THL: สรุปข้อสนเทศ: THL
Source - ข่าว SETSMART
Tuesday, 24 April 2007 09:27
สรุปข้อสนเทศ
บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) (THL)
เพื่อย้ายกลับหมวดทรัพยากร/เหมืองแร่
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: ชั้น 7 อาคารสำนักงานเมืองไทย-ภัทร อาคาร 1
เลขที่ 252/11 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10320
โทรศัพท์: 02-695-4912-28
โทรสาร: 02-695-4901
เว็บไซด์: www.tongkahharbour.com
ทุนจดทะเบียน: หุ้นสามัญ 756,939,463 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
รวม 756,939,463 บาท
ทุนชำระแล้ว: หุ้นสามัญ 756,939,463 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
รวม 756,939,463 บาท
กลุ่มอุตสาหกรรม: ทรัพยากร
หมวดอุตสาหกรรม: เหมืองแร่
การประกอบธุรกิจ
1. ประวัติความเป็นมา
บริษัทได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2449 และได้เข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อ
วันที่ 2 มิถุนายน 2524 โดยธุรกิจหลักอยู่ที่การทำเหมืองแร่ดีบุก การสำรวจ
และทำเหมืองแร่ทองคำ, การทำเหมืองหินแอนดิไซท์ และ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
2. ลักษณะการดำเนิน
การดำเนินกิจการของบริษัทฯ ได้ดำเนินกิจการโดยบริษัทฯ และ
ผ่านทางบริษัทย่อย รวมจำนวนทั้งสิ้น 5 บริษัท โดยมีสัดส่วนการลงทุน
ผ่านการถือครองหุ้น การควบคุม และ รายละเอียดตามโครงสร้าง
ดังต่อไปนี้
1. บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน)
ลักษณะธุรกิจ : ธุรกิจเหมืองแร่
1.1 เหมืองแร่ดีบุก: บริษัทฯ ได้หยุดดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ดีบุกชั่วคราว
เพื่อรอผลการทบทวนปรับลอัตราการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ดีบุกจากรัฐบาล
เนื่องจากโครงสร้างการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ดีบุกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้
รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินธุรกิจ
ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในตลาดโลกได้ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันราคาดีบุก
มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ปัจจุบัน บริษัทฯ ถือครองประทานบัตร
ในการทำเหมืองแร่ดีบุกในบริเวณอ่าวภูเก็ต จำนวน 3 แปลงคิดเป็นพื้นที่
9,147.47 ไร่และจะหมดอายุในเดือนมีนาคม และ กรกฎาคม ปี 2551
อย่างไรก็ตามการดำเนินโครงการเหมืองแร่ดีบุกในทะเลของบริษัทฯ
จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับการอนุมัติประทานบัตรจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน
และการเหมืองแร่ (กพร.) และ นโยบายการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ดีบุก
ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐบาล
1.2 เหมืองหินแอนดีไซท์ บริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจเหมืองหินแอนดิไซท์
ที่จังหวัดสระบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา โดยมีตลาดหลักอยู่ที่
การก่อสร้างและซ่อมบำรุงทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย และ
ผู้รับเหมาก่อสร้างผิวจราจรและซ่อมบำรุงของกรมทางหลวงโดยมีกำลังการผลิต
อยู่ที่ 360,000 ตันต่อปี
ที่ผ่านมา ธุรกิจนี้ไม่ได้สร้างผลกำไรให้กับบริษัทฯ จนกระทั่งปีที่ผ่านมา
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เริ่มได้รับการยอมรับในคุณภาพและความแข็งแกร่ง
เหนือกว่าหินที่ใช้อยู่ทั่วไป อย่างไรก็ตามการดำเนินธุรกิจนี้
ยังคงต้องขึ้นอยู่กับโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
