ธปท.เล็งผ่อนคลายเงินกู้ตปท. ใช้ลงทุนจริงไม่ต้องสำรอง30%
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ธปท.เล็งผ่อนคลายเงินกู้ตปท. ใช้ลงทุนจริงไม่ต้องสำรอง30%
โพสต์ที่ 1
http://www.bangkokbiznews.com/viewNews. ... sid=147677
ธปท.เล็งผ่อนคลายเงินกู้ตปท. ใช้ลงทุนจริงไม่ต้องสำรอง30%
15 มกราคม 2550 13:45 น.
ธปท.ถกสมาคมแบงก์ ผ่อนคลายเงินกู้ต่างประเทศ ไม่ต้องกันสำรอง 30% หากใช้เพื่อการลงทุนจริง เหตุไม่กระทบค่าบาท
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยว่าธปท.กำลังหารือกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อหาวิธีผ่อนคลายเงินกู้ต่างประเทศที่ลงทุนในธุรกิจจริง ไม่ต้องสำรอง 30% ของเงินต่างชาติที่นำเข้ามา ซึ่งจะพิจารณาการแยกประเภทของเงินกู้ที่เป็นประเภทรายวัน กับเงินกู้เพื่อลงทุนในธุรกิจจริง
"ตอนนี้กำลังคุยกับสมาคมแบงก์ว่าจะหาวิธีแยกเงินยังไง แล้วแต่ประเภทของวิธีการเอาเข้ามา เช่น ถ้าเอาเข้ามาแล้วเฮดจ์เลย ซึ่งไม่ทำให้ค่าเงินกระเพื่อม อย่างนี้ก็อาจจะได้ เป็นตัวอย่างหนึ่ง"
ที่ผ่านมามีเงินกู้บางประเภทเข้ามาในลักษณะรายวัน ซึ่งธปท.ไม่สามารถจะยอมรับได้ เนื่องจากเป็นเงินร้อนที่กู้เข้ามาและอีกไม่กี่วันก็ออกไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีแยกให้ชัดเจน และขณะเดียวกันก็จะช่วยไม่ให้กระทบกับการขยายธุรกิจด้วย
เมื่อเดือนธ.ค. ธปท.ออกกันเงินสำรอง 30% ของเงินทุนไหลเข้าที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี เพื่อป้องกันการเก็งกำไรเงินบาท แต่ยกเว้นสำหรับในตลาดหุ้นและเงินลงทุนโดยตรง(FDI)
ธปท.เล็งผ่อนคลายเงินกู้ตปท. ใช้ลงทุนจริงไม่ต้องสำรอง30%
15 มกราคม 2550 13:45 น.
ธปท.ถกสมาคมแบงก์ ผ่อนคลายเงินกู้ต่างประเทศ ไม่ต้องกันสำรอง 30% หากใช้เพื่อการลงทุนจริง เหตุไม่กระทบค่าบาท
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยว่าธปท.กำลังหารือกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อหาวิธีผ่อนคลายเงินกู้ต่างประเทศที่ลงทุนในธุรกิจจริง ไม่ต้องสำรอง 30% ของเงินต่างชาติที่นำเข้ามา ซึ่งจะพิจารณาการแยกประเภทของเงินกู้ที่เป็นประเภทรายวัน กับเงินกู้เพื่อลงทุนในธุรกิจจริง
"ตอนนี้กำลังคุยกับสมาคมแบงก์ว่าจะหาวิธีแยกเงินยังไง แล้วแต่ประเภทของวิธีการเอาเข้ามา เช่น ถ้าเอาเข้ามาแล้วเฮดจ์เลย ซึ่งไม่ทำให้ค่าเงินกระเพื่อม อย่างนี้ก็อาจจะได้ เป็นตัวอย่างหนึ่ง"
ที่ผ่านมามีเงินกู้บางประเภทเข้ามาในลักษณะรายวัน ซึ่งธปท.ไม่สามารถจะยอมรับได้ เนื่องจากเป็นเงินร้อนที่กู้เข้ามาและอีกไม่กี่วันก็ออกไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีแยกให้ชัดเจน และขณะเดียวกันก็จะช่วยไม่ให้กระทบกับการขยายธุรกิจด้วย
เมื่อเดือนธ.ค. ธปท.ออกกันเงินสำรอง 30% ของเงินทุนไหลเข้าที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี เพื่อป้องกันการเก็งกำไรเงินบาท แต่ยกเว้นสำหรับในตลาดหุ้นและเงินลงทุนโดยตรง(FDI)
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ธปท.เล็งผ่อนคลายเงินกู้ตปท. ใช้ลงทุนจริงไม่ต้องสำรอง30%
โพสต์ที่ 2
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000005147
แบงก์ชาติประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การนำเงินออกและการถือครองเงินตราต่างประเทศแล้ว
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 มกราคม 2550 16:32 น.
