ปรีดิยาธรระบุมี1,337บริษัท ได้รับผลกระทบกม.ต่างด้าว-เป็นบจ.6ราย
10 มกราคม 2550 12:44 น.
หม่อมอุ๋ยแจงมีเพียง 1,337 บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายต่างด้าว เป็นบริษัทในตลาดหุ้น 6 บริษัท ระบุต้องการสร้างความชัดเจนให้กับธุรกิจต่างชาติในไทย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงความชัดเจนกรณีการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวว่ามีบริษัทที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 1,337 บริษัท โดยในจำนวนนี้เป็นบริษัทในตลาดหุ้นเพียง 6 บริษัท
ส่วนบริษัทใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ เช่น โตโยต้า นั้นไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพื่อสร้างความชัดเจนให้กับธุรกิจต่างชาติในไทย
ใครรู้มั่งครับมีอะไรบ้าง
มีแค่ 6 บริษัทจริงหรือ
- ply33
- Verified User
- โพสต์: 592
- ผู้ติดตาม: 0
มีแค่ 6 บริษัทจริงหรือ
โพสต์ที่ 2
เปิดโผหุ้นรับพิษ พ.ร.บ.ต่างด้าว
11 มกราคม 2550 08:11 น.
กลุ่มอสังหาฯ โดนหนัก พบ ไรมอนแลนด์-โกลเด้นแลนด์ ต่างชาติสิทธิออกเสียงเกิน 70%
เปิดโผหุ้นที่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.ต่างด้าวฉบับแก้ไข กลุ่มอสังหาริมทรัพย์หนัก โดยเฉพาะไรมอนแลนด์ และโกลเด้นแลนด์ ที่ต่างชาติมีสิทธิออกเสียงเกิน 70% ขณะที่ผู้บริหาร บจ.ต่างชาติ รอความชัดเจนก่อนตัดสินใจขายหุ้น "วิชิต" ยืนยันไทยพาณิชย์ ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีของกุหลาบแก้ว
นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ กล่าวฝ่ายวิจัยได้ประเมินหุ้นที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยเป็นบริษัทที่มีต่างชาติถือหุ้นเกินเพดาน ประกอบด้วย 16 บริษัท และในกลุ่มบริษัทดังกล่าวมี 10 บริษัทที่เกินทั้งเพดานการถือหุ้นกับสิทธิในการออกเสียง
ประกอบด้วยบริษัท อาปิโก ไฮเทค(AH)ต่างชาติถือหุ้น 49% สิทธิในการออกเสียงสูง ถึง 56% บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ต่างชาติถือหุ้น 48.7% สิทธิในการออกเสียง 52% บริษัท จรุงไทย ไวร์ แอนด์ เคเบิ้ล (CTW) ต่างชาติถือหุ้น 47.1% มีสิทธิในการออกเสียง 51% บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (GOLD) ถือหุ้น 49% มีสิทธิออกเสียง 73%
บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) มีต่างชาติถือหุ้น 37.5% สิทธิออกเสียง 51%บริษัท แอล.วี.เทคโนโลยี (LVT) ถือหุ้น 49% สิทธิออกเสียง 52%บริษัท ผาแดง อินดัสทรี (PDI) ถือหุ้น 49% สิทธิออกเสียง 59% บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง (PSL)ถือหุ้น 48.7% และสิทธิออกเสียง 53%บริษัท ไรมอนแลนด์(RAIMON) ถือหุ้น 49% มีสิทธิออกเสียง 77%บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) ต่างชาติถือหุ้น 49% สิทธิออกเสียง 57% บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (UCOM) ถือหุ้น 48.9% สิทธิออกเสียง 50%
นอกจากนั้นยังมี บริษัทในกลุ่มชิน คอร์ป ประกอบด้วยบริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บริษัท ไอทีวี (ITV) บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น (SHIN) ขณะเดียวกันนี้ ยังมีบริษัทที่ก่ำกึ่งที่ต่างชาติมีสิทธิออกเสียงได้เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ออกเสียงได้ ประกอบ บริษัท เคปเปล ไทย พร็อพเพอร์ตี้(KTP) จำนวนผู้ถือหุ้น 48.8% สิทธิออกเสียง 49.64% และบริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล(TICON) ผู้ถือหุ้น 49% สิทธิออกเสียง 49.42%
