สงสัยเรื่องการลดทุนครับ ช่วยเข้ามาอธิบายหน่อย
-
- Verified User
- โพสต์: 374
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องการลดทุนครับ ช่วยเข้ามาอธิบายหน่อย
โพสต์ที่ 1
อืม ผมสงสัยว่าการลดทุนเช่น จาก 1000 ล้านเหลือ 100 ล้าน โดยการลดมูลค่าหุ้นจากเดิมหุ้นละ 10 บาท ลงเหลือหุ้นละ 1 บาท เพื่อล้างส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นทั้งหมด และล้างขาดทุนสะสม หมายความว่าอะไรครับ
คำถามอื่นคือ
1. ถ้าผมซื้อหุ้นตัวนี้ก่อนมันลดทุน ผมจะขาดทุนใช่ไหม(แต่มันจะขึ้นว่าวันลดทุนวันไหนครับ เครื่องหมายอะไร) ที่ผมเข้าใจ อย่าง tfi ลดลงจาก 10--1 แต่พอวันเทรดจริงก็เหมือนการเพิ่มpar คือ จากราคา .12เป็น 1.20 งั้นแสดงว่าผมก็ไม่ได้ขาดทุนอะไรเลยสิครับ?? แล้วเรียกว่าลดทุนทำไม ไม่เรียกว่าเพิ่มพาร์ล่ะ
2. การเพิ่มทุนจะต้องเกิดขึ้นตามมาใช่ไหม
3.บริษัททำแล้วได้อะไรนอกจากล้างขาดทุนสะสมและบัญชีที่ดูดีขึ้นครับ
คำถามอื่นคือ
1. ถ้าผมซื้อหุ้นตัวนี้ก่อนมันลดทุน ผมจะขาดทุนใช่ไหม(แต่มันจะขึ้นว่าวันลดทุนวันไหนครับ เครื่องหมายอะไร) ที่ผมเข้าใจ อย่าง tfi ลดลงจาก 10--1 แต่พอวันเทรดจริงก็เหมือนการเพิ่มpar คือ จากราคา .12เป็น 1.20 งั้นแสดงว่าผมก็ไม่ได้ขาดทุนอะไรเลยสิครับ?? แล้วเรียกว่าลดทุนทำไม ไม่เรียกว่าเพิ่มพาร์ล่ะ
2. การเพิ่มทุนจะต้องเกิดขึ้นตามมาใช่ไหม
3.บริษัททำแล้วได้อะไรนอกจากล้างขาดทุนสะสมและบัญชีที่ดูดีขึ้นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1067
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องการลดทุนครับ ช่วยเข้ามาอธิบายหน่อย
โพสต์ที่ 2
ขออนุญาต งู ๆ ปลา ๆ ใส่นะครับ :)
จากสมการของ "งบดุล"
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น
การลดทุนโดยการลดพาร์โดยปราศจากการแตกจำนวนหุ้น
เพื่อการล้างผลการขาดทุนสะสมนั้น
จะอยู่ในสมการส่วนของ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" เพียงส่วนเดียว
โดยเกี่ยวข้องกับรายการในนั้นอยู่ 2 รายการครับ คือ
- ทุนจดทะเบียน
- กำไร (ขาดทุน) สะสม
สมมติตัวเลขตามที่พี่ econometrica ยกมานะครับ
หน่วย : บาท
ทุนจดทะเบียน 1,000
ขาดทุนสะสม (900)
รวม 100
แล้วปกติในการบัญทึกรายการทางบัญชีจะต้องลงสองขาครับ
ขาหนึ่งเป็นเดบิต อีกขาเป็นเครดิต สำหรับซีกขวาของงบดุล
การลงเครดิตจะเป็นการบวก ส่วนการลงเดบิตจะเป็นการลบครับ
คือถ้าบวกอันหนึ่งก็ต้องลบอีกอันหนึ่งครับ เพื่อให้สองข้างนั้นดุลกัน
ในการลดทุนแบบนี้
เขาจะลด (เดบิต) ทุนจดทะเบียนลงไป 900 บาท
แล้วเพิ่ม (เครดิต) ขาดทุนสะสมขึ้นมา 900 บาท
ทำให้มีผลเป็นดังนี้ครับ
หน่วย : บาท
ทุนจดทะเบียน 100
ขาดทุนสะสม 0