ธปท.ประกาศผ่อนคลายหลักเกณฑ์การนำเงินออกและการถือครองเงินตราต่างประเทศ โดยบุคคลไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุนกิจการในต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสามารถส่งเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนผู้ลงทุนประเภทสถาบัน มีการผ่อนคลายได้ทั้งการลงทุนในหลักทรัพย์ของคนไทยในต่างประเทศและหลักทรัพย์ของเอกชนต่างประเทศ
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตามที่ ธปท. ได้มีมาตรการมาตามลำดับ เพื่อผ่อนคลายหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศนั้น ธปท. ได้ออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มกราคม 2550 เพื่อเพิ่มเติมการผ่อนคลายการนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ และการถือครองเงินตราต่างประเทศ ดังนี้
1. เพิ่มวงเงินให้บุคคลไทยนำเงินไปลงทุนโดยตรงหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศ (บุคคลไทยถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10) จากเดิมไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี เป็นไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี 2. อนุญาตให้บุคคลไทยส่งเงินไปลงทุนหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศ (ถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของในกิจการของบุคคลไทยดังกล่าวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เช่น บริษัทลูกนำเงินไปให้กู้ยืมหรือลงทุนในบริษัทแม่ในต่างประเทศ) ไม่เกิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี
3. อนุญาตผู้ลงทุนประเภทสถาบัน 7 ประเภท ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม (ไม่รวมกองทุนส่วนบุคคล) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง ที่ประสงค์จะลงทุนในหลักทรัพย์ของนิติบุคคลไทย ซึ่งออกในต่างประเทศให้ทำได้โดยไม่จำกัดจำนวน หากลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่ไม่ได้ออกโดยนิติบุคคลไทย ให้ลงทุนได้แต่มียอดคงค้าง ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และต้องไม่เกินวงเงินที่หน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ลงทุนและคณะกรรมการหรือผู้มีอำนาจบริหารของผู้ลงทุนกำหนด ซึ่งระเบียบเดิมผู้ต้องการลงทุนต้องยื่นเรื่องขออนุญาตต่อ ธปท.เป็นรายกรณี แต่ระเบียบใหม่สามารถลงทุนได้เลยถ้าไม่เกินวงเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากเกินกว่านี้ต้องขออนุญาต ธปท.
4. ผู้ฝากเงินตราต่างประเทศสามารถนำเงินที่ได้รับจากต่างประเทศฝากเข้าในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศโดยไม่ต้องแสดงภาระการใช้เงิน โดยผู้ประสงค์จะฝากเงินให้แยกเปิดเป็นบัญชีเฉพาะและยอดเงินฝากในบัญชี ณ สิ้นวัน รวมทุกบัญชีที่ไม่ต้องแสดงภาระของผู้ฝากรายนั้นต้องมีจำนวนไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่าสำหรับบุคคลธรรมดา หรือ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า สำหรับนิติบุคคล ส่วนเงินฝากที่มีภาระการใช้เงินแสดงยังคงฝากได้ไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับบุคคลธรรมดา และไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับนิติบุคคล
นายสุชาติ กล่าวว่า การปรับระเบียบข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน ธปท. ในการปรับระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนธุรกิจไทยให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก.
แบงก์ชาติประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การนำเงินออกและการถือครองเงินตราต่างประเทศแล้ว
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 มกราคม 2550 16:32 น.
