ภาพรวมเศรษฐกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพรวมเศรษฐกิจ
โพสต์ที่ 1
สศค.: ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2550 (ณ เดือนพฤษภาคม 2550)
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Tuesday, May 29, 2007
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้แถลงข่าวรายงานประมาณการเศรษฐกิจ ณ เดือนพฤษภาคม 2550 ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 3.8-4.3 ต่อปี) ชะลอลงจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยขยายตัวลดลงจากปีก่อนไม่มากนัก สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2550 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP คาดว่าจะเกินดุลเพิ่มมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ในปี 2550 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5-5.5) เพิ่มขึ้นจากที่เกินดุลร้อยละ 1.5 ในปี 2549 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.0 ต่อปี) ลดลงจากร้อยละ 4.7 ต่อปี ในปีก่อน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.8-4.3 ต่อปี) โดย สศค. คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนในปี 2550 จะขยายตัวลดลงจากร้อยละ 3.1 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.8-2.8 ต่อปี)
ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในปี 2550 คาดว่าจะชะลอการขยายตัวลงจากร้อยละ 3.9 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.3-0.7 ต่อปี) เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงมาก นอกจากนั้น ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ความไม่สงบต่างๆ เช่น ปัจจัยทางการเมือง ความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ และความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงที่เหลือของปี อาจส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนภาคภาคเอกชนฟื้นตัวช้ากว่าเดิม
ในด้านการใช้จ่ายภาครัฐ สศค. คาดว่าการบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในปี 2550 จะเร่งตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 10.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 8.8-12.8 ต่อปี) เนื่องจากนโยบายการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลและการปรับปรุงกรอบวงเงินรายจ่ายประจำของงบประมาณปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก 1,191.5 พันล้านบาท เป็น 1,246.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 4.5 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.2-4.2 ต่อปี) ซึ่งสอดคล้องกับการปรับปรุงกรอบวงเงินรายจ่ายลงทุนของงบประมาณปี 2550 ลดลงจาก 374.7 พันล้านบาท เป็น 319.6 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 93 ของกรอบวงเงินงบประมาณปี 2550 และเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 85 ของกรอบงบประมาณลงทุน จะสามารถช่วยผลักดันให้การบริโภคและการลงทุนภาครัฐดังกล่าวมีโอกาสขยายตัวได้ในระดับสูงของช่วงคาดการณ์
ในด้านอุปสงค์จากภายนอกประเทศสุทธิ สศค. คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2550 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวจากปีก่อนเล็กน้อย ตามการชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าและแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.1 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 7.6-8.6 ต่อปี) ลดลงเล็กน้อยจากปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี
ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.7-5.7 ต่อปี) เนื่องจากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าและบริการลดลง ประกอบกับฐานการนำเข้าในปีก่อนที่อยู่ในระดับต่ำผิดปกติ จากการที่ผู้ผลิตหันมาใช้สินค้าคงคลังแทนการนำเข้าเพื่อผลิตสินค้า ดังนั้น ในปี 2550 นี้ คาดว่าผู้ผลิตจะต้องนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการผลิตและทดแทนสินค้าคงคลังที่ได้ปรับลดไปมากแล้วในปีก่อน
2. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศในปี 2550 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ในปี 2550 จะเกินดุลประมาณร้อยละ 4.9 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5-5.5) เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่เกินดุลร้อยละ 1.5 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงขึ้นมาจากการเกินดุลการค้าที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นมาก ตามมูลค่าส่งออกสินค้าในปี 2550 ที่คาดว่าจะขยายตัวสูงกว่ามูลค่านำเข้าสินค้าค่อนข้างมาก ทั้งนี้ สศค. คาดว่า มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2550 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 13.7 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 13.2-14.2 ต่อปี) แต่มูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 8.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 7.8-8.8 ต่อปี)
สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศในปี 2550 นั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.0 ต่อปี) ลดลงจากร้อยละ 4.7 ต่อปี ในปี 2549 โดยมีสาเหตุหลักมาจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานจากราคาน้ำมันดิบที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ในขณะเดียวกันการชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศจะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์ด้วยอีกทางหนึ่ง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง www.fpo.go.th
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Tuesday, May 29, 2007
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้แถลงข่าวรายงานประมาณการเศรษฐกิจ ณ เดือนพฤษภาคม 2550 ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 3.8-4.3 ต่อปี) ชะลอลงจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยขยายตัวลดลงจากปีก่อนไม่มากนัก สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2550 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP คาดว่าจะเกินดุลเพิ่มมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ในปี 2550 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5-5.5) เพิ่มขึ้นจากที่เกินดุลร้อยละ 1.5 ในปี 2549 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.0 ต่อปี) ลดลงจากร้อยละ 4.7 ต่อปี ในปีก่อน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.8-4.3 ต่อปี) โดย สศค. คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนในปี 2550 จะขยายตัวลดลงจากร้อยละ 3.1 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.8-2.8 ต่อปี)
ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในปี 2550 คาดว่าจะชะลอการขยายตัวลงจากร้อยละ 3.9 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.3-0.7 ต่อปี) เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงมาก นอกจากนั้น ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ความไม่สงบต่างๆ เช่น ปัจจัยทางการเมือง ความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ และความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงที่เหลือของปี อาจส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนภาคภาคเอกชนฟื้นตัวช้ากว่าเดิม
ในด้านการใช้จ่ายภาครัฐ สศค. คาดว่าการบริโภคภาครัฐที่แท้จริงในปี 2550 จะเร่งตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 10.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 8.8-12.8 ต่อปี) เนื่องจากนโยบายการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลและการปรับปรุงกรอบวงเงินรายจ่ายประจำของงบประมาณปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก 1,191.5 พันล้านบาท เป็น 1,246.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ การลงทุนภาครัฐที่แท้จริงในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 4.5 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.2-4.2 ต่อปี) ซึ่งสอดคล้องกับการปรับปรุงกรอบวงเงินรายจ่ายลงทุนของงบประมาณปี 2550 ลดลงจาก 374.7 พันล้านบาท เป็น 319.6 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 93 ของกรอบวงเงินงบประมาณปี 2550 และเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 85 ของกรอบงบประมาณลงทุน จะสามารถช่วยผลักดันให้การบริโภคและการลงทุนภาครัฐดังกล่าวมีโอกาสขยายตัวได้ในระดับสูงของช่วงคาดการณ์
ในด้านอุปสงค์จากภายนอกประเทศสุทธิ สศค. คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2550 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวจากปีก่อนเล็กน้อย ตามการชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าและแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.1 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 7.6-8.6 ต่อปี) ลดลงเล็กน้อยจากปี 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี
ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ต่อปี ในปี 2549 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.7-5.7 ต่อปี) เนื่องจากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าและบริการลดลง ประกอบกับฐานการนำเข้าในปีก่อนที่อยู่ในระดับต่ำผิดปกติ จากการที่ผู้ผลิตหันมาใช้สินค้าคงคลังแทนการนำเข้าเพื่อผลิตสินค้า ดังนั้น ในปี 2550 นี้ คาดว่าผู้ผลิตจะต้องนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการผลิตและทดแทนสินค้าคงคลังที่ได้ปรับลดไปมากแล้วในปีก่อน
2. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศในปี 2550 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ในปี 2550 จะเกินดุลประมาณร้อยละ 4.9 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5-5.5) เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่เกินดุลร้อยละ 1.5 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงขึ้นมาจากการเกินดุลการค้าที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นมาก ตามมูลค่าส่งออกสินค้าในปี 2550 ที่คาดว่าจะขยายตัวสูงกว่ามูลค่านำเข้าสินค้าค่อนข้างมาก ทั้งนี้ สศค. คาดว่า มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2550 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 13.7 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 13.2-14.2 ต่อปี) แต่มูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 8.3 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 7.8-8.8 ต่อปี)
สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศในปี 2550 นั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5-3.0 ต่อปี) ลดลงจากร้อยละ 4.7 ต่อปี ในปี 2549 โดยมีสาเหตุหลักมาจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานจากราคาน้ำมันดิบที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ในขณะเดียวกันการชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศจะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อทางด้านอุปสงค์ด้วยอีกทางหนึ่ง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง www.fpo.go.th
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/06/07
โพสต์ที่ 2
ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงิน"
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงิน"ว่า จากสถานการณ์การเมืองที่คลี่คลายดีขึ้น จึงเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง โดยทุกฝ่ายยังรอความชัดเจนในการเลือกตั้ง และการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้ และเชื่อว่าในปี" 51 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะปรับขึ้นอยู่ที่ 4.3-5.8%
"ช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจ รัฐบาลและเอกชนต้องช่วยกันประคับประคอง สิ่งที่ยังขาดอยู่ในขณะนี้คือในเรื่องการใช้จ่ายที่ชะลอ และการลงทุนภาคเอกชนที่แย่ ถ้าสองปัจจัยนี้ดีขึ้น จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีไปด้วย" นางธาริษา กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงจากการสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศในเรื่องผลกระทบเศรษฐกิจว่า ภาคธุรกิจมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในทิศทางดีขึ้น หากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลดลง คาดว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในช่วงกลางไตรมาสที่ 3 ในปีนี้ โดยภาคธุรกิจต้องการให้รัฐบาลแก้ไขด่วนที่สุดคือปัญหาหาการเมือง 30.2%
"ผู้ประกอบการมองว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มเกิดอาการหยุดทรุด ปีนี้จะขยายตัวในกรอบ 3.5-4.5% ซึ่งศูนย์พยากรณ์ฯจะปรับประมาณการตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้งในเดือนก.ค.นี้" นายธนวรรธน์กล่าว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงิน"ว่า จากสถานการณ์การเมืองที่คลี่คลายดีขึ้น จึงเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง โดยทุกฝ่ายยังรอความชัดเจนในการเลือกตั้ง และการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้ และเชื่อว่าในปี" 51 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะปรับขึ้นอยู่ที่ 4.3-5.8%
"ช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจ รัฐบาลและเอกชนต้องช่วยกันประคับประคอง สิ่งที่ยังขาดอยู่ในขณะนี้คือในเรื่องการใช้จ่ายที่ชะลอ และการลงทุนภาคเอกชนที่แย่ ถ้าสองปัจจัยนี้ดีขึ้น จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีไปด้วย" นางธาริษา กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงจากการสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศในเรื่องผลกระทบเศรษฐกิจว่า ภาคธุรกิจมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในทิศทางดีขึ้น หากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลดลง คาดว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในช่วงกลางไตรมาสที่ 3 ในปีนี้ โดยภาคธุรกิจต้องการให้รัฐบาลแก้ไขด่วนที่สุดคือปัญหาหาการเมือง 30.2%
"ผู้ประกอบการมองว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มเกิดอาการหยุดทรุด ปีนี้จะขยายตัวในกรอบ 3.5-4.5% ซึ่งศูนย์พยากรณ์ฯจะปรับประมาณการตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้งในเดือนก.ค.นี้" นายธนวรรธน์กล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/06/07
โพสต์ที่ 3
เบิกจ่ายงบฯเฉื่อยชี้ 8 เดือนยอด 75%
นายมนัส แจ่มเวหา โฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 50 (ต.ค.49-พ.ค.50) ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เบิกจ่ายเงินไปแล้ว 906,609 ล้านบาท หรือ 57.89% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด แต่ยังต่ำกว่าปีก่อน 1.74% แบ่ง เป็นรายจ่ายประจำ 744,787 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 161,822 ล้านบาท ขณะที่เดือนพ.ค.50 นั้นสามารถเบิกจ่ายได้ 131,312 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 2.34% โดยองค์กรอิสระ เป็นหน่วยงานที่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้สูงสุดถึง 79.65% ของงบประมาณที่ได้รับรองลงมาคือศึกษาธิการ เบิกจ่ายได้ 65.53% และต่างประเทศ เบิกจ่ายได้ 64.61%
ส่วนโครงการที่ได้รับงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท ที่เบิกจ่ายได้สูงสุดได้แก่ โครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย, โครงการบ้านเอื้ออาทรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณะ และโครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องทางจราจร (ระยะที่ 2) ที่เบิกจ่ายได้
http://www.dailynews.co.th/web/html/pop ... Template=1
นายมนัส แจ่มเวหา โฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 50 (ต.ค.49-พ.ค.50) ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เบิกจ่ายเงินไปแล้ว 906,609 ล้านบาท หรือ 57.89% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด แต่ยังต่ำกว่าปีก่อน 1.74% แบ่ง เป็นรายจ่ายประจำ 744,787 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 161,822 ล้านบาท ขณะที่เดือนพ.ค.50 นั้นสามารถเบิกจ่ายได้ 131,312 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 2.34% โดยองค์กรอิสระ เป็นหน่วยงานที่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้สูงสุดถึง 79.65% ของงบประมาณที่ได้รับรองลงมาคือศึกษาธิการ เบิกจ่ายได้ 65.53% และต่างประเทศ เบิกจ่ายได้ 64.61%
ส่วนโครงการที่ได้รับงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท ที่เบิกจ่ายได้สูงสุดได้แก่ โครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย, โครงการบ้านเอื้ออาทรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณะ และโครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องทางจราจร (ระยะที่ 2) ที่เบิกจ่ายได้
http://www.dailynews.co.th/web/html/pop ... Template=1
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/06/07
โพสต์ที่ 4
พาณิชย์ผวาส่งออกสะดุดยันเป้า 12.5%
จับตาการเมือง-น้ำมัน-ค่าบาท
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ไม่มีนโยบายปรับเป้าหมายการส่งออกปี 50 ที่ตั้งเป้าขยายตัว 12.5% หรือมูลค่า 145,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้ 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) จะมีอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าเป้าหมายมาก เนื่องจากต่อไปยังมีปัจจัยที่อาจผันผวน เช่น ค่าเงินบาทแข็งค่า ราคาน้ำมันสูง สถานการณ์บ้านเมือง แต่อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ(ทูตพาณิชย์) เน้นความสำคัญและผลักดันในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจไทยในต่างประเทศให้เป็นนานาชาติ แข่งขันได้ ร่วมมือจัดส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
ภายในประเทศก็กำลังทำความเข้าใจกับ 15,000 บริษัท ให้เห็นความสำคัญของการธุรกิจในต่างประเทศ โดยมีตราสินค้าของตนเอง และรักษาคุณภาพสินค้า ซึ่งการดึงธุรกิจไปต่างประเทศจะเป็นส่วนสำคัญต่อความยั่งยืนในการขยายตัวของการส่งออก ซึ่งตอนนี้ยอมรับว่า ธุรกิจไทยที่โดดเด่นและแข็งขันได้ดีกับนานาประเทศมีน้อย ที่ขึ้นอยู่กับกรมฯมีเพียง 170 บริษัท แต่บริษัทเหล่านี้จะเป็นต้นแบบของธุรกิจรายใหม่ที่กำลังคิดจะไปต่างประเทศ
http://www.dailynews.co.th/web/html/pop ... Template=1
จับตาการเมือง-น้ำมัน-ค่าบาท
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ไม่มีนโยบายปรับเป้าหมายการส่งออกปี 50 ที่ตั้งเป้าขยายตัว 12.5% หรือมูลค่า 145,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้ 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) จะมีอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าเป้าหมายมาก เนื่องจากต่อไปยังมีปัจจัยที่อาจผันผวน เช่น ค่าเงินบาทแข็งค่า ราคาน้ำมันสูง สถานการณ์บ้านเมือง แต่อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ(ทูตพาณิชย์) เน้นความสำคัญและผลักดันในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจไทยในต่างประเทศให้เป็นนานาชาติ แข่งขันได้ ร่วมมือจัดส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
ภายในประเทศก็กำลังทำความเข้าใจกับ 15,000 บริษัท ให้เห็นความสำคัญของการธุรกิจในต่างประเทศ โดยมีตราสินค้าของตนเอง และรักษาคุณภาพสินค้า ซึ่งการดึงธุรกิจไปต่างประเทศจะเป็นส่วนสำคัญต่อความยั่งยืนในการขยายตัวของการส่งออก ซึ่งตอนนี้ยอมรับว่า ธุรกิจไทยที่โดดเด่นและแข็งขันได้ดีกับนานาประเทศมีน้อย ที่ขึ้นอยู่กับกรมฯมีเพียง 170 บริษัท แต่บริษัทเหล่านี้จะเป็นต้นแบบของธุรกิจรายใหม่ที่กำลังคิดจะไปต่างประเทศ
http://www.dailynews.co.th/web/html/pop ... Template=1
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/06/07
โพสต์ที่ 5
รัฐจัดเก็บรายได้8เดือนห่างเป้า535ล.
