ช่วงนี้ เราต้องระมัดระวังการลงทุนในหุ้นบางประเภทที่มี Volumn การซื้อขายที่ขยับขึ้นลงผิดปกติไว้ด้วยนะครับ เพราะเริ่มมีสัญญาณการลงโทษเจ้าหน้าที่อนุญาตของ Broker มากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ ก็ลงโทษผู้บริหารระดับสูงของ Broker แห่งหนึ่ง ที่ใช้ข้อมูล Insider Trading กรณีในเรื่องการไปทำ IB Takeover หุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง คือหุ้นกลุ่มเครื่องดื่ม แล้วผู้บริหารดังกล่าวก็ใช้ข้อมูลดังกล่าวไปทำการซื้อขาย
หรือก่อนหน้านี้ก็มีการลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาดของหลักทรัพย์บางแห่งที่เอาข้อมูลของลูกค้าไปหาประโยชน์ และมีการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสมเอาเปรียบลูกค้า
ตรงนี้เป็นข้อดีจริง ๆ ครับ อยากให้ดูแลให้มากยิ่งขึ้นครับ
รวมถึงอยากให้มีการเอาผิดผู้บริหารของบริษัทบางแห่งทีมีพฤติกรรมเอาเปรียบนักลงทุนไม่เหมาะสมอย่างชัดแจ้ง แบบทำน่าเกลียดมากด้วยก็ยิ่งดี ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและจัดการเลยถ้ามีพฤติกรรมที่ผิดกฏหมายจริง ๆ ครับ จะได้มีส่วนช่วยพัฒนาให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนในตลาดด้วยความยุติธรรมมากขึ้น เลยขอเอาข้อมูลมาเผยแพร่ให้ดูเป็นตัวอย่างกันครับ
หลักทรัพย์ SET
หัวข้อข่าว การลงโทษบริษัทสมาชิก
วันที่/เวลา 23 มี.ค. 2550 17:16:19
การลงโทษบริษัทสมาชิก
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ลงโทษภาคทัณฑ์บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
(บริษัทฯ) เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2551 เนื่องจาก
เจ้าหน้าที่รับอนุญาตจำนวน 1 รายได้ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) ?EMC?
ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2549 ในลักษณะผลักดันราคาให้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากราคามี
แนวโน้มปรับตัวลดลง ก็จะส่งคำสั่งเคาะซื้อเพื่อพยุงราคาหรือมิให้ราคาปรับตัวลดลง หรือเคาะซื้อให้
ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นไปในระดับเดิม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ลงโทษเจ้าหน้าที่รับอนุญาตรายดังกล่าวแล้ว โดยเห็นว่า บริษัทฯ มิได้ใช้
ความระมัดระวังอย่างเพียงพอในการดูแลและควบคุมให้เจ้าหน้าที่รับอนุญาตรายดังกล่าวปฏิบัติ
ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ การกระทำของบริษัทฯ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าด้วยการซื้อขาย
การชำระราคา และการส่งมอบหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 8 วรรคสาม ซึ่งกำหนดให้
สมาชิกต้องดูแลและควบคุมเจ้าหน้าที่รับอนุญาตของตนให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดอย่างเคร่งครัด และข้อ 37 (6) ซึ่งกำหนดห้ามสมาชิกทำการซื้อ
หรือขายหลักทรัพย์ในฐานะนายหน้าหรือตัวแทน หรือในนามของสมาชิกเองที่อาจมีหรือมีผล
ทำให้ราคาหรือปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปอันไม่ตรงต่อสภาพปกติของ
ตลาด (FALSE MARKET) ประกอบกับหนังสือของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่กล. (ว) 8/2547
วันที่ 15 กันยายน 2547 เรื่อง ลักษณะการส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่ไม่เหมาะสม
ฝ่ายวินัยและคดี
23 มีนาคม 2550
สัญญาณการลงโทษการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
สัญญาณการลงโทษการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
โพสต์ที่ 2
อันนี้คือข่าวเก่าที่มีการลงโทษ
ข่าว ก.ล.ต.