ส่วนการประเมินเบื้องต้นของ บล.กรุงศรีอยุธยา ระบุว่า ผลกระทบของร่างแก้ไข พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยใช้เกณฑ์ สัดส่วน Foreign Holding เกิน 50% และอยู่ในธุรกิจที่ห้ามบุคคลต่างด้าวทำตามบัญชี 1-3 ซึ่งพบว่าบริษัทที่เข้าข่ายมีผู้ถือหุ้นต่างด้าวเกิน 50% ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าข่ายบัญชี 1-3 เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ หรืออยู่ในธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะดูแลที่ได้รับการยกเว้น อาทิเช่น กลุ่มหลักทรัพย์ ส่วนกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่อยู่ในบัญชี 3 ไม่มีบริษัทใดที่มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวเกิน 50% ในการลดสัดส่วนการถือหุ้นและสิทธิในการออกเสียงให้ต่ำกว่า 50% เฉพาะบัญชี 1-2 ที่ไม่อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวประกอบกิจการด้านถือหุ้น
เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายบัญชี 1-2 มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวไม่เกิน 50% ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการยกร่างแก้ไขดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาด อย่างเป็นนัยสำคัญ ยกเว้นกลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะกรณีกุหลาบแก้วที่หากถูกตีความเป็นนอมินี จะส่งผลให้บริษัทในเครือ SHIN รวมถึง บริษัท ยูคอม มีความเสี่ยงเข้าข่ายบุคคลต่างด้าว แต่ต้องรอดูผลการตรวจสอบกรณีกุหลาบแก้วให้ชัดเจนเสร็จสิ้นก่อน
โดยหาก กุหลาบแก้ว เป็นนอมินี ก็จะส่งผลให้บริษัท ชิน กลายเป็นบริษัทต่างชาติ ที่มีผู้ถือหุ้นต่างด้าวกว่า 96.3% ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิออกเสียงก็จะมากกว่า 50% ตาม พ.ร.บ. ใหม่ด้วย ซึ่งจะส่งผลสะท้อนเป็นลูกโซ่ไปยังบริษัทในเครือ ให้กลายเป็นบริษัทต่างชาติ ส่วนหุ้นชินแซทเทลไลท์(SATTEL) และบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ(CSL) แม้สัดส่วนผู้ถือหุ้นจะไม่เกิน 50% แต่คาดว่าสิทธิในการออกเสียงมีแนวโน้มที่จะมากกว่าเกณฑ์ แต่หากผลการตรวจสอบ บ.กุหลาบแก้ว ปรากฏว่าไม่เป็นนอมินี จะทำให้บริษัทชิน คอร์ป และบริษัทในเครือ คงสภาพเป็นบริษัทสัญชาติไทย
ในกรณีที่ บริษัท ชิน เป็นบริษัทต่างชาติ มองว่าแนวทางแก้ไขหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ กลุ่มเทมาเส็ก ขายหุ้นชิน เพื่อลดสัดส่วนให้ไม่เกิน 50% ในเบื้องต้นเราคาดว่ากลุ่มเทมาเส็กต้องขายหุ้นกว่า 1,400 ล้านหุ้น หากเปรียบเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบันจะคิดเป็นมูลค่าประมาณ 32,900 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ปัญหานอมินีภายในโครงสร้างผู้ถือหุ้นของกลุ่มชินหมดไป อย่างไรก็ดีอาจมีปัญหาว่าจะมีนิติบุคคลหรือบุคคลสัญชาติไทยคนใดสนใจซื้อหุ้น SHIN ด้วยจำนวนเงินมหาศาลนี้ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลให้ต้องหาผู้ร่วมทุนมากกว่า 1 ราย รวมถึงอาจมีการขายหุ้นคืนให้นักลงทุนรายย่อย เพื่อเป็นการเพิ่ม Free Float จากปัจจุบันที่มีเพียง 3.7% ให้ไม่น้อยกว่า 15% ตามเกณฑ์ตลาด
11 มกราคม 2550 08:11 น.