รวม 100
จะสังเกตได้ว่า ผลรวมก่อนและหลังการลดทุนนั้น
ยังคงเท่าเดิมครับ
จากสมการของ "งบดุล"
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น
การลดทุนโดยการลดพาร์โดยปราศจากการแตกจำนวนหุ้น
เพื่อการล้างผลการขาดทุนสะสมนั้น
จะอยู่ในสมการส่วนของ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" เพียงส่วนเดียว
โดยเกี่ยวข้องกับรายการในนั้นอยู่ 2 รายการครับ คือ
- ทุนจดทะเบียน
- กำไร (ขาดทุน) สะสม
สมมติตัวเลขตามที่พี่ econometrica ยกมานะครับ
หน่วย : บาท
ทุนจดทะเบียน 1,000
ขาดทุนสะสม (900)
รวม 100
แล้วปกติในการบัญทึกรายการทางบัญชีจะต้องลงสองขาครับ
ขาหนึ่งเป็นเดบิต อีกขาเป็นเครดิต สำหรับซีกขวาของงบดุล
การลงเครดิตจะเป็นการบวก ส่วนการลงเดบิตจะเป็นการลบครับ
คือถ้าบวกอันหนึ่งก็ต้องลบอีกอันหนึ่งครับ เพื่อให้สองข้างนั้นดุลกัน
ในการลดทุนแบบนี้
เขาจะลด (เดบิต) ทุนจดทะเบียนลงไป 900 บาท
แล้วเพิ่ม (เครดิต) ขาดทุนสะสมขึ้นมา 900 บาท
ทำให้มีผลเป็นดังนี้ครับ
หน่วย : บาท
ทุนจดทะเบียน 100
ขาดทุนสะสม 0
รวม 100
จะสังเกตได้ว่า ผลรวมก่อนและหลังการลดทุนนั้น
ยังคงเท่าเดิมครับ
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
-
- Verified User
- โพสต์: 1067
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องการลดทุนครับ ช่วยเข้ามาอธิบายหน่อย
โพสต์ที่ 3
ลืมตอบ 3 ข้อครับ
1. ข้อนี้ไม่มีประสบการณ์ครับ แต่ขอมั่วว่าราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าของกิจการครับ แต่ว่าการปรับลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นการปรับตัวเลขทางบัญชีให้ดูดีเท่านั้นครับ ไม่ได้กระทบต่อมูลค่าของกิจการ
2. การลดทุน ไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนตามมาด้วยเสมอไปครับ ยกเว้นว่า มุลค่าการขาดทุนสะสมที่จะล้างนั้นมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าของทุนจดทะเบียน จึงจำเป็นต้องเพิ่มทุนช่วยด้วยครับ
3. มิทราบครับ
1. ข้อนี้ไม่มีประสบการณ์ครับ แต่ขอมั่วว่าราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าของกิจการครับ แต่ว่าการปรับลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นการปรับตัวเลขทางบัญชีให้ดูดีเท่านั้นครับ ไม่ได้กระทบต่อมูลค่าของกิจการ
2. การลดทุน ไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนตามมาด้วยเสมอไปครับ ยกเว้นว่า มุลค่าการขาดทุนสะสมที่จะล้างนั้นมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าของทุนจดทะเบียน จึงจำเป็นต้องเพิ่มทุนช่วยด้วยครับ
3. มิทราบครับ
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องการลดทุนครับ ช่วยเข้ามาอธิบายหน่อย
โพสต์ที่ 5
การลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างขาดทุนสะสมไม่ถือว่าเป็นการลดหรือเพิ่มมูลค่าของบริษัท หรือ market cap ครับ
Market Cap ของบริษัทควรจะเท่าเดิม เพราะมันเป็นแค่การเปลี่ยนทางบัญชี
เนื่องจากทุนจดทะเบียน = ราคาพาร์ x จำนวนหุ้น
ดังนั้นการลดทุนน่าจะทำได้สองวิธีคือ ลดราคาพาร์ หรือ ลดจำนวนหุ้น
ถ้าลดราคาพาร์(หรือมูลค่าทุนจดทะเบียน)เฉยๆ ราคาตลาดไม่ควรจะเปลี่ยนแปลงมากมาย เพราะจำนวนหุ้นเท่าเดิม และ Market Cap ควรจะเท่าเดิม (share price = Mkt Cap/#Shares outstanding)
ถ้าลดจำนวนหุ้นแบบ tfi ราคาตลาดควรจะเปลี่ยนเพราะจำนวนหุ้นน้อยลง Mkt Cap เท่าเดิม ถ้าจำนวนหุ้นน้อยลงสองเท่า ราคาตลาดก็ควรจะเพิ่มสองเท่า
1. ซื้อก่อนลดทุนหรือหลังลดทุนก็เหมือนกัน พูดง่ายๆก็คือจะขาดทุนหรือกำไรมีผลต่อการลดทุนน้อยมาก (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลทางด้านจิตวิทยาซะมากกว่า)
จำนวนหุ้น tfi ลดลงสิบเท่า แต่พาร์เท่าเดิมครับ ไม่ใช่การเพิ่มพาร์นะครับ(ย้ำๆๆๆ) พาร์เท่าเดิมคือหนึ่งบาท คุณไม่ได้ขาดทุนอะไรครับ เช่นแต่ก่อนมี 100 หุ้น x 0.12 = 12 บาท พอลดทุนด้วยการลดจำนวนหุ้นแล้ว เหลือ 10 หุ้น x 1.2 = 12 บาท เท่าเดิม เนื่องจากมูลค่าบริษัทเท่าเดิม
ดังนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นการลดทุน ไม่ได้เรียกว่าเพิ่มพาร์ เพราะพาร์ไม่ได้เพิ่มยังหนึ่งบาทเท่าเดิม ทั้งก่อนและหลังลดทุน
2. การเพิ่มทุนไม่จำเป็นต้องตามมา แล้วแต่ครับ
3. ไม่น่าจะทำอะไรได้มากที่เพิ่มมูลค่าบริษัทจริงๆจังๆเท่าไหร่ อาจจะบัญชีดูดีแล้วขอกู้ง่ายขึ้น(มั้งครับ) และสามารถจ่ายปันผลได้ ไม่มีอะไรมาก
Market Cap ของบริษัทควรจะเท่าเดิม เพราะมันเป็นแค่การเปลี่ยนทางบัญชี
เนื่องจากทุนจดทะเบียน = ราคาพาร์ x จำนวนหุ้น
ดังนั้นการลดทุนน่าจะทำได้สองวิธีคือ ลดราคาพาร์ หรือ ลดจำนวนหุ้น
ถ้าลดราคาพาร์(หรือมูลค่าทุนจดทะเบียน)เฉยๆ ราคาตลาดไม่ควรจะเปลี่ยนแปลงมากมาย เพราะจำนวนหุ้นเท่าเดิม และ Market Cap ควรจะเท่าเดิม (share price = Mkt Cap/#Shares outstanding)
ถ้าลดจำนวนหุ้นแบบ tfi ราคาตลาดควรจะเปลี่ยนเพราะจำนวนหุ้นน้อยลง Mkt Cap เท่าเดิม ถ้าจำนวนหุ้นน้อยลงสองเท่า ราคาตลาดก็ควรจะเพิ่มสองเท่า
1. ซื้อก่อนลดทุนหรือหลังลดทุนก็เหมือนกัน พูดง่ายๆก็คือจะขาดทุนหรือกำไรมีผลต่อการลดทุนน้อยมาก (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลทางด้านจิตวิทยาซะมากกว่า)
