"ลบสี่สิบบวกร้อย" รหัสลับเล่นหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
tummeng
Verified User
โพสต์: 3665
ผู้ติดตาม: 0

"ลบสี่สิบบวกร้อย" รหัสลับเล่นหุ้น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

"ลบสี่สิบบวกร้อย" รหัสลับเล่นหุ้น

"วิกรม เกษมวุฒิ" นักลงทุนแนวสถิติประยุกต์ เชื่อมั่นว่านักลงทุนสามารถนำประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย มาเป็นไฟส่องทางได้อย่างไม่เหลือบ่ากว่าแรง

จากการเก็บสถิติดัชนีหุ้นไทยในรอบ 31 ปี (30 เม.ย.2518 ถึง 24 พ.ค.2550) ทำให้เขาค้นพบเคล็ดลับว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไม่จำเป็นต้องซื้อๆ ขายๆ บ่อยครั้ง แต่ให้ใช้หลักลงทุนแบบ "ลบสี่สิบบวกร้อย" เป็นแนวทาง

"ลบสี่สิบบวกร้อย" ในความหมายของวิกรมคือ ถ้าหุ้นลง 40% ถึงจังหวะซื้อยกพอร์ต และถ้าหุ้นขึ้น 100% ถึงเวลาขายให้เกลี้ยงพอร์ต

"อดีตบอกกับเราว่า หากซื้อและขายเพียง 6 ครั้งในรอบ 31 ปีโดยพิจารณาผลตอบแทนจากตลาดรวมเป็นเครื่องมือตัดสินใจ ก็ทำให้เรามีสิทธิรวยได้แล้ว"

วิกรม บอกว่า ในรอบ 31 ปีของตลาดหุ้นไทย มีโอกาสให้นักลงทุนหาจังหวะ "ซื้อ 3 ครั้ง" เท่านั้น คือ ในปี 2522 ,2540 และ 2543 เพราะเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนได้ปรับลดลง และ "ขาย 3 ครั้ง" คือ ในปี 2520, 2532 และ 2546 ซึ่งเป็นปีที่ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนสูงสุด

"เคล็ดลับในการซื้อและขายคือ เมื่อใดที่ผลตอบแทนโดยรวมของตลาดมากกว่า 100% ให้เทขายหมดพอร์ต เช่นในปี 2520 ที่ผลตอบแทนตลาดขึ้นสูงสุด+119.59% ,ปี 2532 +127.34% และปี 2546+116.60% ในทางกลับกันเมื่อผลตอบแทนโดยรวมของตลาดหุ้นลดลงตกต่ำเกินกว่า 40% ให้ซื้อหมดพอร์ต เช่น ช่วงปี 2522 ผลตอบแทนตลาด-42.03% ,ปี 2540 -55.18% และปี 2543 -44.14%"

เจ้าตำรับนักลงทุนสถิติ ให้ข้อสังเกตเพื่อเป็นแนวทางลงทุนในอนาคตด้วยว่า นักลงทุนอาจมีจังหวะขายหุ้นครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 2556 เพราะเขาเชื่อว่าปีนั้นตลาดหุ้นจะกลับมา "บูมสุดขีด" อีกครั้ง โดยใช้หลักสถิติเลข 14

"สถิติที่บอกว่าต้องขายหุ้นเมื่อผลตอบแทนตลาดโดยรวมเพิ่มขึ้นเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ 2 ครั้ง ตรงกับครบรอบ 14 ปีพอดี คือในปี 2532 ที่ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 127.34% และครั้งที่ 2 ในปี 2546 ตลาดให้ผลตอบแทน +116.60% ผมมั่นใจว่าปี 2556 จะครบรอบ 14 ปี เป็นครั้งที่ 3 เชื่อว่าหุ้นไทยจะบูมระเบิด ซึ่งเป็นจังหวะขายหุ้นครั้งใหญ่"

14 ปีจะมีหนที่ตลาดหุ้นบูมสุดขีดนั่นคือ สัญญาณบวกของตลาดหุ้น แต่ในเชิงสถิติก็บอก "ลางร้าย" ไว้ด้วย "วิกรม" บอกว่า ตัวเลขเตือนภัยของตลาดหุ้นคือ พี/อี เรโช ที่ 31 เท่า

เมื่อใดก็ตามที่ ค่าพี/อี เรโช ตลาดหุ้นไทย แตะ 31 เท่า เป็นลางบอกว่า หุ้นไทยเข้าสู่เขต "อันตราย" !! "มีสถิติ 2 ครั้งที่ค่าพี/อี เรโช ขึ้นไปถึง 31 เท่า และตลาดหุ้นพังครืนลงมา เนื่องจากราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นสูงเกินพื้นฐานที่ควรจะเป็น"