ดร. สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึง ผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 - พฤษภาคม 2550) ใกล้เคียงกับประมาณการโดยต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเพียง 535 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 30,849 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 941,246 ล้านบาท ซึ่งการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ มาจากสาเหตุหลักคือการจัดเก็บภาษีจากกรมสรรพากรที่ต่ำกว่าประมาณการ
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่จัดเก็บได้ใกล้เคียงกับประมาณการ (ต่ำกว่าประมาณการเพียง 535 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1) ประกอบกับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือ คาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) ไม่เกินร้อยละ 2.0 ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมหลัก ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 722,383 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,576 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.1) ภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 13,374 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 เนื่องจากการบริโภคที่ชะลอตัวลง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ในขณะเดียวกันภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,813 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 เนื่องจากการยื่นภาษีจากกำไรสุทธิสำหรับรอบปีบัญชี 2549 ต่ำกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ดีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,992 และ 2,639 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 และ 5.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.8 และ 12.1 ตามลำดับ)
http://www.thannews.th.com/view_newstod ... d=50004484
ดร. สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึง ผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 - พฤษภาคม 2550) ใกล้เคียงกับประมาณการโดยต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเพียง 535 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 30,849 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 941,246 ล้านบาท ซึ่งการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ มาจากสาเหตุหลักคือการจัดเก็บภาษีจากกรมสรรพากรที่ต่ำกว่าประมาณการ
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่จัดเก็บได้ใกล้เคียงกับประมาณการ (ต่ำกว่าประมาณการเพียง 535 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1) ประกอบกับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือ คาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) ไม่เกินร้อยละ 2.0 ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมหลัก ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 722,383 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,576 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.1) ภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 13,374 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 เนื่องจากการบริโภคที่ชะลอตัวลง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ในขณะเดียวกันภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,813 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 เนื่องจากการยื่นภาษีจากกำไรสุทธิสำหรับรอบปีบัญชี 2549 ต่ำกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ดีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,992 และ 2,639 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 และ 5.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.8 และ 12.1 ตามลำดับ)
http://www.thannews.th.com/view_newstod ... d=50004484
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/06/07
โพสต์ที่ 6
โฆสิตย้ำศก.ไทยแข็งแกร่ง [ ฉบับที่ 800 ประจำวันที่ 9-6-2007 ถึง 12-6-2007]
> รับมือน้ำมันแพงบาทแข็งได้สบาย
ทำเนียบรัฐบาล โฆสิต มั่นใจเศรษฐกิจไทยยังแกร่งทั่วแผ่น ย้ำปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ 4% เป็นการ กระตุ้นการบริโภค อีกทั้งเงินเดือนเดิมต่ำเกินไป ไม่วิตก ราคาน้ำมันแพง เงินบาทแข็ง เชื่อรับมือไหว มองรัฐบาล หน้า ถูกหวย ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว จากพื้นฐานที่รัฐ บาลชุดนี้วางไว้ ด้าน กรพจน์ อัศวินวิจิตร เด้งรับนโยบายรัฐเต็มที่ ปล่อยกู้รายย่อยช่วยกระตุ้นค่าใช้จ่าย เผยวันที่ 9 มิ.ย. แบงก์เฉพาะกิจของรัฐ เตรียมขึ้นเขียง เข้าพบ ฉลอง ภพ แจงรายละเอียดของทุกแบงก์ตามนโยบายรัฐบาล
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐ มนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จังหวะก้าวในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ยังเป็นไปตามที่รัฐบาลออกแบบไว้ และอยู่ในกรอบที่จะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวได้ในระดับ 4% ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ปรับตัวขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา เป็นเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่ และสามารถลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยน แปลงได้รวดเร็ว ดังนั้น เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวขึ้นมามากแล้ว ก็อาจจะมีการปรับฐานได้
ส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับเพิ่ม อัตราเงินเดือนให้ข้าราชการ 4% ในปีงบ ประมาณ 2551 ซึ่งต้องใช้งบประมาณเพิ่มกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันอัตราเงินเดือนของข้าราชการอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งรัฐบาลเห็นสมควรว่าต้องการปรับเพิ่มให้ แต่หากพิจารณา ในแง่เศรษฐกิจแล้ว จะส่งผลดีต่อการบริโภค และเป็นแนวทางที่รัฐบาลให้การสนับสนุน เพราะเป็นการบริโภคที่มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4030
> รับมือน้ำมันแพงบาทแข็งได้สบาย
ทำเนียบรัฐบาล โฆสิต มั่นใจเศรษฐกิจไทยยังแกร่งทั่วแผ่น ย้ำปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ 4% เป็นการ กระตุ้นการบริโภค อีกทั้งเงินเดือนเดิมต่ำเกินไป ไม่วิตก ราคาน้ำมันแพง เงินบาทแข็ง เชื่อรับมือไหว มองรัฐบาล หน้า ถูกหวย ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว จากพื้นฐานที่รัฐ บาลชุดนี้วางไว้ ด้าน กรพจน์ อัศวินวิจิตร เด้งรับนโยบายรัฐเต็มที่ ปล่อยกู้รายย่อยช่วยกระตุ้นค่าใช้จ่าย เผยวันที่ 9 มิ.ย. แบงก์เฉพาะกิจของรัฐ เตรียมขึ้นเขียง เข้าพบ ฉลอง ภพ แจงรายละเอียดของทุกแบงก์ตามนโยบายรัฐบาล
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐ มนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จังหวะก้าวในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ยังเป็นไปตามที่รัฐบาลออกแบบไว้ และอยู่ในกรอบที่จะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวได้ในระดับ 4% ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ปรับตัวขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา เป็นเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่ และสามารถลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยน แปลงได้รวดเร็ว ดังนั้น เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวขึ้นมามากแล้ว ก็อาจจะมีการปรับฐานได้
ส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับเพิ่ม อัตราเงินเดือนให้ข้าราชการ 4% ในปีงบ ประมาณ 2551 ซึ่งต้องใช้งบประมาณเพิ่มกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันอัตราเงินเดือนของข้าราชการอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งรัฐบาลเห็นสมควรว่าต้องการปรับเพิ่มให้ แต่หากพิจารณา ในแง่เศรษฐกิจแล้ว จะส่งผลดีต่อการบริโภค และเป็นแนวทางที่รัฐบาลให้การสนับสนุน เพราะเป็นการบริโภคที่มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4030
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/06/07
โพสต์ที่ 7
รับมือโลว์ซีซั่นผสมกำลังซื้อนิ่ง ธุรกิจจับตาไตรมาส3อันตราย
ธุรกิจยังไม่วางใจปมเศรษฐกิจ รอลุ้นเลือกตั้ง ชี้ช่วงโลว์ซีซั่นไตรมาส 3 สุดเสี่ยง บิ๊กเอเยนซี่เผยเริ่มเห็นภาพการตัดงบฯ-ชะลอการใช้งบฯ ส่วนที่ยังใช้ก็มีเพียงของกินของใช้ ขณะที่ค่ายไลอ้อนรับสภาพเหนื่อยหนักตลาดสุดหิน และขณะที่ค่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า "โตชิบา-แอลจี" ไม่ยอมจำนวน ขนทัพสินค้าใหม่-กิจกรรม ปลุกตลาด ส่วนผู้ประกอบการร้านอาหารระบุกำลังซื้อไม่แจ่มแตะเบรกยาวหลังปีหน้าค่อยว่ากันใหม่
แม้ว่าเพิ่งจะอยู่ในเดือนมิถุนายน และยังไม่ผ่านพ้นไตรมาสที่ 2 ของปี ทว่าภาคธุรกิจของไทยต่างมองไกลไปถึงไตรมาสที่ 3 แล้วว่า จะเป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นที่สุด หากไม่มั่นใจจริงๆ ก็อาจจะยุติ หรือชะลอแผนการตลาดออกไปก่อน
ผู้บริหารระดับสูงในเอเยนซี่โฆษณาระดับท็อปไฟฟ์ของประเทศ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากสถานการณ์โดยรวมขณะนี้ทำให้การส่งแผนการตลาดต่างๆ ในไตรมาสที่ 3 ต้องรอบคอบเป็นพิเศษ จากปกติไตรมาสนี้ถือเป็นช่วงโลว์ซีซั่นของทุกๆ ปีอยู่แล้ว
ผู้บริหารรายนี้ชี้ว่า ปัญหาใหญ่ที่ผู้ประกอบการต้องขบคิดก็คือ ทำอย่างไรความรู้สึกมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจถึงจะหวนกลับคืนอีกครั้ง ตัวแปรสำคัญที่ผู้ประกอบการต่างเฝ้ารอ เมื่อถึงปลายปีจะมีการเลือกตั้งตามที่รัฐบาลกำหนดไว้หรือไม่ ถ้ามีเลือกตั้งเกิดขึ้น ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
ธุรกิจยังไม่วางใจปมเศรษฐกิจ รอลุ้นเลือกตั้ง ชี้ช่วงโลว์ซีซั่นไตรมาส 3 สุดเสี่ยง บิ๊กเอเยนซี่เผยเริ่มเห็นภาพการตัดงบฯ-ชะลอการใช้งบฯ ส่วนที่ยังใช้ก็มีเพียงของกินของใช้ ขณะที่ค่ายไลอ้อนรับสภาพเหนื่อยหนักตลาดสุดหิน และขณะที่ค่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า "โตชิบา-แอลจี" ไม่ยอมจำนวน ขนทัพสินค้าใหม่-กิจกรรม ปลุกตลาด ส่วนผู้ประกอบการร้านอาหารระบุกำลังซื้อไม่แจ่มแตะเบรกยาวหลังปีหน้าค่อยว่ากันใหม่
แม้ว่าเพิ่งจะอยู่ในเดือนมิถุนายน และยังไม่ผ่านพ้นไตรมาสที่ 2 ของปี ทว่าภาคธุรกิจของไทยต่างมองไกลไปถึงไตรมาสที่ 3 แล้วว่า จะเป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นที่สุด หากไม่มั่นใจจริงๆ ก็อาจจะยุติ หรือชะลอแผนการตลาดออกไปก่อน
ผู้บริหารระดับสูงในเอเยนซี่โฆษณาระดับท็อปไฟฟ์ของประเทศ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากสถานการณ์โดยรวมขณะนี้ทำให้การส่งแผนการตลาดต่างๆ ในไตรมาสที่ 3 ต้องรอบคอบเป็นพิเศษ จากปกติไตรมาสนี้ถือเป็นช่วงโลว์ซีซั่นของทุกๆ ปีอยู่แล้ว
ผู้บริหารรายนี้ชี้ว่า ปัญหาใหญ่ที่ผู้ประกอบการต้องขบคิดก็คือ ทำอย่างไรความรู้สึกมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจถึงจะหวนกลับคืนอีกครั้ง ตัวแปรสำคัญที่ผู้ประกอบการต่างเฝ้ารอ เมื่อถึงปลายปีจะมีการเลือกตั้งตามที่รัฐบาลกำหนดไว้หรือไม่ ถ้ามีเลือกตั้งเกิดขึ้น ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news12/06/07
โพสต์ที่ 8
กรมศุลฯลั่นปีนี้จะเก็บรายได้เกินเป้า
นายพิชัย หาญตะล่อม รองอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวถึงการจัดเก็บรายได้ปีนี้ว่า จะจัดเก็บได้เกินตามเป้าหมายเอกสารงบประมาณที่ตั้งไว้ 8.8 หมื่นล้านบาท โดยรายได้มาจากการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บของเจ้าหน้าที่ โดยการนำวิธีการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ที่ช่วยจูงใจให้มีการเสียภาษี เช่น การชำระภาษีผ่านพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์และเอกสารแบบอี-เอ็กซ์ปอร์ต มาใช้
ทั้งนี้ รายได้ 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 กรมศุลกากรสามารถจัดเก็บรายได้แล้ว 5.97 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการ 1,091 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.9% แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอากรขาเข้าจัดเก็บรายได้มากกว่าประมาณการ 843 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.5%
นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมศุลกากรได้เตรียมการขยายช่องทางผ่านเข้า-ออกคลังสินค้าในเขตปลอดอากร หรือฟรีโซน ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มขึ้นอีก 90,000 ตารางเมตร เพื่อให้สินค้าเกษตรผ่านเข้า-ออกได้สะดวกขึ้น ลดความเสียหายจากการที่สินค้าเกษตรเน่าเสีย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=171767
นายพิชัย หาญตะล่อม รองอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวถึงการจัดเก็บรายได้ปีนี้ว่า จะจัดเก็บได้เกินตามเป้าหมายเอกสารงบประมาณที่ตั้งไว้ 8.8 หมื่นล้านบาท โดยรายได้มาจากการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บของเจ้าหน้าที่ โดยการนำวิธีการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ที่ช่วยจูงใจให้มีการเสียภาษี เช่น การชำระภาษีผ่านพิธีการส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์และเอกสารแบบอี-เอ็กซ์ปอร์ต มาใช้
ทั้งนี้ รายได้ 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 กรมศุลกากรสามารถจัดเก็บรายได้แล้ว 5.97 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการ 1,091 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.9% แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอากรขาเข้าจัดเก็บรายได้มากกว่าประมาณการ 843 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.5%
นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมศุลกากรได้เตรียมการขยายช่องทางผ่านเข้า-ออกคลังสินค้าในเขตปลอดอากร หรือฟรีโซน ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มขึ้นอีก 90,000 ตารางเมตร เพื่อให้สินค้าเกษตรผ่านเข้า-ออกได้สะดวกขึ้น ลดความเสียหายจากการที่สินค้าเกษตรเน่าเสีย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=171767
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/06/07
โพสต์ที่ 9
"โฆสิต" พอใจเบิกจ่ายงบประมาณ61.65%
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ว่า ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ 2550 ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2550 พบว่าตัวเลขการเบิกจ่ายอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยส่วนราชการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 9.65 แสนล้านบาท หรือ 61.65% ของวงเงินงบประมาณ แต่ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว 1.07%
ข้อมูลการเบิกจ่ายล่าสุดมีตัวเลขเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งการประชุมครั้งที่แล้ว มีการรายงานผลการเบิกจ่ายล่าช้าว่ายังล่าช้ากว่าปีงบประมาณ 2549 อยู่ 4% แต่ตัวเลขเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน มีการเบิกจ่ายต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเพียง 1% เท่านั้น ขณะที่เป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2550 ณ เดือนพฤษภาคม ที่ตั้งเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ 59-61% นั้น พบว่าขณะนี้การเบิกจ่ายสูงกว่าเป้าหมายเบิกจ่ายที่ 1.65-2.65%นายโฆสิตกล่าว
สำหรับรายจ่ายการลงทุนสะสมปี 2550 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ มีอัตราเบิกจ่ายสูงกว่าปีงบประมาณ 2549 ถึง 8.81% โดยมีการเบิกจ่ายงบลงทุนทั้งสิ้น 1.77 แสนล้านบาท จากรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น 3.20 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 55.36%
14 มิถุนายน 2550 เวลา 17:06:20
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ว่า ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ 2550 ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2550 พบว่าตัวเลขการเบิกจ่ายอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยส่วนราชการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 9.65 แสนล้านบาท หรือ 61.65% ของวงเงินงบประมาณ แต่ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว 1.07%