ซึ่งในปีนี้ บริษัทฯ คาดหวังว่า จะมีการเปิดประมูลโครงการก่อสร้างของการรถไฟ
แห่งประเทศไทยหลายโครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้เลื่อนกำหนดการก่อสร้าง
มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว อีกทั้ง บริษัทฯคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากโครงการ
ปรับปรุงผิวจราจรของกรมทางหลวงในเขตภาคกลางซึ่งบริษัทฯ
มีความได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่าคู่แข่งขันรายอื่นๆ
1.3 การถือครองที่ดิน จังหวัดภูเก็ต: เนื้อที่ทั้งหมดรวม 33 ไร่ 1 งาน
47.4 ตารางวา (53,390 ตารางเมตร) ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองและติดบริเวณอ่าวภูเก็ต
ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาในอนาคต ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษา
และประเมินศักยภาพของที่ดิน และพิจารณาแนวทางในการพัฒนา
รายละเอียดลักษณะที่ดินมีดังต่อไปนี้
1. ที่ดินในเมืองภูเก็ต:
ขนาดของที่ดิน 8-2-11 ไร่ (13,644 ตารางเมตร) ตั้งอยู่ที่ ถ.ดำรง ต.สั้นใน
อ.เมือง จ.ภูเก็ต ประกอบด้วยอาคาร 2 หลัง ปัจจุบันไม่มีการดำเนินการใด ๆ
มูลค่าทางบัญชี 7.85 ล้านบาท
2. ที่ดินบริเวณอ่าวภูเก็ต:
ขนาดของที่ดิน 24-3-36.4 ไร่ (39,746 ตารางเมตร) เป็นพื้นที่ติดทะเลอ่าวภูเก็ต
บริเวณสะพานหิน ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของ
สำนักงานบริษัทฯ มูลค่าทางบัญชี 45.22 ล้านบาท
2. บริษัท ทุ่งคำ จำกัด (ถือหุ้นโดย บริษัทฯ ร้อยละ 98.86)
ลักษณะธุรกิจ : ธุรกิจสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ
โครงการสำรวจและพัฒนาเหมืองแร่ทองคำที่จังหวัดเลย ของบริษัททุ่งคำ จำกัด
(ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 98.86) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2534 หลังจากบริษัทฯ
ชนะการประมูลสัมปทานสิทธิในการสำรวจและทำเหมืองจากรัฐบาล และต่อมา
ในปี 2546 ได้รับประทานบัตรชุดแรก จำนวน 6 แปลง จากที่ยื่นขอไปทั้งหมด
120 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 30,000 ไร่ ในเขตพื้นที่ อำเภอวังสะพุง
และ อำเภอเมือง จังหวัดเลย การก่อสร้างโรงงานได้แล้วเสร็จในเดือน
พฤษภาคม 2549 และบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการผลิตแร่ทองคำเชิงพาณิชย์เมื่อ
เดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมา โดยมีกำลังการผลิตวันละ 1,200 ถึง 1,500 ตัน
ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแร่
บริษัทฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาเหมืองแร่ทองคำ ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด
ที่จังหวัดเลย โดยได้รับวงเงินกู้ จาก ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
และ บมจ.ไทยธนาคาร ในเดือนธันวาคม 2548 วงเงินจำนวน 13 ล้านเหรียญสรอ.
การก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักร ได้แล้วเสร็จในเดือน พฤษภาคม 2549 และ
เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือน กันยายน 2549 ที่ผ่านมา โดยสิ้นสุด
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทฯ สามารถผลิตและจำหน่ายทองคำปริมาณ
12,364 ออนซ์ รายได้จากการจำหน่ายทองคำ 269.47 ล้านบาท และ
บริษัท ทุ่งคำ จำกัด มีกำไรจากการดำเนินการ 59.76 ล้านบาท ส่งผลให้
บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) มีกำไร 6.09 ล้านบาท
สำหรับในปี พ.ศ.2550 บริษัทฯมีแผนที่จะผลิตและจำหน่ายทองคำ
ปริมาณ 25,000 ออนซ์ ซึ่งบริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้จากการขายเป็นเงินทั้งสิ้น
525.00 ล้านบาทต่อปี (คิดที่ราคา 600 เหรียญสรอ.ต่อออนซ์ และที่อัตราแลก
เปลี่ยนเงินตรา 35 บาท ต่อ 1 เหรียญสรอ.)