ธปท.ประกาศผ่อนคลายหลักเกณฑ์การนำเงินออกและการถือครองเงินตราต่างประเทศ โดยบุคคลไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุนกิจการในต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสามารถส่งเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนผู้ลงทุนประเภทสถาบัน มีการผ่อนคลายได้ทั้งการลงทุนในหลักทรัพย์ของคนไทยในต่างประเทศและหลักทรัพย์ของเอกชนต่างประเทศ
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตามที่ ธปท. ได้มีมาตรการมาตามลำดับ เพื่อผ่อนคลายหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศนั้น ธปท. ได้ออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มกราคม 2550 เพื่อเพิ่มเติมการผ่อนคลายการนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ และการถือครองเงินตราต่างประเทศ ดังนี้
1. เพิ่มวงเงินให้บุคคลไทยนำเงินไปลงทุนโดยตรงหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศ (บุคคลไทยถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10) จากเดิมไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี เป็นไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี 2. อนุญาตให้บุคคลไทยส่งเงินไปลงทุนหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศ (ถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของในกิจการของบุคคลไทยดังกล่าวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เช่น บริษัทลูกนำเงินไปให้กู้ยืมหรือลงทุนในบริษัทแม่ในต่างประเทศ) ไม่เกิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี
3. อนุญาตผู้ลงทุนประเภทสถาบัน 7 ประเภท ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม (ไม่รวมกองทุนส่วนบุคคล) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง ที่ประสงค์จะลงทุนในหลักทรัพย์ของนิติบุคคลไทย ซึ่งออกในต่างประเทศให้ทำได้โดยไม่จำกัดจำนวน หากลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่ไม่ได้ออกโดยนิติบุคคลไทย ให้ลงทุนได้แต่มียอดคงค้าง ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และต้องไม่เกินวงเงินที่หน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ลงทุนและคณะกรรมการหรือผู้มีอำนาจบริหารของผู้ลงทุนกำหนด ซึ่งระเบียบเดิมผู้ต้องการลงทุนต้องยื่นเรื่องขออนุญาตต่อ ธปท.เป็นรายกรณี แต่ระเบียบใหม่สามารถลงทุนได้เลยถ้าไม่เกินวงเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากเกินกว่านี้ต้องขออนุญาต ธปท.
4. ผู้ฝากเงินตราต่างประเทศสามารถนำเงินที่ได้รับจากต่างประเทศฝากเข้าในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศโดยไม่ต้องแสดงภาระการใช้เงิน โดยผู้ประสงค์จะฝากเงินให้แยกเปิดเป็นบัญชีเฉพาะและยอดเงินฝากในบัญชี ณ สิ้นวัน รวมทุกบัญชีที่ไม่ต้องแสดงภาระของผู้ฝากรายนั้นต้องมีจำนวนไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่าสำหรับบุคคลธรรมดา หรือ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า สำหรับนิติบุคคล ส่วนเงินฝากที่มีภาระการใช้เงินแสดงยังคงฝากได้ไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับบุคคลธรรมดา และไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับนิติบุคคล
นายสุชาติ กล่าวว่า การปรับระเบียบข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน ธปท. ในการปรับระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนธุรกิจไทยให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก.