ครั้งแรกเมื่อปี 2533 ดัชนีหุ้นไทยได้ขึ้นไปสูงสุดที่ 1143.78 จุด เมื่อ 25 กรกฎาคม 2533 จากนั้นปรับตัวลดลงรุนแรงจากเหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 หลังจากอิรักบุกคูเวต

ครั้งที่สอง ดัชนีขึ้นไปสูงสุด 1,753.73 เมื่อ 4 มกราคม 2537 โดยมีค่าพี/อี เรโช 31 เท่า และปรับตัวลงมารุนแรงถึงก้นบึ้งที่ 207 จุดในอีก 4 ปีต่อมาเมื่อ 4 กันยายน 2541 หลังจากเกิดวิกฤติการเงินและลอยตัวค่าเงินบาท"

วิกรม ชี้ว่า เมื่อใดที่ค่าพี/อีเรโช ขึ้นไปแตะ 31 เท่า นั่นคือ สัญญาณอันตรายที่นักลงทุนพึงระวัง

"ตอนนี้หุ้นไทยค่าพีอีอยู่ที่ 10.18 เท่า และผลตอบแทนตลาดโดยรวมอยู่ที่ 5.78% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก ฉะนั้นกลยุทธ์ลงทุนช่วงนี้ จึงควรรอให้ราคาหุ้นปรับตัวลงมากค่อยซื้อ และขายเมื่อเกิดการแตกตื่นเช่นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ที่หุ้นตกกว่า 100 จุด"

สถิติบอกว่า หากจะลงทุนในหุ้นไทย อย่าซื้อๆ ขายๆ บ่อย แต่เลือกจังหวะซื้อให้ถูก และลงทุนระยะยาว ก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ และหลักการ "ลบสี่สิบบวกร้อยเปอร์เซ็นต์" ก็คือสูตรลัดของ นักลงทุนรุ่นเก๋า "วิกรม เกษมวุฒิ" เซียนสถิติตัวยง

Bizweek - วันศุกร์ที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ภาพประจำตัวสมาชิก
tummeng
Verified User
โพสต์: 3665
ผู้ติดตาม: 0

"ลบสี่สิบบวกร้อย" รหัสลับเล่นหุ้น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

สูตรลงทุน...วิกรม เกษมวุฒิ 31 ปี รวยหุ้น 'ปูนใหญ่' 140 เท่า

แกะรอยเส้นทางรวยนักลงทุนสถิติ ..."วิกรม เกษมวุฒิ" ที่บอกเล่าประสบการณ์จริงกับการลงทุน หุ้นปูนใหญ่ เป็นเวลา 31 ปีเพียงตัวเดียวกำไร 140 เท่า บวกเงินปันผลที่ได้รับอีก 4,333% จากเงินเริ่มต้นลงทุนเพียง 100 หุ้น หรือ 16,700 หุ้น เติบโตกว่า 3 ล้านบาทในวันนี้

ประวัติการลงทุนของ "วิกรม เกษมวุฒิ" เจ้าตำรับนักลงทุนที่ใช้สถิติเป็นแนวทางลงทุนในหุ้น เริ่มขึ้นครั้งแรกพร้อมกับตลาดหุ้นที่จัดตั้งขึ้นในปี 2518 โดยหุ้นที่ซื้อตัวเดียวคือ หุ้นปูนใหญ่ (SCC) หรือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำนวน 100 หุ้นในราคาหุ้นละ 167 บาท ด้วยทุน 16,700 บาท มาถึงวันนี้กินเวลา 31 ปีเต็ม...

ผลจากการ "แตกพาร์" ของหุ้นปูนใหญ่สองครั้ง ทำให้หุ้นเดิมที่มีอยู่ 100 หุ้นที่ราคาพาร์ 100 บาท กลายเป็น 1,000 หุ้นเมื่อลดพาร์เป็น 10 บาท และเพิ่มเป็น 1 หมื่นหุ้นในราคาพาร์ 1 บาทในวันนี้

ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือผลกำไรที่ได้ (ตามบัญชี) ตลอดระยะเวลา 31 ปีถึงวันนี้ยังไม่ได้ขายออกไป เพิ่มขึ้นถึง 140 เท่าตัว !!

