แจ้งเรื่องการเซ็นสัญญาร่วมเป็นพันธมิตรทางการค้า
23/06/2549 09:25
MCS : แจ้งเรื่องการเซ็นสัญญาร่วมเป็นพันธมิตรทางการค้า
ที่ MCS 016/2549
วันที่ 23 มิถุนายน 2549
เรื่อง แจ้งเรื่องการเซ็นสัญญาร่วมเป็นพันธมิตรทางการค้า
เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่บริษัทฯได้เคยแจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวน กี่ยวกับโครงการ การลงทุนในประเทศจีน เกี่ยวกับ
เรื่องดังกล่าว บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด ( มหาชน ) ได้ตกลงเซ็นสัญญาร่วมเป็นพันธมิตร
ทางการค้ากับ บริษัท Huayin Steel Structure Engineering ( China )Co., Ltd
โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
รายละเอียดของบริษัทคู่สัญญา
Huayin Steel Structure Engineering (China) Co., Ltd
(1) ก่อตั้งเมื่อปี 2537 และเป็นบริษัทผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กแบบเบารายใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3
นอกเหนือจากความโดดเด่นในด้านการผลิตแล้ว ยังมีความสามารถในการออกแบบที่เป็นมืออาชีพอีกด้วยและ
เคยได้รับรางวัลเกียรติยศในการออกแบบโครงสร้างเหล็กหลายครั้ง
(2) มีทุนจดเทะเบียน 16 ล้านดอลล่าสหรัฐ
(3) มีประสบการณ์ในตลาดจีนมานานกว่า 10 กว่าปี
(4) มีสถานประกอบการในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนรวม 16 แห่ง ปริมาณผลผลิตต่อปี มากกว่า
150,000 ตันขึ้นไป
วัตถุประสงค์ในการเซ็นสัญญา
(1) เพื่อสรรหาเทคโนโลยีที่ตนเองยังไม่สมบูรณ์พอ
(2) เพื่อเข้าสู่ตลาดสินค้าที่ตนเองยังเข้าไปไม่ถึง
(3) กำลังในการผลิตร่วม ของบริษัทฯสำหรับงานโครงการใหญ่ๆ
(4) ร่วมกันจัดซื้อวัตถุดิบ เพื่อผลประโยชน์จากราคาวัสดุ
ความคาดหวังหลังจากร่วมเป็นพันธมิตรกันแล้ว
(1) ความสามารถในการร่วมกันรับงานโครงสร้างเหล็กโครงการใหญ่ ระดับ 100,000 ตันขึ้นไปได้ ทั้ง
โครงการ
(2) ไม่เพียงแต่สามารถรองรับตลาดขนาดใหญ่ในเขตประเทศจีน ญี่ปุ่น และเอเชียอาคเนย์ ขณะเดียวกัน
ยังสามารถขยายตลาดออกไปยังเขตตลาดอื่นๆ อีกด้วย
(3) การแลกเปลี่ยนทางด้านเทคนิคต่างๆ จะยิ่งทำให้การบุกเบิกตลาดด้านโครงสร้างเหล็กสำหรับการ
ก่อสร้างอาคารสูง ในประเทศจีน ตลาดโครงสร้างเหล็กในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย สามารถที่จะเพิ่มศักยภาพได้
มากขึ้น
(4) การแจ้งความเคลื่อนไหวของราคาวัตถุดิบหรือวิธีการร่วมกันจัดซื้อวัตถุดิบ จะยิ่งทำให้การคัดเลือก
วัตถุดิบได้ดี มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น ซึ่งจากเงื่อนไขของลูกค้า เท่ากับบริษัทฯ สามารถที่จะเลือกสรรวัตถุดิบที่เหมาะสมได้ทั้ง
จากประเทศญี่ปุ่น ,ประเทศจีน และเกาหลี เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งสองบริษัทฯได้ร่วมลงนามเป็นพันธมิตรระหว่างกันไปแล้ว เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2549
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
