ช่วยมาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของ JTEPA หน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยมาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของ JTEPA หน่อยครับ
โพสต์ที่ 2
ข้อดี/ข้อเสีย
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น
Japan - Thailand Economic Partnership Agreement
1. JTEPA คือเอฟทีเอบวกความร่วมมือ
JTEPA ย่อมาจาก Japan Thailand Economic Partnership Agreement หรือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ประกอบด้วย
1.1 การเปิดเสรีสินค้า บริการ และการลงทุนให้แก่กันและกัน ในระดับที่ต่างฝ่ายต่างรับได้
โดยมีกลไกแก้ปัญหาหากการเปิดเสรีส่งผลกระทบรุนแรง และสำหรับสินค้า บริการ การลงทุนที่ฝ่ายใดยังไม่พร้อมเปิดในขณะนี้ก็สามารถเปิดเจรจาทบทวนเพิ่มเติมใหม่ได้ในอนาคต
1.2 ความร่วมมือ รวม 9 สาขา คือ เกษตร ป่าไม้ และประมง / การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์/ การสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ / บริการการเงิน / เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) / วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม / วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) / การท่องเที่ยว / การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ซึ่งมีเรื่องครัวไทยสู่โลก อุตสาหกรรมเหล็ก ยานยนต์ สิ่งทอ และการประหยัดพลังงานเป็นหลัก
ความตกลงนี้มีกลไกทบทวนปรับปรุงในอนาคต หากฝ่ายใดต้องการบอกเลิกก็สามารถทำได้เพียงแค่แจ้งอีกฝ่ายล่วงหน้า 1 ปี
2. ประเด็นละเอียดอ่อนที่มักมีการคัดค้านในเอฟทีเออื่นๆ
ไม่ปรากฏใน JTEPA กล่าวคือ ไม่มีการเปิดเสรีเกินกว่าที่ไทยให้ไว้ใน WTO ในภาคบริการโทรคมนาคม บริการการเงิน จัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะสิทธิบัตรยา ไทยไม่ต้องออกหรือแก้ พ.ร.บ.ใดๆ เพื่อให้ปฏิบัติตามได้
3. ภาคเกษตรจะถูกกระทบเหมือนเอฟทีเอที่เรามักพูดกันในอดีตหรือไม่
ไม่มีแน่นอน ตรงกันข้าม เกษตรกรไทยจะเป็นผู้ได้ประโยชน์เมื่อ JTEPA มีผลบังคับใช้ เพราะจะมีโอกาสขายสินค้าเกษตร เช่น พริกหวาน กล้วยหอม มะม่วง มังคุด สับปะรด ดอกไม้ ไก่ กุ้ง อาหารทะเลได้มากยิ่งขึ้น มาตรฐานสินค้าจะดีขึ้น สหกรณ์เกษตรไทยจะได้ติดต่อสัมพันธ์กับสหกรณ์เกษตรญี่ปุ่น สามารถขายตรง สินค้าไม่ถูกปฏิเสธ ตัดกำไรคนกลาง มีความเข้มแข็งมากขึ้น ส่วนที่เกรงว่าสินค้าเกษตรญี่ปุ่นจะทะลักมาตีตลาดสินค้าเกษตรไทยก็คงไม่เกิด เพราะผัก ผลไม้ เช่น หอม กระเทียม แอปเปิ้ลจากญี่ปุ่นมีราคาแพงมาก
4. ข้อดีมีอะไรบ้าง
- การสร้างความเชื่อมั่น JTEPA จะส่งสัญญาณให้นักลงทุนญี่ปุ่นมั่นใจและเพิ่มการลงทุนในไทย จะส่งสัญญาณให้นักลงทุนชาติอื่นๆ ลงทุนในไทยมากขึ้นเพื่อได้ตลาดญี่ปุ่น
- สินค้าเกษตร ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีทันทีสำหรับ กุ้ง ผลไม้เมืองร้อน ผัก ผลไม้แปรรูป ผลไม้กระป๋อง ยกเลิกภาษีใน 5-10 ปีสำหรับปลาหมึก อาหารสุนัขและแมว ลดภาษีลงกว่าครึ่งหรือครึ่งหนึ่งในระยะแรกสำหรับอาหารทะเลสำเร็จรูป และไก่ต้มสุก นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้โควตาสำหรับ กล้วย แป้งมันสำปะหลัง กากน้ำตาล สับปะรดสด โดยไม่เสียภาษี
- สินค้าอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีทันที สำหรับอัญมณี สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เคมีภัณฑ์ และยกเลิกภาษีใน 7 - 10 ปีสำหรับรองเท้าและเครื่องหนัง
สินค้าที่ลดภาษีทันทีคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 80 ของสินค้าไทยที่เข้าญี่ปุ่นในปีที่ผ่านมา
- การค้าบริการ ไทยเปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเพิ่มเติมจาก WTO เพียง 14 สาขา ขณะที่ญี่ปุ่นเปิดให้ไทยเพิ่มเติมหรือเปิดกว้างขึ้นจาก WTO ถึงกว่า 135 สาขา
- การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีโดยทั่วไป ญี่ปุ่นยอมรับที่จะพิจารณาเทียบวุฒิปริญญาตรีที่ได้รับในประเทศไทยเทียบเท่ากับวุฒิปริญญาที่ได้ในญี่ปุ่น ทำให้คนไทยสามารถเข้าไปตั้งกิจการให้บริการในญี่ปุ่นได้หลายสาขา อาทิ สาขาโฆษณา โรงแรม ร้านอาหาร จัดเลี้ยง จัดการประชุม จัดทัวร์ รักษาความปลอดภัย ล่ามแปล บริการดูแลคนสูงอายุ สอนภาษา รำไทย ฯลฯ
สำหรับพ่อครัว-แม่ครัวไทย ซึ่งไม่ต้องจบปริญญาตรี ญี่ปุ่นยอมลดเงื่อนไขการเข้าเมืองเรื่องประสบการณ์ทำงานจาก 10 ปีเหลือ 5 ปี (รวมเวลาศึกษาด้วย เช่น ปวส. 3 ปี) ส่วนการรับพนักงานสปาและคนดูแลผู้สูงอายุไทยเข้าไปทำงานในญี่ปุ่นนั้น ทั้งสองฝ่ายตกลงจะเจรจารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุปให้ได้ภายใน 2 ปีหลัง JTEPA มีผลบังคับใช้ และมีกลไกเจรจาอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้ปริญญาต่อไป
- ความร่วมมือสาขาต่างๆ ภาคเกษตร ธุรกิจ SMEs การท่องเที่ยว ฯลฯ ได้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ที่จะต้องใช้ประโยชน์จากกลไกที่วางไว้ให้เต็มที่
5. ข้อเสียมีอะไรบ้าง
- เปิดเสรีภาคอุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ผู้ประกอบการที่ต้องการให้คงภาษีปกป้องอุตสาหกรรมของตนอาจได้รับผลกระทบ แต่ก็มีเวลาปรับตัวระหว่าง 5-11 ปี ทั้งนี้เอกชนไทยก็ทราบดีว่าเป็นแนวโน้มของการเปิดเสรีในกรอบพหุภาคี (WTO) และอาเซียน (AFTA) อยู่แล้ว นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังได้เตรียมกองทุนเพื่อทำงานร่วมกับสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ในการให้คำปรึกษาด้านการปรับตัว
- รายได้จากภาษีศุลกากร เป็นปกติที่ลดภาษีแล้วประเทศจะขาดรายได้ภาษีศุลกากร รายได้ส่วนที่รัฐบาลขาดไปคือรายรับส่วนที่ผู้ผลิตประหยัดได้จากการนำเข้าวัตถุดิบ ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ดีขึ้น รัฐบาลจะได้รายได้จากภาษีอื่นเพิ่มขึ้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนั้น การลดภาษีจะทำให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่มีทางเลือก สินค้าและบริการราคาถูกลง คุณภาพดีขึ้น
- การขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นคงมีต่อไป เพราะถ้าไทยจะขายสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมให้ญี่ปุ่นมากขึ้นก็ยังคงต้องนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรมาขยายการผลิตด้วยเช่นกัน การขาดดุลควรมองภาพรวมเพราะหากขาดดุลกับประเทศหนึ่งเพื่อได้ดุลกับประเทศอื่นๆ และได้ดุลในภาพรวมก็ไม่เกิดความเสียหายใดๆ
- ข้อห่วงกังวลของ NGO
- NGO ขอให้เปิดเผยร่างความตกลงฯ ต่อสาธารณชน
> จัดส่งและแจกจ่ายสาระผลการเจรจาแก่รัฐสภาและสาธารณชนตั้งแต่ในช่วงระหว่างการเจรจา และเผยแพร่ข้อมูลผ่านสารคดีวิทยุ โทรทัศน์ กว่า 180 ตอน รวมทั้งผ่านเว็บไซต์ www.mfa.go.th/jtepa
> ให้ TDRI ศึกษาร่างความตกลงฯ ในทุกบท ทุกข้ออย่างละเอียดแล้ว ผลการศึกษากว่า 3 เดือน ไม่พบความเสี่ยง
> ส่งร่างความตกลงฯ ให้ประธานคณะกรรมาธิการต่างๆของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (การต่างประเทศ การพาณิชย์ การมีส่วนร่วมของประชาชน การอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว การเกษตรและสหกรณ์ การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน) และประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว
- NGO ร้องเรียนว่า JTEPA จะส่งเสริมให้ญี่ปุ่นนำขยะพิษเข้ามาทิ้งในไทย
> ใน JTEPA ไม่อนุญาตหรือยอมรับให้ญี่ปุ่นส่งขยะพิษหรือวัตถุอันตรายมาไทย และยืนยันสิทธิไทยที่จะใช้มาตรการป้องกันการนำเข้าของเสียอันตรายถึง 3 ชั้น ได้แก่ กฎหมายไทย (อาทิ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย) กฎหมายระหว่างประเทศ (อาทิ อนุสัญญาบาเซล) และข้อยกเว้นด้านสุขอนามัยของคน พืช และสัตว์ และข้อยกเว้นด้านสิ่งแวดล้อมใน JTEPA ซึ่งเหมือนกับใน WTO
> สินค้า ของเสีย บางประเภทจากญี่ปุ่น อาทิ เครื่องยนต์เก่า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว อาจเป็นประโยชน์แก่ภาคธุรกิจที่นำไปใช้ต่อได้อีก
> TDRI เห็นว่า การด่วนสรุปว่า JTEPA จะทำให้ญี่ปุ่นเอาขยะมีพิษจำนวนมากมาทิ้งในประเทศไทยเป็นข้อสรุปที่ขาดเหตุผลและข้อเท็จจริงรองรับ และ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ก็มีบทบัญญัติลงโทษผู้ฝ่าฝืนทั้งจำทั้งปรับ ตลอดจนมีมาตรการเพื่อความปลอดภัยของสาธารณะอื่นๆ
- NGO เกรงว่าไทยจะเสียเปรียบในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
> JTEPA เพียงคงสถานะปัจจุบันไว้เท่านั้น ไทยไม่ได้ให้สิทธิพิเศษกับญี่ปุ่นในเรื่องนี้ และบทบัญญัติใน JTEPA เป็นไปตามกฎหมายไทยและ WTO ทุกประการ
- NGO ร้องเรียนว่าคนไข้ญี่ปุ่นจะแย่งหมอไทยจากโรงพยาบาลรัฐ
> JTEPA เพียงคงสถานะปัจจุบันไว้เท่านั้น ชาวญี่ปุ่นที่ใช้บริการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อาศัยในเมืองไทยอยู่แล้ว นอกจากนี้ คนไทยที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลจะได้ประโยชน์ในวงกว้าง ส่วนปัญหาบุคลากรสมองไหลเป็นปัญหาโครงสร้างในระบบของไทยเอง
- NGO ชี้ว่าหากเกิดปัญหา เอกชนญี่ปุ่นจะสามารถฟ้องรัฐบาลไทยผ่านอนุญาโตตุลาการได้
> เอกชนญี่ปุ่นจะฟ้องได้เฉพาะข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิด JTEPA ในกรณีหลังจากเข้าตั้งกิจการแล้วเท่านั้น และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายประการ เช่น สาเหตุของข้อพิพาทต้องเกิดหลัง JTEPA มีผลบังคับใช้ ข้อพิพาทต้องไม่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ลงทุนหรือการกำหนดเงื่อนไขการลงทุน ต้องมีการปรึกษาหารือก่อน นอกจากนี้ คำชี้ขาดจะตัดสินให้ไทยปรับกฎหมายหรือมาตรการอื่นนอกจากการชดเชยค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งนี้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศในกรณีประเทศกำลังพัฒนา และสอดคล้องกับกฎหมายไทยและแนวทางการคุ้มครองการลงทุนที่ไทยทำความตกลงกับประเทศต่างๆ มาเกือบ 40 ประเทศแล้ว อีกทั้งเราต้องไม่ลืมว่าเอกชนไทยที่เข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นก็จะได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน
- NGO ยืนยันว่ารัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาจากการแต่งตั้ง จึงควรรอให้มีการเลือกตั้งก่อน
> ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สรุป
