้อหุ้นและเข้าไปเป็นเจ้าของโรงพยาบาลเอกชนใน จ.เชียงใหม่ ถึง 2 แห่ง รวมมูลค่ากว่า 600 ล้านบาท ได้แก่ โรงพยาบาลช้างเผือก และโรงพยาบาลลานนา โดยเฉพาะโรงพยาบาล ลานนาได้เข้าไปซื้อหุ้นกระทั่งกลายเป็นหุ้นส่วนใหญ่และเข้าไปบริหารงานได้ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ผลที่ตามมาคือทำให้โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม กลายเป็นโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายมากที่สุดในภาคเหนือ โดยกระจุกตัวอยู่ใน จ.เชียงใหม่ถึง 4 แห่ง และหากรวมภาคเหนือทั้งหมดจะมีถึง 7 แห่ง และประกาศชัดเจนว่า พร้อมจะเข้าไปเทกโอเวอร์โรงพยาบาลทุกแห่งในภาคเหนือหากต้องการขยายเครือข่าย
กระบวนการยึดครองธุรกิจโรงพยาบาลใน จ.เชียงใหม่ของเชียงใหม่รามน่าสนใจ เพราะได้จัดวางจุดขายของเครือข่ายแต่ละแห่งครอบคลุมลูกค้าทุกเซ็กเมนต์ และต่อไปนี้เป้าหมายที่จะเป็นฐาน medical hub ของภาคเหนืออยู่ใกล้แค่เอื้อม

นั่นคือการที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม ได้เข้าซื้อกิจการของโรงพยาบาลช้างเผือก มีจำนวนเตียงทั้งหมด 100 เตียง ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2550 ด้วยมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท โดยกำหนดให้รักษาฐานกลุ่มลูกค้าบัตรทอง 30 บาทที่มีกว่า 40,000 คน และนับเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีการใช้รูปแบบ hospitel เพื่อนำมาเป็นจุดขายในการจับลูกค้าระดับสูง
ส่วนโรงพยาบาลลานนานั้นยังคงนโยบายเดิม คือ การรักษากลุ่มลูกค้าเดิม อย่างเช่น กลุ่มประกันสังคม ซึ่งมีรายได้กว่า 20% ปัจจุบันมีจำนวนเตียงมากกว่า 300 เตียง

นอกจากนั้นโรงพยาบาลลานนา ยังมีห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลผ่านกระบวนการตรวจสอบ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 15189 : 2003 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2549 เป็นโรงพยาบาลเอกชนในภูมิภาคแห่งแรกที่ผ่านการรับรอง และเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของ จ.เชียงใหม่ที่บรรลุแผนยุทธศาสตร์ของภาครัฐ และมีส่วนร่วมในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของ จ.เชียงใหม่
ส่วนจุดขายของโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม ซึ่งมีจำนวนเตียง 350 เตียง จะมุ่งเน้นการเป็นโรงพยาบาลระดับพรีเมี่ยมที่เน้นกลุ่มลูกค้าระดับบน ทั้งคนไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งเน้นรักษาโรคเฉพาะทาง เช่น ศูนย์โรคหัวใจ เป็นต้น โดยมีการแบ่งลูกค้าต่างประเทศเป็นหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม 40% กลุ่ม long stay 40% กลุ่มนักท่องเที่ยว 20% ส่วนโรงพยาบาลเทพปัญญา จะเน้นให้เป็นศูนย์อุบัติเหตุครบวงจร

นายแพทย์สุเมธ ฮั่นตระกูล กรรมการบริหารโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เนื่องจาก จ.เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่รองมาจากกรุงเทพมหานคร และเป็นเมืองท่องเที่ยว ผู้ที่เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาลจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวยุโรป อเมริกา และกลุ่มที่เข้ามาทำงานในประเทศ อาทิ ชาวญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน ซึ่งกลุ่มผู้ใช้บริการเหล่านี้เพิ่มขึ้นประมาณ 10-20% ต่อปี

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลโดยตรง สำหรับนโยบาย medical hub ของ จ.เชียงใหม่ ที่ภาครัฐต้องการให้โรงพยาบาลเชียงใหม่รามเป็นเมดิคอล ฮับ ของภาคเหนือนั้น ปัจจุบันมีคนไข้ต่างชาติมารักษาที่ภาคเหนือถึง 90% จึงมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตซึ่งต้องการให้ภาครัฐเร่งประชาสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น

ร.พ.ราชเวชปรับแผนรับเกมแข่งขัน

ศ.พ.ญ.กรรณิการ์ พรพัฒน์กุล รองประธาน ผู้บริหารโรงพยาบาลราชเวชเชียงใหม่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การยึดรวมเครือข่ายของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่และขนาดกลางใน จ.เชียงใหม่แบบเบ็ดเสร็จ เชื่อว่าจะส่งผลให้การแข่งขันของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนรุนแรงขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลเอกชนที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับสถานการณ์และต้องสร้างจุดขายที่ชัดเจน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคสามารถใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน

ในปีนี้จะไม่ขยายการลงทุนเพิ่มเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่จะมุ่งการสร้างคุณภาพของการรักษาพยาบาลให้มีมาตรฐานสูง และคงระดับราคาของการรักษาพยาบาลที่ผู้บริโภครับได้ ซึ่งเป็นนโยบายที่วางไว้อย่างชัดเจนที่มุ่งให้บริการพื้นฐานอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ขณะเดียวกันก็มุ่งความสำคัญด้านการบริการมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนเตียงกว่า 100 เตียง ระยะยาวมีแผนขยายการลงทุนเพิ่มได้สูงสุดถึง 400 เตียง

นอกจากการเน้นให้บริการพื้นฐานแล้ว ทางโรงพยาบาลมีจุดขายที่เป็นแชมเปี้ยน โปรดักต์ คือการรักษาด้านโรคมะเร็งและกระดูก โดยมีกลุ่มลูกค้าในท้องถิ่นระดับบี พร้อมทั้งวางกลุ่มลูกค้าหลักคือกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มตะวันออกกลาง และลูกค้ากลุ่มลองสเตย์ชาวต่างชาติที่เข้ามาพักอาศัยในเชียงใหม่ทั้งญี่ปุ่นและอเมริกา ซึ่งอนาคตจะมุ่งเจาะขยายฐานลูกค้าต่างชาติให้มากขึ้น รวมทั้งยังให้บริการกลุ่มประกันสังคมด้วย

ศ.พ.ญ.กรรณิการ์กล่าวอีกว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่โรงพยาบาลยังสามารถขยายตัวได้ดี ปัจจุบันมีอัตราการใช้บริการผู้ป่วยในเฉลี่ย 60-70% ผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 700 คน/วัน โดยในภาพรวมมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15-20% ต่อปี

ทุนต่างชาติเปิดเกมรุก

ปัจจุบัน จ.เชียงใหม่มีโรงพยาบาลทั้งหมด 16 แห่ง รองรับผู้ป่วยได้ 2,250 เตียง มีคลินิกทันตกรรม 82 แห่ง มีบุคลากรด้านการแพทย์และทันตกรรมที่มีความเชี่ยวชาญนับ 1,000 คน ซึ่งนอกเหนือโรงพยาบาลในเครือเชียงใหม่ราม ก็จะเหลือเพียงไม่กี่แห่งซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาด กลาง-เล็ก ได้แก่ โรงพยาบาลรวมแพทย์, ราชเวช, แมคคอมมิกส์, เซนทรัลเมมโมเรียล, ใกล้หมอ, สยามราษฎร์, ศรีพัฒน์, หมอวงศ์ และแมคเคน เป็นต้น และที่เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง ได้แก่ โรงพยาบาลเซนต์ปีเตอร์ (โรคตา) ส่วนโรงพยาบาลที่มุ่งเจาะตลาดต่างประเทศโดยตรง ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลราชเวช เป็นต้น

ขณะเดียวกันยังมีกระแสข่าวการรุกมาลงทุนของกลุ่มโรงพยาบาลจากต่างประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย และกลุ่มโรงพยาบาลจากสิงคโปร์ คือกลุ่ม Parkway Holdings ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพยาบาล Gleneagles, Mount Elizabeth และ East Shore รวมทั้ง Shenton Group of Clinic ในสิงคโปร์ บริษัทได้เปิดกิจการในมาเลเซีย อินเดีย ฮ่องกง และบรูไน ซึ่งจะใช้สถานที่สำหรับการรักษาพยาบาลคนไข้ต่างชาติจากประเทศซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น

สภาพการแข่งขันในธุรกิจบริการด้านการ รักษาพยาบาลในเชียงใหม่ นับว่ามีอัตราแข่งขันสูง เนื่องจากมีโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยการบริการที่หลากหลาย ที่ผ่านมามีการศึกษาจัดประเภทกลุ่มลูกค้า ในระดับผู้มีรายได้ปานกลางและสูงมักจะใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากความสะดวกสบาย รวดเร็ว ไม่แออัด มีแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย เทียบกับโรงพยาบาลภาครัฐ มักจะมีกลุ่มลูกค้าในระดับ ผู้มีรายได้ต่ำถึงปานกลางเป็นจำนวนมาก ทำให้แพทย์ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการ นับว่า โรงพยาบาลภาครัฐไม่ส่งผลกระทบต่อกลุ่ม เป้าหมายของโรงพยาบาลภาคเอกชน

ภาพที่จะเห็นต่อจากนี้ไปนอกจากการ ตัดราคาแล้ว คือการอาศัยเครือข่ายที่กว้างขวางรุกตลาดครอบคลุมจากฐานคนในท้องถิ่นเป็น กลุ่มต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาภาคเหนือ มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลองสเตย์จากญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา การขยับตัวของโรงพยาบาลเชียงใหม่รามในครั้งนี้เป็นก้าวย่างสำคัญที่จะเป็นเบอร์หนึ่งของภาคเหนือ และยึดฐาน medical hub ในอนาคต
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0211
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news01/08/07

โพสต์ที่ 22

โพสต์

รพ.พระรามเก้าทุ่ม400ล.ปรับโฉม รับต่างชาติอิงเทรนด์สุขภาพคาดโต12%  
โดย ผู้จัดการออนไลน์
1 สิงหาคม 2550 11:06 น.

