ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
worapong
Verified User
โพสต์: 929
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เรื่องนี้จะมีผลกับโรงพยาบาลไหนบ้างครับ แล้วก็มีผลแค่ไหน เพราะว่าถ้าต้องจ่ายค่าตัวหมอสูงขึ้น จะกระทบกับกำไรของโรงพยาบาลแค่ไหนครับ
ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง เตรียมสบอก อาร์เอสยู เฮลท์แคร์ ผู้จัดการรายวัน(15 กันยายน 2549)http://gotomanager.com/news/details.aspx?id=52133
อาร์เอสยู เฮลท์แคร์ เผยธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็กกำลังแย่ เหตุเจอโรงพยาบาลขนาดใหญ่แย่งซื้อตัวแพทย์ เร่ขายกิจการด่วน เผยมีติดต่อเข้ามาหลายราย มองใน 3 ปีสยายปีกลุยธุรกิจโรงพยาบาลแน่ ล่าสุดควักกระเป๋า 150 ล้านบาท ผุดศูนย์ อาร์เอสยู เฮลท์แคร์ อีก 3 ศูนย์ หวังกวาดรายได้รวมในปีนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท พร้อมโฟกัสลูกค้าต่างชาติที่ 30% ใน 5 ปี นายอภิวัฒิ อุไรรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอสยู เฮลท์แคร์ จำกัด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพเฉพาะทางซึ่งเป็นธุรกิจในกลุ่มมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก ไม่เกิน 100 เตียงในขณะนี้ กำลังตกอยู่ในภาวะลำบาก เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงจากโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ที่นอกจากจะดึงลูกค้าให้มีจำนวนลดลงแล้ว ยังรวมไปถึงแพทย์ที่นิยมอยู่โรงพยาบาลขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงมากกว่า จึงทำให้เกิดปัญหาการซื้อตัวแพทย์อยู่ในขณะนี้ ดังนั้นโรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็กหลายรายในขณะนี้ จึงมีความประสงค์ที่จะขายกิจการหรือต้องการให้มีผู้เข้าไปช่วยบริหารจัดการโรงพยาบาลให้ใหม่ ที่ผ่านมาหลังจากที่บริษัทฯได้เปิดให้บริการศูนย์ทันตกรรมครบวงจรหรือ เด็นทัล เซนเตอร์ ณ อาคารวานิช ถนน เพชรบุรี ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีโรงพยาบาลเอกชนและคลินิก รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ราย ติดต่อเข้ามาขอให้ทางบริษัทฯเข้าไปเทคโอเวอร์ หรือขอให้เข้าไปบริหารจัดการให้นั้นเอง การเปิดโรงพยาบาลนั้น ถือเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่จะช่วยเสริมกับศูนย์บริการสุขภาพกว่า 4 สาขาในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเข้าสู่ธุรกิจโรงพยาบาลได้หลัง 3 ปีนับจากนี้ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนสูงอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งหากจะต้องเปิดให้บริการจริง บริษัทฯจะเน้นเข้าไปซื้อกิจการโรงพยาบาลที่เปิดให้บริการอยู่ก่อนแล้วมากกว่า โดยในปีนี้บริษัทฯจะเน้นเปิดศูนย์บริการมากกว่า โดยในช่วงปลายปีนี้บริษัทฯได้จัดสรรงบลงทุนกว่า 150 ล้านบาท เพื่อเปิดศูนย์ให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ดูแลสุขภาพ หรือ เฮลท์แคร์ เซ็นเตอร์ ในเดือนตุลาคม ศูนย์รักษาตา หรือ อาย เซ็นเตอร์ ในเดือนพฤศจิกายน และศูนย์สายตาและคอนแทคเลนส์ หรือ วิชั่น แอน คอนเทค เลนส์ เซ็นเตอร์ ในสิ้นปีนี้ โดยทั้ง 3 ศูนย์ จะเปิดให้บริการที่ อาคารฟินิกส์ สุขุมวิท 31 คาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนได้ใน 3 ปีแรก ทั้งนี้บริษัทฯได้จัดสรรงบประมาณทางการตลาดสำหรับแต่ละศูนย์ประมาณ 1 ล้านบาท สำหรับการประชาสัมพันธ์ พร้องทั้งหาช่องทางเรียกฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าจากต่างประเทศนั้น ในขณะนี้ทางบริษัทฯได้เตรียมเจรจาปรึกษากับทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อจัดแพกเกจท่องเที่ยวรวมกับการตรวจสุขภาพรวมเข้าไปด้วย เพื่อดึงลูกค้านักท่องเที่ยวที่ใส่ใจสุขภาพเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มสัดส่วนลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากเดิม 2-3 % เป็น 30% ภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ ส่วนลูกค้าในประเทศไทยนั้น บริษัทฯจะใช้กลยุทธ์เจาะไดเร็ก มาร์เก็ตติ้ง จับกลุ่มลูกค้าภายในองค์กร ลูกค้าประกัน โรงเรียน และมหาวิทยาลัยเป็นหลัก เชื่อว่าสิ้นปีจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ 3 ปี บริษัทฯจะไม่มีการลงทุนเพิ่มหรือขยายศูนย์แต่อย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่อดูสถานการณ์และการตอบรับทั้ง 4 ศูนย์ ที่ให้บริการอยู่ ซึ่งถ้าหากได้รับการตอบรับที่ดี บริษัทฯเตรียมที่จะขยายบริการเพิ่มขึ้น รวมทั้งเปิดศูนย์ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพอีก อาทิ เช่น ศูนย์ลดความอ้วน หรือศูนย์เพื่อการเลิกบุหรี่ เป็นต้น
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คงต้องมาคิดตาม 5 Forces ครับว่าจะส่งต่อได้มากน้อยขนาดไหน
Impossible is Nothing
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

นี่อาจเป็นสาเหตุเล็กๆสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลที่อยู่ในตลาดโตมากขึ้นจาก รายย่อยยอมยกธงขาว
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

รพ.ไหนที่คนมาเพราะ "ตัวหมอ" ล้วนๆ Excess profit ก็คงตกอยู่กับหมอไม่ใช้กับ รพ. เวลารพ.เหล่านี้แข่งกัน offer เพื่อแย่งตัวหมอกัน กำไรของรพ.ก็จะถูก transfer จากกระเป๋าของผู้ถือหุ้นรพ.ไปยังกระเป๋าหมอ สรุปแล้วหมอรวย

รพ.ที่มี Value จึงเป็นรพ.ที่คนมาเพราะตัวหมอส่วนหนึ่ง และมาเพราะเชื่อมั่นในความได้มาตรฐานของรพ.เองด้วยอีกส่วนหนึ่ง แบบนี้ Excess profit ก็น่าจะแบ่งกันระหว่างหมอกับรพ.

