การคำนวน dilution effect -?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวน dilution effect -?

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การคำนวน dilution effect (จาก warrant)-?
   มีวิธีการเเละหลักการคำนวนอย่างไรครับ
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

Re: การคำนวน dilution effect -?

โพสต์ที่ 2

โพสต์

[quote="javoel"]การคำนวน dilution effect (จาก warrant)-?
"Price is what you pay. Value is what you get."
ภาพประจำตัวสมาชิก
krittapon_r
Verified User
โพสต์: 156
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวน dilution effect -?

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เคยแต่คำนวนของหุ้นเพิ่มทุน ...จำเค้ามาอีกที  :lol:

ราคาใหม่ =((ราคาเก่า xจำนวนหุ้นเก่า) + ( ราคาใช้สิทธิ x จำนวนหุ้นเพิ่มทุน)) / (จำนวนหุ้นเก่า + จำนวนหุ้นเพิ่มทุน)

...เผื่อมีประโยชน์ :o
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวน dilution effect -?

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ราคาใหม่ =((ราคาเก่า xจำนวนหุ้นเก่า) + ( ราคาใช้สิทธิ x จำนวนหุ้นเพิ่มทุน)) / (จำนวนหุ้นเก่า + จำนวนหุ้นเพิ่มทุน)
 เเต่จริงๆเเล้ว ราคาของหุ้นเพิ่มทุน(เเล้ว ) ก็เป็นราคาตลาดอยู่ดีนี่ครับ   คือ หลังจากเพิ่มทุนเเล้ว ราคาตลาดอาจจะลด หรือ เพิ่ม หรือ ไม่ลด ก็ได้ครับ ส่วนใหญ่ถ้าลดลงมันก็ไม่ค่อยลดลงเท่าราคาทีเรา คำนวนไว้    คือผมอยากบอกว่า ราคาตรงนี้มันเอาเเน่เอานอนไม่ได้ เช่น minor หลังจากเพิ่มทุนโดยการจ่ายหุ้นปันผล ราคาก็ไม่ได้ลดลงนี่ครับ
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวน dilution effect -?

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ช่วยตอบการคำนวน dilution effect ให้ผมเข้าใจหน่อยครับ
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวน dilution effect -?

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คร่าวๆนะครับ

การเกิด Dilution Effect  หมายถึง การเจือจางของกำไร เนื่องจากจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น

เช่น ปัจจุบันบริษัทมีหุ้นที่เรียกชำระแล้ว 100หุ้น กำไรสุทธิ 200บาท กำไรต่อหุ้นเท่ากับ200/100= 2บาทต่อหุ้น

และมีวอแรนท์รอแปลงอยู่ 25หุ้น ดังนั้นหากวอแรนท์ถูกแปลงเป็นหุ้นทั้งหมดโดยที่บริษัทยังมีกำไรสุทธิเท่าเดิม กำไรต่อหุ้น(ใหม่) = 200/(100+25) = 1.6บาท (ลดลง20%=1-(1.6/2) ซึ่งหมายถึงมีdilution effect 20%ครับ)
"Price is what you pay. Value is what you get."
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวน dilution effect -?

โพสต์ที่ 7

โพสต์

คัดลอกมาจากCENTEL ครับ

การพิจารณาผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทฯจะพิจารณา 3 ด้านประกอบด้วย

1) ด้านการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้น (Control Dilution)
     สามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้
            Control dilution = 1-(Qo/(Qo+Qe))
     โดยที่               Qo   =  จำนวนหุ้นที่มีอยู่เดิม
                        Qe   = จำนวนหุ้นใหม่ที่เพิ่มขึ้น

2) ด้านการลดลงของส่วนแบ่งกำไร
     สามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้
            EPS dilution     = (EPSnew - EPSo)/EPSo

     โดยที่   EPSo = Earnings/Qo   และ   EPSnew = Earnings/(Qo + Qe)

สมมุติฐานในการคำนวณ EPSnew จะคำนวณจากกำไรสุทธิสำหรับปี 2548 ซึ่งไม่รวมผลการดำเนินงาน
จากการขยายงานในอนาคต และสำหรับ EPSo จะใช้กำไรสุทธิต่อหุ้นของปี 2548 โดยคำนวณปรับราคา
ตราจากหุ้นละ 5 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท  ตามรายละเอียดดังนี้

กำไรสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯสำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 = 535.95 ล้านบาท
จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยระหว่างปี 2548  = 900 ล้านหุ้น (ราคาตราหุ้นละ 1 บาท)
กำไรสุทธิต่อหุ้น  (EPSo)           = 0.60 บาทต่อหุ้น (ราคาตราหุ้นละ 1 บาท)

3) ด้านการลดลงของราคาหุ้น (Pricing Dilution)
     สามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้
            Price dilution = (Po - Pnew) /Po
     โดยที่   Pnew = (PoQo + PeQe)/(Qo + Qe)

     ดังนั้น  Price dilution = (Po - Pe)Qe / (Qo + Qe)Po
     โดย     Qo   = จำนวนหุ้นที่มีอยู่เดิม
             Qe   = จำนวนหุ้นใหม่ที่เพิ่มขึ้น
             Po   = ราคาหุ้นที่มีอยู่เดิม
             Pe   = ราคาเสนอขายหุ้นใหม่
"Price is what you pay. Value is what you get."
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวน dilution effect -?

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Ok ขอรับ
ขอบคุณ  คุณKao มากขอรับ
javoel
Verified User
โพสต์: 383
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวน dilution effect -?

โพสต์ที่ 9

โพสต์

dilution effect20% หมายความว่า
Epsลดลง 20% ไช่ไหมครับ
โพสต์โพสต์