เมื่อ กลต ออกกฎใหม่จะทำให้สภาพคล่องตลาดลดลงไหมครับ
แล้วหุ้นที่เล่นเน็ตกันมากๆๆ มีหวังลงยาวๆๆเลยหรือป่าวครับพี่ๆๆ
กฎใหม่ ของกลต. จะมีผลแค่ไหน พี่ๆคนไหนรู้รายละเอียดครับ!!!!
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
กฎใหม่ ของกลต. จะมีผลแค่ไหน พี่ๆคนไหนรู้รายละเอียดครับ!!!!
โพสต์ที่ 2
ลองไปอ่านในโต๊ะสินธร ของ Pantip.com กับ กระทิงเขียว ดูซิครับ คุณ PRO_BABY
วิธีดูพฤติกรรมการตอบสนองของรายย่อย ง่ายๆ คือ ดู Web Board 2 ที่นี่ครับ เห็นกันชัดๆเลยครับ
แต่ถ้าถามผม ผมเชื่อว่าจะกระทบแค่วันจันทร์ครับ ผมเชื่อว่าลงไม่เยอะด้วย ทั้งนี้เดานะครับ
ทำไม? ผมเดาว่าถ้างานนี้มีการเทกระจาดเกิดขึ้นละก็ กลต. โดนด่ากระจายแน่ .... และวิธีที่จะช่วยได้คือ ให้กองทุน ช่วยยันดัชนีครับ
ถ้าวันจันทร์ดันอยู่ ผมว่าจบแล้วครับ สำคัญคือ ดัชนีต้องไม่ PANIC ถ้า PANIC จะ PANIC ยาว งานนี้พิสูจน์มีมือกลต กับ กองทุนครับ
แต่ถ้าไม่ PANIC วันเดียวก็จบครับ
วิธีดูพฤติกรรมการตอบสนองของรายย่อย ง่ายๆ คือ ดู Web Board 2 ที่นี่ครับ เห็นกันชัดๆเลยครับ
แต่ถ้าถามผม ผมเชื่อว่าจะกระทบแค่วันจันทร์ครับ ผมเชื่อว่าลงไม่เยอะด้วย ทั้งนี้เดานะครับ
ทำไม? ผมเดาว่าถ้างานนี้มีการเทกระจาดเกิดขึ้นละก็ กลต. โดนด่ากระจายแน่ .... และวิธีที่จะช่วยได้คือ ให้กองทุน ช่วยยันดัชนีครับ
ถ้าวันจันทร์ดันอยู่ ผมว่าจบแล้วครับ สำคัญคือ ดัชนีต้องไม่ PANIC ถ้า PANIC จะ PANIC ยาว งานนี้พิสูจน์มีมือกลต กับ กองทุนครับ
แต่ถ้าไม่ PANIC วันเดียวก็จบครับ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎใหม่ ของกลต. จะมีผลแค่ไหน พี่ๆคนไหนรู้รายละเอียดครับ!!