เป็นความตกลงที่เปิดเสรีแบบต่างฝ่ายต่างรับได้ สิ่งที่ฝ่ายหนึ่งต้องการ แต่อีกฝ่ายยังไม่พร้อมก็เก็บไว้พูดกันใหม่ในอนาคต สาระส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สร้างความสามารถในการแข่งขันให้ไทย TDRI ศึกษาวินิจฉัยแล้วสอบผ่าน ส่วนประโยชน์มากน้อยขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ของแต่ละภาคส่วน ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม อัญมณี สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องหนัง ได้ประโยชน์ชัดเจน ภาคอุตสาหกรรมที่อาจถูกกระทบมีเวลาปรับตัว ภาคประชาชนจะได้เข้าญี่ปุ่นไปทำงานง่ายขึ้น สิงคโปร์ มาเลเซียกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามแล้ว อินโดนีเซียกับเวียดนามกำลังเจรจากับญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนที่เจรจาแล้ว ไทยได้ความตกลงที่น่าพอใจ หากไทยลงนามช้าจะเสียเปรียบประเทศอาเซียนอื่นๆ ทั้งนี้ JTEPA จะเป็นกรอบที่สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนญี่ปุ่นและต่างชาติในไทย และช่องทางการขยายผลประโยชน์ร่วมของกันและกันในอนาคต
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
กระทรวงการต่างประเทศ
โทรศัพท์ 0 2644 6710 โทรสาร 0 2644 6711
อีเมล์ [email protected]
เว็บไซต์ http://www.mfa.go.th/jtepa/
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น
Japan - Thailand Economic Partnership Agreement
1. JTEPA คือเอฟทีเอบวกความร่วมมือ
JTEPA ย่อมาจาก Japan Thailand Economic Partnership Agreement หรือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ประกอบด้วย
1.1 การเปิดเสรีสินค้า บริการ และการลงทุนให้แก่กันและกัน ในระดับที่ต่างฝ่ายต่างรับได้
โดยมีกลไกแก้ปัญหาหากการเปิดเสรีส่งผลกระทบรุนแรง และสำหรับสินค้า บริการ การลงทุนที่ฝ่ายใดยังไม่พร้อมเปิดในขณะนี้ก็สามารถเปิดเจรจาทบทวนเพิ่มเติมใหม่ได้ในอนาคต
1.2 ความร่วมมือ รวม 9 สาขา คือ เกษตร ป่าไม้ และประมง / การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์/ การสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ / บริการการเงิน / เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) / วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม / วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) / การท่องเที่ยว / การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ซึ่งมีเรื่องครัวไทยสู่โลก อุตสาหกรรมเหล็ก ยานยนต์ สิ่งทอ และการประหยัดพลังงานเป็นหลัก
ความตกลงนี้มีกลไกทบทวนปรับปรุงในอนาคต หากฝ่ายใดต้องการบอกเลิกก็สามารถทำได้เพียงแค่แจ้งอีกฝ่ายล่วงหน้า 1 ปี
2. ประเด็นละเอียดอ่อนที่มักมีการคัดค้านในเอฟทีเออื่นๆ
ไม่ปรากฏใน JTEPA กล่าวคือ ไม่มีการเปิดเสรีเกินกว่าที่ไทยให้ไว้ใน WTO ในภาคบริการโทรคมนาคม บริการการเงิน จัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะสิทธิบัตรยา ไทยไม่ต้องออกหรือแก้ พ.ร.บ.ใดๆ เพื่อให้ปฏิบัติตามได้
3. ภาคเกษตรจะถูกกระทบเหมือนเอฟทีเอที่เรามักพูดกันในอดีตหรือไม่
ไม่มีแน่นอน ตรงกันข้าม เกษตรกรไทยจะเป็นผู้ได้ประโยชน์เมื่อ JTEPA มีผลบังคับใช้ เพราะจะมีโอกาสขายสินค้าเกษตร เช่น พริกหวาน กล้วยหอม มะม่วง มังคุด สับปะรด ดอกไม้ ไก่ กุ้ง อาหารทะเลได้มากยิ่งขึ้น มาตรฐานสินค้าจะดีขึ้น สหกรณ์เกษตรไทยจะได้ติดต่อสัมพันธ์กับสหกรณ์เกษตรญี่ปุ่น สามารถขายตรง สินค้าไม่ถูกปฏิเสธ ตัดกำไรคนกลาง มีความเข้มแข็งมากขึ้น ส่วนที่เกรงว่าสินค้าเกษตรญี่ปุ่นจะทะลักมาตีตลาดสินค้าเกษตรไทยก็คงไม่เกิด เพราะผัก ผลไม้ เช่น หอม กระเทียม แอปเปิ้ลจากญี่ปุ่นมีราคาแพงมาก
4. ข้อดีมีอะไรบ้าง
- การสร้างความเชื่อมั่น JTEPA จะส่งสัญญาณให้นักลงทุนญี่ปุ่นมั่นใจและเพิ่มการลงทุนในไทย จะส่งสัญญาณให้นักลงทุนชาติอื่นๆ ลงทุนในไทยมากขึ้นเพื่อได้ตลาดญี่ปุ่น
- สินค้าเกษตร ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีทันทีสำหรับ กุ้ง ผลไม้เมืองร้อน ผัก ผลไม้แปรรูป ผลไม้กระป๋อง ยกเลิกภาษีใน 5-10 ปีสำหรับปลาหมึก อาหารสุนัขและแมว ลดภาษีลงกว่าครึ่งหรือครึ่งหนึ่งในระยะแรกสำหรับอาหารทะเลสำเร็จรูป และไก่ต้มสุก นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้โควตาสำหรับ กล้วย แป้งมันสำปะหลัง กากน้ำตาล สับปะรดสด โดยไม่เสียภาษี
- สินค้าอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีทันที สำหรับอัญมณี สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เคมีภัณฑ์ และยกเลิกภาษีใน 7 - 10 ปีสำหรับรองเท้าและเครื่องหนัง
สินค้าที่ลดภาษีทันทีคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 80 ของสินค้าไทยที่เข้าญี่ปุ่นในปีที่ผ่านมา
- การค้าบริการ ไทยเปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเพิ่มเติมจาก WTO เพียง 14 สาขา ขณะที่ญี่ปุ่นเปิดให้ไทยเพิ่มเติมหรือเปิดกว้างขึ้นจาก WTO ถึงกว่า 135 สาขา
- การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีโดยทั่วไป ญี่ปุ่นยอมรับที่จะพิจารณาเทียบวุฒิปริญญาตรีที่ได้รับในประเทศไทยเทียบเท่ากับวุฒิปริญญาที่ได้ในญี่ปุ่น ทำให้คนไทยสามารถเข้าไปตั้งกิจการให้บริการในญี่ปุ่นได้หลายสาขา อาทิ สาขาโฆษณา โรงแรม ร้านอาหาร จัดเลี้ยง จัดการประชุม จัดทัวร์ รักษาความปลอดภัย ล่ามแปล บริการดูแลคนสูงอายุ สอนภาษา รำไทย ฯลฯ
สำหรับพ่อครัว-แม่ครัวไทย ซึ่งไม่ต้องจบปริญญาตรี ญี่ปุ่นยอมลดเงื่อนไขการเข้าเมืองเรื่องประสบการณ์ทำงานจาก 10 ปีเหลือ 5 ปี (รวมเวลาศึกษาด้วย เช่น ปวส. 3 ปี) ส่วนการรับพนักงานสปาและคนดูแลผู้สูงอายุไทยเข้าไปทำงานในญี่ปุ่นนั้น ทั้งสองฝ่ายตกลงจะเจรจารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุปให้ได้ภายใน 2 ปีหลัง JTEPA มีผลบังคับใช้ และมีกลไกเจรจาอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้ปริญญาต่อไป
- ความร่วมมือสาขาต่างๆ ภาคเกษตร ธุรกิจ SMEs การท่องเที่ยว ฯลฯ ได้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ที่จะต้องใช้ประโยชน์จากกลไกที่วางไว้ให้เต็มที่
5. ข้อเสียมีอะไรบ้าง
- เปิดเสรีภาคอุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ผู้ประกอบการที่ต้องการให้คงภาษีปกป้องอุตสาหกรรมของตนอาจได้รับผลกระทบ แต่ก็มีเวลาปรับตัวระหว่าง 5-11 ปี ทั้งนี้เอกชนไทยก็ทราบดีว่าเป็นแนวโน้มของการเปิดเสรีในกรอบพหุภาคี (WTO) และอาเซียน (AFTA) อยู่แล้ว นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังได้เตรียมกองทุนเพื่อทำงานร่วมกับสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ในการให้คำปรึกษาด้านการปรับตัว
- รายได้จากภาษีศุลกากร เป็นปกติที่ลดภาษีแล้วประเทศจะขาดรายได้ภาษีศุลกากร รายได้ส่วนที่รัฐบาลขาดไปคือรายรับส่วนที่ผู้ผลิตประหยัดได้จากการนำเข้าวัตถุดิบ ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ดีขึ้น รัฐบาลจะได้รายได้จากภาษีอื่นเพิ่มขึ้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนั้น การลดภาษีจะทำให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่มีทางเลือก สินค้าและบริการราคาถูกลง คุณภาพดีขึ้น
- การขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นคงมีต่อไป เพราะถ้าไทยจะขายสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมให้ญี่ปุ่นมากขึ้นก็ยังคงต้องนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรมาขยายการผลิตด้วยเช่นกัน การขาดดุลควรมองภาพรวมเพราะหากขาดดุลกับประเทศหนึ่งเพื่อได้ดุลกับประเทศอื่นๆ และได้ดุลในภาพรวมก็ไม่เกิดความเสียหายใดๆ
- ข้อห่วงกังวลของ NGO
- NGO ขอให้เปิดเผยร่างความตกลงฯ ต่อสาธารณชน
> จัดส่งและแจกจ่ายสาระผลการเจรจาแก่รัฐสภาและสาธารณชนตั้งแต่ในช่วงระหว่างการเจรจา และเผยแพร่ข้อมูลผ่านสารคดีวิทยุ โทรทัศน์ กว่า 180 ตอน รวมทั้งผ่านเว็บไซต์ www.mfa.go.th/jtepa
> ให้ TDRI ศึกษาร่างความตกลงฯ ในทุกบท ทุกข้ออย่างละเอียดแล้ว ผลการศึกษากว่า 3 เดือน ไม่พบความเสี่ยง
> ส่งร่างความตกลงฯ ให้ประธานคณะกรรมาธิการต่างๆของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (การต่างประเทศ การพาณิชย์ การมีส่วนร่วมของประชาชน การอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว การเกษตรและสหกรณ์ การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน) และประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว
- NGO ร้องเรียนว่า JTEPA จะส่งเสริมให้ญี่ปุ่นนำขยะพิษเข้ามาทิ้งในไทย
> ใน JTEPA ไม่อนุญาตหรือยอมรับให้ญี่ปุ่นส่งขยะพิษหรือวัตถุอันตรายมาไทย และยืนยันสิทธิไทยที่จะใช้มาตรการป้องกันการนำเข้าของเสียอันตรายถึง 3 ชั้น ได้แก่ กฎหมายไทย (อาทิ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย) กฎหมายระหว่างประเทศ (อาทิ อนุสัญญาบาเซล) และข้อยกเว้นด้านสุขอนามัยของคน พืช และสัตว์ และข้อยกเว้นด้านสิ่งแวดล้อมใน JTEPA ซึ่งเหมือนกับใน WTO
> สินค้า ของเสีย บางประเภทจากญี่ปุ่น อาทิ เครื่องยนต์เก่า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว อาจเป็นประโยชน์แก่ภาคธุรกิจที่นำไปใช้ต่อได้อีก
> TDRI เห็นว่า การด่วนสรุปว่า JTEPA จะทำให้ญี่ปุ่นเอาขยะมีพิษจำนวนมากมาทิ้งในประเทศไทยเป็นข้อสรุปที่ขาดเหตุผลและข้อเท็จจริงรองรับ และ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ก็มีบทบัญญัติลงโทษผู้ฝ่าฝืนทั้งจำทั้งปรับ ตลอดจนมีมาตรการเพื่อความปลอดภัยของสาธารณะอื่นๆ
- NGO เกรงว่าไทยจะเสียเปรียบในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
> JTEPA เพียงคงสถานะปัจจุบันไว้เท่านั้น ไทยไม่ได้ให้สิทธิพิเศษกับญี่ปุ่นในเรื่องนี้ และบทบัญญัติใน JTEPA เป็นไปตามกฎหมายไทยและ WTO ทุกประการ
- NGO ร้องเรียนว่าคนไข้ญี่ปุ่นจะแย่งหมอไทยจากโรงพยาบาลรัฐ
> JTEPA เพียงคงสถานะปัจจุบันไว้เท่านั้น ชาวญี่ปุ่นที่ใช้บริการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อาศัยในเมืองไทยอยู่แล้ว นอกจากนี้ คนไทยที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลจะได้ประโยชน์ในวงกว้าง ส่วนปัญหาบุคลากรสมองไหลเป็นปัญหาโครงสร้างในระบบของไทยเอง
- NGO ชี้ว่าหากเกิดปัญหา เอกชนญี่ปุ่นจะสามารถฟ้องรัฐบาลไทยผ่านอนุญาโตตุลาการได้
> เอกชนญี่ปุ่นจะฟ้องได้เฉพาะข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิด JTEPA ในกรณีหลังจากเข้าตั้งกิจการแล้วเท่านั้น และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายประการ เช่น สาเหตุของข้อพิพาทต้องเกิดหลัง JTEPA มีผลบังคับใช้ ข้อพิพาทต้องไม่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ลงทุนหรือการกำหนดเงื่อนไขการลงทุน ต้องมีการปรึกษาหารือก่อน นอกจากนี้ คำชี้ขาดจะตัดสินให้ไทยปรับกฎหมายหรือมาตรการอื่นนอกจากการชดเชยค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งนี้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศในกรณีประเทศกำลังพัฒนา และสอดคล้องกับกฎหมายไทยและแนวทางการคุ้มครองการลงทุนที่ไทยทำความตกลงกับประเทศต่างๆ มาเกือบ 40 ประเทศแล้ว อีกทั้งเราต้องไม่ลืมว่าเอกชนไทยที่เข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นก็จะได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน
- NGO ยืนยันว่ารัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาจากการแต่งตั้ง จึงควรรอให้มีการเลือกตั้งก่อน
> ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สรุป
เป็นความตกลงที่เปิดเสรีแบบต่างฝ่ายต่างรับได้ สิ่งที่ฝ่ายหนึ่งต้องการ แต่อีกฝ่ายยังไม่พร้อมก็เก็บไว้พูดกันใหม่ในอนาคต สาระส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สร้างความสามารถในการแข่งขันให้ไทย TDRI ศึกษาวินิจฉัยแล้วสอบผ่าน ส่วนประโยชน์มากน้อยขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ของแต่ละภาคส่วน ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม อัญมณี สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องหนัง ได้ประโยชน์ชัดเจน ภาคอุตสาหกรรมที่อาจถูกกระทบมีเวลาปรับตัว ภาคประชาชนจะได้เข้าญี่ปุ่นไปทำงานง่ายขึ้น สิงคโปร์ มาเลเซียกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามแล้ว อินโดนีเซียกับเวียดนามกำลังเจรจากับญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนที่เจรจาแล้ว ไทยได้ความตกลงที่น่าพอใจ หากไทยลงนามช้าจะเสียเปรียบประเทศอาเซียนอื่นๆ ทั้งนี้ JTEPA จะเป็นกรอบที่สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนญี่ปุ่นและต่างชาติในไทย และช่องทางการขยายผลประโยชน์ร่วมของกันและกันในอนาคต
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
กระทรวงการต่างประเทศ
โทรศัพท์ 0 2644 6710 โทรสาร 0 2644 6711
อีเมล์ [email protected]
เว็บไซต์ http://www.mfa.go.th/jtepa/
My way, or the highway
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยมาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของ JTEPA หน่อยครับ
โพสต์ที่ 3
นักวิชาการส่งจดหมายเปิดผนึก ค้าน FTA ไทย-ญี่ปุ่น
หลังจากวันนี้ ครม.มีมติเห็นชอบเดินหน้าลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย โดยนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปลงนามที่ญี่ปุ่นวันที่ 2 เม.ย. นักวิชาการไทยได้ลงชื่อส่งจดหมายเปิดผนึก แสดงเหตุผลชี้ประเด็นที่ต้องคัดค้านดังต่อไปนี้
เรื่องการคัดค้านการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักการประชาธิปไตย
วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐
กราบเรียน ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนต่างๆ ว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศลงนามผูกพันตามพันธกรณีในหนังสือสัญญาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ในนามของประเทศไทย โดยที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังมิได้ให้ความเห็นชอบด้วยนั้น
พวกข้าพเจ้าซึ่งปรากฏรายนามข้างท้ายหนังสือฉบับนี้ได้ตรวจสอบข้อบทในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) แล้ว เห็นว่าการอนุมัติให้ลงนามในความตกลงฯ ฉบับดังกล่าวเป็นการผูกพันประเทศไทยเข้ากับหนังสือสัญญาซึ่งมีเนื้อความอันจะกระทบต่อประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศและกระทบต่อสิทธิของประชาชนชาวไทยซึ่งจะต้องมีการตราพระราชบัญญัติใหม่มารองรับหรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามความตกลงฯ ในภายหลัง
เพราะเหตุว่าความตกลงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การคุ้มครองสิทธิบัตรจุลินทรีย์ใน Article ๑๓๐ (๓), การคุ้มครองพันธุ์พืชใน Article ๑๐๕ (๑) (๒), การบังคับใช้และการเยียวยาทางอาญาแก่ผู้ละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาใน Article ๑๔๐ , การริบทรัพย์ทางอ้อมใน Article ๑๐๒ เป็นต้น
ตามรัฐธรรมนูญการปกครองของประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย เมื่อหนังสือสัญญาระหว่างประเทศฉบับใดที่รัฐประสงค์จะลงนามผูกพันด้วยมีผลกระทบต่อประโยชน์ของประเทศและส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน หรือจะกระทบต่อระบบกฎหมายภายในที่ใช้บังคับอยู่เดิมซึ่งจะต้องตรากฎหมายมารองรับ รัฐบาลจะต้องเสนอให้รัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนได้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสมอ รัฐธรรมนูญของประเทศไทยทุกฉบับก็ได้บัญญัติรับรองหลักการดังกล่าวเสมอมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔ มาตรา ๒๒๔ หลักการที่รัฐบาลจะต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนการลงนามผูกพันในหนังสือสัญญาที่เข้าลักษณะข้างต้นจึงถือเป็นจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
ดังนั้น แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๔๙ อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้ปกครองประเทศในขณะนี้มิได้มีบทบัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา ๒๒๔ แห่งรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๐ แต่ในมาตรา ๓๘ วรรคแรกของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบันก็ได้บัญญัติว่าเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัย
กรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โดยเหตุนี้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดอำนาจของรัฐสภาในการพิจารณาเห็นชอบหนังสือสัญญาระหว่างประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงต้องถือปฏิบัติไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นมีลักษณะเข้าเงื่อนไขเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องตราพระราชบัญญัติมารองรับบังคับการให้เป็นไปตามสัญญาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับที่ผ่านมา รัฐบาลจึงต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อนการลงนามผูกพัน ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา ๓๘ แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.๒๕๔๙
แต่การณ์กลับปรากฏว่ารัฐบาลของ ฯพณฯ ได้นำเรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อขอหารือสภาฯ โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามมาตรา ๑๒ แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.๒๕๔๙ แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อขอความเห็นชอบจากสภาฯ ตามประเพณีการปกครองที่มีมา เพราะฉะนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการลงนามในความตกลง JTEPA กับประเทศญี่ปุ่นในวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ นี้ การลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา ๓๘ ของรัฐธรรมนูญฯ และรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบการกระทำนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประชาชนไทย
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา พวกข้าพเจ้าทั้งหลายจึงขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ มีบัญชาให้ยุติการลงนามในความตกลงฯ ฉบับดังกล่าวในวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ นี้โดยเด็ดขาด โดยพึงตระหนักว่าร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นฉบับสมบูรณ์ยังมิได้ผ่านความเห็นชอบจากผู้แทนประชาชนอย่างแท้จริง และหากจะกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว รัฐบาลและสภานิติบัญญัติชุดปัจจุบันได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติภาระหน้าที่เฉพาะหน้าเป็นการชั่วคราว มิพึงดำเนินการใดๆ อันเป็นนโยบายสำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศชาติในระยะยาว ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ที่ประชาชนมอบให้แก่คณะผู้บริหารและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยชอบธรรมเท่านั้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
นายเจริญ คัมภีรภาพ
รองอธิการบดีด้านทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
รายชื่อนักวิชาการที่ร่วมเสนอจดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เรื่อง การคัดค้านการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักการประชาธิปไตย ได้แก่
รศ.ดร.บรรเจิด สิงคเนติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผศ.คมสัน โพธิ์คง สาขาวิชานิติศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
รศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ดร.นฤมล รักษาสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ดร.กันฑิมา ศิริจิระชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ดร.บุญชัย วิจิตรเสถียร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ (28 มีนาคม 2550)
หลังจากวันนี้ ครม.มีมติเห็นชอบเดินหน้าลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย โดยนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปลงนามที่ญี่ปุ่นวันที่ 2 เม.ย. นักวิชาการไทยได้ลงชื่อส่งจดหมายเปิดผนึก แสดงเหตุผลชี้ประเด็นที่ต้องคัดค้านดังต่อไปนี้
เรื่องการคัดค้านการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักการประชาธิปไตย
วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐
กราบเรียน ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนต่างๆ ว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศลงนามผูกพันตามพันธกรณีในหนังสือสัญญาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ในนามของประเทศไทย โดยที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังมิได้ให้ความเห็นชอบด้วยนั้น
พวกข้าพเจ้าซึ่งปรากฏรายนามข้างท้ายหนังสือฉบับนี้ได้ตรวจสอบข้อบทในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) แล้ว เห็นว่าการอนุมัติให้ลงนามในความตกลงฯ ฉบับดังกล่าวเป็นการผูกพันประเทศไทยเข้ากับหนังสือสัญญาซึ่งมีเนื้อความอันจะกระทบต่อประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศและกระทบต่อสิทธิของประชาชนชาวไทยซึ่งจะต้องมีการตราพระราชบัญญัติใหม่มารองรับหรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามความตกลงฯ ในภายหลัง
เพราะเหตุว่าความตกลงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การคุ้มครองสิทธิบัตรจุลินทรีย์ใน Article ๑๓๐ (๓), การคุ้มครองพันธุ์พืชใน Article ๑๐๕ (๑) (๒), การบังคับใช้และการเยียวยาทางอาญาแก่ผู้ละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาใน Article ๑๔๐ , การริบทรัพย์ทางอ้อมใน Article ๑๐๒ เป็นต้น
ตามรัฐธรรมนูญการปกครองของประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย เมื่อหนังสือสัญญาระหว่างประเทศฉบับใดที่รัฐประสงค์จะลงนามผูกพันด้วยมีผลกระทบต่อประโยชน์ของประเทศและส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน หรือจะกระทบต่อระบบกฎหมายภายในที่ใช้บังคับอยู่เดิมซึ่งจะต้องตรากฎหมายมารองรับ รัฐบาลจะต้องเสนอให้รัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนได้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสมอ รัฐธรรมนูญของประเทศไทยทุกฉบับก็ได้บัญญัติรับรองหลักการดังกล่าวเสมอมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔ มาตรา ๒๒๔ หลักการที่รัฐบาลจะต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนการลงนามผูกพันในหนังสือสัญญาที่เข้าลักษณะข้างต้นจึงถือเป็นจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
ดังนั้น แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๔๙ อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้ปกครองประเทศในขณะนี้มิได้มีบทบัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา ๒๒๔ แห่งรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๐ แต่ในมาตรา ๓๘ วรรคแรกของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบันก็ได้บัญญัติว่าเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัย
กรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โดยเหตุนี้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดอำนาจของรัฐสภาในการพิจารณาเห็นชอบหนังสือสัญญาระหว่างประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงต้องถือปฏิบัติไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นมีลักษณะเข้าเงื่อนไขเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องตราพระราชบัญญัติมารองรับบังคับการให้เป็นไปตามสัญญาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับที่ผ่านมา รัฐบาลจึงต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อนการลงนามผูกพัน ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา ๓๘ แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.๒๕๔๙
แต่การณ์กลับปรากฏว่ารัฐบาลของ ฯพณฯ ได้นำเรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อขอหารือสภาฯ โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามมาตรา ๑๒ แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.๒๕๔๙ แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อขอความเห็นชอบจากสภาฯ ตามประเพณีการปกครองที่มีมา เพราะฉะนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการลงนามในความตกลง JTEPA กับประเทศญี่ปุ่นในวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ นี้ การลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา ๓๘ ของรัฐธรรมนูญฯ และรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบการกระทำนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประชาชนไทย
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา พวกข้าพเจ้าทั้งหลายจึงขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ มีบัญชาให้ยุติการลงนามในความตกลงฯ ฉบับดังกล่าวในวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ นี้โดยเด็ดขาด โดยพึงตระหนักว่าร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นฉบับสมบูรณ์ยังมิได้ผ่านความเห็นชอบจากผู้แทนประชาชนอย่างแท้จริง และหากจะกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว รัฐบาลและสภานิติบัญญัติชุดปัจจุบันได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติภาระหน้าที่เฉพาะหน้าเป็นการชั่วคราว มิพึงดำเนินการใดๆ อันเป็นนโยบายสำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศชาติในระยะยาว ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ที่ประชาชนมอบให้แก่คณะผู้บริหารและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยชอบธรรมเท่านั้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
นายเจริญ คัมภีรภาพ
รองอธิการบดีด้านทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
รายชื่อนักวิชาการที่ร่วมเสนอจดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เรื่อง การคัดค้านการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักการประชาธิปไตย ได้แก่
รศ.ดร.บรรเจิด สิงคเนติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผศ.คมสัน โพธิ์คง สาขาวิชานิติศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
รศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ดร.นฤมล รักษาสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ดร.กันฑิมา ศิริจิระชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ดร.บุญชัย วิจิตรเสถียร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ (28 มีนาคม 2550)
My way, or the highway
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยมาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของ JTEPA หน่อยครับ
โพสต์ที่ 4
"ขิงแก่"อุ้มทุนย่ำคนจน ดึงดันอนุมัติเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ยื้อ กม.คุมค้าปลีก เมินแก้หนี้เกษตรกร
ครม.ขิงแก่โหมไฟเรียกม็อบ ดึงดันอนุมัติลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ไม่สนเสียงค้าน แต่เรื่องควรเห็นชอบทั้งช่วยแก้หนี้เกษตรกร-ชดเชยปลากระชัง-คุมค้าปลีกต่างชาติแพร่พันธุ์ ดันตีกลับ แฉ"ฉลองภพ-โฆสิต"ผนึกกำลังต้านร่างพ.ร.บ.ค้าปลีก ขณะที่"เกริกไกร-อารีย์"ดันสุดลิ่ม แต่สุดท้ายนายกฯทุบโต๊ะไม่เอา กลุ่มนักวิชาการด้านกม.ทำจดหมายเปิดผนึกชี้ลงนามเอฟทีเอ ผิดรธน. ด้านสมาพันธ์ต้านค้าปลีกผิดหวังอย่างแรง นัดเคลื่อนไหวใหญ่ เครือข่ายหนี้สินชาวนาฯ ลั่นปักหลักชุมนุมยืดเยื้อ
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (27 มี.ค.) มีวาระสำคัญที่ครม.ให้ความเห็นชอบสวนกระแสเรียกร้องของสังคม คือ การอนุมัติให้ลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้เสนอต่อครม. ส่วนเรื่องที่มีเสียงเรียกร้องต่อครม.ให้ความเห็นชอบ กลับไม่ได้รับการตอบสนอง คือ ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ.... ของกระทรวงพาณิชย์ และวาระที่กระทรวงเกษตรฯ ขออนุมัติงบดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) จำนวน 900 ล้านบาท จาก 1,200 ล้านบาท ซึ่งยังค้างไม่ได้โอนมาที่ กฟก.เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ที่เดินทางมาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯขณะนี้
ทั้งนี้ ในช่วงเช้าก่อนประชุมครม.กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ เอฟทีเอว็อทช์ ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ให้พิจารณาทบทวนการลงนามข้อตกลงดังกล่าว เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อเกษตรกร ทั้งเรื่องการผูกขาดพันธุ์พืช การนำเข้าขยะและของเสียอันตราย และกระทบต่อผู้รับบริการสาธารณสุข รวมถึงกระทบต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ อีกทั้งยังชี้ว่า กระบวนการพิจารณาและตัดสินใจไม่มีความโปร่งใส ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน ไม่จัดทำประชาพิจารณ์ รัฐบาลรับฟังความข้างเดียวจากคณะผู้เจรจาเป็นหลัก
นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มเครือข่ายหนี้สินแห่งประเทศไทย 54 จังหวัด และกลุ่มผู้ชุมนุมองค์การพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรภาคใต้ รวมกว่า 3,000 คน เคลื่อนขบวนจากหน้ากระทรวงเกษตรฯ มาที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้เร่งรัดแก้ปัญหาหนี้สิน โดยเฉพาะการรับซื้อหนี้สินของเกษตรกรเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ ยังไม่ยุติการยึดทรัพย์สิน และที่ดินของเกษตรกรขายทอดตลาด
**ไฟเขียวเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น
นายวีระชัย พลาศรัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยเป็นการยืนยันข้อตกลงร่วมกันในการลงนามระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่น และเห็นชอบให้จัดทำร่างแถลงการณ์ร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันจากข้อกังวลทั้ง 2 เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของเสียอันตราย และสิทธิบัตรจุลชีวะ แถลงการณ์ร่วมดังกล่าว จะมีผลเป็นสนธิสัญญาในหนังสือแลกเปลี่ยนของทั้ง 2 ประเทศ
นายวีระชัย กล่าวว่า รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้ยืนยันสิทธิภายใต้อนุสัญญาบาเซล ว่าด้วยการควบคุม เคลื่อนย้ายของเสียอันตราย ซึ่งหากประเทศนำเข้าไม่ยินยอม ก็ไม่สามารถส่งออกไปได้ เพราะ JTEPA ไม่สนับสนุนการลักลอบ ขนย้ายของเสียอันตราย
ระหว่างไทยและญี่ปุ่น ไม่ว่าแนวทางใด และ JTEPA จะไม่สร้างพันธกรณีของแต่ละฝ่ายไม่ว่าแนวทางใดแนวทางหนึ่ง โดยจะได้รับความเห็นชอบในการนำเข้าส่งออกของ 2 ประเทศ รวมทั้งจะไม่ขัดขวางการใช้มาตรการใดๆ ซึ่งข้อตกลงจะอยู่ภายใต้อนุสัญญาบาเซล โดยไม่คำนึงว่าการลดภาษีที่ผูกพันใน JTEPA จะเป็นอย่างไร
ส่วนเรื่องของสิทธิบัตรจุลชีวะ พันธะดังกล่าวจะสอดคล้องกับความตกลง TRIPS ขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ที่หลายประเทศเป็นสมาชิก โดยแต่ละฝ่ายจะมีสิทธิตัดสินใจออกสิทธิบัตรหรือไม่ การลงนามดังกล่าวหากไทยเห็นว่าไม่ได้รับประโยชน์ ก็สามารถบอกเลิกข้อตกลงได้ก่อน 1 ปี ขณะที่การลงนามจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 3 เม.ย.นี้ ในช่วงการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 35 เม.ย. คาดว่าเมื่อการลงนามมีผลบังคับใช้แล้ว จะทำให้จีดีพี ขยายตัวมากขึ้นอีก 15 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีผลบังคับใช้ในราวปลายเดือนก.ย.นี้
รายงานข่าวแจ้งว่า ครม.ใช้เวลาพิจารณาเรื่องเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กว่า 40 นาที โดยมีรัฐมนตรีหลายคนเห็นด้วย และนายเกริกไกร จิระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ถามในที่ประชุมว่า เอกสารการลงนามสามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี บอกว่า ขณะนี้ทราบมาว่า นายพิศาล มาณวพัฒน์ หัวหน้าคณะผู้เจรจา ให้เอ็นจีโอหมดแล้ว ซึ่งนายพิศาล ก็ไม่ได้กล่าวอะไร
ด้านนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า หลังจากลงนาม JTEPA โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 30 ในปีนี้ อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 200,000 ล้านบาท จะขยายตัวร้อยละ 20 อุตสาหกรรมรองเท้า น่าจะส่งออกได้มากขึ้น
ในช่วงข่าวภาคค่ำ ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 เวลา 19.00 น.รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการทำเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม,และรมว.อุตสาหกรรม ออกรายการถ่ายทอดสดชี้แจงเรื่องเอฟทีเอไทยญี่ปุ่น แต่ไม่มี นายเกริกไกร จิระแพทย์ รมว.พาณิชย์ เข้าร่วม โดยส่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ มาแทน ทั้งนี้เป็นท่าทีของนายเกริกไกร ที่แสดงออกถึงความไม่พอใจนายกรัฐมนตรี และครม.ที่ตีกลับร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก
**ตีกลับร่างกม.คุมห้างต่างชาติ
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าครม.มีมติให้กระทรวงพาณิชย์ กลับไปพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง พ.ศ....ให้ชัดเจน โดยครม.มีมติให้กระทรวงพาณิชย์ นำร่าง พ.ร.บ.นี้ กลับไปทบทวนใน 2 ประเด็นที่สำคัญ คือ 1. ประเด็นเกี่ยวกับคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามที่กำหนดไว้ ให้อำนาจในการใช้ดุลพินิจค่อนข้างมาก เนื่องจากใช้ถ้อยคำที่มีความหมายกว้าง ไม่ชัดเจน และอาจเกินความจำเป็นในการกำกับดูแล รวมทั้งไม่ควรให้กระทบกับการประกอบธุรกิจที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน จึงสมควรให้พิจารณาปรับปรุงให้มีกรอบอำนาจที่ชัดเจน และมีการกระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการระดับจังหวัดที่เหมาะสม
2. องค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการ และคณะกรรมการระดับจังหวัด ควรปรับปรุง โดยให้ความสำคัญกับตัวแทนผู้บริโภค และผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยในระดับชุมชนของท้องถิ่น รวมทั้งควรพิจารณาเพิ่มเติมกรรมการที่มีความรู้ด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วย รวมทั้งมาตรการจัดระบบค้าปลีก ค้าส่ง ทั้งรายใหญ่ และรายย่อยอยู่
ร่วมกันได้ เช่น กำหนดที่ตั้ง และให้นำมาตราการที่ออกมาไปรับฟังความเห็นของประชาชน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาของ ครม. ในโอกาสต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า ครม.ใช้เวลาพิจารณาเรื่องนี้ประมาณ 1 ชั่วโมง มีการแสดงความเห็นอย่างดุเดือดมากกว่า กม.ฉบับอื่นๆที่เข้าครม. โดยผู้ที่คัดค้านมากสุดคือ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง ซึ่งไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่ให้อำนาจ กกค.มากเกินไป และนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างดังกล่าว ขณะที่รัฐมนตรีคนอื่นในครม.ส่วนใหญ่แสดงความเห็นกลาง และต้องการให้ออกกฎหมายมาบังคับใช้โดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะนายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย ที่ชี้แจงว่ากฎหมายผังเมืองที่ดูแลอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา
ขณะที่ นายเกริกไกร ชี้แจงความจำเป็นถึงการออกกฎหมายมาบังคับใช้ โดยยืนยันว่า อำนาจของกกค.เป็นไปตามหลักปฏิบัติสากลที่ต่างประเทศก็ได้ให้อำนาจในการดูแลทั้งเรื่องสถานที่ เวลาเปิด-ปิด ซึ่งเมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี รับฟังความคิดเห็นจบ ก็รวบรัดสรุปให้กระทรวงพาณิชย์นำร่างไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ โดยไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆออกมา
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เตรียมเรียกผู้ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) โชห่วย นักวิชาการที่เป็นกลาง เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมติครม.
**หมดปัญญาแก้หนี้ส่งกฤษฎีกาตีความ
ร.อ.นพ.ยงยุทธ ยังแถลงว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร นั้น คณะกรรมการในกองทุนฯ ได้หมดวาระลง ทำให้มีปัญหาในเรื่องอำนาจการโอนเงิน การสั่งจ่ายเงิน และอำนาจลงนามคำสั่งต่างๆ ซึ่งตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ กำหนดให้เป็นอำนาจคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จึงไม่สามารถดำเนินการได้ โดยเฉพาะเงิน 900 ล้านบาท จากบัญชีประจำเพื่อโอนบัญชีจัดการหนี้สินเกษตรกร ครม.จึงเห็นควรให้กระทรวงเกษตรฯ และรักษาการเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯ ให้ข้อมูลกับคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อชี้ว่าจะให้ผู้ใดมาลงนามโอนเงิน 900 ล้านบาท มาบริหารจัดการหนี้หนี้สินได้ตามที่เคยมีมติคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ.49
** เกษตรกรเลี้ยงปลากระชังแห้วอีก
ร.อ.นพ.ยงยุทธ ยังกล่าวถึงกรณีการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงในกระชังที่ได้รับผลกระทบจากภาวะมลพิษทางน้ำในพื้นที่ จ.อ่างทองและ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า ครม.รับทราบการความช่วยเหลือเฉพาะหน้าตามระเบียบกระทรวงการคลังช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 รายละไม่เกิน 20,560 บาท ส่วนค่าชดเชยความเสียหายจริงกว่า 30 ล้าน จากเกษตรกร 231 รายนั้น ให้รอผลตรวจสอบสาเหตุของน้ำเสีย และหาผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ครม.จึงเห็นว่ายังไม่มีระเบียบชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือในส่วนนี้
**นักวิชาการด้าน กม.ชี้ เอฟทีเอผิดรธน.
ภายหลังครม.มีมติให้ลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กลุ่มนักวิชาการด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง กว่า 10 คน อาทิ รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, ผศ.คมสัน โพธิ์คง สาขานิติศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช, ดร.เจษฎ์
โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม, รศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯ ได้ร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึก คัดค้านการลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ถึงนายกรัฐมนตรี โดยชี้ว่า ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และหลักการประชาธิปไตย
จดหมายดังกล่าว ระบุว่า การอนุมัติให้ลงนามในความตกลงฯ ฉบับนี้ เป็นการผูกพันประเทศไทยเข้ากับหนังสือสัญญา ซึ่งมีเนื้อความอันจะกระทบต่อประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศ และกระทบต่อสิทธิของประชาชนชาวไทย ซึ่งจะต้องมีการตราพระราชบัญญัติใหม่มารองรับ หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามความตกลงฯ ในภายหลัง เพราะเหตุว่า ความตกลงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การคุ้มครองสิทธิบัตรจุลินทรีย์ใน Article 130 (3), การคุ้มครองพันธุ์พืชใน Article 105 (1) (2), การบังคับใช้และการเยียวยาทางอาญาแก่ผู้ละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาใน Article 140 , การริบทรัพย์ทางอ้อมใน Article 102 เป็นต้น
ตามรัฐธรรมนูญการปกครองของประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย เมื่อหนังสือสัญญาระหว่างประเทศฉบับใดที่รัฐประสงค์จะลงนามผูกพันด้วยมีผลกระทบต่อประโยชน์ของประเทศ และส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน หรือจะกระทบต่อระบบกฎหมายภายในที่ใช้บังคับอยู่เดิม ซึ่งจะต้องตรากฎหมายมารองรับ รัฐบาลจะต้องเสนอให้รัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนได้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสมอ รัฐธรรมนูญของประเทศไทยทุกฉบับ ก็ได้บัญญัติรับรองหลักการดังกล่าวเสมอมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 224 หลักการที่รัฐบาลจะต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนการลงนามผูกพันในหนังสือสัญญาที่เข้าลักษณะข้างต้น จึงถือเป็นจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
ดังนั้น แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2549 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้ปกครองประเทศในขณะนี้ มิได้มีบทบัญญัติเช่นเดียวกับ มาตรา 224 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ.2540 แต่ในมาตรา 38 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบัน ก็ได้บัญญัติว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โดยเหตุนี้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดอำนาจของรัฐสภาในการพิจารณาเห็นชอบหนังสือสัญญาระหว่างประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงต้องถือปฏิบัติไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นมีลักษณะเข้าเงื่อนไขเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องตราพระราชบัญญัติมารองรับบังคับการให้เป็นไปตามสัญญาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับที่ผ่านมา รัฐบาลจึงต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อนการลงนามผูกพัน ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตาม มาตรา 38 แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2549
แต่การณ์กลับปรากฏว่า รัฐบาลของ ฯพณฯ ได้นำเรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อขอหารือสภาฯ โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตาม มาตรา 12 แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2549 แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อขอความเห็นชอบจากสภาฯ ตามประเพณีการปกครองที่มีมา เพราะฉะนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการลงนามในความตกลง JTEPA กับประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 3 เม.ย.นี้ การลงนามในความตกลงฯ
ดังกล่าว จะไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญฯ และรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบการกระทำนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประชาชนไทย
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา พวกข้าพเจ้าทั้งหลายจึงขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ มีบัญชาให้ยุติการลงนามในความตกลงฯ ฉบับดังกล่าวในวันที่ 3 เม.ย.นี้ โดยเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม นายวีรชัย กล่าวถึง ประเด็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญข้างต้นในระหว่างแถลงมติครม.ว่า รัฐบาลมีอำนาจลงนาม ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ การลงนามในสนธิสัญญาเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
** สมาพันธ์ฯ ผิดหวัง-โสตัสตีปีก
ทางด้าน นายพันธุ์เทพ สุลีสถิร ประธานสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ กล่าวว่า ผิดหวังกับรัฐบาลชุดนี้มาก ที่ร่างกฎหมายค้าปลีก ค้าส่ง ไม่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. เพราะหากกฎหมายมีผลบังคับใช้ออกไปนานเท่าไร ผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย (โชวห่วย) จะยิ่งตายเท่านั้น ระหว่างที่กฎหมายยังไม่ผ่านความเห็นชอบ ต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วนออกมาดูแล เช่น ออกมาตรการห้ามโมเดิร์นเทรด ขยายสาขา ซึ่งอีก 2- 3 วัน สมาพันธ์จะหารือกันว่า จะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป
"ผมรู้สึกผิดหวังกับรัฐบาลชุดนี้อย่างรุนแรงที่เห็นแก่ทุนต่างชาติมากเกินไป จนลืมนึกถึงชาวบ้านที่ทำมาหากินในประเทศ ตอนนี้แทบไม่มีที่ทำกิน เดือดร้อนทุกย่อมหญ้าหมดแล้ว เพราะห้างต่างชาติบุกยึดทุกหัวหาด รัฐบาลน่าเปลี่ยนชื่อเป็น รัฐบาลทุนต่างชาติมากกว่า" นายพันธุ์เทพ กล่าว
ขณะที่นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ผู้บริหารห้างค้าปลีก เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า ไม่ขัดข้องที่รัฐบาลจะออกกฎหมาย แต่อยากให้คำนึงถึงความเหมะสมของช่วงเวลา เพราะขณะนี้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังไม่มี และอยากให้ร่างกฎหมายเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
**ม็อบเกษตรกรชุมนุมยืดเยื้อ
ด้านนายชรินทร์ ดวงดารา แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังรับทราบมติ ครม.ว่า รู้สึกผิดหวังกับการทำงานของรัฐบาล ซึ่งก่อนหน้านี้ นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรฯ เคยรับปากกับทางเครือข่ายหนี้สินฯว่า จะหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีให้คำตอบที่ชัดเจนดังนั้น ทางเครือข่ายฯ จะยังคงปักหลักชุมนุมเพื่อขอคำตอบที่ชัดเจนต่อไป ในวันนี้ (28 มี.ค.)จะเดินทางไปยื่นหนังสือ ต่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.เพื่อให้ทาง คมช.ได้รับทราบปัญหาของเกษตรกร และปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานของ รมว.เกษตรฯ ว่าล่าช้า และไร้ประสิทธิภาพ
ที่มา: ผู้จัดการ (28 มีนาคม 2550)[/b]
ครม.ขิงแก่โหมไฟเรียกม็อบ ดึงดันอนุมัติลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ไม่สนเสียงค้าน แต่เรื่องควรเห็นชอบทั้งช่วยแก้หนี้เกษตรกร-ชดเชยปลากระชัง-คุมค้าปลีกต่างชาติแพร่พันธุ์ ดันตีกลับ แฉ"ฉลองภพ-โฆสิต"ผนึกกำลังต้านร่างพ.ร.บ.ค้าปลีก ขณะที่"เกริกไกร-อารีย์"ดันสุดลิ่ม แต่สุดท้ายนายกฯทุบโต๊ะไม่เอา กลุ่มนักวิชาการด้านกม.ทำจดหมายเปิดผนึกชี้ลงนามเอฟทีเอ ผิดรธน. ด้านสมาพันธ์ต้านค้าปลีกผิดหวังอย่างแรง นัดเคลื่อนไหวใหญ่ เครือข่ายหนี้สินชาวนาฯ ลั่นปักหลักชุมนุมยืดเยื้อ
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (27 มี.ค.) มีวาระสำคัญที่ครม.ให้ความเห็นชอบสวนกระแสเรียกร้องของสังคม คือ การอนุมัติให้ลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้เสนอต่อครม. ส่วนเรื่องที่มีเสียงเรียกร้องต่อครม.ให้ความเห็นชอบ กลับไม่ได้รับการตอบสนอง คือ ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ.... ของกระทรวงพาณิชย์ และวาระที่กระทรวงเกษตรฯ ขออนุมัติงบดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) จำนวน 900 ล้านบาท จาก 1,200 ล้านบาท ซึ่งยังค้างไม่ได้โอนมาที่ กฟก.เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ที่เดินทางมาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯขณะนี้
ทั้งนี้ ในช่วงเช้าก่อนประชุมครม.กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ เอฟทีเอว็อทช์ ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ให้พิจารณาทบทวนการลงนามข้อตกลงดังกล่าว เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อเกษตรกร ทั้งเรื่องการผูกขาดพันธุ์พืช การนำเข้าขยะและของเสียอันตราย และกระทบต่อผู้รับบริการสาธารณสุข รวมถึงกระทบต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ อีกทั้งยังชี้ว่า กระบวนการพิจารณาและตัดสินใจไม่มีความโปร่งใส ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน ไม่จัดทำประชาพิจารณ์ รัฐบาลรับฟังความข้างเดียวจากคณะผู้เจรจาเป็นหลัก
นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มเครือข่ายหนี้สินแห่งประเทศไทย 54 จังหวัด และกลุ่มผู้ชุมนุมองค์การพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรภาคใต้ รวมกว่า 3,000 คน เคลื่อนขบวนจากหน้ากระทรวงเกษตรฯ มาที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้เร่งรัดแก้ปัญหาหนี้สิน โดยเฉพาะการรับซื้อหนี้สินของเกษตรกรเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ ยังไม่ยุติการยึดทรัพย์สิน และที่ดินของเกษตรกรขายทอดตลาด
**ไฟเขียวเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น
นายวีระชัย พลาศรัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยเป็นการยืนยันข้อตกลงร่วมกันในการลงนามระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่น และเห็นชอบให้จัดทำร่างแถลงการณ์ร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันจากข้อกังวลทั้ง 2 เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของเสียอันตราย และสิทธิบัตรจุลชีวะ แถลงการณ์ร่วมดังกล่าว จะมีผลเป็นสนธิสัญญาในหนังสือแลกเปลี่ยนของทั้ง 2 ประเทศ
นายวีระชัย กล่าวว่า รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้ยืนยันสิทธิภายใต้อนุสัญญาบาเซล ว่าด้วยการควบคุม เคลื่อนย้ายของเสียอันตราย ซึ่งหากประเทศนำเข้าไม่ยินยอม ก็ไม่สามารถส่งออกไปได้ เพราะ JTEPA ไม่สนับสนุนการลักลอบ ขนย้ายของเสียอันตราย
ระหว่างไทยและญี่ปุ่น ไม่ว่าแนวทางใด และ JTEPA จะไม่สร้างพันธกรณีของแต่ละฝ่ายไม่ว่าแนวทางใดแนวทางหนึ่ง โดยจะได้รับความเห็นชอบในการนำเข้าส่งออกของ 2 ประเทศ รวมทั้งจะไม่ขัดขวางการใช้มาตรการใดๆ ซึ่งข้อตกลงจะอยู่ภายใต้อนุสัญญาบาเซล โดยไม่คำนึงว่าการลดภาษีที่ผูกพันใน JTEPA จะเป็นอย่างไร
ส่วนเรื่องของสิทธิบัตรจุลชีวะ พันธะดังกล่าวจะสอดคล้องกับความตกลง TRIPS ขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ที่หลายประเทศเป็นสมาชิก โดยแต่ละฝ่ายจะมีสิทธิตัดสินใจออกสิทธิบัตรหรือไม่ การลงนามดังกล่าวหากไทยเห็นว่าไม่ได้รับประโยชน์ ก็สามารถบอกเลิกข้อตกลงได้ก่อน 1 ปี ขณะที่การลงนามจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 3 เม.ย.นี้ ในช่วงการเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 35 เม.ย. คาดว่าเมื่อการลงนามมีผลบังคับใช้แล้ว จะทำให้จีดีพี ขยายตัวมากขึ้นอีก 15 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีผลบังคับใช้ในราวปลายเดือนก.ย.นี้
รายงานข่าวแจ้งว่า ครม.ใช้เวลาพิจารณาเรื่องเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กว่า 40 นาที โดยมีรัฐมนตรีหลายคนเห็นด้วย และนายเกริกไกร จิระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ถามในที่ประชุมว่า เอกสารการลงนามสามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี บอกว่า ขณะนี้ทราบมาว่า นายพิศาล มาณวพัฒน์ หัวหน้าคณะผู้เจรจา ให้เอ็นจีโอหมดแล้ว ซึ่งนายพิศาล ก็ไม่ได้กล่าวอะไร
ด้านนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า หลังจากลงนาม JTEPA โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 30 ในปีนี้ อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 200,000 ล้านบาท จะขยายตัวร้อยละ 20 อุตสาหกรรมรองเท้า น่าจะส่งออกได้มากขึ้น
ในช่วงข่าวภาคค่ำ ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 เวลา 19.00 น.รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการทำเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม,และรมว.อุตสาหกรรม ออกรายการถ่ายทอดสดชี้แจงเรื่องเอฟทีเอไทยญี่ปุ่น แต่ไม่มี นายเกริกไกร จิระแพทย์ รมว.พาณิชย์ เข้าร่วม โดยส่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ มาแทน ทั้งนี้เป็นท่าทีของนายเกริกไกร ที่แสดงออกถึงความไม่พอใจนายกรัฐมนตรี และครม.ที่ตีกลับร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก
**ตีกลับร่างกม.คุมห้างต่างชาติ
ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าครม.มีมติให้กระทรวงพาณิชย์ กลับไปพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง พ.ศ....ให้ชัดเจน โดยครม.มีมติให้กระทรวงพาณิชย์ นำร่าง พ.ร.บ.นี้ กลับไปทบทวนใน 2 ประเด็นที่สำคัญ คือ 1. ประเด็นเกี่ยวกับคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามที่กำหนดไว้ ให้อำนาจในการใช้ดุลพินิจค่อนข้างมาก เนื่องจากใช้ถ้อยคำที่มีความหมายกว้าง ไม่ชัดเจน และอาจเกินความจำเป็นในการกำกับดูแล รวมทั้งไม่ควรให้กระทบกับการประกอบธุรกิจที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน จึงสมควรให้พิจารณาปรับปรุงให้มีกรอบอำนาจที่ชัดเจน และมีการกระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการระดับจังหวัดที่เหมาะสม
2. องค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการ และคณะกรรมการระดับจังหวัด ควรปรับปรุง โดยให้ความสำคัญกับตัวแทนผู้บริโภค และผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยในระดับชุมชนของท้องถิ่น รวมทั้งควรพิจารณาเพิ่มเติมกรรมการที่มีความรู้ด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วย รวมทั้งมาตรการจัดระบบค้าปลีก ค้าส่ง ทั้งรายใหญ่ และรายย่อยอยู่
ร่วมกันได้ เช่น กำหนดที่ตั้ง และให้นำมาตราการที่ออกมาไปรับฟังความเห็นของประชาชน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาของ ครม. ในโอกาสต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า ครม.ใช้เวลาพิจารณาเรื่องนี้ประมาณ 1 ชั่วโมง มีการแสดงความเห็นอย่างดุเดือดมากกว่า กม.ฉบับอื่นๆที่เข้าครม. โดยผู้ที่คัดค้านมากสุดคือ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง ซึ่งไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่ให้อำนาจ กกค.มากเกินไป และนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างดังกล่าว ขณะที่รัฐมนตรีคนอื่นในครม.ส่วนใหญ่แสดงความเห็นกลาง และต้องการให้ออกกฎหมายมาบังคับใช้โดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะนายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย ที่ชี้แจงว่ากฎหมายผังเมืองที่ดูแลอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา
ขณะที่ นายเกริกไกร ชี้แจงความจำเป็นถึงการออกกฎหมายมาบังคับใช้ โดยยืนยันว่า อำนาจของกกค.เป็นไปตามหลักปฏิบัติสากลที่ต่างประเทศก็ได้ให้อำนาจในการดูแลทั้งเรื่องสถานที่ เวลาเปิด-ปิด ซึ่งเมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี รับฟังความคิดเห็นจบ ก็รวบรัดสรุปให้กระทรวงพาณิชย์นำร่างไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ โดยไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆออกมา
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เตรียมเรียกผู้ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) โชห่วย นักวิชาการที่เป็นกลาง เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมติครม.
**หมดปัญญาแก้หนี้ส่งกฤษฎีกาตีความ
ร.อ.นพ.ยงยุทธ ยังแถลงว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร นั้น คณะกรรมการในกองทุนฯ ได้หมดวาระลง ทำให้มีปัญหาในเรื่องอำนาจการโอนเงิน การสั่งจ่ายเงิน และอำนาจลงนามคำสั่งต่างๆ ซึ่งตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ กำหนดให้เป็นอำนาจคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จึงไม่สามารถดำเนินการได้ โดยเฉพาะเงิน 900 ล้านบาท จากบัญชีประจำเพื่อโอนบัญชีจัดการหนี้สินเกษตรกร ครม.จึงเห็นควรให้กระทรวงเกษตรฯ และรักษาการเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯ ให้ข้อมูลกับคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อชี้ว่าจะให้ผู้ใดมาลงนามโอนเงิน 900 ล้านบาท มาบริหารจัดการหนี้หนี้สินได้ตามที่เคยมีมติคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ.49
** เกษตรกรเลี้ยงปลากระชังแห้วอีก
ร.อ.นพ.ยงยุทธ ยังกล่าวถึงกรณีการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงในกระชังที่ได้รับผลกระทบจากภาวะมลพิษทางน้ำในพื้นที่ จ.อ่างทองและ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า ครม.รับทราบการความช่วยเหลือเฉพาะหน้าตามระเบียบกระทรวงการคลังช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 รายละไม่เกิน 20,560 บาท ส่วนค่าชดเชยความเสียหายจริงกว่า 30 ล้าน จากเกษตรกร 231 รายนั้น ให้รอผลตรวจสอบสาเหตุของน้ำเสีย และหาผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ครม.จึงเห็นว่ายังไม่มีระเบียบชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือในส่วนนี้
**นักวิชาการด้าน กม.ชี้ เอฟทีเอผิดรธน.
ภายหลังครม.มีมติให้ลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กลุ่มนักวิชาการด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง กว่า 10 คน อาทิ รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, ผศ.คมสัน โพธิ์คง สาขานิติศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช, ดร.เจษฎ์
โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม, รศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯ ได้ร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึก คัดค้านการลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ถึงนายกรัฐมนตรี โดยชี้ว่า ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และหลักการประชาธิปไตย
จดหมายดังกล่าว ระบุว่า การอนุมัติให้ลงนามในความตกลงฯ ฉบับนี้ เป็นการผูกพันประเทศไทยเข้ากับหนังสือสัญญา ซึ่งมีเนื้อความอันจะกระทบต่อประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศ และกระทบต่อสิทธิของประชาชนชาวไทย ซึ่งจะต้องมีการตราพระราชบัญญัติใหม่มารองรับ หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามความตกลงฯ ในภายหลัง เพราะเหตุว่า ความตกลงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การคุ้มครองสิทธิบัตรจุลินทรีย์ใน Article 130 (3), การคุ้มครองพันธุ์พืชใน Article 105 (1) (2), การบังคับใช้และการเยียวยาทางอาญาแก่ผู้ละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาใน Article 140 , การริบทรัพย์ทางอ้อมใน Article 102 เป็นต้น
ตามรัฐธรรมนูญการปกครองของประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย เมื่อหนังสือสัญญาระหว่างประเทศฉบับใดที่รัฐประสงค์จะลงนามผูกพันด้วยมีผลกระทบต่อประโยชน์ของประเทศ และส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน หรือจะกระทบต่อระบบกฎหมายภายในที่ใช้บังคับอยู่เดิม ซึ่งจะต้องตรากฎหมายมารองรับ รัฐบาลจะต้องเสนอให้รัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนได้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสมอ รัฐธรรมนูญของประเทศไทยทุกฉบับ ก็ได้บัญญัติรับรองหลักการดังกล่าวเสมอมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 224 หลักการที่รัฐบาลจะต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนการลงนามผูกพันในหนังสือสัญญาที่เข้าลักษณะข้างต้น จึงถือเป็นจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
ดังนั้น แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2549 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้ปกครองประเทศในขณะนี้ มิได้มีบทบัญญัติเช่นเดียวกับ มาตรา 224 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ.2540 แต่ในมาตรา 38 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบัน ก็ได้บัญญัติว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โดยเหตุนี้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดอำนาจของรัฐสภาในการพิจารณาเห็นชอบหนังสือสัญญาระหว่างประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงต้องถือปฏิบัติไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นมีลักษณะเข้าเงื่อนไขเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องตราพระราชบัญญัติมารองรับบังคับการให้เป็นไปตามสัญญาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับที่ผ่านมา รัฐบาลจึงต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อนการลงนามผูกพัน ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตาม มาตรา 38 แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2549
แต่การณ์กลับปรากฏว่า รัฐบาลของ ฯพณฯ ได้นำเรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อขอหารือสภาฯ โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตาม มาตรา 12 แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2549 แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อขอความเห็นชอบจากสภาฯ ตามประเพณีการปกครองที่มีมา เพราะฉะนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการลงนามในความตกลง JTEPA กับประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 3 เม.ย.นี้ การลงนามในความตกลงฯ
ดังกล่าว จะไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญฯ และรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบการกระทำนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประชาชนไทย
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา พวกข้าพเจ้าทั้งหลายจึงขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ มีบัญชาให้ยุติการลงนามในความตกลงฯ ฉบับดังกล่าวในวันที่ 3 เม.ย.นี้ โดยเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม นายวีรชัย กล่าวถึง ประเด็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญข้างต้นในระหว่างแถลงมติครม.ว่า รัฐบาลมีอำนาจลงนาม ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ การลงนามในสนธิสัญญาเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
** สมาพันธ์ฯ ผิดหวัง-โสตัสตีปีก
ทางด้าน นายพันธุ์เทพ สุลีสถิร ประธานสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ กล่าวว่า ผิดหวังกับรัฐบาลชุดนี้มาก ที่ร่างกฎหมายค้าปลีก ค้าส่ง ไม่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. เพราะหากกฎหมายมีผลบังคับใช้ออกไปนานเท่าไร ผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย (โชวห่วย) จะยิ่งตายเท่านั้น ระหว่างที่กฎหมายยังไม่ผ่านความเห็นชอบ ต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วนออกมาดูแล เช่น ออกมาตรการห้ามโมเดิร์นเทรด ขยายสาขา ซึ่งอีก 2- 3 วัน สมาพันธ์จะหารือกันว่า จะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป
"ผมรู้สึกผิดหวังกับรัฐบาลชุดนี้อย่างรุนแรงที่เห็นแก่ทุนต่างชาติมากเกินไป จนลืมนึกถึงชาวบ้านที่ทำมาหากินในประเทศ ตอนนี้แทบไม่มีที่ทำกิน เดือดร้อนทุกย่อมหญ้าหมดแล้ว เพราะห้างต่างชาติบุกยึดทุกหัวหาด รัฐบาลน่าเปลี่ยนชื่อเป็น รัฐบาลทุนต่างชาติมากกว่า" นายพันธุ์เทพ กล่าว
ขณะที่นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ผู้บริหารห้างค้าปลีก เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า ไม่ขัดข้องที่รัฐบาลจะออกกฎหมาย แต่อยากให้คำนึงถึงความเหมะสมของช่วงเวลา เพราะขณะนี้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังไม่มี และอยากให้ร่างกฎหมายเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
**ม็อบเกษตรกรชุมนุมยืดเยื้อ
ด้านนายชรินทร์ ดวงดารา แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังรับทราบมติ ครม.ว่า รู้สึกผิดหวังกับการทำงานของรัฐบาล ซึ่งก่อนหน้านี้ นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรฯ เคยรับปากกับทางเครือข่ายหนี้สินฯว่า จะหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีให้คำตอบที่ชัดเจนดังนั้น ทางเครือข่ายฯ จะยังคงปักหลักชุมนุมเพื่อขอคำตอบที่ชัดเจนต่อไป ในวันนี้ (28 มี.ค.)จะเดินทางไปยื่นหนังสือ ต่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.เพื่อให้ทาง คมช.ได้รับทราบปัญหาของเกษตรกร และปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานของ รมว.เกษตรฯ ว่าล่าช้า และไร้ประสิทธิภาพ
ที่มา: ผู้จัดการ (28 มีนาคม 2550)[/b]
My way, or the highway
- tummeng
- Verified User
- โพสต์: 3665
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยมาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของ JTEPA หน่อยครับ
โพสต์ที่ 5
เหล็กปลายน้ำตีปีกได้ดีFTAไทย-ญี่ปุ่น:CPFภาษีไก่-กุ้งลดวูบ SSIโดนคุมกำเนิด
"หุ้นเหล็กปลายน้ำ-อาหาร-ชิ้นส่วนยานต์"ตีปีกขานรับข่าวดีเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นลงนาม 3 มี.ค.นี้ โดยเฉพาะภาษีนำเข้าเหล็กคุณภาพ ยกเลิกทันที ส่งผลแนวโน้มทำกำไรดีขึ้นทันตาเห็นส่วน CPF สบช่องส่งออกกุ้ง-ไก่เข้าญี่ปุ่นแทบไม่ต้องเสียภาษี ด้าน SAT-YNP ได้ดีไม่แพ้กันขณะที่เหล็กต้นน้ำ TSTH-SSI โดนคุมกำเนิด
วานนี้(27มี.ค.)คณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(FTA) และจะมีการลงนามข้อตกลงกับญี่ปุ่นวันที่ 3 เม.ย.นี้ ในโอกาสนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 2-5 เม.ย.นี้ จากประเด็นดังกล่าว"ข่าวหุ้นธุรกิจ"สำรวจพบว่า มีหุ้นอยู่ 3 กลุ่มหลักที่ได้ประโยชน์สูงสุด จากผลการลงนาม เอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นคือกลุ่มเหล็กปลายน้ำ(เหล็กแปรรูป) กลุ่มชิ้นส่วนยายนต์และกลุ่มอาหารและสินค้าเกษตร เริ่มจากกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กปลายน้ำ เงื่อนไขเอฟทีเอระบุว่า การนำเข้าเหล็กรีดร้อนที่ไม่มีผลิตในไทยให้ยกเลิกภาษีทันที เหล็กรีดร้อนที่ผลิตไม่พอ ให้โควต้าปลอดภาษีเพื่อผลิตยายนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ นอกจากนี้เหล็กชนิดอื่นๆ มีทั้ง1.ยกเลิกภาษีให้ทันที 2.คงภาษีไว้ 6 ปีและยกเลิกภาษีในปีที่ 7 และ3.คงภาษีไว้ 8 ปี เริ่มลดปีที่ 9 และเป็นศูนย์ปีที่ 10< BR>
โดยบริษัทที่ได้ประโยชน์กลุ่มนี้ ประกอบด้วยบริษัท เอเชียเมทัล จำกัด(มหาชน)หรือAMC บริษัท ซิตี้ สตีล จำกัด(มหาชน)หรือ CITY บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จำกัด(มหาชน)หรือ PERM บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด(มหาชน) หรือ SMIT บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด(มหาชน )หรือ SSSC บริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด(มหาชน)หรือ TMT
พร้อมกันนี้ยังมีบริษัท เอ็ม.ซี.เอส สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ MCS บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด(มหาชน)หรือ PAP บริษัท ริช เอเชียสตีล จำกัด(มหาชน) หรือ RICH บริษัทสามชัย สตีลอินดัสตรี จำกัด(มหาชน)หรือ SAM บริษัท พรพรหมเม็ททอล จำกัด (มหาชน)จำกัด(มหาชน)หรือ PPM บริษัท สตีลอินเตอร์เทค จำกัด(มหาชน)หรือ STEEL และบริษัทสาลี่อุตสาหกรรม จำกัด(มหาชน)หรือ SALEE
ทั้งนี้เป็นผลมาจากบริษัทดังกล่าว ส่วนใหญ ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าเหล็กชนิดพิเศษต่างๆจากญี่ปุ่นเป็นหลัก ในทางกลับกันกลุ่มเหล็กต้นน้ำ อาทิ บริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสทรี จำกัด(มหาชน)หรือ SSI บริษัท ทาทาสตีล(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) หรือ TSTH ที่น่าจะได้รับผลกระทบทันทีจากการลงนามเอฟทีเอดังกล่าว
นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบให้ลงนาม ในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศระหว่างไทย-ญี่ปุ่น(JTAPA)โดยนายกรัฐมนตรีของไทยและญี่ปุ่นที่จะลงนามร่วมกัน เห็นชอบให้จัดทำหนังสือแลกเปลี่ยน ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ประเทศเพื่อระบุความเข้าใจร่วมกันในการตีความ 2 ประเด็นที่ยังมีความกังวลของคนไทย ซึ่งมีผลเป็นสนธิสัญญาที่ผูกพันประเทศทั้ง 2 รวมทั้งเห็นชอบให้ลงนามแถลงการร่วมระกว่างนายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศ เป็นการยืน ยันความเป็นมิตร ที่จะนำหุ้นส่วนไทยและญี่ปุ่นยาวนานและเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตที่ยาวนานกว่า 120 ปี
โดย FTA จะไม่สร้างความสัมพันธ์กรณีให้ภาคีแต่ละฝ่าย ไม่ว่าในทางใดให้ต้องเห็นชอบ อนุญาต ยินยอมหรือให้สิทธิการส่งออก หรือนำเข้าของเสียอันตรายจากและไปยังประเทศญี่ปุ่นและไทย และเจเทปาไม่ขัดขวางการออกหรือบังคับใช้มาตรการใดๆ โดยประเทศญี่ปุ่นหรือไทย ทั้งนี้ทั้ง2 ประเทศยืนยันความพร้อมและยินดีที่จะร่วมมือกันเพื่อการอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อมและหารือการปกป้องการลักลอบสิ่งแวดล้อม
จึงถือเป็นข้อตกลงที่ดี อาทิ กรณีเอสเอ็มอีของไทย ที่จะสามารถไปจดสิทธิบัตรในญี่ปุ่นได้ ทั้งนี้หากมีการโครงการใด ๆ ที่เกิดเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็จะมาแชร์กัน ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นยอมรับเรื่องนี้ได้ อย่างไร ก็ตามเชื่อว่าหลังจากที่มีการทำข้อตกลงเรียบร้อยแล้ว จะทำให้สินค้าเกษตรมียอดส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ต้องใช้เวลา เนื่องจากต้องเห็นผลระยะยาว มีการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนได้มากขึ้น เน้นการให้โอกาสแก่แรงงานมีฝือเข้าไปทำงานในญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นด้วย
"หุ้นเหล็กปลายน้ำ-อาหาร-ชิ้นส่วนยานต์"ตีปีกขานรับข่าวดีเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นลงนาม 3 มี.ค.นี้ โดยเฉพาะภาษีนำเข้าเหล็กคุณภาพ ยกเลิกทันที ส่งผลแนวโน้มทำกำไรดีขึ้นทันตาเห็นส่วน CPF สบช่องส่งออกกุ้ง-ไก่เข้าญี่ปุ่นแทบไม่ต้องเสียภาษี ด้าน SAT-YNP ได้ดีไม่แพ้กันขณะที่เหล็กต้นน้ำ TSTH-SSI โดนคุมกำเนิด
วานนี้(27มี.ค.)คณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(FTA) และจะมีการลงนามข้อตกลงกับญี่ปุ่นวันที่ 3 เม.ย.นี้ ในโอกาสนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 2-5 เม.ย.นี้ จากประเด็นดังกล่าว"ข่าวหุ้นธุรกิจ"สำรวจพบว่า มีหุ้นอยู่ 3 กลุ่มหลักที่ได้ประโยชน์สูงสุด จากผลการลงนาม เอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นคือกลุ่มเหล็กปลายน้ำ(เหล็กแปรรูป) กลุ่มชิ้นส่วนยายนต์และกลุ่มอาหารและสินค้าเกษตร เริ่มจากกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กปลายน้ำ เงื่อนไขเอฟทีเอระบุว่า การนำเข้าเหล็กรีดร้อนที่ไม่มีผลิตในไทยให้ยกเลิกภาษีทันที เหล็กรีดร้อนที่ผลิตไม่พอ ให้โควต้าปลอดภาษีเพื่อผลิตยายนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ นอกจากนี้เหล็กชนิดอื่นๆ มีทั้ง1.ยกเลิกภาษีให้ทันที 2.คงภาษีไว้ 6 ปีและยกเลิกภาษีในปีที่ 7 และ3.คงภาษีไว้ 8 ปี เริ่มลดปีที่ 9 และเป็นศูนย์ปีที่ 10< BR>
โดยบริษัทที่ได้ประโยชน์กลุ่มนี้ ประกอบด้วยบริษัท เอเชียเมทัล จำกัด(มหาชน)หรือAMC บริษัท ซิตี้ สตีล จำกัด(มหาชน)หรือ CITY บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จำกัด(มหาชน)หรือ PERM บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด(มหาชน) หรือ SMIT บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด(มหาชน )หรือ SSSC บริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด(มหาชน)หรือ TMT
พร้อมกันนี้ยังมีบริษัท เอ็ม.ซี.เอส สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ MCS บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด(มหาชน)หรือ PAP บริษัท ริช เอเชียสตีล จำกัด(มหาชน) หรือ RICH บริษัทสามชัย สตีลอินดัสตรี จำกัด(มหาชน)หรือ SAM บริษัท พรพรหมเม็ททอล จำกัด (มหาชน)จำกัด(มหาชน)หรือ PPM บริษัท สตีลอินเตอร์เทค จำกัด(มหาชน)หรือ STEEL และบริษัทสาลี่อุตสาหกรรม จำกัด(มหาชน)หรือ SALEE
ทั้งนี้เป็นผลมาจากบริษัทดังกล่าว ส่วนใหญ ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าเหล็กชนิดพิเศษต่างๆจากญี่ปุ่นเป็นหลัก ในทางกลับกันกลุ่มเหล็กต้นน้ำ อาทิ บริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสทรี จำกัด(มหาชน)หรือ SSI บริษัท ทาทาสตีล(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) หรือ TSTH ที่น่าจะได้รับผลกระทบทันทีจากการลงนามเอฟทีเอดังกล่าว
นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบให้ลงนาม ในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศระหว่างไทย-ญี่ปุ่น(JTAPA)โดยนายกรัฐมนตรีของไทยและญี่ปุ่นที่จะลงนามร่วมกัน เห็นชอบให้จัดทำหนังสือแลกเปลี่ยน ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ประเทศเพื่อระบุความเข้าใจร่วมกันในการตีความ 2 ประเด็นที่ยังมีความกังวลของคนไทย ซึ่งมีผลเป็นสนธิสัญญาที่ผูกพันประเทศทั้ง 2 รวมทั้งเห็นชอบให้ลงนามแถลงการร่วมระกว่างนายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศ เป็นการยืน ยันความเป็นมิตร ที่จะนำหุ้นส่วนไทยและญี่ปุ่นยาวนานและเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตที่ยาวนานกว่า 120 ปี
โดย FTA จะไม่สร้างความสัมพันธ์กรณีให้ภาคีแต่ละฝ่าย ไม่ว่าในทางใดให้ต้องเห็นชอบ อนุญาต ยินยอมหรือให้สิทธิการส่งออก หรือนำเข้าของเสียอันตรายจากและไปยังประเทศญี่ปุ่นและไทย และเจเทปาไม่ขัดขวางการออกหรือบังคับใช้มาตรการใดๆ โดยประเทศญี่ปุ่นหรือไทย ทั้งนี้ทั้ง2 ประเทศยืนยันความพร้อมและยินดีที่จะร่วมมือกันเพื่อการอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อมและหารือการปกป้องการลักลอบสิ่งแวดล้อม
จึงถือเป็นข้อตกลงที่ดี อาทิ กรณีเอสเอ็มอีของไทย ที่จะสามารถไปจดสิทธิบัตรในญี่ปุ่นได้ ทั้งนี้หากมีการโครงการใด ๆ ที่เกิดเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็จะมาแชร์กัน ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นยอมรับเรื่องนี้ได้ อย่างไร ก็ตามเชื่อว่าหลังจากที่มีการทำข้อตกลงเรียบร้อยแล้ว จะทำให้สินค้าเกษตรมียอดส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ต้องใช้เวลา เนื่องจากต้องเห็นผลระยะยาว มีการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนได้มากขึ้น เน้นการให้โอกาสแก่แรงงานมีฝือเข้าไปทำงานในญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยมาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของ JTEPA หน่อยครับ
โพสต์ที่ 6
อุตสาหกรรมเหล็ก ต่างชาติเข้ามาถือครองเกิน 50% ได้หรือเปล่าครับเปิดเสรีภาคอุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ผู้ประกอบการที่ต้องการให้คงภาษีปกป้องอุตสาหกรรมของตนอาจได้รับผลกระทบ แต่ก็มีเวลาปรับตัวระหว่าง 5-11 ปี ทั้งนี้เอกชนไทยก็ทราบดีว่าเป็นแนวโน้มของการเปิดเสรีในกรอบพหุภาคี (WTO) และอาเซียน (AFTA) อยู่แล้ว นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังได้เตรียมกองทุนเพื่อทำงานร่วมกับสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ในการให้คำปรึกษาด้านการปรับตัว
ถ้าได้ อนาคต กลุ่มนี้ทั้งหมดน่าจะกลายเป็นของต่างชาติ
-
- Verified User
- โพสต์: 577
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยมาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของ JTEPA หน่อยครับ
โพสต์ที่ 8
ที่น่าระวังก็เรื่องการขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่สามารถทำได้ ถ้าแจ้งก่อน 1 ปี
คงจะมีการเจรจาต่องรองกันไปเรื่อย ๆ ล่ะครับ
ตอนนี้ให้เงื่อนไขเราเซ็นต์ ก่อน แล้ว ต่อไป ก็ขอเปลี่ยนแปลง โดยใช้แรงภายใน ภายนอก บวกการกดดันเรื่องการลงทุน
เงื่อนไขก็จะเปลี่ยนไปตามกรณีว่าใคร แข็งกว่า ต่อรองได้ดีกว่า
คงจะมีการเจรจาต่องรองกันไปเรื่อย ๆ ล่ะครับ
ตอนนี้ให้เงื่อนไขเราเซ็นต์ ก่อน แล้ว ต่อไป ก็ขอเปลี่ยนแปลง โดยใช้แรงภายใน ภายนอก บวกการกดดันเรื่องการลงทุน
เงื่อนไขก็จะเปลี่ยนไปตามกรณีว่าใคร แข็งกว่า ต่อรองได้ดีกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยมาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของ JTEPA หน่อยครับ
โพสต์ที่ 10
เท่าที่ผมอ่าน เค้าก็บอกว่าเป็นผลเสียกลับกลุ่มยานยนต์ แต่ผมงงจริงๆ ว่า มันเสียหายยังไง แค่เรื่องรถยนต์ 3000 cc ไม่น่าจะทำให้เสียหายมากนะครับ ส่วนเรื่องเหล็กที่ให้เรานำเข้าได้ก็ยิ่งน่าจะดีกับกลุ่มยานยนต์ซะอีก
My way, or the highway
- ply33
- Verified User
- โพสต์: 592
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยมาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของ JTEPA หน่อยครับ
โพสต์ที่ 11
Jaturont เขียน:เท่าที่ผมอ่าน เค้าก็บอกว่าเป็นผลเสียกลับกลุ่มยานยนต์ แต่ผมงงจริงๆ ว่า มันเสียหายยังไง แค่เรื่องรถยนต์ 3000 cc ไม่น่าจะทำให้เสียหายมากนะครับ ส่วนเรื่องเหล็กที่ให้เรานำเข้าได้ก็ยิ่งน่าจะดีกับกลุ่มยานยนต์ซะอีก
กำลังจะเข้ามาถามเรื่องเดียวกันเลยคับ รอผู้รู้มาตอบล่ะกัน :D
0--- ฉลามเสือดาว ล่องลอยไปในทะเลกว้างใหญ่ ---0