จากปริมาณสำรองแหล่งแร่ของบริษัทฯ ที่ได้มีการสำรวจและรับรอง
โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระพบว่ามีปริมาณสำรองแร่อยู่ 4.49 ล้านตัน
คิดเป็นปริมาณทองคำที่จะสามารถผลิตได้ประมาณ 600,000 ออนซ์
โดยคิดที่กำลังการผลิตในปัจจุบันปริมาณสำรองแร่ดังกล่าวจะสามารถ
นำมาใช้ในการผลิตได้เป็นระยะเวลา 10 ปี ปัจจุบันบริษัทฯ ดำเนินการบนพื้นที่
ประทานบัตรที่ได้รับอนุมัติแล้วจำนวน 6 แปลง เป็นระยะเวลา 25 ปี และ
จะหมดอายุในปี 2570 และ 2571 ทั้งนี้ บริษัทฯ สามารถยื่นขอต่ออายุ
ประทานบัตรได้อีกหากยังมีปริมาณสินแร่เหลืออยู่
3.บริษัท ชลสิน จำกัด (ถือหุ้นโดย บริษัทฯ ร้อยละ 72.10)
ลักษณะธุรกิจ : ธุรกิจบดย่อยหิน
บริษัทชลสิน จำกัด เป็นผู้รับเหมาบดย่อยหินให้กับ บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์
จำกัด (มหาชน) เพียงรายเดียวบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 72.10
ส่วนที่เหลือถือหุ้นโดย บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
กระทรวงการคลัง และ บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด
บริษัท ชลสิน จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานโรงงานบดย่อยหิน โครงการเหมืองหิน
แอนดีไซท์ของบริษัทฯ ก่อนหน้านี้ได้ดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ทองคำที่เหมือง
โต๊ะโมะ จ.นราธิวาส ปัจจุบันหยุดดำเนินการไปแล้ว ประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ
ที่โต๊ะโมะ จะหมดอายุ ในปี 2557 ทั้งนี้ปัจจุบัน บริษัทฯ ยังไม่มีนโยบาย
ในการกลับเข้าไปดำเนินการเหมืองโต๊ะโมะ
4. บริษัท ทรัพยากรสมุทร จำกัด (ถือหุ้นโดย บริษัทฯ ร้อยละ 83.70)
ลักษณะธุรกิจ : ธุรกิจเหมืองแร่ดีบุกในทะเล
บริษัททรัพยากรสมุทร จำกัดได้หยุดดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ดีบุกชั่วคราว
เพื่อรอผลการทบทวนปรับลอัตราการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ดีบุกจากรัฐบาล
เนื่องจากโครงสร้างการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ดีบุกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินธุรกิจ
ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในตลาดโลกได้ ทั้งๆ ที่
ปัจจุบันราคาดีบุกมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม บริษัทอยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติประทานบัตร
จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) บนพื้นที่สัมปทาน
ของบริษัทฯนอกฝั่งทะเลอันดามัน พื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่
ซึ่งได้ทำการสำรวจเรียบร้อยแล้ว สินแร่ที่พบในพื้นที่
มีปริมาณสำรองประมาณ 60,000 ตัน ที่ cut-off grade 0.10 กิโลกรัม
ต่อลูกบาศก์เมตร (เป็นผลจากรายงานการสำรวจของบริษัทฯ
ระหว่างปี 2526-2529 ทั้งนี้ หลังจากได้รับอนุมัติประทานบัตรแล้ว
บริษัทฯ จะจัดหาบริษัทที่ปรึกษาอิสระมาทำการประเมินปริมาณ
สำรองแร่อีกครั้ง)โดยมีแผนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 6,000 ตันต่อปี
หรือ คิดเป็นประมาณร้อยละ 3-5 ของตลาดโลก ปัจจุบัน บริษัทฯ
อยู่ระหว่างการศึกษาด้านเทคนิค และการลงทุนสำหรับโครงการ
การดำเนินโครงการเหมืองแร่ดีบุกในทะเลของบริษัทฯจำเป็นต้อง
ขึ้นอยู่กับการอนุมัติประทานบัตรจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ
การเหมืองแร่ (กพร.) และ นโยบายการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ดีบุกซึ่ง
อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐบาล
5.บริษัท สกายคลิฟฟ์ จำกัด (ถือหุ้นโดย บริษัทฯ ร้อยละ 75.00)
ลักษณะธุรกิจ : ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (โครงการ เลอ เมโทร)
เมื่อปี พ.ศ. 2546 บริษัทสกายคลิฟฟ์ จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ที่บริษัทฯ
ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 75) ได้เริ่มแผนพัฒนาโครงการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย
3 ไร่ 1 งาน 61.9 ตารางวา (5,447.60 ตารางเมตร) บนถนนรัชดาภิเษก
ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพระรามเก้า
แต่เนื่องจากมีการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในขณะนั้น ได้ส่งผลกระทบ