ข้อมูลการเบิกจ่ายล่าสุดมีตัวเลขเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งการประชุมครั้งที่แล้ว มีการรายงานผลการเบิกจ่ายล่าช้าว่ายังล่าช้ากว่าปีงบประมาณ 2549 อยู่ 4% แต่ตัวเลขเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน มีการเบิกจ่ายต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเพียง 1% เท่านั้น ขณะที่เป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2550 ณ เดือนพฤษภาคม ที่ตั้งเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ 59-61% นั้น พบว่าขณะนี้การเบิกจ่ายสูงกว่าเป้าหมายเบิกจ่ายที่ 1.65-2.65%นายโฆสิตกล่าว
สำหรับรายจ่ายการลงทุนสะสมปี 2550 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ มีอัตราเบิกจ่ายสูงกว่าปีงบประมาณ 2549 ถึง 8.81% โดยมีการเบิกจ่ายงบลงทุนทั้งสิ้น 1.77 แสนล้านบาท จากรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น 3.20 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 55.36%
14 มิถุนายน 2550 เวลา 17:06:20
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/06/07
โพสต์ที่ 10
ดัชนีความเชื่อมั่นคนไทยลดฮวบ
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยลดฮวบถึง 15 จุด สวนทางชาวโลกที่ลดลงเพียง 2 จุด เผยชาวไทยเกือบ 50% รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับสถานะทางการเงินในปีหน้า ขณะที่ "เวียดนาม" ขึ้นแท่นประเทศที่น่าจับตามองสูงสุดในเอเชียแปซิฟิก
รายงานข่าวจากบริษัท เอซี นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูล เปิดเผยถึงผลการสำรวจออนไลน์ของ ผู้บริโภคจาก 47 ประเทศ พบว่า ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกตกลงเล็กน้อยจากระดับ 99 จากการสำรวจในรอบเดือนตุลาคมปีที่แล้ว มาที่ระดับ 97 ในรอบการสำรวจในเดือนเมษายนปีนี้ ประเทศอินเดียยังคงติดอันดับแรกที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นสูงสุดอีกครั้ง ด้วยคะแนน 135 ซึ่งลดลงเล็กน้อยจาก 137 จากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา
ส่วนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทย ในการสำรวจครึ่งปีแรกในปี 2549 อยู่ที่ระดับที่ 95 และเพิ่มขึ้น 12 จุด จาก 95 ไปยังระดับ 107 จุด ของครึ่งปีหลังในปีเดียวกัน อย่างไรก็ตามการสำรวจครั้งล่าสุดของครึ่งปีแรก ประจำปี 2550 พบว่า ความเชื่อมั่นชองชาวไทยตกมากถึง 15 จุด มาระดับที่ 92 ซึ่งถือเป็นระดับที่ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก
ทั้งนี้ พบผู้บริโภคชาวไทยมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงานและไม่เชื่อมั่นในสถานภาพทางด้านการเงิน ผู้บริโภคชาวไทยถูกจัดอยู่ใน 10 ประเทศแรกที่มีความกังวลเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน โดยแสดงให้เห็นจากอัตราความกังวลที่เพิ่มมากของผู้บริโภคชาวไทยที่แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า "ไม่ค่อยดี" และ "ไม่ดี" เพิ่มขึ้นจาก 44% จากการสำรวจในเดือนตุลาคมปี 2549 เป็น 66% จากการสำรวจครั้งล่าสุด
นอกจากนี้ยังพบว่า 45% ของผู้บริโภคชาวไทย มีความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า โดยเพิ่มขึ้นจาก 30% จากการสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวไทยยังครองแชมป์การออมมากที่สุดในโลกถึง 67%
ผลการสำรวจยังพบด้วยว่า ในทวีปเอเชียแปซิฟิก เวียดนามยังคงเป็นประเทศที่น่าจับตามองเพราะระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจาก 106 ในครึ่งปีแรกในปี 2549 ไปสู่ 116 ของครึ่งปีหลังในปีเดียวกัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 118 ในครึ่งปีแรกของปีนี้ ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของโลกที่ผู้บริโภคมีความมั่นใจมากที่สุด ควบคู่มากับฮ่องกงด้วยความเชื่อมั่นในระดับเดียวกัน
นางจันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ เอซี นีลเส็น (ประเทศไทย) กล่าวว่า สาเหตุที่ผู้บริโภคมีความต้องการที่จะออมเงินมากในภาวะนี้ อาจจะอธิบายได้จากความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน ความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า รวมทั้งความคิดที่ว่าเวลานี้อาจจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมกับการจับจ่ายใช้สอย อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายทางด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจ ยังคงเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมในการใช้จ่ายมากที่สุด
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยลดฮวบถึง 15 จุด สวนทางชาวโลกที่ลดลงเพียง 2 จุด เผยชาวไทยเกือบ 50% รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับสถานะทางการเงินในปีหน้า ขณะที่ "เวียดนาม" ขึ้นแท่นประเทศที่น่าจับตามองสูงสุดในเอเชียแปซิฟิก
รายงานข่าวจากบริษัท เอซี นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูล เปิดเผยถึงผลการสำรวจออนไลน์ของ ผู้บริโภคจาก 47 ประเทศ พบว่า ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกตกลงเล็กน้อยจากระดับ 99 จากการสำรวจในรอบเดือนตุลาคมปีที่แล้ว มาที่ระดับ 97 ในรอบการสำรวจในเดือนเมษายนปีนี้ ประเทศอินเดียยังคงติดอันดับแรกที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นสูงสุดอีกครั้ง ด้วยคะแนน 135 ซึ่งลดลงเล็กน้อยจาก 137 จากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา
ส่วนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทย ในการสำรวจครึ่งปีแรกในปี 2549 อยู่ที่ระดับที่ 95 และเพิ่มขึ้น 12 จุด จาก 95 ไปยังระดับ 107 จุด ของครึ่งปีหลังในปีเดียวกัน อย่างไรก็ตามการสำรวจครั้งล่าสุดของครึ่งปีแรก ประจำปี 2550 พบว่า ความเชื่อมั่นชองชาวไทยตกมากถึง 15 จุด มาระดับที่ 92 ซึ่งถือเป็นระดับที่ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก
ทั้งนี้ พบผู้บริโภคชาวไทยมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงานและไม่เชื่อมั่นในสถานภาพทางด้านการเงิน ผู้บริโภคชาวไทยถูกจัดอยู่ใน 10 ประเทศแรกที่มีความกังวลเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน โดยแสดงให้เห็นจากอัตราความกังวลที่เพิ่มมากของผู้บริโภคชาวไทยที่แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า "ไม่ค่อยดี" และ "ไม่ดี" เพิ่มขึ้นจาก 44% จากการสำรวจในเดือนตุลาคมปี 2549 เป็น 66% จากการสำรวจครั้งล่าสุด
นอกจากนี้ยังพบว่า 45% ของผู้บริโภคชาวไทย มีความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า โดยเพิ่มขึ้นจาก 30% จากการสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวไทยยังครองแชมป์การออมมากที่สุดในโลกถึง 67%
ผลการสำรวจยังพบด้วยว่า ในทวีปเอเชียแปซิฟิก เวียดนามยังคงเป็นประเทศที่น่าจับตามองเพราะระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจาก 106 ในครึ่งปีแรกในปี 2549 ไปสู่ 116 ของครึ่งปีหลังในปีเดียวกัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 118 ในครึ่งปีแรกของปีนี้ ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของโลกที่ผู้บริโภคมีความมั่นใจมากที่สุด ควบคู่มากับฮ่องกงด้วยความเชื่อมั่นในระดับเดียวกัน
นางจันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ เอซี นีลเส็น (ประเทศไทย) กล่าวว่า สาเหตุที่ผู้บริโภคมีความต้องการที่จะออมเงินมากในภาวะนี้ อาจจะอธิบายได้จากความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน ความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า รวมทั้งความคิดที่ว่าเวลานี้อาจจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมกับการจับจ่ายใช้สอย อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายทางด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจ ยังคงเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมในการใช้จ่ายมากที่สุด
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news15/06/07
โพสต์ที่ 11
หอการค้าไทยชี้ศก.ซึมยันปีหน้า แนะรบ.เด็ดขาดแก้ปัญหาภาคใต้
โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550 09:05 น.
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2550 ว่า ขณะนี้ความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจไทยเป็นสัญญาณขาลง ซึ่งในส่วนของหอการค้าต่างประเทศแม้จะแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในไทย โดยอยู่ระหว่างรอดูสถานการณ์และชะลอการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะญี่ปุ่นกำลังสำรวจประเทศน่าลงทุนในแถบเอเชียอยู่
หากมีการปะทะและมีการดำเนินการทางการทหาร จะทำให้บรรยากาศซึมลงไปอีก รัฐบาลต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่าจะไม่มีความรุนแรง จะทำให้ความเชื่อมั่นและหวั่นวิตกลดลง การขยายตัวของเศรษฐกิจก็คงอยู่ในระดับคาดการณ์เดิม 3.5-4%
นายประมนต์กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในเดือนกรกฎาคมนี้ ประเด็นหารือสำคัญ คือ ขอมาตรการช่วยเหลือจังหวัดภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้าย ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เพียงพอ โดยจะขอเพิ่มพื้นที่ดูแล เช่น จังหวัดสงขลา รวมถึงการขอสิทธิพิเศษเพิ่มเติมด้วย
เราคงต้องแสดงความรู้สึกและถ่ายทอดมุมมองของภาคเอกชนให้รัฐบาลได้ปรับปรุง หลายเรื่องอยากให้รัฐบาลเข้มแข็งและต้องเด็ดขาด การสมานฉันท์หากทำให้การก่อการร้ายไม่สงบ ประชาชนยังหวาดหวั่น ก็น่าจะทบทวน
นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ยังไม่มีสัญญาณให้เห็นว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะดีขึ้น มาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้ก็ยังไม่เห็นผล เช่น ลดหย่อนด้านอสังหาริมทรัพย์ก็ให้ประโยชน์กับคนซื้อบ้านเกิน 1 ล้านบาท ขณะที่ผู้ซื้อบ้านต่ำกว่า 1 ล้านบาท มีจำนวนมากแต่ไม่ได้รับประโยชน์ และเมื่อมีปัญหาการเมืองซ้ำเติม จะตอกย้ำต่อให้ความเชื่อมั่นลดลงไปถึงปีหน้า เมื่อลงแล้วการจะฟื้นตัวก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-9 เดือน
โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550 09:05 น.
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2550 ว่า ขณะนี้ความเชื่อมั่นและเศรษฐกิจไทยเป็นสัญญาณขาลง ซึ่งในส่วนของหอการค้าต่างประเทศแม้จะแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในไทย โดยอยู่ระหว่างรอดูสถานการณ์และชะลอการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะญี่ปุ่นกำลังสำรวจประเทศน่าลงทุนในแถบเอเชียอยู่
หากมีการปะทะและมีการดำเนินการทางการทหาร จะทำให้บรรยากาศซึมลงไปอีก รัฐบาลต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่าจะไม่มีความรุนแรง จะทำให้ความเชื่อมั่นและหวั่นวิตกลดลง การขยายตัวของเศรษฐกิจก็คงอยู่ในระดับคาดการณ์เดิม 3.5-4%
นายประมนต์กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในเดือนกรกฎาคมนี้ ประเด็นหารือสำคัญ คือ ขอมาตรการช่วยเหลือจังหวัดภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้าย ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เพียงพอ โดยจะขอเพิ่มพื้นที่ดูแล เช่น จังหวัดสงขลา รวมถึงการขอสิทธิพิเศษเพิ่มเติมด้วย
เราคงต้องแสดงความรู้สึกและถ่ายทอดมุมมองของภาคเอกชนให้รัฐบาลได้ปรับปรุง หลายเรื่องอยากให้รัฐบาลเข้มแข็งและต้องเด็ดขาด การสมานฉันท์หากทำให้การก่อการร้ายไม่สงบ ประชาชนยังหวาดหวั่น ก็น่าจะทบทวน
นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ยังไม่มีสัญญาณให้เห็นว่าครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะดีขึ้น มาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้ก็ยังไม่เห็นผล เช่น ลดหย่อนด้านอสังหาริมทรัพย์ก็ให้ประโยชน์กับคนซื้อบ้านเกิน 1 ล้านบาท ขณะที่ผู้ซื้อบ้านต่ำกว่า 1 ล้านบาท มีจำนวนมากแต่ไม่ได้รับประโยชน์ และเมื่อมีปัญหาการเมืองซ้ำเติม จะตอกย้ำต่อให้ความเชื่อมั่นลดลงไปถึงปีหน้า เมื่อลงแล้วการจะฟื้นตัวก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-9 เดือน
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news15/06/07
โพสต์ที่ 12
พาณิชย์เร่งหาข้อสรุป FTA ไทย อินเดีย ข่าว 11.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, June 15, 2007
นายชนะ คณารัตนดิลก รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ บอกว่า ได้นำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าภายใต้การเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย อินเดีย วันที่ 13 15 มิ.ย.นี้ เพื่อหาข้อสรุปของการเปิดตลาดการค้าสินค้า ซึ่งครอบคลุมทั้งรูปแบบการลดภาษี ระยะเวลา และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
ล่าสุด อินเดียยังคงยืนยันใช้หลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัด 4 หลัก ควบคู่กับการใช้สัดส่วนมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ (Local Content) 40% ซึ่งไทยพยายามผลักดันให้อินเดียใช้เงื่อนไขเดียวกับที่เสนอภายใต้กรอบอาเซียน อินเดีย คือ การเปลี่ยนพิกัด 6 หลัก และใช้สัดส่วน Local Content เป็น 35%
ทั้งนี้นายชนะบอกด้วยว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของอินเดีย และเรียกร้องให้เลิกเจรจา เพราะหากยอมรับข้อเสนอ จะทำให้สินค้าไทยประมาณ 3,000 รายการ ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการลดภาษีได้ เท่ากับเป็นการกีดกันสินค้าไทยไม่ให้เข้าสู่ตลาดอินเดีย นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีกประมาณ 400 รายการ ที่ต้องใช้แหล่งกำเนิดเฉพาะ ซึ่งต้องหารือกันต่อไป
สำหรับการค้าระหว่างไทย อินเดีย ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่ารวม 1,384.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 51.80% ที่มีมูลค่า 911.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออกได้ 756.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 61.08% นำเข้ามูลค่า 628.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 41.96% และได้ดุลการค้า 128.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, June 15, 2007
นายชนะ คณารัตนดิลก รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ บอกว่า ได้นำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าภายใต้การเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย อินเดีย วันที่ 13 15 มิ.ย.นี้ เพื่อหาข้อสรุปของการเปิดตลาดการค้าสินค้า ซึ่งครอบคลุมทั้งรูปแบบการลดภาษี ระยะเวลา และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
ล่าสุด อินเดียยังคงยืนยันใช้หลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัด 4 หลัก ควบคู่กับการใช้สัดส่วนมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ (Local Content) 40% ซึ่งไทยพยายามผลักดันให้อินเดียใช้เงื่อนไขเดียวกับที่เสนอภายใต้กรอบอาเซียน อินเดีย คือ การเปลี่ยนพิกัด 6 หลัก และใช้สัดส่วน Local Content เป็น 35%
ทั้งนี้นายชนะบอกด้วยว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของอินเดีย และเรียกร้องให้เลิกเจรจา เพราะหากยอมรับข้อเสนอ จะทำให้สินค้าไทยประมาณ 3,000 รายการ ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการลดภาษีได้ เท่ากับเป็นการกีดกันสินค้าไทยไม่ให้เข้าสู่ตลาดอินเดีย นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีกประมาณ 400 รายการ ที่ต้องใช้แหล่งกำเนิดเฉพาะ ซึ่งต้องหารือกันต่อไป
สำหรับการค้าระหว่างไทย อินเดีย ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่ารวม 1,384.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 51.80% ที่มีมูลค่า 911.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออกได้ 756.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 61.08% นำเข้ามูลค่า 628.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 41.96% และได้ดุลการค้า 128.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/06/07
โพสต์ที่ 13
ขาดดุลเงินสด2แสนล.