กลุ่มอสังหาฯ โดนหนัก พบ ไรมอนแลนด์-โกลเด้นแลนด์ ต่างชาติสิทธิออกเสียงเกิน 70%
เปิดโผหุ้นที่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.ต่างด้าวฉบับแก้ไข กลุ่มอสังหาริมทรัพย์หนัก โดยเฉพาะไรมอนแลนด์ และโกลเด้นแลนด์ ที่ต่างชาติมีสิทธิออกเสียงเกิน 70% ขณะที่ผู้บริหาร บจ.ต่างชาติ รอความชัดเจนก่อนตัดสินใจขายหุ้น "วิชิต" ยืนยันไทยพาณิชย์ ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีของกุหลาบแก้ว
นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ กล่าวฝ่ายวิจัยได้ประเมินหุ้นที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยเป็นบริษัทที่มีต่างชาติถือหุ้นเกินเพดาน ประกอบด้วย 16 บริษัท และในกลุ่มบริษัทดังกล่าวมี 10 บริษัทที่เกินทั้งเพดานการถือหุ้นกับสิทธิในการออกเสียง
ประกอบด้วยบริษัท อาปิโก ไฮเทค(AH)ต่างชาติถือหุ้น 49% สิทธิในการออกเสียงสูง ถึง 56% บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) ต่างชาติถือหุ้น 48.7% สิทธิในการออกเสียง 52% บริษัท จรุงไทย ไวร์ แอนด์ เคเบิ้ล (CTW) ต่างชาติถือหุ้น 47.1% มีสิทธิในการออกเสียง 51% บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (GOLD) ถือหุ้น 49% มีสิทธิออกเสียง 73%
บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) มีต่างชาติถือหุ้น 37.5% สิทธิออกเสียง 51%บริษัท แอล.วี.เทคโนโลยี (LVT) ถือหุ้น 49% สิทธิออกเสียง 52%บริษัท ผาแดง อินดัสทรี (PDI) ถือหุ้น 49% สิทธิออกเสียง 59% บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง (PSL)ถือหุ้น 48.7% และสิทธิออกเสียง 53%บริษัท ไรมอนแลนด์(RAIMON) ถือหุ้น 49% มีสิทธิออกเสียง 77%บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) ต่างชาติถือหุ้น 49% สิทธิออกเสียง 57% บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (UCOM) ถือหุ้น 48.9% สิทธิออกเสียง 50%
นอกจากนั้นยังมี บริษัทในกลุ่มชิน คอร์ป ประกอบด้วยบริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บริษัท ไอทีวี (ITV) บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น (SHIN) ขณะเดียวกันนี้ ยังมีบริษัทที่ก่ำกึ่งที่ต่างชาติมีสิทธิออกเสียงได้เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ออกเสียงได้ ประกอบ บริษัท เคปเปล ไทย พร็อพเพอร์ตี้(KTP) จำนวนผู้ถือหุ้น 48.8% สิทธิออกเสียง 49.64% และบริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล(TICON) ผู้ถือหุ้น 49% สิทธิออกเสียง 49.42%