โดยตรงต่อต้นทุนก่อสร้าง ทำให้บริษัทฯตัดสินใจชะลอการดำเนิน
โครงการออกไป ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาและ
ปรับแผนการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของที่ดินของบริษัทฯ
ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ และการพัฒนาในปัจจุบันบน
ถนนรัชดาภิเษก ทั้งนี้ ในเบื้องต้น บริษัทฯมีแผนที่จะพัฒนาเป็น
อาคารสำนักงานและแบ่งพื้นที่บางส่วนเป็นเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์
อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดและพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ทำการศึกษาเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจอีกครั้ง
ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2550
และปัจจุบันกลุ่มทุนจากมาเลเซียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU)
เพื่อร่วมลงทุนในบริษัท สกายคลิฟฟ์ จำกัด และอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
สถานะและรายละเอียดต่างๆ ของบริษัทฯ
ซึ่งสามารถสรุปโครงสร้างรายได้ของแต่ละธุรกิจได้ดังนี้
รายได้จากธุรกิจหลัก (หน่วย: พันบาท)
2547 % 2548 % 2549 %
รายได้จากการขายทองคำ
- - - - 269,474 92.74
รายได้จากการขายแร่ดีบุก
39,769 69.58 2,352 9.88 - -
รายได้จากการขายหินแอนดีไซด์
17,388 30.42 21,461 90.12 21,083 7.26
รายได้รวม 57,157 100.00 23,813 100.00 290,557 100.00
ในอดีตรายได้ดีบุกเป็นรายได้หลักของบริษัทฯ แต่ต่อมาเนื่องจากภาระค่า
ภาคหลวงที่มีอัตราสูงทำให้บริษัทฯ ต้องหยุดการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก
เป็นการชั่วคราว และรอผลการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาอนุมัติจัดเก็บค่าภาคหลวงในอัตราที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้น
การประกอบธุรกิจทองคำจึงได้เป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทฯในปัจจุบัน
เงินลงทุนในบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ปรากฏดังนี้
บริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง
หน่วย: ล้านบาท
ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ทุนชำระแล้ว ร้อยละของหุ้นที่ถือ มูลค่าเงินลงทุน
และลักษณะธุรกิจ ของหุ้นที่ถือ (ตามราคาทุน)
บริษัท ทุ่งคำ จำกัด
(ทางตรงและทางอ้อม)
สำรวจแหล่งแร่ทองคำ 500.00 98.86 469,306
และพัฒนาเหมืองแร่ทองคำ
บริษัท ทรัพยากรสมุทร จำกัด
สำรวจแหล่งแร่ดีบุก
ในทะเลน้ำลึก 72.00 83.70 11,303
บริษัท สกายคลิฟฟ์ จำกัด
โครงการอาคาร
เพื่อให้เช่าและ
บริการที่พักอาศัย 41.93 75.00 321,709
บริษัท ชลสิน จำกัด
ดำเนินงานย่อยหิน
ในเหมืองหินแอนดีไซท์
ในพื้นที่ประทานบัตร
ของบริษัทฯ 150.00 72.10 62,001
วันที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศว่าบริษัทเข้าข่ายเหตุถูกเพิกถอน
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
สาเหตุเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งพักการซื้อขายหลักทรัพย์
ของบริษัทฯ (THL) เป็นการชั่วคราว เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 เนื่องจาก
บริษัทฯ ไม่มีรายได้เพียงพอจากการประกอบธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก
ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯ ในขณะนั้น และบริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุง
แก้ไขเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ.2546 บริษัทฯ ได้รับอนุมัติ
ประทานบัตรเหมืองทองชุดแรกจำนวน 6 แปลง และในเดือนมีนาคม
ปีเดียวกัน บริษัทฯได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ให้สามารถนำหลักทรัพย์กลับเข้าทำการซื้อขายได้ในหมวดบริษัท
จดทะเบียนที่อยู่ระหว่างแก้ไขการดำเนินงาน (REHABCO) ซึ่งต่อมา
ตลาดหลักทรัพย์มีมาตรการดำเนินการกรณีบริษัท
จดทะเบียนในหมวด REHABCO โดยพิจารณาจากงบการเงินรวม
สำหรับไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2548 เป็นต้นไป หากปรากฏว่า
บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้นภายหลังปรับปรุงความเห็นของผู้สอบบัญชีมีค่า
น้อยกว่าศูนย์หรือมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิก่อนรายการพิเศษ
ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP(Suspension)เพื่อสั่งห้ามการ
ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทไปจนกว่าบริษัทจะพ้น
เหตุเพิกถอนและย้ายกลับหมวดปกติได้ ซึ่งปรากฏว่า บริษัทฯ มีผล
การดำเนินงานสำหรับงวดไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2548
เป็นขาดทุนสุทธิจำนวน (14.99) ล้านบาท ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์จึง
สั่งห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท
ตั้งแต่การซื้อขายรอบบ่ายของวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548
และถอนชื่อหลักทรัพย์จากกระดานซื้อขาย และย้ายเข้าเป็น
กลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด
(NON-PERFORMING GROUP)
ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นมา
การแก้ไขเหตุเพิกถอน
ในเดือนมกราคม พ.ศ.2546 บริษัทฯ ได้รับอนุมัติประทานบัตร
เหมืองทองชุดแรกจำนวน 6 แปลง และในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน
บริษัทฯได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้สามารถ
นำหลักทรัพย์กลับเข้าทำการซื้อขายได้ในหมวดบริษัทจดทะเบียนที่อยู่
ระหว่างแก้ไขการดำเนินงาน (REHABCO) อย่างไรก็ตาม
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ได้มีประกาศให้ระงับการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และจัดให้
หลักทรัพย์ของบริษัทฯ เข้าอยู่ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไข
การดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (NON PERFORMING GROUP)
เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินการให้มีผลกำไรได้ภายใน
ระยะเวลา 2 ปี ตามที่กำหนดอันเป็นผลมาจากความล่าช้าในการหา
แหล่งเงินทุนสนับสนุนจากสถาบันการเงิน
ในปลายปี 2548 บริษัทฯ ได้รับการอนุมัติเงินกู้จากธนาคาร
เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และ ธนาคารไทยธนาคาร
วงเงิน 13 ล้านเหรียญสรอ. ในการพัฒนาและก่อสร้างโครงการเหมือง
แร่ทองคำของบริษัททุ่งคำ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยและการก่อสร้างได้
ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือน พฤษภาคม 2549 และได้เริ่มการผลิตและ
จำหน่ายทองคำในงวดไตรมาสที่ 3/2549 เป็นงวดแรก
ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายทองคำได้กลายเป็นรายได้หลักของบริษัท
และส่งผลให้ผลการดำเนินงานสำหรับปี 2549 เป็นกำไรสุทธิ
จำนวน 6.09 ล้านบาท
การมีคุณสมบัติครบถ้วนในการขอพ้นเหตุเพิกถอนและย้าย
กลับสู่หมวดปกติ
1. มีส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ (ภายหลังการปรับปรุงความ
เห็นผู้สอบบัญชี) > 0
ตามที่ปรากฎในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549
ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี และผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็น
อย่างไม่มีเงื่อนไขในงบการเงินดังกล่าว บริษัทฯมีส่วนของผู้ถือหุ้น
ของบริษัทเป็นจำนวน 1,122 ล้านบาท (ส่วนของผู้ถือหุ้นก่อน
รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย)
2. มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานในธุรกิจหลัก 3 ไตรมาสติดต่อกันหรือ 1 ปี
ก่อนยื่นคำขอบริษัทมีกำไรสุทธิรวม เป็นเวลา1 ปี ตั้งแต่ปีสิ้นสุดวันที่
31 ธันวาคม 2549 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6.09 ล้านบาท โดยสรุปดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
2547 2548 2549
รายได้จากการขาย 57.16 23.81 290.56
รายได้อื่นๆ 2.53 3.80 26.62
ต้นทุนการขาย 53.39 22.98 141.14
กำไรขั้นต้น 6.30 4.64 176.04
ค่าใช้จ่ายในการขาย
และบริหาร 64.65 63.82 117.60
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 1.11 8.92 26.30
รายได้ก่อนหักภาษี
และดอกเบี้ย (59.46) (68.10) 32.14
ดอกเบี้ยจ่าย 5.27 5.22 29.07
กำไรสุทธิ (57.21) (69.02) 6.09
ผลกำไรจากการดำเนินการของบริษัทฯ ในปีที่ผ่านมา
เป็นผลมาจากการเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ของเหมืองแร่ทองคำที่ จังหวัดเลย
ในเดือนกันยายน 2549 ทำให้บริษัทฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 23.81 ล้านบาท