      โรงพยาบาลพระรามเก้าทุ่ม 400 ล้าน ปรับโฉมรองรับครบรอบ 16 ปี มุ่งพัฒนาศักยภาพด้านการแพทย์ การบริการก้าวสู่อินเตอร์ รองรับลูกค้าต่างประเทศอิงกระแสท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งด้านห้องพัก ระบบสาธารณูปโภค เครื่องมือแพทย์ คาดสิ้นปีรายได้โต 12% พุ่งพันล้าน
     
      นายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ในโอกาสก้าวสู่ปีที่16 ว่าโรงพยาบาลพระรามเก้า มีนโยบายมุ่งมั่นเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ทั้งในด้านเทคโนโลยีและการให้บริการที่ครบวงจร ด้วยวิทยาการทางการแพทย์อันทันสมัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพของแพทย์และเครื่องมือทางการแพทย์ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
     
      โดยล่าสุดนี้ได้ใช้งบประมาณในการพัฒนาดังกล่าวกว่า 400 ล้านบาท โดยจะทยอยปรับปรุงการให้บริการเป็นเฟสๆไป คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายใน 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศที่เข้ามารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น จากกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
     
      การปรับปรุงโรงพยาบาลดังกล่าว จะครอบคลุมทั้งด้านห้องพัก ระบบสาธารณูปโภคภายใน และมีโครงการนำเครื่องมือแพทย์อันทันสมัยมาให้บริการได้แก่ เครื่องสแกนแบบ MRI รุ่นใหม่ มูลค่าประมาณ 60-80 ล้านบาท ซึ่งเป็นเครื่องสแกนแบบแม่เหล็กไร้คลื่นรังสี ที่มีคุณสมบัติเด่นด้านการตรวจระบบประสาท ระบบสมอง และระบบไขสันหลัง ที่มีความละเอียดและความแม่นยำสูง      
      นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลได้จัดโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อขยายตลาดและเพิ่มรายได้ตลอดทั้งปีในช่วงเทศกาลสำคัญ อาทิ ช่วงวันแม่และวันพ่อแห่งชาติ เทศกาลปีใหม่ วันวาเลนไทน์ และจัดกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง
     
      กรรมการผู้อำนวยการ กล่าวต่อว่า ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลมีผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สืบเนื่องจากความพร้อมในด้านบุคลากร และวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้คนไข้ให้ความไว้วางใจเลือกโรงพยาบาลพระรามเก้าเป็นผู้ดูแลสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง
     
      สำหรับในช่วงครึ่งปีหลัง จากกิจกรรมใหญ่ โครงการรณรงค์ตรวจสุขภาพ ถวายมูลนิธิสายใจไทย ด้วยแพคเกจตรวจสุขภาพราคาพิเศษที่จัดขึ้นในโอกาสฉลองครบรอบ 15 ได้กระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ ทั้งด้านการตรวจสุขภาพ และ การรักษาพยาบาลโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้น จึงเชื่อมั่นว่าในปีนี้โรงพยาบาลพระรามเก้าจะมีผลประกอบการเติบโตขึ้นประมาณ 12% หรือเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท จากปี 2549 ที่มีรายได้ 800 ล้านบาท โดยรายได้หลักจะมาจากกลุ่มผู้ป่วยโรคไตและโรคหัวใจเป็นหลัก สำหรับปีหน้าโรงพยาบาลตั้งเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 15%
     
      จุดเด่นด้านการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลพระรามเก้าที่เป็นที่รู้จักและไว้วางใจของคนไข้ คือ การเป็นศูนย์เปลี่ยนไตครบวงจรด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยกว่า 15 ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลได้ผ่าตัดเปลี่ยนไตให้คนไข้แล้วเกือบ 300 ราย นอกจากนี้ยังให้บริการช่วยเหลือผู้มีบุตรยากได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และมีความพร้อมด้านทีมแพทย์เฉพาะทาง และเครื่องมือทันสมัยคอยให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง อีกด้วย
     
      โรงพยาบาลพระรามเก้ามีสถาบัน-ศูนย์การแพทย์ และแผนกต่างๆรวม 16 หน่วย มีแพทย์ให้บริการรักษากว่า 200 คน ห้องพักผู้ป่วยในกว่า 300 เตียง นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังได้จัดสรรพื้นที่กว่า 2,000 ตารางเมตร เพื่อการพักพื้น และการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยและผู้มาเยี่ยมเยียน และล่าสุดได้เปิดมินิพลาซ่าที่บริเวณชั้นล่างสุด ไว้บริการผู้มาเยี่ยมไข้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000089416
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news02/08/07

โพสต์ที่ 23

โพสต์

เปิดนโยบายเร่งด่วนนายใหม่ อภ. ร้านยาสะดวกซื้อยังเป็นเต่าอืดอาด

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 สิงหาคม 2550 08:10 น.

 ผอ.องค์การเภสัชกรรมคนใหม่ ประกาศยุทธศาสตร์ดันองค์การพัฒนาก้าวไกล เผยแผนงานเร่งด่วน โครงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในระดับการทดลองผลิต พร้อมสร้างโรงงานแห่งแรก ด้วยงบ 1,411 ล้านบาท เตรียมย้ายโรงงานเดิมในเมืองไปอยู่ที่ คลอง 10 เล็งขยายฐานกลุ่มผลิตภัณฑ์เฮลธ์แคร์ ยอมรับแผนพัฒนาร้านค้าปลีกขายยาสะดวกซื้อยากกว่าที่คิด
     
      นายวิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้เข้ารับตำแหน่ง ผอ. องค์การเภสัชกรรม มาได้ประมาณ 1 เดือน ได้วางยุทธศาสตร์ที่จะผลักดันให้องค์การฯสามารถพัฒนาก้าวไกลอย่างมีประสิทธิภาพในการแข่งขันกับตลาดระดับประเทศและตลาดระดับภูมิภาคมากที่สุด
     
      ทั้งนี้แผนงานที่เร่งด่วนในการสานต่อยุทธศาสตร์ดังกล่าว ทางองค์การเภสัชกรรมมีภาระที่ต้องทำเร่งด่วนหลายประการคือ สิ่งแรกคือการสร้างโครงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในระดับการทดลองผลิตซึ่งจะใช้งบประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่องค์การอนามัยโลกเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ พัฒนาบุคลากร และบริหารให้เข้าระบบอยู่
     
      ขณะเดียวกันยังได้ดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นแห่งแรก ซึ่งใช้งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1,411 ล้านบาท ที่ผ่านการเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีไปเรียบร้อยแล้ว โดยใช้พื้นที่ขององค์การเภสัชกรรมที่ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นสถานที่ก่อสร้าง ซึ่งได้มีการปรับพื้นที่และพร้อมดำเนินการออกแบบก่อสร้างโรงงานควบคู่กันไป และภายหลังจากแผนการดังกล่าวทาง อภ. ยังจะก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ทั้งนี้องค์การฯอยู่ระหว่างการศึกษาผลิตยาสำหรับผู้ป่วย ธาลัสซีเมีย (L1) และ (Anti Ox) อีกด้วย
     
      นอกจากการจัดสร้างโครงการทั้งหมดที่ได้กล่าวมา องค์การฯยังเตรียมขยายโรงงานในส่วนของการผลิตทั้งหมดขององค์การฯไปยังบริเวณรังสิต คลอง 10 เพิ่มเติมพื้นที่จากเดิมมีโรงงานในตัวเมือง ซึ่งมีพื้นที่ที่จำกัด ไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของกำลังผลิตของยา และกระบวนการผลิตไม่มากพอกับความต้องการ ซึ่งโครงการเฟส 1 จะเริ่มได้ปี 2551 ไปจนถึงปี 2553 จะเป็นการขยายส่วนผลิตยา ยาแคปซูล โครงการเฟส 2 เป็นยาฉีด ยาน้ำ ครีม โดยมีการนำเสนอคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมพิจารณาหลักการ เพื่อดำเนินการต่อไป
     
      ที่ผ่านมาก็มีการปิดโรงงานเพื่อทำการปรับปรุงแล้วบางส่วน อาทิ ปิดอาคารการผลิตยาไข้สมองอักเสบไป เมื่อช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา แต่ระหว่างการปิดก็มีสำรองยาสำเร็จรูปไว้ โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดอีกครั้งวันที่ 5 เดือนสิงหาคม 2550 นี้
     
      นอกจากนั้นแล้วยังมีภารกิจที่เร่งด่วนอีกคือ การกระจายยาไปในวงกว้างให้กับประชาชนเข้าถึงตัวยามากขึ้น การเน้นการวิจัยและการพัฒนา เพิ่มรายละเอียดรายการยาที่มีความจำเป็นให้โรงพยาบาล จะเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ถึงศักยภาพในตัวยาและตัวองค์การฯเอง ซึ่งในแต่ละขั้นตอนการผลิตจะต้องมีการกลั่นกรองให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ถึงจะผ่านการตรวจสอบจากองค์การอาหารและยา
     
      อย่างไรก็ตามองค์การฯ ได้เตรียมส่งนวัตกรรมใหม่เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจีพีโอ เคอร์มินเพิ่ม อีก 2 รายการ ประกอบด้วย อายเจล บำรุงรอบตา และ บอดี้ โลชั่น โดยจะมีการเปิดตัวและทำตลาดในวันที่ 29 สิงหาคมเป็นต้นไป นอกจากนั้นยังมีแผนขยายผลิตภัณฑ์ในส่วนของเฮลธ์แคร์รองรับผู้ป่วยในระบบของสปสช. ด้วย
     