มูลค่าเงินลงทุน เพิ่มขึ้นเป็น 2.4 ล้านบาท ณ ราคาหุ้น 234 บาทเมื่อ 24 พฤษภาคม 2550 จากเดิมที่ราคาหุ้น 167 บาท

ไม่เพียงเท่านั้น ผลจากจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น ทำให้ได้รับเงินปันผลเพิ่มตามด้วย

ตลอดระยะเวลา 31 ปี วิกรมได้รับเงินปันผลสะสมเข้ากระเป๋าแล้ว 7.4 แสนบาท หรือคิดเป็นผลตอบแทน 4,333 เปอร์เซ็นต์ !!

เงินปันผลที่ผมได้เพียง 10 ปี รวม 22,300 บาท เท่ากับคุ้มต้นทุนที่ 16,700 แล้ว ส่วนในปัจจุบันเงินปันผลที่ได้หุ้นละ 15 บาท ถืออยู่ 1 หมื่นหุ้น คิดเป็นเงิน 1.5 แสนบาทต่อปี คิดเป็นรายได้ตกวันละ 410 บาท ตอนนี้จึงอยู่ได้อย่างสบายๆ

ถือหุ้นปูนใหญ่ จึงทำให้เขาได้กำไรเกินคุ้ม...

วิกรม บอกว่า ถ้าเทียบกับหุ้นอื่นๆ ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นพร้อมกับปูนใหญ่เมื่อเริ่มตั้งตลาดทั้งหมด 8 บริษัท ปัจจุบันเหลือเพียง 4 บริษัทที่ยังซื้อขายอยู่ คือ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC ) โรงแรมดุสิตธานี (DTC ) และปูนซิเมนต์ไทย (SCC)

ผลตอบแทนย้อนหลังนับตั้งแต่จัดตั้งหรือ 31 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพ ให้ผลตอบแทนเพียง 20 เท่า ส่วนเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ และโรงแรมดุสิตธานี ให้ผลตอบแทนต่ำเพียง 10 เท่า เท่านั้น

ขณะที่ปูนใหญ่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 140 เท่าตัวในเวลา 31 ปีเต็ม

ในมุมมองของวิกรม เขาเห็นว่า เงินทอง (หุ้นอื่น) เป็นเพียงมายา แต่สำหรับหุ้นปูนใหญ่ มันคือข้าวปลาของจริง

วิกรม ย้อนให้ฟังว่า เขาซื้อหุ้นปูนใหญ่ก่อนเปิดตลาดหุ้น 4 เดือน ตอนนั้นทำงานเป็นนายธนาคาร ได้ติดตามข่าว และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับปูนมาตลอด ยิ่งมีสำนักงานทรัพย์สินถือหุ้น ยิ่งทำให้เขามั่นใจอย่างมาก จนถึงขณะนี้เขาไม่เคยขายออกไปเลย แต่แช่แข็งอยู่ตลอดตั้งแต่ 100 หุ้น จนกลายเป็น 1 หมื่นหุ้นจนขณะนี้

บทพิสูจน์นี้ วิกรมชี้ให้เห็นว่า...ถือหุ้นปูนใหญ่แล้วปลอดภัย และได้กำไรคุ้มค่า ไม่มีคำว่า "สาย" หากใครคิดจะเข้าลงทุนตอนนี้...

ทำไมวิกรมถึงคิดเช่นนั้น...??

เขาให้เหตุผลว่า เพราะความต้องการปูนในการก่อสร้างบ้าน ถนน และอื่นๆ เพิ่มขึ้นตลอด ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ปูนซีเมนต์จึงขายได้ตลอด สิ่งสำคัญคือวัตถุดิบในการผลิตปูนที่มาจากหินปูนภูเขา ยังใช้ผลิตไปได้อีก 100 ปี เทียบกับก๊าชในอ่าวไทยของปตท.ใช้ได้อีก 40 ปีหมด ฉะนั้น จึงสามารถถือลงทุนในหุ้นตัวนี้ไปได้อีกยาวนาน

"ปัจจุบันเครือซิเมนต์ไทย มีธุรกิจ 5 กลุ่มในหนึ่งธุรกิจเดียวคือ ธุรกิจซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กระดาษและบรรจุภัณฑ์ ปิโตรเคมีและธุรกิจจัดจำหน่าย มีความมั่นคงแข็งแกร่ง พร้อมเจริญเติบโตไปข้างหน้า ขณะที่มีผลประกอบการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีความเสี่ยงในธุรกิจน้อย"

แต่...หุ้นปูนใหญ่ ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน...