ฉบับที่ 22/2550
วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2550
ก.ล.ต. ลงโทษผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (เจ้าหน้าที่การตลาด) 8 ราย
ก.ล.ต. ลงโทษผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน 8 ราย ดังนี้ สั่งพัก (1) นางทินตระการ พิทักษ์สังฆ์ เป็นเวลา 1 เดือน และภาคทัณฑ์ (2) นายธรณิศร์ สุรรัตน์ (3) นายรัฐพล ศรีจันทร์ (4) นางสาวศศิวิมล หมื่นธง (5) นางสาวงามเนตร จริงสูงเนิน (6) นางสาวชื่นชม เอื้อหยิ่งศักดิ์ (7) นายวรวุฒิ นาถะภักฎิ และ (8) นางนงเยาว์ นาถะภักฎิ เป็นเวลา 1 ปี
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ตรวจพบการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2548 ดังนี้
รายที่ 1 นางทินตระการ มีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งคำสั่งซื้อขายในลักษณะปิดบังมิให้รู้ถึงบุคคลที่เป็นเจ้าของคำสั่งซื้อขายที่แท้จริง หรือแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ และโดยที่ควรจะทราบว่าคำสั่งดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อสภาพซื้อขายในตลาดโดยรวม นอกจากนี้ ยังนำข้อมูลการซื้อขายของลูกค้าในความดูแล
ไปบอกต่อแก่ลูกค้ารายอื่นในลักษณะเป็นการเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวลือด้วย
รายที่ 2 นายธรณิศร์ รับคำสั่งจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกค้าเจ้าของบัญชี หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากลูกค้าที่เป็นเจ้าของบัญชี
รายที่ 3 นายรัฐพล รับมอบอำนาจจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งพิจารณาได้ว่าเป็นการยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ลงทุน และเป็นการปฏิบัติหน้าที่เกินกรอบที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์ต้นสังกัด
รายที่ 4 -8 มีพฤติกรรมเปิดเผยรหัสประจำตัวเจ้าหน้าที่รับอนุญาตให้บุคคลอื่นทราบ และไม่ใช้รหัสประจำตัวเจ้าหน้าที่รับอนุญาตของตนในการส่งคำสั่ง
ซื้อขาย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้พิจารณาลงโทษ อันเป็นผลให้ทั้ง 5 ราย มีลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ข่าว ก.ล.ต.
ฉบับที่ 22/2550
วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2550
ก.ล.ต. ลงโทษผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (เจ้าหน้าที่การตลาด) 8 ราย
ก.ล.ต. ลงโทษผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน 8 ราย ดังนี้ สั่งพัก (1) นางทินตระการ พิทักษ์สังฆ์ เป็นเวลา 1 เดือน และภาคทัณฑ์ (2) นายธรณิศร์ สุรรัตน์ (3) นายรัฐพล ศรีจันทร์ (4) นางสาวศศิวิมล หมื่นธง (5) นางสาวงามเนตร จริงสูงเนิน (6) นางสาวชื่นชม เอื้อหยิ่งศักดิ์ (7) นายวรวุฒิ นาถะภักฎิ และ (8) นางนงเยาว์ นาถะภักฎิ เป็นเวลา 1 ปี
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ตรวจพบการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ที่ สข. 15/2548 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2548 ดังนี้
รายที่ 1 นางทินตระการ มีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งคำสั่งซื้อขายในลักษณะปิดบังมิให้รู้ถึงบุคคลที่เป็นเจ้าของคำสั่งซื้อขายที่แท้จริง หรือแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ และโดยที่ควรจะทราบว่าคำสั่งดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อสภาพซื้อขายในตลาดโดยรวม นอกจากนี้ ยังนำข้อมูลการซื้อขายของลูกค้าในความดูแล
ไปบอกต่อแก่ลูกค้ารายอื่นในลักษณะเป็นการเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวลือด้วย
รายที่ 2 นายธรณิศร์ รับคำสั่งจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกค้าเจ้าของบัญชี หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากลูกค้าที่เป็นเจ้าของบัญชี
รายที่ 3 นายรัฐพล รับมอบอำนาจจากลูกค้าในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งพิจารณาได้ว่าเป็นการยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ลงทุน และเป็นการปฏิบัติหน้าที่เกินกรอบที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทหลักทรัพย์ต้นสังกัด