ในปี 2548 เป็น 290.56 ล้านบาทในปี 2549 ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้น
176.04 ล้านบาท และ มีกำไรสุทธิ 6.09 ล้านบาท
3. บริษัทมีสถานะการเงินและผลการดำเนินงานที่มั่นคง
โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการเติบโตอย่างมาก
ทรัพย์สินและส่วนของทุนของบริษัทฯ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
ซึ่งแสดงถึงศักยภาพและความพร้อมในการขยายตัวของธุรกิจตามแผนงาน
ของบริษัทฯ อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง
หน่วย: ล้านบาท
พ.ศ.2546 พ.ศ.2547 พ.ศ.2548 พ.ศ.2549
สินทรัพย์ 1,088.57 1,252.64 1,387.92 1,802.63
หนี้สิน 283.82 231.76 173.95 585.82
ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท* 693.62 917.26 1,115.55 1,121.65
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 804.75 1,020.88 1,213.98 1,216.81
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 0.35 0.23 0.14 0.48
*ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย
สินทรัพย์มีการเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 16 ต่อปี เนื่องจากการลงทุน
ในโครงการเหมืองแร่ทองคำ และ ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย
ร้อยละ 11 ต่อปี อันเป็นผลมาจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนและเงินกู้ในการ
พัฒนาเหมืองแร่ทองคำ ส่วนของหนี้สินที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากเงินกู้ใน
การดำเนินการก่อสร้างโครงการเหมืองทองคำ
หน่วย: ล้านบาท
2547 2548 2549
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (145.28) (44.44) (19.04)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (44.69) (253.66) (364.55)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน 329.74 187.58 429.20
กระแสเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ 139.77 (110.52) 45.62
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี 2.59 142.36 31.84
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายปี 142.35 31.84 77.45
จากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสดทำให้กระแสเงินสดสุทธิในแต่ละปี
มีการผกผันค่อนข้างมาก โดยปี 2547 กระแสเงินสดสุทธิจำนวน 139.77 ล้านบาท
เป็นผลของการเพิ่มทุน แต่ในปี 2548 กระแสเงินสดสุทธิเป็นลบซึ่งลดลงเมื่อ
เทียบกับ 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินเพื่อเร่งรัดการดำเนิน
การโครงการเหมืองแร่ทองคำ สำหรับปี 2549 บริษัทฯ ได้รับเงินกู้จาก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และ เมื่อเดือนกันยายน
2549 บริษัทฯ เริ่มจำหน่ายทองคำและมีการรับรู้รายได้พร้อมรับชำระเงินทำให้
บริษัทฯ มีกระแสเงินสดสุทธิสำหรับปี 2549 เป็นบวก ทั้งนี้บริษัทฯประมาณการว่า
ในปีต่อๆไปกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานจะเป็นบวกได้อย่างต่อเนื่องจาก
ผลการดำเนินงานโครงการเหมืองแร่ทองคำของบริษัทย่อย
บริษัทฯ เริ่มดำเนินการผลิตและรับรู้รายได้ตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2549
ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของกระแสเงินสดจากการดำเนินธุรกิจ แต่ทั้งนี้ ในการผลิตมี
ความจำเป็นที่จะตั้องเตรียมวัตถุดิบต่างๆ ตลอดจนสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต
และ สินค้าคงเหลือทำให้กระแสเงินสด ณ สิ้นรอบบัญชี ปี 2549มีค่าติดลบอยู่บ้าง
(19 ล้านบาท) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติในการดำเนินธุรกิจ
เพราะในอนาคตสินค้าดังกล่าวก็จะแปลงสภาพเป็นเงินสดต่อไปในอนาคต
โครงสร้างรายได้
รายได้จากธุรกิจหลัก หน่วย: ล้านบาท
2547 % 2548 % 2549 %
รายได้จากการขายทองคำ
- - - - 269,474 92.74
รายได้จากการขายแร่ดีบุก
39,769 69.58 2,352 9.88 - -
รายได้จากการขายหินแอนดีไซด์
17,388 30.42 21,461 90.12 21,083 7.26
รายได้รวม 57,157 100.00 23,813 100.00 290,557 100.00
ปัจจุบันรายได้หลักของบริษัทฯ มาจากการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ทองคำ
ซึ่งคาดว่าในปีนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะผลิตทองคำประมาณ 25,000 ออนซ์
