เศรษฐกิจจีนปี 2550 ชะลอตัว : ซ้ำเติมส่งออกไทย
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานเรื่อง เศรษฐกิจจีนปี 2550 ชะลอตัว : ซ้ำเติมส่งออก
ไทย โดยระบุว่า
บทนำ
จีนเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในโลกติดต่อกันมาเป็นเวลาสาม
ทศวรรษ จนทำให้ก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสี่ของโลกในปัจจุบัน
ปี 2549 นับเป็นปีทองของเศรษฐกิจจีนอีกปีหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากจีนสามารถรักษาอัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงร้อยละ 10.5 ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.2 ในปี
2548 จนทำให้จีนมี GDP ขนาด 2.55 ล้านล้านดอลลาร์ หรือมากกว่าประเทศไทยกว่าสิบเท่า
การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการขยายตัวของการบริโภค
การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งล้วนเติบโตในอัตราก้าวกระโดดทั้งสิ้น ปัจจุบันจีนเป็น
ประเทศที่มีปริมาณการค้าระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐฯ และ
เยอรมนี การเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างรวดเร็วของจีนส่งผลให้การค้าระหว่างไทย-จีน
มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 และแหล่งนำเข้าอันดับ 2
ของไทย และเป็นคู่ค้าหลักที่มีการขยายตัวทางการค้าสูงสุด (เทียบกับสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและสิงคโปร์
และฮ่องกงซึ่งเป็นตลาดส่งออก 5 อันดับแรกของไทย)
ภาวะเศรษฐกิจของจีนในปี 2550 จึงมีความสำคัญไม่เพียงต่อจีนเอง แต่ยังมีนัยสำคัญ
ต่อภาวะทางการค้าและเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยรวมด้วย บริษัท ศูนย์
วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เศรษฐกิจจีนปี 2550 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 9.0-9.5 ชะลอตัวลงจาก
ปี 2549 และการส่งออกจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 15.0-17.0 ซึ่งจะส่งผลให้การนำเข้าสินค้า
จากไทยหลายชนิดขยายตัวในอัตราที่ลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ และเม็ดพลาสติก ส่วนการนำเข้าของไทยจากจีนจะขยายตัวต่อเนื่องในสินค้า
เพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผักและผลไม้ และอาจ
ชะลอตัวลงสำหรับสินค้ากลุ่มเหล็ก สินแร่โลหะ แผงวงจรไฟฟ้า หลอดภาพโทรทัศน์ เครื่องจักรกล
และเครื่องจักรไฟฟ้า
เศรษฐกิจจีนปี 2549-2550
ในช่วงสองไตรมาสแรกของปี 2549 เศรษฐกิจจีนเติบโตสูงถึงร้อยละ 10.7 และ 11.3
ตามลำดับ ทางการจีนจึงได้ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้
เศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2549 ชะลอตัวลง ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ
10.4 ในช่วงไตรมาสที่สาม การเติบโตของเศรษฐกิจจีนได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของการ
ค้าระหว่างประเทศ ในปี 2549 ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.9 เป็นมูลค่ารวม 969.1 พันล้าน
ดอลลาร์ และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 22.0 เป็นมูลค่า 791.6 พันล้านดอลลาร์ ทำให้จีนได้
เปรียบดุลการค้าถึง 177.5 พันล้านดอลลาร์ กลุ่มสินค้าส่งออกที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่
เสื้อผ้า เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และรองเท้า โดยคู่ค้าหลักของ
จีนได้แก่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเยอรมนี
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญของจีน
2548 2549* 2550*
GDP (เปลี่ยนแปลง %) 10.2 10.5 9.0-9.5
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (เปลี่ยนแปลง %) 27.2 26.5 20.0
มูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม (เปลี่ยนแปลง %) 16.4 16.5 15.0-16.0
ยอดค้าปลีก (เปลี่ยนแปลง %) 12.9 13.0-13.5 12.0-13.0