จำนวนหุ้น tfi ลดลงสิบเท่า แต่พาร์เท่าเดิมครับ ไม่ใช่การเพิ่มพาร์นะครับ(ย้ำๆๆๆ) พาร์เท่าเดิมคือหนึ่งบาท คุณไม่ได้ขาดทุนอะไรครับ เช่นแต่ก่อนมี 100 หุ้น x 0.12 = 12 บาท พอลดทุนด้วยการลดจำนวนหุ้นแล้ว เหลือ 10 หุ้น x 1.2 = 12 บาท เท่าเดิม เนื่องจากมูลค่าบริษัทเท่าเดิม
ดังนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นการลดทุน ไม่ได้เรียกว่าเพิ่มพาร์ เพราะพาร์ไม่ได้เพิ่มยังหนึ่งบาทเท่าเดิม ทั้งก่อนและหลังลดทุน
2. การเพิ่มทุนไม่จำเป็นต้องตามมา แล้วแต่ครับ
3. ไม่น่าจะทำอะไรได้มากที่เพิ่มมูลค่าบริษัทจริงๆจังๆเท่าไหร่ อาจจะบัญชีดูดีแล้วขอกู้ง่ายขึ้น(มั้งครับ) และสามารถจ่ายปันผลได้ ไม่มีอะไรมาก
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องการลดทุนครับ ช่วยเข้ามาอธิบายหน่อย
โพสต์ที่ 6
ขอตอบข้อ 2 และ 3 ครับ
2. ส่วนใหญ่การลดทุน จะเกิดขึ้นเนื่องจาก
กรณีที่ 1 บริษัทต้องการให้มีผู้ร่วมทุนใหม่เข้ามาลงทุน ดังนั้นจึงต้องล้างขาดทุนสะสมเพื่อให้สามารถจ่ายปันผลได้
กรณีที่ 2 บริษัทต้องการทำการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวมักจะต้องมีการเพิ่มทุนเพื่อให้มีเม็ดเงินเข้าบริษัทเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งการเพิ่มทุนก็จะมาได้จาก 2 แหล่ง คือ ผู้ลงทุนใหม่ และผู้ถือหุ้นเดิม และแน่นอนสิ่งที่จะจูงใจได้อย่างหนึ่ง คือเงินปันผลอีกเช่นกัน
ดังนั้นการลดทุนจึงมักจะมีการเพิ่มทุนตามมาเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่จำเป็นเสมอไปครับ
3. ผลทางตรงคงเป็นอย่างที่เข้าใจ ผลทางอ้อมคือ คำตอบในข้อ 2 ครับ
2. ส่วนใหญ่การลดทุน จะเกิดขึ้นเนื่องจาก
กรณีที่ 1 บริษัทต้องการให้มีผู้ร่วมทุนใหม่เข้ามาลงทุน ดังนั้นจึงต้องล้างขาดทุนสะสมเพื่อให้สามารถจ่ายปันผลได้
กรณีที่ 2 บริษัทต้องการทำการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวมักจะต้องมีการเพิ่มทุนเพื่อให้มีเม็ดเงินเข้าบริษัทเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งการเพิ่มทุนก็จะมาได้จาก 2 แหล่ง คือ ผู้ลงทุนใหม่ และผู้ถือหุ้นเดิม และแน่นอนสิ่งที่จะจูงใจได้อย่างหนึ่ง คือเงินปันผลอีกเช่นกัน
ดังนั้นการลดทุนจึงมักจะมีการเพิ่มทุนตามมาเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่จำเป็นเสมอไปครับ
3. ผลทางตรงคงเป็นอย่างที่เข้าใจ ผลทางอ้อมคือ คำตอบในข้อ 2 ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 374
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องการลดทุนครับ ช่วยเข้ามาอธิบายหน่อย
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณมากๆครับ ลองๆดูอยู่เป็นตัว pt ครับ กำลังจะลดทุน และ 80% เจ้าของเป็นบุคคลครับ เลยคิดว่าบางทีถ้าลดทุนอาจเกิดอาการเดียวกับ tfi ได้ แต่กำลังศึกษาอยู่ครับ