โพสต์ที่ 3
17-Nov-03 10:09:27 Headline : SET :News Release : บอร์ดตลาดหลักทรัพย์ กำหนดให้บริษัทสมาชิกสามาร
-------------------------------------------------------------------------
ฉบับที่ 104/2546
17 พฤศจิกายน 2546
บอร์ดตลาดหลักทรัพย์ กำหนดให้บริษัทสมาชิกสามารถเรียกหลัก
ประกันในบัญชีเงินสดเริ่ม 1 ธ.ค.46 แต่ให้เวลาเตรียมการจนถึง 31
มี.ค.47 พร้อมให้ถือเป็นข่าวดีเพราะเป็นการยืนยันว่าไม่ยกเลิก Net
Settlement
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในวัน
นี้ (17 พฤศจิกายน 2546) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการประชุม เพื่อพิจารณามติของ
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่กำหนดให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินการให้
บริษัทหลักทรัพย์ เรียกให้ลูกค้านำหลักประกันมาวางในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีเงินสด ที่
คณะกรรมการ ก.ล.ต.ได้มีมติไว้เมื่อวันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2546
มติดังกล่าวกำหนดให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการให้บริษัทหลักทรัพย์เรียกให้ลูก
ค้าวางหลักประกัน สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีเงินสด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินซื้อ
ขายหลักทรัพย์ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2546 และให้เพิ่มอัตราเป็นร้อยละ 25 ของวงเงินฯ ตั้งแต่ 1
มกราคม 2547
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางดังกล่าวเป็นหลักการที่มี
ประโยชน์ เพราะเป็นแนวทางที่จะช่วยดูแลความเสี่ยงของ บริษัทหลักทรัพย์ และตลาดทุนโดยรวม
จึงเห็นควรให้ออกข้อบังคับให้บริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว ซึ่ง
บริษัทสมาชิกสามารถเริ่มดำเนินการให้มีการวางหลักประกันสำหรับบัญชีเงินสดในอัตราร้อยละ 10
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2546 เป็นต้นไป แต่ตระหนักดีถึงความจำเป็นของบริษัทสมาชิกที่ต้องใช้
เวลาในการเตรียมระบบงานให้สามารถบริการลูกค้าผู้ลงทุนจำนวนมากได้อย่างไม่ติดขัด จึงกำหนด
ให้บริษัทสมาชิกดูแลให้มีการปฏิบัติให้มีหลักประกันร้อยละ 10 อย่างครบถ้วน ภายใน วันที่ 31
มีนาคม 2547 ส่วนอัตราร้อยละ 25 นั้น ก็ให้บริษัทสมาชิกสามารถใช้ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 ถ้า
บริษัทฯ ใดมีความพร้อม แต่ขอให้ปฏิบัติให้ครบถ้วนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ซึ่งแนวทางนี้
ได้รับความเข้าใจจากระดับสูงในคณะกรรมการก.ล.ต. แล้ว โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเชิญบริษัท
สมาชิกทั้งหมดเพื่อขอรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับรายละเอียดในการปฏิบัติในที่ประชุมวิสามัญ
สมาชิก ในวันอังคารที่ 18 พฤศจิกายนนี้ เวลา 16.30 น. นายกิตติรัตน์กล่าว
นายกิตติรัตน์กล่าวต่อว่า การกำหนดให้มีการวางหลักประกันสำหรับบัญชีเงินสดในครั้งนี้จะไม่
สร้างปัญหาให้กับภาวะตลาดเพราะมีความชัดเจนในการปฏิบัติ มีเวลาให้บริษัทหลักทรัพย์เตรียม
การนานพอ และผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะไม่มีผลกระทบ เพราะข้อบังคับจะกำหนดยกเว้นการปฏิบัติให้
ผู้ลงทุนสถาบันทั้งสถาบันในประเทศ และสถาบันต่างประเทศ และสำหรับผู้ลงทุนบุคคลทั่วไปก็
แทบจะไม่มีผลกระทบ เพราะหลักประกันจะรวมถึงหลักทรัพย์ที่ฝากไว้กับบริษัทหลักทรัพย์อยู่แล้ว
ด้วย ไม่ได้หมายความว่าจะต้องนำเงินสดเท่านั้นมาฝากไว้กับบริษัทสมาชิก และผู้ลงทุนยังสามารถ
ใช้หลักทรัพย์อื่นเช่นพันธบัตรรัฐบาล และหน่วยลงทุนมาใช้เป็นหลักประกันได้อีกด้วย "ขอให้ผู้
ลงทุนถือเป็นข่าวดี เพราะเมื่อมีการดำเนินการอย่างนี้แล้ว ก็เท่ากับเป็นการยืนยันว่า ไม่มีการยกเลิก
การชำระราคาแบบ Net Settlement ที่ผู้ลงทุนเคยกังวล แต่อย่างใด"
กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังกล่าวด้วยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับทราบว่า สมาคม
บริษัทหลักทรัพย์ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือตามแนวทางของ คณะกรรมการ ก.ล.ต. และสมาคมฯ
ได้มีการตั้งคณะทำงานชุดพิเศษ เพื่อหารือเกี่ยวกับรายละเอียดการเตรียมการปฏิบัติงานซึ่งจะมีการ
ประชุมต่อเนื่องให้ได้รายละเอียดการปฏิบัติทุกอย่าง อย่างครบถ้วนในสัปดาห์นี้
-------------------------------------------------------------------------
ฉบับที่ 104/2546
17 พฤศจิกายน 2546
บอร์ดตลาดหลักทรัพย์ กำหนดให้บริษัทสมาชิกสามารถเรียกหลัก
ประกันในบัญชีเงินสดเริ่ม 1 ธ.ค.46 แต่ให้เวลาเตรียมการจนถึง 31
มี.ค.47 พร้อมให้ถือเป็นข่าวดีเพราะเป็นการยืนยันว่าไม่ยกเลิก Net
Settlement
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในวัน
นี้ (17 พฤศจิกายน 2546) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการประชุม เพื่อพิจารณามติของ
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่กำหนดให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินการให้
บริษัทหลักทรัพย์ เรียกให้ลูกค้านำหลักประกันมาวางในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีเงินสด ที่
คณะกรรมการ ก.ล.ต.ได้มีมติไว้เมื่อวันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2546
มติดังกล่าวกำหนดให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการให้บริษัทหลักทรัพย์เรียกให้ลูก
ค้าวางหลักประกัน สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ในบัญชีเงินสด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินซื้อ
ขายหลักทรัพย์ ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2546 และให้เพิ่มอัตราเป็นร้อยละ 25 ของวงเงินฯ ตั้งแต่ 1
มกราคม 2547
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางดังกล่าวเป็นหลักการที่มี
ประโยชน์ เพราะเป็นแนวทางที่จะช่วยดูแลความเสี่ยงของ บริษัทหลักทรัพย์ และตลาดทุนโดยรวม
จึงเห็นควรให้ออกข้อบังคับให้บริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว ซึ่ง
บริษัทสมาชิกสามารถเริ่มดำเนินการให้มีการวางหลักประกันสำหรับบัญชีเงินสดในอัตราร้อยละ 10
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2546 เป็นต้นไป แต่ตระหนักดีถึงความจำเป็นของบริษัทสมาชิกที่ต้องใช้
เวลาในการเตรียมระบบงานให้สามารถบริการลูกค้าผู้ลงทุนจำนวนมากได้อย่างไม่ติดขัด จึงกำหนด
ให้บริษัทสมาชิกดูแลให้มีการปฏิบัติให้มีหลักประกันร้อยละ 10 อย่างครบถ้วน ภายใน วันที่ 31
มีนาคม 2547 ส่วนอัตราร้อยละ 25 นั้น ก็ให้บริษัทสมาชิกสามารถใช้ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 ถ้า
บริษัทฯ ใดมีความพร้อม แต่ขอให้ปฏิบัติให้ครบถ้วนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ซึ่งแนวทางนี้