      นายวิทิตกล่าวต่อถึงความคืบหน้าการพัฒนาร้านขายยาในเชิงค้าปลีกรูปแบบใหม่ขององค์การฯ ว่า ต้องยอมรับว่าโครงการดังกล่าวยากมากในการดำเนินงาน ซึ่งคาดว่าแนวโน้มคงต้องปล่อยให้เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ โดยกลุ่มเป้าหมายคาดว่าน่าจะให้แพทย์หรือเภสัชกรที่มีความสนใจเข้ามาลงทุนขยายสาขา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและเรียนรู้กระบวนการจากคู่ค้าอยู่ ซึ่งร้านรูปแบบใหม่นี้จะเป็นคอนเซ็ปท์สะดวกซื้อเพื่อสุขภาพ มีขายทั้งยา อาหารเสริม สแน็ก เครื่องดื่ม อุปกรณ์ทั่วไปที่เกี่ยวกับสุขภาพ โดยปัจจุบันองค์การฯมีร้านค้าปลีกของตัวเอง 6 แห่ง
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000089944
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news03/08/07

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ร.พ.เอกชนแห่โรดโชว์สเตมเซลล์ บุก"อเมริกา"ดึงคนไข้กระเป๋าหนัก

สเตมเซลล์เมืองไทยเฟื่อง โรงพยาบาลเอกชนแห่เดินสายโรดโชว์ในต่างประเทศ "ร.พ.เจ้า พระยา" เป็นหัวหอกนำร่องดึงลูกค้าจากสหรัฐ เผยล่าสุดมีคนไข้เข้ามารักษาเกือบ 90 ราย ค่าใช้จ่ายตกหัวละ 1 ล้านบาท ย้ำไม่รับทุกราย-ก่อนรักษาต้องมั่นใจว่าปลอดภัย พร้อมเล็งขยายถึงโรคเบาหวานอีก ขณะที่แพทย์สภา-อย. ตื่นตัว เร่งศึกษาวางกรอบควบคุมสเตมเซลล์

นอกจากเมืองไทยจะขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์กลางด้านการรักษาพยาบาลในภูมิภาค หรือฮับด้านสุขภาพ ล่าสุดจากความตื่นตัวในการนำวิวัฒนาการการ รักษาโรคด้วยเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเตมเซลล์ ที่มีมา 2-3 ปี วันนี้โรงพยาบาลหลายๆ แห่งได้เริ่มนำวิธีการรักษาดังกล่าวมาให้บริการบ้างแล้ว และมีการเดินทางไปโรดโชว์เพื่อชักชวนชาวต่างประเทศที่สนใจเข้ามารับการรักษา

นางเดือนเพ็ญ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดต่างประเทศ บริษัท โรงพยาบาลเจ้าพระยา จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทีมแพทย์ของโรงพยาบาลที่นำโดย ศ.น.พ. ศุภชัย ไชยธีระพันธ์ ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาล และผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจ ได้เดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยหลักๆ เป็นการโรดโชว์เรื่องการรักษาโรคหัวใจด้วยเซลล์ต้นกำหนด หรือสเตมเซลล์ ซึ่งการโรดโชว์ดังกล่าวก็เป็นการไปติดตามคนไข้เดิมที่เคยมารักษาโรคหัวใจด้วยวิธี การสเตมเซลล์ที่ ร.พ.เจ้าพระยา

ขณะเดียวกันก็เป็นการให้ความรู้กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจให้มีความรู้ความเข้าใจในแง่ของการนำสเตมเซลล์มาช่วยและเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาโรคหัวใจ และโดยหลักใหญ่จะเป็นการเน้นในแนวของวิชาการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นหลัก

นางเดือนเพ็ญกล่าวต่อไปว่า หลังจากที่กลับมาตอนนี้เริ่มมีคนไข้ที่ต้องการจะรักษาโรคหัวใจด้วยระบบสเตมเซลล์ทยอยเข้ามาเฉลี่ยประมาณเดือนละ 10 เคส ซึ่งตอนนี้ ร.พ.เจ้าพระยามีคนไข้ที่เข้ามารับการรักษาโรคหัวใจด้วยสเตมเซลล์ รวมทั้งสิ้น 87 ราย จากที่เริ่มเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา

"เราไม่ได้เป็นการโฆษณาหรือนำกลยุทธ์ของการตลาดมาใช้ แต่หลักใหญ่จะเน้นการให้ความรู้ และการบอกต่อแบบปากต่อปากจากผู้ที่ได้มารับการรักษาจริง"

นางเดือนเพ็ญกล่าวว่า ตอนนี้ตลาดหลักๆ ของ ร.พ.เจ้าพระยาจะมุ่งไปมีชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐ โดยคนไข้ต่างประเทศที่เข้ามารับการรักษาจะเสียค่าใช้จ่ายรวมเบ็ดเสร็จประมาณ 1-1.5 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจากผลการรักษาที่ประสบความสำเร็จก็มีความเป็นไปได้ที่จะนำวิธีการรักษาด้วยสเตมเซลล์มาให้บริการกับคนไทยด้วย แต่ในแง่ของค่าใช้จ่ายอาจจะปรับลดลงมาให้อยู่ในระดับหลักแสนต้นๆ หรือกลางๆ เพื่อเป็นการช่วยคนไทย

"ที่ผ่านมาลูกค้าหรือคนไข้ที่เข้ามารับการรักษาโรคหัวใจด้วยสเตมเซลล์ ส่วนใหญ่จะใช้หรือผ่านการรักษาโรคหัวใจด้วยวิธีอื่นๆ มาแล้วคนละหลายๆ ครั้ง มีบางคนผ่านการรักษาด้วยวิธีบายพาส ฉีดสี ทำบอลลูน ใส่สเตนต์ และต้องการจะใช้สเตมเซลล์มาช่วยเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ยาวนานขึ้น"

นายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลเจ้าพระยา จำกัด กล่าวว่า จากนี้ไป ร.พ.ก็จะยังเดินหน้าให้บริการสเตมเซลล์อย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะมั่นใจว่าการรักษาโรคด้วยสเตมเซลล์เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีทางเลือกและมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแล้ว เรื่องนี้ก็จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยคือเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย

นายแพทย์พงษ์พัฒน์ย้ำว่า ร.พ.เจ้าพระยามีความเชื่อมั่นในวิธีการรักษาด้วยสเตมเซลล์ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์สมัยใหม่ที่พิสูจน์ได้ และในอนาคตอันใกล้นี้ ร.พ.จะขยายออกไปยังการนำสเตมเซลล์ในการรักษาโรคเบาหวานด้วย

ทั้งนี้โรงพยาบาลเจ้าพระยาได้ตัดสินใจนำวิธีการรักษาด้วยสเต็มเซลล์มาใช้กับผู้ป่วย หลังจากที่มีผลการวิจัยการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในคน ของโรงพยาบาลศิริราช ออกมาแล้ว และประเทศในแถบยุโรปหลายประเทศก็ได้มีการนำวิธีนี้มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยเช่นกัน

"เพียงแต่ในสหรัฐฯนั้นยังไม่มีกฎหมายรองรับวิธีการรักษาด้วยวิธีนี้ แต่ในสหรัฐฯก็มีผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจจำนวนมากที่ไม่สามารถจะรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ได้ กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เจ้าพระยาให้ความสนใจ"

นายแพทย์พงษ์พัฒน์กล่าวว่า ขณะนี้อาจจะกล่าวได้ว่าสเตมเซลล์นั้นเป็นวิธีการรักษาที่เป็นคุณกับผู้ป่วยหรือคนไข้ที่ไม่มีทางเลือกด้วยการรักษาด้วยวิธีอื่น ที่ผ่านมาโรงพยาบาลหลายแห่งก็มีการศึกษา มีการวิจัยเรื่องของการนำสเตมเซลล์มาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ และมีผลออกมาว่าสเตมเซลล์ช่วยให้คนไข้รายนั้นๆ ดีขึ้น

"สำหรับเจ้าพระยาในกรณีที่คนไข้สนใจจะให้เรารักษาโรคหัวใจด้วยสเตมเซลล์ใช่ว่าเราจะรับรักษาให้ทุกราย เราจะต้องพิจารณาประวัติคนไข้ ทีมแพทย์จะต้องวินิจฉัยว่าคนไข้รายนั้นๆ มีความพร้อม หรือมีความเหมาะสมที่จะรักษาด้วยวิธีสเตมเซลล์หรือไม่ ที่สำคัญคือ ทีมแพทย์จะต้องมั่นใจว่ามีความปลอดภัยกับคนไข้รายนั้นๆ" นายแพทย์พงษ์พัฒน์กล่าว

ทางด้านแหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชน กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะที่โรงพยาบาลทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนหลายๆ แห่งต่างได้ให้ความสนใจและให้สำคัญกับการรักษาโรคด้วยสเตมเซลล์ เนื่องจากมองว่าการรักษาโรคด้วยวิธีดังกล่าวเป็นวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่ช่วยให้สามารถรักษาโรคบางอย่างที่ไม่สามารถจะรักษาได้ และเท่าที่ทราบก็มีโรงพยาบาลเอกชนหลายๆ แห่งที่เดินทางไปโรดโชว์เพื่อชักชวนให้ผู้ที่สนใจเข้ามารักษาโดยวิธีสเตมเซลล์