และรายได้จากการขายทองคำจะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 95 ของรายได้ทั้งหมด
จากปริมาณสำรองแร่ที่มีการสำรวจและได้รับการรับรองแล้ว ปริมาณ 4.5 ล้านตัน
ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นทองคำบริสุทธิ์ได้ประมาณ 600,000 ออนซ์ ทำให้บริษัทฯ
สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคงในอนาคต อย่างไรก็ตามบริษัท
มีการลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบ
ต่อรายได้รวมของบริษัท
4. สถานภาพทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้
บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินต่างๆ
ตามแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินงาน
และ เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทฯ การปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว
ไม่มีการปรับลดมูลหนี้แต่อย่างใด เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนประเภทของเงินกู้
และระยะเวลาการชำระคืน
ก่อนการปรับโครงสร้างหนี้ ในปี 2544 บริษัทฯ มีหนี้สินกับสถาบันการเงินต่างๆ
เป็นเงิน 76.16 ล้านบาท หลังจากปรับโครงสร้างหนี้เสร็จแล้ว บริษัทฯ ได้
ชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามกำหนดเวลามาโดยตลอด สิ้นสุด
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทฯ มีหนี้สินที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้
เหลืออยู่ 27.51 ล้านบาทโดยกำหนดเวลาชำระคืนสิ้นสุดในปี 2553
นอกจากนี้ ในปลายปี 2548 บริษัทฯ ได้รับการอนุมัติเงินกู้จากธนาคารเพื่อ
การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และ ธนาคารไทยธนาคาร
วงเงิน 13 ล้านเหรียญสรอ. ในการพัฒนาและก่อสร้างโครงการเหมืองแร่ทองคำ
ของบริษัททุ่งคำ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยและการก่อสร้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
ในเดือน พฤษภาคม 2549
ในเดือนธันวาคม 2549 บริษัทฯ ทุ่งคำ จำกัด ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้กับ
ธนาคารดอยซ์แบงก์ สาขาอัมสเตอร์ดัม วงเงิน 25 ล้านเหรียญสรอ.
และในเดือนมกราคม 2550 บริษัทฯ ได้เบิกจ่ายเงิน 10.4 ล้านเหรียญ
นำไปชำระเงินกู้จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
และ ธนาคารไทยธนาคาร เต็มจำนวน ส่วนวงเงินที่เหลือ บริษัทฯ จะนำไปใช้
ในการขยายกำลังการผลิต
โครงการในอนาคต
บริษัทฯ ได้วางแนวทางการเจริญเติบโตทางธุรกิจในกลุ่มเหมืองแร่
โดยมุ่งเน้นการสำรวจและพัฒนาแหล่งแร่ทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน
เพื่อพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม อย่างไรก็ดีแผนการดังกล่าว
ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางเพื่อกำหนดออกมาเป็นนโยบาย
และแผนการดำเนินงานระยะสั้นและระยะยาวที่ชัดเจนต่อไป
รายชื่อ คณะกรรมการ และ ผู้บริหาร ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550
คณะกรรมการ
1. นายปรีชา อรรถวิภัชน์ ประธานกรรมการบริหาร
2. นายโรนัลด์ อึ้ง วาย ชอย กรรมการผู้จัดการ
3. ดร. จอห์น ปีเตอร์ มิลล์ส กรรมการ
4. นายควา บู ลีออง กรรมการ
5. นายสมศักดิ์ ร่วมคิด กรรมการ
6. นายเอ็ดเวิร์ด เมิร์ฟวิน โจนส์ กรรมการ
7. นายอุดม จิรพนาธร กรรมการ
8. นายสุรพงศ์ เชียงทอง กรรมการ
9. นายนภดล มัณฑะจิตร กรรมการอิสระ
10.นายเกรียง เกียรติเฟื่องฟู ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
11.นางอาริดา วิทยานนท์ กรรมการตรวจสอบ
12.นายสมศักดิ์ โพธิสัตย์ กรรมการตรวจสอบ
ผู้บริหาร
1. นายโรนัลด์ อึ้ง วาย ชอย กรรมการผู้จัดการ
2. ดร. จอห์น ปีเตอร์ มิลล์ส กรรมการบริหาร
3. นายสมศักดิ์ ร่วมคิด กรรมการบริหาร
4. นายอุดม จิรพนาธร กรรมการบริหาร
5. นายวารินทร์ เชิดบุญเมือง ที่ปรึกษา
6. นายแอนดรูว์ ชาลี นอร์ทฟิลด์ ผู้จัดการเหมืองแร่ทองคำ
รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2550
ลำดับที่ ชื่อ / สกุล จำนวนหุ้น %ของจำนวน
รวม หุ้นทั้งหมด
1 บริษัท สินธนา โฮลดิ้งส์ จำกัด 87,117,080 11.51
PARON RESOURCES INC. 51,573,484 6.81
PARON HOLDINGS LIMITED 31,053,102 4.10
SINO PAC INVESTMENTS (L) LTD 26,726,614 3.53
MR.RONALD NG WAI CHOI 4,517,441 0.60
รวมกลุ่มบริษัทสินธนา โฮลดิ้งส์* 200,987,721 26.55