รายที่ 4 -8 มีพฤติกรรมเปิดเผยรหัสประจำตัวเจ้าหน้าที่รับอนุญาตให้บุคคลอื่นทราบ และไม่ใช้รหัสประจำตัวเจ้าหน้าที่รับอนุญาตของตนในการส่งคำสั่ง
ซื้อขาย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้พิจารณาลงโทษ อันเป็นผลให้ทั้ง 5 ราย มีลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
สัญญาณการลงโทษการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
โพสต์ที่ 3
ส่วนข่าวนี้คือการทำ Insider trading ครับ
ข่าว ก.ล.ต.
ฉบับที่ 20/2550
วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2550
เปรียบเทียบปรับความผิดกรณีใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้น OISHI
ในวันนี้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีคำสั่งเปรียบเทียบ นายอุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ เป็นจำนวนเงิน 1,494,615.92 บาท ในความผิดฐานใช้ข้อมูลภายในในการซื้อหุ้น OISHI เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548
จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่า นายอุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ ในฐานะกรรมการผู้อำนวยการของบริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการเจรจาซื้อขายหุ้นของบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (OISHI) ได้ทำการซื้อหุ้น OISHI เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 โดยใช้ข้อมูลภายในที่ได้ล่วงรู้มาจากการปฏิบัติงาน และยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน อันเป็นการเอาเปรียบบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 241 ต้องระวางโทษตามมาตรา 296 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
ก.ล.ต. จึงได้เสนอเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณา และในวันนี้ (13 มีนาคม 2550) คณะกรรมการได้มีคำสั่งเปรียบเทียบนายอุดมศักดิ์เป็นจำนวนเงิน 1,494,615.92 บาท
การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน โดยเฉพาะในกรณีที่ข้อมูลนั้นได้มาจากการประกอบวิชาชีพ เป็นการกระทำไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามประการหนึ่งของผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนายอุดมศักดิ์ได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์แล้ว
ข่าว ก.ล.ต.
ฉบับที่ 20/2550
วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2550
เปรียบเทียบปรับความผิดกรณีใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้น OISHI
ในวันนี้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีคำสั่งเปรียบเทียบ นายอุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ เป็นจำนวนเงิน 1,494,615.92 บาท ในความผิดฐานใช้ข้อมูลภายในในการซื้อหุ้น OISHI เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548
จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบว่า นายอุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ ในฐานะกรรมการผู้อำนวยการของบริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการเจรจาซื้อขายหุ้นของบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (OISHI) ได้ทำการซื้อหุ้น OISHI เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 โดยใช้ข้อมูลภายในที่ได้ล่วงรู้มาจากการปฏิบัติงาน และยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน อันเป็นการเอาเปรียบบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 241 ต้องระวางโทษตามมาตรา 296 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
ก.ล.ต. จึงได้เสนอเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณา และในวันนี้ (13 มีนาคม 2550) คณะกรรมการได้มีคำสั่งเปรียบเทียบนายอุดมศักดิ์เป็นจำนวนเงิน 1,494,615.92 บาท
การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน โดยเฉพาะในกรณีที่ข้อมูลนั้นได้มาจากการประกอบวิชาชีพ เป็นการกระทำไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามประการหนึ่งของผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนายอุดมศักดิ์ได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์แล้ว