( ดร.ไนยวน ชิ )
ประธานกรรมการ
ความคืบหน้าเรื่องการลงทุนในจีน
-
- Verified User
- โพสต์: 593
- ผู้ติดตาม: 0
ความคืบหน้าเรื่องการลงทุนในจีน
โพสต์ที่ 2
บล.ธนชาต : MCS แนะนำซื้อ
ร่วมลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรทางการค้ากับ Huayin Steel Structure
Engineering (China) Co., Ltd.: เมื่อวานนี้ MCS ได้ร่วมลงนามเป็นพันธมิตรทางการค้า
กับ Huayin Steel ซึ่งบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กแบบเบารายใหญ่ติดอันดับ
1 ใน 3 ของจีน มีกำลังการผลิต 150,000 ตัน/ปี ซึ่งปัจจุบันใช้กำลังการผลิตเกือบ 80% สำหรับ
วัตถุประสงค์ในการเป็นพันธมิตรทางการค้า Huayin Steel ในครั้งนี้ ผู้บริหารของ MCS คาดว่า
จะได้รับประโยชน์ใน 4 ด้านหลัก คือ 1) Technology การผลิตโครงสร้างเหล็กแบบเบา,
2) เพื่อหาตลาดใหม่, 3) เพื่อให้สามารถรับงานโครงการใหญ่ๆ ได้ และ 4) เพื่อลดต้นทุน
ในการจัดซื้อวัตถุดิบ
อย่างไรก็ตาม การลงนามในครั้งนี้เป็นเพียงแต่การร่วมมือกันทางธุรกิจในระดับ
เบื้องต้นเท่านั้น โดยในขณะนี้ยังมิได้มีการร่วมลงทุนระหว่าง 2 บริษัท แต่อย่างไรก็ตาม
ผู้บริหารคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการถือหุ้นไขว้กันระหว่างสองบริษัทในอนาคต ซึ่งคาด
ว่าจะได้ข้อสรุปก่อนเดือนมิ.ย. 2007
มีมุมมองบวกต่อการลงนามในสัญญาดังกล่าว: ถึงแม้ว่าการร่วมลงทุนระหว่าง MCS
และ Huayin Steel จะยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ แต่การลงนามเพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
แสดงให้เห็นความคืบหน้าของแผนการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทฯ และฝ่ายกลยุทธ์ คาดว่า
MCS น่าจะได้รับประโยชน์ต่างๆ ดังนี้:
- ระยะสั้น
1. ได้ประโยชน์จากการจัดซื้อวัตถุดิบเหล็กบางประเภทในประเทศจีน (โดยเฉพาะ
ในส่วนของสินค้าที่ไม่ต้องใช้ specification เหล็กจากประเทศญี่ปุ่น) อย่างไรก็ตาม เรามองว่า
ผลประโยชน์ที่ MCS จะได้รับในระยะสั้น คงมีไม่มากนัก เนื่องจาก ปริมาณงานส่วนใหญ่ยังเป็น
order จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง MCS ยังมีความจำเป็นต้องใช้เหล็กที่ได้คุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น
เป็นหลัก
2. สร้างโอกาสในการประมูลงานขนาดใหญ่ แต่เนื่องจาก ปัจจุบัน MCS ใช้กำลังการ
ผลิตค่อนข้างเต็มที่แล้ว ดังนั้น โอกาสในการรับงานเพิ่มจึงเป็นไปได้น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม
ผู้บริหารของ MCS แจ้งว่าอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อหาพันธมิตรรายใหม่ทางธุรกิจอีกรายในประเทศ
ไทย ซึ่งหากการเจรจาสำเร็จจะช่วยให้บริษัทสามารถรับงานได้เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศจีน และต่าง
ประเทศ ซึ่งผู้บริหารของ MCS คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้
- ระยะกลาง-ยาว
1. ใช้ Huayin Steel เป็นช่องทางในการขยายตลาดไปยังประเทศจีนมากขึ้น
เนื่องจาก ตลาดเหล็กโครงสร้างหนัก (สำหรับก่อสร้างตึกสูง) ในจีนเริ่มขยายตัวมากขึ้น
2. ในกรณีที่ในอนาคต คุณภาพวัตถุดิบของจีนมีคุณภาพที่สูงขึ้น ก็มีโอกาสที่ MCS
จะใช้วัตถุดิบเหล็กจากจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งการจัดซื้อร่วมกันระหว่าง MCS และ Huayin Steel
จะทำให้อำนาจต่อรองในการจัดซื้อวัตถุดิบมีเพิ่มขึ้น
3. จากการที่ MCS และพันธมิตรทางธุรกิจ สามารถร่วมกันประมูลงานใหญ่ๆ
ได้ในอนาคต จะช่วยให้มีอำนาจในการต่อรองราคาได้เพิ่มขึ้น และมีโอกาสในการได้รับงาน
ประมูลที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ หากในอนาคตมีการร่วมลงทุนกันระหว่าง 2 บริษัท MCS ยังสามารถ
ใช้จีนเป็นฐานในการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีศักยภาพในการ
แข่งขันสูงขึ้น (ทั้งทางด้านต้นทุนวัตถุดิบ, ค่าแรง และค่าขนส่ง) เมื่อเทียบกับคู่แข่งในประเทศ
ญี่ปุ่น และต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่แข่งขันในจีนที่คาดว่าจะมีจำนวนมากขึ้นในอนาคต
ผลการดำเนินงานปีนี้น่าจะเป็นไปตามคาด: ผู้บริหาร MCS แจ้งว่าผลประกอบการ
2Q06 ออกมาน่าจะไม่ต่ำกว่าไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และยังยืนยันว่ายอดรายได้ในปี 2006
ยังคงเป็นไปตามที่แจ้งตลาดฯ ไว้ที่ 2,700 ล้านบาท โดยฝ่ายกลยุทธ์ประมาณการยอดขาย
ทั้งปี 2006 ไว้ที่ 2.65 พันล้านบาท และคาดว่าจะมีกำไรจากการดำเนินตามปกติที่ 295
ล้านบาท ซึ่งเราเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ผลการดำเนินในปีนี้จะเป็นไปตามประมาณการ
ที่เราคาดไว้ เนื่องจาก ในปี 2006 MCS มี order เต็มทั้งปีแล้ว
ฝ่ายกลยุทธ์ประมาณการว่า MCS จะมีอัตราการเติบโตของกำไรจากการดำเนินงาน
ปกติในปี 2006 ที่ 27.3% แต่เติบโตเล็กน้อยในปี 2007-08 โดยขยายตัว 4.6% และ 1.0%
ตามลำดับ เนื่องจาก MCS มีการใช้กำลังการผลิตที่ค่อนข้างเต็มแล้ว นอกจากนี้ ในประมาณการ
ของเรายังไม่ได้รวมปัจจัยบวกต่างๆ ที่จะมีขึ้นจากการเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการจากจีน รวม
ถึงโอกาสที่จะมีพันธมิตรรายใหม่ในไทยอีก 1 ราย ซึ่งหาก MCS สามารถขยายกำลังการผลิต
ได้ หรือสามารถปรับลดต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญก็จะทำให้มี upside จาก
ประมาณของเรา
upside gain และ dividend yield น่าสนใจ แนะนำ ซื้อ: จากราคาปิดเมื่อวานนี้ที่
3.54 บาท ยังมี upside อีก 16% และ ณ ระดับราคาดังกล่าวซื้อ-ขายกันที่ P/E เพียง 6 เท่า ใน
ปี 2006 และ 5.7 เท่า ในปี 2007 ซึ่งถือว่าไม่สูง และมี PEG เพียง 0.23 เท่า ในปี 2006 นอก
จากนี้ จากการที่บริษัทฯ มีสถานะเป็น net cash เราจึงคาดว่า MCS จะจ่ายเงินปันผล 0.34
บาท ในปีนี้ หรือคิดเป็น dividend yield ที่ 9.6% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูง
เทคนิค: ในระยะสั้นความต่อเนื่องในการขึ้นต่อ จะต้องทะลุผ่านแนวต้าน 3.60 บาทขึ้น