ดัชนีราคาผู้บริโภค (เปลี่ยนแปลง %) 1.8 1.3 2.2
ส่งออก (มูลค่า US$ bil) 762.0 969.1 1,110.0
ส่งออก (เปลี่ยนแปลง %) 28.4 24.9 15.0-17.0
นำเข้า (มูลค่า US$ bil) 660.1 791.6 984.0
นำเข้า (เปลี่ยนแปลง %) 17.6 22.0 20.0-22.0
การลงทุนจากต่างประเทศ (มูลค่า US$ bil) 72.4 69.5 65.0-70.0
ทุนสำรองระหว่างประเทศ (มูลค่า US$ bil) 818.9 1,065.0 1,292.0
อัตราแลกเปลี่ยน (US$/RMB) 8.07 7.80 7.50
ที่มา : The National Bureau of Statistics of China, Ministry of Commerce,
The Asian Wall Street Journal
หมายเหตุ * ตัวเลขประมาณการณ์โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย
สำหรับในปี 2550 บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวในอัตรา
ร้อยละ 9.0-9.5 โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ลดลงจากในปี 2549 นอก
จากนี้ คาดว่าการส่งออกและการบริโภคในประเทศอาจเติบโตในอัตราที่ลดลงเช่นกัน โดยคาดว่า
การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 15.0-17.0 ลดลงจากร้อยละ 24.9 ในปี 2549 แต่การนำเข้าจะ
ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 20.0-22.0 เนื่องจากค่าเงินหยวนที่แข็งขึ้น อย่างไรก็ตาม จีน
จะยังคงได้เปรียบดุลการค้าจำนวนมากทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.29
ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปลายปี 2550 ส่วนยอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0-13.0 ใกล้เคียงกับ
ในปี 2549
แนวโน้มการค้าไทย-จีน
การส่งออก-นำเข้าระหว่างไทยกับจีนขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง ในช่วงปี 2547-2549
การส่งออกของไทยไปจีนขยายตัวในอัตราประมาณร้อยละ 25-28 ทุกปี ในช่วง 11 เดือนแรก
ของปี 2549 ไทยส่งออกสินค้าไปจีนมูลค่า 10,625 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 28.41 และใกล้เคียงกันกับอัตราการขยายตัวในปี 2548 สินค้าออกหลักของไทยไป
จีนในปี 2549 เรียงตามลำดับได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยางพารา เคมีภัณฑ์ เม็ด
พลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยางและ
ผลิตภัณฑ์ไม้ โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้ง 10 รายการคิดเป็นร้อยละ 72.8 ของสินค้าส่งออก
ทั้งหมดของไทยไปจีน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกระจุกตัวของสินค้าส่งออกอย่างชัดเจนยิ่ง สำหรับ
สินค้าส่งออกที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วได้แก่ เลนซ์ (ร้อยละ 340) น้ำมันสำเร็จรูป (ร้อยละ
308) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 134)ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 119) วงจรพิมพ์ (ร้อยละ 109) ทองแดง
(ร้อยละ 73) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ 63) ข้าว (ร้อยละ 59) และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ
37)
สินค้าส่งออกหลักของไทยไปจีน
รายการ มูลค่า เปลี่ยนแปลง (%) สัดส่วน (%)
2548 2549 2548 2549 2548 2549
(ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.) (ม.ค.-พ.ย.)
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2,454.50 2,258.30 61.98
1.51 26.77 21.25
2 ยางพารา 815.3 1,200.50 3.86 64.43 8.89 11.3
3 เคมีภัณฑ์ 522.5 1,031.90 44.26 133.57 5.7 9.71
4 เม็ดพลาสติก 764.9 829.5 35.07 20.06 8.34 7.81
5 แผงวงจรไฟฟ้า 417.8 593.1 84.46 62.54 4.56 5.58
6 น้ำมันดิบ 538.3 556.8 96.03 3.44 5.87 5.24
7 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 383.4 469.5 36.05 37.24 4.18
4.42
8 น้ำมันสำเร็จรูป 82.5 286.5 -55.62 307.54 0.9 2.7
9 ผลิตภัณฑ์ยาง 127.5 256.8 49.47 119.49 1.39 2.42
10 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 231.1 230.7 10.52 8.36 2.52 2.17
11 ข้าว 193.2 230.2 -14.1 58.98 2.11 2.17
