คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน (ตอนที่ 1)
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ข่าวเศรษฐกิจการเงินที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในช่วงนี้ คงไม่พ้นเรื่องค่าเงินบาท ก็จะไม่ให้เป็นที่สนใจได้ยังไงละครับ เพราะค่าเงินบาทของเรา มันแข็งค่าขึ้นเร็วมาก จากที่เคยอยู่ที่ประมาณ 41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อต้นปี มาอยู่ที่ราวๆ 36.6 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน ผมลองกดเครื่องคิดเลขดู พบว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 12% และเมื่อผมลองเปรียบเทียบการแข็งค่าของเงินบาทกับค่าเงินสกุลสำคัญอื่นๆ ก็ปรากฏว่า ค่าเงินบาทของเราแข็งค่ามากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ เกือบทั้งหมด หลายๆ คน ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวกับค่าเงิน คงไม่ได้สนใจอะไรมากนัก เพราะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่คนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับส่งออกนำเข้า หรือคนที่มีรายได้รายจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ จะได้รับผลกระทบเต็มๆ ทีเดียว เช่น ผู้นำเข้าที่ต้องจ่ายชำระค่าสินค้าเป็นดอลลาร์สหรัฐ คงจะยิ้มอยู่ในใจ เพราะต้นทุนที่เคยจ่ายสินค้านำเข้าเมื่อแปลงเป็นเงินบาทถูกลงไป 12% จากที่เคยต้องนำเงินบาท 41 ล้านบาทไป จ่ายค่าสินค้า 1 ล้านดอลลาร์ ตอนนี้ใช้เงินแค่ 36.6 ล้านบาทก็พอแล้ว
ในทางตรงกันข้าม ผู้ส่งออกน่าจะเดินคอตกไปตามๆ กัน เพราะเคยส่งออก 1 ล้านดอลลาร์ แปลงเป็นเงินบาทแล้วได้เงิน 41 ล้านบาท ตอนนี้มาแปลงเป็นบาท ได้เงินแค่ 36.6 ล้านบาท รายได้หายไปเฉยๆ ตั้ง 4.4 ล้านบาท ผู้ส่งออกบางรายที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันก็ยังพอที่จะขอต่อรองขึ้นราคาสินค้าที่คิดเป็นเงินดอลลาร์ให้สูงขึ้นได้บ้าง แต่บางรายที่มีอำนาจต่อรองต่ำ ก็ต้องทำใจยอมรับรายได้ที่หดหายไป และบางรายอาจถึงกับขาดทุนต้องปิดกิจการไป
หลายๆ ท่าน ที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาททั้งโดยตรงและโดยอ้อม คงจะเริ่มตั้งคำถามกันมากมาย เช่น ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะอะไร แนวโน้มค่าเงินบาทจะเป็นอย่างไร แบงก์ชาติควรเข้ามาดูแลค่าเงินหรือไม่อย่างไร และที่สำคัญ เราจะเตรียมตัวรองรับความผันผวนของค่าเงินในอนาคตอย่างไร ผมจึงตั้งใจเขียน "คู่มือการวิเคราะห์ค่าเงินบาทฉบับชาวบ้าน" นี้ขึ้น โดยจะพยายามใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายๆ มาอธิบายเรื่องค่าเงิน เพื่อให้ชาวบ้านทั้งหลายสามารถวิเคราะห์ค่าเงินบาทได้เอง และจะสามารถเตรียมตัวรองรับกับความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน ในตอนแรกนี้ จะเริ่มจากพื้นฐานง่ายๆ ก่อนว่า อะไรเป็นปัจจัยกำหนดค่าเงินบาท คำตอบแบบกำปั้นทุบดินของนักเศรษฐศาสตร์ที่รับรองว่าไม่มีผิดแน่ๆ ก็คือ ขึ้นกับ Demand และ Supply ของเงินบาท กล่าวคือ เมื่อไรก็ตาม ที่ความต้องการซื้อเงินบาท (Demand) มากกว่า ความต้องการขายเงินบาท (Supply) ค่าเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้น ในทางตรงกันข้าม เมื่อไรก็ตาม ที่ความต้องการเงินบาทน้อยกว่าความต้องการขายเงินบาท ค่าเงินบาทก็จะอ่อนลง
หากท่านเอาหลักพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ง่ายๆ นี้มาวิเคราะห์ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ท่านก็จะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก็เป็นเพราะมีคนต้องการซื้อเงินบาทมากกว่าคนที่ต้องการขายเงินบาทนั่นเอง คราวนี้ลองมาวิเคราะห์ดูซิครับใครละอยากมาซื้อเงินบาทและใครละอยากมาขายเงินบาท เพื่อให้การวิเคราะห์ง่ายขึ้น ผมจะขอแบ่งผู้ซื้อผู้ขายเงินบาทออกเป็น 2 ตลาด ได้แก่ ตลาดที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ และตลาดที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายสินทรัพย์ระหว่างประเทศ เช่น ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และตลาดเงิน
ในตลาดสินค้าและบริการระหว่างประเทศ นั้น คนที่ต้องการซื้อเงินบาทในตลาดนี้ ก็คือ ต่างชาติที่ต้องการซื้อเงินบาท เพื่อมาซื้อสินค้าและบริการของไทย ส่วนคนที่ต้องการขายเงินบาท ก็คือคนไทยที่ต้องการซื้อสินค้าและบริการของต่างชาติ
และผมได้ลองไปเปิด ดูบัญชีดุลบัญชีเดินสะพัด (Current account) ของไทย ซึ่งเป็นบัญชีที่บันทึกธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับตลาดนี้ เช่น การส่งออก การนำเข้า และการท่องเที่ยว เป็นต้น จะพบว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเราส่งออกสินค้า และบริการ มากกว่านำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ เป็นจำนวนสูงถึง 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็หมายความว่า ในตลาดนี้มีความต้องการซื้อเงินบาทมากกว่าขายเงินบาท
ในตลาดสินทรัพย์ระหว่างประเทศ นั้น คนที่ต้องการซื้อเงินบาท ก็คือ ต่างชาติที่ต้องการมาซื้อสินทรัพย์ไทย หุ้นไทย พันธบัตรไทย หรือมาฝากเงินและปล่อยกู้ในไทยนั่นเอง ส่วนคนที่ขายเงินบาท ก็คือ คนไทยที่ต้องการไปซื้อตราสารดังกล่าวในต่างประเทศ หรือต่างชาติที่มาลงทุนในไทยแล้วต้องการขนเงินกลับบ้าน
และผมก็ได้ไปเปิดดู ดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital account) ซึ่งเป็นบัญชีที่บันทึกธุรกรรม เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศของไทย ก็พบว่า ตั้งแต่ต้นปี มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาซื้อบริษัทไทย หุ้นไทย พันธบัตรไทย มากกว่าเงินทุนไหลออกไปลงทุนในต่างประเทศ เป็นจำนวนอีกประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็หมายถึงในตลาดนี้ก็มีความต้องการซื้อเงินบาทสุทธิเช่นกัน
ดังนั้น เมื่อรวมทั้ง 2 ตลาดเข้าด้วยกัน ก็จะพบว่าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีความต้องการซื้อสินค้า บริการ และสินทรัพย์ของไทย มากกว่า ความต้องการซื้อสินค้า บริการ และสินทรัพย์ต่างประเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ มีความต้องการซื้อเงินบาท มากกว่าความต้องการขายเงินบาท ดังนั้น ตามกฎของ Demand และ Supply ที่ได้กล่าวมาแล้ว ค่าเงินบาทจึงน่าจะแข็งค่าขึ้น
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเท่าไรนั้น ยังไม่ได้จบเพียงเท่านี้ เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่สามารถกระทบค่าเงินบาทได้ด้วย เช่น นโยบายการเงินและการแทรกแซงค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศ ซึ่งผมจะกล่าวถึงในตอนต่อไปในฉบับหน้าครับ
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 1
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 2
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน (ตอนที่ 2)
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549
วันนี้ ผมจะขอวิเคราะห์ค่าเงินบาทแบบชาวบ้านๆ เป็นตอนที่ 2 ต่อจากเมื่อสองสัปดาห์ก่อนนะครับ ขณะที่ผมเริ่มลงมือเขียนคอลัมน์มุมเอกในฉบับนี้ ผมได้พลิกกลับไปอ่านคอลัมน์ฉบับก่อนว่าเขียนไว้อย่างไร จะได้เขียนให้ต่อเนื่องกันหน่อย ถึงกับตกใจเลยครับว่า เวลาผ่านไปแค่ 2 อาทิตย์เท่านั้น ค่าเงินบาทเราแข็งขึ้นจากประมาณ 36 บาทกว่าๆ มาเป็น 35 บาทกว่าๆ ต่อดอลลาร์สหรัฐ นี่ถ้าผมขายเงินดอลลาร์ที่ฝากไว้ตอนทำงานอยู่ต่างประเทศ เมื่อสองอาทิตย์ก่อน คงได้กำไรฟรีๆ ไปแล้วเกือบ 3% ดีกว่าฝากเงินออมทรัพย์ไว้ในธนาคารตั้งเยอะ
คราวนี้ลองนำคู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาทเมื่อฉบับก่อน เรื่อง "ปัจจัยกำหนดค่าเงินบาท" มาวิเคราะห์ดูซิครับว่าทำไมค่าเงินบาทถึงแข็งค่าขึ้นเร็วนักในช่วง 2 อาทิตย์นี้ (จะได้ถือเป็นการทบทวนไปด้วยในตัว) ผมพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากในช่วงนี้ มาจากการที่ต่างชาติเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะพันธบัตรและตราสารหนี้ไทยจำนวนมาก และนี่ก็คือเหตุผลที่ทำไมราคาพันธบัตรไทยจึงปรับสูงขึ้น และทำไมผลตอบแทน Yield ของตราสารหนี้ในระยะต่างๆ จึงปรับลดลงเร็วมากเช่นกัน
ท่านทั้งหลายที่อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า ทำไมพันธบัตรไทยเราถึงเนื้อหอมนัก มีอะไรดีหรือไง ฝรั่งถึงมาซื้อเอาๆ ในตอนนี้ คำตอบก็คือ ต่างชาติเขาเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรไทย อยู่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ของเกือบทุกประเทศในภูมิภาค (ดูตารางผลตอบแทนพันธบัตรที่แนบ) ยกเว้นเพียงประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ซึ่งมีปัญหาเงินเฟ้อสูงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค และต่างชาติก็เริ่มคาดการณ์ด้วยว่าอัตราดอกเบี้ยของไทย น่าจะปรับตัวลดลงเร็วๆ นี้ ตามอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง
ท่านลองสมมติตัวเองเป็นนักลงทุนต่างชาติดูแล้วกันนะครับว่า หากเมื่อเดือนก่อนท่านซื้อพันธบัตรระยะ 10 ปีที่มีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่เกือบ 5% ในราคา 100 บาท แต่วันนี้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดปรับลดลงมาอยู่ที่ 4.8% พันธบัตรที่ท่านถืออยู่นี้ก็จะหอมกรุ่นและมีค่าขึ้นมาทันที มีแต่คนมาอยากซื้อพันธบัตรต่อจากท่านในราคาที่สูงกว่าต้นทุนที่ท่านซื้อมา ดังนั้น หากท่านตัดสินใจขายพันธบัตรดังกล่าว ท่านก็จะได้กำไรจากส่วนต่างของราคาทันที อีกทั้งท่านยังโชคดีได้กำไรอีก 1 เด้ง จากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นด้วย
คราวนี้มาลองดูต่อซิครับว่า ถ้าแบงก์ชาติไม่ต้องการให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะทำอะไรได้บ้าง วิธีแรกก็คือ มาตรการที่เพิ่งประกาศไปเมื่อเร็วๆ นี้ที่จะควบคุมธุรกรรมเงินบาทของต่างชาติที่เข้ามาเก็งกำไร ซื้อขายในตราสารหนึ้ระยะสั้นต่างๆ ซึ่งผมคิดว่าก็คงจะช่วยได้บ้าง แต่คงไม่มากเท่าไหร่เพราะว่ายังเกาไม่ถูกที่คัน วิธีที่สองก็คือ การผ่อนคลายให้ผู้ที่มีรายได้เงินตราต่างประเทศ(ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ส่งออก) ให้มีสิทธิในการถือครองเงินตราต่างประเทศนานขึ้นจาก 7 วัน เป็น 15 วัน ซึ่งผมก็คิดว่าวิธีนี้ก็คงช่วยได้บ้างเล็กน้อย แต่คงไม่มากนัก เพราะผู้ส่งออกที่ไหนหล่ะครับที่อยากจะถือเงินดอลลาร์ไว้นานขึ้นอีก 7-8 วัน ทั้งๆ ที่รู้ว่าค่าเงินบาทอาจจะแข็งต่อไปอีกได้ วิธีที่สามก็คือ ออกมาตรการให้นักลงทุนไทย เคลื่อนย้ายเงินทุนไปลงทุนต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งผมคิดว่ามาตรการนี้เป็นมาตรการที่ดีในระยะยาวนะครับ เพราะนักลงทุนไทยจะได้มีโอกาสบริหารความเสี่ยงจากตราสารต่างประเทศได้มากขึ้น แต่ในระยะสั้นนี้ ผมว่าคงไม่ค่อยมีนักลงทุนที่อยากไปลงทุนต่างประเทศมากเท่าไหร่ เพราะอาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงแทนที่จะลดความเสี่ยงก็ได้
อีกวิธีที่แบงก์ชาตินิยมใช้เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินมาโดยตลอด ก็คือ การแทรกแซงตลาดโดยการเข้าซื้อดอลลาร์ โดยพิมพ์เงินบาทออกมาแลก แต่วิธีการนี้ไม่ไช่ทำได้ฟรีๆ นะครับ เพราะแบงก์ชาติมีต้นทุนที่จะต้องออกพันธบัตร ไปดูดซับสภาพคล่องที่ตัวเองพิมพ์เงินบาทออกมา มิฉะนั้นสภาพคล่องก็จะล้นระบบและทำให้เกิดเงินเฟ้อได้ ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรไปดูดซับสภาพคล่องค่อนข้างมาก (ราวๆ 7 แสนล้านบาท) หากท่านลองคูณอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่ธปท.ต้องจ่ายเป็นค่าดูดซับสภาพคล่องซึ่งมีต้นทุนใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ย RP 14วัน ที่ประมาณ 5% ก็จะพบว่าแบงก์ชาติมีต้นทุนในส่วนนี้ตกประมาณปีละ 3.5 หมื่นล้านบาท อ้าว! แล้วใครหล่ะครับที่ได้ประโยชน์ คำตอบก็คือ สถาบันการเงินทั้งหลายที่มีสภาพคล่องล้นระบบ เพราะสถาบันการเงินเหล่านี้มีต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝาก จ่ายแค่ประมาณ 2-3% แต่มาลงทุนซื้อพันธบัตรแบงก์ชาติ เพื่อรับดอกเบี้ยสบายๆ 5% แถมยังไม่ต้องเหนื่อยแรง ต้องคอยเร่งหาลูกค้าเพื่อปล่อยสินเชื่ออีกด้วย
สุดท้ายนี้ ผมเห็นว่าวิธีที่จะเกาให้ถูกที่คันที่สุดในเวลานี้ ก็คือ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย RP 14วันลง นักเก็งกำไรต่างชาติเขาจะได้หมดโอกาสในการเก็งกำไรจากดอกเบี้ยซะที แบงก์ชาติเอง ก็จะได้ลดต้นทุนในการแทรกแซงค่าเงิน และการดูดซับสภาพคล่องด้วย นอกจากนั้น ผมยังเห็นว่าสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ที่ความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อลดลงไปมาก อีกทั้งข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งของแบงก์ชาติเองก็ออกมาในทิศทางเดียวกันว่าการใช้จ่ายภายในประเทศชะลอตัวลงมาก ดังนั้น จะมีประโยชน์อะไรครับที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงในระดับนี้ต่อไป
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 3
พี่บี เขียน:ท่านลองสมมติตัวเองเป็นนักลงทุนต่างชาติดูแล้วกันนะครับว่า หากเมื่อเดือนก่อนท่านซื้อพันธบัตรระยะ 10 ปีที่มีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่เกือบ 5% ในราคา 100 บาท แต่วันนี้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดปรับลดลงมาอยู่ที่ 4.8% พันธบัตรที่ท่านถืออยู่นี้ก็จะหอมกรุ่นและมีค่าขึ้นมาทันที มีแต่คนมาอยากซื้อพันธบัตรต่อจากท่านในราคาที่สูงกว่าต้นทุนที่ท่านซื้อมา ดังนั้น หากท่านตัดสินใจขายพันธบัตรดังกล่าว ท่านก็จะได้กำไรจากส่วนต่างของราคาทันที อีกทั้งท่านยังโชคดีได้กำไรอีก 1 เด้ง จากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นด้วย
8) ตรงนี้ไม่ค่อยget เลยครับ
ท่านผู้รู้อธิบายเพิ่มเติมหน่อยครับ
โอเค ตอนลดดอกเบี้ยนะ พันธบัตรที่ตัวถืออยู่ต้องมีค่าเพิ่มแน่
แต่คนที่เอาดอลลาร์(ตอนที่38บาท)
มาซื้อพันธบัตรเก็บไว้ก่อนแล้วที่ดอกเบี้ย5%
จะได้อีกหนึ่งเด้งจากค่าเงินที่แข็งขึ้น(35บาท)ได้อย่างไร
ไม่เข้าใจ จริงๆครับ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 478
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 8
มันมีส่วนต่างอยู่นิดเดียวครับ
สมมติที่ค่าเงิน38 ต้องเอาเงิน$2.63มาแลกได้100บาท
พอค่าเงินเปลี่ยนเป็น35 เงิน100บาทแลกคืนได้$2.85ครับ
ส่วนต่าง$0.22ครับ ถ้าปริมาณเงินเยอะๆน่าจะได้กำไรจากส่วนนี้ได้ดีนะครับ
สมมติที่ค่าเงิน38 ต้องเอาเงิน$2.63มาแลกได้100บาท
พอค่าเงินเปลี่ยนเป็น35 เงิน100บาทแลกคืนได้$2.85ครับ
ส่วนต่าง$0.22ครับ ถ้าปริมาณเงินเยอะๆน่าจะได้กำไรจากส่วนนี้ได้ดีนะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 9
โค้ด: เลือกทั้งหมด
พี่บี wrote:
ท่านลองสมมติตัวเองเป็นนักลงทุนต่างชาติดูแล้วกันนะครับว่า หากเมื่อเดือนก่อนท่านซื้อพันธบัตรระยะ 10 ปีที่มีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่เกือบ 5% ในราคา 100 บาท แต่วันนี้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดปรับลดลงมาอยู่ที่ 4.8% พันธบัตรที่ท่านถืออยู่นี้ก็จะหอมกรุ่นและมีค่าขึ้นมาทันที มีแต่คนมาอยากซื้อพันธบัตรต่อจากท่านในราคาที่สูงกว่าต้นทุนที่ท่านซื้อมา ดังนั้น หากท่านตัดสินใจขายพันธบัตรดังกล่าว ท่านก็จะได้กำไรจากส่วนต่างของราคาทันที อีกทั้งท่านยังโชคดีได้กำไรอีก 1 เด้ง จากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นด้วย
ตรงนี้ไม่ค่อยget เลยครับ
ท่านผู้รู้อธิบายเพิ่มเติมหน่อยครับ
โอเค ตอนลดดอกเบี้ยนะ พันธบัตรที่ตัวถืออยู่ต้องมีค่าเพิ่มแน่
แต่คนที่เอาดอลลาร์(ตอนที่38บาท)
มาซื้อพันธบัตรเก็บไว้ก่อนแล้วที่ดอกเบี้ย5%
จะได้อีกหนึ่งเด้งจากค่าเงินที่แข็งขึ้น(35บาท)ได้อย่างไร
ไม่เข้าใจ จริงๆครับ
_________________
ได้เงินบาท แต่เงินบาท แข็งค่าขึ้น ก็ได้กำไรเพิ่มอีกต่อหนึ่ง
พี่พอใจไม่เข้าใจเรื่องอะไรเหรอครับ
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 10
8) อือม ละเอียดดีครับplamuek76 เขียน:มันมีส่วนต่างอยู่นิดเดียวครับ
สมมติที่ค่าเงิน38 ต้องเอาเงิน$2.63มาแลกได้100บาท
พอค่าเงินเปลี่ยนเป็น35 เงิน100บาทแลกคืนได้$2.85ครับ
ส่วนต่าง$0.22ครับ ถ้าปริมาณเงินเยอะๆน่าจะได้กำไรจากส่วนนี้ได้ดีนะครับ
พอเข้าใจแล้วครับ
jeng เขียน:ตัวที่ถืออยู่ต้องมีค่าเพิ่งขึ้นแน่ เมื่อขายไปก็ได้กำไร
ได้เงินบาท แต่เงินบาท แข็งค่าขึ้น ก็ได้กำไรเพิ่มอีกต่อหนึ่ง
พี่พอใจไม่เข้าใจเรื่องอะไรเหรอครับ
8) คนเราก็เก่งเรื่อง อ่อนเรื่อง
ผมไม่ได้ไปลองภูมิพี่ปลาหมึกเขานะครับ
ไม่รู้ก็ต้องถาม ไม่ถามก็ต้องโง่ต่อไป
เดี๋ยวลูกเต้ามาถามตอบไม่ได้
เสียดายไปต่อยอดมันไม่ได้ครับ...
