ลางร้าย VNG หรือเปล่าเนี่ยยยยยยยย !!!!
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ลางร้าย VNG หรือเปล่าเนี่ยยยยยยยย !!!!
โพสต์ที่ 1
ราคาไม้ยางพุ่งพรวด1,600บาท/ตัน
ชาวสวนยางพาราเล่นตัวหลังขายผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิดได้ราคาดี ไม่ยอมโค่นต้นยางขาย ส่งผลราคาไม้ยางพุ่งพรวดกว่า 30% โรงเลื่อย โรงอบไม้ อุตเฟอร์นิเจอร์ ได้รับผลกระทบถ้วนหน้า เผยโรงเลื่อยรายย่อยจ่อปิดการ รายใหญ่ชิ่งส่งไม้ขายจีนเพราะได้ราคาดี ครวญขายให้อุตเฟอร์นิเจอร์ต้องให้เครดิตยาว ทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน
นายสุทิน พรชัยสุรีย์ อุปนายกสมาคมไม้ยางพาราไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงภาวะราคาไม้ยางพาราในปีนี้ว่า ได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30% จากราคาขายหน้าโรงงานตันละ 1,100-1,200 บาท ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นตันละ 1,600 บาท ส่งผลให้ราคาไม้แปรรูปยางพาราสูงตามไปด้วย โดยมีราคาขายที่ลูกบาศก์เมตรละ 9,000 บาท
เหตุที่ราคาไม้ยางปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมากนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ยางเกือบทุกชนิดทั้งน้ำยาง ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะยางแผ่นดิบได้พุ่งสูงขึ้นถึงกก.ละ 70 กว่าบาท จากที่ชาวสวนเคยขายได้ กก.ละ22-23 บาท ทำให้ชาวสวนยางชะลอการโค่นต้นยาง เพราะต้องการเก็บไว้กรีดน้ำยางขายซึ่งได้ราคาดี
"การที่ไม้ยางพาราราคาแพง ได้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมา อาทิโรงเลื่อย โรงอบไม้ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เพราะต้นยางราคาแพงขึ้น ทั้งยังไม่มีมาตรฐานการขาย เนื่องจากชาวสวนมีอำนาจต่อรองสูงกว่า อยากจะขายราคาเท่าไรก็ได้ หากโรงเลื่อยซื้อถูกก็ไม่ขายเก็บไว้กรีดน้ำยางขายดีกว่า แต่เนื่องจากโรงเลื่อยได้ลงทุนกิจการไปมากจะหยุดก็ไม่ได้ แถมแต่ละโรงมีภาระต้องดูแลคนงานจำนวนมาก ต้องยอมซื้อต้นยางราคาสูง ทำให้ประสบปัญหาขาดทุนไปตามๆ กัน "นายสุทินกล่าวและว่า เวลานี้โรงเลื่อยรายเล็กเตรียมปิดกิจการกันหมดแล้ว
ส่วนโรงเลื่อยขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มีทางออกด้วยการส่งออกไม้ยางไปจำหน่ายต่างประเทศ เพราะสามารถแพ็กกิ้งเครดิตนำเงินมาหมุนเวียนได้ ขณะที่ขายให้กับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ นอกจากไม่สามารถแพ็กกิ้งเครดิตได้แล้ว ยังต้องให้เครดิตกับผู้ซื้ออีกทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้การส่งออกไม้ยางพาราไปต่างประเทศ ตลาดส่งออกได้แก่จีน ราคาจะแพงกว่าขายในประเทศประมาณ 40% เพราะต้องบวกค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จีนยังมีความต้องการนำเข้าโดยจีนนำไม้ยางจากไทยไปผลิตเฟอร์นิเจอร์ในลักษณะมูลค่าเพิ่มคือมีการแกะสลัก ขณะที่ไทยมีกระบวนการที่ยุ่งยากหากจะแกะสลักต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ก่อนจึงไม่นิยมทำ
ด้านนายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย กล่าวว่า ไม่เพียงแต่โรงเลื่อยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากไม้ยางราคาแพง สมาชิกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย ซึ่งผลิตเฟอร์นิเจอร์จำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออก ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ปัญหานี้เกิดขึ้นต่อเนื่องมานานแล้ว และยังไม่สามารถแก้ไขส่วนหนึ่งมาจากผู้ผลิตไม้ยางพาราส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศซึ่งได้ราคาดีกว่าจำหน่ายในประเทศ แต่อย่างไรก็ดีครั้งนี้คิดว่าราคาไม้ยางแพงขึ้นค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันคุณภาพของไม้ยางเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขเช่นเดียวกัน