12 ทองแดงและของทำด้วยทองแดง 96 158 69.31 73.06 1.05
1.49
13 วงจรพิมพ์ 78 148 -1.89 109.04 0.85 1.39
14 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ 139.3 134.6 21.77 7.25
1.52 1.27
15 หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 141.8 125.8 57.38 -3.75 1.55
1.18
รวม 15 รายการ 6,986.10 8,510.30 38.13 35.17 76.2 80.1
อื่นๆ 2,181.40 2,114.70 6.03 6.89 23.8 19.9
มูลค่ารวม 9,167.60 10,625.00 28.85 28.41 100 100
ที่มา กระทรวงพาณิชย์
ในทางตรงกันข้ามสินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มหดตัวและ/หรือขยายตัวลดลงได้แก่
หม้อแปลงไฟฟ้า (ร้อยละ -4) เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 2) ผลไม้สดและ
แช่เย็น (ร้อยละ 4) น้ำมันดิบ (ร้อยละ 3) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (ร้อยละ 7) ผลิตภัณฑ์
ไม้ (ร้อยละ 8) ทั้งนี้ เป็นที่น่ากังวลว่าสินค้าส่งออกหลัก 10 อันดับแรกของไทยบางชนิดมีการ
เติบโตลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์
ไม้ ซึ่งเหล่านี้เป็นสินค้าที่หาทดแทนได้จากที่อื่นโดยเฉพาะประเทศอาเซียนด้วยกัน คาดว่าค่าเงิน
บาทที่แข็งขึ้นกำลังส่งผลกระทบทางลบต่อการส่งออกสินค้าดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น แนวโน้มการ
ชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2550 จะทำให้การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและชิ้นส่วน
อุตสาหกรรมของไทยเพื่อการผลิตสำหรับส่งออกไปประเทศที่สาม เช่น ยุโรปและสหรัฐฯ ชะลอตัว
ลง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเม็ดพลาสติก คาดว่าการส่ง
ออกของไทยไปจีนในปี 2550 จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20.0-25.0 เทียบกับร้อยละ 27.0-
30.0 ในปี 2549
ในด้านการนำเข้า ยอดนำเข้าของไทยจากจีนช่วง 11 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 21.3 เป็นมูลค่ารวม 12,339.8 ล้านดอลลาร์ แม้จะขยายตัวลดลงจากปี 2548 แต่ก็ถือว่า
เป็นการขยายในอัตราสูงยิ่ง เนื่องจากการนำเข้าของไทยโดยรวมจากทั่วโลกขยายตัวเพียงร้อยละ
7.52 เท่านั้นในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2549 สินค้านำเข้าหลักของไทยจากจีนได้แก่ เครื่อง
จักรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เหล็ก/เหล็กกล้า เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผ้าผืน
สินแร่โลหะ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ดและแผงวงจรไฟฟ้า โดยสินค้าหลักทั้งสิบรายการมีสัดส่วนรวมกัน
ถึงร้อยละ 73.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของไทยจากจีน
สินค้านำเข้าสำคัญที่มีอัตราการขยายตัวสูงได้แก่ ลวดและเคเบิล (ร้อยละ 70) ปุ๋ยและ
ยากำจัดศัตรูพืช (เพิ่มขึ้นร้อยละ 60) วงจรพิมพ์ (ร้อยละ 40) เครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 38) ผัก
และผลไม้ (ร้อยละ 32) เครื่องจักรกล (ร้อยละ 31) เครื่องจักรไฟฟ้า (ร้อยละ 31) เครื่องมือทาง
วิทยาศาสตร์และการแพทย์ (ร้อยละ 30) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการนำเข้าลดลงหรือการขยายตัว
ลดลงได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ -16) หลอดภาพโทรทัศน์ (ร้อยละ -10) ด้ายและเส้นใย
(ร้อยละ -8) เหล็ก/เหล็กกล้า (ร้อยละ -4) สำหรับในปี 2550 คาดว่าการนำเข้าของไทยจากจีน
ยังขยายตัวในอัตราสูงแต่จะเติบโตลดลง เนื่องจากการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยสินค้าประเภทวัตถุดิบและชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมส่งออก
เช่น เหล็ก สินแร่โลหะ แผงวงจรไฟฟ้า หลอดภาพโทรทัศน์ เครื่องจักรกล และเครื่องจักรไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผัก
และผลไม้ เป็นต้น ยังมีแนวโน้มการขยายตัวได้ดีเนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งเมื่อเทียบกับเงิน
หยวนทำให้ราคาสินค้านำเข้าจากจีนมีราคาถูก