Robert Monks และ Jang Ha Sung ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

Robert Monks และ Jang Ha Sung ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว

โพสต์ที่ 1

โพสต์

นี่แค่ นิดเดียว อ่านเต็มๆที่
http://www.onopen.com/2006/02/1101
ครับ
...

หนึ่งในผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก (แม้ว่าจะเป็นเพียงโลกแห่ง จรรยาบรรณธุรกิจ ใบเล็กๆ ที่ยังโคจรอยู่ชายขอบของโลกกระแสหลัก ซึ่งเป็นวัตถุนิยมเต็มขั้ว) คือชาวอเมริกันนาม โรเบิร์ต เอ.จี. มังส์ (Robert A.G. Monks) ผู้บุกเบิกมาตรฐานธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งธรรมาภิบาลบริษัท มังส์ถูกหลายคนปรามาสว่าเป็น ผู้ทรยศต่อชนชั้นตัวเอง (A traitor to his class ซึ่งต่อมาถูกใช้เป็นชื่อ หนังสือชีวประวัติมังส์) เพราะเขาเกิดในตระกูลผู้ดีเก่าในกรุงบอสตัน ซึ่งสืบทอดเชื้อสายมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมืองในอเมริกา จบปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่แทนที่จะใช้ชีวิตเป็นทนาย มังส์เลือกที่จะทุ่มเททั้งชีวิตให้กับการปรับปรุงธรรมาภิบาลบริษัทอเมริกัน

จุดเปลี่ยนชีวิตของมังส์เกิดขึ้นในปี 2516 เมื่อเขาตื่นขึ้นกลางดึกวันหนึ่งในโรงแรมเล็กๆ ด้วยอาการแสบตา น้ำตาไหลไม่หยุด ข้างนอกหน้าต่าง มังส์มองเห็นฟองหมอกสารเคมีสูงกว่าสองเมตร ปกคลุมแม่น้ำแทบทั้งสาย เมื่อเขาถามพนักงานโรงแรมก็ได้รับคำตอบว่า สารเคมีนั้นปล่อยมาจากโรงงานทำกระดาษแห่งหนึ่งทุกคืน เป็นอย่างนั้นติดต่อกันมาหลายปี และชาวบ้านแถวนั้นก็ทำอะไรไม่ได้ และไม่มีใครคิดว่าจะทำอะไรได้

มังส์เก็บความสะกิดใจเอาไว้ จนกระทั่งอีกหลายปีต่อมา เขาได้เป็นประธานกรรมการบริษัททรัสต์แห่งหนึ่งในบอสตัน ซึ่งทำหน้าที่ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นแทนลูกค้า ที่ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนสถาบันต่างๆ และวันหนึ่งเขาก็ได้รับแบบฟอร์มการใช้สิทธิจากบริษัทที่เป็นเจ้าของโรงงานกระดาษโรงนั้น นั่นทำให้มังส์ฉุกคิดขึ้นได้ว่า มีคนอย่างเขาหลายสิบคนที่ทำงานในบริษัททรัสต์ต่างๆ ที่รวมกันมีอำนาจควบคุมบริษัทเหล่านี้ผ่านการออกเสียงแทนนักลงทุนสถาบันผู้ถือหุ้นจำนวนมหาศาล มังส์ระลึกได้ว่า เขาสามารถสั่งให้โรงงานนี้หยุดปล่อยสารเคมีลงในแม่น้ำได้ ถ้าเพียงแต่เขาสามารถติดต่อทรัสต์ต่างๆ และกองทุนต่างๆ ที่ถือหุ้นในบริษัทเดียวกัน และอธิบายให้พวกเขาฟังว่าบริษัทนี้กำลังทำอะไรที่ลูกค้าของพวกเขา ในฐานะ เจ้าของบริษัท ไม่น่าจะเห็นด้วย

เมื่อมังส์ค้นพบอำนาจของการถือหุ้น เขาก็ตัดสินใจใช้ชีวิตที่เหลือรณรงค์ให้กองทุนและทรัสต์ต่างๆ หันมาสนใจประเด็นธรรมาภิบาล และเข้ามารับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้น ในทศวรรษ 2520 มังส์ก่อตั้งองค์กรแรกในโลกที่ให้คำปรึกษาด้านธรรมาภิบาล ชื่อ Institutional Shareholder Services หรือ ISS ปัจจุบันเป็นองค์กรด้านนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ให้คำปรึกษากับนักลงทุนสถาบันทั่วโลกที่ถือหุ้นรวมกันมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ว่าควรโหวตลงคะแนนแทนผู้ถือหุ้นที่แท้จริงซึ่งเป็นลูกค้าของกองทุนเหล่านั้น (proxy voting คือลงคะแนนตามฉันทะที่ได้รับมอบจากผู้ถือหุ้น) อย่างไร ในทางที่จะช่วยปรับปรุงธรรมาภิบาลของบริษัทที่ถือหุ้นอยู่ และในทศวรรษ 2530 เขาก่อตั้งบริษัทจัดการกองทุนชื่อ Lens Asset Management และใช้กองทุนนี้เป็นผู้บุกเบิกขบวนการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้น ด้วยการให้บริการออกเสียงแทนภายใต้แนวทางโหวตที่เน้นการส่งเสริมธรรมาภิบาลบริษัท และตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการบริษัท

นอกจากเหตุผลด้านคุณธรรมและความเป็นธรรม มังส์ยังพยายามชี้ให้ทุกคนเห็นว่า บริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดีนั้นสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนกว่า และให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงกว่าบริษัทที่ขาดธรรมาภิบาล รายงานวิจัยมากมาย เช่นรายงานรายไตรมาสเรื่องธรรมาภิบาลที่จัดทำโดย McKinsey & Co. ชี้ให้เห็นว่า หุ้นของบริษัทที่นักลงทุนมองว่ามีธรรมาภิบาลดีจะมีราคาเฉลี่ยสูงกว่าหุ้นของบริษัทที่นักลงทุนมองว่ามีธรรมาภิบาลไม่ดี ประมาณ 13-14 เปอร์เซ็นต์

...
นี่แค่ นิดเดียว อ่านเต็มๆที่
http://www.onopen.com/2006/02/1101
ครับ[/quote]
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

Robert Monks และ Jang Ha Sung ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ความ ไร้อิสระ ของกรรมการอิสระ

ปัญหาหนึ่งที่มังส์พยายามต่อสู้มาตลอด คือประเด็นการเสนอชื่อและถอดถอนกรรมการบริษัท มังส์มองว่า ปัญหาใหญ่ของระบบธรรมาภิบาลอเมริกันคือข้อเท็จจริงที่ว่า คณะกรรมการบริษัทพยายามสืบทอดอำนาจของตัวเองไปให้กับคนที่ตัวเองไว้ใจได้เท่านั้น (ไม่ต่างจากระบบสืบทอดบัลลังก์ของกษัตริย์ในสมัยโบราณ) นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของพวกเขา จนกว่าผู้ถือหุ้นจะสามารถแทรกบุคคลภายนอกเข้าไปในคณะกรรมการได้ มังส์บอกว่ารัฐอาจใช้เงินเป็นล้านๆ เหรียญ เหมือนกับที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์คทำ ในการนิยามและสรรหากรรมการอิสระที่ เป็นอิสระ อย่างแท้จริง แต่คนที่เป็นผลผลิตของระบอบสืบทอดอำนาจนั้นไม่มีทางเป็นอิสระอย่างแท้จริงได้เลย

ปัญหานี้คล้ายกันกับในเมืองไทย ที่บริษัทจดทะเบียนมากมายแต่งตั้งเพื่อนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้เป็นกรรมการอิสระ ทำให้น่าสงสัยว่ากรรมการอิสระเหล่านี้ เป็นอิสระ ขนาดไหน

ตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนปัญหานี้อย่างชัดเจน และที่มังส์มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงคือ บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาชื่อ ไทโค อินเตอร์แนชั่นแนล มังส์เคยเป็นกรรมการอิสระในบริษัทนี้หลายปีก่อนที่ซีอีโอ เดนนิส โคสโลวสกี (Dennis Kozlowski) จะถูกฟ้องขึ้นศาลด้วยข้อหาได้ค่าตอบแทนสูงเกินเหตุ ช่วงที่มังส์เป็นกรรมการอิสระ เขาพยายามหยิบยกประเด็นเรื่องค่าตอบแทนซีอีโอขึ้นมาถกเถียงในระดับคณะกรรมการ นอกเหนือจากประเด็นปัญหาธรรมาภิบาลด้านอื่นที่เขาเขียนเล่าในจดหมายถึงซีอีโออย่างสม่ำเสมอทุกปี แต่แทนที่มังส์จะได้รับคำขอบคุณจากคณะกรรมการ เขากลับถูกคณะกรรมการถอดถอน

หลังจากนั้นในเดือนกันยายน 2548 โคสโลวสกีถูกศาลตัดสินจำคุก 8 ปี 4 เดือน ในข้อหายักยอกเงินบริษัทกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