ได้รับความเข้าใจจากระดับสูงในคณะกรรมการก.ล.ต. แล้ว โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเชิญบริษัท
สมาชิกทั้งหมดเพื่อขอรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับรายละเอียดในการปฏิบัติในที่ประชุมวิสามัญ
สมาชิก ในวันอังคารที่ 18 พฤศจิกายนนี้ เวลา 16.30 น. นายกิตติรัตน์กล่าว
นายกิตติรัตน์กล่าวต่อว่า การกำหนดให้มีการวางหลักประกันสำหรับบัญชีเงินสดในครั้งนี้จะไม่
สร้างปัญหาให้กับภาวะตลาดเพราะมีความชัดเจนในการปฏิบัติ มีเวลาให้บริษัทหลักทรัพย์เตรียม
การนานพอ และผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะไม่มีผลกระทบ เพราะข้อบังคับจะกำหนดยกเว้นการปฏิบัติให้
ผู้ลงทุนสถาบันทั้งสถาบันในประเทศ และสถาบันต่างประเทศ และสำหรับผู้ลงทุนบุคคลทั่วไปก็
แทบจะไม่มีผลกระทบ เพราะหลักประกันจะรวมถึงหลักทรัพย์ที่ฝากไว้กับบริษัทหลักทรัพย์อยู่แล้ว
ด้วย ไม่ได้หมายความว่าจะต้องนำเงินสดเท่านั้นมาฝากไว้กับบริษัทสมาชิก และผู้ลงทุนยังสามารถ
ใช้หลักทรัพย์อื่นเช่นพันธบัตรรัฐบาล และหน่วยลงทุนมาใช้เป็นหลักประกันได้อีกด้วย "ขอให้ผู้
ลงทุนถือเป็นข่าวดี เพราะเมื่อมีการดำเนินการอย่างนี้แล้ว ก็เท่ากับเป็นการยืนยันว่า ไม่มีการยกเลิก
การชำระราคาแบบ Net Settlement ที่ผู้ลงทุนเคยกังวล แต่อย่างใด"
กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังกล่าวด้วยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับทราบว่า สมาคม
บริษัทหลักทรัพย์ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือตามแนวทางของ คณะกรรมการ ก.ล.ต. และสมาคมฯ
ได้มีการตั้งคณะทำงานชุดพิเศษ เพื่อหารือเกี่ยวกับรายละเอียดการเตรียมการปฏิบัติงานซึ่งจะมีการ
ประชุมต่อเนื่องให้ได้รายละเอียดการปฏิบัติทุกอย่าง อย่างครบถ้วนในสัปดาห์นี้
- ลุงขวด
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2431
- ผู้ติดตาม: 0
กฎใหม่ ของกลต. จะมีผลแค่ไหน พี่ๆคนไหนรู้รายละเอียดครับ!!!!
โพสต์ที่ 4
มีผลมากสำหรับ นัก เก็งกำไร ส่วนนักลงทุนจริง ๆ แล้ว ก็ เอาเงินที่เหลือมาซื้อเพื่อหวังปันผล ยิ่งลงก็จะได้ของถูกลง
ผลต่อตลาด ก็ทำให้โวลุ่มลดน้อยลง ราคาหุ้นคงไม่ไปไหนเท่าไหร่ ตัวขึ้นมาเร็ว ก็จะลงเร็ว ส่วนหุ้นที่พื้นฐานดี คงไม่ลงเท่าไหร่ (คำว่าพื้นฐานดี หมายถึงหุ้นที่ยังต่ำกว่ามูลค่าที่เป็นจริง และมีกิจการที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีธุรกิจที่ค่อย ๆ ขยับโตขึ้น เล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อปี....คือคำจำกัดความของผมเองครับ)
มีอาจารย์บางท่าน...ว่า... หุ้นพื้นฐานดี ราคาแพง .... ไม่ใช่ หุ้นดี
หุ้นที่ดี คือ หุ้นที่ ซื้อแล้วมีกำไร (ไม่ต้องดูพื้นฐานของหุ้น)
ชักปวดหัวเกี่ยวกับ คำจำกัดความ เสียจริง ๆๆๆ
ผลต่อตลาด ก็ทำให้โวลุ่มลดน้อยลง ราคาหุ้นคงไม่ไปไหนเท่าไหร่ ตัวขึ้นมาเร็ว ก็จะลงเร็ว ส่วนหุ้นที่พื้นฐานดี คงไม่ลงเท่าไหร่ (คำว่าพื้นฐานดี หมายถึงหุ้นที่ยังต่ำกว่ามูลค่าที่เป็นจริง และมีกิจการที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีธุรกิจที่ค่อย ๆ ขยับโตขึ้น เล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อปี....คือคำจำกัดความของผมเองครับ)
มีอาจารย์บางท่าน...ว่า... หุ้นพื้นฐานดี ราคาแพง .... ไม่ใช่ หุ้นดี
หุ้นที่ดี คือ หุ้นที่ ซื้อแล้วมีกำไร (ไม่ต้องดูพื้นฐานของหุ้น)
ชักปวดหัวเกี่ยวกับ คำจำกัดความ เสียจริง ๆๆๆ