โพสต์ทูเดย์ คลังโหมอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจหนักไล่กู้จนชนเพดาน ขาดดุลเงินสดเกือบ 2 แสนล้าน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 8 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.9% ขณะที่รัฐบาลได้ใช้จ่ายเงิน 9.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 9.1% ในจำนวนนั้นเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 9.06 แสนล้านบาท
นายสมชัย กล่าวว่า การเบิกจ่ายที่สูงส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ขาดดุล 1.9 แสนล้านบาท โดยขาดดุลเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6.05 หมื่นล้านบาท หรือ 46.7% เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 5.38 หมื่นล้านบาทแล้ว ทำให้ดุลการคลังตามดุลเงินสดของรัฐบาลขาดดุลถึง 2.44 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการใช้เงินคงคลัง 1 แสนล้านบาทเศษ ด้วยการออกพันธบัตร 9.71 หมื่นล้านบาท และออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4.65 หมื่นล้านบาท
การขาดดุลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของนโยบายการคลังในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นายสมชัย กล่าว
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลได้ตั้งกรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลไว้ 1.46 แสนล้านบาท โดยขณะนี้รัฐบาลกู้ไปแล้ว 1.43 แสนล้านบาท ซึ่งใกล้เต็มเพดานเงินกู้ แต่เชื่อว่าระยะยาวการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลจะลดลง เพราะจะมีรายได้เข้ามามากขึ้นจากภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดกลางปี
นายสมชัย กล่าวว่า รายได้นำส่งคลังที่สูงขึ้นในรอบ 8 เดือน มาจากภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ ภาษีสุรา ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีน้ำมัน และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม นอกจากนี้รายได้จากรัฐวิสาหกิจ และส่วนราชการอื่นก็เพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกัน สำหรับรายจ่ายรัฐบาล ในเดือน พ.ค.2550 รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1.37 แสนล้านบาท
สำหรับรายจ่ายในงวดเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1.37 แสนล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นราย จ่ายประจำ 9.03 หมื่นล้านบาท ราย จ่ายลงทุน 4.09 หมื่นล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 5.77 พันล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=172683
โพสต์ทูเดย์ คลังโหมอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจหนักไล่กู้จนชนเพดาน ขาดดุลเงินสดเกือบ 2 แสนล้าน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 8 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.9% ขณะที่รัฐบาลได้ใช้จ่ายเงิน 9.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 9.1% ในจำนวนนั้นเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 9.06 แสนล้านบาท
นายสมชัย กล่าวว่า การเบิกจ่ายที่สูงส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ขาดดุล 1.9 แสนล้านบาท โดยขาดดุลเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6.05 หมื่นล้านบาท หรือ 46.7% เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 5.38 หมื่นล้านบาทแล้ว ทำให้ดุลการคลังตามดุลเงินสดของรัฐบาลขาดดุลถึง 2.44 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการใช้เงินคงคลัง 1 แสนล้านบาทเศษ ด้วยการออกพันธบัตร 9.71 หมื่นล้านบาท และออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4.65 หมื่นล้านบาท
การขาดดุลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของนโยบายการคลังในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นายสมชัย กล่าว
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลได้ตั้งกรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลไว้ 1.46 แสนล้านบาท โดยขณะนี้รัฐบาลกู้ไปแล้ว 1.43 แสนล้านบาท ซึ่งใกล้เต็มเพดานเงินกู้ แต่เชื่อว่าระยะยาวการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลจะลดลง เพราะจะมีรายได้เข้ามามากขึ้นจากภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดกลางปี
นายสมชัย กล่าวว่า รายได้นำส่งคลังที่สูงขึ้นในรอบ 8 เดือน มาจากภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ ภาษีสุรา ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีน้ำมัน และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม นอกจากนี้รายได้จากรัฐวิสาหกิจ และส่วนราชการอื่นก็เพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกัน สำหรับรายจ่ายรัฐบาล ในเดือน พ.ค.2550 รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1.37 แสนล้านบาท
สำหรับรายจ่ายในงวดเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1.37 แสนล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นราย จ่ายประจำ 9.03 หมื่นล้านบาท ราย จ่ายลงทุน 4.09 หมื่นล้านบาท และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 5.77 พันล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=172683
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/06/07
โพสต์ที่ 14
เปิดโลกส่งออก - 18/6/2550
เปิดโลกส่งออก
++ จับตา ลาว-เวียดนาม ชิงเฟอร์ฯไทยในอเมริกา
ปัจจุบัน จีนเป็นแหล่งนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ และเวียดนามจัดเป็นแหล่งผลิต/ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง และกำลังก้าวขึ้นมาเทียบรัศมีจีนในอนาคตซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อแหล่งนำเข้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน และ ไทย
ผู้เชี่ยวชาญการตลาดที่คร่ำหวอดในวงการเฟอร์นิเจอร์สหรัฐฯ 2 ท่าน คือ Mr. A.J.Raymond บริษัท A.J. Raymond & Company ในรัฐ North Carolina และ Mr.Jerry Epperson หุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษา Mann, Armistead & Epperson, Ltd. ในรัฐ Virginia ให้ความเห็นว่า ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา จะเป็นแหล่งผลิต/และนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญลำดับต่อไปในอนาคตของสหรัฐฯเนื่องจาก ผู้นำเข้าเฟอร์นิเจอร์สหรัฐฯ มักจะมองหาแหล่งนำเข้าใหม่ๆ ที่มีต้นทุนต่ำเป็นสำคัญ
อนึ่งนักวิเคราะห์ ไม่รวมประเทศพม่าซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน เนื่องจากสหรัฐฯ มีนโยบายห้ามค้าขาย(Trade Embargo) กับประเทศพม่า ด้วยปัญหาด้านประเทศพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176160
เปิดโลกส่งออก
++ จับตา ลาว-เวียดนาม ชิงเฟอร์ฯไทยในอเมริกา
ปัจจุบัน จีนเป็นแหล่งนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ และเวียดนามจัดเป็นแหล่งผลิต/ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง และกำลังก้าวขึ้นมาเทียบรัศมีจีนในอนาคตซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อแหล่งนำเข้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน และ ไทย
ผู้เชี่ยวชาญการตลาดที่คร่ำหวอดในวงการเฟอร์นิเจอร์สหรัฐฯ 2 ท่าน คือ Mr. A.J.Raymond บริษัท A.J. Raymond & Company ในรัฐ North Carolina และ Mr.Jerry Epperson หุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษา Mann, Armistead & Epperson, Ltd. ในรัฐ Virginia ให้ความเห็นว่า ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา จะเป็นแหล่งผลิต/และนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญลำดับต่อไปในอนาคตของสหรัฐฯเนื่องจาก ผู้นำเข้าเฟอร์นิเจอร์สหรัฐฯ มักจะมองหาแหล่งนำเข้าใหม่ๆ ที่มีต้นทุนต่ำเป็นสำคัญ
อนึ่งนักวิเคราะห์ ไม่รวมประเทศพม่าซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน เนื่องจากสหรัฐฯ มีนโยบายห้ามค้าขาย(Trade Embargo) กับประเทศพม่า ด้วยปัญหาด้านประเทศพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176160
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/06/07
โพสต์ที่ 15
ความเชื่อมั่นอุตฯ พ.ค. เพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม - ข่าว 18.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Monday, June 18, 2007
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) บอกว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภายในเดือนพฤษภาคม ปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีทั้ง 19 กลุ่มอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม มาจากภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง และการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ที่เริ่มเห็นผลอย่างชัดเจน นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการกลับมาดีขึ้น
แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับแข็งค่า และสถานการณ์ทางการเมือง ที่ยังไม่นิ่ง ยังเป็นปัจจัยลบต่อการดำเนินธุรกิจ
นายสันติยังบอกถึงโครงการ Business Matching ในต่างประเทศ ที่เริ่มเป็นครั้งแรกในประเทศมาเลเซียว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี และเตรียมขยายโครงการไปยังอเมริกาและแอฟริกาใต้ต่อไป โดยโครงการที่จะไปในอเมริกา จะคัดเลือกผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 10 ราย โดยเน้นในธุรกิจอาหารและสปาเป็นหลัก เพราะกำลังการซื้อของคนอเมริกามีมากกว่าประเทศไทยถึง 11 เท่า ส่วนในประเทศแอฟริกาใต้จะเน้นไปในธุรกิจอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เพราะว่าแอฟริกาทำการค้ากับไทยถึง 16% ของ GDP
ด้านนายมังกร ธนสารศิลป์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธาน Business Matching บอกว่า ธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ จะพิจารณาจากผู้ประกอบการที่มีมาตราฐาน ความโดดเด่นของสินค้า และกำลังการผลิต โดยโครงการจะให้ความช่วยเหลือในด้านการตลาด ให้คำปรึกษา พัฒนาความรู้ ส่วนในด้านต่างประเทศจะติดต่อหน่วยงานที่ช่วยดูแล และให้ข้อมูลในการทำตลาดในต่างประเทศ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Monday, June 18, 2007
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) บอกว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภายในเดือนพฤษภาคม ปี 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีทั้ง 19 กลุ่มอุตสาหกรรม ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม มาจากภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง และการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ที่เริ่มเห็นผลอย่างชัดเจน นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการกลับมาดีขึ้น
แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับแข็งค่า และสถานการณ์ทางการเมือง ที่ยังไม่นิ่ง ยังเป็นปัจจัยลบต่อการดำเนินธุรกิจ
นายสันติยังบอกถึงโครงการ Business Matching ในต่างประเทศ ที่เริ่มเป็นครั้งแรกในประเทศมาเลเซียว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี และเตรียมขยายโครงการไปยังอเมริกาและแอฟริกาใต้ต่อไป โดยโครงการที่จะไปในอเมริกา จะคัดเลือกผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 10 ราย โดยเน้นในธุรกิจอาหารและสปาเป็นหลัก เพราะกำลังการซื้อของคนอเมริกามีมากกว่าประเทศไทยถึง 11 เท่า ส่วนในประเทศแอฟริกาใต้จะเน้นไปในธุรกิจอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เพราะว่าแอฟริกาทำการค้ากับไทยถึง 16% ของ GDP
ด้านนายมังกร ธนสารศิลป์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธาน Business Matching บอกว่า ธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ จะพิจารณาจากผู้ประกอบการที่มีมาตราฐาน ความโดดเด่นของสินค้า และกำลังการผลิต โดยโครงการจะให้ความช่วยเหลือในด้านการตลาด ให้คำปรึกษา พัฒนาความรู้ ส่วนในด้านต่างประเทศจะติดต่อหน่วยงานที่ช่วยดูแล และให้ข้อมูลในการทำตลาดในต่างประเทศ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/06/07
โพสต์ที่ 16
ธปท.ขาดทุนแสนล.