ส่วนรพ.ที่คนมาเพราะความนิยมในรพ.อย่างเดียวเลย คงไม่มี หายากครับ

แม้ 100% จะเป็นไปไม่ได้ แต่ยิ่งคนไปเพราะตัวรพ.เองมากเท่าไร รพ.นั้นก็ยิ่งมี Value มากกว่าครับ (growth aside)
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สุมาอี้ เขียน:รพ.ไหนที่คนมาเพราะ "ตัวหมอ" ล้วนๆ Excess profit ก็คงตกอยู่กับหมอไม่ใช้กับ รพ. เวลารพ.เหล่านี้แข่งกัน offer เพื่อแย่งตัวหมอกัน กำไรของรพ.ก็จะถูก transfer จากกระเป๋าของผู้ถือหุ้นรพ.ไปยังกระเป๋าหมอ สรุปแล้วหมอรวย

รพ.ที่มี Value จึงเป็นรพ.ที่คนมาเพราะตัวหมอส่วนหนึ่ง และมาเพราะเชื่อมั่นในความได้มาตรฐานของรพ.เองด้วยอีกส่วนหนึ่ง แบบนี้ Excess profit ก็น่าจะแบ่งกันระหว่างหมอกับรพ.

ส่วนรพ.ที่คนมาเพราะความนิยมในรพ.อย่างเดียวเลย คงไม่มี หายากครับ

แม้ 100% จะเป็นไปไม่ได้ แต่ยิ่งคนไปเพราะตัวรพ.เองมากเท่าไร รพ.นั้นก็ยิ่งมี Value มากกว่าครับ (growth aside)
แต่พี่สุมาอี้อย่าลืมข้อเท็จจริงข้อหนึ่งก็คือ ประวัติของผู้ป่วยนะครับ

และอีกข้อที่ผมนึกถึงก็คือ หมอเก่งๆ เสมือนชื่อยี่ห้อที่แข็งแกร่ง
และ รพ. เปรียบเสมือน ห้างโมเดอร์นเทรด ที่ดร.เคยกล่าวถึง

ถ้าแบรนด์ห้างแข็งมากๆ อำนาจต่อรองก็สูสีครับ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
nam
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1434
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

naris เขียน: และอีกข้อที่ผมนึกถึงก็คือ หมอเก่งๆ เสมือนชื่อยี่ห้อที่แข็งแกร่ง
เห็นด้วยครับ ถ้าลงเชื่อว่าหมอเก่ง ถึงไกลแค่ไหน จ่ายหนักเท่าไร ผู้ป่วยก็ดั้นด้นไปหา จึงเห็นว่าหมอดังหลายท่านเปิดคลีนิคหน้าโรงพยาบาลดังๆได้อย่างไม่เดือดร้อนอะไร หรืออยู่ในซอยเล็กๆก็ได้

แต่ยี่ห้อที่แข็งแกร่งนี้ โฆษณาไม่ได้ มันผิดกฎหมาย อำนาจการบอกต่อของผู้ป่วยที่เคยรักษาจึงสำคัญที่สุดและมีน้ำหนักมากที่สุด
และถ้ารักษาพลาดไปหนึ่งราย ชื่อเสียงมลายสิ้นไปนา..น.น.น.น.น.น

ดังนั้น ปัจจัยเรื่องข่าว กรณีมีรายที่มีปัญหาจากการรักษา จึงมีนัยสำคัญพอสมควรโดยเฉพาะ รพ. เล็กๆที่มีหมอดังน้อยอยู่แล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ใน sector โรงพยาบาล โรงพยาบาลแต่ละแห่งนั้นแตกต่างกันอย่างมาก โรงพยาบาลที่ส่งออกได้ กับโรงพยาบาลที่ส่งออกไม่ได้นั้น ต่างกันมาก ผมมองว่าอยู่ในคนละธุรกิจกันเลยทีเดียว

คนไข้ต่างประเทศที่บินมารักษาที่ BH เขาไม่ได้มาเพราะหมอเลย เขาไม่รู้จักหมอเหล่านี้ด้วยซ้ำ นั่นก็แสดงว่าคนไข้กว่าครึ่งมาเพราะตัว รพ. นี่แหละที่ผมมองว่าแบบนี้ Value มันอยู่ที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลที่ไม่เน้นการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการซื้อตัวหมอจะสามารถรักษา Value ไว้ให้อยู่กับตัวเองได้  

พวกโบรกเกอร์ก็เหมือนกัน Value อยู่ที่ มาร์ ลองสังเกตดูเวลา มาร์ ยกทีมลาออก กำไรของโบรกนั้นจะร่วงไปเลย พอเป็นแบบนี้โบรกก็เลยคิดว่าต้อง offer ทุกอย่างเพื่อแย่งตัวมาร์เก่งๆ มาให้ได้ พอทุกโบรกทำแบบนี้หมด มาร์ รวย แต่ไม่ว่าจะ offer ดีขนาดไหนสุดท้ายแล้วก็รักษามาร์ไว้ไม่ได้อยู่ดี เพราะก็จะมี โบรก ที่กล้าซื้อมาร์ด้วยเงินที่สูงกว่าอยู่เรื่อยๆ สิ่งที่พยายามสร้างมาตลอดนับปีด้วยการสะสมตัวมาร์นั้นเป็นสิ่งที่สูญเปล่าเพราะเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันชนิดที่ไม่สามารถรักษาไว้ให้อยู่กับตัว
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
worapong
Verified User
โพสต์: 929
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

[quote="สุมาอี้"]ใน sector โรงพยาบาล โรงพยาบาลแต่ละแห่งนั้นแตกต่างกันอย่างมาก โรงพยาบาลที่ส่งออกได้ กับโรงพยาบาลที่ส่งออกไม่ได้นั้น ต่างกันมาก ผมมองว่าอยู่ในคนละธุรกิจกันเลยทีเดียว

คนไข้ต่างประเทศที่บินมารักษาที่ BH เขาไม่ได้มาเพราะหมอเลย เขาไม่รู้จักหมอเหล่านี้ด้วยซ้ำ นั่นก็แสดงว่าคนไข้กว่าครึ่งมาเพราะตัว รพ. นี่แหละที่ผมมองว่าแบบนี้ Value มันอยู่ที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลที่ไม่เน้นการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการซื้อตัวหมอจะสามารถรักษา Value ไว้ให้อยู่กับตัวเองได้
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
ภาพประจำตัวสมาชิก
worapong
Verified User
โพสต์: 929
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 9