"คิดว่าถึงเวลาที่อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำคือสวนยางพารา โรงเลื่อย กลางน้ำคือโรงอบไม้ และปลายน้ำคืออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เพราะเวลานี้คู่แข่งของเราไม่ว่าจะเป็นจีน เวียดนาม อินเดีย ตุรกี ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วมาก อนาคตไทยอาจต้องสูญเสียตลาดส่งออกให้กับประเทศเหล่านี้ได้"
เขากล่าวว่าเห็นด้วยกรณีที่จะมีการแก้ปัญหาอุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งระบบคือตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ด้วยการจัดตั้งตลาดกลางไม้ยางพาราขึ้นมา แต่อย่างไรก็ดีเขาเห็นว่าตลาดกลางที่จะตั้งขึ้นมาควรจะครอบคลุมวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราด้วย โดยทำให้เป็นลักษณะ One Stop Shoping คือผู้ประกอบการมาถึงตลาดกลางแห่งนี้สามารถซื้อวัสดุอุปกรณ์ผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิด
ขณะที่นายไพบูลย์ พินิตกาญจนพันธุ์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรเครื่องเรือนไทย กล่าวทำนองเดียวกันว่าเห็นด้วยกับการจัดตั้งตลาดกลางไม้ยางพารา แต่ตลาดแห่งนี้ต้องเป็นธรรมทั้งกับผู้ประกอบการไม้ยางและผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาเพื่ออุตสหากรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2093
ชาวสวนยางพาราเล่นตัวหลังขายผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิดได้ราคาดี ไม่ยอมโค่นต้นยางขาย ส่งผลราคาไม้ยางพุ่งพรวดกว่า 30% โรงเลื่อย โรงอบไม้ อุตเฟอร์นิเจอร์ ได้รับผลกระทบถ้วนหน้า เผยโรงเลื่อยรายย่อยจ่อปิดการ รายใหญ่ชิ่งส่งไม้ขายจีนเพราะได้ราคาดี ครวญขายให้อุตเฟอร์นิเจอร์ต้องให้เครดิตยาว ทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน
นายสุทิน พรชัยสุรีย์ อุปนายกสมาคมไม้ยางพาราไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงภาวะราคาไม้ยางพาราในปีนี้ว่า ได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30% จากราคาขายหน้าโรงงานตันละ 1,100-1,200 บาท ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นตันละ 1,600 บาท ส่งผลให้ราคาไม้แปรรูปยางพาราสูงตามไปด้วย โดยมีราคาขายที่ลูกบาศก์เมตรละ 9,000 บาท
เหตุที่ราคาไม้ยางปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมากนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ยางเกือบทุกชนิดทั้งน้ำยาง ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะยางแผ่นดิบได้พุ่งสูงขึ้นถึงกก.ละ 70 กว่าบาท จากที่ชาวสวนเคยขายได้ กก.ละ22-23 บาท ทำให้ชาวสวนยางชะลอการโค่นต้นยาง เพราะต้องการเก็บไว้กรีดน้ำยางขายซึ่งได้ราคาดี
"การที่ไม้ยางพาราราคาแพง ได้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมา อาทิโรงเลื่อย โรงอบไม้ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เพราะต้นยางราคาแพงขึ้น ทั้งยังไม่มีมาตรฐานการขาย เนื่องจากชาวสวนมีอำนาจต่อรองสูงกว่า อยากจะขายราคาเท่าไรก็ได้ หากโรงเลื่อยซื้อถูกก็ไม่ขายเก็บไว้กรีดน้ำยางขายดีกว่า แต่เนื่องจากโรงเลื่อยได้ลงทุนกิจการไปมากจะหยุดก็ไม่ได้ แถมแต่ละโรงมีภาระต้องดูแลคนงานจำนวนมาก ต้องยอมซื้อต้นยางราคาสูง ทำให้ประสบปัญหาขาดทุนไปตามๆ กัน "นายสุทินกล่าวและว่า เวลานี้โรงเลื่อยรายเล็กเตรียมปิดกิจการกันหมดแล้ว