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งราคาและอัตรากำไรจะมีขึ้นลงเป็นวัฏจักร มีช่วงเวลาจุดสูงสุดและต่ำสุดห่างกันประมาณ 8-9 ปี และความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์จะมีความสัมพันธ์กับการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ

"สิ่งที่ต้องระวังในการลงทุนหุ้นปูนใหญ่ก็คือ ธุรกิจปิโตรจะมีวัฏจักรการขึ้นลง 8-9 ปี ซึ่งช่วงนี้กำลังเป็นวัฏจักรขาลง นักลงทุนต้องระวัง เพราะอาจทำให้กำไรปูนใหญ่ร่วงได้ในปีนี้ (2550) อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าบริษัทยังสามารถจ่ายปันผลได้ในอัตรา 15 บาท/หุ้นได้สม่ำเสมอเช่นช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่ากำไรบริษัทจะไม่ถึง 26 บาทต่อหุ้นก็ตาม"

นอกจากจะใช้หลักสถิติมาประยุกต์เข้ากับการลงทุนแล้ว วิกรมยังใช้แนวทางลงทุนตาม "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ในการคัดเลือกหุ้นอีกด้วย

วิกรมบอกว่า ในการเลือกหุ้นจะยึดหลักใหญ่ๆ คล้ายกับแนวทางลงทุนของบัฟเฟตต์ ที่เน้นลงทุนในธุรกิจง่ายๆ เข้าใจได้ไม่ยาก มียอดขายและกำไรที่ดี ขณะที่ด้านการบริหารจะเน้นตัวผู้บริหารต้องเปิดเผยและโปร่งใสต่อผู้ถือหุ้น และมุ่งเน้นหุ้นที่มี ROE (ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น) มากกว่า 12% ซึ่งของไทยใกล้เคียงอยู่ที่ 11% โดยไม่ได้มองที่กำไรต่อหุ้น

นอกจากนั้น จะซื้อหุ้นดีๆ ลงทุน "น้อยตัว" และถือยาว แต่ซื้อในจำนวนหุ้นมากๆ

"อย่างบัฟเฟตต์ จะมีหุ้นเพียง 5 ตัว แต่เป็นสัดส่วน 73% ของพอร์ต"

หุ้นที่บัฟเฟตต์ถือก็เช่น "หุ้นวอชิงตัน โพสต์" ที่ซื้อมาเพียง 11 ล้านเหรียญ แต่วันนี้มีมูลค่าพุ่งขึ้นเป็น 1,275 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นถึง 115 เท่าในระยะเวลา 35 ปี โดยบัฟเฟตต์ได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผล 9 ล้านเหรียญ (รอบปี 2549) เท่ากับว่า เฉพาะเงินปันผลของหุ้นตัวนี้ปีเดียว ก็คุ้มทุนแล้ว

"ส่วนหุ้นปูนใหญ่ที่ผมถืออยู่ ปัจจุบันมีค่า ROE สูงถึง 42% ให้ผลตอบแทนเงินปันผลถึง 6.36% ต่อปี ถือว่าหุ้นตัวนี้ยอดเยี่ยมมากๆ สำหรับผม"

ลงทุนหุ้นปูนใหญ่ในมุมมองของวิกรม จึงเป็นหุ้นดี ถือมา 31 ปี กำไรคุ้มค่า...

Bizweek - วันศุกร์ที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ภาพประจำตัวสมาชิก
mongkol
Verified User
โพสต์: 272
ผู้ติดตาม: 0

"ลบสี่สิบบวกร้อย" รหัสลับเล่นหุ้น

โพสต์ที่ 3

โพสต์

คนเดียวกัน กับที่ไปออกแฟนพันธ์แท้ กับเกมอัจฉริยะ รึเปล่าคับ  :?
แก่นแท้ คือ "ความว่าง" นี่เอง
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

"ลบสี่สิบบวกร้อย" รหัสลับเล่นหุ้น

โพสต์ที่ 4

โพสต์

[quote="mongkol"]คนเดียวกัน กับที่ไปออกแฟนพันธ์แท้ กับเกมอัจฉริยะ รึเปล่าคับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
ภาพประจำตัวสมาชิก
thiroil
Verified User
โพสต์: 65
ผู้ติดตาม: 0

นักลงทุนผู้ชาญฉลาดครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เขาคือคนที่เขียนหนังสือ นักลงทุนผู้ชาญฉลาดไงครับ ราคา 120 บาท เองถ้าจำไม่ผิด (ไม่ได้ช่วยโฆษณาขายนะ ) :-) ผมยังอ่อนหัดอยู่ครับ
0000
โพสต์โพสต์