มายืน จะมีเป้าหมายแนวต้านถัดไปที่ 3.70 บาท แต่อาจมีแรงขายทำกำไร ณ บริเวณดังกล่าวใน
ระยะแรกก่อน
ร่วมลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรทางการค้ากับ Huayin Steel Structure
Engineering (China) Co., Ltd.: เมื่อวานนี้ MCS ได้ร่วมลงนามเป็นพันธมิตรทางการค้า
กับ Huayin Steel ซึ่งบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กแบบเบารายใหญ่ติดอันดับ
1 ใน 3 ของจีน มีกำลังการผลิต 150,000 ตัน/ปี ซึ่งปัจจุบันใช้กำลังการผลิตเกือบ 80% สำหรับ
วัตถุประสงค์ในการเป็นพันธมิตรทางการค้า Huayin Steel ในครั้งนี้ ผู้บริหารของ MCS คาดว่า
จะได้รับประโยชน์ใน 4 ด้านหลัก คือ 1) Technology การผลิตโครงสร้างเหล็กแบบเบา,
2) เพื่อหาตลาดใหม่, 3) เพื่อให้สามารถรับงานโครงการใหญ่ๆ ได้ และ 4) เพื่อลดต้นทุน
ในการจัดซื้อวัตถุดิบ
อย่างไรก็ตาม การลงนามในครั้งนี้เป็นเพียงแต่การร่วมมือกันทางธุรกิจในระดับ
เบื้องต้นเท่านั้น โดยในขณะนี้ยังมิได้มีการร่วมลงทุนระหว่าง 2 บริษัท แต่อย่างไรก็ตาม
ผู้บริหารคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการถือหุ้นไขว้กันระหว่างสองบริษัทในอนาคต ซึ่งคาด
ว่าจะได้ข้อสรุปก่อนเดือนมิ.ย. 2007
มีมุมมองบวกต่อการลงนามในสัญญาดังกล่าว: ถึงแม้ว่าการร่วมลงทุนระหว่าง MCS
และ Huayin Steel จะยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ แต่การลงนามเพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
แสดงให้เห็นความคืบหน้าของแผนการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทฯ และฝ่ายกลยุทธ์ คาดว่า
MCS น่าจะได้รับประโยชน์ต่างๆ ดังนี้:
- ระยะสั้น
1. ได้ประโยชน์จากการจัดซื้อวัตถุดิบเหล็กบางประเภทในประเทศจีน (โดยเฉพาะ
ในส่วนของสินค้าที่ไม่ต้องใช้ specification เหล็กจากประเทศญี่ปุ่น) อย่างไรก็ตาม เรามองว่า
ผลประโยชน์ที่ MCS จะได้รับในระยะสั้น คงมีไม่มากนัก เนื่องจาก ปริมาณงานส่วนใหญ่ยังเป็น
order จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง MCS ยังมีความจำเป็นต้องใช้เหล็กที่ได้คุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น
เป็นหลัก
2. สร้างโอกาสในการประมูลงานขนาดใหญ่ แต่เนื่องจาก ปัจจุบัน MCS ใช้กำลังการ
ผลิตค่อนข้างเต็มที่แล้ว ดังนั้น โอกาสในการรับงานเพิ่มจึงเป็นไปได้น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม
ผู้บริหารของ MCS แจ้งว่าอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อหาพันธมิตรรายใหม่ทางธุรกิจอีกรายในประเทศ
ไทย ซึ่งหากการเจรจาสำเร็จจะช่วยให้บริษัทสามารถรับงานได้เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศจีน และต่าง
ประเทศ ซึ่งผู้บริหารของ MCS คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้
- ระยะกลาง-ยาว
1. ใช้ Huayin Steel เป็นช่องทางในการขยายตลาดไปยังประเทศจีนมากขึ้น
เนื่องจาก ตลาดเหล็กโครงสร้างหนัก (สำหรับก่อสร้างตึกสูง) ในจีนเริ่มขยายตัวมากขึ้น
2. ในกรณีที่ในอนาคต คุณภาพวัตถุดิบของจีนมีคุณภาพที่สูงขึ้น ก็มีโอกาสที่ MCS
จะใช้วัตถุดิบเหล็กจากจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งการจัดซื้อร่วมกันระหว่าง MCS และ Huayin Steel
จะทำให้อำนาจต่อรองในการจัดซื้อวัตถุดิบมีเพิ่มขึ้น
3. จากการที่ MCS และพันธมิตรทางธุรกิจ สามารถร่วมกันประมูลงานใหญ่ๆ
ได้ในอนาคต จะช่วยให้มีอำนาจในการต่อรองราคาได้เพิ่มขึ้น และมีโอกาสในการได้รับงาน
ประมูลที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ หากในอนาคตมีการร่วมลงทุนกันระหว่าง 2 บริษัท MCS ยังสามารถ
ใช้จีนเป็นฐานในการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีศักยภาพในการ
แข่งขันสูงขึ้น (ทั้งทางด้านต้นทุนวัตถุดิบ, ค่าแรง และค่าขนส่ง) เมื่อเทียบกับคู่แข่งในประเทศ
ญี่ปุ่น และต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่แข่งขันในจีนที่คาดว่าจะมีจำนวนมากขึ้นในอนาคต
ผลการดำเนินงานปีนี้น่าจะเป็นไปตามคาด: ผู้บริหาร MCS แจ้งว่าผลประกอบการ
2Q06 ออกมาน่าจะไม่ต่ำกว่าไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และยังยืนยันว่ายอดรายได้ในปี 2006
ยังคงเป็นไปตามที่แจ้งตลาดฯ ไว้ที่ 2,700 ล้านบาท โดยฝ่ายกลยุทธ์ประมาณการยอดขาย
ทั้งปี 2006 ไว้ที่ 2.65 พันล้านบาท และคาดว่าจะมีกำไรจากการดำเนินตามปกติที่ 295
ล้านบาท ซึ่งเราเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ผลการดำเนินในปีนี้จะเป็นไปตามประมาณการ
ที่เราคาดไว้ เนื่องจาก ในปี 2006 MCS มี order เต็มทั้งปีแล้ว
ฝ่ายกลยุทธ์ประมาณการว่า MCS จะมีอัตราการเติบโตของกำไรจากการดำเนินงาน
ปกติในปี 2006 ที่ 27.3% แต่เติบโตเล็กน้อยในปี 2007-08 โดยขยายตัว 4.6% และ 1.0%
ตามลำดับ เนื่องจาก MCS มีการใช้กำลังการผลิตที่ค่อนข้างเต็มแล้ว นอกจากนี้ ในประมาณการ
ของเรายังไม่ได้รวมปัจจัยบวกต่างๆ ที่จะมีขึ้นจากการเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการจากจีน รวม
ถึงโอกาสที่จะมีพันธมิตรรายใหม่ในไทยอีก 1 ราย ซึ่งหาก MCS สามารถขยายกำลังการผลิต
ได้ หรือสามารถปรับลดต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญก็จะทำให้มี upside จาก
ประมาณของเรา
upside gain และ dividend yield น่าสนใจ แนะนำ ซื้อ: จากราคาปิดเมื่อวานนี้ที่
3.54 บาท ยังมี upside อีก 16% และ ณ ระดับราคาดังกล่าวซื้อ-ขายกันที่ P/E เพียง 6 เท่า ใน
ปี 2006 และ 5.7 เท่า ในปี 2007 ซึ่งถือว่าไม่สูง และมี PEG เพียง 0.23 เท่า ในปี 2006 นอก
จากนี้ จากการที่บริษัทฯ มีสถานะเป็น net cash เราจึงคาดว่า MCS จะจ่ายเงินปันผล 0.34
บาท ในปีนี้ หรือคิดเป็น dividend yield ที่ 9.6% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูง
เทคนิค: ในระยะสั้นความต่อเนื่องในการขึ้นต่อ จะต้องทะลุผ่านแนวต้าน 3.60 บาทขึ้น
มายืน จะมีเป้าหมายแนวต้านถัดไปที่ 3.70 บาท แต่อาจมีแรงขายทำกำไร ณ บริเวณดังกล่าวใน
ระยะแรกก่อน
ต้องเรียนรู้ให้ได้
Li .. Zhi .. Ren
Li .. Zhi .. Ren