โพสต์

[quote="worapong"][quote="สุมาอี้"]ใน sector โรงพยาบาล โรงพยาบาลแต่ละแห่งนั้นแตกต่างกันอย่างมาก โรงพยาบาลที่ส่งออกได้ กับโรงพยาบาลที่ส่งออกไม่ได้นั้น ต่างกันมาก ผมมองว่าอยู่ในคนละธุรกิจกันเลยทีเดียว

คนไข้ต่างประเทศที่บินมารักษาที่ BH เขาไม่ได้มาเพราะหมอเลย เขาไม่รู้จักหมอเหล่านี้ด้วยซ้ำ นั่นก็แสดงว่าคนไข้กว่าครึ่งมาเพราะตัว รพ. นี่แหละที่ผมมองว่าแบบนี้ Value มันอยู่ที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลที่ไม่เน้นการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการซื้อตัวหมอจะสามารถรักษา Value ไว้ให้อยู่กับตัวเองได้
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 10

โพสต์

สมัยก่อนผมเคยทำงานเป็นฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิคให้กับฝ่ายขาย (ขายระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สำหรับองค์กร)

ผมสังเกตว่าพวกเซลล์ใหม่ๆ นั้นลำบากมาก เพราะรุ่นพี่จะโยนลูกค้าที่ซื้อน้อยที่สุด เรื่องมากที่สุด ขี้เหนียวที่สุด มาให้ ส่วนใหญ่แล้วจะลาออกกันก่อนถึงหนึ่งปี เพราะตัวเลขไม่เข้าเป้า จะเข้าได้ยังไงก็ลูกค้าเคี้ยวซะขนาดนั้น คนที่ผ่านหนึ่งปีไปแล้วยังไม่ลาออกถือว่าสอบผ่าน

ส่วนใครที่อยู่ได้ถึงห้าปีแล้วจะไม่ยอมลาออกเลย งานสบายแค่ไปนั่งคุยเล่นกับลูกคา ค่าคอมฯ ที่ได้ก็สูงมากจนน่าตกใจ ทะลุเป้าทุกปี  

อาชีพมาร์ก็คงคล้ายกัน ยึดหัวหาดได้สำเร็จเมื่อไรก็นั่งกินนอนกิน
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 11

โพสต์

สุมาอี้ เขียน:อาชีพมาร์ก็คงคล้ายกัน ยึดหัวหาดได้สำเร็จเมื่อไรก็นั่งกินนอนกิน
ถ้าลูกค้าไม่หมดตัวซะก่อน   :cry:    :cry:
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 12

โพสต์

วันก่อนกรุงเทพธุรกิจลง scoop เรื่อง มาร์ที่ดูแลพอร์ตลูกค้ากว่าหมื่นล้าน ประมาณว่ายอมว่ายข้ามแม่น้ำเพื่อไปคีย์ order ให้ลูกค้า อาจฟังดู Dramatic ไปหน่อย แต่เขา "ซื้อใจ" ลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้าติด (รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ)

ถึงผมจะเป็นคนที่ปราศจาก passion เรื่องการขายโดยสิ้นเชิง แต่ผมก็ยังรู้สึกชื่นชมคนแบบนี้ ผมว่าเขาเป็นบุคคลตัวอย่างของคนอื่นที่อยู่ในสายอาชีพเดียวกับเขา ทำอะไรทำจริงจัง ทำให้สุดๆ ในอาชีพนั้น แถมนายคนเนี้ยยังชื่อ "ประสิทธิ์" อีกต่างหาก เหมือนในโฆษณาประกันชีวิตสมัยก่อนอันหนึ่งที่ลูกค้าเรียกหาแต่ประสิทธิ์เลย อย่างนี้เขาเรียกว่า born to be จริงๆ  555 :lol:

ผมเคยไปเดินงานมหกรรมสินเชื่อที่เมืองทอง มีโบรกไปออกบูทบ้างนิดหน่อยแต่ มีเด็กคนหนึ่งเดินเข้ามาชวนให้ผมเปิดบัญชีโบรก ผมถามว่าเขาอยู่โบรกไหน ปรากฏว่าเป็นโบรกที่ไม่ได้มาออกบูท น้องคนนี้ใช้วิธีมาเดินหาลูกค้าตามงานเหล่านี้ด้วยตัวเองทั้งที่เป็นวันเสาร์ เขาบอกว่าเขาเพิ่งเรียนจบเริ่มทำงานได้ไม่กี่เดือน ผมว่าเด็กสมัยนี้ดิ้นรนเพื่อความก้าวหน้ามากกว่าสมัยก่อนมาก ซึ่งผมว่าเป็นเรื่องที่ดี รู้สึกชื่นชมครับ ถ้าผมเป็นมาร์ผมคงไม่ขยันขนาดนั้น :D
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Simply
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 13