2.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 54,360,575 7.18
3.RAFFLES NOMINEES (PTE) LIMITED A/C 1
36,100,000 4.77
4.กระทรวงการคลัง 15,000,000 1.98
5.นายเกรียง เกียรติเฟื่องฟู 12,100,000 1.60
6.SOMERS (U.K.) LIMITED 10,381,750 1.37
7.นางอุษณี กมลสันติสุข 9,600,000 1.27
8.นายปราโมทย์ สุดจิตพร 8,000,000 1.06
9.บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผู้ฝาก 7,454,260 0.98
10.นายไชยันต์ จิตรพิงธรรม 7,100,000 0.94
รวม 361,084,306 47.70
* กลุ่มบริษัทสินธนา โฮลดิ้งส์ จำกัด มีตัวแทนของกลุ่มบริษัท คือ
นายโรนัลด์ อึ้ง วาย ชอย โดยบริษัท สินธนา โฮลดิ้งส์ จำกัด,
Paron Holdings Ltd และ SINO PAC Investment ดำเนินธุรกิจโดย
เป็นบริษัทลงทุน (Holding company) ส่วน Paron Resources Inc.เดิม
ดำเนินธุรกิจด้านสำรวจและทำเหมืองแร่ อย่างไรก็ดีปัจจุบันดำเนิน
ธุรกิจด้านการลงทุนเพียงอย่างเดียว
จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 23 มีนาคม 2550 ปรากฏดังนี้
จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders
1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ
1 15,000,000 1.98%
1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ 12 36,891,136 4.87%
1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
4 196,470,280 25.96%
1.4 ผู้มีอำนาจควบคุม
- - 0.00%
1.5 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด
- - 0.00%
2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย
3,518 508,574,040 67.19%
3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย
101 4,007 0.00%
รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น
3,636 756,939,463 100%
การกำหนดระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้นของบริษัท (SILENT PERIOD)
ผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัท (STRATEGIC
SHAREHOLDERS) ได้แก่ ผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม กรรมการและ
ผู้บริหารของบริษัทรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ
กลุ่มบุคคลดังกล่าว รวมทั้งผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของทุนชำระแล้ว
และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือหุ้น 248,361,416 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 32.81
ของทุนชำระแล้วของบริษัท ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะ
ไม่นำหลักทรัพย์ทั้งหมดของตนออกขายภายใน 1 ปี นับแต่วันที่หลักทรัพย์
ของ บมจ.ทุ่งคาฮาเบอร์ กลับมาทำการซื้อขายในกลุ่มทรัพยากร หมวดเหมืองแร่
โดยในช่วง 6 เดือนแรก ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขาย
หลักทรัพย์ได้ร้อยละ 25 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่ถูกห้ามขายทั้งหมด และ
ใน 6 เดือนถัดไปสามารถทยอยขายหลักทรัพย์ได้อีกร้อยละ 25 ของ
จำนวนหลักทรัพย์ที่ถูกห้ามขายทั้งหมด
นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทฯ มีแผนการจ่ายเงินปันผลขั้นต่ำที่ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ
ของงบการเงินรวม หลังจากหักภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว
นโยบายของบริษัทฯเกี่ยวกับการทำรายการระหว่างกัน
บริษัทฯมีนโยบายในการดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
ที่ผ่านมาบริษัทฯ มีรายการระหว่างกันเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นเท่านั้น
กล่าวคือการรับความช่วยเหลือทางการเงิน ในอนาคตบริษัทไม่มีนโยบาย
ที่จะทำรายการระหว่างกัน เว้นแต่เฉพาะรายการที่เข้าข่ายมีเหตุจำเป็นเท่านั้น
ซึ่งรายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกับผู้เกี่ยวข้องใดๆจะต้องได้รับ
การอนุมัติตามมาตรการการอนุมัติการทำรายการตามหลักเกณฑ์และ
ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯและการรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้รวมถึงรายการระหว่างกันกับบริษัทที่เกี่ยวข้องด้วย
จัดทำโดย
.................................. ......................................
นายอุดม จิรพนาธร ดร.จอห์น ปีเตอร์ มิลล์ส
กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร