การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
-
- Verified User
- โพสต์: 171
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 1
ในหนังสือ New buffetology จะมีการคำนวณตัวนึงน่ะครับ เป็นการคำนวณว่าบริษัทสามารถนำกำไรสะสมไปลงทุนแล้วเกิดประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่าง
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 1990 เท่ากับ 1.20 บาท
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 2000 เท่ากับ 2.00 บาท
สมมติ
บริษัท มีกำไรรวมทั้งหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ 17.5 บาท
บริษัทจ่ายปันผลหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ 10.5 บาท
ดังนั้นถือได้ว่าบริษัทนำเงินทุนจำนวน 7 บาท (17.5-10.5) มาลงทุนเพิ่มเติมทำให้เกิดกำไรต่อหุ้นในปี2000 เท่ากับ 2.00 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 1990 เท่ากับ 0.8 บาท (2.00-1.20)
คิดเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนของการนำเงินลงทุนมาทำให้เกิดกำไร เท่ากับ 0.8/7 เท่ากับ 11.4 เปอร์เซ็นต์
ผมสังเกตว่าในหนังสือจะทำแบบนี้กับหลายๆบริษัท แล้วเปรียบเทียบกัน ถ้าผลตอบแทนมากก็จะแปลว่าบริษัทใช้เงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ที่สงสัย คือ ตัวเลข 11.4 เปอร์เซ็นต์นี้ถ้าไม่ได้คิดเชิงเปรียบเทียบ (เอาหลายๆบริษัทมาเปรียบเทียบกัน)จะรู้ได้ยังไงว่าน้อยหรือมากครับ และถ้าไม่ได้คิดระยะเวลาเท่ากับ 10 ปี แต่คิด ที่ 5ปีหรือ มากกว่านั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเลขเท่าไหร่จึงถือว่า ผลตอบแทนสูง
ตัวอย่าง
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 1990 เท่ากับ 1.20 บาท
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 2000 เท่ากับ 2.00 บาท
สมมติ
บริษัท มีกำไรรวมทั้งหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ 17.5 บาท
บริษัทจ่ายปันผลหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ 10.5 บาท
ดังนั้นถือได้ว่าบริษัทนำเงินทุนจำนวน 7 บาท (17.5-10.5) มาลงทุนเพิ่มเติมทำให้เกิดกำไรต่อหุ้นในปี2000 เท่ากับ 2.00 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 1990 เท่ากับ 0.8 บาท (2.00-1.20)
คิดเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนของการนำเงินลงทุนมาทำให้เกิดกำไร เท่ากับ 0.8/7 เท่ากับ 11.4 เปอร์เซ็นต์
ผมสังเกตว่าในหนังสือจะทำแบบนี้กับหลายๆบริษัท แล้วเปรียบเทียบกัน ถ้าผลตอบแทนมากก็จะแปลว่าบริษัทใช้เงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ที่สงสัย คือ ตัวเลข 11.4 เปอร์เซ็นต์นี้ถ้าไม่ได้คิดเชิงเปรียบเทียบ (เอาหลายๆบริษัทมาเปรียบเทียบกัน)จะรู้ได้ยังไงว่าน้อยหรือมากครับ และถ้าไม่ได้คิดระยะเวลาเท่ากับ 10 ปี แต่คิด ที่ 5ปีหรือ มากกว่านั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเลขเท่าไหร่จึงถือว่า ผลตอบแทนสูง
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 2
มันต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่คล้ายๆกันครับจะรู้ได้ยังไงว่าน้อยหรือมากครับ
ถ้าต้องการเปรียบเทียบง่ายๆ ให้เอาดอกเบี้ยพันธบัตร อายุ 10 ปีมาเทียบครับ
พันธบัตรความเสี่ยงต่ำกว่า ถ้าหุ้นใดมีผลงานแย่กว่าหรือใกล้เคียงก็ตัดทิ้งไปเลย
การคิดควรคิดที่ระยะัเวลายาวๆ ครับ 10 ปีนี่กำลังดีนะผมว่าถ้าไปคิดเป็นรายไตรมาสตัวเลขอาจทำให้เราเขวได้
-
- Verified User
- โพสต์: 171
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 3
ขอถามเพิ่มนะครับ จากตัวอย่างจะแปลว่า ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการนำกำไรสะสมไปลงทุนเป็น 11.4 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะคิดรายปีต้องหาร 10 คือผลตอบแทน 1.14 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ถ้าในกรณ๊นี้เทียบกับหุ้นกู้ก็ถือว่าเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำสิครับ แต่ว่าในกรณีตัวอย่างของหนังสือ ส่วนใหญ่กรณีที่มากที่สุดก็ประมาณ 17-25 เปอร์เซ็นต์ พอหาร 10 ปี ก็ได้ไม่ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นกรณีเทียบกับหุ้นกู้จะได้ต่ำกว่าทุกกรณีสิครับMO101 เขียน: มันต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่คล้ายๆกันครับ
ถ้าต้องการเปรียบเทียบง่ายๆ ให้เอาดอกเบี้ยพันธบัตร อายุ 10 ปีมาเทียบครับ
พันธบัตรความเสี่ยงต่ำกว่า ถ้าหุ้นใดมีผลงานแย่กว่าหรือใกล้เคียงก็ตัดทิ้งไปเลย
การคิดควรคิดที่ระยะัเวลายาวๆ ครับ 10 ปีนี่กำลังดีนะผมว่าถ้าไปคิดเป็นรายไตรมาสตัวเลขอาจทำให้เราเขวได้
ถ้าจำตัวเลขไม่ผิด บริษัท HR (บริษัทที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืน) จะได้ประมาณ 18 % ส่วน บริษํทที่มีการแข่งขันกันแต่เรืองราคา General motor อยู่ที่ 6 % น่ะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 4
ผมมองว่า การคิดแบบ Simple Average ตรง ๆ อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ครับ
ปกติต้องนำ net free Cash Flow ในแต่ละปี มาคำนวณ แล้วหา IRR ตลอดช่วง 10 ปี เปรียบเทียบดูน่าจะถูกกว่านะครับ
นอกจากนี้ในแต่ละปีก็จะมีการจ่ายปันผลที่แตกต่างกัน อาจจ่ายมาก จ่ายน้อย หรือจ่ายมากกว่ากำไรสุทธิที่ทำได้ จึงมีผลกระทบกับการนำเงินกำไรมาทำการลงทุนในแต่ละปีด้วยครับ
ความเห็นผมคิดว่าต้องคำนวณให้ละเอียดกว่านี้ครับ จึงจะเห็นผลตอบแทนการลงทุนที่ชัดเจนครับ
แล้วเอาไปเปรียบเทียบกับ การลงทุนในพันธบัตรในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ก็พอไหว ถ้าสูงกว่า สูงกว่าเท่าไร หรือถ้าต่ำกว่า แบบนี้ก็ Destroy Value ครับ เพราะไปลงทุนทางเลือกอื่นได้ผลตอบแทนมากกว่าครับ
ปกติต้องนำ net free Cash Flow ในแต่ละปี มาคำนวณ แล้วหา IRR ตลอดช่วง 10 ปี เปรียบเทียบดูน่าจะถูกกว่านะครับ
นอกจากนี้ในแต่ละปีก็จะมีการจ่ายปันผลที่แตกต่างกัน อาจจ่ายมาก จ่ายน้อย หรือจ่ายมากกว่ากำไรสุทธิที่ทำได้ จึงมีผลกระทบกับการนำเงินกำไรมาทำการลงทุนในแต่ละปีด้วยครับ
ความเห็นผมคิดว่าต้องคำนวณให้ละเอียดกว่านี้ครับ จึงจะเห็นผลตอบแทนการลงทุนที่ชัดเจนครับ
แล้วเอาไปเปรียบเทียบกับ การลงทุนในพันธบัตรในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ก็พอไหว ถ้าสูงกว่า สูงกว่าเท่าไร หรือถ้าต่ำกว่า แบบนี้ก็ Destroy Value ครับ เพราะไปลงทุนทางเลือกอื่นได้ผลตอบแทนมากกว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 171
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 5
[quote="thawattt"]ผมมองว่า การคิดแบบ Simple Average ตรง ๆ อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ครับ
ปกติต้องนำ net free Cash Flow ในแต่ละปี มาคำนวณ แล้วหา IRR ตลอดช่วง 10 ปี เปรียบเทียบดูน่าจะถูกกว่านะครับ
นอกจากนี้ในแต่ละปีก็จะมีการจ่ายปันผลที่แตกต่างกัน
ปกติต้องนำ net free Cash Flow ในแต่ละปี มาคำนวณ แล้วหา IRR ตลอดช่วง 10 ปี เปรียบเทียบดูน่าจะถูกกว่านะครับ
นอกจากนี้ในแต่ละปีก็จะมีการจ่ายปันผลที่แตกต่างกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 6
คุณ Cwiboon
1. เรื่องเงินปันผลนั้นเราต้องไปหักจากกำไรสุทธิทุกปีด้วยครับ
ตัวอย่างเช่น
กำไรสุทธิที่เป็นเงินสดปีที่ 1 กำไรสุทธิเท่ากับ 10 บาท ไม่ได้จ่ายปันผล
ปีที่ 2 กำไรสุทธิที่เป็นเงินสดเท่ากับ 2 บาท จ่ายปันผล 5 บาท
ปีที่ 3 กำไรสุทธิที่เป็นเงินสด ด เท่ากับ 1 บาท จ่ายปันผล 2 บาท
ปีที่ 4.....
ไปจนถึงปีที่ 10 เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า เราต้องดูในแต่ละปีว่าจ่ายปันผลเท่าไร บางปีสมมุติว่าจ่ายปันผลมากกว่ากำไรสุทธิที่ทำได้ โดยบริษัทเอากำไรสะสมมาจ่ายด้วย ก็จะทำให้เงินลงทุนในแต่ละปีลดลงมากบ้างน้อยบ้าง เป็นต้น ซึ่งจะสะท้อนตรงผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุนในแต่ละปีไม่เท่ากันครับ ตรงนี้ ผมถึงได้บอกว่า เราต้องลองไปคำนวณ Net free Cash Flow ในแต่ละปีประกอบครับ แล้วคำนวณหา IRR จึงจะทราบได้ว่าผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วง 10 ปีเป็นอย่างไรครับ
2. เมื่อเราคำนวณหาผลตอบแทน IRR ได้แล้ว เราก็อาจนำไปเปรียบเทียบกับ ผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวก่อนก็ได้ครับ ซึ่งจะสะท้อนในเรื่องการเปรียบเทียบค่าเสียโอกาสขั้นต่ำ หมายความว่า หากคุณไม่ลงทุนบริษัทนี้ในช่วง 10 ปี แต่คุณนำเงินลงทุนไปลงทุนในพันธบัตรระยะเวลา 10 ปีซึ่งไม่มีความเสี่ยง หรือเราเรียกว่า Risk Free Rate ครับ ถ้าผลตอบแทน IRR จากการลงทุนในบริษัทดังกล่าว เทียบกับผลตอบแทนของพันธบัตรที่ไม่มีความเสี่ยงในระยะเวลา 10 ปีเท่ากัน (ความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้นและไม่ชำระค่าดอกเบี้ยภายใต้สมมุติฐานว่าในช่วง 10 ปีที่เท่ากันเราจะไม่มีการถอนเงินออกไปก่อนกำหนดครับ) ซึ่งเราต้องคำนวณ IRR เหมือนกัน
ถ้าหากผลตอบแทนของบริษัทมากกว่า ก็แสดงว่า เราสามารถหาผลตอบแทนได้สูงกว่าความเสี่ยงขั้นต่ำ หรือเรียกว่ามี Premium เกิดขึ้น แต่เนื่องจากหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงที่สูงกว่าพันธบัตร ดังนั้น เราจึงต้องเพิ่มผลตอบแทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงเข้าไปด้วย ซึ่งปกติเราต้องไปคำนวณหาว่าระดับความเสี่ยงของหุ้นสามัญ แล้วคำนวณหาค่า market premium ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของหุ้นสามัญของเราครับ ผมไม่อยากจะลงในรายละเอียด แต่มีหนังสือการบริหารการเงินจะให้คำตอบตรงนี้ได้ครับ เอาแค่หลักการนะครับ
เมื่อเราหาความเสี่ยงได้ แล้วเราก็จะเพิ่มอัตราผลตอบแทนเหนือผลตอบแทนของพันธบัตรสักเท่าไร ที่เราเรียกว่า Market Premium เข้าไป จะเพิ่มมากถ้าหุ้นสามัญของเรามีความเสี่ยงสูง และเพิ่มน้อยถ้ามีความเสี่ยงต่ำครับ
จากในหนังสือที่บอกนั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดของผลตอบแทนในแต่ละปี และไม่ได้ให้ระดับความเสี่ยงของผลตอบแทนในแต่ละปีครับ ทำให้พูดได้เฉพาะแนวทางครับ
เมื่อเราคำนวณหา Benchmark ของ ผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นสามัญได้ว่าเป็นเท่าไร เช่น ได้อัตราเท่ากับ 12% ต่อปี ดังนั้น ถ้าผลตอบแทนเทียบกับอัตรา Benchmark สูงกว่า แสดงว่า การลงทุนในหุ้นนั้นจะเป็นการลงทุนที่ดีและเหมาะสม แต่ถ้าต่ำกว่า การลงทุนตรงนั้นก็ไม่เหมาะสมครับ
ผมก็ไม่ใช่นักการเงินนะครับ อิ อิ เรียนมานิดหน่อยครับ พอรู้เรื่องเป็นงู ๆ ปลา ๆ นะครับ ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ
โดยสรุปนั้นก็คือ การดูผลตอบแทนนั้น เราต้องเปรียบเทียบกับอะไรบางสิ่งเพื่อตอบโจทย์ให้ได้ว่า มันคุ้มหรือไม่ เช่น ถ้าเทียบกับพันธบัตร ก็ตอบโจทย์ว่า คุ้มกับค่าเสียโอกาสขั้นต่ำหรือไม่ครับ ถ้าเปรียบเทียบกับผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เราคำนวณได้ ก็ตอบได้ว่า ผลตอบแทนที่เกิดขึ้น คุ้มกับผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกันกับหุ้นของเราหรือไม่ เป็นต้น
บัฟเฟทก็ใช้วิธีนี้เวลาไปประเมินบริษัทประกันเหมือนกันนะครับ โดยเอา float ของบริษัทประกันที่มีอยู่คือค่าเบี้ยประกัน ไปคำนวณหาค่าเสียโอกาสที่บริษัทประกันจะนำเงินประกันที่เป็น float ไปลงทุนในพันธบัตรที่ไม่มีความเสี่ยง และเทียบกับที่บริษัทประกันสามารถนำเงินดังกล่าวไปหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์อื่น หรือนำไปลงทุนประเภทต่าง ๆ ถ้าหากไปหาประโยชน์ได้สูงกว่าผลตอบแทนของพันธบัตร ก็แสดงว่าบริษัทประกันนั้น สามารถสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าค่าเสี่ยโอกาสขั้นต่ำครับ เพราะเงินที่มีอยู่เฉย ๆ ปกติก็มีค่าเสียโอกาสของการใช้เงินครับ ไม่ใช่ไม่มี Cost ครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
เรื่องใช้ Free Cash Flow ผมเห็นด้วยครับ แต่แค่สงสัยการประมาณตัวเลขในหนังสือเฉยๆน่ะครับ และก็กรณีเรื่องเงินปันผลไม่น่าจะมีผลกระทบเพราะหักเงินปันผลออกหมดแล้วเหลือเฉพาะส่วนกำไรสะสมที่เหลือจริงๆเท่านั้นที่นำมาใช้ลงทุน แต่ไม่ว่าจะใช้ Free Cash Flow หรือใช้ แบบ Simple Average เราจะตีค่าโดยเทียบกับหุ้นกู้ได้ยังไงครับ อยากให้คุณ Thawattt ลองสังเกตเฉพาะตัวอย่างที่ให้น่ะครับ อยากรู้ว่าถ้าไม่ใช้การเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นแล้ว เรามีหลักในการเปรียบเทียบกับหุ้นกู้ได้ยังไงเหรอครับ
ตัวอย่างเช่น
กำไรสุทธิที่เป็นเงินสดปีที่ 1 กำไรสุทธิเท่ากับ 10 บาท ไม่ได้จ่ายปันผล
ปีที่ 2 กำไรสุทธิที่เป็นเงินสดเท่ากับ 2 บาท จ่ายปันผล 5 บาท
ปีที่ 3 กำไรสุทธิที่เป็นเงินสด ด เท่ากับ 1 บาท จ่ายปันผล 2 บาท
ปีที่ 4.....
ไปจนถึงปีที่ 10 เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า เราต้องดูในแต่ละปีว่าจ่ายปันผลเท่าไร บางปีสมมุติว่าจ่ายปันผลมากกว่ากำไรสุทธิที่ทำได้ โดยบริษัทเอากำไรสะสมมาจ่ายด้วย ก็จะทำให้เงินลงทุนในแต่ละปีลดลงมากบ้างน้อยบ้าง เป็นต้น ซึ่งจะสะท้อนตรงผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุนในแต่ละปีไม่เท่ากันครับ ตรงนี้ ผมถึงได้บอกว่า เราต้องลองไปคำนวณ Net free Cash Flow ในแต่ละปีประกอบครับ แล้วคำนวณหา IRR จึงจะทราบได้ว่าผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วง 10 ปีเป็นอย่างไรครับ
2. เมื่อเราคำนวณหาผลตอบแทน IRR ได้แล้ว เราก็อาจนำไปเปรียบเทียบกับ ผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวก่อนก็ได้ครับ ซึ่งจะสะท้อนในเรื่องการเปรียบเทียบค่าเสียโอกาสขั้นต่ำ หมายความว่า หากคุณไม่ลงทุนบริษัทนี้ในช่วง 10 ปี แต่คุณนำเงินลงทุนไปลงทุนในพันธบัตรระยะเวลา 10 ปีซึ่งไม่มีความเสี่ยง หรือเราเรียกว่า Risk Free Rate ครับ ถ้าผลตอบแทน IRR จากการลงทุนในบริษัทดังกล่าว เทียบกับผลตอบแทนของพันธบัตรที่ไม่มีความเสี่ยงในระยะเวลา 10 ปีเท่ากัน (ความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้นและไม่ชำระค่าดอกเบี้ยภายใต้สมมุติฐานว่าในช่วง 10 ปีที่เท่ากันเราจะไม่มีการถอนเงินออกไปก่อนกำหนดครับ) ซึ่งเราต้องคำนวณ IRR เหมือนกัน
ถ้าหากผลตอบแทนของบริษัทมากกว่า ก็แสดงว่า เราสามารถหาผลตอบแทนได้สูงกว่าความเสี่ยงขั้นต่ำ หรือเรียกว่ามี Premium เกิดขึ้น แต่เนื่องจากหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงที่สูงกว่าพันธบัตร ดังนั้น เราจึงต้องเพิ่มผลตอบแทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงเข้าไปด้วย ซึ่งปกติเราต้องไปคำนวณหาว่าระดับความเสี่ยงของหุ้นสามัญ แล้วคำนวณหาค่า market premium ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของหุ้นสามัญของเราครับ ผมไม่อยากจะลงในรายละเอียด แต่มีหนังสือการบริหารการเงินจะให้คำตอบตรงนี้ได้ครับ เอาแค่หลักการนะครับ
เมื่อเราหาความเสี่ยงได้ แล้วเราก็จะเพิ่มอัตราผลตอบแทนเหนือผลตอบแทนของพันธบัตรสักเท่าไร ที่เราเรียกว่า Market Premium เข้าไป จะเพิ่มมากถ้าหุ้นสามัญของเรามีความเสี่ยงสูง และเพิ่มน้อยถ้ามีความเสี่ยงต่ำครับ
จากในหนังสือที่บอกนั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดของผลตอบแทนในแต่ละปี และไม่ได้ให้ระดับความเสี่ยงของผลตอบแทนในแต่ละปีครับ ทำให้พูดได้เฉพาะแนวทางครับ
เมื่อเราคำนวณหา Benchmark ของ ผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นสามัญได้ว่าเป็นเท่าไร เช่น ได้อัตราเท่ากับ 12% ต่อปี ดังนั้น ถ้าผลตอบแทนเทียบกับอัตรา Benchmark สูงกว่า แสดงว่า การลงทุนในหุ้นนั้นจะเป็นการลงทุนที่ดีและเหมาะสม แต่ถ้าต่ำกว่า การลงทุนตรงนั้นก็ไม่เหมาะสมครับ
ผมก็ไม่ใช่นักการเงินนะครับ อิ อิ เรียนมานิดหน่อยครับ พอรู้เรื่องเป็นงู ๆ ปลา ๆ นะครับ ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ
โดยสรุปนั้นก็คือ การดูผลตอบแทนนั้น เราต้องเปรียบเทียบกับอะไรบางสิ่งเพื่อตอบโจทย์ให้ได้ว่า มันคุ้มหรือไม่ เช่น ถ้าเทียบกับพันธบัตร ก็ตอบโจทย์ว่า คุ้มกับค่าเสียโอกาสขั้นต่ำหรือไม่ครับ ถ้าเปรียบเทียบกับผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เราคำนวณได้ ก็ตอบได้ว่า ผลตอบแทนที่เกิดขึ้น คุ้มกับผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกันกับหุ้นของเราหรือไม่ เป็นต้น
บัฟเฟทก็ใช้วิธีนี้เวลาไปประเมินบริษัทประกันเหมือนกันนะครับ โดยเอา float ของบริษัทประกันที่มีอยู่คือค่าเบี้ยประกัน ไปคำนวณหาค่าเสียโอกาสที่บริษัทประกันจะนำเงินประกันที่เป็น float ไปลงทุนในพันธบัตรที่ไม่มีความเสี่ยง และเทียบกับที่บริษัทประกันสามารถนำเงินดังกล่าวไปหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์อื่น หรือนำไปลงทุนประเภทต่าง ๆ ถ้าหากไปหาประโยชน์ได้สูงกว่าผลตอบแทนของพันธบัตร ก็แสดงว่าบริษัทประกันนั้น สามารถสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าค่าเสี่ยโอกาสขั้นต่ำครับ เพราะเงินที่มีอยู่เฉย ๆ ปกติก็มีค่าเสียโอกาสของการใช้เงินครับ ไม่ใช่ไม่มี Cost ครับ
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 7
New buffetology จริงๆ มีตัว T อีกตัวเป็น New buffettology
จากข้อมูล
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 1990 เท่ากับ 1.20 บาท
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 2000 เท่ากับ 2.00 บาท
ใช้เวลา 10 ปี
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรใช้อัตราผลตอบแทนทบต้นครับ ใช้ Excel
nper 10.00
pmt 0.00
pv -1.20
fv 2.00
=RATE(10,0,-1.2,2) จะได้ 0.05 หรือคือ 5% ครับ
ลองเอาไปเทียบกับพันธบัตรดู
และควรเทียบ E/P ของหุ้นตัวนี้ เ้ช่น หุ้น A มีราคาขาย 12 บาทในปี 90
หมายความว่า
คุณซื้อหุ้น A จะได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี และผลตอบแทนนี้จะเพิ่มขึ้น 5%
ทบต้นทุกๆ ปีครับ
-----------
นานๆ ตอบยาวๆ ทีเหนื่อย
ใกล้เีคียงครับขอถามเพิ่มนะครับ จากตัวอย่างจะแปลว่า ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการนำกำไรสะสมไปลงทุนเป็น 11.4 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะคิดรายปีต้องหาร 10 คือผลตอบแทน 1.14 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ถ้าในกรณ๊นี้เทียบกับหุ้นกู้ก็ถือว่าเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำสิครับ แต่ว่าในกรณีตัวอย่างของหนังสือ ส่วนใหญ่กรณีที่มากที่สุดก็ประมาณ 17-25 เปอร์เซ็นต์ พอหาร 10 ปี ก็ได้ไม่ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นกรณีเทียบกับหุ้นกู้จะได้ต่ำกว่าทุกกรณีสิครับ
จากข้อมูล
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 1990 เท่ากับ 1.20 บาท
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 2000 เท่ากับ 2.00 บาท
ใช้เวลา 10 ปี
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรใช้อัตราผลตอบแทนทบต้นครับ ใช้ Excel
nper 10.00
pmt 0.00
pv -1.20
fv 2.00
=RATE(10,0,-1.2,2) จะได้ 0.05 หรือคือ 5% ครับ
ลองเอาไปเทียบกับพันธบัตรดู
และควรเทียบ E/P ของหุ้นตัวนี้ เ้ช่น หุ้น A มีราคาขาย 12 บาทในปี 90
หมายความว่า
คุณซื้อหุ้น A จะได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี และผลตอบแทนนี้จะเพิ่มขึ้น 5%
ทบต้นทุกๆ ปีครับ
-----------
นานๆ ตอบยาวๆ ทีเหนื่อย
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 8
mo101
ขอบคุณคุณ mo101 นะครับที่คำนวณได้ชัดเจนดีครับกล้เีคียงครับ
จากข้อมูล
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 1990 เท่ากับ 1.20 บาท
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 2000 เท่ากับ 2.00 บาท
ใช้เวลา 10 ปี
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรใช้อัตราผลตอบแทนทบต้นครับ ใช้ Excel
nper 10.00
pmt 0.00
pv -1.20
fv 2.00
=RATE(10,0,-1.2,2) จะได้ 0.05 หรือคือ 5% ครับ
ลองเอาไปเทียบกับพันธบัตรดู
และควรเทียบ E/P ของหุ้นตัวนี้ เ้ช่น หุ้น A มีราคาขาย 12 บาทในปี 90
หมายความว่า
คุณซื้อหุ้น A จะได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี และผลตอบแทนนี้จะเพิ่มขึ้น 5%
ทบต้นทุกๆ ปีครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 171
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณมากครับ เพื่อนๆทุกคนที่ช่วยอธิบายให้น่ะครับ แต่ที่ผมสงสัย สงสัยผมอาจจะอธิบายไม่เข้าประเด็นน่ะครับ คือผมอยากดูความสามารถในการเอาเงินลงทุนไปใช้น่ะครับ ว่าก่อให้เกิดผลประโยชน์มากขึ้น (กำไรสูงขึ้นแค่ไหน)คือไม่ได้ดูอัตราการเติบโตของกำไรอย่างเดียวน่ะครับ แต่เป็นการดูถึงเงินที่นำไปใช้ลงทุนจริงๆเท่านั้นเพื่อทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้น หรือ ถ้าเป็น free cash flow ก็คือ ในส่วนของกระแสเงินสดจากการลงทุน เท่านั้น โดยที่ต้องการดูก็เพื่อพิจารณาว่าบริษัทมีการนำเงินไปลงทุนแล้วมีประสิทธิภาพแค่ไหน โดยตัวอย่างที่ผมยกน่ะครับเป็นการตั้งสมมติฐาน ว่ากำไรของบริษํทส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่ายปันผลดังนั้นส่วนที่เหลือก็คือเงินที่นำไปใช้ในการลงทุนเพื่อให้ผลกำไรงอกงาม (สังเกตว่าผมตัดเงินปันผลออกจากกำไรเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะนำมาคิดอัตราการนำเงินลงทุนไปใช้) แล้วก็คิดว่าบริษํทนี้มีการนำเงินลงทุนนี้ไปสร้างผลกำไรได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้น
เหตุที่ผมไม่ได้คิด เอากำไรที่เกิดขึ้นมาเข้าสูตร
=RATE(10,0,-1.2,2) เนื่องจาก แต่ละบริษํทมีนโยบายจายปันผลต่างกัน เราไม่สามารถเปรียบเทียบได้เนื่องบริษัทที่จ่ายปันผลมากกว่าจะมีการนำเงินไปลงทุนน้อยกว่า ผู้ถือหุ้นจะได้ในส่วนของปันผลทดแทนมา