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 209
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณทุกท่านครับ เป็นวิทยาทานครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 12
Deja Vu การเก็งกำไรและต่อสู้ป้องกันค่าเงินบาท
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ท่านผู้อ่านที่เห็นชื่อคอลัมน์มุมเอกวันนี้ อย่าเพิ่งนึกว่าผมกำลังจะเขียนเกี่ยวกับหนังดังในช่วงนี้เรื่อง "Deja Vu" ที่คอหนังทั้งหลาย แปลเป็นไทยว่า "เดจา วู ภารกิจเดือด ล่าทะลุเวลา" นะครับ แต่เรื่องที่ผมจะเขียนวันนี้ เป็นภารกิจเดือดไม่แพ้กัน แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเก็งกำไรและการสู้กับค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา
"Deja Vu (อ่านว่า เดจา วู) เป็นความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่หลายๆ คน อาจจะเคยเจอ เมื่อท่านรู้สึกคุ้นๆ เหมือนกับว่าเคยประสบกับเหตุการณ์นั้นมาก่อน แต่ก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกันว่า เคยเจอเหตุการณ์นี้เมื่อไร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และมักจะทำให้รู้สึกประหลาดใจกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น"
เมื่ออาทิตย์ก่อน ผมเกิดความรู้สึก Deja Vu ขึ้นมาทันที ที่ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการป้องกัน การเก็งกำไรค่าเงินบาท ด้วยการควบคุมเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น ทำให้ตลาดเงินตลาดทุน ตื่นตระหนก ตลาดหุ้นติดลบไปกว่า 100 จุด แถมยังส่งผลให้ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านพลอยติดลบและปั่นป่วนตามไปด้วย สื่อการเงินต่างพาดหัวข่าว และเกาะติดสถานการณ์การเงินไทยอย่างใกล้ชิด ซึ่งผมเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เหตุการณ์ตรงจุดไหนกันแน่ที่ทำให้ผมรู้สึก "เดจา วู" แต่เท่าที่คุ้นๆ ก็น่าจะเป็นเหตุการณ์ตอนที่เราถูกเก็งกำไรค่าเงินบาท ในช่วงปี 2540
ผมเลยมานั่งทบทวนเหตุการณ์ว่า การเก็งกำไรค่าเงินบาทและการที่แบงก์ชาติออกมาต่อสู้กับนักเก็งกำไรในปี 2549 นี้ เหมือนหรือต่างกับเมื่อปี 2540 อย่างไร
สิ่งที่เหมือนกันแน่ๆ ก็คือ เราถูกเก็งกำไรค่าเงินบาท แต่สิ่งที่ต่างกัน ก็คือ เป็นการเก็งกำไรคนละด้าน กล่าวคือ ในช่วงปี 2540 เราถูกเก็งกำไรให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง แต่แบงก์ชาติต่อสู้ปกป้องค่าเงินไม่ให้อ่อนลง เพื่อรักษาระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ และในที่สุดเราก็แพ้ ต้องยอมลอยตัวปล่อยให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวในเดือนกรกฎาคมปี 2540 แต่ในปี 2549 นี้ เราถูกเก็งกำไรให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น แบงก์ชาติเลยพยายามออกมาตรการมาสกัดการเก็งกำไรต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจไทยตอนที่ถูกเก็งกำไรครั้งก่อนต่างกับปัจจุบันมาก โดยในช่วงก่อนเกิดวิกฤติปี 2540 ประเทศเราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยขาดดุลมากและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้ายก็ขาดดุล เพราะต่างชาติไม่อยากถือสินทรัพย์ไทย เพราะกลัวจะขาดทุนหากค่าเงินบาทอ่อนลง
ดังนั้น พื้นฐานเศรษฐกิจไทยในช่วงนั้น จึงบ่งชี้ว่าค่าเงินบาทน่าจะอ่อนลง แต่การที่แบงก์ชาติกำหนดค่าเงินบาทให้คงที่ไว้ที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ และฝืนตลาดไม่ยอมปรับค่าเงินให้อ่อนลง นักเก็งกำไรค่าเงินจึงเริ่มเห็นช่องทางเก็งกำไรกับแบงก์ชาติ โดยการขายเงินบาทซื้อดอลลาร์ เพื่อกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลง และถ้าแบงก์ชาติไม่ยอมให้ค่าเงินอ่อน ก็ต้องทำตรงกันข้ามโดยการซื้อบาทแล้วขายดอลลาร์ที่มีอยู่ในทุนสำรอง ผลก็คือ เราขายจนทุนสำรองหมดคลังหลวง และสุดท้าย ก็ต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัว เสียหายกันยับเยิน ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
สำหรับสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจไทยในตอนนี้ตรงข้ามกับอดีตอย่างสิ้นเชิง เพราะปัจจุบันนี้ เราก็ไม่ได้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ แต่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ นอกจากนั้น ดุลบัญชีเดินสะพัดในปัจจุบันก็เกินดุลค่อนข้างมาก จากการส่งออกที่ดีมากแต่นำเข้าน้อย ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย ก็เกินดุล เพราะต่างชาติไม่อยากถือสินทรัพย์ในรูปดอลลาร์ ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเรื่อยๆ ก็เลยหันมาลงทุนถือสินทรัพย์ในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยมากขึ้น (เพราะจะได้กำไรจากการถือสินทรัพย์ ที่ค่าเงินแข็งค่าขึ้น) ดังนั้น ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ในปัจจุบันที่ทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้ายเกินดุล จึงบ่งชี้ว่าค่าเงินบาทในปัจจุบันน่าจะแข็งค่าขึ้น
ถึงแม้ว่าเราจะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวอย่างมีการจัดการ แต่พฤติกรรมของแบงก์ชาติก็บ่งชี้ว่า แบงก์ชาติไทยเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งขึ้นมาโดยตลอด โดยแทรกแซงค่าเงินบาท ในทิศทางตรงกันข้าม กับที่เคยทำในอดีต เช่น ซื้อเงินดอลลาร์ (มาใส่ทุนสำรอง) แล้วขายเงินบาทออกมาเพื่อให้ค่าเงินบาทอ่อนลง นี่คือที่มาว่าทำไมทุนสำรองระหว่างประเทศถึงเพิ่มขึ้นจาก 5 หมื่นล้านเมื่อสิ้นปีก่อน มาเป็น 6.4 หมื่นล้านในปัจจุบัน (นี่ยังไม่นับรวมที่ทำ swap ไว้ล่วงหน้าอีก 5-6 พันล้านนะครับ)
แต่การซื้อดอลลาร์ขายเงินบาทนี้ ไม่ใช่จะทำได้ฟรีๆ นะครับ เพราะแบงก์ชาติจะต้องออกพันธบัตร ไปดูดซับเงินบาท ที่ตัวเองปล่อยออกมา ด้วยต้นทุนที่สูงพอๆ กับอัตราดอกเบี้ยนโยบายประมาณ 5% (ซึ่งแบงก์ชาติค้านหัวชนฝา ไม่ยอมลดดอกเบี้ยมาโดยตลอด) ตรงนี้แหละครับที่นักเก็งกำไรเขามองเห็นว่า แบงก์ชาติไม่สามารถ เข้าแทรกแซงเงินบาทได้ตลอด เพราะถ้าแบงก์ชาติยังดึงดันแทรกแซงค่าเงินต่อไป ก็จะมีต้นทุนสูงขึ้น และขาดทุนไปเรื่อยๆ
ดังนั้น ถ้าผมเป็นนักเก็งกำไรต่างชาติ ผมก็จะเลือกเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร เพราะมีโอกาสได้กำไรทั้ง 2 ด้าน ถ้าแบงก์ชาติเลือกลดดอกเบี้ย ผมก็จะได้กำไรจากราคาพันธบัตรที่สูงขึ้น (เพราะราคาพันธบัตรจะผันผวน ตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น) แต่ถ้าแบงก์ชาติเลือกปล่อยให้ค่าเงินแข็ง ผมก็จะได้กำไรจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น นี่คือที่มาที่ทำไมนักเก็งกำไรถึงได้เข้าไปเก็งกำไรในตลาดพันธบัตรในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างมาก
แต่สุดท้าย แบงก์ชาติก็เลือกวิธีที่ผมคิดว่าเกาไม่ถูกที่คัน โดยออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยบังคับให้ต่างชาติ ที่จะนำเงินมาลงทุนในไทยต้องกันเงินสำรองไว้ที่แบงก์ชาติ 30% และไปลงทุนได้ 70% และถ้าลงทุนเกิน 1 ปีค่อยมาเอาเงินคืน แต่ถ้าลงทุนไม่เกิน 1 ปี ก็จะถูกริบเงินที่กันไว้ 10% ผลสุดท้ายก็คือ มาตรการดังกล่าวได้สร้างความปั่นป่วนในตลาดเงินตลาดทุน ไม่ต่างกับตอนปี 2540 เลยครับ
ที่ผมเล่ามาทั้งหมด ผมก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกันว่า เหตุการณ์เก็งกำไรค่าเงินบาทในปี 2540 ช่วงไหน และเมื่อไรที่เหมือนกับเหตุการณ์เก็งกำไรในช่วงปี 2549 นี้ เท่าที่รู้ก็คือ มันเป็นความรู้สึกคุ้นๆ ว่า การฝืนตลาด และการเกาไม่ถูกที่คันจะนำมาสู่ความสูญเสีย นี่แหละครับ คือ ความรู้สึกที่ผมเรียกว่า Deja Vu
-
- Verified User
- โพสต์: 942
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 13
ด้วยความรู้เท่าหางอึ่งของผม
ทำไมไม่ลดดอกเบี้ย หรือไม่ก็ออกพันธบัตรใหม่ๆ
สกุลเงินไทยแท้ๆ ออกมาอีกมากๆ
ดอกเบี้ยให้เหมาะสม ต่ำๆ หน่อย กดได้
เพราะบักสีดาอยากได้มากนักใช่ไหม
(เงินเหลือเยอะ หนีตายมา???) มารับไป
แล้วแบงค์ชาติก็เอาตังค์พันธบัตรสร้างระบบชลประทานทั่วประเทศ
วางระบบรถไฟ ถนน เหลือๆ แล้วค่อยสร้างรถไฟฟ้าสัก 10 สายก็ได้
เกรงพี่ทักรับประทานเยอะ ตอนนี้ก็ทำเองสิครับ
(กาหัวหมาได้เลย มีรับประทานทุกรัฐบาล)
ขอระบบชลประทานทั่วประเทศ + ปลูกป่าเยอะๆ ก่อนเลย
น้ำเยอะปีนี้ อีกปี 2 ปี ได้กลับมาเจอภาวะแล้งหนักแน่ๆ
ช่วยเหลือเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศก่อน
เกรงว่าจะเอาไปซื้ออาวุธสงครามหมดก่อน
เพราะรัฐจากทหาร ย่อมมีกรอบความคิดว่า
ต้องป้องกันความมั่นคงก่อน (ของใคร)
เป็น priority ลำดับต้นๆ
ส่วนเรื่องอื่นๆ ค่อยว่ากันทีหลัง
ทำไมไม่ลดดอกเบี้ย หรือไม่ก็ออกพันธบัตรใหม่ๆ
สกุลเงินไทยแท้ๆ ออกมาอีกมากๆ
ดอกเบี้ยให้เหมาะสม ต่ำๆ หน่อย กดได้
เพราะบักสีดาอยากได้มากนักใช่ไหม
(เงินเหลือเยอะ หนีตายมา???) มารับไป
แล้วแบงค์ชาติก็เอาตังค์พันธบัตรสร้างระบบชลประทานทั่วประเทศ
วางระบบรถไฟ ถนน เหลือๆ แล้วค่อยสร้างรถไฟฟ้าสัก 10 สายก็ได้
เกรงพี่ทักรับประทานเยอะ ตอนนี้ก็ทำเองสิครับ
(กาหัวหมาได้เลย มีรับประทานทุกรัฐบาล)
ขอระบบชลประทานทั่วประเทศ + ปลูกป่าเยอะๆ ก่อนเลย
น้ำเยอะปีนี้ อีกปี 2 ปี ได้กลับมาเจอภาวะแล้งหนักแน่ๆ
ช่วยเหลือเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศก่อน
เกรงว่าจะเอาไปซื้ออาวุธสงครามหมดก่อน
เพราะรัฐจากทหาร ย่อมมีกรอบความคิดว่า
ต้องป้องกันความมั่นคงก่อน (ของใคร)
เป็น priority ลำดับต้นๆ
ส่วนเรื่องอื่นๆ ค่อยว่ากันทีหลัง
-
- Verified User
- โพสต์: 942
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 14
อีกเรื่องคือ การถือครองเงินดอลลาร์
แบงค์ชาติเราจะไม่เปลี่ยนการถือครองเงินดอลลาร์มากๆ
ไปเป็นเงินสกุลอื่นๆ บ้างหรือครับ
เปลี่ยนไปแล้วหรือยัง?
เปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน?
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 97972.html
อันนี้แนะนำไปซื้อลิเวอร์พูลด้วย อิอิ
แบงค์ชาติเราจะไม่เปลี่ยนการถือครองเงินดอลลาร์มากๆ
ไปเป็นเงินสกุลอื่นๆ บ้างหรือครับ
เปลี่ยนไปแล้วหรือยัง?
เปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน?
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 97972.html
อันนี้แนะนำไปซื้อลิเวอร์พูลด้วย อิอิ
-
- Verified User
- โพสต์: 942
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 15
ไม่มี edit เพิ่มเรื่องออกพันธบัตรมากๆ
เกรงจะไม่มีเงินบาทมาแลกดอลล่าร์
ก็พิมพ์แบงค์เองแบบเมกาเลยดีไหมพี่น้อง
เอาแค่เอาตังค์ดอลล่าร์ที่ได้มา
ไปซื้อเงินสกุลอื่นๆ เก็บไว้ป้องกันความเสี่ยง
(ทำแบบบักสีดานั่นแหละ เลือกที่บักสีดาไปเยอะๆ นั่นแหละ)
คงเจ๊งน้อยกว่าไป forward เงินบาทตรงๆ กับดอลมั้ง
ผมรู้น้อย เสนอแบบโง่ๆ ครับ
เกรงจะไม่มีเงินบาทมาแลกดอลล่าร์
ก็พิมพ์แบงค์เองแบบเมกาเลยดีไหมพี่น้อง
เอาแค่เอาตังค์ดอลล่าร์ที่ได้มา
ไปซื้อเงินสกุลอื่นๆ เก็บไว้ป้องกันความเสี่ยง
(ทำแบบบักสีดานั่นแหละ เลือกที่บักสีดาไปเยอะๆ นั่นแหละ)
คงเจ๊งน้อยกว่าไป forward เงินบาทตรงๆ กับดอลมั้ง
ผมรู้น้อย เสนอแบบโง่ๆ ครับ
- Muffin
- Verified User
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 16
ด้วยความรู้ระดับ___มดของผม ผมเห็นด้วยกับการเอาเงินที่ไหลเข้ามามาลงทุน infrastructure และพัฒนาพื้นฐานประเทศ ไหนๆคนก็เอาเงินมาให้ (เก็งกำไร ช่างหัวเขา) อยู่แล้ว แบบนี้ เมืองจีนก็ทำนะครับ ถนน เขื่อน ไฟฟ้า นิคม อยากเก็งหยวนใช่มั้ย เก็งเลย ยินดี....buglife เขียน:ด้วยความรู้เท่าหางอึ่งของผม
ทำไมไม่ลดดอกเบี้ย หรือไม่ก็ออกพันธบัตรใหม่ๆ
สกุลเงินไทยแท้ๆ ออกมาอีกมากๆ
ดอกเบี้ยให้เหมาะสม ต่ำๆ หน่อย กดได้
เพราะบักสีดาอยากได้มากนักใช่ไหม
(เงินเหลือเยอะ หนีตายมา???) มารับไป
แล้วแบงค์ชาติก็เอาตังค์พันธบัตรสร้างระบบชลประทานทั่วประเทศ
วางระบบรถไฟ ถนน เหลือๆ แล้วค่อยสร้างรถไฟฟ้าสัก 10 สายก็ได้
เกรงพี่ทักรับประทานเยอะ ตอนนี้ก็ทำเองสิครับ
(กาหัวหมาได้เลย มีรับประทานทุกรัฐบาล)
ขอระบบชลประทานทั่วประเทศ + ปลูกป่าเยอะๆ ก่อนเลย
น้ำเยอะปีนี้ อีกปี 2 ปี ได้กลับมาเจอภาวะแล้งหนักแน่ๆ
ช่วยเหลือเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศก่อน
เกรงว่าจะเอาไปซื้ออาวุธสงครามหมดก่อน
เพราะรัฐจากทหาร ย่อมมีกรอบความคิดว่า
ต้องป้องกันความมั่นคงก่อน (ของใคร)
เป็น priority ลำดับต้นๆ
ส่วนเรื่องอื่นๆ ค่อยว่ากันทีหลัง
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 18
วิเคราะห์เศรษฐกิจแบบหมูๆ ตอน "หมูมองเครื่องบิน"
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 09 มกราคม พ.ศ. 2550
ก่อนอื่นผมขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ เนื่องจากวันนี้ เป็นคอลัมน์มุมเอกฉบับแรกของปีหมู ผมเลยขอใช้โอกาสนี้ นำเสนอแนวทางในการวิเคราะห์เศรษฐกิจแบบหมูๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่าน (ที่แม้จะไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์) สามารถใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีหมูได้ด้วยตนเอง
แนวทางการวิเคราะห์เศรษฐกิจแบบง่ายๆ นี้ ผมใช้ชื่อว่า "หมูมองเครื่องบิน" เพราะผมจะเปรียบเทียบการวิเคราะห์เศรษฐกิจ เหมือนกับการวิเคราะห์เครื่องบิน หากเราต้องการวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะดีขึ้นหรือแย่ลง ก็เปรียบเสมือนกับการวิเคราะห์ว่า เครื่องบินจะบินได้สูงหรือต่ำ เพราะฉะนั้น นักวิเคราะห์ต้องเริ่มจากทำตัวเป็นวิศวกร มาตรวจเช็คเครื่องยนต์ของเครื่องบินดูก่อนว่าเป็นอย่างไร
ตามมาตรฐานนานาชาติแล้ว เครื่องบินจะประกอบด้วย 4 เครื่องยนต์หลัก ได้แก่ 1. เครื่องยนต์การบริโภคภาคเอกชน โดยยิ่งถ้าผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยมาก เครื่องยนต์นี้ก็จะทำงานได้ดี 2. เครื่องยนต์การลงทุนภาคเอกชน โดยถ้าภาคเอกชนเร่งลงทุน เครื่องยนต์นี้ก็จะทำงานดีเช่นกัน 3. เครื่องยนต์การใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งเครื่องยนต์นี้จะวิ่งฉิวได้ ถ้าภาครัฐเร่งใช้จ่ายมากขึ้น และ 4. เครื่องยนต์การใช้จ่ายจากต่างประเทศ (Export) ซึ่งมาจากการใช้จ่ายของชาวต่างชาติที่มาซื้อสินค้า และบริการของไทย
อย่างไรก็ตาม ในทางตรงข้าม หากคนไทยเรานำเข้าสินค้าและบริการ (Import) จากต่างชาติเยอะ เครื่องยนต์ทั้ง 4 นี้จะถูกฉุดไว้ไม่ให้ทำงานได้เต็มที่ (เครื่องยนต์ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ นักเศรษฐศาสตร์ทุกคน จะรู้จักกันในสมการ GDP=C+I+G+X-M)
แม้ว่าเครื่องบินเศรษฐกิจไทยจะมี 4 เครื่องยนต์ดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เครื่องยนต์ทุกๆ เครื่อง จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในสัดส่วนที่เท่ากัน เพราะแต่ละเครื่องยนต์มีขนาดหรือแรงม้าไม่เท่ากัน สำหรับโครงสร้างเครื่องบินเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันนี้ เครื่องยนต์การส่งออกสินค้า และบริการ มีแรงม้าเยอะที่สุดประมาณ 67% ของกำลังขับเคลื่อนทั้งหมด
รองลงมาก็จะเป็นเครื่องยนต์การบริโภคภาคเอกชน ที่มีแรงม้าประมาณ 55% ส่วนเครื่องยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 และอันดับ 4 ได้แก่ การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งมีแรงม้าประมาณ 18% และ 15% ตามลำดับ ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งแปลกใจนะครับ หากรวมแรงม้าทั้งหมดแล้วเกิน 100% เพราะตามปกติเครื่องยนต์เหล่านี้ จะไม่สามารถทำงานเต็มกำลังได้ เพราะแต่ละเครื่องยนต์จะถูกฉุดด้วยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
ในการวิเคราะห์เครื่องบินเศรษฐกิจไทยนี้ นอกจากท่านจะเข้าใจเครื่องยนต์และน้ำหนักของเครื่องยนต์แต่ละส่วนแล้ว ท่านก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเครื่องยนต์ต่างๆ จะทำงานได้ดีต้องมีน้ำมันหล่อลื่นด้วย หากมีน้ำมันหล่อลื่นดี ก็จะช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้เรียบไม่ติดขัด แต่หากน้ำมันหล่อลื่นไม่ดีหรือไม่พอ เครื่องยนต์ก็อาจจะกระตุก หรือทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศได้
จริงๆ แล้ว น้ำมันหล่อลื่นนี้ ก็คือ สินเชื่อผ่านระบบการเงินที่เป็นน้ำมันในการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจนั่นเอง หากระบบสถาบันการเงินเข้มแข็งคอยหยอดน้ำมันหล่อลื่นในอัตราส่วนที่เหมาะสมให้กับเครื่องยนต์ทั้ง 4 ก็จะช่วยให้เครื่องบินเศรษฐกิจไท ยบินได้อย่างนุ่มนวลเหมือนลอยอยู่บนผ้าไหม ตามโฆษณาของการบินไทย Smooth as silk
ตอนนี้มาลองใช้วิธี "หมูมองเครื่องบิน" นี้ มาวิเคราะห์เศรษฐกิจปีหมูกันดีกว่าครับ เราก็ต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ตรวจเช็คเครื่องยนต์ทั้ง 4 ว่าเป็นอย่างไร เริ่มจากเครื่องยนต์แรก คือ เครื่องยนต์การส่งออกสินค้าและบริการ ซึ่งมีสัดส่วนใหญ่ที่สุด ผมคิดว่าการส่งออกของเราในปีหมูนี้ ไม่น่าจะขยายตัวได้ดีเหมือนปีก่อน เพราะเศรษฐกิจโลกในปีนี้น่าจะขยายตัวชะลอลง ในขณะที่ค่าเงินบาทก็ยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
ถ้าเครื่องยนต์ส่งออกซึ่งใหญ่ที่สุดเริ่มทำงานลดลง เครื่องบินเศรษฐกิจไทยในปีหมูนี้ จะบินได้สูงหรือต่ำ คงจะต้องพึ่งพาเครื่องยนต์การใช้จ่ายในประเทศทั้งการบริโภคการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนเป็นหลัก สำหรับในปีนี้ ผมมองว่าเครื่องยนต์การใช้จ่ายภาครัฐน่าจะทำงานได้ดีขึ้น เพราะในปีก่อน เครื่องยนต์นี้มีปัญหาต้องหยุดทำงานไปบางส่วน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง ที่ส่งผลให้อนุมัติงบประมาณล่าช้าไป 3 เดือน แต่ตอนนี้เครื่องยนต์นี้ ได้เริ่มกลับมาทำงานใหม่แล้ว หลังจากที่สภาอนุมัติงบปี 2550 ไปเมื่อสิ้นปีก่อน
ดังนั้น ในปีนี้ เครื่องยนต์ภาครัฐคงจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง แต่อย่าไปหวังมากนะครับ เพราะแรงม้าของเครื่องยนต์นี้ มีแค่ 15% เท่านั้นเอง
สำหรับเครื่องยนต์ที่เหลือ ได้แก่ การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ตอนนี้ยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูงครับ เมื่อช่วงปลายปีก่อน ผมมองว่าเครื่องยนต์การใช้จ่ายภาคเอกชนน่าจะปรับตัวดีขึ้นในปีนี้ จากทิศทางดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น แต่บัดนี้ผมชักไม่แน่ใจแล้วครับ เพราะความเชื่อมั่นที่เคยดีขึ้นมา 2-3 เดือน ตอนนี้ก็ปรับตัวลดลง ในขณะที่ดอกเบี้ยที่ควรจะลดลงตั้งแต่ปลายปีก่อนแล้ว แบงก์ชาติก็ดื้อไม่ยอมลด แถมกลับออกมาตรการที่ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นไปอีก
ประกอบกับช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นต่างๆ ก็ถูกบั่นทอนไปด้วยระเบิดตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพฯ นอกจากนั้น เมื่อเครื่องยนต์หลักๆ ยังไม่ทำงานเต็มที่ สถาบันการเงินต่างๆ ก็คงจะหยอดน้ำมันเครื่องหรือสินเชื่อต่างๆ น้อยลงตามไปด้วย เพราะหากหยอดน้ำมันมากไปในช่วงที่เครื่องยนต์ไม่พร้อม อาจทำให้เครื่องยนต์พัง กลายเป็นปัญหาหนี้เสีย NPL เหมือนในอดีตได้อีก
โดยสรุปผมมองว่า เครื่องบินเศรษฐกิจไทยในปีหมูนี้ อาจจะไม่ได้บินสูง เป็นปี "หมูทอง" อย่างที่หลายๆ คนคิด และก็คงไม่ถึงกับจะเป็นปี "หมูไฟ" หรือบินโหม่งโลกเหมือนในช่วงวิกฤติในปี 2540 แต่ผมมองว่าเครื่องบินเศรษฐกิจไทยปีนี้ คงมีหวาดเสียว โฉบเฉี่ยวขึ้นลง ตามสภาพลมฟ้าอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวนมากในปีนี้
ดังนั้น ในปีหมูนี้ท่านผู้อ่านทั้งหลายควรเตรียมความพร้อมสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองไว้อยู่เสมอ ตามหลักข้อหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจของพอเพียงนะครับ และอย่าลืมคอยตรวจเช็คเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยอยู่เสมอ จะได้วิเคราะห์และวางแผนรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง สวัสดีครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 19
วิเคราะห์เศรษฐกิจแบบหมูๆ ตอน "เครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจ"
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2550
สวัสดีครับ วันนี้ผมจะขออธิบายวิธีการวิเคราะห์เศรษฐกิจแบบหมูๆ ต่อจากตอนที่แล้ว ซึ่งเปรียบการวิเคราะห์เศรษฐกิจ เหมือนกับการวิเคราะห์เครื่องบิน โดยเครื่องบินเศรษฐกิจนี้ ประกอบด้วย 4 เครื่องยนต์ ได้แก่ เครื่องยนต์การบริโภค การลงทุน การใช้จ่ายของภาครัฐ และการส่งออกสุทธิ ดังนั้น หากเครื่องยนต์ทั้ง 4 ทำงานได้ดี เครื่องบินก็จะบินได้ไกล เหมือนกับเศรษฐกิจที่เติบโตได้ดี
จริงๆ แล้ว การวิเคราะห์เครื่องบินที่ผมกล่าวมานั้น ก็คือ การวิเคราะห์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) หรือที่ทุกคนเรียกกันง่ายๆ ว่า GDP โดยวิศวกรที่ถูกมอบหมายอย่างเป็นทางการ ให้เป็นคนคอยวัดเครื่องบิน GDP และตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 4 ก็คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ หรือ ที่พวกเราเรียกกันย่อๆ ว่า "สภาพัฒน์"
อย่างไรก็ตาม การคำนวณ GDP ในแต่ละครั้งนั้น ไม่ได้ทำง่ายๆ นะครับ เพราะจะต้องรวบรวมข้อมูลจากหลายแห่ง และต้องใช้เวลาพอสมควร ดังนั้น ความถี่ในการวัด GDP จึงทำกันเป็นรายไตรมาสหรือรายปี ไม่ใช่รายเดือนหรือรายวัน สำหรับในกรณีของประเทศไทย เราวัด GDP เป็นรายไตรมาสและรายปี โดยข้อมูล GDP รายไตรมาส มีความล่าช้ากว่าปัจจุบันประมาณ 2 เดือน (เหมือนกับข้อมูล GDP ในประเทศอื่นที่จะมีความล่าช้าประมาณ 1-3 เดือน) เช่น
ข้อมูล GDP ในไตรมาสสี่ของปี 2549 กว่าจะรวบรวมเสร็จก็ประมาณต้นเดือนมีนาคม 2550 เพราะฉะนั้น ข้อมูล GDP จึงเป็นข้อมูลเศรษฐกิจที่มีลักษณะตามหลังภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น (Lagging Indicator)
คราวนี้ ลองมาคิดดูซิครับ ถ้าท่านเป็นผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดมาวางแผนธุรกิจในระยะต่อไป แต่ต้องรอข้อมูลไปอีก 2-3 เดือน ท่านอาจจะพลาดโอกาสในการทำธุรกิจที่สำคัญไปก็ได้ ตรงนี้แหละครับ ที่เรามีความจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูล เครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจที่มาช่วยบ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างไร จะได้วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ ได้อย่างรวดเร็ว และทันสถานการณ์ จะได้วางแผนธุรกิจได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้เกาะติดสถานการณ์ได้ทันกาล นักวิชาการทั้งหลาย จึงได้พัฒนาเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicator) ซึ่งมีทั้งแบบ เครื่องชี้เศรษฐกิจแบบพ้อง (Coincident Economic Indicator) ที่บ่งชี้ภาวะปัจจุบันของเศรษฐกิจ และ เครื่องชี้นำภาวะเศรษฐกิจ (Leading Economic Indicator) ที่บ่งชี้แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคต
ในกรณีของประเทศไทย ปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ จัดทำข้อมูลเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจหลายแห่ง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจที่จัดทำส่วนใหญ่จะมาจากข้อมูลที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ เช่น