ส่วนโรงเลื่อยขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มีทางออกด้วยการส่งออกไม้ยางไปจำหน่ายต่างประเทศ เพราะสามารถแพ็กกิ้งเครดิตนำเงินมาหมุนเวียนได้ ขณะที่ขายให้กับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ นอกจากไม่สามารถแพ็กกิ้งเครดิตได้แล้ว ยังต้องให้เครดิตกับผู้ซื้ออีกทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้การส่งออกไม้ยางพาราไปต่างประเทศ ตลาดส่งออกได้แก่จีน ราคาจะแพงกว่าขายในประเทศประมาณ 40% เพราะต้องบวกค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จีนยังมีความต้องการนำเข้าโดยจีนนำไม้ยางจากไทยไปผลิตเฟอร์นิเจอร์ในลักษณะมูลค่าเพิ่มคือมีการแกะสลัก ขณะที่ไทยมีกระบวนการที่ยุ่งยากหากจะแกะสลักต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ก่อนจึงไม่นิยมทำ
ด้านนายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย กล่าวว่า ไม่เพียงแต่โรงเลื่อยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากไม้ยางราคาแพง สมาชิกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย ซึ่งผลิตเฟอร์นิเจอร์จำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออก ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ปัญหานี้เกิดขึ้นต่อเนื่องมานานแล้ว และยังไม่สามารถแก้ไขส่วนหนึ่งมาจากผู้ผลิตไม้ยางพาราส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศซึ่งได้ราคาดีกว่าจำหน่ายในประเทศ แต่อย่างไรก็ดีครั้งนี้คิดว่าราคาไม้ยางแพงขึ้นค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันคุณภาพของไม้ยางเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขเช่นเดียวกัน
"คิดว่าถึงเวลาที่อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำคือสวนยางพารา โรงเลื่อย กลางน้ำคือโรงอบไม้ และปลายน้ำคืออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เพราะเวลานี้คู่แข่งของเราไม่ว่าจะเป็นจีน เวียดนาม อินเดีย ตุรกี ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วมาก อนาคตไทยอาจต้องสูญเสียตลาดส่งออกให้กับประเทศเหล่านี้ได้"
เขากล่าวว่าเห็นด้วยกรณีที่จะมีการแก้ปัญหาอุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งระบบคือตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ด้วยการจัดตั้งตลาดกลางไม้ยางพาราขึ้นมา แต่อย่างไรก็ดีเขาเห็นว่าตลาดกลางที่จะตั้งขึ้นมาควรจะครอบคลุมวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราด้วย โดยทำให้เป็นลักษณะ One Stop Shoping คือผู้ประกอบการมาถึงตลาดกลางแห่งนี้สามารถซื้อวัสดุอุปกรณ์ผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิด
ขณะที่นายไพบูลย์ พินิตกาญจนพันธุ์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรเครื่องเรือนไทย กล่าวทำนองเดียวกันว่าเห็นด้วยกับการจัดตั้งตลาดกลางไม้ยางพารา แต่ตลาดแห่งนี้ต้องเป็นธรรมทั้งกับผู้ประกอบการไม้ยางและผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาเพื่ออุตสหากรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2093
- tatandchin
- Verified User
- โพสต์: 775
- ผู้ติดตาม: 0
ลางร้าย VNG หรือเปล่าเนี่ยยยยยยยย !!!!
โพสต์ที่ 2
ผมเคยได้ยินมาว่าราคายางพาราจะมีวัฎจักรของมัน ประมาณ 3-4 ปี แต่ที่ช่วงนี้ราคาสูงนานเพราะมีผลกระทบจากราคาน้ำมัน ไม่รู้เท็จจริงเป็นอย่างไรครับ