ถ้าคณะกรรมการบริษัทไทโคและผู้ถือหุ้นหันมาฟังมังส์อย่างจริงจังสมัยที่เขาเป็นกรรมการอิสระ เหตุการณ์คงไม่บานปลายถึงขนาดนี้

กรณีข้างต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กรรมการอิสระไม่มีอำนาจใดๆ หากไม่มีกลไกที่เหมาะสมในการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัท มังส์ชี้ว่า หากรัฐเปลี่ยนกฎเกณฑ์เสียใหม่ โอนอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสระ จากคณะกรรมการบริษัทไปสู่ผู้ถือหุ้น กรรมการอิสระจะมีอำนาจทำอะไรๆ ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกถอดถอน แน่นอน ผู้ถือหุ้น ในความหมายของมังส์หมายรวมถึงพนักงานบริษัทด้วย ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของบริษัทผ่านเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพวกเขา (ที่ส่วนหนึ่งลงทุนในหุ้นของบริษัทตัวเอง)

คณะกรรมการบริษัทเหลิงอำนาจ เพราะผู้ถือหุ้นไม่สามารถถอดถอนกรรมการได้อย่างสะดวก

นอกเหนือจากปัญหากรรมการอิสระ ไร้อิสระ มังส์ยังชี้ให้เห็นปัญหาอื่นๆ ของกฎเกณฑ์เกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัท ที่ส่งผลให้กรรมการบริษัทมีอำนาจมากเกินไป เช่น ผู้ถือหุ้นไม่สามารถโหวตถอดถอนกรรมการเก่า เสนอชื่อกรรมการใหม่ หรือกดดันให้คณะกรรมการบริษัทนำข้อเสนอแนะของผู้ถือหุ้นไปปฏิบัติตาม มังส์บอกว่า ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ผู้ถือหุ้นหลายคนที่ถือหุ้นรวมกันจำนวนหนึ่ง ควรมีสิทธิเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อถอดถอนกรรมการบริษัทคนหนึ่งหรือทั้งคณะ ไม่ว่าจะมีเหตุผลสนับสนุนหรือไม่ก็ตาม ปัจจุบันตามกฎหมายอเมริกา ผู้ถือหุ้นจะลงคะแนนถอดถอนกรรมการบริษัทได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลสนับสนุนชัดเจน (removal with cause) เท่านั้น และต้องใช้เสียงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เป็นที่มาของการเคลื่อนไหวจากผู้ถือหุ้นหลายบริษัทในขณะนี้ ที่กำลังเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ แก้ไขระเบียบข้อบังคับของบริษัทเพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีอำนาจมากขึ้น

ในประเทศไทย การลงคะแนนถอดถอนกรรมการในบริษัทมหาชนจำกัด (ซึ่งเป็นรูปแบบที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทุกบริษัทต้องเป็น) ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล แต่ผู้ถือหุ้นต้องใช้เสียงอย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง สัดส่วนที่สูงมากขนาดนี้แปลว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อยแทบไม่มีสิทธิโหวตถอดถอนกรรมการเลย เพราะประเทศไทยมีลักษณะการถือหุ้นกระจุกตัวค่อนข้างสูง คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตระกูลที่ก่อตั้งบริษัท) ถือหุ้นเกิน 50 เปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องปกติ ต่างจากประเทศพัฒนาแล้วที่โครงสร้างการถือหุ้นมีการกระจายตัวมากกว่าหลายเท่า

ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ผู้ถือหุ้นในประเทศไทยที่อยากถอดถอนกรรมการก่อนกำหนดประชุมประจำปี ต้องใช้เสียงอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ในการร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (Extraordinary Shareholders Meeting หรือย่อว่า EGM คือการจัดประชุมผู้ถือหุ้นนอกเหนือจากการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี) แต่คณะกรรมการบริษัทสามารถละเลยคำร้องนั้นได้ง่าย ด้วยการไม่เรียกประชุม (เพราะอำนาจในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นอยู่ที่คณะกรรมการ) กฎข้อนี้ของไทยล้าหลังหลายประเทศในเอเชียอยู่มาก เช่น ในอินเดีย ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นรวมกันเพียง 10 เปอร์เซ็นต์สามารถเรียกประชุมเองได้ ในเกาหลีใต้ ผู้ถือหุ้นเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นก็สามารถเรียกประชุมผู้ถือหุ้นได้
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

Robert Monks และ Jang Ha Sung ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เมืองไทยเราผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมตัวกันได้ 10% ก็เรียกเปิดประชุมได้ไม่ใช่หรือ หรือผมเข้าใจผิด

ช่วยบอกที่มาและคนเขียนบทความก็ดีนะ
โพสต์โพสต์