ข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจของธปท. เน้นข้อมูลภาคการเงิน และดุลการชำระเงิน ส่วนข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจ ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะเน้นที่ข้อมูลการคลัง เช่น รายได้และรายจ่ายของภาครัฐ ในขณะที่ข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ก็มาจากข้อมูลภาคเกษตรกรรม เช่น ผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร ส่วนข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จะเน้นข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรม เช่น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ จะมีจุดเด่นที่ข้อมูลด้านราคาสินค้า
ท่านทั้งหลายอาจจะเริ่มตั้งคำถามว่า ทำไมต้องมีเครื่องชี้วัดหลายตัว คำตอบก็คือ ในการประเมินภาพเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจที่วิเคราะห์จากเครื่องชี้เศรษฐกิจเพียงไม่กี่ตัว อาจจะทำให้การประเมินภาพเศรษฐกิจ ที่ผิดพลาดได้ เพราะอย่าลืมนะครับว่า เรากำลังเอาเครื่องชี้ที่เป็นจิ๊กซอว์เล็กๆ แต่ละชิ้นไปประกอบเป็นภาพใหญ่ ดังนั้น ยิ่งถ้าเราได้จิ๊กซอว์มากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งจะทำให้เราเห็นภาพใหญ่ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น
นอกจากนี้ ในการนำข้อมูลเครื่องชี้ของหน่วยงานต่างๆ มาประกอบกัน จะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างเครื่องชี้ต่างๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น ในการพิจารณาเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน ข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจัดเก็บบนฐานการบริโภคทั้งหลาย จะสามารถบ่งชี้ให้เห็นการบริโภคในภาพรวม ในขณะที่ข้อมูลสินเชื่ออุปโภค และบริโภคของสถาบันการเงินจะบ่งบอกถึงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งหากตัวเลขทั้งสองแหล่งขยายไปในทิศทางเดียวกัน ท่านก็อาจจะอนุมานได้ว่าหนี้ภาคครัวเรือนน่าจะเพิ่มขึ้น เพราะคนขอสินเชื่อมาใช้จับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น
เสียดายที่เนื้อที่ในฉบับนี้หมดซะแล้ว จริงๆ แล้ว ผมอยากจะอธิบายการจัดทำเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจจากข้อมูลต่างๆ เป็นรายละเอียดกว่านี้ ทั้งการบริโภค การลงทุน และการผลิตในสาขาต่างๆ ผมคงต้องขอเลื่อนไปอธิบายเครื่องชี้ต่างๆ ในโอกาสหน้าแล้วกันนะครับ
แต่หากใครใจร้อน อยากจะรับทราบแนวทาง การจัดทำเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ ผมขอถือโอกาสนี้ประชาสัมพันธ์ งานสัมมนาวิชาการของ สศค. เรื่อง การจัดทำเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจจากข้อมูลภาษี โดย สศค.จะนำเสนอผลการวิจัย ที่ได้นำฐานข้อมูลภาษีของกรมสรรพากร ที่จัดเก็บได้จากภาคเศรษฐกิจต่างๆ มาวัดสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรายละเอียด ทั้งรายสาขาการผลิต และตามประเภทของการใช้จ่าย
ทั้งนี้ งานสัมมนาวิชาการนี้ จะจัดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (วันพุธที่ 24 ม.ค.) เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชั้น 7 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้สนใจสามารถติดต่อสำรองที่นั่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ที่ 0-2273-9020 ต่อ 3656 นะครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 20
เห็นค่าเงินบาทในตลาด off-shore ตอนนี้แล้วตกใจ
พวก arbitraguer ที่ลักลอบโอนเงินคงได้รวยกันคราวนี้
พวก arbitraguer ที่ลักลอบโอนเงินคงได้รวยกันคราวนี้
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 21
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาทฉบับชาวบ้าน : ตอน เกาไม่ถูกที่คัน
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
หลังจากที่ผมได้เขียนเรื่องค่าเงินบาทแบบชาวบ้านๆ ไปแล้ว 2-3 ตอน ในช่วงปลายปีก่อน ได้แก่ ตอนปัจจัยกำหนดค่าเงินบาท ตอนนโยบายแบงก์ชาติกับค่าเงินบาท เดจาวูการเก็งกำไรและต่อสู้ป้องกันค่าเงินบาท ผมได้รับอีเมลจากท่านผู้อ่านหลายราย ถามว่า เมื่อไรจะเขียนคู่มือค่าเงินบาทฉบับชาวบ้านตอนต่อๆ ไปอีก จริงๆ แล้ว ผมตั้งใจว่าจะสลับไปเขียนเรื่องอื่นๆ บ้างซักพักหนึ่ง คนอ่านจะได้ไม่เบื่อ แต่วันนี้ คงต้องกลับมาเขียนเรื่องค่าเงินบาทอีกครั้งหนึ่งตามคำเรียกร้อง
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา แบงก์ชาติเพิ่งประกาศรายละเอียดข้อมูลดุลการชำระเงินในเดือนพฤศจิกายน 2549 ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญมาก สำหรับการวิเคราะห์สาเหตุของการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท ในเดือนก่อนที่จะมีการออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น (ที่เรียกกันง่ายๆ ว่า มาตรการสำรอง 30%) ในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 สิ่งหนึ่งที่พบ ก็คือ เงินทุนไหลเข้าระยะสั้นไม่ได้เป็นต้นตอหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเลย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ยังไม่มีใครกล้าออกมาฟังธงว่า เงินทุนไหลเข้าระยะสั้นเป็นแพะ ก็เพราะพวกเรานักวิชาการ เห็นแค่ข้อมูลแค่ส่วนเดียวของดุลการชำระเงิน ได้แก่ ดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ยังไม่มีใครเห็นข้อมูลดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นบัญชีย่อยอีกบัญชีหนึ่งของดุลการชำระเงิน ที่มีการแยกรายละเอียดของเงินทุนไหลเข้าประเภทต่างๆ ได้แก่ เงินลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ (ที่เรียกกันว่า Foreign Direct Investment) เงินลงทุนระยะสั้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดตราสารหนี้ (ที่เรียกกันว่า Portfolio Investment) หรือเงินทุนไหลเข้าประเภทอื่นๆ เช่น เงินกู้ต่างๆ และเงินกู้เพื่อการค้า เป็นต้น
การที่เราได้รายละเอียดดุลการชำระเงินที่ครบถ้วนนี้ มีประโยชน์ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะการวิเคราะห์ว่า ค่าเงินบาทควรจะแข็งขึ้นหรืออ่อนลง เพราะดุลการชำระเงินคือบัญชีที่บันทึกธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ระหว่างคนไทยกับต่างชาติในช่วงเวลาหนึ่งๆ ดังนั้น หากเรามีดุลการชำระเงินเกินดุล ก็หมายความว่า โดยรวมแล้ว ต่างชาติต้องการซื้อสินค้า บริการหรือสินทรัพย์ของเรา มากกว่าที่คนไทยเราต้องการซื้อจากต่างชาติ
ซึ่งตามหลัก demand-supply แล้ว ค่าเงินบาทก็ควรจะแข็งค่าขึ้น เพราะโดยสุทธิแล้ว ต่างชาติจะขายเงินตราต่างประเทศ มาซื้อเงินบาทเพื่อมาซื้อสินค้า บริการ หรือสินทรัพย์ของไทย นอกจากนั้น หากเรามีรายละเอียดดุลการชำระเงินที่ครบถ้วน เราก็สามารถลงไปดูในแต่ละบัญชีย่อยได้เลย ว่าการเกินดุลการชำระเงิน ซึ่งเป็นที่มาของการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นนั้น มาจากบัญชีย่อยบัญชีไหน มาจากการค้าและบริการที่เกินดุลมากเกินไป หรือเงินทุนไหลเข้ามากเกินไป
คราวนี้เรามาดูข้อมูลดุลการชำระเงินระหว่างคนไทยกับต่างชาติในช่วงเดือนพฤศจิกายนกันดีกว่าครับ จะได้เห็นกันชัดๆ ว่า บัญชีไหนเป็นต้นตอที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนที่แบงก์ชาติจะออกมาตรการ 30% ในเดือนธันวาคม ซึ่งผมจะขอสรุป ดังนี้
ในบัญชีแรก คือ บัญชีดุลบัญชีเดินสะพัด ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พบว่า ต่างชาติซื้อสินค้าและบริการจากไทย มากกว่าที่ไทยต้องการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างชาติในจำนวนที่มาก โดยปกติที่ผ่านมา เราจะเห็นดุลบัญชีเดินสะพัดในอดีตเฉลี่ย เกินดุลประมาณเดือนละไม่กี่ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จากข้อมูลเชิงประจักษ์ ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพฤศจิกายนเพียงเดือนเดียวเกินดุลสูงถึง 1,512 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าดุลบัญชีเดินสะพัดสะสม 10 เดือนตั้งแต่ต้นปี 2549 จนถึงเดือนตุลาคมที่อยู่เพียง 545 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนั้น จากข้อมูลล่าสุดในเดือนธันวาคม ปี 2549 ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนธันวาคม ยังเกินดุลอีก 1,215 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น นักวิชาการที่เห็นข้อมูลดุลการชำระเงินแค่ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดนี้ ก็จะมี Sense แล้วว่า ต้นตอของค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ก็คือ การที่ส่งออกเราโตมาก และอีกอย่างที่เรานำเข้าน้อยเกินไป ตามการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวมาก โดยเฉพาะการลงทุน ที่ผมว่าดีไม่ดีจะได้เห็นการลงทุนหดตัวในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว
หากไปพิจารณารายละเอียดบัญชีย่อยที่สอง คือ บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย ในเดือนพฤศจิกายน จะพบว่า ในเดือนนี้ มีเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินทุนไหลเข้าระยะยาวอีกประมาณ 515 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีเงินทุนไหลเข้าที่เข้ามาซื้อหุ้นในประเทศไทย ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นอีกประเภทหนึ่งประมาณ 352 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็ถือว่ามีขนาดที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดของการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดข้างต้น
และเมื่อไปดูเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งก็คือ เงินลงทุนจากต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นตอหลักของการแข็งค่าเงินบาทในช่วงนั้น ผมถึงกับตกใจ เพราะพบว่า เงินทุนที่ไหลเข้าจากต่างชาติมาในตลาดตราสารหนี้ในเดือนพฤศจิกายนกลับติดลบถึง -429 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มันช่างขัดกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาตลอดว่า การเก็งกำไรของต่างชาติในตลาดพันธบัตรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น
ผมขอหมายเหตุให้ชัดเจนตรงนี้อีกครั้งว่า ผมไม่ได้ต้องการบอกว่าไม่มีการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตรนะครับ เพราะผมเชื่อว่ามีแน่ๆ ใครๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะฝรั่งหัวแดง หรือคนไทยหัวดำ ที่คาดการณ์ว่าดอกเบี้ยจะลดลง ก็อยากเก็งกำไรโดยการซื้อพันธบัตรทั้งนั้นแหละครับ ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้คนเก็งกำไรจริง ก็อย่าทำให้ดอกเบี้ยมันสูงกว่าความเป็นจริงตามกลไกตลาดซิครับ จะได้ไม่เปิดช่องให้คนมาเก็งกำไร
แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอกในที่นี้ก็คือ ข้อมูลเชิงประจักษ์ในเดือนพฤศจิกายนมันบอกแล้วครับว่า เงินทุนไหลเข้าระยะสั้น ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น ในช่วงเดือนก่อนที่จะมีการออกมาตรการ ควบคุมเงินทุนไหลเข้าแต่อย่างใด
ตรงนี้แหละครับ ที่ผมจะขอสรุปไว้ตรงนี้ว่า มาตรการดำรงเงินสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% ซึ่งมีเป้าหมายไปที่โทษแพะนักลงทุนต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนระยะสั้น เป็นการเกาไม่ถูกที่คันเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ยกเลิกเถอะครับ มาตรการ 30% ก่อนที่จะสายเกินไป
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 22
ลดดอกเบี้ยแรงๆ ทีเดียว ยิงนกได้หลายตัว
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ท่านผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์มุมเอกเป็นประจำ คงจะพอจับประเด็นได้ว่า ผมสนับสนุนให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดอัตราดอกเบี้ยมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มเขียนคอลัมน์นี้ในปีที่แล้ว แม้ว่าที่ผ่านมาผมจะไม่เคยเขียนคอลัมน์ เกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ยโดยตรง แต่วันนี้ผมจะขอเขียนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นการเฉพาะ เผื่อจะได้เป็นกระบอกเสียงเล็กๆ ไปถึงคณะกรรมการนโยบายการเงิน ที่จะประชุมพิจารณานโยบายอัตราดอกเบี้ยกันในสัปดาห์หน้าว่า ลดดอกเบี้ยเถอะครับ และควรลดแรงๆ ทีเดียว ดีกว่าที่จะค่อยๆ ทยอยลดไปเรื่อยๆ
ก่อนอื่น ผมขออธิบายเหตุผลที่ผมพยายามเรียกร้องให้แบงก์ชาติ ลดอัตราดอกเบี้ยมาโดยตลอดตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ดังนี้
เหตุผลแรก คือ การลงทุนและการบริโภคภายในประเทศชะลอตัวค่อนข้างมาก โดยอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน ลดลงจากที่อยู่สูงถึง 11% ในปี 2548 มาอยู่เพียง 2.9% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 ส่วนอัตราการขยายตัวการบริโภคภาคเอกชน ก็ลดลงจาก 4.3% ในปี 2548 มาอยู่ที่ 2.9% ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว
ผมคิดว่าท่านผู้อ่านทั้งหลายคงจะไม่แปลกใจกับตัวเลขที่ขยายตัวลดลงดังกล่าว เพราะใครจะไปกล้าลงทุนหรือกินใช้เยอะๆ ล่ะครับในสถานการณ์การเมืองที่อึมครึมเมื่อปีก่อน เงินเฟ้อก็สูงขึ้นจากราคาน้ำมันแพง แถมแบงก์ชาติยังเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 2% ในต้นปี 2548 มาอยู่ที่ 5% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ปีที่แล้ว
เหตุผลที่สอง คือ เนื่องจากสาเหตุหลักของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปีที่แล้วส่วนใหญ่มาจากปัจจัยด้านต้นทุน (ที่เรียกกันว่า Cost-push Inflation) โดยเฉพาะจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นหลัก ซึ่งก็ยังไม่เคยเห็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไหนที่บอกให้ขึ้นดอกเบี้ย เพื่อกำจัด Cost-push inflation ท่านผู้อ่านลองคิดดูตามหลักเหตุผลง่ายๆ ก็ได้ว่า หากท่านเป็นนักธุรกิจที่ต้นทุนสูงขึ้น จากน้ำมันแพงอยู่แล้ว หากแบงก์ขึ้นดอกเบี้ยอีก ต้นทุนการกู้ยืมของธุรกิจท่านก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น การขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ท่านต้องผลักภาระไปให้ผู้ซื้อโดยการขึ้นราคาขายสินค้า ซึ่งจะยิ่งทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
ดังนั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมา จึงไม่น่าจะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อเท่าไรนัก แต่อาจจะยิ่งส่งผลกระทบให้เงินเฟ้อสูงขึ้นไปอีก แถมทำให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวเพิ่มขึ้น
เหตุผลที่สาม คือ อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยในครึ่งปีแรกของปี 2549 อยู่สูงกว่าปกติที่ประมาณ 6% เนื่องจากฐานเงินเฟ้อในครึ่งแรกของปี 2548 อยู่ต่ำผิดปกติ จากการที่รัฐบาลควบคุมราคาน้ำมันขายปลีก ไม่ให้สูงเกินเพดานในช่วงนั้น ซึ่งในที่สุดก็ต้านแรงกลไกตลาดไม่ไหว จนต้องปล่อยให้ราคาน้ำมันในประเทศ ลอยตัวในเดือนกรกฎาคม 2548
ดังนั้น ในช่วงต้นปีที่แล้ว ผมถึงกล้าฟันธงไปว่า หากราคาน้ำมันไม่กระโดดขึ้นไปมาก ยังไงเราก็ต้องเห็นเงินเฟ้อลดลง ในช่วงหลังเดือนกรกฎาคม ซึ่งผลก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาสที่ 3 ของปีก่อนยังอยู่สูงใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 2 ที่ประมาณ 65 เหรียญต่อบาร์เรล แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 3 ก็ลดลงมาอยู่ที่ 3.6% จาก 6% ในไตรมาสที่ 2 และเมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงไปอีกในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อถึงลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 3.3% ในไตรมาสที่ 4
เอาเถอะครับ! ขณะนี้ไม่ใช่เวลาไปหาว่าใครผิดใครถูก ตอนนี้ข้อมูลเชิงประจักษ์ก็บอกมาแล้วว่าแรงกดดันเงินเฟ้อลดลงมากแล้ว (เงินเฟ้อเดือนมกราคมลดลงเหลือแค่ 3%) และข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจจากทั้งรายงานภาวะเศรษฐกิจของแบงก์ชาติ และสำนักงานเศรษฐกิจการคลังฉบับล่าสุดก็บ่งชี้ชัดว่าการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ชะลอลงต่อเนื่อง คำถามคือ แล้วแบงก์ชาติควรตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยอย่างไรต่อไป
คำตอบที่ผมอยากจะเสนอไปยังกรรมการนโยบายการเงินที่จะประชุมในสิ้นเดือนนี้ คือ ลดดอกเบี้ยอีกเถอะครับ และควรลดดอกเบี้ยให้แรงทีเดียว เพื่อที่จะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการยิงปืนนัดเดียวแล้วได้นกหลายๆ ตัว ดังนี้
นกตัวที่หนึ่ง : การลดดอกเบี้ยของแบงก์ชาติจะช่วยผลักดันให้อุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัว ค่อยๆ ฟื้นตัว เพราะการที่แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก จะส่งผลให้แบงก์พาณิชย์รีบปรับลดดอกเบี้ยตามอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่แบงก์พาณิชย์มีสภาพคล่องล้นระบบมาก เมื่อแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยลง แบงก์พาณิชย์คงจะไม่สามารถหาประโยชน์จากการปล่อยกู้ดอกเบี้ยสูงกับแบงก์ชาติได้เหมือนเดิม ดังนั้น ก็คงต้องหันมาลดดอกเบี้ยและเร่งปล่อยสินเชื่อกันมากขึ้น นอกจากนั้น ต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกลงอาจจะจูงใจให้ผู้ประกอบการ ลงทุนมากขึ้น และผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น
นกตัวที่สอง : การที่ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยตามแบงก์ชาติ จะช่วยลดภาระการชำระหนี้ของทั้งประชาชน และธุรกิจต่างๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความมั่นคงของระบบการเงินผ่านการชะลอตัวของการเพิ่มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และลดความเสี่ยงของปัญหางบดุลในสถาบันการเงินต่างๆ
นกตัวที่สาม : การลดดอกเบี้ยจะส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวอ่อนค่าลงได้ เนื่องจาก
(1) การลดดอกเบี้ยจะกระตุ้นให้เอกชนลงทุนและนำเข้ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
(2) อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงมากจะจูงใจให้เงินทุนไหลออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น เหมือนกับที่ประเทศญี่ปุ่นดำเนินการมาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การจะลดดอกเบี้ยเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการได้นก 3 ตัวดังกล่าวนี้ แบงก์ชาติจะต้องลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ให้แรงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และควรลดลงครั้งเดียว เพราะหากลดดอกเบี้ยไม่แรงจริง และค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ จะทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยจะลดลงได้อีก และทุกฝ่ายก็จะคอยและรอให้ดอกเบี้ยลดลงมากกว่านี้ ซึ่งหากเป็นอย่างนี้จริง นกทั้ง 3 ตัวอาจจะบินหายไปแล้วก็ได้
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 23
มุมเอก :ค่าเงินบาทแข็งขึ้นได้อย่างไร ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย
20 มีนาคม พ.ศ. 2550 08:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพัฒน์ประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 4 ของปี 2549 ว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลงเหลือ 4.2% จากที่ขยายตัวเฉลี่ย 5.3% ในช่วง 3 ไตรมาสแรก ผมได้รับคำถามจากเพื่อนคนหนึ่งว่า "ถ้าเศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงอย่างนี้ ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์ได้อย่างไร" ผมเห็นว่าคำถามนี้น่าจะเป็นคำถามที่ยังคาใจกับท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านเช่นกัน ผมเลยขออนุญาตถือโอกาสใช้คอลัมน์มุมเอกฉบับนี้ มาอธิบายให้ทราบไปพร้อมๆ กัน
ก่อนอื่นเลย ผมเห็นว่าเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงนี้มาจากสาเหตุใด หากท่านลองนำวิธีการวิเคราะห์เศรษฐกิจแบบหมูๆ ตอน หมูมองเครื่องบิน (ที่ตีพิมพ์ในนสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 มกราคม 2550) มาลองวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ที่เพิ่งประกาศออกมา ท่านจะพบว่า เครื่องบินเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันนี้ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เดียว คือ การส่งออก (Export) ที่ยังขยายตัวได้ดีอยู่ตามเศรษฐกิจคู่ค้า ที่ยังขยายตัวดีมาก
ส่วนเครื่องยนต์ที่เหลือเกือบจะหยุดทำงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภาคเอกชน (Consumption) และการลงทุนภาคเอกชน (Investment) ที่ชะลอการใช้จ่ายและการลงทุนออกไป ในขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐ (Government Spending) ก็ติดปัญหางบประมาณที่ยังไม่ได้รับอนุมัติ ดังนั้น เมื่อการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งภาคเอกชนและภาครัฐชะลอลง จึงส่งผลให้การนำเข้าของไทย (Import) ลดลงตามไปด้วย
การที่มูลค่าส่งออกขยายตัวได้ดี ขณะที่การนำเข้าลดลงมากนี่แหละครับ ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา กล่าวคือ มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาส 4 ของปีก่อน ขยายตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงเกือบ 20% มาอยู่ที่ 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์
ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าในไตรมาส 4 ขยายตัวเพียงแค่ประมาณ 7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่านำเข้าอยู่ที่ประมาณ 3.13 หมื่นล้านดอลลาร์ ดังนั้น ดุลการค้าในไตรมาส 4 จึงเกินดุลถึง 2.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งหากไปรวมดุลบริการที่เราเกินจากการท่องเที่ยวและบริการอื่นๆ อีกประมาณ 0.9 พันล้านดอลลาร์ ทำให้เมื่อรวมดุลการค้ากับดุลบริการ จะพบว่าในไตรมาส 4 ประเทศไทยค้าขายเกินดุลกับต่างชาติถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์
การที่ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 4 เกินดุลมากนี้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินในตลาดเงินตราต่างประเทศอย่างแน่นอน โดยเฉพาะตลาดบนฝั่งประเทศไทย (ที่เรียกกันว่า On-shore Market) เนื่องจากผู้ส่งออกจะนำเงินรายได้จากการขายสินค้าและบริการที่เป็นดอลลาร์มาขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อมาซื้อเงินบาท
ในขณะที่ผู้นำเข้าซึ่งช่วงนี้ไม่ค่อยนำเข้าสินค้าและบริการมากเท่าไร เลยมีความจำเป็นต้องขายเงินบาทเพื่อซื้อดอลลาร์ในจำนวนน้อย ดังนั้น ตามหลักกลไกตลาดทั่วไป เมื่อแรงซื้อเงินบาทมากกว่าแรงขายเงินบาท ค่าเงินบาทจึงต้องแข็งค่าขึ้นแน่ๆ
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทไม่ได้ถูกกำหนดจากความต้องการซื้อและขายในตลาดสินค้าและบริการระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิจารณาถึงความต้องการซื้อและขายสินทรัพย์หนี้สินระหว่างประเทศของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศด้วย เช่น ถ้าต่างชาติต้องการซื้อสินทรัพย์ของไทย เช่น ซื้อบริษัทไทย หุ้นไทย พันธบัตรไทย หรือปล่อยกู้ให้คนไทย มากกว่าที่คนไทยต้องการซื้อสินทรัพย์หรือปล่อยกู้ให้ต่างชาติ ก็จะมีแรงซื้อเงินบาทสุทธิเข้ามากดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก
จากข้อมูลการซื้อขายสินทรัพย์หนี้สินระหว่างประเทศที่สรุปในดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้ายของไทยในไตรมาส 4 จะพบว่ามีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิอีกประมาณ 3.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นเงินทุนจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในบริษัทไทยสุทธิ (FDI) ประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ และลงทุนในหุ้นไทยอีกเล็กน้อย 0.5 พันล้านดอลลาร์
แต่ก็ถอนเงินออกจากการลงทุนในตราสารหนี้ไทยประมาณ -0.2 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้มีเงินทุนไหลเข้าประเภทอื่น โดยเฉพาะเงินกู้จากต่างประเทศสูงผิดปกติถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าจะให้ผมเดาคงมีบางบริษัทหันไปกู้เงินดอกเบี้ยถูกจากต่างประเทศมาทดแทนดอกเบี้ยที่แพงกว่าในประเทศ
ดังนั้น การที่มีเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทยอีกกว่า 3 พันล้านดอลลาร์นี้ หมายความว่า มีแรงซื้อเงินบาทมากกว่าแรงขายเงินบาทในตลาดเงินตราต่างประเทศเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งก็จะกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นเท่าไร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดเพียงอย่างเดียว เพราะจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยว่าจะเข้ามาดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ผ่านการขายเงินบาท (ซื้อดอลลาร์เข้ามาใส่ในทุนสำรองทางการ) มากน้อยเพียงใด
ซึ่งเท่าที่ผมดูตัวเลขในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ก็เห็นว่าแบงก์ชาติได้เข้ามาช่วยขายเงินบาท ซื้อดอลลาร์ ประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งก็ยังคงไม่เพียงพอที่ชดเชยแรงซื้อเงินบาทจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและบัญชีทุนเคลื่อนย้ายได้ ดังนั้น ค่าเงินบาทจึงแข็งขึ้นจาก 37 บาท ณ สิ้นไตรมาส 3 มาอยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์ ด้วยประการฉะนี้
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น การที่เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวมาก ซึ่งสะท้อนผ่านด้วยการนำเข้าที่น้อยลง แต่การส่งออกยังขยายตัวดีอยู่มาก จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งทีเดียว ที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดังนั้น หากเราอยากจะช่วยให้ค่าเงินไม่แข็งไปมากกว่านี้ ภาครัฐและเอกชนก็ต้องช่วยกันเร่งฟื้นการใช้จ่ายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนให้เร็วที่สุด
ส่วนเงินทุนไหลเข้าในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น แต่ผมเชื่อว่าพวกเราคงไม่อยากทำให้เงินบาทอ่อนลง โดยการไล่เงินทุน FDI จากต่างชาติออกไป ส่วนตลาดหุ้นกับตลาดตราสารหนี้ก็มีขนาดเล็กน้อย และไม่ได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมากนัก
ผมว่าน่าจะลองมาพิจารณาในข้อสุดท้ายว่า จะทำอย่างไรให้ภาคเอกชนหันมากู้เงินในประเทศแทนการกู้เงินจากต่างประเทศ ส่วนวิธีการจะทำอย่างไร ผมได้พูดไปแล้วในฉบับก่อนๆ ไปพลิกดูกันเอาเองแล้วกันนะครับ
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/03/2 ... wsid=59863
20 มีนาคม พ.ศ. 2550 08:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพัฒน์ประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 4 ของปี 2549 ว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลงเหลือ 4.2% จากที่ขยายตัวเฉลี่ย 5.3% ในช่วง 3 ไตรมาสแรก ผมได้รับคำถามจากเพื่อนคนหนึ่งว่า "ถ้าเศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงอย่างนี้ ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์ได้อย่างไร" ผมเห็นว่าคำถามนี้น่าจะเป็นคำถามที่ยังคาใจกับท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านเช่นกัน ผมเลยขออนุญาตถือโอกาสใช้คอลัมน์มุมเอกฉบับนี้ มาอธิบายให้ทราบไปพร้อมๆ กัน
ก่อนอื่นเลย ผมเห็นว่าเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงนี้มาจากสาเหตุใด หากท่านลองนำวิธีการวิเคราะห์เศรษฐกิจแบบหมูๆ ตอน หมูมองเครื่องบิน (ที่ตีพิมพ์ในนสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 มกราคม 2550) มาลองวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ที่เพิ่งประกาศออกมา ท่านจะพบว่า เครื่องบินเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันนี้ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เดียว คือ การส่งออก (Export) ที่ยังขยายตัวได้ดีอยู่ตามเศรษฐกิจคู่ค้า ที่ยังขยายตัวดีมาก
ส่วนเครื่องยนต์ที่เหลือเกือบจะหยุดทำงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภาคเอกชน (Consumption) และการลงทุนภาคเอกชน (Investment) ที่ชะลอการใช้จ่ายและการลงทุนออกไป ในขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐ (Government Spending) ก็ติดปัญหางบประมาณที่ยังไม่ได้รับอนุมัติ ดังนั้น เมื่อการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งภาคเอกชนและภาครัฐชะลอลง จึงส่งผลให้การนำเข้าของไทย (Import) ลดลงตามไปด้วย
การที่มูลค่าส่งออกขยายตัวได้ดี ขณะที่การนำเข้าลดลงมากนี่แหละครับ ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา กล่าวคือ มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาส 4 ของปีก่อน ขยายตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงเกือบ 20% มาอยู่ที่ 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์
ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าในไตรมาส 4 ขยายตัวเพียงแค่ประมาณ 7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่านำเข้าอยู่ที่ประมาณ 3.13 หมื่นล้านดอลลาร์ ดังนั้น ดุลการค้าในไตรมาส 4 จึงเกินดุลถึง 2.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งหากไปรวมดุลบริการที่เราเกินจากการท่องเที่ยวและบริการอื่นๆ อีกประมาณ 0.9 พันล้านดอลลาร์ ทำให้เมื่อรวมดุลการค้ากับดุลบริการ จะพบว่าในไตรมาส 4 ประเทศไทยค้าขายเกินดุลกับต่างชาติถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์
การที่ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 4 เกินดุลมากนี้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินในตลาดเงินตราต่างประเทศอย่างแน่นอน โดยเฉพาะตลาดบนฝั่งประเทศไทย (ที่เรียกกันว่า On-shore Market) เนื่องจากผู้ส่งออกจะนำเงินรายได้จากการขายสินค้าและบริการที่เป็นดอลลาร์มาขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อมาซื้อเงินบาท
ในขณะที่ผู้นำเข้าซึ่งช่วงนี้ไม่ค่อยนำเข้าสินค้าและบริการมากเท่าไร เลยมีความจำเป็นต้องขายเงินบาทเพื่อซื้อดอลลาร์ในจำนวนน้อย ดังนั้น ตามหลักกลไกตลาดทั่วไป เมื่อแรงซื้อเงินบาทมากกว่าแรงขายเงินบาท ค่าเงินบาทจึงต้องแข็งค่าขึ้นแน่ๆ
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทไม่ได้ถูกกำหนดจากความต้องการซื้อและขายในตลาดสินค้าและบริการระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิจารณาถึงความต้องการซื้อและขายสินทรัพย์หนี้สินระหว่างประเทศของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศด้วย เช่น ถ้าต่างชาติต้องการซื้อสินทรัพย์ของไทย เช่น ซื้อบริษัทไทย หุ้นไทย พันธบัตรไทย หรือปล่อยกู้ให้คนไทย มากกว่าที่คนไทยต้องการซื้อสินทรัพย์หรือปล่อยกู้ให้ต่างชาติ ก็จะมีแรงซื้อเงินบาทสุทธิเข้ามากดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก
จากข้อมูลการซื้อขายสินทรัพย์หนี้สินระหว่างประเทศที่สรุปในดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้ายของไทยในไตรมาส 4 จะพบว่ามีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิอีกประมาณ 3.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นเงินทุนจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในบริษัทไทยสุทธิ (FDI) ประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ และลงทุนในหุ้นไทยอีกเล็กน้อย 0.5 พันล้านดอลลาร์
แต่ก็ถอนเงินออกจากการลงทุนในตราสารหนี้ไทยประมาณ -0.2 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้มีเงินทุนไหลเข้าประเภทอื่น โดยเฉพาะเงินกู้จากต่างประเทศสูงผิดปกติถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าจะให้ผมเดาคงมีบางบริษัทหันไปกู้เงินดอกเบี้ยถูกจากต่างประเทศมาทดแทนดอกเบี้ยที่แพงกว่าในประเทศ
ดังนั้น การที่มีเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทยอีกกว่า 3 พันล้านดอลลาร์นี้ หมายความว่า มีแรงซื้อเงินบาทมากกว่าแรงขายเงินบาทในตลาดเงินตราต่างประเทศเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งก็จะกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นเท่าไร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดเพียงอย่างเดียว เพราะจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยว่าจะเข้ามาดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ผ่านการขายเงินบาท (ซื้อดอลลาร์เข้ามาใส่ในทุนสำรองทางการ) มากน้อยเพียงใด
ซึ่งเท่าที่ผมดูตัวเลขในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ก็เห็นว่าแบงก์ชาติได้เข้ามาช่วยขายเงินบาท ซื้อดอลลาร์ ประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งก็ยังคงไม่เพียงพอที่ชดเชยแรงซื้อเงินบาทจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและบัญชีทุนเคลื่อนย้ายได้ ดังนั้น ค่าเงินบาทจึงแข็งขึ้นจาก 37 บาท ณ สิ้นไตรมาส 3 มาอยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์ ด้วยประการฉะนี้
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น การที่เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวมาก ซึ่งสะท้อนผ่านด้วยการนำเข้าที่น้อยลง แต่การส่งออกยังขยายตัวดีอยู่มาก จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งทีเดียว ที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดังนั้น หากเราอยากจะช่วยให้ค่าเงินไม่แข็งไปมากกว่านี้ ภาครัฐและเอกชนก็ต้องช่วยกันเร่งฟื้นการใช้จ่ายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนให้เร็วที่สุด
ส่วนเงินทุนไหลเข้าในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น แต่ผมเชื่อว่าพวกเราคงไม่อยากทำให้เงินบาทอ่อนลง โดยการไล่เงินทุน FDI จากต่างชาติออกไป ส่วนตลาดหุ้นกับตลาดตราสารหนี้ก็มีขนาดเล็กน้อย และไม่ได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมากนัก
ผมว่าน่าจะลองมาพิจารณาในข้อสุดท้ายว่า จะทำอย่างไรให้ภาคเอกชนหันมากู้เงินในประเทศแทนการกู้เงินจากต่างประเทศ ส่วนวิธีการจะทำอย่างไร ผมได้พูดไปแล้วในฉบับก่อนๆ ไปพลิกดูกันเอาเองแล้วกันนะครับ
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/03/2 ... wsid=59863
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 24
มุมเอก:มองหลายมิติกับนโยบายการคลังของไทย
17 เมษายน พ.ศ. 2550 07:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : สวัสดีวันสงกรานต์ครับ เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ไทยนี้ ผมก็ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายคุ้มครองให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายมีความสุขมากๆ ตลอดปีนี้ และที่สำคัญก็ขอให้ประเทศไทยแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง เศรษฐกิจไทยจะได้กลับมาโชติช่วงชัชวาลเสียที
ในช่วงที่ผ่านมา ผมได้เขียนบทความไปแล้วหลายเรื่องเกี่ยวกับค่าเงินและดอกเบี้ย วันนี้เลยอยากจะเปลี่ยนมุมมองหันไปดูในเรื่องนโยบายการคลังบ้าง ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่จะได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่านโยบายการคลังจะเข้ามาช่วยเสริมนโยบายการเงินในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร
จริงๆ แล้ว เรื่องนโยบายการคลังในทางปฏิบัติค่อนข้างซับซ้อนมากกว่าทฤษฎีที่พวกเราเล่าเรียนกันมาค่อนข้างมาก เพราะไม่ได้มีแค่เฉพาะเรื่องรายได้ และรายจ่ายเพียงอย่างเดียว แต่มองได้จากหลายมุมหลายมิติ ทั้งจากมิติในด้านหน่วยงานที่ใช้นโยบายการคลัง และมิติของเครื่องมือทางการคลังที่นำมาใช้
หลายคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการดำเนินนโยบายการคลังจะขึ้นอยู่กับรัฐบาล (หรือกระทรวงการคลัง) เพียงผู้เดียว แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็สามารถมีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายการคลังของประเทศได้ ดังนั้น การพิจารณาถึงนโยบายการคลัง จึงควรพิจารณานโยบายการคลังในภาพรวมทั้งหมด หรือที่เรียกกันว่า นโยบายการคลังภาคสาธารณะ (Public Sector) ไม่ใช่นโยบายคลังของรัฐบาล (Government Sector) แต่เพียงอย่างเดียว
การดำเนินนโยบายการคลังภาคสาธารณะนี้ ประกอบไปด้วย
1. การดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาล (Government Sector) ซึ่งประกอบด้วย การดำเนินนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ทั้งในส่วนที่ต้องผ่านกระบวนการวิธีการงบประมาณที่ต้องขอความเห็นชอบของรัฐสภาตามกฎหมายพ.ร.บ.งบประมาณ และในส่วนที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการงบประมาณ เช่น เงินกู้ต่างประเทศ เงินนอกงบประมาณ และกองทุนนอกงบประมาณต่างๆ ของรัฐบาล เนื่องจากมีกฎหมายพิเศษรองรับ
ตามปกติ พวกเรามักจะเข้าใจหรือได้ยินได้ฟังข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายการคลังของรัฐบาลเฉพาะในส่วนที่ผ่านกระบวนการงบประมาณ เช่น ปีนี้รัฐบาลจะขาดดุลเท่าไร จะเก็บรายได้ได้เท่าใด จะตั้งงบประมาณเท่าไร แล้วกระทรวงไหนได้งบประมาณไปทำอะไรเท่าใด แต่ในทางปฏิบัติแล้ว รัฐบาลยังสามารถดำเนินนโยบายการคลังที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการงบประมาณได้อีกหลายทาง
ตัวอย่างเช่น การกู้เงินจากต่างประเทศ (ที่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการกู้เงินต่างประเทศรองรับ) ที่เป็นเงินกู้โครงการ Project loan ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างๆ (เช่น รถไฟฟ้า เป็นต้น) หรือ เงินกู้แผนงาน Program loans ซึ่งเป็นการกู้เพื่อแผนงานเฉพาะอย่าง เช่น ในช่วงวิกฤติปี 2540 เราเคยกู้เงินโครงการมิยาซาว่ามาจากญี่ปุ่นเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการพิเศษ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถดำเนินนโยบายการคลังผ่านกองทุนนอกงบประมาณ (Extra-budgetary Fund) ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างของรัฐบาล และเพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารงาน ให้สามารถมีรายได้เองและกำหนดนโยบายรายจ่ายเอง จึงตั้งเป็นกองทุนขึ้นมาเป็นพิเศษแต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล
กองทุนเหล่านี้ที่มีชื่อเสียงดังๆ ก็เช่น กองทุนประกันสังคม ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างตาข่ายทางสังคมที่คอยรองรับเวลาลูกจ้างเจ็บป่วย หรือชราภาพ ซึ่งกองทุนนี้ก็อาศัยรายได้จากเงินสมทบของนายจ้าง และลูกจ้างเป็นหลัก โดยรัฐบาลส่งเงินสมทบด้วยอีกบางส่วน ซึ่งในยามจำเป็นเช่นตอนวิกฤติเศรษฐกิจครั้งที่แล้ว รัฐบาลก็ใช้นโยบายลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนของนายจ้างและลูกจ้างเป็นการชั่วคราว เพื่อบรรเทาภาระแก่ประชาชน
ดังนั้น กองทุนนอกงบประมาณก็ถือเป็นแขนขาในการดำเนินนโยบายการคลังได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน แต่การจะนำมาใช้นั้นต้องระมัดระวังไม่ให้มีการใช้เงินที่ผิดวัตถุประสงค์และไม่ให้เป็นภาระรัฐบาลในระยะยาว
2. การดำเนินนโยบายการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นอยู่ 5 รูปแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
การดำเนินนโยบายการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้มีความสำคัญมากในการดำเนินนโยบายการคลังในประเทศไทย เพราะกฎหมายกระจายอำนาจ ได้กำหนดให้สัดส่วนรายได้ท้องถิ่นต่อรายได้รัฐบาลไม่ต่ำกว่า 20% ในปี 2544 และไม่ต่ำกว่า 35% ในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันนี้ รัฐบาลก็ต้องแบ่งรายได้ และจ่ายเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่นจนมีรายได้ถึง 25% หรือ 1 ใน 4 ของรัฐบาลส่วนกลาง
ดังนั้น การจะพิจารณานโยบายการคลังของประเทศไทยจึงต้องคำนึงถึงนโยบายการคลังของท้องถิ่นด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ว่า ในปัจจุบันถ้ารัฐบาลเร่งเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นไม่ไปใช้จ่ายต่อ เม็ดเงินของภาครัฐก็ยังคงลงไปไม่ถึงมือประชาชนอยู่ดี (หรืออาจจะถึงแล้วก็ได้ แต่อาจหายไปตามเบี้ยใบรายทางก็เป็นได้)
3. การดำเนินนโยบายการคลังผ่านรัฐวิสาหกิจ ในฐานะผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังผ่านการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้ ท่านทั้งหลายอาจจะไม่ทราบว่า ในปีหนึ่งๆ รัฐวิสาหกิจมีงบประมาณลงทุนประมาณถึงปีละ 3-4 แสนล้านบาท ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับงบประมาณลงทุนของรัฐบาลในส่วนที่หนึ่งที่กล่าวมาแล้ว
ดังนั้น ถ้ารัฐบาลอยากจะเร่งกระตุ้นการลงทุนของประเทศให้เพิ่มขึ้น นอกจากการไปเร่งเบิกจ่ายในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ แล้ว จำเป็นจะต้องไปดูรัฐวิสาหกิจใหญ่ๆ เช่น ปตท. การไฟฟ้า การรถไฟ การบินไทย และอื่นๆ ว่าเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นอย่างไร
4. นอกจากเครื่องมือทางการคลังตามปกติที่กล่าวมา ในทางปฏิบัติภาครัฐก็สามารถเข้าไปดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินของรัฐ ปล่อยสินเชื่อให้ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะว่าไปแล้วการดำเนินนโยบายดังกล่าวก็ไม่ใช่การดำเนินนโยบายการคลังโดยตรง แต่เป็นนโยบายผ่านสถาบันการเงิน ตามหลักวิชาการเขาถึงเรียกกันว่า "นโยบายกึ่งการคลัง หรือ Quasi fiscal activity"
การใช้นโยบายการคลังผ่านสถาบันการเงินของรัฐนี้ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียได้หากนโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดหนี้เสียและความเสียหายกับระบบสถาบันการเงิน
กล่าวโดยสรุป ท่านผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่าเครื่องมือการคลังมีมากมายหลายชนิด และค่อนข้างซับซ้อน สิ่งที่ท้าทายมากสำหรับทุกรัฐบาล ก็คือ จะเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างไรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียกับประเทศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต สวัสดีปีใหม่ไทยอีกครั้งครับ
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/04/1 ... wsid=63897
17 เมษายน พ.ศ. 2550 07:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : สวัสดีวันสงกรานต์ครับ เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ไทยนี้ ผมก็ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายคุ้มครองให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายมีความสุขมากๆ ตลอดปีนี้ และที่สำคัญก็ขอให้ประเทศไทยแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง เศรษฐกิจไทยจะได้กลับมาโชติช่วงชัชวาลเสียที
ในช่วงที่ผ่านมา ผมได้เขียนบทความไปแล้วหลายเรื่องเกี่ยวกับค่าเงินและดอกเบี้ย วันนี้เลยอยากจะเปลี่ยนมุมมองหันไปดูในเรื่องนโยบายการคลังบ้าง ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่จะได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่านโยบายการคลังจะเข้ามาช่วยเสริมนโยบายการเงินในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร
จริงๆ แล้ว เรื่องนโยบายการคลังในทางปฏิบัติค่อนข้างซับซ้อนมากกว่าทฤษฎีที่พวกเราเล่าเรียนกันมาค่อนข้างมาก เพราะไม่ได้มีแค่เฉพาะเรื่องรายได้ และรายจ่ายเพียงอย่างเดียว แต่มองได้จากหลายมุมหลายมิติ ทั้งจากมิติในด้านหน่วยงานที่ใช้นโยบายการคลัง และมิติของเครื่องมือทางการคลังที่นำมาใช้
หลายคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าการดำเนินนโยบายการคลังจะขึ้นอยู่กับรัฐบาล (หรือกระทรวงการคลัง) เพียงผู้เดียว แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็สามารถมีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายการคลังของประเทศได้ ดังนั้น การพิจารณาถึงนโยบายการคลัง จึงควรพิจารณานโยบายการคลังในภาพรวมทั้งหมด หรือที่เรียกกันว่า นโยบายการคลังภาคสาธารณะ (Public Sector) ไม่ใช่นโยบายคลังของรัฐบาล (Government Sector) แต่เพียงอย่างเดียว
การดำเนินนโยบายการคลังภาคสาธารณะนี้ ประกอบไปด้วย
1. การดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาล (Government Sector) ซึ่งประกอบด้วย การดำเนินนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ทั้งในส่วนที่ต้องผ่านกระบวนการวิธีการงบประมาณที่ต้องขอความเห็นชอบของรัฐสภาตามกฎหมายพ.ร.บ.งบประมาณ และในส่วนที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการงบประมาณ เช่น เงินกู้ต่างประเทศ เงินนอกงบประมาณ และกองทุนนอกงบประมาณต่างๆ ของรัฐบาล เนื่องจากมีกฎหมายพิเศษรองรับ
ตามปกติ พวกเรามักจะเข้าใจหรือได้ยินได้ฟังข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายการคลังของรัฐบาลเฉพาะในส่วนที่ผ่านกระบวนการงบประมาณ เช่น ปีนี้รัฐบาลจะขาดดุลเท่าไร จะเก็บรายได้ได้เท่าใด จะตั้งงบประมาณเท่าไร แล้วกระทรวงไหนได้งบประมาณไปทำอะไรเท่าใด แต่ในทางปฏิบัติแล้ว รัฐบาลยังสามารถดำเนินนโยบายการคลังที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการงบประมาณได้อีกหลายทาง
ตัวอย่างเช่น การกู้เงินจากต่างประเทศ (ที่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการกู้เงินต่างประเทศรองรับ) ที่เป็นเงินกู้โครงการ Project loan ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างๆ (เช่น รถไฟฟ้า เป็นต้น) หรือ เงินกู้แผนงาน Program loans ซึ่งเป็นการกู้เพื่อแผนงานเฉพาะอย่าง เช่น ในช่วงวิกฤติปี 2540 เราเคยกู้เงินโครงการมิยาซาว่ามาจากญี่ปุ่นเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการพิเศษ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถดำเนินนโยบายการคลังผ่านกองทุนนอกงบประมาณ (Extra-budgetary Fund) ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างของรัฐบาล และเพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารงาน ให้สามารถมีรายได้เองและกำหนดนโยบายรายจ่ายเอง จึงตั้งเป็นกองทุนขึ้นมาเป็นพิเศษแต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล
กองทุนเหล่านี้ที่มีชื่อเสียงดังๆ ก็เช่น กองทุนประกันสังคม ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างตาข่ายทางสังคมที่คอยรองรับเวลาลูกจ้างเจ็บป่วย หรือชราภาพ ซึ่งกองทุนนี้ก็อาศัยรายได้จากเงินสมทบของนายจ้าง และลูกจ้างเป็นหลัก โดยรัฐบาลส่งเงินสมทบด้วยอีกบางส่วน ซึ่งในยามจำเป็นเช่นตอนวิกฤติเศรษฐกิจครั้งที่แล้ว รัฐบาลก็ใช้นโยบายลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนของนายจ้างและลูกจ้างเป็นการชั่วคราว เพื่อบรรเทาภาระแก่ประชาชน
ดังนั้น กองทุนนอกงบประมาณก็ถือเป็นแขนขาในการดำเนินนโยบายการคลังได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน แต่การจะนำมาใช้นั้นต้องระมัดระวังไม่ให้มีการใช้เงินที่ผิดวัตถุประสงค์และไม่ให้เป็นภาระรัฐบาลในระยะยาว
2. การดำเนินนโยบายการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นอยู่ 5 รูปแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
การดำเนินนโยบายการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้มีความสำคัญมากในการดำเนินนโยบายการคลังในประเทศไทย เพราะกฎหมายกระจายอำนาจ ได้กำหนดให้สัดส่วนรายได้ท้องถิ่นต่อรายได้รัฐบาลไม่ต่ำกว่า 20% ในปี 2544 และไม่ต่ำกว่า 35% ในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันนี้ รัฐบาลก็ต้องแบ่งรายได้ และจ่ายเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่นจนมีรายได้ถึง 25% หรือ 1 ใน 4 ของรัฐบาลส่วนกลาง
ดังนั้น การจะพิจารณานโยบายการคลังของประเทศไทยจึงต้องคำนึงถึงนโยบายการคลังของท้องถิ่นด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ว่า ในปัจจุบันถ้ารัฐบาลเร่งเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นไม่ไปใช้จ่ายต่อ เม็ดเงินของภาครัฐก็ยังคงลงไปไม่ถึงมือประชาชนอยู่ดี (หรืออาจจะถึงแล้วก็ได้ แต่อาจหายไปตามเบี้ยใบรายทางก็เป็นได้)
3. การดำเนินนโยบายการคลังผ่านรัฐวิสาหกิจ ในฐานะผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังผ่านการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้ ท่านทั้งหลายอาจจะไม่ทราบว่า ในปีหนึ่งๆ รัฐวิสาหกิจมีงบประมาณลงทุนประมาณถึงปีละ 3-4 แสนล้านบาท ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับงบประมาณลงทุนของรัฐบาลในส่วนที่หนึ่งที่กล่าวมาแล้ว
ดังนั้น ถ้ารัฐบาลอยากจะเร่งกระตุ้นการลงทุนของประเทศให้เพิ่มขึ้น นอกจากการไปเร่งเบิกจ่ายในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ แล้ว จำเป็นจะต้องไปดูรัฐวิสาหกิจใหญ่ๆ เช่น ปตท. การไฟฟ้า การรถไฟ การบินไทย และอื่นๆ ว่าเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นอย่างไร
4. นอกจากเครื่องมือทางการคลังตามปกติที่กล่าวมา ในทางปฏิบัติภาครัฐก็สามารถเข้าไปดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินของรัฐ ปล่อยสินเชื่อให้ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะว่าไปแล้วการดำเนินนโยบายดังกล่าวก็ไม่ใช่การดำเนินนโยบายการคลังโดยตรง แต่เป็นนโยบายผ่านสถาบันการเงิน ตามหลักวิชาการเขาถึงเรียกกันว่า "นโยบายกึ่งการคลัง หรือ Quasi fiscal activity"
การใช้นโยบายการคลังผ่านสถาบันการเงินของรัฐนี้ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียได้หากนโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดหนี้เสียและความเสียหายกับระบบสถาบันการเงิน
กล่าวโดยสรุป ท่านผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่าเครื่องมือการคลังมีมากมายหลายชนิด และค่อนข้างซับซ้อน สิ่งที่ท้าทายมากสำหรับทุกรัฐบาล ก็คือ จะเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างไรให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียกับประเทศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต สวัสดีปีใหม่ไทยอีกครั้งครับ
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/04/1 ... wsid=63897
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 25
มุมเอก:เจาะเวลาหาอดีตปัญหาดอลลาร์อ่อนกับการปรับตัวของญี่ปุ่น
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 07:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ขณะที่ผมเขียนคอลัมน์มุมเอกฉบับนี้ ผมกำลังเดินทางกลับจากญี่ปุ่น หลังจากมาเข้าสัมมนากับผู้บริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย สิ่งหนึ่งที่ผมได้ประโยชน์มากจากการสัมมนาในครั้งนี้ คือ การได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ กับผู้บริหารระดับสูงจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย รวมทั้งผู้นำภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการของประเทศญี่ปุ่น ผมเห็นว่า มีประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่อง เลยขอนำบางส่วนมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังด้วย
ประเด็นหนึ่งที่ฮอตฮิตที่สุดที่เกือบทุกประเทศในเอเชียพูดถึงในการสัมมนา คือ ปัญหาค่าเงินดอลลาร์อ่อนกับปัญหาการแข็งค่าของเงินสกุลต่างๆ ในเอเชีย ซึ่งวิธีการที่ทุกประเทศนำมาใช้แก้ปัญหาก็คล้ายๆ กัน คือ ให้ธนาคารกลางเข้าแทรกแซงไม่ให้ค่าเงินตัวเองแข็งเกินไป โดยพิมพ์เงินออกมาซื้อดอลลาร์ แต่ธนาคารกลางที่ดำเนินการดังกล่าวส่วนใหญ่ ก็เจอกับปัญหาปวดหัวแทรกซ้อนตามมา เพราะเงินที่พิมพ์ออกมาทำให้สภาพคล่องล้นระบบ จนต้องออกตราสารมาดูดซับเงินกลับเข้ากระเป๋า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเงินเฟ้อตามมา
สถานการณ์ค่าเงินดอลลาร์อ่อนจนกดดันให้ค่าเงินประเทศต่างๆ แข็งค่าขึ้นนี้ จริงๆ แล้ว เคยซ้ำรอยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีต โดยส่วนตัวผมเห็นว่าหากศึกษาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ให้ดี เราอาจจะเจอแนวทางแก้ปัญหาหรือแนวทางการปรับตัวที่ดีได้ ดังนั้น วันนี้ผมจึงอยากเชิญท่านผู้อ่านนั่ง time machine ไปเจาะเวลาหาอดีตร่วมกัน เพื่อจะได้เตรียมตัวรองรับสถานการณ์ค่าเงินดอลลาร์อ่อนที่อาจจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต
หากย้อนเวลาไปดูอดีต ปัญหาค่าเงินดอลลาร์อ่อนในวันนี้ คล้ายกับที่เกิดขึ้นในช่วงราวๆ ปี 2528 ค่อนข้างมาก เพราะสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนมากในช่วงนั้น ส่วนใหญ่มาจากการใช้จ่ายที่เกินตัวของรัฐบาลสหรัฐและของคนอเมริกัน โดยช่วงนั้น รัฐบาลประธานาธิบดีเรแกนใช้จ่ายงบประมาณมาก แถมยังลดภาษีเพื่อเอาใจเอกชนอีก จนเป็นเหตุให้อเมริกาขาดดุลการคลังติดต่อกันหลายปี
ซึ่งดูแล้วก็คล้ายๆ กับรัฐบาลบุช จูเนียร์ ในปัจจุบันที่ใช้จ่ายมากเหลือเกิน (ส่วนหนึ่งก็เพื่อไปใช้ทำสงครามกับอิรัก) นอกจากนั้น ในช่วงระหว่างปี 2528 คนอเมริกันก็ใช้จ่ายกันเกินตัวมากเหลือเกิน นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นว่าเล่น จนดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ซึ่งก็ไม่ต่างกับสถานการณ์ในอเมริกาช่วงปัจจุบันนี้อีกเช่นกัน
แต่สถานการณ์เมื่อ 20 กว่าปีก่อนก็มีความแตกต่างกับวันนี้อยู่บ้าง เพราะบริบทการค้าการเงินของโลกในตอนนั้น ไม่ได้เชื่อมโยงกันมากเหมือนในตอนนี้ อินเทอร์เน็ตสมัยนั้นก็ยังไม่มี การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศก็ค่อนข้างจำกัด และที่สำคัญ ตอนนั้นมีเพียงประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหญ่ๆ เพียงไม่กี่ประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น ที่ครอบคลุมการค้าการเงินของโลกเกือบทั้งหมด
ต่างกับปัจจุบันนี้ที่ประเทศเกิดใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาททางการค้าการเงินของโลกมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม BRIC (Brazil Russia India China) ที่นักการเงินการคลังส่วนใหญ่กำลังกล่าวขวัญถึงว่า จะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ของโลกในไม่ช้า
ปัญหาหลักในช่วงปี 2528 ที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ในช่วงนั้นพูดถึงกันบ่อยก็คือ ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างประเทศที่สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกับญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้น อเมริกาจึงได้รวมหัวกับประเทศใหญ่ๆ ในยุโรป มารุมญี่ปุ่น โดยอ้างว่า ต้นตอที่ทำให้ชาติตะวันตกขาดดุลกับญี่ปุ่นมาจากค่าเงินเยนที่อ่อนเกินไป (คุ้นๆ ไหมครับว่า คล้ายๆ กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพียงแต่เปลี่ยนเป้าหมายจากญี่ปุ่น เป็นจีน และชาติต่างๆ ในเอเชีย เท่านั้น)
ในที่สุด ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ 5 ประเทศ จึงตกลงร่วมกันที่โรงแรมพลาซา ในนิวยอร์ก เมื่อเดือนกันยายน 2528 (ที่หลายๆ ท่าน รู้จักกันในนามสนธิสัญญาพลาซาแอคคอร์ด) เพื่อร่วมกันแทรกแซงให้ค่าเงินเยนแข็งขึ้น ญี่ปุ่นจะได้ส่งออกน้อยลง ในขณะที่ประเทศตะวันตกจะได้ส่งออกมากขึ้น ดังนั้น เงินเยนจึงแข็งขึ้นอย่างรวดเร็วจากราวๆ 260 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ ในเดือนกันยายน 2528 เป็น 153 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ ในเดือนกรกฎาคม 2529
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งใจเจาะเวลาหาอดีตเป็นพิเศษ คือ ญี่ปุ่นเขาปรับตัวกันอย่างไร เมื่อเจอกับปัญหาค่าเงินแข็งค่าขึ้นถึง 70% ภายในเวลาเพียง 10 เดือน เผื่อจะได้เป็นประโยชน์กับประเทศเรา ในการเตรียมตัวรองรับสถานการณ์ค่าเงินดอลลาร์ที่นับว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้น
คำตอบที่ผมได้จากการค้นคว้า ก็คือ ภาคเอกชนญี่ปุ่นสามารถเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสได้ดีมาก โดยบริษัทต่างๆ ได้หันมามองตัวเอง โดยลดต้นทุนการผลิตทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยใช้โอกาสที่ค่าเงินเยนแข็งมานำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิต รวมทั้งลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออก โดยเฉพาะต้นทุนด้านการขนส่ง logistics ต่างๆ เช่น ทำอย่างไรให้รถบรรทุกเท่าเดิม แต่ขนของได้มากขึ้น หรือจะเดินทางเส้นไหนที่จะส่งของได้เร็วที่สุดและถูกที่สุด
นอกจากนั้น บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งก็ใช้วิธีการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศที่มีค่าแรงต่ำ หลายๆ ประเทศในอาเซียน (รวมทั้งไทย) จึงได้รับอานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่นหลังพลาซาแอคคอร์ดในครั้งนั้นด้วย ในขณะเดียวกัน บริษัทแม่ที่อยู่ในญี่ปุ่นก็พยายามปรับเปลี่ยนไปผลิตสินค้าคุณภาพสูงขึ้น ที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
นอกจากการลดต้นทุนแล้ว บริษัทก็พยายามหันมาพึ่งตลาดภายในประเทศมากขึ้นและพยายามหาตลาดใหม่ๆ ด้วย จะได้ไม่ต้องพึ่งอเมริกาและยุโรปเพียงอย่างเดียว สำหรับผู้ส่งออกที่พอมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าก็พยายามเปลี่ยนไปตกลงราคาเป็นเงินเยนแทนเงินดอลลาร์ จะได้ไม่ขาดทุนจากเงินเยนที่แข็งขึ้น หรือไม่ก็ใช้เครื่องมือทางการเงินมาบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้มากขึ้น
สำหรับทางการญี่ปุ่นเอง ก็พยายามช่วยออกมาตรการหลายอย่าง เพื่อช่วยให้เอกชนปรับตัวในช่วงยากลำบากนะครับ เช่น ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยการลดอัตราดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งในช่วงปี 2529-2530 นอกจากนั้น ก็มีมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาช่วยธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนแข็ง เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
หลังจากเหตุการณ์พลาซาแอคคอร์ดเพียงไม่กี่ปี ญี่ปุ่นก็สามารถผ่านพ้นความยากลำบากจากค่าเงินเยนแข็งไปได้ และยังสามารถเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส จนกลายมาเป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้าชั้นนำของโลกได้ ตราบจนเท่าทุกวันนี้ แล้วเมืองไทยหล่ะครับ พร้อมหรือยังที่จะเปลี่ยนวิกฤติค่าเงินดอลลาร์อ่อนให้เป็นโอกาสในครั้งนี้
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/05/0 ... wsid=66769
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 07:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ขณะที่ผมเขียนคอลัมน์มุมเอกฉบับนี้ ผมกำลังเดินทางกลับจากญี่ปุ่น หลังจากมาเข้าสัมมนากับผู้บริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย สิ่งหนึ่งที่ผมได้ประโยชน์มากจากการสัมมนาในครั้งนี้ คือ การได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ กับผู้บริหารระดับสูงจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย รวมทั้งผู้นำภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการของประเทศญี่ปุ่น ผมเห็นว่า มีประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่อง เลยขอนำบางส่วนมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังด้วย
ประเด็นหนึ่งที่ฮอตฮิตที่สุดที่เกือบทุกประเทศในเอเชียพูดถึงในการสัมมนา คือ ปัญหาค่าเงินดอลลาร์อ่อนกับปัญหาการแข็งค่าของเงินสกุลต่างๆ ในเอเชีย ซึ่งวิธีการที่ทุกประเทศนำมาใช้แก้ปัญหาก็คล้ายๆ กัน คือ ให้ธนาคารกลางเข้าแทรกแซงไม่ให้ค่าเงินตัวเองแข็งเกินไป โดยพิมพ์เงินออกมาซื้อดอลลาร์ แต่ธนาคารกลางที่ดำเนินการดังกล่าวส่วนใหญ่ ก็เจอกับปัญหาปวดหัวแทรกซ้อนตามมา เพราะเงินที่พิมพ์ออกมาทำให้สภาพคล่องล้นระบบ จนต้องออกตราสารมาดูดซับเงินกลับเข้ากระเป๋า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเงินเฟ้อตามมา
สถานการณ์ค่าเงินดอลลาร์อ่อนจนกดดันให้ค่าเงินประเทศต่างๆ แข็งค่าขึ้นนี้ จริงๆ แล้ว เคยซ้ำรอยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีต โดยส่วนตัวผมเห็นว่าหากศึกษาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ให้ดี เราอาจจะเจอแนวทางแก้ปัญหาหรือแนวทางการปรับตัวที่ดีได้ ดังนั้น วันนี้ผมจึงอยากเชิญท่านผู้อ่านนั่ง time machine ไปเจาะเวลาหาอดีตร่วมกัน เพื่อจะได้เตรียมตัวรองรับสถานการณ์ค่าเงินดอลลาร์อ่อนที่อาจจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต
หากย้อนเวลาไปดูอดีต ปัญหาค่าเงินดอลลาร์อ่อนในวันนี้ คล้ายกับที่เกิดขึ้นในช่วงราวๆ ปี 2528 ค่อนข้างมาก เพราะสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนมากในช่วงนั้น ส่วนใหญ่มาจากการใช้จ่ายที่เกินตัวของรัฐบาลสหรัฐและของคนอเมริกัน โดยช่วงนั้น รัฐบาลประธานาธิบดีเรแกนใช้จ่ายงบประมาณมาก แถมยังลดภาษีเพื่อเอาใจเอกชนอีก จนเป็นเหตุให้อเมริกาขาดดุลการคลังติดต่อกันหลายปี
ซึ่งดูแล้วก็คล้ายๆ กับรัฐบาลบุช จูเนียร์ ในปัจจุบันที่ใช้จ่ายมากเหลือเกิน (ส่วนหนึ่งก็เพื่อไปใช้ทำสงครามกับอิรัก) นอกจากนั้น ในช่วงระหว่างปี 2528 คนอเมริกันก็ใช้จ่ายกันเกินตัวมากเหลือเกิน นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นว่าเล่น จนดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ซึ่งก็ไม่ต่างกับสถานการณ์ในอเมริกาช่วงปัจจุบันนี้อีกเช่นกัน
แต่สถานการณ์เมื่อ 20 กว่าปีก่อนก็มีความแตกต่างกับวันนี้อยู่บ้าง เพราะบริบทการค้าการเงินของโลกในตอนนั้น ไม่ได้เชื่อมโยงกันมากเหมือนในตอนนี้ อินเทอร์เน็ตสมัยนั้นก็ยังไม่มี การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศก็ค่อนข้างจำกัด และที่สำคัญ ตอนนั้นมีเพียงประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหญ่ๆ เพียงไม่กี่ประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น ที่ครอบคลุมการค้าการเงินของโลกเกือบทั้งหมด
ต่างกับปัจจุบันนี้ที่ประเทศเกิดใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาททางการค้าการเงินของโลกมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม BRIC (Brazil Russia India China) ที่นักการเงินการคลังส่วนใหญ่กำลังกล่าวขวัญถึงว่า จะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ของโลกในไม่ช้า
ปัญหาหลักในช่วงปี 2528 ที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ในช่วงนั้นพูดถึงกันบ่อยก็คือ ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างประเทศที่สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกับญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้น อเมริกาจึงได้รวมหัวกับประเทศใหญ่ๆ ในยุโรป มารุมญี่ปุ่น โดยอ้างว่า ต้นตอที่ทำให้ชาติตะวันตกขาดดุลกับญี่ปุ่นมาจากค่าเงินเยนที่อ่อนเกินไป (คุ้นๆ ไหมครับว่า คล้ายๆ กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพียงแต่เปลี่ยนเป้าหมายจากญี่ปุ่น เป็นจีน และชาติต่างๆ ในเอเชีย เท่านั้น)
ในที่สุด ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ 5 ประเทศ จึงตกลงร่วมกันที่โรงแรมพลาซา ในนิวยอร์ก เมื่อเดือนกันยายน 2528 (ที่หลายๆ ท่าน รู้จักกันในนามสนธิสัญญาพลาซาแอคคอร์ด) เพื่อร่วมกันแทรกแซงให้ค่าเงินเยนแข็งขึ้น ญี่ปุ่นจะได้ส่งออกน้อยลง ในขณะที่ประเทศตะวันตกจะได้ส่งออกมากขึ้น ดังนั้น เงินเยนจึงแข็งขึ้นอย่างรวดเร็วจากราวๆ 260 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ ในเดือนกันยายน 2528 เป็น 153 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ ในเดือนกรกฎาคม 2529
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งใจเจาะเวลาหาอดีตเป็นพิเศษ คือ ญี่ปุ่นเขาปรับตัวกันอย่างไร เมื่อเจอกับปัญหาค่าเงินแข็งค่าขึ้นถึง 70% ภายในเวลาเพียง 10 เดือน เผื่อจะได้เป็นประโยชน์กับประเทศเรา ในการเตรียมตัวรองรับสถานการณ์ค่าเงินดอลลาร์ที่นับว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้น
คำตอบที่ผมได้จากการค้นคว้า ก็คือ ภาคเอกชนญี่ปุ่นสามารถเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสได้ดีมาก โดยบริษัทต่างๆ ได้หันมามองตัวเอง โดยลดต้นทุนการผลิตทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยใช้โอกาสที่ค่าเงินเยนแข็งมานำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิต รวมทั้งลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออก โดยเฉพาะต้นทุนด้านการขนส่ง logistics ต่างๆ เช่น ทำอย่างไรให้รถบรรทุกเท่าเดิม แต่ขนของได้มากขึ้น หรือจะเดินทางเส้นไหนที่จะส่งของได้เร็วที่สุดและถูกที่สุด
นอกจากนั้น บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งก็ใช้วิธีการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศที่มีค่าแรงต่ำ หลายๆ ประเทศในอาเซียน (รวมทั้งไทย) จึงได้รับอานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่นหลังพลาซาแอคคอร์ดในครั้งนั้นด้วย ในขณะเดียวกัน บริษัทแม่ที่อยู่ในญี่ปุ่นก็พยายามปรับเปลี่ยนไปผลิตสินค้าคุณภาพสูงขึ้น ที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
นอกจากการลดต้นทุนแล้ว บริษัทก็พยายามหันมาพึ่งตลาดภายในประเทศมากขึ้นและพยายามหาตลาดใหม่ๆ ด้วย จะได้ไม่ต้องพึ่งอเมริกาและยุโรปเพียงอย่างเดียว สำหรับผู้ส่งออกที่พอมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าก็พยายามเปลี่ยนไปตกลงราคาเป็นเงินเยนแทนเงินดอลลาร์ จะได้ไม่ขาดทุนจากเงินเยนที่แข็งขึ้น หรือไม่ก็ใช้เครื่องมือทางการเงินมาบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้มากขึ้น
สำหรับทางการญี่ปุ่นเอง ก็พยายามช่วยออกมาตรการหลายอย่าง เพื่อช่วยให้เอกชนปรับตัวในช่วงยากลำบากนะครับ เช่น ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยการลดอัตราดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งในช่วงปี 2529-2530 นอกจากนั้น ก็มีมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาช่วยธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนแข็ง เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
หลังจากเหตุการณ์พลาซาแอคคอร์ดเพียงไม่กี่ปี ญี่ปุ่นก็สามารถผ่านพ้นความยากลำบากจากค่าเงินเยนแข็งไปได้ และยังสามารถเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส จนกลายมาเป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้าชั้นนำของโลกได้ ตราบจนเท่าทุกวันนี้ แล้วเมืองไทยหล่ะครับ พร้อมหรือยังที่จะเปลี่ยนวิกฤติค่าเงินดอลลาร์อ่อนให้เป็นโอกาสในครั้งนี้
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/05/0 ... wsid=66769
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 26
มุมเอก:10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจตอน บทเรียนที่ไม่ควรลืม
12 มิถุนายน พ.ศ. 2550 07:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันครบรอบ 10 ปีของการลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งจะนับไปแล้ว จะถือเป็นวันครบรอบ 10 ขวบของวิกฤติเศรษฐกิจไทยก็ว่าได้ เมื่อกาลเวลาผ่านไปๆ หลายคนอาจจะเริ่มลืมเลือนว่า วิกฤติเศรษฐกิจไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร แผ่ขยายระบาดไปทั่วโลกกลายเป็น "โรคต้มยำกุ้ง (Tom Yum Kung Disease)" ได้อย่างไร และเราหลุดพ้นจากวิกฤติวันนั้นมาได้อย่างไร
ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ 10 ขวบของวิกฤติเศรษฐกิจนี้ คอลัมน์มุมเอกจะขอนำเสนอบทความที่เป็น Series ตอนใหม่ เรื่อง "10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ" เพื่อเป็นบทเรียนเตือนความจำให้ท่านผู้อ่านที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าวมาแล้ว ขณะเดียวกัน น้องๆ ผู้อ่านวัยเยาว์ทั้งหลายที่ยังไม่เคยผ่านวิกฤติดังกล่าวจะได้เรียนรู้บทเรียนจากอดีต จะได้ช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบ 2 ขึ้นอีก
สำหรับบทความตอนแรกในวันนี้ จะเป็นเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจไทยในปี 2540 เกิดขึ้นได้อย่างไร
จริงๆ แล้ว ผมมักจะถามคำถามนี้กับลูกศิษย์ลูกหาที่ผมสอนอยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นประจำ คำตอบที่ได้มักจะมีหลากหลาย บ้างก็ตอบว่าเกิดจากนักเก็งกำไรมาโจมตีค่าเงินบาท บ้างก็ตอบว่าคนไทยเราใช้จ่ายเกินตัวจนขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก บ้างก็ตอบว่าเพราะแบงก์และไฟแนนซ์ปล่อยกู้อย่างไม่ระมัดระวังจนเกิดหนี้เสีย หรือบางคนก็โยงไปถึงการเปิดเสรีทางการเงินในปี 2535 และยังมีคำตอบอื่นๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม มักไม่ค่อยมีผู้ใดที่จะอธิบายร้อยเรียงเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤติในปี 2540 ได้ ทั้งนี้ ก็อาจจะเป็นเพราะแต่ละคนมีประสบการณ์จากวิกฤติที่แตกต่างกัน และคำตอบจึงมักจะมาจากมุมที่ใกล้ตัว
ตัวผมเองก็ไม่รู้โชคดีหรือโชคร้ายที่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจมีโอกาสยืนอยู่ในหลายๆ มุมที่แตกต่างกัน เช่น ในช่วงฟองสบู่ก่อตัวราวๆ ปี 2535-2536 ก็ทำงานอยู่ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นจิ๊กซอว์ที่สำคัญในการประกอบภาพวิกฤติเศรษฐกิจ ต่อมาในขณะที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศก็มีโอกาสยืนดูฟองสบู่วิกฤติเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศแตกทีละลูก นับตั้งแต่วิกฤติเม็กซิโกในปี 2537 วิกฤติละตินอเมริกาในปี 2538-2539 จนมาถึงวิกฤติเศรษฐกิจไทยและเอเชียในปี 2540-2541
และในช่วงปลายวิกฤติเศรษฐกิจไทย ก็ได้มีโอกาสกลับเข้ามาทำงานกับภาครัฐและร่วมเจรจาต่อรองกับ IMF ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ก่อนที่เราจะเป็นอิสระจากโครงการ IMF ในปี 2543 วันนี้ ผมเลยขอ Share มุมหนึ่ง (มุมเอก) ต่อสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540
หากจะย้อนเวลากลับไปในปี 2535 ตอนที่ผมทำงานในบริษัทหลักทรัพย์ ตอนนั้นประเทศไทยเริ่มเปิดเสรีทางการเงิน ผ่านการจัดตั้งธุรกรรม Bangkok International Banking Facility ที่เรียกกันย่อๆ ว่า BIBF โดยมีจุดมุ่งหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นพ่อค้าคนกลางที่นำเงินจากต่างประเทศไปปล่อยกู้ต่อให้กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคที่ขาดเงิน แล้วกินค่าหัวคิวคล้ายๆ กับที่สิงคโปร์หรือฮ่องกงทำกันอยู่เป็นประจำ
รัฐบาลช่วงนั้นให้สิทธิพิเศษและลดภาษีหลายประเภทให้กับธนาคารที่ตั้ง BIBF มากมาย เพื่อจูงใจให้เกิดธุรกรรมนี้ เพราะฉะนั้น ทุกๆ แบงก์จึงแห่กันเปิด BIBF เต็มไปหมด แต่ผลลัพธ์กลับไม่ได้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ เพราะธุรกรรม BIBF ส่วนใหญ่แทนที่จะใช้เป็นช่องทางการกู้เงินต่างประเทศแล้วมาปล่อยต่อในอีกประเทศหนึ่ง (เป็น out-out transaction) กลับถูกนำไปใช้เป็นช่องทางให้ไปกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาปล่อยกู้ในประเทศ (เป็น out-in transaction)
ในช่วงหลังเปิดเสรีทางการเงินนี้ ใครไปขอกู้แบงก์มักจะได้รับคำแนะนำคล้ายๆ กันว่า ให้กู้เงินต่างประเทศผ่านธุรกรรม BIBF ของแบงก์ดีกว่า เพราะดอกเบี้ยเมืองนอกถูกกว่าดอกเบี้ยเมืองไทย (ที่อยู่สูงถึง 15-17%) ตั้งเยอะ ยิ่งถ้าอยากได้ดอกเบี้ยถูกๆ สุดๆ ก็ควรกู้หนี้ระยะสั้นมากกว่าระยะยาว แล้วใช้วิธีการต่ออายุสัญญากู้เงิน (Roll-over) หมุนไปเรื่อยๆ
นอกจากนั้น เนื่องจากในช่วงก่อนปี 2540 ค่าเงินบาทถูกผูกติดกับดอลลาร์ที่ประมาณ 25 บาท เพราะฉะนั้น ผู้กู้เงินทั้งหลายก็จะไม่กลัว (หรือแม้แต่นึกถึง) ความเสี่ยงว่าถ้าค่าเงินบาทอ่อนตัวจะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องชำระสูงขึ้น ดังนั้น ทุกคนเลยหันไปกู้เงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ ทำให้ Hot money ไหลบ่าเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากมาย
ตามปกติ เมื่อเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศค่อนข้างมาก ในขณะที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ จะทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากเมื่อเงินทุนต่างประเทศ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์) ไหลเข้ามามาก ความต้องการซื้อเงินบาท (ขายเงินดอลลาร์เพื่อแลกเงินบาทไปใช้ต่อ) จะเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าเราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ค่าเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นตามความต้องการซื้อเงินบาทที่เพิ่มขึ้น
แต่การที่เราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ แบงก์ชาติจะปล่อยเงินบาทให้แข็งขึ้นไม่ได้ จึงต้องเข้าไปแทรกแซงโดยการขายเงินบาทและรับซื้อดอลลาร์เข้าไปเก็บไว้ในทุนสำรอง ทำให้ปริมาณเงินในระบบสูงขึ้น และตามหลักกลไกตลาดทั่วไป เมื่อปริมาณเงินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยในประเทศก็จะปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม เวลานั้นแบงก์ชาติคงเกรงว่า หากปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยลดลง จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น จึงต้องการตรึงดอกเบี้ยให้สูง ด้วยการออกพันธบัตรไปดูดซับเงินบาทที่ตัวเองพิมพ์ออกไปกลับเข้ามา เพื่อให้ปริมาณเงินในระบบลดลง ดังนั้น เมื่อดอกเบี้ยในประเทศยังคงถูกตรึงให้สูง เงินทุนต่างชาติโดยเฉพาะเงินกู้ต่างประเทศระยะสั้นก็ยังคงไหลเข้ามาต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัญหาเงินกู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดในที่สุด
ในช่วงนั้น ผมพอจำได้ว่าการกู้เงินนั้นง่ายมาก ใครอยากได้เงินกู้ก็พาพนักงานสินเชื่อไปตีกอล์ฟบ้าง เลี้ยงข้าวบ้าง ซื้อของไปฝากบ้าง เดี๋ยวก็ได้เงินกู้ก้อนโตมาแล้ว ปัญหาที่สำคัญ ก็คือ เงินกู้ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในสาขาที่ไม่เกิดประโยชน์มาก (พูดง่ายๆ ก็คือเก็งกำไรนั่นเอง) บ้างก็กู้เงินไปปั่นหุ้น จนไม่ต้องแปลกใจที่ตลาดหุ้นตอนนั้นอยู่ถึงพันกว่าจุด บ้างก็กู้เงินไปเก็งกำไรที่ดิน ทำให้มีเศรษฐีที่ดินเกิดใหม่มากมาย คนสมัยนั้นรวยกันง่ายมาก
และตามหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค เมื่อคนรวยขึ้น รสนิยมก็สูงขึ้น หันมาใช้ของฟุ่มเฟือยมากขึ้น ตอนนั้นเราถึงเห็นรถยนต์ยี่ห้อดังๆ รุ่นใหม่ๆ กระเป๋าแบรนด์ใบละเป็นแสน เกลื่อนเมืองเต็มไปหมด และหากมองในภาพรวมแล้ว สถานการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนผ่านตัวเลขปริมาณการนำเข้าของไทยจากต่างประเทศ (โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย) ที่ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างเร็ว จนกระทั่งดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยขาดดุลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับอันตรายที่เกือบ 8% ของ GDP ในปี 2538-2539
ปัญหาดังกล่าวข้างต้นหมักหมมกันอยู่ใต้พรมมาเป็นเวลาหลายปี จนในปี 2539 มีเหตุการณ์หลายครั้งที่จุดประกาย (trigger points) ให้หลายฝ่ายเริ่มเป็นกังวลกับเศรษฐกิจไทย เช่น ปริมาณการส่งออกในปี 2539 ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ทำให้ต่างชาติชักเริ่มไม่แน่ใจว่าถ้าปล่อยกู้ต่อไป คนไทยจะมีทางหารายได้ดอลลาร์ (จากการส่งออก) มาชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศหรือไม่
นอกจากนั้น บริษัทไทยหลายแห่ง (โดยเฉพาะบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มขายบ้าน-คอนโดไม่ออก) ก็เริ่มออกอาการชักดาบเงินกู้ ส่วนแบงก์และไฟแนนซ์ทั้งหลายก็เริ่มมีปัญหาหนี้เสีย สำหรับคนไทยทั่วๆ ไป หากได้ข่าวว่าแบงก์หรือไฟแนนซ์ไหนมีปัญหาก็จะวิ่งแห่มาถอนเงินฝาก จนสถาบันการเงินหลายๆ แห่งต้องวิ่งโร่มาหาแบงก์ชาติ (กองทุนฟื้นฟูฯ) เพื่อขอเงินกู้พิเศษต่อลมหายใจไปวันๆ
ในช่วงที่เศรษฐกิจเปราะบางนี้เอง นักเก็งกำไรทั้งหลายจึงเริ่มเห็นโอกาสมาโจมตีค่าเงินบาท ซึ่งทางเราก็สู้หัวชนฝาจนทุนสำรองฯ หมด ทำให้สุดท้ายประเทศไทยก็จำเป็นต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ที่กำลังจะครบรอบ 10 ปีในอีกไม่กี่วันนี้
เสียดายเรื่องกำลังเข้าได้เข้าเข็ม แต่เนื้อที่สำหรับคอลัมน์วันนี้หมดแล้ว โปรดติดตามตอนต่อไปฉบับหน้าแล้วกันนะครับ
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/1 ... wsid=78289
12 มิถุนายน พ.ศ. 2550 07:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันครบรอบ 10 ปีของการลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งจะนับไปแล้ว จะถือเป็นวันครบรอบ 10 ขวบของวิกฤติเศรษฐกิจไทยก็ว่าได้ เมื่อกาลเวลาผ่านไปๆ หลายคนอาจจะเริ่มลืมเลือนว่า วิกฤติเศรษฐกิจไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร แผ่ขยายระบาดไปทั่วโลกกลายเป็น "โรคต้มยำกุ้ง (Tom Yum Kung Disease)" ได้อย่างไร และเราหลุดพ้นจากวิกฤติวันนั้นมาได้อย่างไร
ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ 10 ขวบของวิกฤติเศรษฐกิจนี้ คอลัมน์มุมเอกจะขอนำเสนอบทความที่เป็น Series ตอนใหม่ เรื่อง "10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ" เพื่อเป็นบทเรียนเตือนความจำให้ท่านผู้อ่านที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าวมาแล้ว ขณะเดียวกัน น้องๆ ผู้อ่านวัยเยาว์ทั้งหลายที่ยังไม่เคยผ่านวิกฤติดังกล่าวจะได้เรียนรู้บทเรียนจากอดีต จะได้ช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบ 2 ขึ้นอีก
สำหรับบทความตอนแรกในวันนี้ จะเป็นเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจไทยในปี 2540 เกิดขึ้นได้อย่างไร
จริงๆ แล้ว ผมมักจะถามคำถามนี้กับลูกศิษย์ลูกหาที่ผมสอนอยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นประจำ คำตอบที่ได้มักจะมีหลากหลาย บ้างก็ตอบว่าเกิดจากนักเก็งกำไรมาโจมตีค่าเงินบาท บ้างก็ตอบว่าคนไทยเราใช้จ่ายเกินตัวจนขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก บ้างก็ตอบว่าเพราะแบงก์และไฟแนนซ์ปล่อยกู้อย่างไม่ระมัดระวังจนเกิดหนี้เสีย หรือบางคนก็โยงไปถึงการเปิดเสรีทางการเงินในปี 2535 และยังมีคำตอบอื่นๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม มักไม่ค่อยมีผู้ใดที่จะอธิบายร้อยเรียงเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤติในปี 2540 ได้ ทั้งนี้ ก็อาจจะเป็นเพราะแต่ละคนมีประสบการณ์จากวิกฤติที่แตกต่างกัน และคำตอบจึงมักจะมาจากมุมที่ใกล้ตัว
ตัวผมเองก็ไม่รู้โชคดีหรือโชคร้ายที่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจมีโอกาสยืนอยู่ในหลายๆ มุมที่แตกต่างกัน เช่น ในช่วงฟองสบู่ก่อตัวราวๆ ปี 2535-2536 ก็ทำงานอยู่ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นจิ๊กซอว์ที่สำคัญในการประกอบภาพวิกฤติเศรษฐกิจ ต่อมาในขณะที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศก็มีโอกาสยืนดูฟองสบู่วิกฤติเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศแตกทีละลูก นับตั้งแต่วิกฤติเม็กซิโกในปี 2537 วิกฤติละตินอเมริกาในปี 2538-2539 จนมาถึงวิกฤติเศรษฐกิจไทยและเอเชียในปี 2540-2541
และในช่วงปลายวิกฤติเศรษฐกิจไทย ก็ได้มีโอกาสกลับเข้ามาทำงานกับภาครัฐและร่วมเจรจาต่อรองกับ IMF ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ก่อนที่เราจะเป็นอิสระจากโครงการ IMF ในปี 2543 วันนี้ ผมเลยขอ Share มุมหนึ่ง (มุมเอก) ต่อสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540
หากจะย้อนเวลากลับไปในปี 2535 ตอนที่ผมทำงานในบริษัทหลักทรัพย์ ตอนนั้นประเทศไทยเริ่มเปิดเสรีทางการเงิน ผ่านการจัดตั้งธุรกรรม Bangkok International Banking Facility ที่เรียกกันย่อๆ ว่า BIBF โดยมีจุดมุ่งหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นพ่อค้าคนกลางที่นำเงินจากต่างประเทศไปปล่อยกู้ต่อให้กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคที่ขาดเงิน แล้วกินค่าหัวคิวคล้ายๆ กับที่สิงคโปร์หรือฮ่องกงทำกันอยู่เป็นประจำ
รัฐบาลช่วงนั้นให้สิทธิพิเศษและลดภาษีหลายประเภทให้กับธนาคารที่ตั้ง BIBF มากมาย เพื่อจูงใจให้เกิดธุรกรรมนี้ เพราะฉะนั้น ทุกๆ แบงก์จึงแห่กันเปิด BIBF เต็มไปหมด แต่ผลลัพธ์กลับไม่ได้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ เพราะธุรกรรม BIBF ส่วนใหญ่แทนที่จะใช้เป็นช่องทางการกู้เงินต่างประเทศแล้วมาปล่อยต่อในอีกประเทศหนึ่ง (เป็น out-out transaction) กลับถูกนำไปใช้เป็นช่องทางให้ไปกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาปล่อยกู้ในประเทศ (เป็น out-in transaction)
ในช่วงหลังเปิดเสรีทางการเงินนี้ ใครไปขอกู้แบงก์มักจะได้รับคำแนะนำคล้ายๆ กันว่า ให้กู้เงินต่างประเทศผ่านธุรกรรม BIBF ของแบงก์ดีกว่า เพราะดอกเบี้ยเมืองนอกถูกกว่าดอกเบี้ยเมืองไทย (ที่อยู่สูงถึง 15-17%) ตั้งเยอะ ยิ่งถ้าอยากได้ดอกเบี้ยถูกๆ สุดๆ ก็ควรกู้หนี้ระยะสั้นมากกว่าระยะยาว แล้วใช้วิธีการต่ออายุสัญญากู้เงิน (Roll-over) หมุนไปเรื่อยๆ
นอกจากนั้น เนื่องจากในช่วงก่อนปี 2540 ค่าเงินบาทถูกผูกติดกับดอลลาร์ที่ประมาณ 25 บาท เพราะฉะนั้น ผู้กู้เงินทั้งหลายก็จะไม่กลัว (หรือแม้แต่นึกถึง) ความเสี่ยงว่าถ้าค่าเงินบาทอ่อนตัวจะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องชำระสูงขึ้น ดังนั้น ทุกคนเลยหันไปกู้เงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ ทำให้ Hot money ไหลบ่าเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากมาย
ตามปกติ เมื่อเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศค่อนข้างมาก ในขณะที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ จะทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากเมื่อเงินทุนต่างประเทศ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์) ไหลเข้ามามาก ความต้องการซื้อเงินบาท (ขายเงินดอลลาร์เพื่อแลกเงินบาทไปใช้ต่อ) จะเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าเราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ค่าเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นตามความต้องการซื้อเงินบาทที่เพิ่มขึ้น
แต่การที่เราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ แบงก์ชาติจะปล่อยเงินบาทให้แข็งขึ้นไม่ได้ จึงต้องเข้าไปแทรกแซงโดยการขายเงินบาทและรับซื้อดอลลาร์เข้าไปเก็บไว้ในทุนสำรอง ทำให้ปริมาณเงินในระบบสูงขึ้น และตามหลักกลไกตลาดทั่วไป เมื่อปริมาณเงินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยในประเทศก็จะปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม เวลานั้นแบงก์ชาติคงเกรงว่า หากปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยลดลง จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น จึงต้องการตรึงดอกเบี้ยให้สูง ด้วยการออกพันธบัตรไปดูดซับเงินบาทที่ตัวเองพิมพ์ออกไปกลับเข้ามา เพื่อให้ปริมาณเงินในระบบลดลง ดังนั้น เมื่อดอกเบี้ยในประเทศยังคงถูกตรึงให้สูง เงินทุนต่างชาติโดยเฉพาะเงินกู้ต่างประเทศระยะสั้นก็ยังคงไหลเข้ามาต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัญหาเงินกู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดในที่สุด
ในช่วงนั้น ผมพอจำได้ว่าการกู้เงินนั้นง่ายมาก ใครอยากได้เงินกู้ก็พาพนักงานสินเชื่อไปตีกอล์ฟบ้าง เลี้ยงข้าวบ้าง ซื้อของไปฝากบ้าง เดี๋ยวก็ได้เงินกู้ก้อนโตมาแล้ว ปัญหาที่สำคัญ ก็คือ เงินกู้ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในสาขาที่ไม่เกิดประโยชน์มาก (พูดง่ายๆ ก็คือเก็งกำไรนั่นเอง) บ้างก็กู้เงินไปปั่นหุ้น จนไม่ต้องแปลกใจที่ตลาดหุ้นตอนนั้นอยู่ถึงพันกว่าจุด บ้างก็กู้เงินไปเก็งกำไรที่ดิน ทำให้มีเศรษฐีที่ดินเกิดใหม่มากมาย คนสมัยนั้นรวยกันง่ายมาก
และตามหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค เมื่อคนรวยขึ้น รสนิยมก็สูงขึ้น หันมาใช้ของฟุ่มเฟือยมากขึ้น ตอนนั้นเราถึงเห็นรถยนต์ยี่ห้อดังๆ รุ่นใหม่ๆ กระเป๋าแบรนด์ใบละเป็นแสน เกลื่อนเมืองเต็มไปหมด และหากมองในภาพรวมแล้ว สถานการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนผ่านตัวเลขปริมาณการนำเข้าของไทยจากต่างประเทศ (โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย) ที่ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างเร็ว จนกระทั่งดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยขาดดุลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับอันตรายที่เกือบ 8% ของ GDP ในปี 2538-2539
ปัญหาดังกล่าวข้างต้นหมักหมมกันอยู่ใต้พรมมาเป็นเวลาหลายปี จนในปี 2539 มีเหตุการณ์หลายครั้งที่จุดประกาย (trigger points) ให้หลายฝ่ายเริ่มเป็นกังวลกับเศรษฐกิจไทย เช่น ปริมาณการส่งออกในปี 2539 ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ทำให้ต่างชาติชักเริ่มไม่แน่ใจว่าถ้าปล่อยกู้ต่อไป คนไทยจะมีทางหารายได้ดอลลาร์ (จากการส่งออก) มาชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศหรือไม่
นอกจากนั้น บริษัทไทยหลายแห่ง (โดยเฉพาะบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มขายบ้าน-คอนโดไม่ออก) ก็เริ่มออกอาการชักดาบเงินกู้ ส่วนแบงก์และไฟแนนซ์ทั้งหลายก็เริ่มมีปัญหาหนี้เสีย สำหรับคนไทยทั่วๆ ไป หากได้ข่าวว่าแบงก์หรือไฟแนนซ์ไหนมีปัญหาก็จะวิ่งแห่มาถอนเงินฝาก จนสถาบันการเงินหลายๆ แห่งต้องวิ่งโร่มาหาแบงก์ชาติ (กองทุนฟื้นฟูฯ) เพื่อขอเงินกู้พิเศษต่อลมหายใจไปวันๆ
ในช่วงที่เศรษฐกิจเปราะบางนี้เอง นักเก็งกำไรทั้งหลายจึงเริ่มเห็นโอกาสมาโจมตีค่าเงินบาท ซึ่งทางเราก็สู้หัวชนฝาจนทุนสำรองฯ หมด ทำให้สุดท้ายประเทศไทยก็จำเป็นต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ที่กำลังจะครบรอบ 10 ปีในอีกไม่กี่วันนี้
เสียดายเรื่องกำลังเข้าได้เข้าเข็ม แต่เนื้อที่สำหรับคอลัมน์วันนี้หมดแล้ว โปรดติดตามตอนต่อไปฉบับหน้าแล้วกันนะครับ
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/1 ... wsid=78289
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 27
มุมเอก: 10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจตอน ย้อนรอยสงครามค่าเงินบาท
26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 11:48:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
ในคอลัมน์มุมเอกฉบับก่อน ผมเริ่มเขียนบทความฉลอง 10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ ตอนแรกเรื่อง "บทเรียนที่ไม่ควรลืม" โดยอธิบายปัญหาพื้นฐานอันอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนปี 2540 จนนำไปสู่การเริ่มต้นของสงครามค่าเงินบาทในช่วงปลายปี 2539 ซึ่งท้ายที่สุด ประเทศไทยก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
ในวันนี้ ผมจะขอนำท่านผู้อ่านมาย้อนรอยดูว่า สงครามค่าเงินบาทเกิดขึ้นอย่างไร นักเก็งกำไรโจมตีค่าเงินบาทอย่างไร แบงก์ชาติต่อสู้ปกป้องค่าเงินอย่างไร และทำไมเราถึงแพ้ในที่สุด
ก่อนอื่นผมขอย้อนกลับไปกล่าวถึง สถานการณ์ก่อนสงครามค่าเงินจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2539 เล็กน้อย ในช่วงนั้น มีปัญหาหลายจุดเริ่มโผล่จากใต้พรมออกมาให้นักเก็งกำไรเริ่มได้กลิ่นไอแห่งโอกาสในทำกำไรจากค่าเงินบาท เช่น การส่งออกลดลงมาก ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ติดลบตัวแดงมานานหลายปีแล้วยิ่งขาดดุลมากขึ้น บริษัทอสังหาริมทรัพย์บางแห่งเริ่มชักดาบไม่มีเงินจ่ายหนี้คืนเจ้าหนี้ต่างประเทศ ธนาคารและไฟแนนซ์หลายแห่ง เริ่มมีปัญหาหนี้เสียต้องมาขอความช่วยเหลือเงินกู้ฉุกเฉินจากแบงก์ชาติ อีกทั้งตลาดหุ้นเริ่มดิ่งหัวลงต่อเนื่อง
ปัญหาดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองว่า ค่าเงินบาทที่ถูกตรึงไว้ที่ประมาณ 25 บาทต่อดอลลาร์ไม่น่าจะสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง นักลงทุนต่างชาติจึงเริ่มถอนเงินลงทุนออกจากเมืองไทย เพราะหากอยู่ต่อไปแล้วค่าเงินบาทเกิดอ่อนลง สินทรัพย์ที่เป็นเงินบาทก็จะด้อยค่าไปด้วย ส่วนนักเก็งกำไรค่าเงินต่างๆ ก็เริ่มเข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน โดยการขายเงินบาท (ซื้อดอลลาร์) ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ทางการกำหนด ซึ่งหากค่าเงินบาทอ่อนลง ก็ค่อยมาซื้อบาทคืนในราคาถูก (ขายดอลลาร์ในราคาแพง)
ท่านลองสมมติเป็นนักเก็งกำไรค่าเงินในตอนนั้นดูแล้วกัน หากท่านเอาเงินบาท 25 ล้านบาทมาขายเพื่อแลกซื้อดอลลาร์ได้ 1 ล้านดอลลาร์ (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาทต่อดอลลาร์) แล้วอีก 1 เดือนต่อมา ค่าเงินบาทอ่อนมาอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์ ท่านก็เอา 1 ล้านดอลลาร์มาแลกซื้อเงินบาทได้ที่ 30 ล้านบาท แค่นี้เองท่านก็จะได้กำไรไปแล้ว 5 ล้านบาทสบายๆ
หลายท่านอาจเริ่มสงสัยแล้วว่า นักเก็งกำไรฝรั่งต่างชาติทั้งหลายจะเอาเงินบาทที่ไหนมาขาย? คำตอบก็คือ พวกนี้เขาหาเงินบาทได้หลายวิธี เช่น กู้เงินบาทตรงๆ จากสถาบันการเงินไทยบ้าง รับฝากเงินจากเศรษฐีไทยบ้าง แต่วิธีการหนึ่งที่สำคัญและถูกนำมาใช้มากในการเก็งกำไรในช่วงต้นปี 2540 คือ การทำ swap โดยการเอาดอลลาร์ที่เขามีอยู่มาเป็นหลักทรัพย์ขอกู้เงินบาทในวันนี้ (ศัพท์ทางการเงิน เรียกว่า swap sell-buy USD/THB) แต่ในอนาคตข้างหน้า (ตามเวลาที่ตกลงกัน) ก็สัญญาว่าจะ swap กลับโดยเอาเงินบาทมาแลกคืนดอลลาร์ (ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า) นี่แหละครับที่ทำให้นักเก็งกำไรต่างชาติ สามารถมีเงินบาทมาขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อกดดันให้เงินบาทอ่อนค่า
สำหรับประเทศไทยที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ในขณะนั้น เมื่อมีแรงขายเงินบาทให้อ่อน (ทั้งจากนักลงทุนที่ถอนเงินออกและนักเก็งกำไร) เราก็มีทางเลือกอยู่ไม่กี่ทาง ทางที่หนึ่งก็คือยอมแพ้ไปเลย แล้วยอมรับว่าค่าเงินบาทที่ตรึงไว้ที่ประมาณ 25 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ มันแข็งเกินกว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทย และก็ปรับลดค่าเงินให้สอดคล้องกับพื้นฐาน
ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งก็คือ แทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อสู้กับนักเก็งกำไร เมื่อเขาขายเงินบาท (ซื้อดอลลาร์) เพื่อกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อน แบงก์ชาติก็ทำตรงกันข้าม โดยการซื้อเงินบาท (ขายดอลลาร์) เพื่อไม่ให้บาทอ่อน ส่วนทางเลือกที่ 3 คือ มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าออก (capital control) ซึ่งมาเลเซียได้นำมาใช้ในการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินริงกิต ในช่วงที่โรคต้มยำกุ้งแผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย
สิ่งที่ทางการไทยเราเลือกในเวลานั้น คือใช้วิธีที่สอง คือ สู้ (ตาย) แลกหมัดกับนักเก็งกำไร โดยแบงก์ชาติรับซื้อบาทและขายเงินดอลลาร์ แต่วิธีการนี้จะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น คือ การซื้อเงินบาทของแบงก์ชาติ จะทำให้ปริมาณเงินบาทถูกดูดออกจากระบบ ส่งผลให้ดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น ซึ่งในเวลานั้น ระบบการเงินและภาคเอกชนมีปัญหาขาดสภาพคล่องมาก นอกจากนั้น การขายเงินดอลลาร์ออกไป ก็จะทำให้ทุนสำรองที่มีอยู่อย่างจำกัดลดลง
ดังนั้น ทางออกแบงก์ชาติใช้ในตอนนั้น ก็คือ ทำ swap ในด้านตรงกันข้ามกับนักเก็งกำไร คือ swap buy-sell USD/THB โดยการแบงก์ชาติซื้อดอลลาร์ขายเงินบาทวันนี้ แล้วมีสัญญาว่าจะขายดอลลาร์และซื้อบาทคืนในอนาคต ซึ่งการทำ swap แบบนี้ จะช่วยให้แบงก์ชาติสามารถมีดอลลาร์ในวันนี้เพิ่มขึ้น เพื่อนำมาเป็นกระสุนต่อสู้กับนักเก็งกำไร ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยซ่อนไม่ให้ใครเห็นสถานะทุนสำรองที่แท้จริงของทางการ (ในตอนนั้น ทางการไม่ต้องรายงานสถานะ swap ซึ่งอยู่นอกงบการเงินให้สาธารณะทราบ)
นอกจากนี้ การ swap ขายเงินบาทออกมาในวันนี้ ยังช่วยเพิ่มปริมาณเงินบาทและชดเชยไม่ให้เงินบาทลดลง จากการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนข้างต้น