โพสต์

การที่โรงพยาบาลขนาดเล็กเดี้ยงนั้น คงมีหลายปัจจัย แต่ที่แน่ๆแนวโน้มในการรักษาในโรคปัจจุบันนั้น ต้องพึ่งพาเครื่องมือเครื่องไม้ที่ไฮเทคและhigh costขึ้นเรื่อยๆ...โดยเฉพาะโรคยอดฮิตและอันตราย...เครื่องมือเครื่องไม้อย่างเบาะก็ว่ากันหลักหลายสิบล้าน โรงพยาบาลขนาดเล็กจริงๆที่จะเอาเงินมาลงนั้นทีละหลายสิบล้านก็ทำให้การเงินลำบาก....แต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่คงไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้เพราะทุนหนากว่า และแนวโน้มของคนไข้ก็มักเลือกไปหาหมอเฉพาะทางตามความเข้าใจที่ว่าจะได้เจอหมอที่ตรงโรคมากที่สุดซึ่งโรงพยาบาลขนาดเล็กๆก็ไม่สามารถมีทุนจ้างหมอเฉพาะให้ครบทุกด้านได้ และแนวโน้มที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่เริ่มจับNiche Marketมากขึ้น ไม่ว่าศูนย์โรคอ้วน ศูนย์โรคสมองต่างๆ ซึ่งโรงพยาบาลขนาดเล็กก็คงมีแต่รอวันตาย ถ้าไม่ปรับตัวไปตามวงจรธุรกิจ....ดังนั้นจึงไม่แปลกที่โรงพยาบาลขนาดเล็กมักจะเดี้ยงเพราะส่วนใหญ่มักให้บริการแบบทั่วไป......การปรับตัวเป็นศูนย์สุขภาพก็เป็นแค่แนวทางหนึ่งเท่านั้น.....สำหรับการแย่งตัวหมอไปอยู่โรงพยาบาลใหญ่นั้น ที่ว่าค่าแรงจะสูง แต่ผมคิดว่าการปรับอัตรค่าบริการก็ยังทำได้อย่างไม่ลำบาก คงไม่ต้องห่วงครับ
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
nanakorn
Verified User
โพสต์: 636
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ผมคิดว่า คนส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกตั้งแต่ครั้งแรกว่าจะไปโรงพยาบาล A เพราะโรงพยาบาลนี้มีหมอชื่อ B ซึ่งเก่งโรค C เป็นอย่างมาก  ข้อมูลระดับนี้ จะมีเฉพาะคนที่มีคนรู้จักความเก่งของหมอ B เป็นคนแนะนำ  แต่คนส่วนใหญ่ที่ไม่มีข้อมูลระดับรายคน น่าที่จะเลือกในครั้งแรกที่จะไปโรงพยาบาล A เพราะได้ยินว่าโรงพยาบาลนี้มีหมอที่เก่งโรค C อยู่  โดยที่คนไข้ไม่รู้ชื่อหมอเป็นคนๆ  หลังจากที่ไปรักษาที่โรงพยาบาล A กับหมอ D  แล้วประสบความสำเร็จ  คราวนี้หมอ D ย้ายไปไหนก็อาจจะถึงกับย้ายตามไปด้วย

กล่าวสั้นๆ ผมคิดว่า คนไข้ใหม่ เลือกโรงพยาบาลตามชื่อเสียงของโรงพยาบาล สำหรับโรคต่างๆกัน (ยกเว้นคนที่มีข้อมูลละเอียดจริงๆ)  คนไข้เก่า รักษาโรคประจำตัวที่อันตราย จะเลือกโรงพยาบาลตามหมอที่ตนเองไว้ใจ

สำหรับ โรคเบาๆเช่นไข้หวัด โรงพยาบาลใกล้บ้าน ที่มีคุณภาพ ราคาและบริการที่ดีพอสมควร น่าจะเป็นเหตุผลหลักในการเลือก ไม่น่าที่จะเกี่ยวกับหมอเท่าไรครับ
Everything I do, I do it for you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
yoyo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4833
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ผมว่ามัน link กันหมดเลยครับ ชื่อเสียงหมด ชื่อเสียงโรงพยาบาล ค่าตัวหมอ ค่ารักษา แยกคิดเป็นรายอันไม่ได้

ชื่อเสียงของโรงพยาบาล มาจากอะไร ... ผมว่าบริการจากคนที่ไม่ใช่หมอ เช่นพยาบาล คนทำความสะอาด พนักงานต้อนรับ แล้วสุดท้ายคือ หมอ สัดส่วนคงจะต่างกันไป แต่ผมว่าน่าจะอยู่แถวๆ 50 50 +- ไม่เกิน 10

ชื่อเสียงของหมอมาจากอะไร -- มาจากฝีมือของตัวเอง มาจากชื่อเสียงของโรงพยาบาล เพราะถ้าเราดูจริงๆ หมอเก่งๆที่เปิดคลีนิคเอง ต่อให้ดังแค่ไหน คนไข้ก็ไม่ยอมจ่ายมากเกินไปกว่าภาพลักษณ์ของคลีนิคด้วย .. (แบบหมอเก่งมาก แต่คลีนิคมืดๆดำๆ แบบนี้ผมเองก็ไม่กล้าไปเหมือนกัน ต่อให้มีคนบอกต่อๆมาว่าดีก็เถอะ)

ค่าตัวหมอ - ขึ้นอยู่กับ 1. ชื่อเสียงของหมอ ยิ่งเก่งก็ยิ่งเรียกค่าตัวได้มาก 2. ชื่อเสียงของโรงพยาบาล โรงบาลดังๆหมอก็อยากมาอยู่ เพราะฉะนั้น ยิ่งโรงบาลดังเท่าไหร่ ค่าตัวหมอก็จะเป็นฟังก์ชั่นที่ผกผันกัน

ค่ารักษา - 1 ชื่อเสียงหมอ 2. ชื่อเสียงโรงบาล

เขียนเป็นฟังก์ชั่น
ชื่อเสียงของโรงพยาบาล = f(บริการอื่นๆ, ชื่อเสียงของหมอ)
ชื่อเสียงของหมอ = f(ฝีมือหมอ, ชื่อเสียงของโรงพยาบาล)
ค่าตัวหมอ แปรตาม ชื่อเสียงหมอ
       แต่ แปรผกผันกับ ชื่อเสียงโรงบาล
ค่ารักษาพยายาม แปรตาม ชื่อเสียงโรงบาล และ แปรตามชื่อเสียงหมอ ...

เขียนมาตั้งนาน ... แต่ไม่รู้จะสรุปอะไรดี งงตัวเองเหมือนกัน  :?:
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
pongto
Verified User
โพสต์: 179
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ลองเอาราคายาที่ได้รับจากโรงพยาบาลที่มีอัตราการเติบโตของกำไรสูงๆ  ไปเทียบกับยาชนิดเดียวกันที่ร้านขายยาดูซิ แล้วจะรู้ว่าทำไมกำไรของโรงพยาบาลถึงสูงจัง
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 17

โพสต์

อืม แต่สังเกตุจากรอบตัวผมนะครับ ชื่อเสียงคุณหมอเป็นสิ่งสำคัญครับว่าจะไปโรงพยาบาลใด ทั้งนี้อาจจะมาจากการแนะนำของคุณหมอเจ้าของไข้เดิมหรือเพื่อนๆ ที่เคยป่วยเป็นโรคคล้ายๆ กันครับ

คุณหมอบางท่านที่มีชื่อเสียงนัดคิดนี่ต้องข้ามล่วงหน้าหลายเดือนนะครับ

ขอเพิ่มเติมอีกซักหน่อย ตอนนี้การรักษาส่วนใหญ่ต้องอาศัยความเป็นทีมด้วยครับ ไม่ใช่ว่าดังคนเดียวแล้วจะทำได้ดี การผ่าตัดไขกระดูกสันหลังต้องมีทั้งหมอศัลย์ หมอระบบประสาท หมอวางยา...ฉะนั้นโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงดีก็คงจะเหมือนทีมฟุตบอลที่จะเป็นที่สะสมของผู้เล่นเก่งๆ ครับ ถ้านักฟุตบอลคนไหนอยากพัฒนาฝีเท้าตัวเองและประสบความสำเร็จด้วยก็อาจจะต้องย้ายไปสู่ทีมที่มีการบริหารและเพื่อนๆ นักเตะที่ดีครับ