นอกจากนี้ก็ยังมีบริษัทเอกชนที่เข้ามาเปิดตัวให้บริการในแง่ของการเป็นสถานที่เก็บรักษาหรือที่เรียกว่าธนาคารสเตมเซลล์ เพิ่มอีก 1-2 ราย จากเดิมที่มีเพียง บริษัท ไทย สเตม ไลฟ์ จำกัด ที่เปิดตัวในเมืองไทยเมื่อช่วงปี 2549

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่โรงพยาบาลหลายๆ แห่งได้ให้ความสำคัญและเร่งศึกษาวิจัยการรักษาโรคด้วยสเตมเซลล์ แต่ก็มีทีมแพทย์จากคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาเรียกร้องให้มีการควบคุมเรื่องดังกล่าว เนื่องจากพบว่าในเมืองไทยได้มีการนำสเตมเซลล์ไปใช้กับผู้ป่วยก่อนเวลาอันควร และมีการนำเอาสเตมเซลล์มารักษาโรคต่างๆ โดยที่ยังไม่มีการควบคุมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการแพทยสภา ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อพิจารณาเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะด้วยเซลล์ต้นกำเนิด และเมื่อคณะอนุกรรมการดำเนินการเสร็จก็จะนำเสนอต่อคณะกรรมการแพทยสภาเพื่อพิจารณาเป็นข้อบังคับแพทยสภา และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ขณะที่ นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ผู้อำนวยการกองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุในเรื่องนี้ว่า หากโรงพยาบาลเอกชนรายใดที่มีการโฆษณาเกินจริง กองประกอบโรคศิลปะจะเข้าไปกำกับและดูแลเพื่อไม่ให้มีการแอบอ้าง

ด้วยความเคลื่อนไหวของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ที่ผ่านมา อย.ได้พยายามจะสร้างมาตรฐานการควบคุมการใช้สเตมเซลล์ ด้วยการตั้งคณะกรรมการที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของเซลล์บำบัดจากคณะแพทยศาสตร์ อาทิ จุฬาฯ ศิริราช และรามาธิบดี เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งต่อให้ อย.พิจารณา นอกจากนี้ กองชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อบรรจุให้สเตมเซลล์เป็นหนึ่งในชีววัตถุที่ต้องควบคุมเหมือนกับเลือดและวัคซีน
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/08/07

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ร.พ.พระรามเก้าทุ่ม400ล้านชูทันสมัย  
โดย ข่าวสด
วัน อังคาร ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 04:17 น.

น.พ.เสถียร ภู่ประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 16 ว่าโรงพยาบาลมีนโยบายมุ่งมั่นเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ทั้งในด้านเทคโนโลยีและการให้บริการที่ครบวงจร โดยใช้งบประมาณในการพัฒนากว่า 400 ล้านบาท ทยอยปรับปรุงการให้บริการเป็นเฟสๆ ไป คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 3 ปี เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศที่เข้ามารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น จากกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวจะครอบคลุมห้องพัก ระบบสาธารณูปโภคภายใน และเครื่องมือแพทย์อันทันสมัย ได้แก่เครื่องสแกนแบบ MRI รุ่นใหม่ มูลค่าประมาณ 60-80 ล้านบาท เป็นเครื่องสแกนแบบแม่เหล็กไร้คลื่นรังสี ที่มีคุณสมบัติเด่นด้านการตรวจระบบประสาท ระบบสมอง และระบบไขสันหลังที่มีความละเอียดและแม่นยำสูง ทั้งนี้เชื่อว่าปีนี้จะมีผลประกอบการเติบโต ขึ้นประมาณ 12% หรือคิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท จากปี49 ที่มีรายได้ 800 ล้านบาท ส่วนปีหน้าตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 15%
http://news.sanook.com/economic/economic_166155.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/08/07

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ธุรกิจปั๊มลูกโตต่อเนื่อง  - 9/8/2550

ธุรกิจปั๊มลูกโตต่อเนื่อง
ร.พ.เอกชนผุดกลยุทธ์
เพิ่มทางเลือกแม่มือใหม่


ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนของไทยมีจำนวนกว่า 354 แห่ง มีมูลค่าตลาดรวมในปี 2549 มากกว่า 49,000 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวของธุรกิจเฉลี่ย 11-15 % อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลดังกล่าวการแข่งขันธุรกิจของโรงพยาบาลจึงต้องเพิ่มศักยภาพของการพัฒนามากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของคนไข้ได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวิชาการ เทคโนโลยีทางการแพทย์ และบุคลากร

ดังนั้นการชูจุดเด่นด้านการรักษาเฉพาะทางของแต่ละโรงพยาบาลจึงเปรียบเสมือนการสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจโรงพยาบาลมากขึ้น รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคด้วย ขณะที่หลายโรงพยาบาลรุกคืบในเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กร ทั้งด้านการบริหาร การตลาด และการลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ อย่างเต็มที่

สำหรับแผนกสูตินรี (ทำคลอด) แผนกที่ให้บริการครบวงจรตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ การวางแผนมีบุตร ตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ การดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด รวมไปถึงการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่ ก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการรักษาด้านอื่น ๆ แม้การแข่งขันจะไม่ดุเดือดเหมือนกับการรักษาโรคอื่น ๆ ก็ตาม แต่แผนกสูตินารี ก็ยังเป็นแผนกที่สำคัญและขาดไม่ได้ ซึ่งทุกโรงพยาบาลจะต้องมี เพื่ออำนวยความสะดวกของคนไข้ในบริเวณใกล้เคียงสามารถเดินทางมาใช้บริการได้ทันท่วงที

ชูจุดเด่นน้ำนมแม่

แพทย์หญิงสมสิริ สกลสัตยาทร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ในฐานะกุมารแพทย์ เปิดเผยกับ สยามรัฐ ว่า น้ำนมแม่เป็น สุดยอดแหล่งอาหาร ตามธรรมชาติที่เหมาะที่สุดสำหรับทารกแต่ละคนที่ช่วยให้ลูกเจริญเติบโต ลดโอกาสการไม่สบายและลดโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการพัฒนาทางด้านสมอง และส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ดีที่สุด เพราะการที่แม่อุ้มลูกแนบกับอกความใกล้ชิดและสัมผัสในขณะที่ลูกดูดนมจากอกแม่ เป็นการถ่ายทอดความรักและความอ่อนโยนที่จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย

ทั้งยังเป็นการปูพื้นฐานสำคัญของกระบวนการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเหมาะสมในเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวต่อเนื่องจนกระทั่งอายุครบ 6 เดือน หลังจากนั้น จึงให้นมแม่ร่วมกับอาหารอื่นที่เหมาะกับวัยจนกระทั่งลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น

โดยมุ่งเน้นพื้นฐานสุขภาพที่แข็งแรงของทารกตามมาตรฐานบันไดสิบขั้นของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จนได้รับการรับรองให้เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก ที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูนิเซฟ องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2542 พร้อมจัดกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ในหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อรณรงค์สนับสนุนให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

โครงการดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม่ที่คลอดลูกในโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ร้อยละ 95 ที่ให้นมลูก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของครอบครัวด้วย ซึ่งถ้าครอบครัวไม่มีความรู้ทางโรงพยาบาลก็แย่ เพราะลำพังแม่คนเดียวคงสู้ไม่ไหว และสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการเปลี่ยนทัศนคติของหมอเด็กและหมอสูตินารีก่อน ซึ่งแน่นอนหมอทุกคนอยากเอาใจคนไข้ ตามใจคนไข้ ขณะเดียวกันเราก็มีทีมพยาบาลที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ การช่วยเหลือ ซึ่งทีมพยาบาลเหล่านี้จะต้องใช้ความอดทนสูง

อันดับหนึ่งในเอเซีย

ส่วนการทำคลอดจะเน้นการคลอดธรรมชาติ ซึ่งเป็นการคลอดในน้ำที่ ที่มีการนำร่องเป็นแห่งแรกในปี 2540 และเป็นชาวต่างชาติมากกว่าคนไทย นอกจากนี้ยังมีประเทศลาว เขมร พม่า ที่บินตงมาคลอดที่นี่ ซึ่งปัจจุบันคุณภาพทางด้านการแพทย์ของไทยถือเป็นอันดับแรกของเอเซีย ที่มีคุณภาพสูง ขณะที่ค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับสิงค์โปรแล้วไทยจะถูกกว่า

ซึ่งเมื่อก่อนต่างชาติจะแห่ไปรักษาที่ประเทศสิงค์โปรมากกว่า เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์พูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่า แต่พอมาปัจจุบัน ประเทศไทยได้พัฒนาคุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นมีการอบรมทางด้านภาษา ที่สำคัญคนไทยมีกิริยามารยาทอ่อนโยน จนทำให้ประเทศไทยแซงหน้าประเทศสิงค์โปร์ และสิงค์โปร์เองก็เริ่มมองว่าประเทศไทยเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด

รายได้กว่า 2 พันล้าน

พ.ญ.สมสิริ กล่าวต่อว่า ในปี 2549 โรงพยาบาลมีรายได้รวมที่ 3,000 ล้านบาท ซึ่ง 70 % ประมาณ 2,100 ล้านบาท เป็นรายได้ของ สมิติเวช สุขุมวิท จากโรงพยาบาลในกลุ่ม 3 โรงพยาบาล (สมิติเวชศรีนครินทร์ และสมิติเวช ศรีราชา) และตั้งเป้าการเติบโตปี 2550 ไว้ที่ 20 % เท่ากับปีที่แล้ว ในขณะที่ครอสต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะวัสดุทางด้านการแพทย์แต่ทางโรงพยาบาลเองก็ไม่ได้ผลักภาระไปให้กับคนไข้

ส่วนในการขยายพื้นที่ทางสมิติเวชจะไม่ขยายทางด้านขนาด แต่จะขยายทางด้าน โอพีดี เพื่อรองรับคนไข้ประมาณ 2,000 2,500 คน ต่อวัน รวมทั้งขยายห้องแคชเชียร์ และห้องยาเพื่อให้บาลานซ์กันทั้งสองปีก และคนไข้ไม่ต้องกระจุกอยู่ในที่เดียวกัน