ส่วนการประเมินเบื้องต้นของ บล.กรุงศรีอยุธยา ระบุว่า ผลกระทบของร่างแก้ไข พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยใช้เกณฑ์ สัดส่วน Foreign Holding เกิน 50% และอยู่ในธุรกิจที่ห้ามบุคคลต่างด้าวทำตามบัญชี 1-3 ซึ่งพบว่าบริษัทที่เข้าข่ายมีผู้ถือหุ้นต่างด้าวเกิน 50% ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าข่ายบัญชี 1-3 เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ หรืออยู่ในธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะดูแลที่ได้รับการยกเว้น อาทิเช่น กลุ่มหลักทรัพย์ ส่วนกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่อยู่ในบัญชี 3 ไม่มีบริษัทใดที่มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวเกิน 50% ในการลดสัดส่วนการถือหุ้นและสิทธิในการออกเสียงให้ต่ำกว่า 50% เฉพาะบัญชี 1-2 ที่ไม่อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวประกอบกิจการด้านถือหุ้น
เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายบัญชี 1-2 มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวไม่เกิน 50% ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการยกร่างแก้ไขดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาด อย่างเป็นนัยสำคัญ ยกเว้นกลุ่มสื่อสาร โดยเฉพาะกรณีกุหลาบแก้วที่หากถูกตีความเป็นนอมินี จะส่งผลให้บริษัทในเครือ SHIN รวมถึง บริษัท ยูคอม มีความเสี่ยงเข้าข่ายบุคคลต่างด้าว แต่ต้องรอดูผลการตรวจสอบกรณีกุหลาบแก้วให้ชัดเจนเสร็จสิ้นก่อน
โดยหาก กุหลาบแก้ว เป็นนอมินี ก็จะส่งผลให้บริษัท ชิน กลายเป็นบริษัทต่างชาติ ที่มีผู้ถือหุ้นต่างด้าวกว่า 96.3% ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิออกเสียงก็จะมากกว่า 50% ตาม พ.ร.บ. ใหม่ด้วย ซึ่งจะส่งผลสะท้อนเป็นลูกโซ่ไปยังบริษัทในเครือ ให้กลายเป็นบริษัทต่างชาติ ส่วนหุ้นชินแซทเทลไลท์(SATTEL) และบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ(CSL) แม้สัดส่วนผู้ถือหุ้นจะไม่เกิน 50% แต่คาดว่าสิทธิในการออกเสียงมีแนวโน้มที่จะมากกว่าเกณฑ์ แต่หากผลการตรวจสอบ บ.กุหลาบแก้ว ปรากฏว่าไม่เป็นนอมินี จะทำให้บริษัทชิน คอร์ป และบริษัทในเครือ คงสภาพเป็นบริษัทสัญชาติไทย
ในกรณีที่ บริษัท ชิน เป็นบริษัทต่างชาติ มองว่าแนวทางแก้ไขหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ กลุ่มเทมาเส็ก ขายหุ้นชิน เพื่อลดสัดส่วนให้ไม่เกิน 50% ในเบื้องต้นเราคาดว่ากลุ่มเทมาเส็กต้องขายหุ้นกว่า 1,400 ล้านหุ้น หากเปรียบเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบันจะคิดเป็นมูลค่าประมาณ 32,900 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ปัญหานอมินีภายในโครงสร้างผู้ถือหุ้นของกลุ่มชินหมดไป อย่างไรก็ดีอาจมีปัญหาว่าจะมีนิติบุคคลหรือบุคคลสัญชาติไทยคนใดสนใจซื้อหุ้น SHIN ด้วยจำนวนเงินมหาศาลนี้ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลให้ต้องหาผู้ร่วมทุนมากกว่า 1 ราย รวมถึงอาจมีการขายหุ้นคืนให้นักลงทุนรายย่อย เพื่อเป็นการเพิ่ม Free Float จากปัจจุบันที่มีเพียง 3.7% ให้ไม่น้อยกว่า 15% ตามเกณฑ์ตลาด
0--- ฉลามเสือดาว ล่องลอยไปในทะเลกว้างใหญ่ ---0