ปล. ผมเชียร์ แมนยูฯ นะครับ ฮิฮิ  :twisted:
Impossible is Nothing
Dr.T
Verified User
โพสต์: 1608
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 18

โพสต์

สองสามปีก่อนทีมแพทย์โรคหัวใจมือหนึ่งของเมืองไทยอยู่ที่ รพ.กรุงเทพ
ตอนนี้ทั้งทีมมีปัญหากับผู้บริหาร ย้ายไป รพ.ปิยะเวท หมดแล้ว

แต่ถามว่า ความเป็นแบรนด์ "โรงพยาบาลโรคหัวใจ" ของ รพ.กรุงเทพเปลี่ยนไปหรือเปล่า ไม่เลย
ดูเหมือนปิยะเวทยังคงต้องดิ้นรนต่อไปที่จะแย่งเค้กชิ้นโตตรงนี้
ลูกไม่ท้อ
Verified User
โพสต์: 421
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผมว่าโรงพยาบาลขนาดเล็กไม่มีสายป่านยาวพอนะครับ ทำให้การบริหารจัดการย่ำแย่ไป เพราะจะมีเงินได้ส่วนใหญ่ก็ต้องไปพึ่งพาระบบประกันสังคมกับสามสิบบาทรักษาทุกโรค แต่ว่ากว่าจะได้เงินก็นาน ต้องติดค้างเงินแพทย์กันก็ไม่น้อย แพทย์ที่เป็นเฉพาะทางก็ไม่อยากอยู่เท่าไหร่ การบริหารจัดการก็ยิ่งแย่กันไปใหญ่ เพราะการรักษาผู้ป่วยเป็น Mass ใหญ่ๆอย่างพวกระบบประกันสังคมกับสามสิบบาทรักษาทุกโรค ก็จำเป็นต้องพึ่งพาหมอเฉพาะทางอยู่ดีครับ  แล้วที่มีข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็จะเป็นโรงพยาบาลกลุ่มนี้แหละนะ
อย่างอื่นที่ควรทราบก็คือ โรงพยาบาลใหญ่ๆ เริ่มที่จะหันไปจับลูกค้าคนต่างชาติมากขึ้น แต่โรงพยาบาลเล็กๆได้แต่มองตาปริบๆเพราะไม่มีศักยภาพเพียงพอ ได้แต่รอลูกฟลุ๊คแบบพวกที่ Walk in มาเป็นวันละรายสองราย แบบเดินหลงเข้ามา หรือไม่ก็ จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นใกล้ๆโรงพยาบาล
รู้สึกดีๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
Verified User
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

ธุรกิจรพ.เอกชนขนาดเล็กเดี้ยง

โพสต์ที่ 20

โพสต์

โรงพยาบาลเอกชนปี 2550 : เร่งเสริมศักยภาพ…รองรับการแข่งขัน

           บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงาน เรื่อง โรงพยาบาลเอกชนปี 2550 : เร่งเสริม
ศักยภาพ…รองรับการแข่งขัน โดยระบุว่า ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปี 2550 คาดว่าจะยังคง
มีแนวโน้มเติบโตทางด้านรายได้ทั้งในส่วนของคนไข้ในประเทศซึ่งได้รับผลดีจากกำลังซื้อ
ของภาคประชาชนที่เพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังเติบโต รวมทั้งการปรับลดลงของราคา
น้ำมัน ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนซึ่งเข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพกับภาครัฐจะ
ได้รับประโยชน์จากการปรับเพิ่มอัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพของ
คนไทยในปีงบประมาณ 2550  ในขณะเดียวกัน ไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่คนไข้
ชาวต่างชาติเลือกมารักษาพยาบาลด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากราคาค่าบริการเมื่อเทียบกับคุณภาพ
ที่สามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งสำคัญอย่างสิงคโปร์ ส่งผลให้คาดว่าจำนวนคนไข้ต่างประเทศ
ในปี 2550 จะมีทั้งสิ้นประมาณ 1.54 ล้านคนสร้างรายได้เข้าประเทศประมาณ 41,000
ล้านบาทจำนวนคนไข้และรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 ซึ่งคาดว่าจะมีคนไข้ต่างประเทศ
เข้ามารักษาประมาณ 1.4 ล้านคนสร้างรายได้ประมาณ 36,400 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม
ในปี 2550 โรงพยาบาลเอกชนยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญซึ่งผู้ประกอบการโรง
พยาบาลเอกชนต้องระมัดระวังเป็นพิเศษได้แก่การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นระหว่างโรงพยาบาล
เอกชนของไทยด้วยกันเอง และการแข่งขันกับโรงพยาบาลจากประเทศคู่แข่งสำคัญไม่ว่าจะเป็น
สิงคโปร์  มาเลเซีย และอินเดีย ซึ่งต่างเร่งพัฒนาปรับปรุงศักยภาพเพื่อแข่งขันและแย่งชิงคน
ไข้ต่างชาติเช่นเดียวกับไทย
         ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีการเติบโตในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอันเป็นผลจากการที่ผู้
ประกอบการได้พัฒนาอาคารสถานที่ตรวจรักษา อาคารที่พักผู้ป่วยเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย
ให้กับคนไข้มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มงบประมาณทางด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยว
ชาญและซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยส่งผลให้เกิดการขยายตัวของจำนวนคนไข้ทั้งใน
และต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ผลจากอัตราค่าใช้จ่ายของคนไข้เฉลี่ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม
ประเภทของการรักษาพยาบาลที่คนไข้เข้ามาใช้มีความซับซ้อนและต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
รวมทั้งแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ การผ่าตัดหัวใจ ศัลยกรรมตกแต่ง การรักษา
สายตาด้วยLASIK ประการสำคัญโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต่างเร่งขยายเครือข่ายสาขาทั้งใน
รูปของการซื้อกิจการหรือสร้างใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลต่อรายได้ของธุรกิจโรงพยาบาล
เอกชนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากข้อมูลโรงพยาบาลเอกชนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 14 แห่ง พบว่า
รายได้จากค่ารักษาพยาบาลในช่วง 9 เดือนแรกปี 2549 อยู่ที่ประมาณ 30,934.6 ล้านบาทเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 31.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