ขณะที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ของสมิติเวช ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนกันยายน โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท จะนำเทคโนโลยี Endo-Bronchial Ultrasound (E-BUS) เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ใช้ในการตรวจและรักษาโรคมะเร็งปอด เพื่อความแม่นยำในการตรวจหาเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองภายในทรวงอกด้วยการทำอัลตราซาวนด์ที่ให้ผลแม่นยำสูงถึง 95 % เป็นการตรวจวินิจฉัยและทำการผ่าตัดในคราวเดียวกันไม่ต้องเจ็บตัว
อย่างไรก็ตามการใช้เครื่องมือต่าง ๆ จะต้องมีแพทย์ที่มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือด้วยเพื่อให้ได้การผ่าตัดและการรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด และเมื่อ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมาเราเพิ่งเปิดโครงการ Night Clinic เป็นการขยายเวลาในการให้บริการตรวจรักษาแก่ผู้ป่วยนอกด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง อาทิ สูติ-นรีแพทย์ กุมารแพทย์ อายุรแพทย์ และศัลยแพทย์ โดยเปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ 18-00 22. 00 น. เพื่อรองรับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่

ผุดโรงพยาบาลดิจิตอล

ทั้งนี้พ.ญ.สมสิริ กล่าวต่อว่า ทางสมิตเวช สุขุมวิทยังเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยแผน 3 ปีข้างหน้านั้น จะทำโครงการ Digital Hospital ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเอ็นเตอร์เทนเมน ผ่านจอ แอลซีดี ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแล การป้องกัน และการรักษา และการกินยา ผ่านจอคอมพิวเตอร์ให้กับคนไข้ของโรงพยาบาลได้รับทราบข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ซึ่งเครื่องดังกล่าวสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตที่ทำงาน นอกจากนี้ยังมีฟิล์มเอ็กซเรย์ของคนไข้ผ่านจอคอมพิวเตอร์เพื่อให้แพทย์อธิบายผ่านกับคนไข้ได้ด้วย และในอนาคตก็จะมีเครื่องดังกล่าวพูดคุยระหว่างคนไข้ที่โรงพยาบาลกับญาติที่อยู่ที่บ้าน โดยเห็นหน้าผู้สนทนาทั้งคู่ งบประมาณในการดำเนินงานไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

ปิยะเวทชูเตียงทูอินวัน

ขณะที่นายแพทย์ พูนศักดิ์ สุชนวณิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินารี สถาบันเฟอร์เพ็ควูแมน โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า อัตราการคลอดของโรงพยาบาลปิยะเวท จะทำเป็นแพ็คเกจ เพื่อให้คนไข้รู้สึกสบายใจทั้งหลังคลอดและก่อนคลอดว่าจะไม่ต้องเสียค่าใช่จ่ายเพิ่มเติมระหว่างคลอด ส่วนจุดเด่นในการทำคลอดคือการมีเตียงทูอินวัน ซึ่งจะเป็นทั้งเตียงคลอดและเตียงสำหรับผ่าตัดอยู่ในเตียงเดียวกัน เรียกว่าไม่ต้องเพิ่มความเจ็บปวดให้กับผู้เป็นแม่ ในการเคลื่อนย้ายจากเตียงคลอดไปเตียงผ่าตัดในกรณีมีปัญหาระหว่างการคลอด

สำหรับการบริการที่เป็นจุดเด่นสำหรับคุณแม่มือใหม่อีกตัวคือทุกระยะในการตรวจครรภ์ทุกครั้งจะมีการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ เพื่อให้เห็นถึงวัฒนาการของเด็กในครรภ์ได้อย่างชัดเจน ที่สำคัญจะได้เห็นความผิดปกติของเด็กในครรภ์เพื่อแก้ปัญหาและเตรียมความพร้อมก่อนคลอด

ส่วนอัตรา หรือแพ็คเกจที่ทางโรงพยาบาลปิยะเวท ตั้งไว้สำหรับคลอดธรรมดา ในห้องธรรมดาที่เป็นห้องเดี่ยว ที่มีสิ่งอำนวยความครบครั้น รวมถึงการยา การตรวจคลื่นหัวใจเด็ก ในราคา 38,000 บาท สำหรับห้อง วีไอพี ราคา 42,000 บาท ส่วนห้องผ่าตัดรวมถึงค่าฝากคลอด ซึ่งต้องพักอยู่ในโรงพยาบาล 2-3 วันก่อนคลอด ห้องธรรมดาที่เป็นห้องเดี่ยว จะอยู่ที่ราคา 59,000 บาท ส่วนห้อง วีไอพีราคา 65,000 บาท
นสพ.สยามรัฐ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179218
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news09/08/07

โพสต์ที่ 27

โพสต์

สธ.ออกนโยบายพัฒนารพ.ทั่วประเทศ - 9/8/2550
สธ.ออกนโยบายพัฒนารพ.ทั่วประเทศ
ควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารคนไข้


นายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการมอบรางวัลโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยต้นแบบ ปี 2550 (Hospital Food Safety Award 2007) ให้แก่นายแพทย์สมบูรณ์ศักดิ์ ญาณไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ในการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 ว่า อาหารที่ปรุงให้บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล มีความสำคัญมากต่อการหายป่วยไข้ ซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับโรค มีการคำนวณปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นในผู้ป่วยแต่ละราย แต่ส่วนที่มีความสำคัญอันดับ 1 คือต้องสะอาด และปลอดภัยจากสารพิษ เชื้อโรคปนเปื้อน เมื่อผู้ป่วยกินแล้วจะต้องมีอาการดีขึ้น ไม่เพิ่มโรคให้ โดยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาโรงพยาบาลในสังกัดจำนวนกว่า 800 แห่งทั่วประเทศให้เป็นโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย เริ่มอบรมนำร่องในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปรวม 27 แห่ง และจะให้ครบทุกแห่ง ภายในปี 2552
ด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามนโยบายนี้ อาหารผู้ป่วย และอาหารทุกประเภทที่จำหน่ายในร้านอาหาร ร้านค้าสวัสดิการ ร้านสหกรณ์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ภายในโรงพยาบาล จะต้องผ่านเกณฑ์ปลอดภัย 3 ด้านได้แก่ กลุ่มอาหารสดจะต้องไม่มีสารพิษหรือเชื้อโรคปนเปื้อน ตามเกณฑ์อาหารปลอดภัย (Food Safety) อาหารแปรรูปผ่านการรับรองคุณภาพจาก อย. และอาหารปรุงสำเร็จผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) โดยให้โรงพยาบาลทำการตลาดกับแหล่งผลิตอาหารที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อส่งจำหน่ายและตรวจรับรองที่โรงพยาบาลโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลกลายเป็นแหล่งควบคุมตรวจสอบคุณภาพอาหารในจังหวัด และขณะเดียวกันจะเป็นจัดตลาดอาหารปลอดภัยให้ประชาชน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ผลิต ให้ผลิตอาหารที่ปราศจากการปนเปื้อนป้อนให้ผู้บริโภค ทำให้เกิดความยั่งยืนในเรื่องการผลิตอาหารปลอดภัย ปลอดการใช้สารเคมีสารพิษอันตรายตลอดห่วงโซ่อาหาร

นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวต่อไปว่า จากการประเมินผลในปี 2550 มีโรงพยาบาลต้นแบบประจำ 4 ภาค ภาคเหนือที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ภาคกลางที่โรงพยาบาลราชบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่โรงพยาบาลขอนแก่น และภาคใต้ ที่โรงพยาบาลสงขลา มั่นใจว่าเมื่อโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศทำเรื่องนี้เป็นผลสำเร็จ จะทำให้ประชาชนที่ต้องการอาหารปลอดสารพิษรู้แหล่งที่ซื้อหาสินค้า กระตุ้นให้ผู้ผลิตเกิดความตระหนัก และมีตลาดรองรับทำให้เกิดกำลังใจ กล้าขยายกำลังการผลิตต่อไป
นสพ.สยามรัฐ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179231
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/08/07

โพสต์ที่ 28

โพสต์

โรงพยาบาลเอกชนไทย.ทิศทางยังสดใส

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 13 สิงหาคม 2550 11:13 น.

      ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน นับเป็นธุรกิจบริการด้านสุขภาพที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากความนิยมในการเข้ามารักษาพยาบาลของกลุ่มประชาชนที่มีรายได้ตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป ประกอบกับการเอาใจใส่ดูแลด้านสุขภาพที่มีมากขึ้น แม้เป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างในปัจจุบัน แต่ภาวะ การป่วยไข้ของประชาชนยังคงมีอยู่และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ตามการเพิ่มจำนวนของประชากรและสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น นอกจากนั้น ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ยังถือเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาภาคบริการ ตลอดจนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศปีละจำนวนมหาศาล
     
      สถานะผู้ประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ
      ฝ่ายวิจัยของธนาคารนครหลวงไทย ระบุว่า ในปี 2549 โรงพยาบาลเอกชนของไทยมีทั้งหมด 344 แห่ง มีจำนวนเตียงทั้งหมด 35,806 เตียง ซึ่งมีทั้งรูปแบบโรงพยาบาลเดี่ยวและกลุ่มเครือข่ายโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างแพทย์กับนักธุรกิจ ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการที่แพทย์หรือนักธุรกิจจะลงทุน ด้วยตนเอง ปัจจุบัน กลุ่มโรงพยาบาล เอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งมีโรงพยาบาลในเครือทั้งหมด 17 แห่ง และหากพิจารณาแยกตามภูมิภาคแล้วจะเห็นได้ว่า โรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่นั้นตั้งอยู่ในเขตภาคกลาง มีสัดส่วนร้อยละ 62.79 และมีการกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครถึงร้อยละ 29.65 ขณะที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีสัดส่วนรองลงมา คือ ร้อยละ 14.83 12.79 และ 9.59 ตามลำดับ
     
      จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ ประชาชนมีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การเข้ามาใช้บริการของผู้ป่วยในประเทศไปด้วย กลุ่มผู้ป่วยในประเทศนี้ ถือเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของ โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 65 ของจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนไทยทั้งหมด โดยผู้บริโภคบางส่วนได้เริ่มหันไปใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐหรือคลินิกนอกเวลาทำการแทน เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนบางรายได้มีการปรับลดเป้าหมายรายได้และการขยายตัวของโรงพยาบาลลง รวมทั้งชะลอการลงทุนขยายกิจการออกไป
     
      ตลาดต่างประเทศ.JTEPA ดันคนไข้ญี่ปุ่นโต
      ปัจจุบัน ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนหลายรายได้หันมาให้ความสนใจกลุ่มผู้ป่วยชาว ต่างชาติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลปิยะเวท และโรงพยาบาลพระรามเก้า นอกจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่ได้เน้นทำการตลาด ผู้ป่วยต่างประเทศอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ เพื่อชดเชยรายได้ในส่วนของผู้ป่วยในประเทศที่หายไปเพราะ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และเพื่อสนองตอบนโยบายของภาครัฐที่ผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub of Asia โดยในปี 2549 มีชาวต่างชาติที่เข้ารับบริการรักษาพยาบาลในประเทศไทยประมาณ 1.4 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 12 จากปีก่อนหน้า ส่วนผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทย สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
     
      กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้ป่วยชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง (Expatriate หรือ Expat.) โดยนิยมเข้ามารักษาโรคทั่วไป โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคหัวใจ โดยเป็นกลุ่มผู้ป่วยต่างชาติที่มีสัดส่วนสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 60 ของจำนวนผู้ป่วยต่างชาติทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในไทย
     
      กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่มีความต้องการเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทยโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคเฉพาะทางหรือโรคที่รักษายาก โดยนิยมเข้ามารักษาโรคหัวใจมากที่สุด รองลงมา คือ โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท รวมถึงการผ่าตัดแปลงเพศ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนผู้ป่วยต่างชาติทั้งหมด
     
      กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยแล้วเกิดเจ็บป่วย หรือ เกิดอุบัติเหตุ จึงได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของไทย มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ป่วยต่างชาติทั้งหมด
     
      ผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นถือเป็น ผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยเป็นสัดส่วนมากที่สุด โดยอยู่ที่ร้อยละ 15 ของจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา และเอเชียใต้ มีสัดส่วนร้อยละ 11 และร้อยละ 8 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภายหลังจากการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) หรือ JTEPA ทำให้เอื้อต่อการเข้ามาใช้บริการรักษาพยาบาลในไทยของผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น ทั้งในกลุ่มที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและกลุ่มที่เดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทยโดยตรง ขณะที่ สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนหลายรายสนับสนุนให้พนักงานของตนเข้าซื้อบริการด้านสุขภาพของโรงพยาบาลในต่างประเทศที่มีคุณภาพและมีค่าใช้จ่าย ต่ำกว่าโรงพยาบาลในประเทศของตน โดยหนึ่งในนั้นมีโรงพยาบาลเอกชนของไทยรวมอยู่ด้วย ส่งผลให้ ผู้ป่วยจากทั้ง 2 ประเทศนี้ยังมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก
     
      กลุ่มผู้ป่วยจากประเทศในแถบภูมิภาคตะวันออกกลาง ถือเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะหลังจากเกิดเหตุวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 นั้น ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกาได้มีมาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยจากประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเดิมเคยเข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศเหล่านั้นเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางเข้าไปในประเทศเหล่านั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้หันเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยมากขึ้น (โปรดติดตามอ่านต่อตอนที่ 2)

โรงพยาบาลเอกชนไทย.ทิศทางยังสดใส (จบ)

โดย ผู้จัดการออนไลน์
14 สิงหาคม 2550 09:30 น.


      ภาวะการแข่งขันยังคงมีความรุนแรง
      ในประเทศ.ชูจุดเด่นดึงดูดผู้บริโภค

      ภาวะการแข่งขันของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันกันในการขยายสาขาและปรับปรุงสถานประกอบการให้มีรูปแบบที่ทันสมัย สวยงาม และการปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการซึ่งเป็นจุดขายของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งยังมีการสร้างความแตกต่างในการให้บริการ โดยการเปิดให้บริการในรูปแบบศูนย์การแพทย์เฉพาะทางมากขึ้น ไม่ว่า จะเป็น ศูนย์โรคหัวใจ ศูนย์โรคทางสมอง และศูนย์โรคมะเร็ง
     
      นอกจากนั้นยังมีการขยายกิจการ ในรูปแบบของคลินิกและหน่วยบริการทางการแพทย์ โดยเปิดให้บริการตามสถาบันการศึกษา อาคารสำนักงาน และบริษัทต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการได้มากที่สุด ขณะที่ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ทั้งด้านการก่อสร้างอาคารสถานที่ ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนการจ้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญ จึงเกิดกระแสการควบรวมกิจการที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน พร้อมทั้งการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารกิจการในเครือโรงพยาบาลของตน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนและสร้างความแข่งแกร่งในการให้บริการ นอกเหนือจากการจัด โปรโมชั่นในรูปแบบ Package ราคาประหยัดกันมากขึ้น เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้ เข้ามาใช้บริการในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง ทั้งนี้ เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางการแข่งขันเชิงธุรกิจของตนไว้
      ต่างประเทศ.เร่งปรับตัวสู่ Medical Hub of Asia
     
      ปัจจุบัน ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยนั้น นอกจากจะต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ภายในประเทศแล้ว ยังต้องแข่งขันกับโรงพยาบาลในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งต่างพยายามกำหนดเป้าหมายและวางกรอบยุทธศาสตร์ในการผลักดันประเทศของตนให้เป็น Medical Hub of Asia เช่นเดียวกับไทย โดยเน้นการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานทั้งในด้านสถานพยาบาล บุคลากร รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและสามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น
     
      ทั้งนี้ มาเลเซีย ได้มีการลงทุนสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อรองรับผู้ป่วยชาวต่างชาติ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าระดับบนและกลุ่มทัวร์สุขภาพ เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยจากประเทศในแถบถูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศมุสลิมด้วยกัน ขณะที่ สิงคโปร์ ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจสำหรับการส่งเสริมบริการด้านด้านสุขภาพขึ้นมาโดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า Healthcare Service Working Group เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยชูจุดเด่นในด้านเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย แทนการแข่งขันด้านราคา พร้อมทั้งยังให้การสนับสนุนทั้งด้านการเงินและด้านวิชาการ อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยจะต้องเผชิญการแข่งขันกับธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทย ถือว่ายังมีความได้เปรียบคู่แข่ง ทั้งด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยและบุคลากรที่มีคุณภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ดังจะเห็นได้จากการที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลสากล (Joint Commission International หรือ JCI) เมื่อปี 2545 จากสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาลสากลนั้น ถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของไทยและของเอเชียที่ได้รับการรับรอง มาตรฐานดังกล่าว และยังได้รับการรับรองเป็นครั้งที่สองในเดือนเมษายน 2548 ขณะที่ โรงพยาบาล สมิติเวช เพิ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI ในช่วงที่ผ่านมา
     
      นอกจากนั้น ยังมี โรงพยาบาลเอกชนไทยรายอื่นๆที่มีแนวโน้มจะได้รับการรับรองมาตรฐานนี้เพิ่มขึ้นโรงพยาบาลเอกชนของไทยยังมีจุดเด่นในด้านค่าบริการและค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับของประเทศคู่แข่ง เฉพาะอย่างยิ่ง การผ่าตัดเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้น ยังมีบุคลากรที่มีความสุภาพอ่อนโยนในการให้บริการ ทำให้ผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการเกิด ความประทับใจ ประกอบกับการมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เหล่านี้ ล้วนเป็นจุดเด่นในการดึงดูดผู้ป่วยชาวต่างชาติให้เข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยมากขึ้น และยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ โรงพยาบาลเอกชนไทยอีกด้วย
     
      ปัจจัยลบบางประการ.... ส่งผลกระทบต่อการขยายตัว
      ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทย ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคบางประการ ซึ่งได้แก่
      * การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท
      การปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2549 แม้ว่าจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนยารักษาโรค รวมถึงการชำระหนี้ในรูปของเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ลดลง อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินของ มาเลเซีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ นั้น ได้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของไทยในมุมมองของผู้ป่วยชาวต่างชาติเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลต่อการ ตัดสินใจเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทย
     
      * ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร    
 ปัจจุบัน ไทยสามารถผลิตแพทย์ได้เพียงปีละ 1,300-1,400 คน โดยอัตราส่วนแพทย์ต่อจำนวน คนไข้ อยู่ที่ 1:3,600 คน ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยและยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนไข้ ประกอบกับการให้บริการของภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง โดยผ่าน โครงการประกันสุขภาพและการประกันสังคมนั้น ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการรักษาโรคเฉพาะทางและความสามารถทางด้านภาษา ทำให้เกิดการแย่งซื้อตัวบุคลากรทางการแพทย์ระหว่างโรงพยาบาลเอกชนกับโรงพยาบาลรัฐบาล และระหว่างโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเองด้วยการให้อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่การทำงานของแพทย์ก็หนักขึ้นเช่นกัน จนอาจส่งผลกระทบต่อมาตรฐานในการักษาพยาบาลได้
     
      * การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น
      การแข่งขันของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะแข่งขันกับ โรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเอง รวมทั้งโรงพยาบาลของรัฐแล้ว ยังต้องการแข่งขันกับโรงพยาบาลเอกชนใน ต่างประเทศ โดยเฉพาะคู่แข่งอย่าง สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งพยายามผลักดันประเทศของตนให้เป็น Medical Hub of Asia ในภูมิภาคนี้เช่นเดียวกับประเทศไทย
     
      แนวโน้มปี50.ทิศทางยังขยายตัว
      ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ในปี 2550 คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดประมาณ 55,000 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 10 จากปีที่แล้ว แม้ว่าต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และเหตุการณ์ความไม่ความสงบต่างๆที่เกิดขึ้นภายในประเทศ โดยครึ่งแรกของปี ส่งผลกระทบต่อการเข้ามาใช้บริการของผู้ป่วยภายในประเทศในช่วงสั้นๆเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะการเติบโตของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทย นอกจากจะมาจากการขยายตัวของผู้ป่วยในประเทศแล้วยังมาจากการขยายตัวของผู้ป่วยชาวต่างชาติ ซึ่งได้รับปัจจัยเกื้อหนุนการผลักดันให้ไทยเป็น Medical Hub of Asia ของภาครัฐ ประกอบกับการขยายตัวของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ส่งผลให้มีผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2550 คาดว่า จะมีชาวต่างชาติที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.55 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 10.7 จากปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม จากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนจึงต่างมีการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับการขยายสาขาไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการได้ มากที่สุด โดยเฉพาะ จังหวัดที่เป็นเขตชายแดนและจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่ยังมีศักยภาพในการขยายตัวสูง ทั้งนี้ นอกจากการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการแล้ว การก้าวไปสู่การเป็น Medical Hub of Asia ของไทยนั้น จำเป็นต้องมีความร่วมมือที่ดีระหว่างภาครัฐและเอกชนในการผลักดันนโยบายดังกล่าวอย่างจริงจัง พร้อมทั้งกำหนดบทบาทและหน้าที่ของทั้งภาครัฐ และเอกชนให้ชัดเจน การพัฒนาคุณภาพในการให้บริการและมาตรฐานของโรงพยาบาลไทย ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้ เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจและการแข่งขันที่จะ ทวีรุนแรงขึ้นในอนาคต
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000094781
Linsu_th
Verified User
โพสต์: 497
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มบริการทางการแพทย์

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ไทยเจ๋ง! ขึ้นแท่นอันดับ 1 "เมดิคัลฮับ" ของโลก โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 สิงหาคม 2550 19:11 น.
       นายแพทย์ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหาร ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางของการรักษาพยาบาล (เมดิคัลฮับ) โดยมียอดผู้เดินทางเข้ามารักษามากที่สุดในโลก เพราะมีความคุ้มค่ามากที่สุด รองลงมาคือ อินเดีย เยอรมนี และอังกฤษ ในขณะที่ประเทศไทยมีคู่แข่งในการให้บริการรักษาพยาบาลโดยจัดลำดับจากความคุ้มค่าคือ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม มองว่า เมดิคัลฮับ ไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน เพราะผู้ป่วยจะเคลื่อนย้ายไปรับการรักษาพยาบาลในแหล่งที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งประเทศไทยจะยังคงมีผู้ป่วยเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะมีบริการที่ได้มาตรฐานสากลแล้ว ยังมีความเป็นไทย ที่ทำให้ประเทศไทยมีแต้มต่อในการให้บริการผู้ป่วย
       สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันออกกลาง เพราะการจะเดินทางไปรักษาในประเทศชาติตะวันตกก็ไม่ได้รับการต้อนรับ จึงหันมาที่ประเทศไทย ซึ่งมีความรู้สึกว่าคนไทยมีอัธยาศัยที่ดีต่อชาวตะวันออกกลางเมื่อเทียบกับชาติอื่น ทั้งนี้ หากพิจารณาจากความคุ้มค่าในการใช้บริการรักษาพยาบาลจะพบว่า ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลในไทย มีค่าใช้จ่ายคิดเป็น 2 ใน 3 ของค่ารักษาพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ และมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการเดินทางไปรักษาที่สหภาพยุโรป ร้อยละ 50 และมีค่าใช้จ่ายในไทยคิดเป็น 1 ใน 10 ของค่าใช้จ่ายที่สหรัฐอเมริกา ส่วนสาเหตุที่คนสหรัฐฯ และอังกฤษ ไม่ค่อยเดินทางออกไปใช้บริการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ เนื่องจากมีกำลังจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ แต่ก็มีบางส่วนที่รอคิวไม่ไหว เดินทางออกมาใช้บริการนอกประเทศเช่นกัน
       อีกทั้งในช่วงโลกเข้าสู่ยุคไร้พรมแดน เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเดินทางสะดวก ผู้คนสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้บริการรักษายาบาลในแหล่งที่เห็นว่าคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งนี้ ประเทศไทย รัฐบาลควรพิจารณาให้โรงพยาบาลของไทยพร้อมที่จะให้บริการรักษาเบื้องต้นแก่ชาวต่างชาติได้ทั้งหมด เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และหากอาการหนัก ก็จัดให้มีระบบส่งต่อผู้ป่วยที่เหมาะสม โดยศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ลงทุนวงเงิน 500 ล้านบาท เพื่อจัดให้มีบริการเฮลิคอปเตอร์รับส่งผู้ป่วย สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และนับเป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวที่ให้บริการนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มให้บริการ 1 ตุลาคมนี้
 :roll:  :roll:
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news30/08/07

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ลุยการตลาดโรงพยาบาล Marketing for Hospitals [ ฉบับที่ 822 ประจำวันที่ 25-8-2007 ถึง 28-8-2007]  
จากบทรับเปลี่ยนเป็นบทรุกซะแล้ว สนุกสนานกันไม่แพ้ธุรกิจอุตสาหกรรมธนาคาร หรืออุตสาหกรรมประกันชีวิต หลายท่านคงสังเกตเห็นว่าระยะนี้โรงพยาบาลต่างๆ จะแอ็กทีฟเรื่องการตลาดกันมาก เห็นได้จากโฆษณาที่เริ่มมีในสื่อโทรทัศน์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เมื่อ 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา หรือ ของโรงพยาบาลกรุงเทพฯ เรื่อง โรคมะเร็งเมื่อหลายเดือนก่อน ผู้แหวกกฏนี้จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากโรงพยาบาลแห่ง ความสวยความงามยันฮีย่านจรัญสนิทวงศ์นั่นเอง

เม็ดเงินของมูลค่าตลาดนี้ที่มีราวๆ กว่าแสนล้านบาทคงเป็นคำตอบที่ชัดที่สุดถึงความพยายามที่จะชิงความเป็นหนึ่งในตลาดนี้

40% คือส่วนแบ่งการตลาดด้านมูลค่าของผู้นำจ่าฝูงคือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตามมาห่างๆ คือเครือโรงพยาบาลกรุงเทพฯ อยู่ที่ประมาณ 20% (มีทั้งโรงพยาบาลกรุงเทพฯเอง, โรงพยาบาลสมิติเวช, และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช รวมอยู่ในนี้ด้วย) ที่เหลือก็เป็นของโรงพยาบาลอื่นๆ ในตัวเลข 1 หลักของส่วนแบ่ง การตลาด นี่รวมทั้งโรงพยาบาลของรัฐบาลด้วย (แต่ต้องขอบอกว่าหากนับสัดส่วนการตลาดเป็น จำนวนรายของคนไข้ อาจต้องลำดับตำแหน่งกันใหม่ เพราะคนไข้ของรัฐมีจำนวนสูงในอัตราค่ารักษาที่ต่ำมาก)

เมื่อกลับไปวิเคราะห์ใกล้ๆ อีกนิด พบว่า มูลค่าตลาดแสนล้านนั่น เป็นตลาดที่คนไทยมารักษาอยู่ในสัดส่วน 2 ใน 3 และที่เหลือ 1 ใน 3 คือคนไข้ต่างชาติที่ทยอยกันเข้ามารับการรักษาเพราะคุณภาพที่ทัดเทียมและราคาที่ถูกกว่าเกือบครึ่ง ภาครัฐเคยฝันไว้ว่าจะผลักดันให้ไทยเราเป็นศุนย์การรักษาโรคแห่งเอเชีย (Medical Hub of Asia) แล้วจู่ๆ ก็เงียบไปซะเฉยๆ ปล่อยให้รัฐบาลสิงคโปร์ มาเลเซียคู่ปรับเก่า หรือแม้แต่อินเดียเองมาแข่งกันโปรโมต ผ่านสื่อระดับทวีปกันในเวลานี้ และตัดเชือกปล่อยให้โรงพยาบาลเอกชนไทยไปหาช่องทางลุยกันเอง

วันนี้คงยังไม่พูดถึงการหากลยุทธ์มาแข่งขันในระดับทวีปเพราะไม่น่าจะมีประโยชน์กับโรงพยาบาลหมู่มาก ขอพูดเฉพาะส่วน 2 ใน 3 ของตลาดผู้มารักษาชาวไทยเราเองหรือที่มีมูลค่าประมาณ 7 หมื่นล้านบาทจะดีกว่า มาลองวิเคราะห์กันว่ามีกลยุทธ์การตลาดอะไรที่น่าสนใจทำเพื่อขอแบ่งเค้กชิ้นนี้ให้ได้

