... มองตลาดหุ้นแบบ มองเงินที่มีอำนาจซื้อนำมั่ง ....

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
คัดท้าย
Verified User
โพสต์: 2917
ผู้ติดตาม: 0

... มองตลาดหุ้นแบบ มองเงินที่มีอำนาจซื้อนำมั่ง ....

โพสต์ที่ 1

โพสต์

http://www.bangkokbizweek.com/20060504/ ... 09053.html

Money Game : Boom and Bust cycle (1)

ในช่วงนี้ เราได้เห็นหุ้นตกลงกว่า 50-60 จุดใน ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นที่น่าแปลกใจ ถ้าเราเข้าใจและศึกษา Boom and bust cycle ซึ่งเป็นวงจรจังหวะการลงทุนที่สำคัญที่สุด

จังหวะการลงทุนที่ให้กำไรมากที่สุดคือ การเข้าซื้อในจังหวะ Bust และขายในจังหวะ BOOM

การค้นพบ Boom and Bust cycle จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สุดของกลยุทธ์การลงทุนแบบ Market timing โดยปกติปัจจัยสำคัญที่สุด คือสภาพคล่อง (Liquidity) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญพอๆ กัน หรือมากกว่าปัจจัยพื้นฐานเสียด้วย

ฉะนั้นนักลงทุนที่ชาญฉลาดต้องเข้าใจกลไกที่ก่อให้เกิดสภาพคล่อง หรือกลไกที่ทำให้สภาพคล่องหดหายไป ในช่วงภาวะ Boom สุดขีด หรือ Peak ของทรัพย์สินใดก็ตาม อารมณ์นักลงทุนจะเต็มไปด้วยความโลภ (Greed หรือ Euphoria)

การเสนอซื้อของสินทรัพย์ จะเป็นไปในทิศทางราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยหวังที่จะขายได้ในราคาสูงขึ้น โดยไม่คาดคิดว่าตนเองจะเป็นไม้สุดท้าย ดังที่ได้เห็นในช่วงภาวะฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2539 หรือภาวะตลาดหุ้นในช่วงปี พ.ศ. 2537 ตอนที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้แตะ 1,700 จุด

หรือในเร็วๆ นี้ เราได้เห็นดัชนี SET ขึ้นลงในแต่ละวัน วันละ 20 จุด ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพคล่องทั้งสิ้น ในขณะที่ภาวะที่เป็น Bust (ภาวะตกต่ำสุดขีด) อารมณ์ของนักลงทุนจะเต็มไปด้วยความหวาดกลัว (Fear) และจะตามมาด้วยการขายสินทรัพย์ที่ตนเองถืออยู่ในลักษณะหนีตาย อย่างที่เราเห็นการลงทุนในช่วงปี พ.ศ. 2542 ตอนที่ดัชนีหุ้นดิ่งลงถึงจุดต่ำสุดที่ 200 จุดเศษ ๆ แท้ที่จริงนักลงทุนสามารถทำการศึกษาและสังเกต เรื่อง Boom and Bust cycle ได้ง่ายๆ ดังนี้

กรณีที่หนึ่ง นักลงทุนที่เข้าซื้อดัชนีหุ้น (SET index) ในช่วงราคาเปิดของแต่ละวัน และขายในราคาปิดของแต่ละวันในลักษณะหักลบการซื้อขาย หรือเราเรียกว่า Net settlement จากสถิติที่ผมศึกษามาในระยะเวลา 2 ปี นักลงทุนท่านนั้นจะขาดทุน 45% ต่อปี (ทั้งนี้ยังไม่รวมค่า commission ที่ต้องเสียในอัตรา 0.25% ของปริมาณซื้อขาย)

ในขณะที่นักลงทุนที่ซื้อราคาปิดของวันก่อนหน้า และขายในราคาเปิดของวัน ทำแบบนี้ทุกๆ วัน นักลงทุนท่านนั้นจะได้กำไรประมาณ 25% ต่อปี (ยังไม่รวมค่า commission)

ปรากฏการณ์นี้ เราสามารถอธิบายโดยใช้ทฤษฎี Behavior Finance ว่า ในช่วงเช้าของแต่ละวัน นักลงทุนมักจะซึมซับข่าวดีและข่าวร้ายในทันที และราคาหุ้นมักจะซึมซับข่าวดีและข่าวร้ายของหุ้นทันที

กรณีที่สอง จากสถิติ 2 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนที่ซื้อดัชนีในราคาปิด ในช่วงวันจันทร์ และขายในราคาเปิดของวันพฤหัสบดี จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 16% ต่อปี (ยังไม่รวมค่า commission)

กรณีที่สาม ถ้าเรามองให้ไกลขึ้นไปในผลตอบแทนรายปี หุ้นเดือนพฤษภาคม จะให้ผลตอบแทนต่ำสุดเป็นอันดับสองรองจากเดือนมีนาคม ในลักษณะการเปลี่ยนแปลงรายเดือน ในขณะที่ผลตอบแทนเดือนธันวาคม และมกราคมจะสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง และอันดับสองตามลำดับ

ฉะนั้นในภาษานักลงทุน จึงมีคำว่า SELL in May and go away; come back in November.

สำหรับกรณีที่สี่ถึงหก กรุณาติดตามต่อฉบับหน้าครับ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
โพสต์โพสต์