สำหรับทิศทางโรงพยาบาลเอกชนในปี 2550 มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
           ตลาดคนไข้ในประเทศ ถือเป็นฐานลูกค้าหลักของโรงพยาบาลเอกชน โดยเฉพาะกลุ่ม
ผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูงจะนิยมเข้าใช้บริการเนื่องจากคุณภาพมาตรฐานทางด้านบุคลากรทาง
การแพทย์ที่มีความสามารถรวมทั้งการมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย โดยในปี 2550 คาด
ว่าจะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของภาคประชาชนในระดับปานกลาง-สูง อาทิภาวะเศรษฐกิจ
ที่ยังคงขยายตัวส่งผลให้ประชาชนมีรายได้สูง ภาวะราคาน้ำมันที่เริ่มปรับลดลงรวมทั้งอัตรา
ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับลดลงในปี 2550 นอกจากนี้ จากการที่ภาครัฐโดยมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 เพิ่มอัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพของ
คนไทยจากเดิม 1,510.50 บาทต่อคนในปีงบประมาณ 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 1,899.69 บาทต่อ
คนในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลดีต่อรายได้ของโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วม
โครงการกับภาครัฐ(ในปีงบประมาณ 2549 มีโรงพยาบาลเอกชนร่วมโครงการ 60 แห่ง)
           ตลาดคนไข้ต่างประเทศ ยังคงเติบโตต่อเนื่องด้วยปัจจัยหนุนหลักคืออัตราค่ารักษา
พยาบาลที่ต่ำกว่าโรงพยาบาลคู่แข่งของต่างประเทศแต่คุณภาพการรักษาใกล้เคียงกัน ยก
ตัวอย่างเช่นอัตราค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชนในสิงคโปร์ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย
ค่ารักษาสายตาด้วยLASIK 1 ข้างอยู่ที่ประมาณ 50,000 บาท ในขณะที่ค่าผ่าตัดคลอด
อยู่ที่ประมาณ 190,000 บาทซึ่งเทียบกับอัตราค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนที่มี
ชื่อเสียงของไทยการรักษาสายตาโดยวิธีLASIK อยู่ที่ประมาณ 30,000-35,000 บาท ส่วน
ค่าผ่าตัดคลอดแบบเหมาจ่ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 60,000 บาท และนอกจากอัตราค่ารักษา
พยาบาลที่ต่ำกว่าคู่แข่งแล้ว โรงพยาบาลเอกชนของไทยยังมีความได้เปรียบจากศักยภาพแวด
ล้อมที่เกี่ยวข้องซึ่งช่วยส่งเสริมและเกื้อหนุนต่อธุรกิจอาทิ ธุรกิจทางด้านสปาและการแพทย์
แผนไทยซึ่งสามารถนำมาใช้เสริมการรักษาคนไข้ควบคู่กันเพื่อให้คนไข้ได้รับความพึงพอใจ
มากขึ้น ในขณะเดียวกันจากการที่ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่นิยมของต่างชาติทำให้การ
จัดกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมไปกับการรักษาพยาบาลให้กับคนไข้และผู้ติดตามมีศักยภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้คาดว่าผลจากการเปิดใช้สนามบินแห่งใหม่ที่สามารถรองรับเที่ยวบินที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
ในขณะที่สถานการณ์ด้านการเมืองที่คลี่คลายลงจะสนับสนุนให้ชาวต่างประเทศตัดสินใจเข้า
รักษาพยาบาลควบคู่กับการท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น ประการสำคัญการที่ผู้ประกอบการ
โรงพยาบาลเอกชนของไทยหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจคนไข้ต่างประเทศเพื่อเพิ่มรายได้เสริม
กับรายได้จากคนไข้ในประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการเกิดการตื่นตัวในด้านการจัดกิจกรรม
ตลาดเพื่อเข้าถึงคนไข้ต่างชาติมากขึ้น อาทิ การรุกเข้าไปตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศต่างๆ
หรือการออกไปจัดกิจกรรมงานเผยแพร่ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับบริการของโรงพยาบาลเอกชน
ไทยที่มีศักยภาพในประเทศเป้าหมาย ส่งผลให้รายได้ค่ารักษาพยาบาลจากคนไข้ชาวต่างประเทศ
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายได้ 33,000 ล้านบาทในปี 2548 เพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 36,400
ล้านบาทในปี 2549 และคาดว่าในปี 2550 จะมีคนไข้ต่างประเทศจะมีจำนวนประมาณ 1.54
ล้านคนสร้างรายได้เข้าประเทศประมาณ 41,000 ล้านบาท
         สำหรับตลาดคนไข้ต่างประเทศในปี 2550 ที่น่าสนใจนอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐ
อเมริกา และกลุ่มประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนร้อยละ 14.9 ร้อยละ 10.6 และ
ร้อยละ 7.9 ของจำนวนคนไข้ต่างประเทศของไทย ที่สำคัญได้แก่ตลาดประเทศในกลุ่มตะวันออก
กลางเนื่องจากมีกำลังซื้อสูง ในขณะเดียวกันการที่คนไข้จากตะวันออกกลางไม่ได้รับความสะดวก
จากการเดินทางไปรักษายังประเทศในยุโรปและสหรัฐฯเพราะมาตรการเข้มงวดทางด้านการ
รักษาความปลอดภัย ส่งผลให้คนไข้กลุ่มนี้หันมาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของไทยเพิ่มขึ้น  
เนื่องจากอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ไม่สูง ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชนของไทย
หลายแห่งมีการเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าใจภาษาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนไข้
จากตะวันออกกลางมากขึ้น ทำให้คนไข้จากตะวันออกกลางที่เข้าใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน
ของไทยมีอัตราการขยายตัวที่สูงต่อเนื่อง ทั้งนี้จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการส่งออกพบว่าใน
ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจำนวนคนไข้จากตะวันออกกลางในปี 2546 อยู่ที่ 34,856 คนขยายตัวร้อยละ
73.5 มาในปี 2547 คนไข้จากตะวันออกกลางเพิ่มเป็น 71,051 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 104.7 และ
ปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 98,451 คนขยายตัวร้อยละ 38.6
           และนอกเหนือจากคนไข้ตะวันออกกลางแล้วคนไข้จากประเทศในกลุ่มอาเซียนก็นับ
เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับโรงพยาบาลเอกชนของไทยโดยเฉพาะการรองรับกลู่มผู้มีรายได้
ปานกลางถึงสูงรวมทั้งชาวต่างชาติที่พักอาศัยและทำงานในประเทศเพื่อนบ้านของไทยใน
อินโดจีนทั้งพม่า ลาว กัมพูชาและเวียดนาม เนื่องจากโรงพยาบาลที่มีศักยภาพการรักษาโรค
ซึ่งต้องอาศัยทักษะและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยของประเทศเหล่านี้ยังมีไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการ ฉะนั้นโรงพยาบาลเอกชนของไทยซึ่งมีข้อได้เปรียบทางด้านค่ารักษาที่ไม่สูง