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- ply33
- Verified User
- โพสต์: 592
- ผู้ติดตาม: 0
ธปท.เล็งผ่อนคลายเงินกู้ตปท. ใช้ลงทุนจริงไม่ต้องสำรอง30%
โพสต์ที่ 3
ส่วนตัวคิดว่าต่างชาติซื้อเพื่อรับปันผลเท่านั้นครับ ความมั่นใจยังไม่มีกลับมาครับ กลุ่มแบงค์มีแต่ปรับลดประมาณการหลังจากใช้มาตรฐานบัญชีใหม่
กลุ่มพลังงานก็ราคาลง กลุ่มอสังหาก็กู่ไม่กลับหลังจากมาตรการ 30% ค่าเงินบาทแข็งส่งออกยังอ่วม ยังไม่รวมความเสี่ยงเรื่องการเมืองอีกต่างๆนาๆนะครับ
ด้านบวกก็มีบ้างคือ ลดดอกเบี้ย ราคาน้ำมันลง ต้นทุนบริษัทต่างๆจะลดลงด้วย และสถานการณ์การเมืองเริ่มส่อเค้าไปในทางที่วางไว้(อย่าเผลอล่ะกัน)
ส่วนตัวจิงๆยังไม่มั่นใจครับ คิดว่าปีนี้จะเป็นจุดต่ำสุดครับ
กลุ่มพลังงานก็ราคาลง กลุ่มอสังหาก็กู่ไม่กลับหลังจากมาตรการ 30% ค่าเงินบาทแข็งส่งออกยังอ่วม ยังไม่รวมความเสี่ยงเรื่องการเมืองอีกต่างๆนาๆนะครับ
ด้านบวกก็มีบ้างคือ ลดดอกเบี้ย ราคาน้ำมันลง ต้นทุนบริษัทต่างๆจะลดลงด้วย และสถานการณ์การเมืองเริ่มส่อเค้าไปในทางที่วางไว้(อย่าเผลอล่ะกัน)
ส่วนตัวจิงๆยังไม่มั่นใจครับ คิดว่าปีนี้จะเป็นจุดต่ำสุดครับ
0--- ฉลามเสือดาว ล่องลอยไปในทะเลกว้างใหญ่ ---0
- bigshow
- Verified User
- โพสต์: 730
- ผู้ติดตาม: 0
ธปท.เล็งผ่อนคลายเงินกู้ตปท. ใช้ลงทุนจริงไม่ต้องสำรอง30%
โพสต์ที่ 4
ยกเว้น30%เอกชนกู้นอก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 มกราคม 2550 08:38 น.
แบงก์ชาติค่อยๆ กลืนน้ำลายตัวเอง เตรียมยกเว้นมาตรการกันสำรองเงินนำเข้า 30% สำหรับเงินกู้ต่างประเทศเพื่อลงทุนของเอกชนไทย อ้างเป็นส่วนที่มีเหตุผลพอรับไหว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.กำลังอยู่ระหว่างหาวิธีผ่อนผันมาตรการกันสำรอง 30% สำหรับธุรกิจที่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ โดยจะแยกประเภทเงินกู้ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น ธุรกิจใดที่มีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่ธุรกิจประเภทนี้จะทำเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะก็อาจจะได้รับการยกเว้นมาตรการนี้ ซึ่งรายละเอียดต่างๆ อยู่กำลังหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อแยกประเภทบัญชีดังกล่าว
มาตรการกันสำรอง 30%ที่ออกไปวัตถุประสงค์หลักต้องการสกัดพวกเงินร้อนที่เข้ามาหาผลประโยชน์จากการเก็งกำไรค่าเงินบาท ดังนั้นในบางธุรกิจที่มีการนำเงินเข้าออกบ่อยๆ เป็นรายวัน ซึ่งส่วนนี้จะส่งผลให้ได้กำไรอัตราแลกเปลี่ยนที่สูง ถือว่าเรายอมรับไม่ได้ แต่ในส่วนของธุรกิจบางประเภทที่ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินทำธุรกิจก็อาจจะได้รับการยกเว้น เพราะในส่วนนี้เขานำเงินเข้ามาเพื่อการทำธุรกิจโดยเฉพาะ ถือว่าเราพอจะรับได้ แต่ก็ดูประเภทของเงินที่เข้าประกอบกันด้วย
ก่อนหน้านี้ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สมาคมธนาคารไทยได้มีการหารือร่วมกัน และเห็นว่าควรที่จะเสนอให้ ธปท.ปรับปรุงมาตรการบางอย่าง คือ ให้ยกเลิกการตั้งสำรองเงินทุน 30%สำหรับบริษัทไทยที่ต้องการกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาในระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป เพราะเห็นว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากเงินต่างประเทศและเป็นเงินทุนในระยะยาว
ด้านการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 17 มกราคม มีหลายฝ่ายคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง นั้น นางธาริษาไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธ โดยบอกว่า วันที่ 17 ม.ค. จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน เป็นดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ใช้วิธีการคิดหมือนกับดอกเบี้ยนโยบายแบบเก่า แต่จะใช้จุดทศนิยมเพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น และหากมีการปรับขึ้นหรือลดในแต่ละครั้งก็จะปรับครั้งละ 0.25%
สำหรับการแยกประเภทบัญชีเงินบาทที่มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายหุ้น (Special Non-resident Bath Account for Equity Securities) หรือบัญชี SNS นั้นนางธาริษากล่าวว่า ไม่พบกระแสการไหลเข้าออกที่ผิดปกติ จำนวนเงินเท่าเดิม แต่แยกประเภทการลงทุนในหุ้นไว้อีกในบัญชีหนึ่ง ขณะเดียวกันสามารถลงทุนในประเภทต่างๆ ได้ตามปกติ แต่หากเข้าข่ายประเภทการลงทุนดังกล่าวก็นำเงินเข้าในบัญชี SNS เท่านั้น
ทั้งนี้ บัญชี SNS เป็นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) ศูนย์การซื้อขายสัญญาล่วงหน้า (TFEX) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET)
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 มกราคม 2550 08:38 น.