จริงๆ แล้ว สงครามค่าเงินบาทในปี 2539-2540 นี้ เป็นเกมแห่งการเกทับกันอย่างแท้จริง เพราะหากดูให้ดีแล้ว นักเก็งกำไรก็ไม่มีเงินบาทมาขายกับแบงก์ชาติ และต้องไปกู้เงินบาทมาจากคนไทยนั่นเอง ส่วนแบงก์ชาติเองก็มีดอลลาร์ไม่พอมาขายให้กับนักเก็งกำไร จึงต้องไปกู้มาจากต่างประเทศเช่นกัน สรุปแล้วคือต่างฝ่ายต่างมีกระสุนไม่มาก ฝ่ายใดกู้ได้มากกว่าและอึดกว่า ก็ชนะ
แบงก์ชาติไทยเราชนะมาแล้วหลายยก และสามารถป้องกันการเก็งกำไรได้มาตั้งแต่ยกแรกในตอนปลายปี 2539 และเกือบชนะน็อกในยกที่ 5 ในสงครามเดือนพฤษภาคม หลังจากที่ทางการสั่งห้ามสถาบันการเงินปล่อยกู้ให้กับต่างชาติที่ไม่มีธุรกรรมรองรับ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 จนนักเก็งกำไรไม่สามารถหาเงินบาทมาปิดสัญญา Swap ในอนาคตได้ และต้องขาดทุนจำนวนมาก
อ้าว! แล้วทำไมเกมกลับตาลปัตร เรากลับเป็นฝ่ายแพ้ถูกน็อกในยกสุดท้าย ต้องลอยตัวค่าเงินบาท ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 คำตอบนี้ผมก็ไม่ทราบแน่ชัด แต่ที่แน่ๆ หากใครไปดู นสพ.ย้อนหลังในช่วงดังกล่าว ท่านจะพบว่าการเมืองไทยในช่วงนั้นเราวุ่นวายมาก วันหนึ่งรัฐบาลเสนอขึ้นภาษี อีกไม่กี่วันก็ประกาศยกเลิก จนรมว.คลังฯ ต้องประกาศลาออกในวันที่ 19 มิถุนายน 2540 และยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองอีกหลายอย่างที่กล่าวไม่หมดในที่นี้
แต่การที่นโยบายรัฐบาลสับสนและขุนศึกต้องลาออก ได้ดึงทั้งนักเก็งกำไรเข้ามาโจมตีเงินบาทเพิ่มขึ้น ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศก็แห่ถอนเงินจากเมืองไทยอีกระลอกใหญ่ เมื่อพายุโหมถล่มหนักขึ้น ในที่สุด ทางการก็ยอมแพ้และลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด
บทเรียนราคาแพงนี้ สอนว่าหากการเมืองไม่สงบ แถมนโยบายสับสน รบ 100 ครั้ง ก็แพ้ 100 ครั้ง
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/2 ... wsid=80956
26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 11:48:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
ในคอลัมน์มุมเอกฉบับก่อน ผมเริ่มเขียนบทความฉลอง 10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ ตอนแรกเรื่อง "บทเรียนที่ไม่ควรลืม" โดยอธิบายปัญหาพื้นฐานอันอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนปี 2540 จนนำไปสู่การเริ่มต้นของสงครามค่าเงินบาทในช่วงปลายปี 2539 ซึ่งท้ายที่สุด ประเทศไทยก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
ในวันนี้ ผมจะขอนำท่านผู้อ่านมาย้อนรอยดูว่า สงครามค่าเงินบาทเกิดขึ้นอย่างไร นักเก็งกำไรโจมตีค่าเงินบาทอย่างไร แบงก์ชาติต่อสู้ปกป้องค่าเงินอย่างไร และทำไมเราถึงแพ้ในที่สุด
ก่อนอื่นผมขอย้อนกลับไปกล่าวถึง สถานการณ์ก่อนสงครามค่าเงินจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2539 เล็กน้อย ในช่วงนั้น มีปัญหาหลายจุดเริ่มโผล่จากใต้พรมออกมาให้นักเก็งกำไรเริ่มได้กลิ่นไอแห่งโอกาสในทำกำไรจากค่าเงินบาท เช่น การส่งออกลดลงมาก ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ติดลบตัวแดงมานานหลายปีแล้วยิ่งขาดดุลมากขึ้น บริษัทอสังหาริมทรัพย์บางแห่งเริ่มชักดาบไม่มีเงินจ่ายหนี้คืนเจ้าหนี้ต่างประเทศ ธนาคารและไฟแนนซ์หลายแห่ง เริ่มมีปัญหาหนี้เสียต้องมาขอความช่วยเหลือเงินกู้ฉุกเฉินจากแบงก์ชาติ อีกทั้งตลาดหุ้นเริ่มดิ่งหัวลงต่อเนื่อง
ปัญหาดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองว่า ค่าเงินบาทที่ถูกตรึงไว้ที่ประมาณ 25 บาทต่อดอลลาร์ไม่น่าจะสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง นักลงทุนต่างชาติจึงเริ่มถอนเงินลงทุนออกจากเมืองไทย เพราะหากอยู่ต่อไปแล้วค่าเงินบาทเกิดอ่อนลง สินทรัพย์ที่เป็นเงินบาทก็จะด้อยค่าไปด้วย ส่วนนักเก็งกำไรค่าเงินต่างๆ ก็เริ่มเข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน โดยการขายเงินบาท (ซื้อดอลลาร์) ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ทางการกำหนด ซึ่งหากค่าเงินบาทอ่อนลง ก็ค่อยมาซื้อบาทคืนในราคาถูก (ขายดอลลาร์ในราคาแพง)
ท่านลองสมมติเป็นนักเก็งกำไรค่าเงินในตอนนั้นดูแล้วกัน หากท่านเอาเงินบาท 25 ล้านบาทมาขายเพื่อแลกซื้อดอลลาร์ได้ 1 ล้านดอลลาร์ (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาทต่อดอลลาร์) แล้วอีก 1 เดือนต่อมา ค่าเงินบาทอ่อนมาอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์ ท่านก็เอา 1 ล้านดอลลาร์มาแลกซื้อเงินบาทได้ที่ 30 ล้านบาท แค่นี้เองท่านก็จะได้กำไรไปแล้ว 5 ล้านบาทสบายๆ
หลายท่านอาจเริ่มสงสัยแล้วว่า นักเก็งกำไรฝรั่งต่างชาติทั้งหลายจะเอาเงินบาทที่ไหนมาขาย? คำตอบก็คือ พวกนี้เขาหาเงินบาทได้หลายวิธี เช่น กู้เงินบาทตรงๆ จากสถาบันการเงินไทยบ้าง รับฝากเงินจากเศรษฐีไทยบ้าง แต่วิธีการหนึ่งที่สำคัญและถูกนำมาใช้มากในการเก็งกำไรในช่วงต้นปี 2540 คือ การทำ swap โดยการเอาดอลลาร์ที่เขามีอยู่มาเป็นหลักทรัพย์ขอกู้เงินบาทในวันนี้ (ศัพท์ทางการเงิน เรียกว่า swap sell-buy USD/THB) แต่ในอนาคตข้างหน้า (ตามเวลาที่ตกลงกัน) ก็สัญญาว่าจะ swap กลับโดยเอาเงินบาทมาแลกคืนดอลลาร์ (ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า) นี่แหละครับที่ทำให้นักเก็งกำไรต่างชาติ สามารถมีเงินบาทมาขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อกดดันให้เงินบาทอ่อนค่า
สำหรับประเทศไทยที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ในขณะนั้น เมื่อมีแรงขายเงินบาทให้อ่อน (ทั้งจากนักลงทุนที่ถอนเงินออกและนักเก็งกำไร) เราก็มีทางเลือกอยู่ไม่กี่ทาง ทางที่หนึ่งก็คือยอมแพ้ไปเลย แล้วยอมรับว่าค่าเงินบาทที่ตรึงไว้ที่ประมาณ 25 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ มันแข็งเกินกว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทย และก็ปรับลดค่าเงินให้สอดคล้องกับพื้นฐาน
ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งก็คือ แทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อสู้กับนักเก็งกำไร เมื่อเขาขายเงินบาท (ซื้อดอลลาร์) เพื่อกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อน แบงก์ชาติก็ทำตรงกันข้าม โดยการซื้อเงินบาท (ขายดอลลาร์) เพื่อไม่ให้บาทอ่อน ส่วนทางเลือกที่ 3 คือ มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าออก (capital control) ซึ่งมาเลเซียได้นำมาใช้ในการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินริงกิต ในช่วงที่โรคต้มยำกุ้งแผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย
สิ่งที่ทางการไทยเราเลือกในเวลานั้น คือใช้วิธีที่สอง คือ สู้ (ตาย) แลกหมัดกับนักเก็งกำไร โดยแบงก์ชาติรับซื้อบาทและขายเงินดอลลาร์ แต่วิธีการนี้จะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น คือ การซื้อเงินบาทของแบงก์ชาติ จะทำให้ปริมาณเงินบาทถูกดูดออกจากระบบ ส่งผลให้ดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น ซึ่งในเวลานั้น ระบบการเงินและภาคเอกชนมีปัญหาขาดสภาพคล่องมาก นอกจากนั้น การขายเงินดอลลาร์ออกไป ก็จะทำให้ทุนสำรองที่มีอยู่อย่างจำกัดลดลง
ดังนั้น ทางออกแบงก์ชาติใช้ในตอนนั้น ก็คือ ทำ swap ในด้านตรงกันข้ามกับนักเก็งกำไร คือ swap buy-sell USD/THB โดยการแบงก์ชาติซื้อดอลลาร์ขายเงินบาทวันนี้ แล้วมีสัญญาว่าจะขายดอลลาร์และซื้อบาทคืนในอนาคต ซึ่งการทำ swap แบบนี้ จะช่วยให้แบงก์ชาติสามารถมีดอลลาร์ในวันนี้เพิ่มขึ้น เพื่อนำมาเป็นกระสุนต่อสู้กับนักเก็งกำไร ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยซ่อนไม่ให้ใครเห็นสถานะทุนสำรองที่แท้จริงของทางการ (ในตอนนั้น ทางการไม่ต้องรายงานสถานะ swap ซึ่งอยู่นอกงบการเงินให้สาธารณะทราบ)
นอกจากนี้ การ swap ขายเงินบาทออกมาในวันนี้ ยังช่วยเพิ่มปริมาณเงินบาทและชดเชยไม่ให้เงินบาทลดลง จากการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนข้างต้น
จริงๆ แล้ว สงครามค่าเงินบาทในปี 2539-2540 นี้ เป็นเกมแห่งการเกทับกันอย่างแท้จริง เพราะหากดูให้ดีแล้ว นักเก็งกำไรก็ไม่มีเงินบาทมาขายกับแบงก์ชาติ และต้องไปกู้เงินบาทมาจากคนไทยนั่นเอง ส่วนแบงก์ชาติเองก็มีดอลลาร์ไม่พอมาขายให้กับนักเก็งกำไร จึงต้องไปกู้มาจากต่างประเทศเช่นกัน สรุปแล้วคือต่างฝ่ายต่างมีกระสุนไม่มาก ฝ่ายใดกู้ได้มากกว่าและอึดกว่า ก็ชนะ
แบงก์ชาติไทยเราชนะมาแล้วหลายยก และสามารถป้องกันการเก็งกำไรได้มาตั้งแต่ยกแรกในตอนปลายปี 2539 และเกือบชนะน็อกในยกที่ 5 ในสงครามเดือนพฤษภาคม หลังจากที่ทางการสั่งห้ามสถาบันการเงินปล่อยกู้ให้กับต่างชาติที่ไม่มีธุรกรรมรองรับ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 จนนักเก็งกำไรไม่สามารถหาเงินบาทมาปิดสัญญา Swap ในอนาคตได้ และต้องขาดทุนจำนวนมาก
อ้าว! แล้วทำไมเกมกลับตาลปัตร เรากลับเป็นฝ่ายแพ้ถูกน็อกในยกสุดท้าย ต้องลอยตัวค่าเงินบาท ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 คำตอบนี้ผมก็ไม่ทราบแน่ชัด แต่ที่แน่ๆ หากใครไปดู นสพ.ย้อนหลังในช่วงดังกล่าว ท่านจะพบว่าการเมืองไทยในช่วงนั้นเราวุ่นวายมาก วันหนึ่งรัฐบาลเสนอขึ้นภาษี อีกไม่กี่วันก็ประกาศยกเลิก จนรมว.คลังฯ ต้องประกาศลาออกในวันที่ 19 มิถุนายน 2540 และยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองอีกหลายอย่างที่กล่าวไม่หมดในที่นี้
แต่การที่นโยบายรัฐบาลสับสนและขุนศึกต้องลาออก ได้ดึงทั้งนักเก็งกำไรเข้ามาโจมตีเงินบาทเพิ่มขึ้น ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศก็แห่ถอนเงินจากเมืองไทยอีกระลอกใหญ่ เมื่อพายุโหมถล่มหนักขึ้น ในที่สุด ทางการก็ยอมแพ้และลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด
บทเรียนราคาแพงนี้ สอนว่าหากการเมืองไม่สงบ แถมนโยบายสับสน รบ 100 ครั้ง ก็แพ้ 100 ครั้ง
ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/2 ... wsid=80956
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 29
ไม่อยากขึ้นทู้ใหม่ ไม่รู้จะเข้าทู้ไหน ฝากไว้ที่นี่ก็แล้วกันคับ....
-----------------------------------------------------------------------------
เราจะบริหารเงินทุนสำรองของประเทศอย่างไรดี
Just an Idea : ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ประเด็นที่ท้าทายเศรษฐกิจไทยที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่ง นอกจากเรื่องค่าเงินบาทแล้ว ก็คือประเด็นที่เราจะจัดการอย่างไร กับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทุกขณะจนมีจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว การมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับที่มากในเวลาที่รวดเร็วก็เป็นปัญหาเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ประกอบไปด้วยเงินตราต่างประเทศในสกุลที่มีแนวโน้มด้อยค่า เช่น ดอลลาร์สหรัฐจำนวนมาก เพราะมูลค่าของทรัพย์สินที่ประเทศชาติถืออยู่ก็จะมีค่าลดลงเช่นกัน
สำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การมีเงินทุนต่างประเทศ ไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในรูปการลงทุนทางตรง โดยการเข้ามาตั้งกิจการ โรงงานและอุตสาหกรรมในเมืองไทย หรือร่วมลงทุนทำธุรกิจกับบริษัทไทย และในรูปการลงทุนทางอ้อม โดยการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินรวมทั้งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ในกรณีของประเทศไทยในช่วงนี้เป็นแบบหลังเสียมากกว่า อีกทั้งเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท แบงก์ชาติจำเป็นต้องแทรกแซงโดยการขายเงินบาทและซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐจำนวนมาก
ดังนั้น หากเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าเรื่อยๆ และหากเราไม่สามารถบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้นเพื่อชดเชยกัน เราก็จะขาดทุนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ และบั่นทอนอำนาจซื้อ ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่สำคัญที่สุดที่เรามีอยู่ในระยะยาว
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับที่มีมากพอที่จะต้องพิจารณาว่า ทำอย่างไรถึงจะบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ การเก็บสำรองเงินตราต่างประเทศเหล่านี้ทั้งหมดไว้เฉยๆ โดยการซื้อตราสารการเงินที่ไม่มีความเสี่ยง มีสภาพคล่องดี แต่ให้ผลตอบแทนต่ำไว้ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องที่ควรทิ้งไว้กับอดีต
ตัวชี้วัดระดับความพอเพียงของสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศไทย (ดังตาราง) ทุกตัวชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากเพียงพอ และมีส่วนเกินที่จะคิดนำเอาบางส่วนไปบริหารจัดการในเชิงรุก เพื่อหาผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะยาว ข้ออ้างที่ว่าประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยจำเป็นต้องเก็บเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้นิ่งๆ เป็นสำรองสภาพคล่องจำนวนมาก เพื่อป้องกันปัญหาเงินทุนไหลออกจนเกิดวิกฤติ เช่นปี 2540 เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นในยามที่สำรองเงินตราระหว่างประเทศของไทย เพิ่มขึ้นในระดับที่เกินความจำเป็น
ประกอบกับกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้า และค่าเงินบาทแข็งยังเป็นแนวโน้มที่ชัดเจน และหลีกเลี่ยงยากไปอีกระยะหนึ่งอย่างน้อยก็ 2-3 ปีข้างหน้า ความจำเป็นที่จะต้องระบายสำรองเงินตราต่างประเทศ ออกไปลงทุน ให้เน้นผลตอบแทน มีมากกว่าการสะสมเก็บตุนไว้เฉยๆ เพื่อเน้นภาพพจน์ความมั่นคง
การบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยในยามนี้ จึงควรเน้นการลงทุนในเชิงรุกมากขึ้น โดยมีการจัดสรรสัดส่วนเฉพาะเพื่อการลงทุนที่เน้นผลตอบแทนมากขึ้น โดยแบ่งเงินทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่เน้นสภาพคล่องและความปลอดภัยของการลงทุนเป็นหลัก (liquidity tranch) และ 2. ส่วนที่เน้นการลงทุนทางเลือก และผลตอบแทนระยะยาว (investment tranch) ในส่วนแรกนั้น ควรเน้นการลงทุนแบบดั้งเดิมในตราสารการเงิน และสินทรัพย์ต่างประเทศที่มีระยะสั้น ๆ และมีความมั่นคงสูงในเชิง passive management โดยเป็นการลงทุนที่ให้ใช้วิจารณญาณของผู้จัดการกองทุนได้เพียงเล็กน้อย ในส่วนที่สองเป็นการลงทุนในลักษณะ active management ในรูปแบบใหม่ๆ เช่น กองทุนประเภทต่างๆ (fund of fund , mutual fund , hedge fund) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ ตราสารการเงินที่มีความมั่นคงพอสมควร และมีความเสี่ยงบ้างแต่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนแบบดั้งเดิม และการลงทุนโดยตรงในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (private equity) โดยไม่เน้นผลตอบแทนในระยะสั้น แต่ต้องเห็นผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว หรือแม้กระทั่งว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในต่างประเทศบริหารจัดการให้
ในต่างประเทศเริ่มมีแนวโน้มที่จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่มีอิสระขึ้นมาบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ในลักษณะที่สองที่กล่าวมาดังข้างต้น เช่น จีน สิงคโปร์ เกาหลี คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และนอร์เวย์ เป็นต้น ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างรวดเร็ว
การพิจารณาว่าจะจัดสรรเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างไรระหว่างส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สอง ก็ขึ้นอยู่กับว่าแบงก์ชาติ จำเป็นที่จะต้องมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเท่าใด ในการดำเนินนโยบายการเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยคำนึงถึงระดับที่ไม่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการ และแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนต่อ
การบริหารสภาพคล่องของประเทศ หากแบงก์ชาติมีความสามารถในการบริหารจัดการในส่วนนี้ได้ดี ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้ในส่วนนี้มาก และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือที่จะเจียดไปอยู่ในส่วนที่สอง
โดยทั่วไปการกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สองต้องคำนึงถึงความเปิดของเศรษฐกิจไทย ความจำเป็นในการใช้เงินตราต่างประเทศเพื่อการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ เช่น เพื่อการชำระเงินกู้ต่างประเทศ และสินค้านำเข้า ตลอดจนความต้องการเงินตราต่างประเทศในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของไทย และต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการเก็บสำรองเงินตราต่างประเทศไว้เฉยๆ ในรูปเงินสด เมื่อกำหนดวงเงินที่เหมาะสมได้แล้ว ก็ให้ส่วนนี้อยู่ในการบริหารจัดการของแบงก์ชาติ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ส่วนที่เหลือสามารถแยกไปให้บรรษัทที่จะจัดตั้งขึ้นมา ทำหน้าที่บริหารจัดการเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะนำไปลงทุน
โดยอยู่นอกระเบียบกฎเกณฑ์และวัตถุประสงค์ของการช่วยแบงก์ชาติในการดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้ความอิสระคล่องตัวในการลงทุน เพิ่มโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะยาว และในขณะเดียวกันก็เป็นการกระจายความเสี่ยงโดยแยกไข่ไว้หลายตะกร้า กล่าวคือ หากในอนาคตเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดน้อยมาก) เช่นเดียวกับเมื่อปี 2540 ที่เราสูญเสียเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด จากการแทรกแซงค่าเงินบาท เราก็ยังจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศที่ลงทุนอยู่ในสินทรัพย์ในต่างประเทศอยู่ก้อนหนึ่ง ที่ยังปลอดภัย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87474
-----------------------------------------------------------------------------
เราจะบริหารเงินทุนสำรองของประเทศอย่างไรดี
Just an Idea : ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ประเด็นที่ท้าทายเศรษฐกิจไทยที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่ง นอกจากเรื่องค่าเงินบาทแล้ว ก็คือประเด็นที่เราจะจัดการอย่างไร กับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทุกขณะจนมีจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว การมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับที่มากในเวลาที่รวดเร็วก็เป็นปัญหาเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ประกอบไปด้วยเงินตราต่างประเทศในสกุลที่มีแนวโน้มด้อยค่า เช่น ดอลลาร์สหรัฐจำนวนมาก เพราะมูลค่าของทรัพย์สินที่ประเทศชาติถืออยู่ก็จะมีค่าลดลงเช่นกัน
สำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การมีเงินทุนต่างประเทศ ไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในรูปการลงทุนทางตรง โดยการเข้ามาตั้งกิจการ โรงงานและอุตสาหกรรมในเมืองไทย หรือร่วมลงทุนทำธุรกิจกับบริษัทไทย และในรูปการลงทุนทางอ้อม โดยการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินรวมทั้งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ในกรณีของประเทศไทยในช่วงนี้เป็นแบบหลังเสียมากกว่า อีกทั้งเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท แบงก์ชาติจำเป็นต้องแทรกแซงโดยการขายเงินบาทและซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐจำนวนมาก
ดังนั้น หากเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าเรื่อยๆ และหากเราไม่สามารถบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้นเพื่อชดเชยกัน เราก็จะขาดทุนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ และบั่นทอนอำนาจซื้อ ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่สำคัญที่สุดที่เรามีอยู่ในระยะยาว
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับที่มีมากพอที่จะต้องพิจารณาว่า ทำอย่างไรถึงจะบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ การเก็บสำรองเงินตราต่างประเทศเหล่านี้ทั้งหมดไว้เฉยๆ โดยการซื้อตราสารการเงินที่ไม่มีความเสี่ยง มีสภาพคล่องดี แต่ให้ผลตอบแทนต่ำไว้ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องที่ควรทิ้งไว้กับอดีต
ตัวชี้วัดระดับความพอเพียงของสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศไทย (ดังตาราง) ทุกตัวชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากเพียงพอ และมีส่วนเกินที่จะคิดนำเอาบางส่วนไปบริหารจัดการในเชิงรุก เพื่อหาผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะยาว ข้ออ้างที่ว่าประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยจำเป็นต้องเก็บเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้นิ่งๆ เป็นสำรองสภาพคล่องจำนวนมาก เพื่อป้องกันปัญหาเงินทุนไหลออกจนเกิดวิกฤติ เช่นปี 2540 เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นในยามที่สำรองเงินตราระหว่างประเทศของไทย เพิ่มขึ้นในระดับที่เกินความจำเป็น
ประกอบกับกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้า และค่าเงินบาทแข็งยังเป็นแนวโน้มที่ชัดเจน และหลีกเลี่ยงยากไปอีกระยะหนึ่งอย่างน้อยก็ 2-3 ปีข้างหน้า ความจำเป็นที่จะต้องระบายสำรองเงินตราต่างประเทศ ออกไปลงทุน ให้เน้นผลตอบแทน มีมากกว่าการสะสมเก็บตุนไว้เฉยๆ เพื่อเน้นภาพพจน์ความมั่นคง
การบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยในยามนี้ จึงควรเน้นการลงทุนในเชิงรุกมากขึ้น โดยมีการจัดสรรสัดส่วนเฉพาะเพื่อการลงทุนที่เน้นผลตอบแทนมากขึ้น โดยแบ่งเงินทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่เน้นสภาพคล่องและความปลอดภัยของการลงทุนเป็นหลัก (liquidity tranch) และ 2. ส่วนที่เน้นการลงทุนทางเลือก และผลตอบแทนระยะยาว (investment tranch) ในส่วนแรกนั้น ควรเน้นการลงทุนแบบดั้งเดิมในตราสารการเงิน และสินทรัพย์ต่างประเทศที่มีระยะสั้น ๆ และมีความมั่นคงสูงในเชิง passive management โดยเป็นการลงทุนที่ให้ใช้วิจารณญาณของผู้จัดการกองทุนได้เพียงเล็กน้อย ในส่วนที่สองเป็นการลงทุนในลักษณะ active management ในรูปแบบใหม่ๆ เช่น กองทุนประเภทต่างๆ (fund of fund , mutual fund , hedge fund) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ ตราสารการเงินที่มีความมั่นคงพอสมควร และมีความเสี่ยงบ้างแต่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนแบบดั้งเดิม และการลงทุนโดยตรงในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (private equity) โดยไม่เน้นผลตอบแทนในระยะสั้น แต่ต้องเห็นผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว หรือแม้กระทั่งว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในต่างประเทศบริหารจัดการให้
ในต่างประเทศเริ่มมีแนวโน้มที่จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่มีอิสระขึ้นมาบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ในลักษณะที่สองที่กล่าวมาดังข้างต้น เช่น จีน สิงคโปร์ เกาหลี คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และนอร์เวย์ เป็นต้น ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างรวดเร็ว
