สอบถามเรื่องเครดิตภาษีครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องเครดิตภาษีครับ
โพสต์ที่ 1
รายได้ดอกเบี้ยจากการให้บริษัทจำกัดกู้นี่ต้องยื่นมั๊ยครับ แล้วดอกเบี้ยที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไป 15% ขอคืนได้หรือไม่ครับ ? (ไม่รู้ตั้งกระทู้ถูกหมวดป่าวยังไงถ้าผิด รบกวนช่วยย้ายให้ด้วยนะครับ)
It's earnings that count
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1256
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องเครดิตภาษีครับ
โพสต์ที่ 4
รายได้ดอกเบี้ยถือเป็นเงินได้40(4) สามารถเลือกยื่นเป็นเงินได้หรือไม่ก็ได้
หากเงินได้สุทธิไม่ถึง 500,000บาทจะได้เงินคืนครับ แต่ถ้าเกินต้องเสียภาษีเพิ่มครับ
เนื่องจากเงินได้
100,000แรก ยกเว้นภาษี
400,000ถัดมา เสีย10%
500,000ถัดมา เสีย20%
ดังนั้น เงินได้สุทธิไม่เกิน 500,000 เสียภาษีไม่ถึง15% ถ้ายื่นก็จะได้เงินคืน
แต่ถ้าเกิน 500,000จะเสียภาษีมากกว่า15% ถ้ายื่นต้องเสียเงินเพิ่ม
ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ค่อยแน่ใจ ขอไปเช็คดูก่อนนะครับ
หากเงินได้สุทธิไม่ถึง 500,000บาทจะได้เงินคืนครับ แต่ถ้าเกินต้องเสียภาษีเพิ่มครับ
เนื่องจากเงินได้
100,000แรก ยกเว้นภาษี
400,000ถัดมา เสีย10%
500,000ถัดมา เสีย20%
ดังนั้น เงินได้สุทธิไม่เกิน 500,000 เสียภาษีไม่ถึง15% ถ้ายื่นก็จะได้เงินคืน
แต่ถ้าเกิน 500,000จะเสียภาษีมากกว่า15% ถ้ายื่นต้องเสียเงินเพิ่ม
ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ค่อยแน่ใจ ขอไปเช็คดูก่อนนะครับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องเครดิตภาษีครับ
โพสต์ที่ 5
อย่างนี้ถ้าผมมีรายได้จากปันผลมากกว่า 500000 ด้วย ก็ไม่ต้องยื่นเงินได้จากดอกเบี้ยนี้ด้วยก็ได้ใช่มั๊ยครับ ...Kao เขียน:รายได้ดอกเบี้ยถือเป็นเงินได้40(4) สามารถเลือกยื่นเป็นเงินได้หรือไม่ก็ได้
หากเงินได้สุทธิไม่ถึง 500,000บาทจะได้เงินคืนครับ แต่ถ้าเกินต้องเสียภาษีเพิ่มครับ
เนื่องจากเงินได้
100,000แรก ยกเว้นภาษี
400,000ถัดมา เสีย10%
500,000ถัดมา เสีย20%
ดังนั้น เงินได้สุทธิไม่เกิน 500,000 เสียภาษีไม่ถึง15% ถ้ายื่นก็จะได้เงินคืน
แต่ถ้าเกิน 500,000จะเสียภาษีมากกว่า15% ถ้ายื่นต้องเสียเงินเพิ่ม
ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ค่อยแน่ใจ ขอไปเช็คดูก่อนนะครับ
It's earnings that count
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1256
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องเครดิตภาษีครับ
โพสต์ที่ 6
มาแล้วครับ
กิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้น ไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วย การประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
4. การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
ในกรณีที่มีปัญหาว่า กิจการใดเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม อธิบดีกรมสรรพากรจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าวนั้นก็ได้และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัย ภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยนั้นในราชกิจจานุเบกษา
6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
กิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้น ไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วย การประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
4. การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
ในกรณีที่มีปัญหาว่า กิจการใดเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม อธิบดีกรมสรรพากรจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าวนั้นก็ได้และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัย ภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยนั้นในราชกิจจานุเบกษา
6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1256
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องเครดิตภาษีครับ
โพสต์ที่ 7
หมายเหตุ
กรณีประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ กรมสรรพากรวางแนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.26/2534 กำหนดให้รายรับกรณีดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ดังนี้
(1) กรณีบริษัทในเครือเดียวให้กู้ยืมเงินกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำว่า "บริษัทในเครือเดียวกัน" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งแต่สอง นิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินทุน เงินกู้ยืม เงินเพิ่มทุน หรือเงินอื่นที่เหลืออยู่ไปฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น โดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
ความใน (1) และ (2) ไม่รวมถึงการประกอบกิจการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุนธุรกิจ หลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงาน หรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
กรณีประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ กรมสรรพากรวางแนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.26/2534 กำหนดให้รายรับกรณีดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ดังนี้
(1) กรณีบริษัทในเครือเดียวให้กู้ยืมเงินกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำว่า "บริษัทในเครือเดียวกัน" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งแต่สอง นิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินทุน เงินกู้ยืม เงินเพิ่มทุน หรือเงินอื่นที่เหลืออยู่ไปฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น โดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
ความใน (1) และ (2) ไม่รวมถึงการประกอบกิจการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุนธุรกิจ หลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงาน หรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1256
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องเครดิตภาษีครับ
โพสต์ที่ 9
การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน
สรุป ผมว่าดอกเบี้ยที่ได้รับจากการให้บริษัทจำกัดกู้ยืมไม่น่าจะต้องเสียธุรกิจเฉพาะนะครับ เพราะเราเป็นบุคคลธรรมดาและไม่ได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
หรือว่าผมตีความเข้าข้างคุณBlue Blood หว่า :lol:
สรุป ผมว่าดอกเบี้ยที่ได้รับจากการให้บริษัทจำกัดกู้ยืมไม่น่าจะต้องเสียธุรกิจเฉพาะนะครับ เพราะเราเป็นบุคคลธรรมดาและไม่ได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
หรือว่าผมตีความเข้าข้างคุณBlue Blood หว่า :lol:
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- Verified User
- โพสต์: 73
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องเครดิตภาษีครับ
โพสต์ที่ 12
ให้ข้อคิดค่ะ
กรณีที่มีเงินเดือน มีรายได้จากเงินปันผล มีรายได้จากเงินให้บริษัทกู้ยืม สามารถทำได้ดังนี้
1. ลองเข้าไปกรอกรายได้และเงินลดหย่อนในแบบ ภ.ง.ด. 90 ของกรมสรรพากรดูก่อนก็ได้ www.rd.go.th ถ้าสิ่งไหนที่เป็นประโยชน์กับเราก็เลือกสิ่งนั้น เพราะรายได้จากเงินปันผลทางกรมสรรพากรให้นำมาเครดิตได้มากที่เดียว web ของกรมสรรพากรในแบบจะคำนวณให้อัตโนมัติ
2. ถ้าไม่มีรายได้จากเงินเดือน ควรระวังเรื่องการยื่นแบบ เพราะจะต้องยื่น ภงด. 94 ในตอนกลางปี และถ้าคำนวณแล้วไม่มีเงินขอคืนก็ไม่ควรยื่นแบบเพราะดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม สรรพากรยินยอมให้เลือกได้ว่าจะนำมาคำนวนเป็นรายได้หรือไม่ คือจะยอมเสียตามที่หักไว้แล้วก็ได้ หรือจะนำมาคำนวนเป็นรายได้อื่น ๆ ก็ได้ :) :) :)
กรณีที่มีเงินเดือน มีรายได้จากเงินปันผล มีรายได้จากเงินให้บริษัทกู้ยืม สามารถทำได้ดังนี้
1. ลองเข้าไปกรอกรายได้และเงินลดหย่อนในแบบ ภ.ง.ด. 90 ของกรมสรรพากรดูก่อนก็ได้ www.rd.go.th ถ้าสิ่งไหนที่เป็นประโยชน์กับเราก็เลือกสิ่งนั้น เพราะรายได้จากเงินปันผลทางกรมสรรพากรให้นำมาเครดิตได้มากที่เดียว web ของกรมสรรพากรในแบบจะคำนวณให้อัตโนมัติ
2. ถ้าไม่มีรายได้จากเงินเดือน ควรระวังเรื่องการยื่นแบบ เพราะจะต้องยื่น ภงด. 94 ในตอนกลางปี และถ้าคำนวณแล้วไม่มีเงินขอคืนก็ไม่ควรยื่นแบบเพราะดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม สรรพากรยินยอมให้เลือกได้ว่าจะนำมาคำนวนเป็นรายได้หรือไม่ คือจะยอมเสียตามที่หักไว้แล้วก็ได้ หรือจะนำมาคำนวนเป็นรายได้อื่น ๆ ก็ได้ :) :) :)
-
- Verified User
- โพสต์: 73
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเรื่องเครดิตภาษีครับ
โพสต์ที่ 15
ภงด.94 เป็นการยื่นเงินได้ครึ่งปีกรณีมีเงินได้ตามมาตรา 40(5)(6)(7)
แต่เงินได้จากพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน อยู่ในมาตรา 40(4) ดังนั้นจึงสามารถนำไปยื่นเสียภาษีครั้งเดียวได้ในตอนปลายปี สรรพากรคงไม่ถามหรอกในกรณีที่ขอคืนภาษี เพราะเรานำส่งเงินได้ แต่หลักฐานทุกอย่างต้องส่งให้ครบ หลักฐานต้องเก็บไว้ในกรณีที่สรรพากรเรียกตรวจจะได้นำไปยืนยันได้ การขอคืนภาษีที่ทำด้วยความสุจริต ไม่ต้องไปกลัวหรอกค่ะ มันเป็นสิทธิ์ของเรา ดิฉันเองทำประกันชีวิตให้ลูก ปีนี้ลูกเริ่มทำงานยังไปขอเปลี่ยนเป็นชื่อลูกเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้
หัดทำและเรียนรู้ ปรับปรุงก็จะเก่งไปเอง
แต่เงินได้จากพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน อยู่ในมาตรา 40(4) ดังนั้นจึงสามารถนำไปยื่นเสียภาษีครั้งเดียวได้ในตอนปลายปี สรรพากรคงไม่ถามหรอกในกรณีที่ขอคืนภาษี เพราะเรานำส่งเงินได้ แต่หลักฐานทุกอย่างต้องส่งให้ครบ หลักฐานต้องเก็บไว้ในกรณีที่สรรพากรเรียกตรวจจะได้นำไปยืนยันได้ การขอคืนภาษีที่ทำด้วยความสุจริต ไม่ต้องไปกลัวหรอกค่ะ มันเป็นสิทธิ์ของเรา ดิฉันเองทำประกันชีวิตให้ลูก ปีนี้ลูกเริ่มทำงานยังไปขอเปลี่ยนเป็นชื่อลูกเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้
หัดทำและเรียนรู้ ปรับปรุงก็จะเก่งไปเอง