โพสต์ทูเดย์ ธปท.ขาดทุนยับปี 49 ทะลุ 1.02 แสนล้าน เพิ่มจากปีก่อน 1 แสนล้าน ชี้ปีนี้มีโอกาสเจ๊งจากการซื้อขายเงินตราอีก 2.2 พันล้าน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานข้อมูลผู้สอบบัญชี และงบการเงินของคณะกรรมการตรวจสอบ ที่มีนายนนทพล นิ่มสมบุญ กรรมการ ธปท. เป็นประธาน พบว่า ในปี 2549 ธปท.มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 102,287 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ถึง 100,544 ล้านบาท จากที่เคยมีผลขาดทุนสุทธิเพียง 1,742 ล้านบาท ในจำนวนนี้แบ่งเป็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนถึง 99,727 ล้านบาท
ทั้งนี้ สาเหตุของการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน เพราะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศทุกสกุล ที่เป็นส่วนประกอบของสินทรัพย์ต่างประเทศ โดยแข็งค่าขึ้น 13.9% เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และแข็งค่าขึ้น 15.1% เมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวยังชี้แจงว่า นอกจากภาระการขาดทุนสุทธิแล้ว ในปี 2550 นี้ ธปท.ยังมีโอกาสที่จะมีภาระผูกพันหรือหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2,242 ล้านบาท จากสัญญาซื้อขายเงินเหรียญสหรัฐล่วงหน้า ที่จะครบกำหนดในปีนี้อยู่จำนวน 6,941.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=173420
โพสต์ทูเดย์ ธปท.ขาดทุนยับปี 49 ทะลุ 1.02 แสนล้าน เพิ่มจากปีก่อน 1 แสนล้าน ชี้ปีนี้มีโอกาสเจ๊งจากการซื้อขายเงินตราอีก 2.2 พันล้าน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานข้อมูลผู้สอบบัญชี และงบการเงินของคณะกรรมการตรวจสอบ ที่มีนายนนทพล นิ่มสมบุญ กรรมการ ธปท. เป็นประธาน พบว่า ในปี 2549 ธปท.มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 102,287 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ถึง 100,544 ล้านบาท จากที่เคยมีผลขาดทุนสุทธิเพียง 1,742 ล้านบาท ในจำนวนนี้แบ่งเป็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนถึง 99,727 ล้านบาท
ทั้งนี้ สาเหตุของการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน เพราะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศทุกสกุล ที่เป็นส่วนประกอบของสินทรัพย์ต่างประเทศ โดยแข็งค่าขึ้น 13.9% เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และแข็งค่าขึ้น 15.1% เมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวยังชี้แจงว่า นอกจากภาระการขาดทุนสุทธิแล้ว ในปี 2550 นี้ ธปท.ยังมีโอกาสที่จะมีภาระผูกพันหรือหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2,242 ล้านบาท จากสัญญาซื้อขายเงินเหรียญสหรัฐล่วงหน้า ที่จะครบกำหนดในปีนี้อยู่จำนวน 6,941.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=173420
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/06/07
โพสต์ที่ 17
เผยเครื่องใช้ไฟฟ้า-ยานยนต์นำตลาดส่งออก
12:44 น. นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค.โดยสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ปริมาณเพิ่มขึ้น 7.9% ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้น 1.9% ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 15% โดยกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ วัสดุก่อสร้างขยายตัวได้ดี
ส่วนตลาดส่งออก ตลาดใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 30.9% โดยตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวสูงถึง 71.9% ยุโรปตะวันออก 69.9% อินเดีย 58.6% จีน 31.9%
ส่วนตลาดหลักในเดือนพ.ค.ขยายตัว 3.5% โดยตลาดญี่ปุ่นขยายตัว 8.4% สหภาพยุโรปขยายตัว 24.9% แต่การส่งออกไปตลาดสหรัฐลดลง 0.7%
นายเกริกไกร กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าการส่งออกทั้งปีจะขยายตัวตามเป้าหมาย 12.5% มูลค่า 1.45 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการส่งออกของเดือนพ.ค.ที่ขยายตัวสูงแสดงว่าการส่งออกของไทยยังแข่งขันได้ ส่วนปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่งและทั้งภูมิภาคแล้ว
"ตอนนี้ไม่เหมือนเดือนธ.ค.ที่บาทแข็งมาก เมื่อเทียบกับสกุลอื่น แต่ตอนนี้ปรับใกล้เคียงกันแล้ว ซึ่งมั่นใจว่าผุ้ส่งออกของไทยแข่งขันได้ " นายเกริกไกร กล่าว
http://breakingnews.nationchannel.com/r ... sid=265405
12:44 น. นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค.โดยสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ปริมาณเพิ่มขึ้น 7.9% ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้น 1.9% ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 15% โดยกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ วัสดุก่อสร้างขยายตัวได้ดี
ส่วนตลาดส่งออก ตลาดใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 30.9% โดยตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวสูงถึง 71.9% ยุโรปตะวันออก 69.9% อินเดีย 58.6% จีน 31.9%
ส่วนตลาดหลักในเดือนพ.ค.ขยายตัว 3.5% โดยตลาดญี่ปุ่นขยายตัว 8.4% สหภาพยุโรปขยายตัว 24.9% แต่การส่งออกไปตลาดสหรัฐลดลง 0.7%
นายเกริกไกร กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าการส่งออกทั้งปีจะขยายตัวตามเป้าหมาย 12.5% มูลค่า 1.45 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการส่งออกของเดือนพ.ค.ที่ขยายตัวสูงแสดงว่าการส่งออกของไทยยังแข่งขันได้ ส่วนปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่งและทั้งภูมิภาคแล้ว
"ตอนนี้ไม่เหมือนเดือนธ.ค.ที่บาทแข็งมาก เมื่อเทียบกับสกุลอื่น แต่ตอนนี้ปรับใกล้เคียงกันแล้ว ซึ่งมั่นใจว่าผุ้ส่งออกของไทยแข่งขันได้ " นายเกริกไกร กล่าว
http://breakingnews.nationchannel.com/r ... sid=265405
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news21/06/07
โพสต์ที่ 18
ธปท.ชี้นโยบายดบ.ต่ำไม่ได้ผล การเมืองไม่นิ่งแหยงบริโภค-ลงทุน
21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 18:00:00
ธปท.ยอมรับแม้จะส่งผ่านนโยบายดอกเบี้ย "ขาลง" แต่ยังไม่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการค้า-การลงทุน หรือการบริโภคมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การเมืองไม่นิ่ง เผยแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าสวนทางขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการเงิน สายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้ในปัจจุบันการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก ธปท.ไปยังสถาบันการเงินเร็วขึ้นมากเมื่อเทียบกับในอดีต โดยเห็นได้การที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วหลังจาก ธปท.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่การส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินไปยังประชาชนยังคงมีความล่าช้าอยู่ เนื่องจากยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมือง และความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน
จริงๆ แล้วต้นทุนตอนนี้ไม่สูงแล้ว แต่คนที่จะลงทุนมองไปข้างหน้าก็อาจจะเห็นว่าความไม่แน่นอนยังมีอยู่เลยชะลอการลงทุนออกไปก่อน รอให้ความชัดเจนมีมากขึ้น แต่จริงๆ แล้วศักยภาพในการลงทุนยังมีอยู่ นายเมธี กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/2 ... wsid=80226
21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 18:00:00
ธปท.ยอมรับแม้จะส่งผ่านนโยบายดอกเบี้ย "ขาลง" แต่ยังไม่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการค้า-การลงทุน หรือการบริโภคมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การเมืองไม่นิ่ง เผยแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าสวนทางขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการเงิน สายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้ในปัจจุบันการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก ธปท.ไปยังสถาบันการเงินเร็วขึ้นมากเมื่อเทียบกับในอดีต โดยเห็นได้การที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วหลังจาก ธปท.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่การส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินไปยังประชาชนยังคงมีความล่าช้าอยู่ เนื่องจากยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมือง และความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน
จริงๆ แล้วต้นทุนตอนนี้ไม่สูงแล้ว แต่คนที่จะลงทุนมองไปข้างหน้าก็อาจจะเห็นว่าความไม่แน่นอนยังมีอยู่เลยชะลอการลงทุนออกไปก่อน รอให้ความชัดเจนมีมากขึ้น แต่จริงๆ แล้วศักยภาพในการลงทุนยังมีอยู่ นายเมธี กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/2 ... wsid=80226
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/06/07
โพสต์ที่ 19
สถิติตกงานสูงสุดรอบ35เดือน
โดย เดลินิวส์ วัน ศุกร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 08:55 น.
ชี้ระดับอุดมศึกษาหนักสุด 2.3 แสนสาขานิเทศ-สังคม-มนุษย์เสี่ยงสูง
รายงานข่าวสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 50 ประชากรไทยว่างงาน 6.3 แสนคน แบ่งเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามากสุด 2.3 แสนคน โดยเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 35 เดือน และเพิ่มจากเดือน มี.ค. ถึง 8 หมื่นคน รองลงมามัธยมตอนต้น 1.3 แสนคน, ประถมศึกษา 1 แสนคน, มัธยมปลาย 9 หมื่นคน และ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 8 หมื่นคน โดยอาชีพที่ว่างงานมากสุดมาจากภาคเกษตรกรรม 8 หมื่นคน, สาขาการผลิต 8 หมื่นคน, ก่อสร้าง 6 หมื่นคน, ขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยาน ยนต์และของใช้ส่วนบุคคลและครัวเรือน 5 หมื่นคน, โรงแรมและภัตตาคาร 2 หมื่นคน และสาขาอุตสาหกรรมอื่น
ห่วงการว่างงานผู้ที่จบระดับอุดมศึกษาอย่างมาก ซึ่งเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี ส่วนใหญ่การว่างงานจะอยู่ในอัตรา 1.5 แสนคน โดยก่อนหน้านี้เดือนที่มีการว่างงานของบัณฑิตมากสุดคือเดือน พ.ย. 47 จำนวน 2.4 แสน คน ซึ่งคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เหตุผลว่าสาขาที่จบมาแล้วมีโอกาสว่างงานสูง เช่น คณะสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เพราะตลาดอิ่มตัวโดยเฉพาะนิเทศศาสตร์ ส่วนสาขาที่มีโอกาสทำงานสูง คือ ภาษา บัญชี รัฐศาสตร์การ ทูต คอมพิวเตอร์ วิทยา ศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาล วิศวะคอม พิวเตอร์ วิศวะไฟฟ้า วิศวะอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร
ทั้งนี้อัตราการว่างงาน 6.3 แสนคน จะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.3 แสนคน ซึ่งหากพิจารณา
http://news.sanook.com/economic/economic_149304.php
โดย เดลินิวส์ วัน ศุกร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 08:55 น.
ชี้ระดับอุดมศึกษาหนักสุด 2.3 แสนสาขานิเทศ-สังคม-มนุษย์เสี่ยงสูง
รายงานข่าวสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 50 ประชากรไทยว่างงาน 6.3 แสนคน แบ่งเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามากสุด 2.3 แสนคน โดยเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 35 เดือน และเพิ่มจากเดือน มี.ค. ถึง 8 หมื่นคน รองลงมามัธยมตอนต้น 1.3 แสนคน, ประถมศึกษา 1 แสนคน, มัธยมปลาย 9 หมื่นคน และ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 8 หมื่นคน โดยอาชีพที่ว่างงานมากสุดมาจากภาคเกษตรกรรม 8 หมื่นคน, สาขาการผลิต 8 หมื่นคน, ก่อสร้าง 6 หมื่นคน, ขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยาน ยนต์และของใช้ส่วนบุคคลและครัวเรือน 5 หมื่นคน, โรงแรมและภัตตาคาร 2 หมื่นคน และสาขาอุตสาหกรรมอื่น
ห่วงการว่างงานผู้ที่จบระดับอุดมศึกษาอย่างมาก ซึ่งเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี ส่วนใหญ่การว่างงานจะอยู่ในอัตรา 1.5 แสนคน โดยก่อนหน้านี้เดือนที่มีการว่างงานของบัณฑิตมากสุดคือเดือน พ.ย. 47 จำนวน 2.4 แสน คน ซึ่งคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เหตุผลว่าสาขาที่จบมาแล้วมีโอกาสว่างงานสูง เช่น คณะสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เพราะตลาดอิ่มตัวโดยเฉพาะนิเทศศาสตร์ ส่วนสาขาที่มีโอกาสทำงานสูง คือ ภาษา บัญชี รัฐศาสตร์การ ทูต คอมพิวเตอร์ วิทยา ศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาล วิศวะคอม พิวเตอร์ วิศวะไฟฟ้า วิศวะอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร
ทั้งนี้อัตราการว่างงาน 6.3 แสนคน จะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.3 แสนคน ซึ่งหากพิจารณา
http://news.sanook.com/economic/economic_149304.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/06/07
โพสต์ที่ 20
โฆสิต การันตีศก.ดีครั้งที่ร้อย - 23/6/2550
โฆสิต การันตีศก.ดีครั้งที่ร้อย
รองนายกฯและรมว.อุตฯนั่งยันนอนยันเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง แม้ปัจจัยทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งฉุดความไม่มั่นใจต่อการลงทุนบ้าง ย้ำอีกรอบเมื่อการเมืองชัดเจนทุกอย่างดีขึ้นแน่ รับประกันเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตได้ไม่ต่ำกว่า4% เช่นเดียวกับปลัดคลัง
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า รัฐบาลและในความคิดเห็นส่วนตัว ยังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในขณะนี้มีความแข็งแกร่งต่อเนื่อง แม้จะมีการชะลอตัวลงในบางสาขา แต่หากดูภาพรวมเศรษฐกิจขณะนี้ยังเห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังมีอัตราการเติบโตที่ดี ส่วนที่เห็นว่ายังไม่ดีเพราะหลายฝ่ายยังมีความกังวลใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนแต่คิดว่าไม่น่าเป็นปัญหา เนื่องจากแนวทางต่างๆ ที่รัฐบาลใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจขณะนี้กำลังเดินหน้ากระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อความชัดเจนทางการเมืองเกิดขึ้น ซึ่งการที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้นน่าจะส่งผลดีต่อสถานการณ์ทางการเมืองและน่าจะทำให้บรรยากาศการค้าและการลงทุนจะกลับมาดีขึ้นไปอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงเชื่อว่าโอกาสอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ4 โดยคาดว่าจะไม่เห็นอัตราการเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 3ตามที่หลายฝ่ายมีความกังวลใจอยู่ในขณะนี้
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขใน 5 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาทลพบุรีและสระบุรี ว่า เท่าที่ได้รับฟังการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขแต่ละจังหวัดนั้น ถือว่าสามารถดำเนินการได้ดีระดับหนึ่งและเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริงเพราะแต่ละชุมชนจะเป็นผู้ดำเนินโครงการเองและรู้ว่าจะพัฒนาชุมชนของตนเองได้ดีอย่างไรแต่การพัฒนาชุมชนจะต้องได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชุนที่จะเข้ามาร่วมกันคิดร่วมกันดำเนินการเพื่อให้คนในชุมชนนั้นๆ สามารถเลี้ยงตนเองโดยเฉพาะมีรายได้เพิ่มขึ้น คนในชุมชนสามารถอยู่ดีเป็นสุข
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176418
โฆสิต การันตีศก.ดีครั้งที่ร้อย
รองนายกฯและรมว.อุตฯนั่งยันนอนยันเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง แม้ปัจจัยทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งฉุดความไม่มั่นใจต่อการลงทุนบ้าง ย้ำอีกรอบเมื่อการเมืองชัดเจนทุกอย่างดีขึ้นแน่ รับประกันเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตได้ไม่ต่ำกว่า4% เช่นเดียวกับปลัดคลัง
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า รัฐบาลและในความคิดเห็นส่วนตัว ยังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในขณะนี้มีความแข็งแกร่งต่อเนื่อง แม้จะมีการชะลอตัวลงในบางสาขา แต่หากดูภาพรวมเศรษฐกิจขณะนี้ยังเห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังมีอัตราการเติบโตที่ดี ส่วนที่เห็นว่ายังไม่ดีเพราะหลายฝ่ายยังมีความกังวลใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนแต่คิดว่าไม่น่าเป็นปัญหา เนื่องจากแนวทางต่างๆ ที่รัฐบาลใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจขณะนี้กำลังเดินหน้ากระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อความชัดเจนทางการเมืองเกิดขึ้น ซึ่งการที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้นน่าจะส่งผลดีต่อสถานการณ์ทางการเมืองและน่าจะทำให้บรรยากาศการค้าและการลงทุนจะกลับมาดีขึ้นไปอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงเชื่อว่าโอกาสอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ4 โดยคาดว่าจะไม่เห็นอัตราการเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 3ตามที่หลายฝ่ายมีความกังวลใจอยู่ในขณะนี้
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขใน 5 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาทลพบุรีและสระบุรี ว่า เท่าที่ได้รับฟังการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขแต่ละจังหวัดนั้น ถือว่าสามารถดำเนินการได้ดีระดับหนึ่งและเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริงเพราะแต่ละชุมชนจะเป็นผู้ดำเนินโครงการเองและรู้ว่าจะพัฒนาชุมชนของตนเองได้ดีอย่างไรแต่การพัฒนาชุมชนจะต้องได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชุนที่จะเข้ามาร่วมกันคิดร่วมกันดำเนินการเพื่อให้คนในชุมชนนั้นๆ สามารถเลี้ยงตนเองโดยเฉพาะมีรายได้เพิ่มขึ้น คนในชุมชนสามารถอยู่ดีเป็นสุข
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176418
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/06/07
โพสต์ที่ 21
คลังย้ำ 6 ปัจจัยถีบเศรษฐกิจ - 23/6/2550
คลังย้ำ 6 ปัจจัยถีบเศรษฐกิจ
ปลัดคลังเผย 6 ปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องระมัดระวังปัจจัยภายนอกด้วย อย่างไรก็ตามยังเชื่อเศรษฐกิจโตเกิน 4%
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจัยบวกที่สามารถช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังให้สามารถเติบโตได้เกิน 4% นั้นมี 6 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ 1. การคลี่คลายของสถานการณ์ทางการเมือง หากสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายเร็วความเชื่อมั่นก็กลับมาเร็ว ซึ่งช่วงเดือนที่ผ่านมาได้มีมติยุบพรรคการเมืองและล่าสุดภาครัฐประกาศให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้นจากเดิม ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติในเรื่องของความเชื่อมั่น เพราะความชัดเจนที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.ภาคการส่งออก ที่เชื่อว่าการส่งออกยังขยายตัวอยู่ในระดับดี 3. ภาคการนำเข้าที่ยังขยายตัวดี และหากขยายตัวดีต่อไปเช่นนี้ก็จะส่งผลดีต่อภาคการผลิตภายในประเทศด้วย 4. การกระตุ้นรายจ่ายของภาครัฐบาล 5.ภาคการลงทุน และ6.การนำเข้าสินค้าทุน รวมไปถึงเศรษฐกิจโลกก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ซึ่งมองว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ โดย 11 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย อาทิ จีน เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวันฯลฯ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง ยกเว้นสหรัฐอเมริกา
สำหรับปัจจัยลบที่ยังต้องจับตาดูอย่างต่อเนื่องนั้น ประกอบด้วย ค่าเงินบาท ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ราคาน้ำมันดิบ ที่คาดว่าจะกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง โดยสาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศคู่ค้าน้ำมันด้วยกัน ความผันผวนทางการเงินในภูมิภาคยังมีอยู่ต่อเนื่อง ความกังวลและการขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยของนักลงทุนที่ยังคงมีอยู่ และปัจจัยสุดท้าย คือ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ถ้ายิ่งทวีความรุนแรงขึ้นก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานดีและมีปัจจัยบวกหลายตัวที่จะเข้าที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ซึ่งในปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้สูงกว่า 4%
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176419
คลังย้ำ 6 ปัจจัยถีบเศรษฐกิจ
ปลัดคลังเผย 6 ปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องระมัดระวังปัจจัยภายนอกด้วย อย่างไรก็ตามยังเชื่อเศรษฐกิจโตเกิน 4%
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจัยบวกที่สามารถช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังให้สามารถเติบโตได้เกิน 4% นั้นมี 6 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ 1. การคลี่คลายของสถานการณ์ทางการเมือง หากสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายเร็วความเชื่อมั่นก็กลับมาเร็ว ซึ่งช่วงเดือนที่ผ่านมาได้มีมติยุบพรรคการเมืองและล่าสุดภาครัฐประกาศให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้นจากเดิม ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติในเรื่องของความเชื่อมั่น เพราะความชัดเจนที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.ภาคการส่งออก ที่เชื่อว่าการส่งออกยังขยายตัวอยู่ในระดับดี 3. ภาคการนำเข้าที่ยังขยายตัวดี และหากขยายตัวดีต่อไปเช่นนี้ก็จะส่งผลดีต่อภาคการผลิตภายในประเทศด้วย 4. การกระตุ้นรายจ่ายของภาครัฐบาล 5.ภาคการลงทุน และ6.การนำเข้าสินค้าทุน รวมไปถึงเศรษฐกิจโลกก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ซึ่งมองว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ โดย 11 ประเทศคู่ค้าหลักของไทย อาทิ จีน เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวันฯลฯ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง ยกเว้นสหรัฐอเมริกา
สำหรับปัจจัยลบที่ยังต้องจับตาดูอย่างต่อเนื่องนั้น ประกอบด้วย ค่าเงินบาท ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ราคาน้ำมันดิบ ที่คาดว่าจะกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง โดยสาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศคู่ค้าน้ำมันด้วยกัน ความผันผวนทางการเงินในภูมิภาคยังมีอยู่ต่อเนื่อง ความกังวลและการขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยของนักลงทุนที่ยังคงมีอยู่ และปัจจัยสุดท้าย คือ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ถ้ายิ่งทวีความรุนแรงขึ้นก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานดีและมีปัจจัยบวกหลายตัวที่จะเข้าที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ซึ่งในปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้สูงกว่า 4%
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176419
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/06/07
โพสต์ที่ 22
คลังเตรียมปรับเป้าจีดีพีโตสูงกว่า4% หลังเลือกตั้งเร็วขึ้น
22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 17:43:00
คลังเตรียมปรับประมาณการตัวเลขจีดีพีใหม่ ในเดือนส.ค.นี้ คาดแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังน่าจะฟื้นตัวเร็วขึ้น หลังการเมืองมีความชัดเจน ร่นเวลาเลือกตั้งเร็วขึ้นเป็น 25 พ.ย.