รวมทั้งการเดินทางที่สะดวกจึงเข้ามารองรับคนไข้กลุ่มนี้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากสถิติคนไข้ต่างประเทศ
ในกลุ่มอาเซียนที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาลเอกชนของไทยในปี 2546 อยู่ที่ 36,708 คนก่อน
ที่จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 93,516 คนในปี 2547 ส่วนปี 2548 คนไข้จากอเซียนอยู่ที่ 74,178 คน
             ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า โรงพยาบาลเอกชนยังคงมีทิศทางเติบโตทั้งทางด้านจำนวน
คนไข้ในประเทศและคนไข้ชาวต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลดีต่อรายได้และผลการ
ดำเนินงานที่เติบโตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผล
ต่อศักยภาพการแข่งขันที่สำคัญซึ่งผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
          ค่ารักษาพยาบาลปรับเพิ่มขึ้น เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล
เอกชนในปี 2550 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอันเกิดจากปัจจัยดังนี้
           -ปัจจัยจากการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีการเพิ่ม
งบประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปรับปรุงด้านอาคารสถานที่และเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์
ให้มีความทันสมัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและจูงใจให้คนไข้มาใช้บริการ โดยเฉพาะการ
ปรับปรุงเพื่อรองรับคนไข้ชาวต่างชาติซึ่งโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต่างให้ความสนใจเนื่องจาก
มีกำลังซื้อรวมทั้งมีรายการค่ารักษาเฉลี่ยต่อคนสูงกว่าคนไข้ในประเทศ ในขณะเดียวกัน เพื่อสร้าง
การยอมรับทางด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนยังได้มีการลงทุนทางด้าน
บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากข้อมูลของคณะแพทย์ศาสตร์ โรง
พยาบาลจุฬาลงกรณ์พบว่าในช่วงปี 2545-2547 อาจารย์แพทย์จากโรงเรียนแพทย์ 12 แห่งย้าย
ไปทำงานยังโรงพยาบาลเอกชนแล้วถึง 320 คนโดยให้ผลตอบแทนขั้นต่ำ 1-6 แสนบาท จากเดิม
เงินเดือน 2-4 หมื่นบาท ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อต้นทุนดำเนินการของโรงพยาบาลเอกชนที่
เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการบริหารและต้นทุนด้านการรักษาปรับเพิ่มขึ้น
              -ปัจจัยจากเงินบาทแข็งค่า ผลจากการที่เงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับจาก
ค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2549 และคาดว่าจะมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย
ประมาณ 36.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2550 ส่งผลให้ค่าบริการทางการแพทย์ของไทย
คิดในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯสูงขึ้นในสายตาคนไข้ต่างประเทศ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของค่าเงินบาท
ดังกล่าวอยู่ในอัตราที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะสิงคโปร์
              การแข่งขันรุนแรง โรงพยาบาลเอกชนของไทยมีการแข่งขันที่รุนแรงระหว่าง
โรงพยาบาลเอกชนในประเทศ รวมทั้งแข่งขันกับโรงพยาบาลเอกชนในต่างประเทศที่สนใจ
คนไข้ต่างชาติเช่นเดียวกัน โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนจะแข่งขันกันทั้ง
ทางด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือทางการแพทย์รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ
เฉพาะทาง การเพิ่มบริการให้กับญาติหรือผู้ติดตามคนไข้ต่างประเทศทางด้านที่พัก รวมทั้งการ
จัดกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมกับบริษัททัวร์ ร้านอาหาร ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มผู้ประกอบการโรง
พยาบาลเอกชนรายใหญ่ที่มีเครือข่ายสาขาหลายแห่งจะมีศักยภาพการแข่งขันที่สูงเมื่อเทียบกับ
ผู้ประกอบการขนาดกลางหรือผู้ประกอบการที่มีเครือข่ายน้อยกว่า โดยเฉพาะความได้เปรียบ
จากการดึงบุคลากรทางการแพทย์ให้มาประจำโดยให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า รวมทั้งยังได้
เปรียบทางด้านการสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์รวมทั้งยาและเวชภัณฑ์ภายใต้
ต้นทุนที่ลดลง ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศคู่แข่งคือประเทศสิงคโปร์ได้หันมาเพิ่มศักยภาพ
การแข่งขันกับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนของไทย อาทิ การปรับลดราคาค่ารักษาพยาบาลให้ต่ำลง
มา การสนับสนุนให้โรงพยาบาลทุกแห่งในสิงคโปร์มีมาตรฐานการรักษาและการให้บริการที่เป็น
สากล ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะทำให้โรงพยาบาลเอกชนของสิงคโปร์ได้รับความสนใจจากคนไข้ชาว
ต่างประเทศเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากข้อได้เปรียบทางด้านความพร้อมของเครื่องมือทางการแพทย์
ที่ทันสมัย รวมทั้งทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศที่ดีของบุคลากรทางการแพทย์
            เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจัยทางด้านต้นทุนดำเนินการที่ปรับเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
โรงพยาบาลเอกชนไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถปรับขึ้นอัตราค่าบริการให้
สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตในระดับที่คนไข้ในและต่างประเทศสามารถรับได้ ในขณะเดียวกัน
อัตราค่าบริการที่ปรับขึ้นก็ยังต่ำเมื่อเทียบกับคู่แข่งอาทิ สิงคโปร์ นอกจากนี้ผลจากเงินบาทที่
แข็งค่าขึ้นทำให้ต้นทุนการนำเข้าอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ในรูปเงินบาท
ปรับลดลงและช่วยชดเชยต้นทุนด้านอื่นๆที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตคือปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ
ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างสูงได้แก่ ปัญหาการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในส่วน
ของโรงพยาบาลเอกชนไทยด้วยกันเองและการแข่งขันกับโรงพยาบาลเอกชนของประเทศคู่แข่ง
ดังนั้นผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนของไทยจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์อื่นๆเพื่อเป็นการเพิ่ม