แบงก์ชาติค่อยๆ กลืนน้ำลายตัวเอง เตรียมยกเว้นมาตรการกันสำรองเงินนำเข้า 30% สำหรับเงินกู้ต่างประเทศเพื่อลงทุนของเอกชนไทย อ้างเป็นส่วนที่มีเหตุผลพอรับไหว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.กำลังอยู่ระหว่างหาวิธีผ่อนผันมาตรการกันสำรอง 30% สำหรับธุรกิจที่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ โดยจะแยกประเภทเงินกู้ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น ธุรกิจใดที่มีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่ธุรกิจประเภทนี้จะทำเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะก็อาจจะได้รับการยกเว้นมาตรการนี้ ซึ่งรายละเอียดต่างๆ อยู่กำลังหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อแยกประเภทบัญชีดังกล่าว
มาตรการกันสำรอง 30%ที่ออกไปวัตถุประสงค์หลักต้องการสกัดพวกเงินร้อนที่เข้ามาหาผลประโยชน์จากการเก็งกำไรค่าเงินบาท ดังนั้นในบางธุรกิจที่มีการนำเงินเข้าออกบ่อยๆ เป็นรายวัน ซึ่งส่วนนี้จะส่งผลให้ได้กำไรอัตราแลกเปลี่ยนที่สูง ถือว่าเรายอมรับไม่ได้ แต่ในส่วนของธุรกิจบางประเภทที่ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินทำธุรกิจก็อาจจะได้รับการยกเว้น เพราะในส่วนนี้เขานำเงินเข้ามาเพื่อการทำธุรกิจโดยเฉพาะ ถือว่าเราพอจะรับได้ แต่ก็ดูประเภทของเงินที่เข้าประกอบกันด้วย
ก่อนหน้านี้ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สมาคมธนาคารไทยได้มีการหารือร่วมกัน และเห็นว่าควรที่จะเสนอให้ ธปท.ปรับปรุงมาตรการบางอย่าง คือ ให้ยกเลิกการตั้งสำรองเงินทุน 30%สำหรับบริษัทไทยที่ต้องการกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาในระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป เพราะเห็นว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากเงินต่างประเทศและเป็นเงินทุนในระยะยาว
ด้านการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 17 มกราคม มีหลายฝ่ายคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง นั้น นางธาริษาไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธ โดยบอกว่า วันที่ 17 ม.ค. จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน เป็นดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ใช้วิธีการคิดหมือนกับดอกเบี้ยนโยบายแบบเก่า แต่จะใช้จุดทศนิยมเพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น และหากมีการปรับขึ้นหรือลดในแต่ละครั้งก็จะปรับครั้งละ 0.25%
สำหรับการแยกประเภทบัญชีเงินบาทที่มีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายหุ้น (Special Non-resident Bath Account for Equity Securities) หรือบัญชี SNS นั้นนางธาริษากล่าวว่า ไม่พบกระแสการไหลเข้าออกที่ผิดปกติ จำนวนเงินเท่าเดิม แต่แยกประเภทการลงทุนในหุ้นไว้อีกในบัญชีหนึ่ง ขณะเดียวกันสามารถลงทุนในประเภทต่างๆ ได้ตามปกติ แต่หากเข้าข่ายประเภทการลงทุนดังกล่าวก็นำเงินเข้าในบัญชี SNS เท่านั้น
ทั้งนี้ บัญชี SNS เป็นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) ศูนย์การซื้อขายสัญญาล่วงหน้า (TFEX) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET)
เป็นคนเลว ในสายตาคนอื่น ดีกว่าโกหกตัวเอง ให้เทิดทูนบูชา ติดกับมายาคติ ที่กะลาครอบ