การพิจารณาว่าจะจัดสรรเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างไรระหว่างส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สอง ก็ขึ้นอยู่กับว่าแบงก์ชาติ จำเป็นที่จะต้องมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเท่าใด ในการดำเนินนโยบายการเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยคำนึงถึงระดับที่ไม่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการ และแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนต่อ
การบริหารสภาพคล่องของประเทศ หากแบงก์ชาติมีความสามารถในการบริหารจัดการในส่วนนี้ได้ดี ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้ในส่วนนี้มาก และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือที่จะเจียดไปอยู่ในส่วนที่สอง
โดยทั่วไปการกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สองต้องคำนึงถึงความเปิดของเศรษฐกิจไทย ความจำเป็นในการใช้เงินตราต่างประเทศเพื่อการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ เช่น เพื่อการชำระเงินกู้ต่างประเทศ และสินค้านำเข้า ตลอดจนความต้องการเงินตราต่างประเทศในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของไทย และต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการเก็บสำรองเงินตราต่างประเทศไว้เฉยๆ ในรูปเงินสด เมื่อกำหนดวงเงินที่เหมาะสมได้แล้ว ก็ให้ส่วนนี้อยู่ในการบริหารจัดการของแบงก์ชาติ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ส่วนที่เหลือสามารถแยกไปให้บรรษัทที่จะจัดตั้งขึ้นมา ทำหน้าที่บริหารจัดการเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะนำไปลงทุน
โดยอยู่นอกระเบียบกฎเกณฑ์และวัตถุประสงค์ของการช่วยแบงก์ชาติในการดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้ความอิสระคล่องตัวในการลงทุน เพิ่มโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะยาว และในขณะเดียวกันก็เป็นการกระจายความเสี่ยงโดยแยกไข่ไว้หลายตะกร้า กล่าวคือ หากในอนาคตเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดน้อยมาก) เช่นเดียวกับเมื่อปี 2540 ที่เราสูญเสียเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด จากการแทรกแซงค่าเงินบาท เราก็ยังจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศที่ลงทุนอยู่ในสินทรัพย์ในต่างประเทศอยู่ก้อนหนึ่ง ที่ยังปลอดภัย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87474
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
คู่มือวิเคราะห์ค่าเงินบาท ฉบับชาวบ้าน
โพสต์ที่ 30
เงินสำรองระหว่างประเทศ ตอนที่ 1 : พื้นฐานความเข้าใจ
แจงสี่เบี้ย : ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สวัสดีท่านผู้อ่านอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ได้มีโอกาสสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางคอลัมน์แจงสี่เบี้ยนี้ ครั้งที่แล้ว กระผมได้เขียนถึงหลักพื้นฐานในการวินิจฉัยอาการของเศรษฐกิจว่าดีหรือไม่ดีดูจากอะไร ประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่ได้หยิบยกไว้คราวก่อน คือ เรื่องเสถียรภาพและความสมดุลในการเติบโต
วันนี้จะเป็นรายละเอียดของปัจจัยอันหนึ่งที่เป็นตัววัดเสถียรภาพเศรษฐกิจด้านต่างประเทศที่สำคัญ คือ เงินสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve) ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันค่อนข้างยาว คงไม่สามารถเขียนได้หมดในคราวเดียว แต่จะต้องทยอยเขียนให้ผู้อ่านเป็นระยะๆ ตามโอกาสอำนวย
เงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศของประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับมอบหมายตามกฎหมาย ให้เป็นผู้ดูแลรักษาและนำไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกออกผลตามสมควร มีที่มาจาก 2-3 แหล่งหลักๆ คือ
1) ทำมาหาได้จากการส่งสินค้าออก หรือคนต่างชาติมาบริโภคสินค้าและบริการในประเทศไทย มากกว่าที่เรานำเข้าสินค้า และบริการ หรือเราไปใช้จ่ายในต่างประเทศ
2) มีเงินลงทุนไหลเข้ามาไม่ว่าจะในรูปเงินลงทุน (ในตลาดหลักทรัพย์, ลงทุนสร้างโรงงาน) หรือเงินให้กู้ก็ตาม มากกว่าที่เราเอาเงินไปลงทุน หรือให้กู้กับต่างประเทศ
เมื่อเกิดเงินไหลเข้ามาไม่ว่าจะจาก 1) หรือ 2) ผู้มีเงินได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศต้องนำมาขายต่อให้กับธนาคารพาณิชย์ และรับเป็นเงินบาทเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าแรงหรือวัตถุดิบต่อไป
ทั้งนี้ ก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนโดยอิงกับตะกร้าเงินสกุลหลัก โดยมีดอลลาร์เป็นสัดส่วนมากที่สุด และทุกๆ เช้า ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะประกาศอัตรารับซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และเมื่อประกาศแล้วภายใต้ระบบนี้ ธนาคารพาณิชย์จะมาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้เงินตราต่างประเทศมาก็จะมาขายต่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อเข้ามาแล้ว เงินดังกล่าวก็จะมีสถานะเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม หลังวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เราเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ พูดง่ายๆ คือ โดยหลักการค่าเงินบาทจะถูกกำหนดโดยตลาดตามความต้องการซื้อขาย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเข้าแทรกแซงโดยเข้ารับซื้อหรือรับขายเงินตราต่างประเทศดังกล่าวเท่าที่จำเป็น
ภายใต้ระบบนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิเลือกได้ว่า จะเข้าไปรับซื้อเงินตราต่างประเทศดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ตามสมควร ถ้าเงินไหลเข้ามาตาม 1) และ 2) มาก แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยนั่งเฉยๆ ตลาดก็จะปรับตัวเพราะว่ามีแต่คน (ผู้ส่งออก, ผู้มาลงทุน) ต้องการขายดอลลาร์และต้องการรับบาท ราคาเงินบาทก็จะสูงขึ้น (ดอลลาร์ถูกลง) หรือที่เราเรียกว่าเงินบาทแข็งขึ้น
ถ้าเทียบช่วงวิกฤติปี 2540 กับปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า
(ก) เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ข) อัตราแลกเปลี่ยนเราในปี 2541 ช่วงหลังวิกฤติที่ค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 41.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ได้ปรับตัวแข็งขึ้นเป็น 34.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน
ตัวเลขเหล่านี้บอกเราว่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง (ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขายสินค้า และบริการได้มากกว่าที่ซื้อมา) จากแรงกดดันดังกล่าวทำให้ราคาของเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวสูงขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ช่วยบรรเทาแรงกดดันบางส่วน ซึ่งสะท้อนจากการเข้าไปซื้อเงินตราต่างประเทศ ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้น
ทีนี้ก็มาถึงประเด็นที่ว่าเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูงขึ้นถึงปัจจุบัน มีเพียงพอหรือไม่ ทำให้เราอุ่นใจได้ไหมในยามที่วิกฤติเกิดขึ้น
เอาไว้คุยกันต่อไปครับ
**********
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(แทน)
--------------------------------------------------------------------------------
เงินสำรองระหว่างประเทศ ตอนที่ 2 : ประเทศเรามีเงินสำรองอยู่เท่าไรแน่?
แจงสี่เบี้ย : ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
คราวก่อน กระผมได้พาท่านผู้อ่านไปทำความเข้าใจที่มาของเงินสำรองระหว่างประเทศ (International Reserves) ซึ่งถ้าหากท่านผู้อ่านสนใจอาจเข้า website ของ ธปท. www.bot.or.th แล้ว click ไปที่ Economic Data และ International Reserves (weekly) ก็จะเห็นข้อมูลดังกล่าว อาทิเช่น ณ 29 มิ.ย. 2550 เรามีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวน 72.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของหลักทรัพย์ และเงินตราต่างประเทศ (71.1 พันล้านดอลลาร์) นอกจากนี้ ก็เป็นทองคำและสิทธิพิเศษถอนเงินจาก IMF อีกนิดหน่อย
ในตารางยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งคือ Net Forward Position (ฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 9.5 พันล้านดอลลาร์ เครื่องหมายเป็นบวกหมายความว่าในอนาคตเรามีสิทธิที่จะได้รับเงินตราต่างประเทศอีก 9.5 พันล้านดอลลาร์ ในการวิเคราะห์จึงควรรวม Net Forward Position ด้วย สิ่งที่ควรระวังคือ Net Forward Position อาจเป็นลบได้ ในกรณีที่เรามีภาระต้องจ่ายคืนเงินตราต่างประเทศ
การดูแต่ข้อมูลเงินสำรองระหว่างประเทศอย่างเดียว โดยไม่ดูข้อมูล Net Forward Position ประกอบจึงอาจส่งผลให้ดูเสมือนว่า เงินสำรองระหว่างประเทศเราสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง คำถามที่น่าสนใจคือ รายการ Net Forward Position มีความเป็นมาอย่างไร แสดงถึงความไม่โปร่งใสในการรายงานข้อมูลหรือไม่
ข้อเท็จจริงก็คือ Net Forward Position เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือของ ธปท. ในการบริหารสภาพคล่องโดยปกติ การเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศส่วนใหญ่มาจากการเข้าไปซื้อดอลลาร์ เมื่อ ธปท. เข้าไปซื้อดอลลาร์ ก็จะส่งมอบเงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ส่งผลให้เงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้า ธปท. ไม่ดูดซับเงินบาทกลับ ก็จะทำให้เงินบาทในระบบมีมากขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำลง ทำให้อัตราดอกเบี้ย ไม่เป็นไปตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน ซึ่งจะใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมเงินเฟ้อ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ ธปท. เข้าไปซื้อดอลลาร์จึงต้องมีเครื่องมือที่จะใช้ดูดสภาพคล่องเงินบาท เพื่อไม่ให้กระทบต่อดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่ง ธปท.อาจดูดเงินบาทออกจากระบบโดยออกพันธบัตรขายให้กับภาคเอกชน หรืออาจใช้วิธีขายดอลลาร์ในตลาดทันที (Spot) และซื้อดอลลาร์กลับในอนาคต (Forward) พร้อมๆ กัน หรือที่เรียกว่า การทำสัญญา Swap (ซึ่งการดูดสภาพคล่องแต่ละวิธีก็มีต้นทุนเกิดขึ้นที่แตกต่างกัน)
การขายดอลลาร์ในตลาดทันที จะทำให้ ธพ. ต้องส่งเงินบาทให้กับ ธปท. จึงเท่ากับว่าสภาพคล่องเงินบาทโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลง เพราะจะไปหักล้างกับเงินบาทที่ ธพ.ได้ไปจากการที่ ธปท.เข้าไปแทรกแซงซื้อดอลลาร์ในตอนแรก และยอดที่ปรากฏเป็น Net Forward Position ก็คือยอดสัญญาซื้อดอลลาร์ในอนาคต (Forward) ดังกล่าวนั่นเอง ส่วนธนาคารพาณิชย์ ก็จะนำเงินดอลลาร์ที่ได้ไปลงทุนหรือฝากไว้ในต่างประเทศเสมือนกับมีเงินไหลออกช่วยลดเเรงกดดันจากดอลลาร์ ที่ไหลเข้ามาได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการลดเเรงกดดันต่อค่าเงินบาท ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยด้วย
และเมื่อถึงกำหนดตามสัญญาและ ธปท. ไม่ต่อสัญญา นั้น ธพ.ก็จะนำเงินดอลลาร์ที่ไปลงทุนนั้นกลับมาส่งมอบให้กับ ธปท. ทำให้ยอดเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเท่ากับยอด Net Forward Position ที่ลดลง
นี่เป็นเหตุผลว่าในการวิเคราะห์เราจึงต้องรวมยอดทั้ง International Reserve และ Net Forward Position เข้าด้วยกัน เเละเพื่อประโยชน์ และความโปร่งใส และสร้างความเข้าใจของสาธารณชน ธปท. ได้เผยแพร่ทั้ง 2 ยอดรายการดังกล่าวใน website ทุกๆ สัปดาห์มาตั้งแต่ปี 2542
นอกจาก Net Forward Position เเล้ว ยังมีรายการที่สำคัญอีกรายการหนึ่ง ที่ควรนำมาพิจารณา วิเคราะห์เงินสำรองระหว่างประเทศ คือ หนี้เงินตราต่างประเทศที่ ธปท. กู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งตอนนี้ยอดเป็นศูนย์ เพราะชำระคืนหนี้ IMF หมดแล้ว ก่อนปี 2547 เรามียอดคงค้างหนี้ต่างประเทศของ ธปท. ที่กู้จาก IMF เท่ากับ 1.7 พันล้านดอลลาร์ และเนื่องจากวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมดังกล่าวก็เพื่อเสริมเงินสำรองระหว่างประเทศ เมื่อ ธปท. ได้เงินมาจาก IMF เงินสำรองระหว่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น ในการวิเคราะห์ดู Net International Reserve จึงควรนำรายการดังกล่าวมาลบออกด้วย
โดยสรุป ในการวิเคราะห์ควรดูจาก Net International Reserve = International Reserve ? Net Forward Position - หนี้ที่ ธปท. กู้จากองค์กรระหว่างประเทศ ณ 29 มิ.ย. 2550 เราจึงมี Net International Reserve เท่ากับ 72.9 + 9.5 - 0 = 82.4 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ 8 เท่าของการนำเข้า ส่วนจำนวนดังกล่าวพอไหม มากไปหรือยัง ต้องขอยกยอดไปคราวหน้าอีกครั้งครับ
แจงสี่เบี้ย : ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สวัสดีท่านผู้อ่านอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ได้มีโอกาสสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางคอลัมน์แจงสี่เบี้ยนี้ ครั้งที่แล้ว กระผมได้เขียนถึงหลักพื้นฐานในการวินิจฉัยอาการของเศรษฐกิจว่าดีหรือไม่ดีดูจากอะไร ประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่ได้หยิบยกไว้คราวก่อน คือ เรื่องเสถียรภาพและความสมดุลในการเติบโต
วันนี้จะเป็นรายละเอียดของปัจจัยอันหนึ่งที่เป็นตัววัดเสถียรภาพเศรษฐกิจด้านต่างประเทศที่สำคัญ คือ เงินสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve) ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันค่อนข้างยาว คงไม่สามารถเขียนได้หมดในคราวเดียว แต่จะต้องทยอยเขียนให้ผู้อ่านเป็นระยะๆ ตามโอกาสอำนวย
เงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศของประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับมอบหมายตามกฎหมาย ให้เป็นผู้ดูแลรักษาและนำไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกออกผลตามสมควร มีที่มาจาก 2-3 แหล่งหลักๆ คือ
1) ทำมาหาได้จากการส่งสินค้าออก หรือคนต่างชาติมาบริโภคสินค้าและบริการในประเทศไทย มากกว่าที่เรานำเข้าสินค้า และบริการ หรือเราไปใช้จ่ายในต่างประเทศ
2) มีเงินลงทุนไหลเข้ามาไม่ว่าจะในรูปเงินลงทุน (ในตลาดหลักทรัพย์, ลงทุนสร้างโรงงาน) หรือเงินให้กู้ก็ตาม มากกว่าที่เราเอาเงินไปลงทุน หรือให้กู้กับต่างประเทศ
เมื่อเกิดเงินไหลเข้ามาไม่ว่าจะจาก 1) หรือ 2) ผู้มีเงินได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศต้องนำมาขายต่อให้กับธนาคารพาณิชย์ และรับเป็นเงินบาทเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าแรงหรือวัตถุดิบต่อไป
ทั้งนี้ ก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนโดยอิงกับตะกร้าเงินสกุลหลัก โดยมีดอลลาร์เป็นสัดส่วนมากที่สุด และทุกๆ เช้า ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะประกาศอัตรารับซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และเมื่อประกาศแล้วภายใต้ระบบนี้ ธนาคารพาณิชย์จะมาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้เงินตราต่างประเทศมาก็จะมาขายต่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อเข้ามาแล้ว เงินดังกล่าวก็จะมีสถานะเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม หลังวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เราเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ พูดง่ายๆ คือ โดยหลักการค่าเงินบาทจะถูกกำหนดโดยตลาดตามความต้องการซื้อขาย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเข้าแทรกแซงโดยเข้ารับซื้อหรือรับขายเงินตราต่างประเทศดังกล่าวเท่าที่จำเป็น
ภายใต้ระบบนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิเลือกได้ว่า จะเข้าไปรับซื้อเงินตราต่างประเทศดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ตามสมควร ถ้าเงินไหลเข้ามาตาม 1) และ 2) มาก แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยนั่งเฉยๆ ตลาดก็จะปรับตัวเพราะว่ามีแต่คน (ผู้ส่งออก, ผู้มาลงทุน) ต้องการขายดอลลาร์และต้องการรับบาท ราคาเงินบาทก็จะสูงขึ้น (ดอลลาร์ถูกลง) หรือที่เราเรียกว่าเงินบาทแข็งขึ้น
ถ้าเทียบช่วงวิกฤติปี 2540 กับปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า
(ก) เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ข) อัตราแลกเปลี่ยนเราในปี 2541 ช่วงหลังวิกฤติที่ค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 41.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ได้ปรับตัวแข็งขึ้นเป็น 34.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน
ตัวเลขเหล่านี้บอกเราว่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง (ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขายสินค้า และบริการได้มากกว่าที่ซื้อมา) จากแรงกดดันดังกล่าวทำให้ราคาของเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวสูงขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ช่วยบรรเทาแรงกดดันบางส่วน ซึ่งสะท้อนจากการเข้าไปซื้อเงินตราต่างประเทศ ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้น
ทีนี้ก็มาถึงประเด็นที่ว่าเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูงขึ้นถึงปัจจุบัน มีเพียงพอหรือไม่ ทำให้เราอุ่นใจได้ไหมในยามที่วิกฤติเกิดขึ้น
เอาไว้คุยกันต่อไปครับ
**********
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(แทน)
--------------------------------------------------------------------------------
เงินสำรองระหว่างประเทศ ตอนที่ 2 : ประเทศเรามีเงินสำรองอยู่เท่าไรแน่?
แจงสี่เบี้ย : ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
คราวก่อน กระผมได้พาท่านผู้อ่านไปทำความเข้าใจที่มาของเงินสำรองระหว่างประเทศ (International Reserves) ซึ่งถ้าหากท่านผู้อ่านสนใจอาจเข้า website ของ ธปท. www.bot.or.th แล้ว click ไปที่ Economic Data และ International Reserves (weekly) ก็จะเห็นข้อมูลดังกล่าว อาทิเช่น ณ 29 มิ.ย. 2550 เรามีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวน 72.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของหลักทรัพย์ และเงินตราต่างประเทศ (71.1 พันล้านดอลลาร์) นอกจากนี้ ก็เป็นทองคำและสิทธิพิเศษถอนเงินจาก IMF อีกนิดหน่อย
ในตารางยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งคือ Net Forward Position (ฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 9.5 พันล้านดอลลาร์ เครื่องหมายเป็นบวกหมายความว่าในอนาคตเรามีสิทธิที่จะได้รับเงินตราต่างประเทศอีก 9.5 พันล้านดอลลาร์ ในการวิเคราะห์จึงควรรวม Net Forward Position ด้วย สิ่งที่ควรระวังคือ Net Forward Position อาจเป็นลบได้ ในกรณีที่เรามีภาระต้องจ่ายคืนเงินตราต่างประเทศ
การดูแต่ข้อมูลเงินสำรองระหว่างประเทศอย่างเดียว โดยไม่ดูข้อมูล Net Forward Position ประกอบจึงอาจส่งผลให้ดูเสมือนว่า เงินสำรองระหว่างประเทศเราสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง คำถามที่น่าสนใจคือ รายการ Net Forward Position มีความเป็นมาอย่างไร แสดงถึงความไม่โปร่งใสในการรายงานข้อมูลหรือไม่
ข้อเท็จจริงก็คือ Net Forward Position เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือของ ธปท. ในการบริหารสภาพคล่องโดยปกติ การเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศส่วนใหญ่มาจากการเข้าไปซื้อดอลลาร์ เมื่อ ธปท. เข้าไปซื้อดอลลาร์ ก็จะส่งมอบเงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ส่งผลให้เงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้า ธปท. ไม่ดูดซับเงินบาทกลับ ก็จะทำให้เงินบาทในระบบมีมากขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำลง ทำให้อัตราดอกเบี้ย ไม่เป็นไปตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน ซึ่งจะใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมเงินเฟ้อ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ ธปท. เข้าไปซื้อดอลลาร์จึงต้องมีเครื่องมือที่จะใช้ดูดสภาพคล่องเงินบาท เพื่อไม่ให้กระทบต่อดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่ง ธปท.อาจดูดเงินบาทออกจากระบบโดยออกพันธบัตรขายให้กับภาคเอกชน หรืออาจใช้วิธีขายดอลลาร์ในตลาดทันที (Spot) และซื้อดอลลาร์กลับในอนาคต (Forward) พร้อมๆ กัน หรือที่เรียกว่า การทำสัญญา Swap (ซึ่งการดูดสภาพคล่องแต่ละวิธีก็มีต้นทุนเกิดขึ้นที่แตกต่างกัน)
การขายดอลลาร์ในตลาดทันที จะทำให้ ธพ. ต้องส่งเงินบาทให้กับ ธปท. จึงเท่ากับว่าสภาพคล่องเงินบาทโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลง เพราะจะไปหักล้างกับเงินบาทที่ ธพ.ได้ไปจากการที่ ธปท.เข้าไปแทรกแซงซื้อดอลลาร์ในตอนแรก และยอดที่ปรากฏเป็น Net Forward Position ก็คือยอดสัญญาซื้อดอลลาร์ในอนาคต (Forward) ดังกล่าวนั่นเอง ส่วนธนาคารพาณิชย์ ก็จะนำเงินดอลลาร์ที่ได้ไปลงทุนหรือฝากไว้ในต่างประเทศเสมือนกับมีเงินไหลออกช่วยลดเเรงกดดันจากดอลลาร์ ที่ไหลเข้ามาได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการลดเเรงกดดันต่อค่าเงินบาท ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยด้วย
และเมื่อถึงกำหนดตามสัญญาและ ธปท. ไม่ต่อสัญญา นั้น ธพ.ก็จะนำเงินดอลลาร์ที่ไปลงทุนนั้นกลับมาส่งมอบให้กับ ธปท. ทำให้ยอดเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเท่ากับยอด Net Forward Position ที่ลดลง
นี่เป็นเหตุผลว่าในการวิเคราะห์เราจึงต้องรวมยอดทั้ง International Reserve และ Net Forward Position เข้าด้วยกัน เเละเพื่อประโยชน์ และความโปร่งใส และสร้างความเข้าใจของสาธารณชน ธปท. ได้เผยแพร่ทั้ง 2 ยอดรายการดังกล่าวใน website ทุกๆ สัปดาห์มาตั้งแต่ปี 2542
นอกจาก Net Forward Position เเล้ว ยังมีรายการที่สำคัญอีกรายการหนึ่ง ที่ควรนำมาพิจารณา วิเคราะห์เงินสำรองระหว่างประเทศ คือ หนี้เงินตราต่างประเทศที่ ธปท. กู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งตอนนี้ยอดเป็นศูนย์ เพราะชำระคืนหนี้ IMF หมดแล้ว ก่อนปี 2547 เรามียอดคงค้างหนี้ต่างประเทศของ ธปท. ที่กู้จาก IMF เท่ากับ 1.7 พันล้านดอลลาร์ และเนื่องจากวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมดังกล่าวก็เพื่อเสริมเงินสำรองระหว่างประเทศ เมื่อ ธปท. ได้เงินมาจาก IMF เงินสำรองระหว่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น ในการวิเคราะห์ดู Net International Reserve จึงควรนำรายการดังกล่าวมาลบออกด้วย
โดยสรุป ในการวิเคราะห์ควรดูจาก Net International Reserve = International Reserve ? Net Forward Position - หนี้ที่ ธปท. กู้จากองค์กรระหว่างประเทศ ณ 29 มิ.ย. 2550 เราจึงมี Net International Reserve เท่ากับ 72.9 + 9.5 - 0 = 82.4 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ 8 เท่าของการนำเข้า ส่วนจำนวนดังกล่าวพอไหม มากไปหรือยัง ต้องขอยกยอดไปคราวหน้าอีกครั้งครับ