TBSP จะมีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Raphin Phraiwal
Verified User
โพสต์: 1342
ผู้ติดตาม: 0

TBSP จะมีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วันก่อนไป ธนาคาร เห็นเขาบอกว่าหลัง 6 มี.ค. ค่าเช็คจะเพิ่มขึ้นจาก 5 บาทต่อฉบับเป็น 15 บาทต่อฉบับ

เป็นไปได้ไหมครับว่า TBSP จะได้ค่าพิมพ์เพิ่มขึ้นด้วย (ส่วนที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดน่าจะเป็นค่าอากรที่นำส่งรัฐ)
(เท่าที่ทราบปัจจุบันค่าอากร = 3บาท)
ปล. ไม่มีตัวนี้ในพอร์ตครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
worapong
Verified User
โพสต์: 929
ผู้ติดตาม: 0

อาจเป็นนโยบายของธปท ก็ได้ครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยปริมาณการใช้เช็คเดือนมกราคม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีนี้ลดลงจากสิ้นเดือนธันวาคม 2548

ขณะที่ยอดเช็คเด้งทรงตัว ซึ่งการใช้เช็คลดลงสอดคล้องกับความต้องการของ ธปท.ที่ต้องการลดปริมาณการใช้เช็คลงและรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น เพื่อลด ต้นทุนทางการเงิน ฝ่ายระบบการชำระเงิน ธปท.รายงานปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ เช็คคืนและเช็คคืนไม่มีเงินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่เรียกเก็บผ่านศูนย์หักบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา

โดยปริมาณเช็คเรียกเก็บเพื่อการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวนทั้งสิ้น 5,218,476 ฉบับ ลดลงจากเดือนธันวาคม 2548 ร้อยละ 0.1 ขณะที่มีมูลค่า 2,198,787 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 จากเดือนก่อนหน้า

สำหรับเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันทำการมีปริมาณ 248,499 ฉบับ มูลค่า 104,704 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ปริมาณเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า เพื่อการอุปโภคบริโภคและสินค้าเพื่อการผลิตเป็นสำคัญ ส่วนปริมาณเช็คคืนในเดือนมกราคมมีจำนวนทั้งสิ้น 122,507 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 18,962 ล้านบาท

โดยสัดส่วนปริมาณเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงจากเดือนธันวาคม 2548 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 ขณะที่มูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บก็ปรับตัวลดลงเช่นกันอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.9 ด้านเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินหรือเช็คเด้งในเดือนมกราคมมีปริมาณ 76,507 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 7,973 ล้านบาท โดยสัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คเด้งคงที่จากสิ้นเดือนธันวาคม 2548 โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 และ 0.4 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากดูภาพรวมครึ่งหลังของปี 2548 พบว่าการหักบัญชีระหว่างธนาคารทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช็คเรียกเก็บข้ามเขตสำนักหักบัญชีและเช็คเรียกเก็บในเขตสำนักหักบัญชีทั่วประเทศมีปริมาณทั้งสิ้น 45,229,456 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 14,395,000 ล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 3 และ 10.6 ตามลำดับ

ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเช็คเรียกเก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นสำคัญ ขณะที่เช็คคืนในช่วงครึ่งปีหลังมีปริมาณทั้งสิ้น 1,085,390 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 13,086,000 ล้านบาท โดยคิดเป็นสัดส่วนต่อปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บร้อยละ 2.4 และ 0.9 ตามลำดับ โดยมีส่วนที่เป็นเช็คเด้ง 719,259 ฉบับ มูลค่า 6,559,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บร้อยละ 1.5 และ 0.5 ตามลำดับ

ทั้งนี้ จากข้อมูลการศึกษาการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2848 ของ นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยและการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่าการสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีแต่ละรายการเฉลี่ยต่อวันมีทั้งสิ้น 585,507 ใบต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณการใช้เช็คที่สูงมาก นอกจากนี้ จากการเปรียบเทียบต้นทุนการใช้เช็คและสื่อทดแทน (Smart) จากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง จะพบว่าการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนถูกกว่าการใช้เช็คถึง 3 เท่า

ดังนั้น เป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เช็คในปี 2549 จะต้องมุ่งเน้นลดการใช้เช็คในกลุ่มรายใหญ่ที่เกิน 100 ใบต่อวัน และลดการใช้เช็คในกลุ่มผู้ใช้รายกลางและรายเล็กและลดการใช้เงินสดในกลุ่มธุรกิจเป้าหมาย 13 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจบริการ ค้าปลีกรายใหญ่ รายย่อย ท่องเที่ยว สถานศึกษา อสังหาริมทรัพย์ สถานีบริการน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับ ธปท.ที่ต้องการผลักดันให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้เงินสดและเช็ค เพื่อลดต้นทุนด้านการเงิน
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
ล็อคหัวข้อ