กลยุทธ์การตลาดโรงพยาบาลไม่หนี 6 ข้อนี้อย่างแน่นอน

1.กลยุทธ์การสร้าง ตัวตน (Position ing) ของแบรนด์โรงพยาบาลของคุณ

2.กลยุทธ์ระบบปฏิบัติการณ์ภายใน (Internal Operations) ที่เยี่ยมยอด

3.กลยุทธ์การสร้างการรับรู้ (Awareness) ให้เป็นที่รู้จัก

4.กลยุทธ์ดึงดูดใจให้ลูกค้ามาใช้บริการต่อเนื่อง (Loyal User Strategy)

5.กลยุทธ์การศึกษาถึงกฎข้อห้ามที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ที่กระทรวงสาธารณสุขมีต่อธุรกิจเรา

6.กลยุทธ์ขายบริการเพื่อดูแลสุขภาพให้กับคนต่างชาติ (Health Destiny)


ข้อแรก เป็นหัวสำคัญทุกครั้งอยู่แล้วที่ทุกคนต้องทำเมื่อริจะทำการตลาด นั่นคือ กลยุทธ์การสร้าง ตัวตน ของแบรนด์โรงพยาบาลของคุณ (Positioning) ได้พูดแล้วในหลายหัวข้อในเรื่องนี้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ เราจะต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวใจของผู้บริโภคแม้ในธุรกิจโรงพยาบาล ถ้ายกตัวอย่างธุรกิจร้านกาแฟจะพบว่าค่อนข้างชัดเจนทีเดียว เจ้าพ่อกาแฟสตาร์บัคขอเป็นแบรนด์ที่ สร้างประสบการณ์ดีๆ และสร้างอารมณ์ดีๆ ในการกินกาแฟ, ในขณะที่กาแฟดอยตุงคือ แบรนด์ที่ช่วยชาวเขาไม่ให้ไปปลูกฝิ่นและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น, กาแฟแบล็คแคนยอนคือแบรนด์ ที่ มีกาแฟที่อร่อยที่สุดด้วยคุณภาพกาแฟที่สดใหม่เสมอ

จะเห็นได้ว่าแต่ละจุดยืนหรือตัวตนที่ว่าต่างน่าสนใจทั้งสิ้น แต่ละข้อก็จะถูกใจผู้บริโภคไม่เหมือนกัน ซาบซึ้งคนละแบบ ตรงนี้ขอบอกว่าอย่าเพิ่งไปสนใจว่าอันไหนดีกว่า ขอให้มีตัวตนให้ชัดเจนไว้ดีกว่าไม่มี กลับไปที่โรงพยาบาล กันบ้างโรงพยาบาลที่มีจุดยืนชัดเจนตอนนี้คือร.พ.ยันฮี คือแบรนด์ที่บริการความสวยความงามครบวงจร แต่อะไรคือร.พ.บำรุงราษฎร์? อะไรคือร.พ.เกษมราษฎร์? อะไรคือร.พ.กรุงเทพฯ ยังไม่มีจุดยืนชัดเจน ทางเลือกของจุดยืนอื่นๆ ที่มีคือ โรงพยาบาลแห่งชุมชนของคุณ, โรงพยาบาลที่มีแต่แพทย์เฉพาะทาง (อาจไม่จำเป็นต้องครบทุกด้าน) ก็ได้, หรือเลือกเอาบริการสักด้านที่คาดว่ามีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล ที่ดีที่สุดสำหรับแม่และเด็กที่สมบูรณ์แบบที่สุด, หรือจับจุดที่การบริการ เช่น โรงพยา บาลที่มีการบริการที่อบอุ่นและรวดเร็วที่สุด ฯลฯ แต่ละข้อที่ยกตัวอย่างมาหลายท่านอาจบอกว่าไม่เห็นแปลกใหม่ ทำมาแล้วทั้งนั้น แต่วันนี้ต้องบอกว่าเชื่อว่าเคยคิดเคยทำและก็ทำมากไปด้วย ทำหลายๆ อย่างมากไปเลยไม่รู้ว่าอะไรเป็นตัวตน ต้องเลือกเพียงหนึ่งข้อ และทำ ตามนั้นให้ดีที่สุด ให้คนรับรู้ว่าเราเป็นอย่างนั้นจริง เมื่อเลือกจุดยืนใดตัวตนใด ก็ทำตามนั้น เช่น ยกตัวอย่างว่าโรงพยาบาลเมโย (อยู่ปากทางเสนานิคม แยกเกษตร) เลือกจุดยืนว่า เป็น แบรนด์ โรงพยาบาลแห่งชุมชนของคุณ

เมื่อปฏิบัติการทางการตลาดก็ต้องอยู่แถวๆ เรื่องนี้หมด เช่น จับประวัติลูกค้าเป็นแต่ละบ้านแต่ละครอบครัว ต้องรู้หมดว่าครอบ ครัวใดป่วยเรื่องใดบ่อย มีกี่คนในบ้าน หาทางที่ให้หมอคนเดิมตรวจคนในบ้านเดียวกันเป็น หมอของครอบครัว Family Doctor, ทำบัตรรักษาเป็นครอบครัว, มีโปรโมชั่นพิเศษถ้าคนในครอบครัวกี่คนมารักษา ฯลฯ ทำไปทำมาเช่นนี้อยู่เป็นเดือนเป็นปี ถามถึงโรงพยาบาลเมโยคนแถวนั้นต้องรู้เป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งชุมชนของครอบครัวจริงๆ จริงอยู่ถ้าป่วยหนักๆ อาจไปที่อื่นแต่ตามปกติคนเราจะป่วยเบาๆ ได้บ่อยและมีการใช้เงินเยอะกว่าป่วยหนักด้วยซ้ำ

ข้อที่สอง สำคัญไม่แพ้กันคือการมีระบบปฏิบัติการภายใน (Internal Operations) ที่เยี่ยมยอด ธุรกิจบริการต้องไม่พลาดในข้อนี้ เรื่องพวกนี้เป็น A Must คือขาดไม่ได้ เป็นสิ่งที่ต้องมีแน่ๆ ในธุรกิจบริการ ไม่ใช่เรื่องที่จะมานั่งคิดว่าทำดีมั้ยหรือเอามาเป็นจุดยืนดีมั้ย ต่อรองไม่ได้ การพัฒนาระบบภายในให้ดีพูดง่ายแต่มีคนทำเป็นจริงน้อยมาก ได้มีโอกาสฟังคนเก่งของร้านยอดฮิต เอ็มเค สุกี้คือคุณฤทธ์ ธีระโกเมน พูดเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า หัวใจในการดูแลการปฏิบัติการภายในเอ็มเคมี 4 อย่างคือ QCQS นั่นคือ Quick (การบริการที่เร็ว), Cleanliness (สะอาด), Quality (คุณภาพอาหารที่ดี), Service (บริการที่ดี)

เมื่อมาประยุกต์ใช้จากกลยุทธ์ของเอ็ม เคกับธุรกิจโรงพยาบาลในเรื่องนี้ก็ขโมยมาใช้ได้ทุกข้อ คุณฤทธ์ ได้เขียนมาตรฐานของเรื่อง QCQS ไว้อย่างละเอียดในมาตรฐานปฏิบัติการภายใน (SOPStandard Operating Procedures) เช่นว่า Quick หมายถึงต้องทำอะไรบ้าง ลูกค้าเดินเข้ามาต้องทำอะไรขั้นที่ 1 ถึง 5 จนถึงได้รับอาหารและเริ่มกิน, Cleanliness หมายถึงอะไร ฯลฯ

ข้อที่สาม เมื่อทำข้อ 1 และ 2 ดีแล้วก็ต้องตะโกนดังๆ ให้คนรู้ คือกลยุทธ์การสร้างการรับรู้ (Awareness) ให้เป็นที่รู้จักให้ตรงกลุ่มเป้าหมายด้วย และขอย้ำว่าไม่จำเป็นต้องใช้สื่อแพงสื่อใหญ่

ข้อที่สี่ คือคือกลยุทธ์ดึงดูดใจให้ลูกค้ามาใช้บริการต่อเนื่อง (Loyal User Strategy) ไม่ขาดหาย ป่วยเมื่อไหร่หรือแม้ไม่ป่วยก็มีแค่โรงพยาบาลเราในใจเท่านั้นไม่คิดนอกใจไปที่อื่น ไม่ใช่เลี้ยงไข้ แต่ให้รักและไว้ใจเราเต็มที่ เช่นการทำสะสมคะแนน การดูแลแบบครอบครัว การทำบัตรเก็บข้อมูลย้อนหลังและให้หมอ (ทำเป็น) ดึงมาดูบ่อยๆ ทุกครั้งที่ไปรักษาเพื่อคนไข้จะได้ไม่อยากไปที่อื่นที่ไม่มีประวัติของ ตัวเอง

ข้อที่ห้า คือการศึกษาถึงกฎข้อห้ามที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ที่กระทรวงสาธารณสุขมีต่อธุรกิจเรา เมื่อเข้าใจแล้วจะได้ปฏิบัติได้ตามจุดนั้นๆ อยากคนเข้าใจ ไม่ใช่เข้าใจเพียงผิวเผินและกลัวจนลนลานไม่กล้าพูดกล้าโฆษณาอะไรไปซะหมด

ข้อที่หก กลยุทธ์ข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่จำเป็นที่สุด โดยเฉพาะกับมือใหม่หัดขับ คือกลยุทธ์ขายบริการเพื่อดูแลสุขภาพให้กับคนต่างชาติ อย่างที่บอกไว้แล้วว่า ตลาดนี้ใหญ่มาก ประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท อย่ามองข้ามเด็ดขาด การเปิดแผนกนี้โดยเฉพาะและถ้าทำให้โตได้ สิ่งที่จะช่วยมากที่สุดคือช่วยแชร์ค่าใช้จ่าย (Fixed Cost) ของแผนกอี่นๆ โดยใช้ค่าประชาสัมพันธ์ไม่มากนัก
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5880
โพสต์โพสต์