สิ่งที่พิจารณาในที่นี้คือความสามารถของการนำเงินลงทุนไปใช้เท่านั้นน่ะครับ ว่ามีมากน้อยแค่ไหน แล้วในตัวอย่างที่ให้จะสังเกตว่าตัวเลข % จากหนังสือ ถ้าไม่ใช้ในเชิงเปรียบเทียบกับบริษัทข้างเคียง ผมไม่สามารถสื่อความหมายตรงๆ ได้น่ะครับ ว่าถือว่ามากหรือน้อย
แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีการคำนวณมูลค่าทั้งบริษํทแล้วนำไปเปรียบเทียบกับผลตอบแทนถ้านำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนด้วยวิธีอื่นตรงนี้ผมเข้าใจครับ
เหตุที่ผมไม่ได้คิด เอากำไรที่เกิดขึ้นมาเข้าสูตร
=RATE(10,0,-1.2,2) เนื่องจาก แต่ละบริษํทมีนโยบายจายปันผลต่างกัน เราไม่สามารถเปรียบเทียบได้เนื่องบริษัทที่จ่ายปันผลมากกว่าจะมีการนำเงินไปลงทุนน้อยกว่า ผู้ถือหุ้นจะได้ในส่วนของปันผลทดแทนมา
สิ่งที่พิจารณาในที่นี้คือความสามารถของการนำเงินลงทุนไปใช้เท่านั้นน่ะครับ ว่ามีมากน้อยแค่ไหน แล้วในตัวอย่างที่ให้จะสังเกตว่าตัวเลข % จากหนังสือ ถ้าไม่ใช้ในเชิงเปรียบเทียบกับบริษัทข้างเคียง ผมไม่สามารถสื่อความหมายตรงๆ ได้น่ะครับ ว่าถือว่ามากหรือน้อย
แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีการคำนวณมูลค่าทั้งบริษํทแล้วนำไปเปรียบเทียบกับผลตอบแทนถ้านำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนด้วยวิธีอื่นตรงนี้ผมเข้าใจครับ
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 10
ความสามารถในการเอาเงินลงทุนไปใช
ช่วยบอกหน่อยครับ ว่าอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ จะได้ตอบง่ายๆ ครับ
ช่วยบอกหน่อยครับ ว่าอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ จะได้ตอบง่ายๆ ครับ
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 11
คิดถูกแล้วนี่ครับ แต่ตัวเลข 11.4 หมายถึง บริษัทสะสมกำไรไว้ 7 บาท เป็นตัวที่ทำให้เำกิดกำไรเพิ่มขี้น 0.8 บาท คิดเป็นผลตอบแทน 11.4 %มีกำไรรวมทั้งหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ 17.5 บาท
บริษัทจ่ายปันผลหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ 10.5 บาท
ดังนั้นถือได้ว่าบริษัทนำเงินทุนจำนวน 7 บาท (17.5-10.5) มาลงทุนเพิ่มเติมทำให้เกิดกำไรต่อหุ้นในปี2000 เท่ากับ 2.00 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 1990 เท่ากับ 0.8 บาท (2.00-1.20)
คิดเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนของการนำเงินลงทุนมาทำให้เกิดกำไร เท่ากับ 0.8/7 เท่ากับ 11.4 เปอร์เซ็นต์
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้
โพสต์ที่ 14
ไม่ทราบครับ ลองเทียบกับบ. ที่คล้ายๆกันดู > คือดีกว่าจะทราบได้ยังไงครับ ว่าเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่จึงจะถือว่าใช้เงินลงทุนได้มีประสิทธิภาพครับ
เช่น H & R หน้า186 คำนวนได้ 17.9
wm คำนวนได้ 19.9
gm คำนวนได้ 6
แบบนี้ตัด gm ทิ้งเลยครับ