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังได้รับปัจจัยบวก โดยเฉพาะการเลื่อนวันจัดเลือกตั้งมาเป็นวันที่ 25 พ.ย.ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่จะดึงความมั่นใจในประเทศให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ในขณะที่แนวโน้มการส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายของภาครัฐที่ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551
นอกจากนี้ เสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง และเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจในอาเซียน 9 ประเทศ ที่สำคัญยังมีความพร้อมของนักลงทุนที่เตรียมพร้อมหลังสถานการณ์การเมืองชัดเจน อีกทั้งมาตรการทางการคลังที่สนับสนุนการลงทุนอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2550 ปรับตัวดีกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ที่ 4% อย่างแน่นอน ซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลังจะประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยใหม่อีกครั้งในเดือน ส.ค.นี้
ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบและต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอยู่ เช่น ค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่า แนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจนกระทบต้นทุนการผลิต และทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นที่ระดับ 2.8% รวมไปถึงความผันผวนด้านการเงินในภูมิภาคเพราะมีการไหลเข้าออกของเงินตราต่างประเทศ ความกังวลของนักลงทุนต่างประเทศ และปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า ยังมีความจำเป็นต้องเผยแพร่สถานการณ์เศรษฐกิจไทยให้ต่างชาติรับรู้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะการเมืองและนโยบายของรัฐบาล แต่ไม่จำเป็นต้องออกไปโรดโชว์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/2 ... wsid=80475
22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 17:43:00
คลังเตรียมปรับประมาณการตัวเลขจีดีพีใหม่ ในเดือนส.ค.นี้ คาดแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังน่าจะฟื้นตัวเร็วขึ้น หลังการเมืองมีความชัดเจน ร่นเวลาเลือกตั้งเร็วขึ้นเป็น 25 พ.ย.
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังได้รับปัจจัยบวก โดยเฉพาะการเลื่อนวันจัดเลือกตั้งมาเป็นวันที่ 25 พ.ย.ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่จะดึงความมั่นใจในประเทศให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ในขณะที่แนวโน้มการส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายของภาครัฐที่ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551
นอกจากนี้ เสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง และเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจในอาเซียน 9 ประเทศ ที่สำคัญยังมีความพร้อมของนักลงทุนที่เตรียมพร้อมหลังสถานการณ์การเมืองชัดเจน อีกทั้งมาตรการทางการคลังที่สนับสนุนการลงทุนอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2550 ปรับตัวดีกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ที่ 4% อย่างแน่นอน ซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลังจะประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยใหม่อีกครั้งในเดือน ส.ค.นี้
ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบและต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอยู่ เช่น ค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่า แนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจนกระทบต้นทุนการผลิต และทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นที่ระดับ 2.8% รวมไปถึงความผันผวนด้านการเงินในภูมิภาคเพราะมีการไหลเข้าออกของเงินตราต่างประเทศ ความกังวลของนักลงทุนต่างประเทศ และปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า ยังมีความจำเป็นต้องเผยแพร่สถานการณ์เศรษฐกิจไทยให้ต่างชาติรับรู้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะการเมืองและนโยบายของรัฐบาล แต่ไม่จำเป็นต้องออกไปโรดโชว์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/2 ... wsid=80475
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/06/07
โพสต์ที่ 23
8เดือนแรกปีงบ'51หนี้สาธารณะลดเหลือ3.2ล้านล้านบาท
22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 18:01:00
ยอดหนี้สาธารณะในช่วง 8 เดือนปีงบประมาณ 2550 ลดลง โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 38.12% ของจีดีพี ทั้งนี้เป็นผลจากยอดหนี้หลายส่วนลดลง
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยยอดหนี้สาธารณะล่าสุด จนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2550 ว่ามียอดรวมลดลง โดยมียอดหนี้รวมกว่า 3.20 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 38.12% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 13,172 ล้านบาท เนื่องจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ลดลง 10,196 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ลดลง 909 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลดลง 2,068 ล้านบาท ส่วนหนี้ขององค์กรรัฐอื่นไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับในช่วง 8 เดือนปีงบประมาณ 2550 คือ ช่วงระหว่างเดือน ต.ค.49 - พ.ค.50 สบน.สามารถบริหารจัดการหนี้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ ด้วยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 63,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตรและปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯกองที่ 1 วงเงิน 45,000 ล้านบาท และได้ต่ออายุหนี้เดิมของรัฐวิสาหกิจอีก 17,601 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/2 ... wsid=80481
22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 18:01:00
ยอดหนี้สาธารณะในช่วง 8 เดือนปีงบประมาณ 2550 ลดลง โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 38.12% ของจีดีพี ทั้งนี้เป็นผลจากยอดหนี้หลายส่วนลดลง
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยยอดหนี้สาธารณะล่าสุด จนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2550 ว่ามียอดรวมลดลง โดยมียอดหนี้รวมกว่า 3.20 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 38.12% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 13,172 ล้านบาท เนื่องจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ลดลง 10,196 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ลดลง 909 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลดลง 2,068 ล้านบาท ส่วนหนี้ขององค์กรรัฐอื่นไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับในช่วง 8 เดือนปีงบประมาณ 2550 คือ ช่วงระหว่างเดือน ต.ค.49 - พ.ค.50 สบน.สามารถบริหารจัดการหนี้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ ด้วยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 63,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตรและปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯกองที่ 1 วงเงิน 45,000 ล้านบาท และได้ต่ออายุหนี้เดิมของรัฐวิสาหกิจอีก 17,601 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/2 ... wsid=80481
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/06/07
โพสต์ที่ 24
ศุภวุฒิชี้ 10 ปี วิกฤติต้มยำกุ้ง ทุนสำรองสูงฉุดศก.เฉื่อย - 25/6/2550
ศุภวุฒิ ชี้จุดเฉื่อยเศรษฐกิจ เหตุมีทุนสำรองมากเกินความจำเป็นส่งผลค่าบาทแข็ง สะกิดขับเคลื่อนประเทศพึ่งแต่ส่งออก ส่งผลประเทศล้าหลัง แนะรัฐกระตุ้นเอกชนสร้างทุนสำรองของตัวเอง โยกเงินลงทุนต่างประเทศ เพื่อวัดประสิทธิภาพการแข่งขันทางอ้อม กรณ์ ระบุ ดอกเบี้ยปีนี้ยังลดได้อีก 0.5% พร้อมหนุน เบียร์ช้าง เข้าตลาดหุ้นไทย
ที่บ้านเย็นอากาศ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.50 นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ภัทร จำกัด (มหาชน) ปาฐกถาในงานสัมมนา 10 ปี วิกฤตการณ์ ต้มยำกุ้ง เราเรียนรู้อะไรจากอดีต ในตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจประเทศไทย มีปัญหาที่แตกต่างกับวิกฤติเศรษฐกิจ 10 ปี เมื่อ 2 ก.ค.40 ค่อนข้างมากจากเดิมที่เกิดวิกฤติปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงจนต้องกู้เงินไอเอ็มเอฟ แต่ปัจจุบันไทยกลับมีปัญหาด้านเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงเกินไป โดยขณะนี้ไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงเกินความจำเป็นถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ราคาเงินบาทแข็งรวมไปถึงเม็ดเงินเหล่านี้ ถือเป็นต้นทุนทั้งทางด้านค่าโอกาสที่เสียไปจากเงินเฟ้อ รวมไปถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ขณะที่ผลตอบแทนที่ได้กลับมาค่อนข้างต่ำมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการลงทุน โดยที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกพันธบัตร 1 ล้านล้านบาท ทำให้ ธปท.จะต้องเสียดอกเบี้ยจ่ายกับคนที่ถือพันธบัตร รวมไปถึงจะมีต้นทุนในเรื่องการออกพันธบัตรทดแทนเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน (โรล โอเวอร์) ซึ่งเป็นในรูปแบบงูกินหาง
ดังนั้น รัฐบาลควรที่จะกระตุ้นให้เอกชนสร้างทุนสำรองของตัวเองโดยการไปลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากการลงทุนของเอกชนจะเป็นตัววัดประสิทธิภาพการแข่งขันของประเทศโดยทางอ้อม อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศมีทุนสำรองมาก จะไม่ทำประเทศไทยไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเหมือน 10 ปีที่ผ่านมา แต่อาจจะเติบโตเฉื่อยลง โดยปัญหาของไทยขณะนี้ เกิดจากพึ่งพาการส่งออกถึงร้อยละ 65 ของ จีดีพี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ส่งออกประมาณร้อยละ 32 ของจีดีพี ทั้งๆ ที่ไม่มีทรัพยากรในการส่งออกมากนัก ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตช้ากว่าเพียงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาที่มีการเติบโต
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176515
ศุภวุฒิ ชี้จุดเฉื่อยเศรษฐกิจ เหตุมีทุนสำรองมากเกินความจำเป็นส่งผลค่าบาทแข็ง สะกิดขับเคลื่อนประเทศพึ่งแต่ส่งออก ส่งผลประเทศล้าหลัง แนะรัฐกระตุ้นเอกชนสร้างทุนสำรองของตัวเอง โยกเงินลงทุนต่างประเทศ เพื่อวัดประสิทธิภาพการแข่งขันทางอ้อม กรณ์ ระบุ ดอกเบี้ยปีนี้ยังลดได้อีก 0.5% พร้อมหนุน เบียร์ช้าง เข้าตลาดหุ้นไทย
ที่บ้านเย็นอากาศ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.50 นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ภัทร จำกัด (มหาชน) ปาฐกถาในงานสัมมนา 10 ปี วิกฤตการณ์ ต้มยำกุ้ง เราเรียนรู้อะไรจากอดีต ในตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจประเทศไทย มีปัญหาที่แตกต่างกับวิกฤติเศรษฐกิจ 10 ปี เมื่อ 2 ก.ค.40 ค่อนข้างมากจากเดิมที่เกิดวิกฤติปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงจนต้องกู้เงินไอเอ็มเอฟ แต่ปัจจุบันไทยกลับมีปัญหาด้านเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงเกินไป โดยขณะนี้ไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงเกินความจำเป็นถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ราคาเงินบาทแข็งรวมไปถึงเม็ดเงินเหล่านี้ ถือเป็นต้นทุนทั้งทางด้านค่าโอกาสที่เสียไปจากเงินเฟ้อ รวมไปถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ขณะที่ผลตอบแทนที่ได้กลับมาค่อนข้างต่ำมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการลงทุน โดยที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกพันธบัตร 1 ล้านล้านบาท ทำให้ ธปท.จะต้องเสียดอกเบี้ยจ่ายกับคนที่ถือพันธบัตร รวมไปถึงจะมีต้นทุนในเรื่องการออกพันธบัตรทดแทนเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน (โรล โอเวอร์) ซึ่งเป็นในรูปแบบงูกินหาง
ดังนั้น รัฐบาลควรที่จะกระตุ้นให้เอกชนสร้างทุนสำรองของตัวเองโดยการไปลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากการลงทุนของเอกชนจะเป็นตัววัดประสิทธิภาพการแข่งขันของประเทศโดยทางอ้อม อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศมีทุนสำรองมาก จะไม่ทำประเทศไทยไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเหมือน 10 ปีที่ผ่านมา แต่อาจจะเติบโตเฉื่อยลง โดยปัญหาของไทยขณะนี้ เกิดจากพึ่งพาการส่งออกถึงร้อยละ 65 ของ จีดีพี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ส่งออกประมาณร้อยละ 32 ของจีดีพี ทั้งๆ ที่ไม่มีทรัพยากรในการส่งออกมากนัก ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตช้ากว่าเพียงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาที่มีการเติบโต
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176515
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/06/07
โพสต์ที่ 25
เตือนจุดเสี่ยงวิกฤติเศรษฐกิจ ห่วงตลาดเงินตลาดทุนผันผวน-ภาระการคลังสูง
โดย วัน พุธ ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 02:55 น.
รมว.คลังห่วงเศรษฐกิจยังต้องเผชิญความเสี่ยง ชี้ความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งความเสี่ยงด้านการคลังเป็นปัจจัยที่ต้องระวังและหาทางป้องกัน โฆสิต มั่นใจไม่ซ้ำรอยเดิม
ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะเข้มแข็งขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ท้าทายจากภายในและภายนอก ดังนั้น ต้องไม่มั่นใจจนเกินเหตุว่าจะไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นต้องหาทางปิดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยความเสี่ยงที่ท้าทายต่อระบบเศรษฐกิจคือ ความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนของโลกยังอยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงทางด้านการคลังในอนาคต ซึ่งจะมีมาตรการทางการคลังจากการหาเสียงเลือกตั้ง ถ้าดูแลได้ก็จะป้องกันความเสี่ยงนี้ได้
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภายในและภายนอกเป็นสิ่งที่ผมมองเห็นรางๆ ในขณะนี้ ฉะนั้น จะต้องคุยกันในหลายแวดวงทั้งต่างประเทศ วิชาการและนักธุรกิจ เพื่อช่วยสอดส่องปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่วิกฤติว่ามาจากอะไร ดร.ฉลองภพ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงก่อน 10 ปีที่แล้วที่คล้ายกับขณะนี้คือ เริ่มมีการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศในระดับสูง และมีดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด รวมทั้งมีกรอบความคิดการเตือนภัยทางเศรษฐกิจผิดพลาด ซึ่งประเทศไทยได้รับบทเรียนต่างๆ มากมาย และปฏิรูปในประเทศมากมาย เพื่อทำให้ระบบบริหารเศรษฐกิจเข้มแข็งมากกว่าเดิม ทำให้ความเสี่ยงต่อวิกฤติเศรษฐกิจมีน้อยลง
ด้าน นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เชื่อว่าประเทศไทยจะไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นเดียวกับปี 2540 อีก ซึ่งได้รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยสามารถขับเคลื่อนได้ดีพอสมควร และในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับ 4% พร้อมกันนั้น ได้รายงานความคืบหน้าการเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 ซึ่งรัฐบาลจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต้นเดือนกรกฎาคมนี้
http://news.sanook.com/economic/economic_150801.php
โดย วัน พุธ ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 02:55 น.
รมว.คลังห่วงเศรษฐกิจยังต้องเผชิญความเสี่ยง ชี้ความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งความเสี่ยงด้านการคลังเป็นปัจจัยที่ต้องระวังและหาทางป้องกัน โฆสิต มั่นใจไม่ซ้ำรอยเดิม
ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะเข้มแข็งขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ท้าทายจากภายในและภายนอก ดังนั้น ต้องไม่มั่นใจจนเกินเหตุว่าจะไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นต้องหาทางปิดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยความเสี่ยงที่ท้าทายต่อระบบเศรษฐกิจคือ ความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนของโลกยังอยู่ในระดับสูง และความเสี่ยงทางด้านการคลังในอนาคต ซึ่งจะมีมาตรการทางการคลังจากการหาเสียงเลือกตั้ง ถ้าดูแลได้ก็จะป้องกันความเสี่ยงนี้ได้
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภายในและภายนอกเป็นสิ่งที่ผมมองเห็นรางๆ ในขณะนี้ ฉะนั้น จะต้องคุยกันในหลายแวดวงทั้งต่างประเทศ วิชาการและนักธุรกิจ เพื่อช่วยสอดส่องปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่วิกฤติว่ามาจากอะไร ดร.ฉลองภพ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงก่อน 10 ปีที่แล้วที่คล้ายกับขณะนี้คือ เริ่มมีการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศในระดับสูง และมีดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด รวมทั้งมีกรอบความคิดการเตือนภัยทางเศรษฐกิจผิดพลาด ซึ่งประเทศไทยได้รับบทเรียนต่างๆ มากมาย และปฏิรูปในประเทศมากมาย เพื่อทำให้ระบบบริหารเศรษฐกิจเข้มแข็งมากกว่าเดิม ทำให้ความเสี่ยงต่อวิกฤติเศรษฐกิจมีน้อยลง
ด้าน นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เชื่อว่าประเทศไทยจะไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นเดียวกับปี 2540 อีก ซึ่งได้รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยสามารถขับเคลื่อนได้ดีพอสมควร และในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับ 4% พร้อมกันนั้น ได้รายงานความคืบหน้าการเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 ซึ่งรัฐบาลจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต้นเดือนกรกฎาคมนี้
http://news.sanook.com/economic/economic_150801.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/06/07
โพสต์ที่ 26
ต่างชาติมองไทยดีดันหุ้นบวก
โพสต์ทูเดย์ หุ้นไทยไม่รอเฟด เด้งรับต่างชาติเพิ่มน้ำหนัก-ครึ่งหลังเศรษฐกิจฟื้น ต่างประเทศซื้อ 258 ล้าน
ตลาดหุ้นไทยฟื้นสวนตลาดหุ้นเอเชียหลายแห่งที่ลดลง โดยดัชนี ปิดที่ 771 จุด เพิ่มขึ้น 4.03 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบาง 12,679.12 ล้านบาท
ด้านนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 258.42 ล้านบาท สถาบันขาย 59.34 ล้านบาท และรายย่อยขาย199.08 ล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง ร่วม 9 หมื่นล้านบาท
เจ้าหน้าที่การตลาดกล่าวว่า ดัชนีที่ปรับตัวขึ้นได้เพราะราคาหุ้นตัวใหญ่สูงขึ้นจากวันก่อน เช่น ปตท. ปิดที่ 270 บาท บวก 2 บาท ดีแทค ปิดที่ 41.75 บาท บวก 1.75 บาท และ ธนาคารกสิกรไทย เพิ่มขึ้น 1.50 บาท ปิดที่ 72.50 บาท ขณะที่แรงเก็งกำไรหุ้นแสบลดลง
บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ได้ปรับเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จาก 3.8% เป็น 4.5% ในปีนี้และปรับเพิ่มประมาณการกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) เป็น 5% ในปีนี้ และ 11% ในปี 2551
แม้ช่วงนี้ตลาดจะอยู่ในช่วงปรับฐาน แต่ทุกครั้งที่ตลาดหุ้นลดลงก็จะมีแรงซื้อกลับเข้ามา ทำให้มองว่าในช่วงสัปดาห์หน้าเป้าหมายดัชนีจะอยู่ที่780 จุด บล.กิมเอ็งระบุ
นอกจากนี้ ในส่วนของโบรกเกอร์ต่างประเทศ เช่น บล.เอสเอชบีซี เอเชียได้ประกาศเพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นไทยและไต้หวัน จากเดิมให้น้ำหนักต่ำกว่าตลาด เป็นมากกว่าตลาด
ตลาดหุ้นไทยซื้อขายที่ P/E เพียง10.05 เท่า ยังถูกมากเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นอื่นๆ และมีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปได้อีก 12% หากมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวังไว้ ก็จะให้ผล ตอบแทนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ CLSA ก็ได้เพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยจากศูนย์เป็น 1
น.ส.ปองรัตน์ รัตนตวนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.บัวหลวง กล่าวว่า ตลาดหุ้นระยะนี้ อยู่ในช่วงปรับฐานและเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ นักลงทุนยังรอดูท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่า จะส่งสัญญาณใดๆ ออกแต่ส่วนใหญ่คาดกันว่าจะคงดอกเบี้ยในระดับ 5.25% ไปจนถึงสิ้นปี เพราะหากจะลดดอกเบี้ยก็กังวลเรื่องเงินเฟ้อ หากจะปรับขึ้นก็กังวลเรื่องอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่คอยดีนัก ดังนั้นทางออกคือใช้วิธีการตรึงดอกเบี้ยไว้ก่อนและตอนนี้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี อยู่ที่ 5% ลดลงจากก่อนหน้าที่พุ่งขึ้น
น.ส.วชิราลักษณ์ แสงเลิศศิลปชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ต้องจับตาการโยกออกของเงินเพื่อไปลงทุนในหุ้นปิโตรไชนาที่จะขายไอพีโอในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้จีน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=175254
โพสต์ทูเดย์ หุ้นไทยไม่รอเฟด เด้งรับต่างชาติเพิ่มน้ำหนัก-ครึ่งหลังเศรษฐกิจฟื้น ต่างประเทศซื้อ 258 ล้าน
ตลาดหุ้นไทยฟื้นสวนตลาดหุ้นเอเชียหลายแห่งที่ลดลง โดยดัชนี ปิดที่ 771 จุด เพิ่มขึ้น 4.03 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบาง 12,679.12 ล้านบาท
ด้านนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 258.42 ล้านบาท สถาบันขาย 59.34 ล้านบาท และรายย่อยขาย199.08 ล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง ร่วม 9 หมื่นล้านบาท
เจ้าหน้าที่การตลาดกล่าวว่า ดัชนีที่ปรับตัวขึ้นได้เพราะราคาหุ้นตัวใหญ่สูงขึ้นจากวันก่อน เช่น ปตท. ปิดที่ 270 บาท บวก 2 บาท ดีแทค ปิดที่ 41.75 บาท บวก 1.75 บาท และ ธนาคารกสิกรไทย เพิ่มขึ้น 1.50 บาท ปิดที่ 72.50 บาท ขณะที่แรงเก็งกำไรหุ้นแสบลดลง
บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ได้ปรับเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จาก 3.8% เป็น 4.5% ในปีนี้และปรับเพิ่มประมาณการกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) เป็น 5% ในปีนี้ และ 11% ในปี 2551
แม้ช่วงนี้ตลาดจะอยู่ในช่วงปรับฐาน แต่ทุกครั้งที่ตลาดหุ้นลดลงก็จะมีแรงซื้อกลับเข้ามา ทำให้มองว่าในช่วงสัปดาห์หน้าเป้าหมายดัชนีจะอยู่ที่780 จุด บล.กิมเอ็งระบุ
นอกจากนี้ ในส่วนของโบรกเกอร์ต่างประเทศ เช่น บล.เอสเอชบีซี เอเชียได้ประกาศเพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นไทยและไต้หวัน จากเดิมให้น้ำหนักต่ำกว่าตลาด เป็นมากกว่าตลาด
ตลาดหุ้นไทยซื้อขายที่ P/E เพียง10.05 เท่า ยังถูกมากเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นอื่นๆ และมีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปได้อีก 12% หากมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวังไว้ ก็จะให้ผล ตอบแทนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ CLSA ก็ได้เพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยจากศูนย์เป็น 1
น.ส.ปองรัตน์ รัตนตวนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.บัวหลวง กล่าวว่า ตลาดหุ้นระยะนี้ อยู่ในช่วงปรับฐานและเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ นักลงทุนยังรอดูท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่า จะส่งสัญญาณใดๆ ออกแต่ส่วนใหญ่คาดกันว่าจะคงดอกเบี้ยในระดับ 5.25% ไปจนถึงสิ้นปี เพราะหากจะลดดอกเบี้ยก็กังวลเรื่องเงินเฟ้อ หากจะปรับขึ้นก็กังวลเรื่องอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่คอยดีนัก ดังนั้นทางออกคือใช้วิธีการตรึงดอกเบี้ยไว้ก่อนและตอนนี้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี อยู่ที่ 5% ลดลงจากก่อนหน้าที่พุ่งขึ้น
น.ส.วชิราลักษณ์ แสงเลิศศิลปชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ต้องจับตาการโยกออกของเงินเพื่อไปลงทุนในหุ้นปิโตรไชนาที่จะขายไอพีโอในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้จีน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=175254
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/06/07
โพสต์ที่ 27
โฆสิต-นายแบงก์ชี้เศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นแสง
โพสต์ทูเดย์ รัฐและเอกชนประสานเสียงเศรษฐกิจโค้งสุดท้ายฟื้นแน่ เชื่อเงินลงทุน พุ่ง-ดอกเบี้ยลดอีก 0.25%
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม ปาฐกถาพิเศษเรื่อง บทบาทรัฐกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ โดยปัจจัยหนุนมาจากเม็ดเงินลงทุนภาครัฐจะกระจายลงสู่ ภาคประชาชนในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้
ทั้งนี้ จะมีการเบิกจ่ายเงินโบนัสข้าราชการจำนวน 6.8 พันล้านบาท นอกจากนั้น จะเสนอของบโครงการอยู่ดีมีสุขอีก 2 พันล้านบาท รวมกับวงเงินเดิม 5 พันล้านบาท ที่จะถึงมือทุกชุมชนในเดือน ก.ค.นี้ และในวันที่ 29 มิ.ย. จะขออนุมัตินายกรัฐมนตรี อนุมัติงบประมาณโครงการเอสเอ็มแอลของรัฐบาลชุดก่อนเพิ่มอีก 5 พันล้านบาท รวมกับของเดิมเป็น 1.2 หมื่นล้านบาท
สำหรับการลงทุนของภาคเอกชนนั้น จะมีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นเพิ่มเติม จากโครงการขนาดเล็ก เช่น บริษัท ปตท. และการประมูลรถไฟฟ้า
ขณะนี้เศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นแสงและยังไม่เจิดจ้ามากนัก ตัวเลขการนำเข้าสินค้าทุนในเดือน เม.ย. เริ่มเป็นบวกครั้งแรกหลังจากที่ติดลบมา 8 เดือน และในไตรมาส 3 รัฐบาลจะสามารถกระตุ้นการบริโภคได้อย่างทั่วถึง นายโฆสิต กล่าว
ขณะที่ปีหน้าจะมีอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจประมาณ 5% ซึ่งรัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถส่งต่อสภาพเศรษฐกิจในสภาวะที่แข็งแกร่งให้กับรัฐบาลชุดต่อไปได้
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าปีนี้จะขยายตัว 4-4.5% การส่งออกขยายตัวได้ 14-15% สูงกว่าที่คาดไว้ 10-12% ส่วนทิศทางดอกเบี้ยครึ่งปีหลังน่าจะปรับลดลงได้อีกอย่างน้อย 0.25%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=175214
โพสต์ทูเดย์ รัฐและเอกชนประสานเสียงเศรษฐกิจโค้งสุดท้ายฟื้นแน่ เชื่อเงินลงทุน พุ่ง-ดอกเบี้ยลดอีก 0.25%
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม ปาฐกถาพิเศษเรื่อง บทบาทรัฐกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ โดยปัจจัยหนุนมาจากเม็ดเงินลงทุนภาครัฐจะกระจายลงสู่ ภาคประชาชนในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้
ทั้งนี้ จะมีการเบิกจ่ายเงินโบนัสข้าราชการจำนวน 6.8 พันล้านบาท นอกจากนั้น จะเสนอของบโครงการอยู่ดีมีสุขอีก 2 พันล้านบาท รวมกับวงเงินเดิม 5 พันล้านบาท ที่จะถึงมือทุกชุมชนในเดือน ก.ค.นี้ และในวันที่ 29 มิ.ย. จะขออนุมัตินายกรัฐมนตรี อนุมัติงบประมาณโครงการเอสเอ็มแอลของรัฐบาลชุดก่อนเพิ่มอีก 5 พันล้านบาท รวมกับของเดิมเป็น 1.2 หมื่นล้านบาท
สำหรับการลงทุนของภาคเอกชนนั้น จะมีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นเพิ่มเติม จากโครงการขนาดเล็ก เช่น บริษัท ปตท. และการประมูลรถไฟฟ้า
ขณะนี้เศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นแสงและยังไม่เจิดจ้ามากนัก ตัวเลขการนำเข้าสินค้าทุนในเดือน เม.ย. เริ่มเป็นบวกครั้งแรกหลังจากที่ติดลบมา 8 เดือน และในไตรมาส 3 รัฐบาลจะสามารถกระตุ้นการบริโภคได้อย่างทั่วถึง นายโฆสิต กล่าว
ขณะที่ปีหน้าจะมีอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจประมาณ 5% ซึ่งรัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถส่งต่อสภาพเศรษฐกิจในสภาวะที่แข็งแกร่งให้กับรัฐบาลชุดต่อไปได้
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าปีนี้จะขยายตัว 4-4.5% การส่งออกขยายตัวได้ 14-15% สูงกว่าที่คาดไว้ 10-12% ส่วนทิศทางดอกเบี้ยครึ่งปีหลังน่าจะปรับลดลงได้อีกอย่างน้อย 0.25%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=175214
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/06/07
โพสต์ที่ 28
ดบ.ไทยจ่อขึ้นตามบอนด์สหรัฐ รักษาส่วนต่างกันเงินไหลออก
ตลาดดอกเบี้ยผันผวน นักเศรษฐศาสตร์ชี้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวสูง ตามคาดการณ์เฟดไม่ลดดอกเบี้ย ทำดอกเบี้ยไทยขึ้นตาม อาจส่งผล กนง.ไม่ลดดอกเบี้ย ต้องระวังหากเก็บดอกเบี้ยระหว่างประเทศสูงเกิน เงินจะไหลออก ด้านนายแบงก์ระบุต้องดูอัตราแลกเปลี่ยน หากเงินบาทยังแข็งก็มีโอกาสลดดอกเบี้ยได้
ตามที่ตลาดต่างประเทศคาดการณ์ว่า ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ในปลายเดือนนี้ จะมีการคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% จากเดิมที่คาดว่า เฟดน่าจะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้สหรัฐยังคงมีปัญหาเงินเฟ้อ จึงเริ่มเป็นไปได้น้อยที่เฟดจะลดดอกเบี้ย
จากการคาดการณ์ของตลาดส่งผลให้ผลตอบ แทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐปรับตัวขึ้น และด้วยดอกเบี้ยระยะยาวในแต่ละประเทศมีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น จึงมีนักเศรษฐศาสตร์บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า หากผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรยังขยับขึ้นต่อเนื่อง อาจส่งผลถึงทิศทางดอกเบี้ยของไทยด้วย
นางสาวถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร กล่าวว่า ยังคงประเมินว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบวันที่ 18 ก.ค. จะมีการคงดอกเบี้ยไว้ก่อน เพราะในไตรมาส 3 เป็น ต้นไป เศรษฐกิจคงจะฟื้นตัวขึ้นจากที่รัฐบาลได้ใส่เงินเข้าไปมากแล้ว ขณะที่ดอกเบี้ยต่างประเทศทั้งยุโรปและญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ส่วนสหรัฐตลาดก็คาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25% ซึ่งดอกเบี้ยต่างประเทศจะเป็นปัจจัยหนึ่งประกอบการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
"ถ้ามีช่องว่างของดอกเบี้ยมากเกินไปอาจเกิดการไหลออกของเงิน แม้ตอนนี้มันยังไม่เกิดขึ้น แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถ้าเกิดขึ้นแล้วมันยับยั้งลำบาก รอบหน้าถ้าแบงก์ชาติลงดอกเบี้ยไปอีก ก็ดูเหมือนจะสวนทางตลาด คือ ดูจากสถานการณ์ภายนอกก็ไม่เอื้อนัก ขณะภายในรัฐบาลก็ใส่เงินเข้าไปมากพอสมควร และตอนนี้การบริโภคก็อ่อนไหวต่อสถานการณ์การเมืองมากกว่าดอกเบี้ย"
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0206
ตลาดดอกเบี้ยผันผวน นักเศรษฐศาสตร์ชี้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวสูง ตามคาดการณ์เฟดไม่ลดดอกเบี้ย ทำดอกเบี้ยไทยขึ้นตาม อาจส่งผล กนง.ไม่ลดดอกเบี้ย ต้องระวังหากเก็บดอกเบี้ยระหว่างประเทศสูงเกิน เงินจะไหลออก ด้านนายแบงก์ระบุต้องดูอัตราแลกเปลี่ยน หากเงินบาทยังแข็งก็มีโอกาสลดดอกเบี้ยได้
ตามที่ตลาดต่างประเทศคาดการณ์ว่า ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ในปลายเดือนนี้ จะมีการคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% จากเดิมที่คาดว่า เฟดน่าจะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แต่ขณะนี้สหรัฐยังคงมีปัญหาเงินเฟ้อ จึงเริ่มเป็นไปได้น้อยที่เฟดจะลดดอกเบี้ย
จากการคาดการณ์ของตลาดส่งผลให้ผลตอบ แทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐปรับตัวขึ้น และด้วยดอกเบี้ยระยะยาวในแต่ละประเทศมีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น จึงมีนักเศรษฐศาสตร์บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า หากผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรยังขยับขึ้นต่อเนื่อง อาจส่งผลถึงทิศทางดอกเบี้ยของไทยด้วย
นางสาวถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร กล่าวว่า ยังคงประเมินว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบวันที่ 18 ก.ค. จะมีการคงดอกเบี้ยไว้ก่อน เพราะในไตรมาส 3 เป็น ต้นไป เศรษฐกิจคงจะฟื้นตัวขึ้นจากที่รัฐบาลได้ใส่เงินเข้าไปมากแล้ว ขณะที่ดอกเบี้ยต่างประเทศทั้งยุโรปและญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ส่วนสหรัฐตลาดก็คาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25% ซึ่งดอกเบี้ยต่างประเทศจะเป็นปัจจัยหนึ่งประกอบการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
"ถ้ามีช่องว่างของดอกเบี้ยมากเกินไปอาจเกิดการไหลออกของเงิน แม้ตอนนี้มันยังไม่เกิดขึ้น แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถ้าเกิดขึ้นแล้วมันยับยั้งลำบาก รอบหน้าถ้าแบงก์ชาติลงดอกเบี้ยไปอีก ก็ดูเหมือนจะสวนทางตลาด คือ ดูจากสถานการณ์ภายนอกก็ไม่เอื้อนัก ขณะภายในรัฐบาลก็ใส่เงินเข้าไปมากพอสมควร และตอนนี้การบริโภคก็อ่อนไหวต่อสถานการณ์การเมืองมากกว่าดอกเบี้ย"
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0206
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/06/07
โพสต์ที่ 29
จับตางบฯดันศก.ไตรมาสสุดท้ายโต4%
โพสต์ทูเดย์ นักวิชาการจากนิด้าหนุนรัฐ อัดงบประมาณขาดดุล 2 ปีติด เชื่อไตรมาสสุดท้ายปีนี้มีสิทธิโต 4%
นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า กล่าวว่า ในไตรมาส 4 ของปีนี้ อาจจะได้เห็นตัวเลขการเติบโต ทางเศรษฐกิจที่ระดับ 4% เนื่องจากการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้มีการจัดทำตามแผนงานที่วางไว้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นายมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้มีความจำเป็นในการจัดทำงบประมาณปี 2551 แบบขาดดุล 1.6 แสนล้านบาท เพราะต้องการให้การลงทุนของภาครัฐไปช่วยเสริมภาคเอกชนและภาคประชาชนให้ขับเคลื่อนได้ต่อไปได้
โดยปกติในการจัดทำงบประมาณ ถ้าปีใดที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีนัก หรือมีความจำเป็นต้องดูแล จากปัญหาภาคครัวเรือนใช้จ่ายไม่เต็มที่ ภาคธุรกิจไม่ลงทุน ภาครัฐก็จำเป็นต้องเสริมกำลังเข้าไปเพื่อช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นายมนตรี กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมาในแต่ละปีจะมีการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการไม่ค่อยครบตามวงเงินที่กำหนดไว้ และในช่วงระหว่างปีมักมีการใช้จ่ายล่าช้า ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้เม็ดเงินที่วางไว้ไม่ได้ถูกใช้ไปตามแผน ทำให้การใช้จ่ายต่างๆ เกิดขึ้นไม่เต็มที่ ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงทำได้ไม่เต็มที่ตามไปด้วย สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ว่าภาครัฐจะมีการบริหารจัดการอย่างไรให้เม็ดเงินเหล่านี้มีการใช้จ่ายอย่างเต็มที่ ตามเวลา และสอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้ ซึ่งถ้าทำได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจในช่วงนั้นได้ประโยชน์จากงบประมาณที่ตั้งไว้แบบขาดดุล
ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณปี 2551 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ งบประจำ เช่น เงินเดือน และครุภัณฑ์ คิดเป็นสัดส่วน 73% ของงบประมาณทั้งหมด, งบลงทุน ซึ่งใช้ในการพัฒนา การลงทุน และสาธารณูปโภค 25% และที่เหลืออีก 3% เป็นงบการชำระหนี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=175454
โพสต์ทูเดย์ นักวิชาการจากนิด้าหนุนรัฐ อัดงบประมาณขาดดุล 2 ปีติด เชื่อไตรมาสสุดท้ายปีนี้มีสิทธิโต 4%
นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า กล่าวว่า ในไตรมาส 4 ของปีนี้ อาจจะได้เห็นตัวเลขการเติบโต ทางเศรษฐกิจที่ระดับ 4% เนื่องจากการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้มีการจัดทำตามแผนงานที่วางไว้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นายมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้มีความจำเป็นในการจัดทำงบประมาณปี 2551 แบบขาดดุล 1.6 แสนล้านบาท เพราะต้องการให้การลงทุนของภาครัฐไปช่วยเสริมภาคเอกชนและภาคประชาชนให้ขับเคลื่อนได้ต่อไปได้
โดยปกติในการจัดทำงบประมาณ ถ้าปีใดที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีนัก หรือมีความจำเป็นต้องดูแล จากปัญหาภาคครัวเรือนใช้จ่ายไม่เต็มที่ ภาคธุรกิจไม่ลงทุน ภาครัฐก็จำเป็นต้องเสริมกำลังเข้าไปเพื่อช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นายมนตรี กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมาในแต่ละปีจะมีการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการไม่ค่อยครบตามวงเงินที่กำหนดไว้ และในช่วงระหว่างปีมักมีการใช้จ่ายล่าช้า ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้เม็ดเงินที่วางไว้ไม่ได้ถูกใช้ไปตามแผน ทำให้การใช้จ่ายต่างๆ เกิดขึ้นไม่เต็มที่ ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงทำได้ไม่เต็มที่ตามไปด้วย สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ว่าภาครัฐจะมีการบริหารจัดการอย่างไรให้เม็ดเงินเหล่านี้มีการใช้จ่ายอย่างเต็มที่ ตามเวลา และสอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้ ซึ่งถ้าทำได้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจในช่วงนั้นได้ประโยชน์จากงบประมาณที่ตั้งไว้แบบขาดดุล
ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณปี 2551 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ งบประจำ เช่น เงินเดือน และครุภัณฑ์ คิดเป็นสัดส่วน 73% ของงบประมาณทั้งหมด, งบลงทุน ซึ่งใช้ในการพัฒนา การลงทุน และสาธารณูปโภค 25% และที่เหลืออีก 3% เป็นงบการชำระหนี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=175454
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/06/07
โพสต์ที่ 30
นายกฯ เผยอินเดียเตรียมลงทุนผลิตยา-ไอที-รถยนต์ในไทย
โดย เดลินิวส์ วัน พฤหัสบดี ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 14:54 น.
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงถึงผลสำเร็จการเยือนอินเดียระหว่างวันที่ 25-27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า การเยือนอินเดียครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นและความร่วมมือด้านต่าง ๆ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือการปรับปรุงข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-อินเดีย ที่ได้มีการเจรจากันมานานแล้ว และคิดว่าครั้งนี้น่าจะสำเร็จตามที่ได้มุ่งหวัง เพราะข้อตกลงความร่วมมือจะนำไปสู่ข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับอินเดียในอนาคต ซึ่งจะเป็นความร่วมมืออย่างจริงจังไม่มีใครได้หรือเสียประโยชน์ระหว่างกัน โดยปัจจุบันการค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าใกล้เคียงกัน ไม่มีใครได้หรือขาดดุลการค้าอย่างมากมาย เป็นลักษณะที่เป็นประโยชน์ระหว่างกันในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องของการลงทุนทางอินเดียคงจะมาลงทุนในด้านที่มีความเชี่ยวชาญคือด้านเทคโนโลยีด้านไอที บริษัทผลิตยา นอกจากนี้บริษัททาทา ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตรถยนต์ก็พร้อมที่จะมาลงทุนในไทยด้วย ในส่วนของไทยก็จะไปดูในเรื่องของการลงทุนจากบริษัทก่อสร้าง ซึ่งอินเดียต้องการให้ไทยเข้าไปลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันต่างก็ทราบดีว่าจีนและอินเดียมีส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจของเอเชีย ดังนั้นถ้าเราสามารถร่วมมือกับทั้งสองประเทศก็จะทำให้โอกาสของเราดีขึ้น ซึ่งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่อง นอกจากนี้อินเดียยังได้หารือถึงการเร่งการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย ผ่านพม่ามายังประเทศไทย
http://news.sanook.com/economic/economic_151182.php
โดย เดลินิวส์ วัน พฤหัสบดี ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 14:54 น.
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงถึงผลสำเร็จการเยือนอินเดียระหว่างวันที่ 25-27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า การเยือนอินเดียครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นและความร่วมมือด้านต่าง ๆ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือการปรับปรุงข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-อินเดีย ที่ได้มีการเจรจากันมานานแล้ว และคิดว่าครั้งนี้น่าจะสำเร็จตามที่ได้มุ่งหวัง เพราะข้อตกลงความร่วมมือจะนำไปสู่ข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับอินเดียในอนาคต ซึ่งจะเป็นความร่วมมืออย่างจริงจังไม่มีใครได้หรือเสียประโยชน์ระหว่างกัน โดยปัจจุบันการค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าใกล้เคียงกัน ไม่มีใครได้หรือขาดดุลการค้าอย่างมากมาย เป็นลักษณะที่เป็นประโยชน์ระหว่างกันในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องของการลงทุนทางอินเดียคงจะมาลงทุนในด้านที่มีความเชี่ยวชาญคือด้านเทคโนโลยีด้านไอที บริษัทผลิตยา นอกจากนี้บริษัททาทา ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตรถยนต์ก็พร้อมที่จะมาลงทุนในไทยด้วย ในส่วนของไทยก็จะไปดูในเรื่องของการลงทุนจากบริษัทก่อสร้าง ซึ่งอินเดียต้องการให้ไทยเข้าไปลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันต่างก็ทราบดีว่าจีนและอินเดียมีส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจของเอเชีย ดังนั้นถ้าเราสามารถร่วมมือกับทั้งสองประเทศก็จะทำให้โอกาสของเราดีขึ้น ซึ่งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่อง นอกจากนี้อินเดียยังได้หารือถึงการเร่งการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย ผ่านพม่ามายังประเทศไทย
http://news.sanook.com/economic/economic_151182.php