ศักยภาพการแข่งขันให้สูงขึ้นซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
            1.เจาะตลาดลูกค้าที่มีศักยภาพ ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนนอกจากจะมีการรักษาโรค
ทั่วไปแล้ว ยังเริ่มหันมาเน้นการรักษาโรคเฉพาะด้านเพื่อจับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มลูกค้าของโรงพยาบาลเอกชนที่น่าสนใจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงได้แก่ กลุ่ม
คนไข้ผู้สูงอายุซึ่งมีกำลังซื้อจากเงินเก็บสะสมรวมทั้งเงินสวัสดิการที่ภาครัฐจ่ายให้ ทั้งนี้
จากรายงานของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติหรือ UNFPA ระบุว่าประชากรที่มีอายุ 60
ปีขึ้นไปของไทยจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 2 เท่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจากปัจจุบัน  6 ล้านคนเป็น 11.6
ล้านคน ซึ่งประชากรในกลุ่มนี้บางส่วนมีความสามารถที่จะเข้าไปใช้บริการด้านสุขภาพกับโรง
พยาบาลเอกชนได้ ในขณะเดียวกันตลาดผู้สูงอายุชาวต่างชาติก็เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีทิศทางที่ดีเช่น
กัน ทั้งนี้จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการส่งออกพบว่าปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มมาก
ขึ้น โดยในปี 2547 จำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปมีสูงถึง 24 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ
19.5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และภายในปี 2557 ญี่ปุ่นจะมีผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 25
ของประชากรทั้งประเทศ ส่งผลให้ความต้องการทางด้านบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับคนสูง
อายุเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นภาระที่หนักสำหรับภาครัฐของญี่ปุ่นที่จะต้องผลิตบุคลากรทางการแพทย์
เพื่อรองรับคนหนุ่มสาวรวมทั้งคนสูงอายุ ดังนั้นที่ผ่านมาคนญี่ปุ่นจึงนิยมเดินทางไปรักษาพยาบาล
ยังต่างประเทศโดยการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไทยเองมีความพร้อมที่จะรองรับคนไข้ในกลุ่มนี้
ได้ทั้งในด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญการรักษาโรคเฉพาะด้าน การดูแลเอาใจ
ใส่ที่ดีเป็นต้น
            2.การขยายตลาดสู่ภูมิภาค ตลาดโรงพยาบาลเอกชนมีการแข่งขันสูงโดยเฉพาะพื้นที่
ในเขตกรุงเทพฯซึ่งประชากรมีรายได้สูงกว่าในภูมิภาค รวมทั้งยังมีคนไข้ชาวต่างชาติมาใช้
บริการเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม พื้นที่ในภูมิภาคหลายแห่งก็มีศักยภาพทางด้านการตลาด
ที่ไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน อาทิพื้นที่จังหวัดที่เป็นชายแดนติดกับเพื่อนบ้านทั้งนี้เพื่อรองรับ
ประชาชนที่มีรายได้สูง รวมทั้งชาวต่างประเทศที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านที่จะ
ข้ามมารักษายังโรงพยาบาลเอกชนของไทยที่มีมาตรฐานการรักษาเป็นที่ยอมรับ ในขณะเดียวกัน
พื้นที่จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไทยอาทิ ภูเก็ต สมุย เชียงใหม่ ก็มีโอกาสทางด้าน
การตลาดไม่แพ้กัน
              3.การหันไปลงทุนต่างประเทศ นอกเหนือจากการให้บริการรักษาพยาบาลคนไข้ชาว
ต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทยแล้ว ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนที่มีศักยภาพทางด้านเงิน
ทุนและการบริหารจัดการควรพิจารณาเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศเพื่อเข้าถึงกลุ่มคนไข้โดย
ตรง ทั้งนี้นอกจากจะได้ประโยชน์ด้านผลตอบแทนในประเทศนั้นๆแล้ว ยังสามารถพัฒนาธุรกิจ
เกี่ยวเนื่องถึงธุรกิจในประเทศไทยได้อีกด้วยอาทิ การส่งต่อคนไข้จากสาขาต่างประเทศมาพัก
ฟื้นควบคู่กับการท่องเที่ยวในไทย
              4.การพัฒนาคน ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนนอกจากจะมีการดึงบุคลากรทางการแพทย์
จากภาครัฐแล้ว ยังมีการดึงจากโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันเอง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์
ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในขณะเดียวกันก็จะต้องหาหนทางป้องกันไม่ให้บุคลากรทางการ
แพทย์ของตนเองถูกคู่แข่งแย่งไปด้วยการเพิ่มค่าตอบแทนจูงใจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจำนวน
บุคลากรทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาลภาคเอกชน
ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นโรงพยาบาลเอกชนเองก็ควรหันมาสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่มี
ความสามารถนอกเหนือจากการดึงมาจากที่อื่นๆ อาทิ การเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านการ
ส่งแพทย์ในสังกัดไปอบรมหรือเพิ่มเติมความรู้จากต่างประเทศเพื่อเพิ่มทักษะและความเชี่ยว
ชาญในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการแย่งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดได้ อีกทั้งยัง
สามารถสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตรงกับความต้องการของ
คนไข้มากที่สุดซึ่งจะเป็นจุดเด่นที่ทำให้มีคนมาใช้บริการเพิ่มขึ้น
              กล่าวโดยสรุปแล้ว โรงพยาบาลเอกชนในปี 2550 ยังคงเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตทั้ง
ทางด้านจำนวนรวมทั้งรายได้จากคนไข้ในประเทศและคนไข้ชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามผลจาก
การแข่งขันที่รุนแรง ผลักดันให้ผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนจำเป็นต้องหาหนทางเพิ่ม
ศักยภาพการแข่งขันของตนเองให้สูงขึ้น ซึ่งนอกจากการลงทุนทางด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือ
ทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมทั้งการดึงแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากที่อื่นๆ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถ
อำนวยความสะดวกรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้กับผู้มาใช้บริการ ประการสำคัญคือการ
ให้ความสำคัญกับคนไข้กลุ่มคนสูงอายุทั้งในและต่างประเทศซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางด้าน
กำลังซื้อที่สูง ซึ่งการปรับตัวดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน
ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปี 2550
โพสต์โพสต์